เป็นอันว่าร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ... ) พุทธศักราช ... หรือร่างฯแก้ไขมาตรา 291 ที่เปิดโอกาสให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ทั้งฉบับที่ผ่านรัฐสภาขั้นรับหลักการในวาระที่ 1 มาแล้วและกำหนดให้สมาชิกรัฐสภาแปรญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมได้ภายใน 30 วันหมดเวลาลงแล้ว ต่อไปก็เป็นขั้นตอนที่คณะกรรมาธิการจะต้องเชิญสมาชิกรัฐสภาที่ยื่นคำแปรญัตติเข้าไปชี้แจง ถ้ากรรมาธิการไม่เห็นด้วยผู้แปรญัตติก็สมารถสงวนคำแปรญัตติของตนไว้ไปตัดสินในรัฐสภาวาระที่ 2 ได้
แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาวาระที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อไร
เพราะการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯเป็นไปได้ช้า และผู้แปรญัตติมีมาก ไม่น่าจะทันกำหนดปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติวันที่ 18 เมษายน 2555
แนวคิดเดิมของรัฐบาลที่ว่าจะขยายสมัยประชุมออกไปอีกสัก 3 – 4 สัปดาห์เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฯผ่านรัฐสภาในวาระ 2 – 3 ให้เรียบร้อยไปเลยไม่น่าเป็นไปได้ ยกเว้นจะเร่งรัด รวบรัด และหักหาญกันจริง ๆ โดยอาจต้องไปพิจารณาในช่วงเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2555 โน่นเลย
แต่อะไรต่อมิอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละ ขอให้ติดตามดูการประชุมคณะกรรมาธิการช่วงสัปดาห์นี้สัปดาห์หน้าเป็นสำคัญ
แม้จะไม่เห็นด้วยในวาระที่ 1 แต่เมื่อแพ้ไปแล้ว ในฐานะสมาชิกรัฐสภาผมก็ต้องใช้สิทธิยื่นแปรญัตติในการพิจารณาวาระที่ 2
ก็ยื่นแปรญัตติไปหลายประเด็นครับ
ประเด็นสำคัญที่สุดคือแปรญัตติในมาตรา 4 ในส่วนของมาตรา 291/11 เพื่อสร้าง “กรอบ” ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291/11 วรรคห้า ประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์...
“ร่างรัฐรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกคองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มติมบทบัญญัติหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้จะกระทำมิได้
และเพิ่มเติมมาตรา 291/11 วรรคหกขึ้นมาใหม่ทั้งวรรค.....
“การจัดทำร่างรัฐธรรมูญฉบับใหม่จะต้องคงลักการเกี่ยวกับการับรองและคุ้มครองสิธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยของรัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการกำหนดให้ทรัพยากรแร่และปิโตรเลี่ยมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน”
นอกจากนั้นแล้ว เพื่อคุมให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปตามนี้ ก็ได้ขอแก้ไขหลักการเดิมที่ว่าเมื่อเสร็จจากส.ส.ร.แล้วให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นไปตามมาตรา 291/11 วรรคห้าหรือไม่ หากไม่มีปัญหาก็ให้ส่งก.ก.ต.ทำประชามติเลย เปลี่ยนเป็นให้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะพิจารณา
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291/13 วรรคสอง...
“เมื่อได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้มีลักษณะตามมาตรา 291 รรคห้า หรือเป็นไปตาวรรคหก หรือไม่ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรนูญนั้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ การลงมติใหใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย”
เพิ่มเติมมาตรา 291/13 วรรคสาม....
“ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามมาตรา 291 วรรคห้า หรือมิได้เป็นไปตามวรรคหก ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป แต่ถ้ารัฐสภาวินจฉัยว่าร่างรัฐธรรมูญนั้นมิได้มีลักษณตามมาตรา 291 วรรคห้า และเป็นไปตามวรรคหก ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รัฐสภาได้วินิจฉัย เพื่อใหคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้การออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมูญนั้นหรือไม่”
เป็นอันจบประเด็น “กรอบ” และ “การตรวจสอบว่าเป็นไปตามกรอบหรือไม่” ไปหนึ่งละ
แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนครับ ไม่ใช่จู่ ๆ จัดทำใหม่กันเลยโดยอำนาจรัฐสภา เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ผ่านการลงประชามติจากประชาชน เมื่อจะฉีกจะทำใหม่ก็ต้องขอประชามติจากประชาชนก่อน
ประเด็นนี้ผมเลือกแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 ซึ่งเปรียบเสมือนบทเฉพาะกาล
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 วรรคหนึ่ง...
“ในวาระเริ่มแรกเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัธรรมนูญนี้ หรือไม่ โดยให้ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกินหกสิบวันแต่ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงให้เริ่มดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ได้”
ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกตามสมควรครับ เป็นต้นว่าคุณสมบัติของส.ส.ร.ที่จะต้องไม่เป็นญาติโกโหติกาของส.ส.,ส.ว. วุฒิการศึกษา พ้นตำแหน่งทางการเมืองมาแล้วระยะหนึ่ง และหากเป็นผู้ต้องโทษจำคุกจะต้องพ้นมาแล้วระยะเวลาหนึ่งตามมาตรฐานของผุ้สมัคร ส.ส.
รวมทั้งประเด็นการเลือกส.ส.ร.จะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ จะใช้ระเบียบก.ก.ต.ไม่ได้
ถือโอกาสรายงานประชาชน ณ ที่นี้ !
แต่จนบัดนี้ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาวาระที่ 2 จะเกิดขึ้นเมื่อไร
เพราะการพิจารณาของคณะกรรมาธิการฯเป็นไปได้ช้า และผู้แปรญัตติมีมาก ไม่น่าจะทันกำหนดปิดประชุมรัฐสภาสมัยสามัญนิติบัญญัติวันที่ 18 เมษายน 2555
แนวคิดเดิมของรัฐบาลที่ว่าจะขยายสมัยประชุมออกไปอีกสัก 3 – 4 สัปดาห์เพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญฯผ่านรัฐสภาในวาระ 2 – 3 ให้เรียบร้อยไปเลยไม่น่าเป็นไปได้ ยกเว้นจะเร่งรัด รวบรัด และหักหาญกันจริง ๆ โดยอาจต้องไปพิจารณาในช่วงเปิดสมัยประชุมวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีฯในช่วงกลางเดือนมิถุนายน 2555 โน่นเลย
แต่อะไรต่อมิอะไรก็เป็นไปได้ทั้งนั้นแหละ ขอให้ติดตามดูการประชุมคณะกรรมาธิการช่วงสัปดาห์นี้สัปดาห์หน้าเป็นสำคัญ
แม้จะไม่เห็นด้วยในวาระที่ 1 แต่เมื่อแพ้ไปแล้ว ในฐานะสมาชิกรัฐสภาผมก็ต้องใช้สิทธิยื่นแปรญัตติในการพิจารณาวาระที่ 2
ก็ยื่นแปรญัตติไปหลายประเด็นครับ
ประเด็นสำคัญที่สุดคือแปรญัตติในมาตรา 4 ในส่วนของมาตรา 291/11 เพื่อสร้าง “กรอบ” ในการจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291/11 วรรคห้า ประเด็นสถาบันพระมหากษัตริย์...
“ร่างรัฐรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกคองระบบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทงเป็นประมุขหรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐหรือเป็นการแก้ไขเพิ่มติมบทบัญญัติหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ของรัฐธรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้จะกระทำมิได้
และเพิ่มเติมมาตรา 291/11 วรรคหกขึ้นมาใหม่ทั้งวรรค.....
“การจัดทำร่างรัฐธรรมูญฉบับใหม่จะต้องคงลักการเกี่ยวกับการับรองและคุ้มครองสิธิและเสรีภาพของประชาชนตามบทบัญญัติหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยของรัฐธรรมูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ โดยเฉพาะการคุ้มครองสิทธิชุมชนและการมีส่วนร่วมของประชาชน รวมทั้งการกำหนดให้ทรัพยากรแร่และปิโตรเลี่ยมเป็นทรัพยากรของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าว ซึ่งต้องคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นสำคัญ และต้องคำนึงถึงการใช้ประโยชน์อย่างสมดุลและยั่งยืน”
นอกจากนั้นแล้ว เพื่อคุมให้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นไปตามนี้ ก็ได้ขอแก้ไขหลักการเดิมที่ว่าเมื่อเสร็จจากส.ส.ร.แล้วให้ประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่าเป็นไปตามมาตรา 291/11 วรรคห้าหรือไม่ หากไม่มีปัญหาก็ให้ส่งก.ก.ต.ทำประชามติเลย เปลี่ยนเป็นให้เป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะพิจารณา
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291/13 วรรคสอง...
“เมื่อได้รับร่างรัฐธรรมนูญแล้ว ให้ประธานรัฐสภาเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อพิจารณาและวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้มีลักษณะตามมาตรา 291 รรคห้า หรือเป็นไปตาวรรคหก หรือไม่ ภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับร่างรัฐธรรนูญนั้นจากสภาร่างรัฐธรรมนูญ การลงมติใหใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย”
เพิ่มเติมมาตรา 291/13 วรรคสาม....
“ในกรณีที่รัฐสภาวินิจฉัยว่าร่างรัฐธรรมนูญมีลักษณะตามมาตรา 291 วรรคห้า หรือมิได้เป็นไปตามวรรคหก ให้ร่างรัฐธรรมนูญเป็นอันตกไป แต่ถ้ารัฐสภาวินจฉัยว่าร่างรัฐธรรมูญนั้นมิได้มีลักษณตามมาตรา 291 วรรคห้า และเป็นไปตามวรรคหก ให้ประธานรัฐสภาส่งร่างรัฐธรรมนูญดังกล่าวไปยังคณะกรรมการการเลือกตั้งภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่รัฐสภาได้วินิจฉัย เพื่อใหคณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้การออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบกับร่างรัฐธรรมูญนั้นหรือไม่”
เป็นอันจบประเด็น “กรอบ” และ “การตรวจสอบว่าเป็นไปตามกรอบหรือไม่” ไปหนึ่งละ
แต่ประเด็นสำคัญที่สุดคือก่อนจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ จะต้องทำประชามติถามประชาชนก่อนครับ ไม่ใช่จู่ ๆ จัดทำใหม่กันเลยโดยอำนาจรัฐสภา เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 ผ่านการลงประชามติจากประชาชน เมื่อจะฉีกจะทำใหม่ก็ต้องขอประชามติจากประชาชนก่อน
ประเด็นนี้ผมเลือกแปรญัตติแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 ซึ่งเปรียบเสมือนบทเฉพาะกาล
แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 5 วรรคหนึ่ง...
“ในวาระเริ่มแรกเมื่อรัฐธรรมนูญนี้ใช้บังคับแล้ว ให้คณะกรรมการการเลือกตั้งดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติของประชาชนว่าจะเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัธรรมนูญนี้ หรือไม่ โดยให้ประกาศกำหนดวันออกเสียงประชามติภายในไม่เกินหกสิบวันแต่ไม่น้อยกว่าสี่สิบห้าวันนับแต่วันที่รัฐธรรมนูญนี้มีผลใช้บังคับ หากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งโดยเสียงข้างมากของผู้มาออกเสียงประชามติเห็นชอบให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จึงให้เริ่มดำเนินการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ตามหมวด 16 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญนี้ได้”
ยังมีประเด็นอื่น ๆ อีกตามสมควรครับ เป็นต้นว่าคุณสมบัติของส.ส.ร.ที่จะต้องไม่เป็นญาติโกโหติกาของส.ส.,ส.ว. วุฒิการศึกษา พ้นตำแหน่งทางการเมืองมาแล้วระยะหนึ่ง และหากเป็นผู้ต้องโทษจำคุกจะต้องพ้นมาแล้วระยะเวลาหนึ่งตามมาตรฐานของผุ้สมัคร ส.ส.
รวมทั้งประเด็นการเลือกส.ส.ร.จะต้องทำเป็นพระราชบัญญัติ จะใช้ระเบียบก.ก.ต.ไม่ได้
ถือโอกาสรายงานประชาชน ณ ที่นี้ !