ประเด็นที่กำลังถกเถียงกันคือว่า การที่รัฐบาลใช้เสียงข้างมากในสภา อ้างมาตรา 291 ฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเก่าทิ้ง แล้วตั้งองค์กรขึ้นมาสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่มีความชอบธรรมหรือไม่
ผมคิดว่า ทำไม่ได้ เพราะอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญหรือ Pouvoir Constituant เป็นอำนาจของปวงชนที่อยู่เหนือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
รัฐบาลจะอ้างเสียงข้างมากที่ชนะเลือกตั้งมาเป็นฉันทามติในการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญแล้วสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้ เพราะเสียงข้างมากที่พรรครัฐบาลได้รับนั้นเป็นเสียงข้างมากที่มอบให้ทำหน้าที่บริหาร และนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ต่ำกว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของปวงชน
ต่างกับการสถาปนารัฐธรรมนูญ 2540 ที่เป็นฉันทามติร่วมกันของประชาชนโดยพฤตินัย และว่าไปแล้วฉันทามติของปวงชนในการสถาปนารัฐธรรมนูญ 2550 ที่รัฐสภากำลังอ้างเสียงข้างมากฉีกทิ้งนั้นมีถึง 14.7 ล้านเสียงมากกว่าเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทย 12 ล้านกว่าเสียงที่ได้เข้ามาเป็นรัฐบาลด้วยซ้ำไป
รัฐสภาเสียงข้างมากจึงไม่มีอำนาจที่จะใช้เสียงข้างมากสถาปนาองค์กรแก้รัฐธรรมนูญใหม่ นอกจากขอประชามติจากปวงชนชาวไทยเสียก่อนว่าจะให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่
ผมเพิ่งอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ หนึ่งในนิติราษฎร์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนหนึ่งว่า
“กรณีนี้ไม่ใช่องค์กรตุลาการเข้ามาแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญจะกำหนดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่ 3 อำนาจถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่กรณีนี้เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เหนือนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ โดยสามารถแก้ตัวบทของอำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการได้ทั้งหมด ทฤษฎีวิชากฎหมายอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เหนืออำนาจที่รับมาจาก 3 อำนาจ การที่ตุลาการเข้ามาล่วงล้ำนั้นไม่ใช่ล่วงล้ำอำนาจนิติบัญญัติ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังเข้ามาล่วงล้ำอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งสูงกว่าอำนาจตุลาการเอง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในทางทฤษฎีจะมีคำที่ใช้กันว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” จะใหญ่ที่สุด เพราะเชื่อมโยงกับอำนาจประชาชนผู้ให้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้ามาล่วงล้ำฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ศาลเข้ามาล่วงในแดนที่สูงกว่าตัวเอง ซึ่งภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้องค์กรตุลาการเข้ามาคุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291”
อาจารย์ปูนเทพพูดเพื่อสนับสนุนว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งให้รัฐสภาหยุดพิจารณารัฐธรรมนูญ
ดูเหมือนความเข้าใจของผมที่ว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” เป็นอำนาจที่อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตรงกับที่อาจารย์ปูนเทพอธิบายนะครับ
แต่ต้องชัดเจนและยอมรับนะครับว่า เจตนาของเสียงข้างมากในรัฐสภายืนยันมาแต่ต้นว่า การแก้ไขมาตรา 291 นั้นต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างที่อาจารย์ปูนเทพยกมาอ้าง อันนี้แหละที่เขาเถียงกันว่าทำได้หรือไม่ได้ และ “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” เป็นของใคร และนำมาเป็นประเด็นตามมาตรา 68
และเมื่อมีความขัดแย้งกันในเรื่องนี้ก็ชอบแล้วใช่หรือไม่ที่จะมีผู้ยื่นเรื่องให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 68 เพราะคิดว่า รัฐสภาไม่สามารถอ้างมาตรา 291ในหมวดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่ทั้งฉบับได้
เมื่อทางออกในการยับยั้งการล้มล้างรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตามมาตรา 68 และมีผู้ไปร้องว่า รัฐสภากำลังใช้อำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลไม่ใช้อำนาจวินิจฉัยให้รัฐสภายุติการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แล้วจะบังคับใช้มาตรา 68 ไปได้อย่างไร เมื่อชัดเจนตามคำร้องว่า ผู้ถูกร้องคือ “รัฐสภา” กำลังใช้อำนาจในทางบิดเบือนในการใช้มาตรา 291 ในหมวดแก้ไขเพิ่มเติมไปฉีกทิ้งและสร้างอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้กับตัวเอง
ผมไม่เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะก้าวล่วงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญตรงไหนเลย นอกจากทำหน้าที่ยับยั้งการก้าวล่วงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ผมจะไม่พูดเลยไปว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอให้ร่างใหม่ทั้งฉบับโดยอ้างมาตรา 291 นั้น จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐหรือไม่ เพราะเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และถูกฝ่ายที่สนับสนุนให้ยกร่างรัฐธรรมนูญท่องเป็นคัมภีร์มาตอบโต้ จะรู้ได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐเมื่อยังไม่ได้ร่างออกมาสักมาตรา
แต่ประเด็นของผมดังที่กล่าวมาข้างต้นคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 291 อนุญาตให้ทำได้แต่เพียงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาไม่มีสิทธิในการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วสร้างอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ให้กับตัวเอง
ส่วนประเด็นที่บอกว่า สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องตามมาตรา 68 หรือไม่นั้น เป็นอีกประเด็นที่แตกออกมาถกเถียงกัน อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญต่างก็ได้แถลงยืนยันในขอบเขตอำนาจของตนไปแล้ว
สำหรับผม ผมอ่านมาตรา 68 ดูแล้วไม่มีตรงไหนเลยที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดในการวินิจฉัยคำร้อง นอกจากบอกว่า “ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว” แต่จากคำแถลงของอัยการสูงสุดนั้นกลับวินิจฉัยและสั่งการเสียเอง
ผมตั้งคำถามว่า ถ้าอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยจะถูกฝากไว้กับดุลพินิจของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว แล้วอะไรคือช่องทางที่จะถ่วงดุลการใช้อำนาจของอัยการสูงสุด จากกรณีดังกล่าวก็เห็นได้ชัดว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของผู้ที่ไปยื่นต่ออัยการสูงสุดแล้ว แต่ถูกเพิกเฉย อำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถใช้ได้เลย และถึงตอนนี้อัยการสูงสุดก็คงไม่มีความเห็นอะไรออกมา
นั่นย่อมแสดงว่า อัยการสูงสุดผู้เดียวกลับมีอำนาจเหนือสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
และถ้าอัยการสูงสุดอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ และพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาปรับใช้ว่า อัยการมีอำนาจสั่งในการฟ้องไม่ฟ้องคดี แม้ผมเห็นว่า ข้ออ้างนั้นจะเป็นขอบเขตอำนาจคนละเรื่องกับความขัดแย้งเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 แต่เมื่ออัยการอ้างอำนาจดังกล่าวก็ต้องแสดงว่า เมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องก็มีสิทธิอันชอบที่จะยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นช่องทางในการถ่วงดุลการใช้อำนาจของอัยการสูงสุดได้ ดังที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ดำเนินการไปแล้วนั้นย่อมถูกต้องแล้ว
ถ้าไม่ยอมรับช่องทางของประชาชนตามมาตรา 68 ประชาชนก็ย่อมต้องใช้สิทธิตามมาตรา 69 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปเป็นการต่อสู้บนท้องถนน
อันนี้เป็นความเข้าใจพื้นๆ ของผมในฐานะว่าที่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษานี้นะครับ
ผมคิดว่า ทำไม่ได้ เพราะอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญหรือ Pouvoir Constituant เป็นอำนาจของปวงชนที่อยู่เหนือฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการ
รัฐบาลจะอ้างเสียงข้างมากที่ชนะเลือกตั้งมาเป็นฉันทามติในการฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญแล้วสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ไม่ได้ เพราะเสียงข้างมากที่พรรครัฐบาลได้รับนั้นเป็นเสียงข้างมากที่มอบให้ทำหน้าที่บริหาร และนิติบัญญัติเป็นองค์กรที่ต่ำกว่าอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญซึ่งเป็นอำนาจของปวงชน
ต่างกับการสถาปนารัฐธรรมนูญ 2540 ที่เป็นฉันทามติร่วมกันของประชาชนโดยพฤตินัย และว่าไปแล้วฉันทามติของปวงชนในการสถาปนารัฐธรรมนูญ 2550 ที่รัฐสภากำลังอ้างเสียงข้างมากฉีกทิ้งนั้นมีถึง 14.7 ล้านเสียงมากกว่าเสียงข้างมากของพรรคเพื่อไทย 12 ล้านกว่าเสียงที่ได้เข้ามาเป็นรัฐบาลด้วยซ้ำไป
รัฐสภาเสียงข้างมากจึงไม่มีอำนาจที่จะใช้เสียงข้างมากสถาปนาองค์กรแก้รัฐธรรมนูญใหม่ นอกจากขอประชามติจากปวงชนชาวไทยเสียก่อนว่าจะให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเขียนรัฐธรรมนูญใหม่หรือไม่
ผมเพิ่งอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ หนึ่งในนิติราษฎร์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตอนหนึ่งว่า
“กรณีนี้ไม่ใช่องค์กรตุลาการเข้ามาแทรกแซงฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญจะกำหนดอำนาจฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ แต่ 3 อำนาจถ่วงดุลซึ่งกันและกัน แต่กรณีนี้เป็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ซึ่งอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เหนือนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ โดยสามารถแก้ตัวบทของอำนาจฝ่ายบริหาร นิติบัญญัติ และตุลาการได้ทั้งหมด ทฤษฎีวิชากฎหมายอำนาจแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่เหนืออำนาจที่รับมาจาก 3 อำนาจ การที่ตุลาการเข้ามาล่วงล้ำนั้นไม่ใช่ล่วงล้ำอำนาจนิติบัญญัติ แต่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังเข้ามาล่วงล้ำอำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งสูงกว่าอำนาจตุลาการเอง การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ใช่อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ในทางทฤษฎีจะมีคำที่ใช้กันว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” จะใหญ่ที่สุด เพราะเชื่อมโยงกับอำนาจประชาชนผู้ให้อำนาจนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ กรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้เข้ามาล่วงล้ำฝ่ายนิติบัญญัติ แต่ศาลเข้ามาล่วงในแดนที่สูงกว่าตัวเอง ซึ่งภายใต้โครงสร้างรัฐธรรมนูญปัจจุบันไม่ได้กำหนดให้องค์กรตุลาการเข้ามาคุมการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291”
อาจารย์ปูนเทพพูดเพื่อสนับสนุนว่า ศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจสั่งให้รัฐสภาหยุดพิจารณารัฐธรรมนูญ
ดูเหมือนความเข้าใจของผมที่ว่า “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” เป็นอำนาจที่อยู่เหนืออำนาจนิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ ตรงกับที่อาจารย์ปูนเทพอธิบายนะครับ
แต่ต้องชัดเจนและยอมรับนะครับว่า เจตนาของเสียงข้างมากในรัฐสภายืนยันมาแต่ต้นว่า การแก้ไขมาตรา 291 นั้นต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับไม่ใช่การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอย่างที่อาจารย์ปูนเทพยกมาอ้าง อันนี้แหละที่เขาเถียงกันว่าทำได้หรือไม่ได้ และ “อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ” เป็นของใคร และนำมาเป็นประเด็นตามมาตรา 68
และเมื่อมีความขัดแย้งกันในเรื่องนี้ก็ชอบแล้วใช่หรือไม่ที่จะมีผู้ยื่นเรื่องให้วินิจฉัยปัญหาดังกล่าวตามสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญ ในมาตรา 68 เพราะคิดว่า รัฐสภาไม่สามารถอ้างมาตรา 291ในหมวดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ เพื่อฉีกทิ้งรัฐธรรมนูญแล้วร่างใหม่ทั้งฉบับได้
เมื่อทางออกในการยับยั้งการล้มล้างรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้ตามมาตรา 68 และมีผู้ไปร้องว่า รัฐสภากำลังใช้อำนาจล้มล้างรัฐธรรมนูญ ถ้าศาลไม่ใช้อำนาจวินิจฉัยให้รัฐสภายุติการพิจารณาร่างรัฐธรรมนูญไว้ก่อน แล้วจะบังคับใช้มาตรา 68 ไปได้อย่างไร เมื่อชัดเจนตามคำร้องว่า ผู้ถูกร้องคือ “รัฐสภา” กำลังใช้อำนาจในทางบิดเบือนในการใช้มาตรา 291 ในหมวดแก้ไขเพิ่มเติมไปฉีกทิ้งและสร้างอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ให้กับตัวเอง
ผมไม่เห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญจะก้าวล่วงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญตรงไหนเลย นอกจากทำหน้าที่ยับยั้งการก้าวล่วงอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ
ผมจะไม่พูดเลยไปว่า รัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอให้ร่างใหม่ทั้งฉบับโดยอ้างมาตรา 291 นั้น จะเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐหรือไม่ เพราะเป็นสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น และถูกฝ่ายที่สนับสนุนให้ยกร่างรัฐธรรมนูญท่องเป็นคัมภีร์มาตอบโต้ จะรู้ได้อย่างไรว่ารัฐธรรมนูญจะเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐเมื่อยังไม่ได้ร่างออกมาสักมาตรา
แต่ประเด็นของผมดังที่กล่าวมาข้างต้นคือ รัฐธรรมนูญมาตรา 291 อนุญาตให้ทำได้แต่เพียงการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และรัฐสภาไม่มีสิทธิในการฉีกรัฐธรรมนูญทิ้งแล้วสร้างอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญใหม่ให้กับตัวเอง
ส่วนประเด็นที่บอกว่า สามารถยื่นตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องตามมาตรา 68 หรือไม่นั้น เป็นอีกประเด็นที่แตกออกมาถกเถียงกัน อัยการสูงสุดและศาลรัฐธรรมนูญต่างก็ได้แถลงยืนยันในขอบเขตอำนาจของตนไปแล้ว
สำหรับผม ผมอ่านมาตรา 68 ดูแล้วไม่มีตรงไหนเลยที่ให้อำนาจอัยการสูงสุดในการวินิจฉัยคำร้อง นอกจากบอกว่า “ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว” แต่จากคำแถลงของอัยการสูงสุดนั้นกลับวินิจฉัยและสั่งการเสียเอง
ผมตั้งคำถามว่า ถ้าอำนาจในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยจะถูกฝากไว้กับดุลพินิจของอัยการสูงสุดเพียงอย่างเดียว แล้วอะไรคือช่องทางที่จะถ่วงดุลการใช้อำนาจของอัยการสูงสุด จากกรณีดังกล่าวก็เห็นได้ชัดว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไม่รับคำร้องของผู้ที่ไปยื่นต่ออัยการสูงสุดแล้ว แต่ถูกเพิกเฉย อำนาจพิทักษ์รัฐธรรมนูญก็ไม่สามารถใช้ได้เลย และถึงตอนนี้อัยการสูงสุดก็คงไม่มีความเห็นอะไรออกมา
นั่นย่อมแสดงว่า อัยการสูงสุดผู้เดียวกลับมีอำนาจเหนือสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68
และถ้าอัยการสูงสุดอ้างอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรอัยการ และพนักงานอัยการ พ.ศ. 2553 มาปรับใช้ว่า อัยการมีอำนาจสั่งในการฟ้องไม่ฟ้องคดี แม้ผมเห็นว่า ข้ออ้างนั้นจะเป็นขอบเขตอำนาจคนละเรื่องกับความขัดแย้งเรื่องสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 แต่เมื่ออัยการอ้างอำนาจดังกล่าวก็ต้องแสดงว่า เมื่ออัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ร้องก็มีสิทธิอันชอบที่จะยื่นร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นช่องทางในการถ่วงดุลการใช้อำนาจของอัยการสูงสุดได้ ดังที่พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยได้ดำเนินการไปแล้วนั้นย่อมถูกต้องแล้ว
ถ้าไม่ยอมรับช่องทางของประชาชนตามมาตรา 68 ประชาชนก็ย่อมต้องใช้สิทธิตามมาตรา 69 ที่ว่า บุคคลย่อมมีสิทธิต่อต้านโดยสันติวิธีซึ่งการกระทำใดๆ ที่เป็นไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งจะแปรเปลี่ยนไปเป็นการต่อสู้บนท้องถนน
อันนี้เป็นความเข้าใจพื้นๆ ของผมในฐานะว่าที่นักศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปีการศึกษานี้นะครับ