วานนี้(6 ธ.ค.)นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในฐานะหัวหน้าพนักงานสอบสวน คดี 91 ศพ เหตุชุมนุมทางการเมือง ปี 2553 แถลงผลประชุมคณะพนักงานสอบสวนดีเอสไอ ตำรวจ และอัยการ ว่า ที่ประชุมมีมติร่วมกันให้ดำเนินการแจ้งข้อหากับนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี ผู้รับผิดชอบสูงสุดของศอฉ. และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี ผอ.ศอฉ.ว่า “ร่วมกันก่อให้ผู้อื่นฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 ,83,84 และ 288 สืบเนื่องจากศาลยุติธรรมมีคำสั่งในคดีการไต่สวนสาเหตุการตายของนายพัน คำกอง เท็กซี่เสื้อแดงว่า การตายเกิดจากถูกกระสุนปืนของทหารที่เข้าปฏิบัติการตามคำสั่งของศอฉ. และศาลยุติธรรมได้ส่งสำนวนการพิจารณาไต่สวนทั้งหมดพร้อมคำสั่งมายังตำรวจนครบาล และถึงดีเอสไอ ในที่สุดแล้ว ซึ่งคณะพนักงานสอบสวนจำเป็น ต้องยึดถือเอาข้อเท็จจริงอันเป็นยุติโดยการไต่สวนของศาล
นายธาริต กล่าวว่า พยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้คณะพนักงานสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย มีมติแจ้งข้อหาแก่บุคคลทั้งสอง มาจากพยานที่ได้จากการไต่สวนและคำสั่งศาล และพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่สอบสวนได้ เช่น การสั่งใช้กำลังทหารที่มีอาวุธปืนเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งศอฉ.เรียกว่าการกระชับพื้นที่และการขอคืนพื้นที่ การสั่งใช้อาวุธปืน การสั่งใช้พลซุ่มยิง และอื่นๆ โดยมีการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร จากนายสุเทพ และได้อ้างไว้ในคำสั่งด้วยว่า เกิดจากการสั่งการของนายก รัฐมนตรี อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับพยานบุคคลที่ร่วมอยู่ในศอฉ.ว่า นายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้รับรู้สั่งการและพักอาศัยในศูนย์ปฏิบัติการของศอฉ. ตลอดเวลา และสำคัญ คือการสั่งการของบุคคลทั้งสอง กระทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง แม้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนแล้วก็หาได้ระงับยับยั้ง หรือใช้แนวทางอื่นแต่อย่างใด รวมถึงพยานแวด ล้อมกรณีอื่นๆอีก จึงบ่งชี้ได้ว่าเป็น เจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าการร่วมกันสั่งการเช่นนั้น ย่อมทำให้เกิดการตายของประชาชนจำนวนมากและต่อเนื่องกันหลายวัน
นายธาริต แถลงเพิ่มเติมว่า หน้าที่ของพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการต่อตามผลไต่สวนและคำสั่งของศาล ส่วนทหารที่ได้เข้าปฏิบัติการ ศาลไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดและผลการสอบสวนไม่สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้น ตามกฎหมาย อาญามาตรา 70 ระบุว่า เมื่อมีการปฏิบัติตามคำสั่งการย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับโทษ จึงไม่แจ้งข้อกล่าวหากับทหาร รวมทั้งฝ่ายยุทธการ และกองทัพซึ่งได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากปฏับัติตามคำสั่งศอฉ. อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอ ได้มีหนังสือแจ้งให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมารับทราบข้อหา และทำตามสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ และแจ้งว่า หากทั้งสองเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและสอบสวนเสร็จแล้วก็จะใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวไป โดยไม่ขอศาลให้ฝากขังตามพรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากทั้งสองเป็นอดีตข้าราชการฝ่ายการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ดีเอสไอจึงออกหนังสือเชิญแทนหมายเรียก
นายธาริต กล่าวว่า การให้มารับทราบข้อหาในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ เพื่อต้องการได้ตัว เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี เพราะหากพ้นวันที่ 20 ธ.ค.2555 แล้ว บุคคลทั้งสอง ก็จะได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากเปิดประชุมสภาผู้แทนฯ โดยเชื่อว่า ทั้งสองจะมาตามนัดหมาย ไม่ถ่วงเวลาจนเปิดประชุมสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ ทั้งนี้ ตนยืนยันไม่ได้ทำคดีไปตามใบสั่งการเมือง และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นมีผู้ทำผิดทั้ง 2 ฝ่ายโดยกลุ่มฮาร์ดคอร์นปช. ถูกดำเนินคดีไปแล้ว 62คดี มีผู้ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล 295 คน ส่วนกลุ่มผู้สั่งการของศอฉ.เพิ่งถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก จึงสรุปได้ว่า ดีเอสไอดำเนินคดีทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน
ถามว่า ขณะเกิดเหตุนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เป็นนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง หากไม่สั่งให้ฝ่ายปฎิบัติการยุติเหตุการณ์จลาจลของกลุ่มนปช. จะเข้าข่ายละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 157 หรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นอยู่ว่าการสั่งการของนายอภิ สิทธิ์และนายสุเทพทำนอกหน้าที่หรือไม่ การดำเนินการของทั้ง 2 คนเข้าข่ายเล็งเห็นผล คือใช้กองกำลังที่มีอาวุธเข้าปะทะกับประชาชน ใช้พลซุ่มยิงย่อมมีเจตนาทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้นายธาริตเคยออกมาแถลงในนาม ศอฉ.ว่าเห็นด้วยกับการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ นายธาริต กล่าวว่า ความเห็นของตนเป็นเห็นด้วยในการดำเนินการที่ไม่เกี่ยวกับการใช้อาวุธ แต่ไม่เคยให้ความเห็นในการดำเนินการใช้อาวุธกับประชาชน ซึ่งการตัดสินใจของศอฉ.เป็นความเห็นของคน 2 คนคือ นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โดยกรรมการฝ่ายยุทธการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ส่วนกรรมการทั่วไปมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์เท่านั้นจึงไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดเพื่อคุกคามฝ่ายตรงข้าม และตนรู้สึกไม่แปลกใจที่ DSI นั้น ต้องรีบเร่งกระทำการเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง และพยายามที่จะทำเรื่องนี้ในช่วงที่ปิดสมัยประชุมสภา เพื่อที่จะให้ทั้ง 2 ท่านไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง
ทั้งนี้ ตนขอเตือนกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยเฉพาะนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ว่าในเรื่องนี้สังคมเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าการกระทำดังกล่าวมีความจงใจที่จะตั้งข้อหาให้ได้ ทั้งในแง่การสืบสวนสอบสวนที่มีการตั้งธงจะเอาผิดผู้ออกคำสั่งในนาม ศอฉ. รวมทั้งการไต่สวนของศาลนั้นก็เป็นการไต่สวนมูลเหตุเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาที่จะไปแก้ต่างให้กับตนเองได้ รวมทั้งคำสั่งของศาลว่าการเสียชีวิตของนายพัน คำกองนั้น เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่คนไหน หรือหากจะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ศอฉ. ตนก็ยืนยันว่าไม่มีคำสั่งของ ศอฉ.ฉบับไหนที่สั่งให้ทหารไปใช้ความรุนแรงกับประชาชนหรือสั่งให้ทหารไปฆ่าประชาชน เพราะมีแต่เพียงคำสั่งที่ให้ทหารออกไปรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จากกลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือชายชุดดำ ดังนั้นจึงเป็นการตีเจตนาว่าเป็นการเล็งเห็นผลนั้นไม่ได้
"การที่จะเอาคำสั่งของศาลมาตีความว่าทั้ง 2 ท่านเป็นผู้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา หรือเล็งเห็นผลนั้นยิ่งเป็นการตีความที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย หรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายแทบทั้งสิ้น เพราะคดีที่ศาลมีคำสั่งนั้นเป็นเพียงการไต่สวนว่าผู้ตายเป็นใคร ตายเมื่อไหร่ ตายอย่างไร ตายที่ไหน แต่ไม่มีในคำสั่งศาลเลยที่ชี้ว่า คุณอภิสิทธิ์ หรือคุณสุเทพ เป็นคนสั่งหรือเกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงเป็นความพยายามที่จะนำกระบวนการยุติธรรมมาบิดเบือนเพื่อเอาผิดกับบุคคลทั้ง 2 หวังเพียงเพื่อกดดันฝั่งของพรรคฝ่ายค้านให้ยอมรับกระบวนการปรองดองและการนิรโทษกรรม"
อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าบุคคลทั้ง 2 พร้อมที่จะต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ถอยหนีไปไหน และพร้อมจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่เคยมีการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขตหรือสั่งให้ทหารทำร้ายประชาชน ดังนั้นเรื่องนี้ผู้ที่ออกคำสั่งหรือตั้งข้อหาโดยมิชอบจะต้องรับผิดชอบและขอเตือนข้าราชการที่ทำงานรับใช้นักการเมืองจนออกนอกหน้าจนทำให้กระบวนการของบ้านเมืองนั้นเสียหายไปเพียงเพื่อต้องการความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานว่าสุดท้ายแล้วคนเหล่านี้ก็จะหนีไม่พ้นความรับผิดชอบเพราะสุดท้ายความถูกต้องและความจริงก็จะถูกเปิดเผยซึ่งเป็นสิ่งที่พวกคุณไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้
----------------
นายธาริต กล่าวว่า พยานหลักฐานสำคัญที่ทำให้คณะพนักงานสอบสวนทั้ง 3 ฝ่าย มีมติแจ้งข้อหาแก่บุคคลทั้งสอง มาจากพยานที่ได้จากการไต่สวนและคำสั่งศาล และพยานหลักฐานเพิ่มเติมที่สอบสวนได้ เช่น การสั่งใช้กำลังทหารที่มีอาวุธปืนเข้าปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุม ซึ่งศอฉ.เรียกว่าการกระชับพื้นที่และการขอคืนพื้นที่ การสั่งใช้อาวุธปืน การสั่งใช้พลซุ่มยิง และอื่นๆ โดยมีการออกคำสั่งเป็นลายลักษณ์อักษร จากนายสุเทพ และได้อ้างไว้ในคำสั่งด้วยว่า เกิดจากการสั่งการของนายก รัฐมนตรี อย่างชัดเจน ซึ่งสอดคล้องกับพยานบุคคลที่ร่วมอยู่ในศอฉ.ว่า นายอภิสิทธิ์ ในฐานะนายกรัฐมนตรีได้รับรู้สั่งการและพักอาศัยในศูนย์ปฏิบัติการของศอฉ. ตลอดเวลา และสำคัญ คือการสั่งการของบุคคลทั้งสอง กระทำอย่างต่อเนื่องหลายครั้ง แม้เกิดการสูญเสียชีวิตของประชาชนแล้วก็หาได้ระงับยับยั้ง หรือใช้แนวทางอื่นแต่อย่างใด รวมถึงพยานแวด ล้อมกรณีอื่นๆอีก จึงบ่งชี้ได้ว่าเป็น เจตนาเล็งเห็นผลได้ว่าการร่วมกันสั่งการเช่นนั้น ย่อมทำให้เกิดการตายของประชาชนจำนวนมากและต่อเนื่องกันหลายวัน
นายธาริต แถลงเพิ่มเติมว่า หน้าที่ของพนักงานสอบสวนต้องดำเนินการต่อตามผลไต่สวนและคำสั่งของศาล ส่วนทหารที่ได้เข้าปฏิบัติการ ศาลไม่ได้ระบุว่าเป็นผู้ใดและผลการสอบสวนไม่สามารถระบุตัวตนได้ ดังนั้น ตามกฎหมาย อาญามาตรา 70 ระบุว่า เมื่อมีการปฏิบัติตามคำสั่งการย่อมได้รับความคุ้มครองโดยไม่ต้องรับโทษ จึงไม่แจ้งข้อกล่าวหากับทหาร รวมทั้งฝ่ายยุทธการ และกองทัพซึ่งได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากปฏับัติตามคำสั่งศอฉ. อย่างไรก็ตาม ดีเอสไอ ได้มีหนังสือแจ้งให้นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพมารับทราบข้อหา และทำตามสอบสวนในฐานะผู้ต้องหา ในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ และแจ้งว่า หากทั้งสองเข้าพบพนักงานสอบสวน เพื่อรับทราบข้อกล่าวหาและสอบสวนเสร็จแล้วก็จะใช้ดุลยพินิจปล่อยตัวไป โดยไม่ขอศาลให้ฝากขังตามพรบ.การสอบสวนคดีพิเศษ เนื่องจากทั้งสองเป็นอดีตข้าราชการฝ่ายการเมืองชั้นผู้ใหญ่ ดีเอสไอจึงออกหนังสือเชิญแทนหมายเรียก
นายธาริต กล่าวว่า การให้มารับทราบข้อหาในวันที่ 12 ธ.ค.นี้ เพื่อต้องการได้ตัว เพื่อเป็นประโยชน์ในการดำเนินคดี เพราะหากพ้นวันที่ 20 ธ.ค.2555 แล้ว บุคคลทั้งสอง ก็จะได้รับเอกสิทธิ์คุ้มครองตามกฎหมาย เนื่องจากเปิดประชุมสภาผู้แทนฯ โดยเชื่อว่า ทั้งสองจะมาตามนัดหมาย ไม่ถ่วงเวลาจนเปิดประชุมสภาผู้แทนฯ ในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ ทั้งนี้ ตนยืนยันไม่ได้ทำคดีไปตามใบสั่งการเมือง และเหตุการณ์รุนแรงที่เกิดขึ้นมีผู้ทำผิดทั้ง 2 ฝ่ายโดยกลุ่มฮาร์ดคอร์นปช. ถูกดำเนินคดีไปแล้ว 62คดี มีผู้ถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล 295 คน ส่วนกลุ่มผู้สั่งการของศอฉ.เพิ่งถูกดำเนินคดีเป็นคดีแรก จึงสรุปได้ว่า ดีเอสไอดำเนินคดีทั้งสองฝ่ายอย่างเท่าเทียมกัน
ถามว่า ขณะเกิดเหตุนายอภิสิทธิ์ และนายสุเทพ เป็นนายกรัฐมนตรี และรองนายกฯฝ่ายความมั่นคง หากไม่สั่งให้ฝ่ายปฎิบัติการยุติเหตุการณ์จลาจลของกลุ่มนปช. จะเข้าข่ายละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ตาม มาตรา 157 หรือไม่ นายธาริต กล่าวว่า ประเด็นอยู่ว่าการสั่งการของนายอภิ สิทธิ์และนายสุเทพทำนอกหน้าที่หรือไม่ การดำเนินการของทั้ง 2 คนเข้าข่ายเล็งเห็นผล คือใช้กองกำลังที่มีอาวุธเข้าปะทะกับประชาชน ใช้พลซุ่มยิงย่อมมีเจตนาทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
เมื่อถามว่า ก่อนหน้านี้นายธาริตเคยออกมาแถลงในนาม ศอฉ.ว่าเห็นด้วยกับการเข้าควบคุมสถานการณ์ของเจ้าหน้าที่ นายธาริต กล่าวว่า ความเห็นของตนเป็นเห็นด้วยในการดำเนินการที่ไม่เกี่ยวกับการใช้อาวุธ แต่ไม่เคยให้ความเห็นในการดำเนินการใช้อาวุธกับประชาชน ซึ่งการตัดสินใจของศอฉ.เป็นความเห็นของคน 2 คนคือ นายอภิสิทธิ์และนายสุเทพ โดยกรรมการฝ่ายยุทธการมีหน้าที่ให้คำปรึกษา ส่วนกรรมการทั่วไปมีหน้าที่ติดตามสถานการณ์เท่านั้นจึงไม่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ
ด้านนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า เป็นการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิดเพื่อคุกคามฝ่ายตรงข้าม และตนรู้สึกไม่แปลกใจที่ DSI นั้น ต้องรีบเร่งกระทำการเรื่องดังกล่าว เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง และพยายามที่จะทำเรื่องนี้ในช่วงที่ปิดสมัยประชุมสภา เพื่อที่จะให้ทั้ง 2 ท่านไม่มีเอกสิทธิ์คุ้มครอง
ทั้งนี้ ตนขอเตือนกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยเฉพาะนายธาริต เพ็งดิษฐ์ ว่าในเรื่องนี้สังคมเห็นอย่างชัดเจนแล้วว่าการกระทำดังกล่าวมีความจงใจที่จะตั้งข้อหาให้ได้ ทั้งในแง่การสืบสวนสอบสวนที่มีการตั้งธงจะเอาผิดผู้ออกคำสั่งในนาม ศอฉ. รวมทั้งการไต่สวนของศาลนั้นก็เป็นการไต่สวนมูลเหตุเพียงฝ่ายเดียว โดยไม่มีผู้ที่ถูกกล่าวหาหรือผู้ถูกกล่าวหาที่จะไปแก้ต่างให้กับตนเองได้ รวมทั้งคำสั่งของศาลว่าการเสียชีวิตของนายพัน คำกองนั้น เกิดจากฝีมือของเจ้าหน้าที่ก็ไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นเจ้าหน้าที่คนไหน หรือหากจะอ้างว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตามคำสั่งของ ศอฉ. ตนก็ยืนยันว่าไม่มีคำสั่งของ ศอฉ.ฉบับไหนที่สั่งให้ทหารไปใช้ความรุนแรงกับประชาชนหรือสั่งให้ทหารไปฆ่าประชาชน เพราะมีแต่เพียงคำสั่งที่ให้ทหารออกไปรักษาความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง จากกลุ่มผู้ก่อการร้าย หรือชายชุดดำ ดังนั้นจึงเป็นการตีเจตนาว่าเป็นการเล็งเห็นผลนั้นไม่ได้
"การที่จะเอาคำสั่งของศาลมาตีความว่าทั้ง 2 ท่านเป็นผู้ฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา หรือเล็งเห็นผลนั้นยิ่งเป็นการตีความที่ไม่ได้อยู่บนพื้นฐานของกฎหมาย หรือขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายแทบทั้งสิ้น เพราะคดีที่ศาลมีคำสั่งนั้นเป็นเพียงการไต่สวนว่าผู้ตายเป็นใคร ตายเมื่อไหร่ ตายอย่างไร ตายที่ไหน แต่ไม่มีในคำสั่งศาลเลยที่ชี้ว่า คุณอภิสิทธิ์ หรือคุณสุเทพ เป็นคนสั่งหรือเกี่ยวข้อง ดังนั้นเรื่องดังกล่าวจึงเป็นความพยายามที่จะนำกระบวนการยุติธรรมมาบิดเบือนเพื่อเอาผิดกับบุคคลทั้ง 2 หวังเพียงเพื่อกดดันฝั่งของพรรคฝ่ายค้านให้ยอมรับกระบวนการปรองดองและการนิรโทษกรรม"
อย่างไรก็ตามตนยืนยันว่าบุคคลทั้ง 2 พร้อมที่จะต่อสู้ตามกระบวนการยุติธรรม ไม่ถอยหนีไปไหน และพร้อมจะพิสูจน์ความบริสุทธิ์ว่าไม่เคยมีการใช้อำนาจรัฐเกินขอบเขตหรือสั่งให้ทหารทำร้ายประชาชน ดังนั้นเรื่องนี้ผู้ที่ออกคำสั่งหรือตั้งข้อหาโดยมิชอบจะต้องรับผิดชอบและขอเตือนข้าราชการที่ทำงานรับใช้นักการเมืองจนออกนอกหน้าจนทำให้กระบวนการของบ้านเมืองนั้นเสียหายไปเพียงเพื่อต้องการความเจริญก้าวหน้าในอาชีพการงานว่าสุดท้ายแล้วคนเหล่านี้ก็จะหนีไม่พ้นความรับผิดชอบเพราะสุดท้ายความถูกต้องและความจริงก็จะถูกเปิดเผยซึ่งเป็นสิ่งที่พวกคุณไม่มีวันเปลี่ยนแปลงได้
----------------