ASTVผู้จัดการรายวัน - หอการค้าไทยนำบิ๊กธุรกิจไทยกว่า 20 รายบุกพม่า ดูลู่ทางการค้าการลงทุน เล็งย้ายฐานการผลิตไปพม่า เหตุค่าแรงถูก และได้สิทธิจีเอสพี ส่วนเศรษฐกิจปีหน้ายังน่าห่วง พึ่งแต่แรงขับในประเทศ ส่วนภาคส่งออกมีปัญหาทั้งเศรษฐกิจคู่ค้าชะลอตัว และยังได้รับผลกระทบค่าแรง 300 คาดโตได้ 4-5% เตรียมหารือให้ได้ข้อสรุปก่อนเสนอ ครม. ช่วย
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทย จะจัดคณะผู้นำทางธุรกิจรายใหญ่ 20 ราย ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ข้าว ประมง และอาหารสำเร็จรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ ก่อสร้าง เครื่องจักรกล ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การธนาคาร เทคโนโลยี และการขนส่ง โลจิสติกส์ เป็นต้น เดินทางไปเยือนพม่าวันที่ 16-18 ธ.ค.นี้ เพื่อพบกับประธานและผู้แทนระดับสูง ของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งพม่า เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
“เป็นการเดินทางไปเพื่อหาลู่ทางในการลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น เพราะอนาคตเอกชนต้องปรับเปลี่ยนฐานการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะพม่า เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะพม่ามีค่าแรงถูกมาก โดยค่าแรงขั้นต่ำเพียง 75-120 บาทต่อวัน ส่วนอัตราค่าจ้างในระดับปริญญาตรีเดือนละ 3,000-6,000 บาท และยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อยู่”
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ยังน่าเป็นห่วง โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4-5% ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น การออกใบอนุญาต 3 จี การเติบโตของธุรกิจก่อสร้างที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วม การประกันภัย และธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะขยายตัวจากนโยบายรถคันแรก แต่ปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะภาคการส่งออก คาดว่าไม่น่าจะดีมากนัก โดยจะเติบโตระดับ 0-5% เพราะหลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศผู้ซื้อที่ชะลอตัวลง และยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยค่าแรง 300 บาท ที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ จะมีการหารือเพื่อสรุปมาตรการช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 11 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ มาตรการทางด้านภาษีที่จะมีการหารือ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ส่วนมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการลดอัตราเงินสบทบกองทุนประกันสังคม , การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล , การนำส่วนต่างของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีได้ 2 เท่า , การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า , การให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน , มาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งมีทั้งสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สินเชื่อเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การค้ำประกันสินเชื่อ ให้กับ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน และ SMEs ที่เริ่มประกอบธุรกิจใหม่ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินจากระบบสถาบันเงินมากขึ้น เป็นต้น
นายพงษ์ศักดิ์ อัสสกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า หอการค้าไทย จะจัดคณะผู้นำทางธุรกิจรายใหญ่ 20 ราย ได้แก่ ธุรกิจอาหาร ข้าว ประมง และอาหารสำเร็จรูป สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม สินค้าอุปโภคบริโภค เคมีภัณฑ์ ก่อสร้าง เครื่องจักรกล ธุรกิจบริการ เช่น โรงแรม โรงพยาบาล การธนาคาร เทคโนโลยี และการขนส่ง โลจิสติกส์ เป็นต้น เดินทางไปเยือนพม่าวันที่ 16-18 ธ.ค.นี้ เพื่อพบกับประธานและผู้แทนระดับสูง ของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งพม่า เพื่อกระชับความสัมพันธ์และขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
“เป็นการเดินทางไปเพื่อหาลู่ทางในการลดผลกระทบจากการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เพื่อช่วยลดต้นทุนของผู้ประกอบการให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น เพราะอนาคตเอกชนต้องปรับเปลี่ยนฐานการลงทุนไปประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยเฉพาะพม่า เนื่องจากเป็นประเทศที่น่าลงทุนมากที่สุดในภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ เพราะพม่ามีค่าแรงถูกมาก โดยค่าแรงขั้นต่ำเพียง 75-120 บาทต่อวัน ส่วนอัตราค่าจ้างในระดับปริญญาตรีเดือนละ 3,000-6,000 บาท และยังได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) อยู่”
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยในปีหน้า ยังน่าเป็นห่วง โดยคาดว่าจะขยายตัวได้ประมาณ 4-5% ซึ่งปัจจัยที่จะทำให้เศรษฐกิจขยายตัว ส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายในประเทศ เช่น การออกใบอนุญาต 3 จี การเติบโตของธุรกิจก่อสร้างที่ฟื้นตัวจากน้ำท่วม การประกันภัย และธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่จะขยายตัวจากนโยบายรถคันแรก แต่ปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะภาคการส่งออก คาดว่าไม่น่าจะดีมากนัก โดยจะเติบโตระดับ 0-5% เพราะหลายๆ ธุรกิจได้รับผลกระทบทั้งจากวิกฤตเศรษฐกิจในประเทศผู้ซื้อที่ชะลอตัวลง และยังได้รับผลกระทบจากปัจจัยค่าแรง 300 บาท ที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ในวันที่ 6 ธ.ค.นี้ จะมีการหารือเพื่อสรุปมาตรการช่วยลดผลกระทบจากการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (SMEs) ก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในวันที่ 11 ธ.ค.นี้
ทั้งนี้ มาตรการทางด้านภาษีที่จะมีการหารือ เช่น การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กรณีการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และการหักค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร ส่วนมาตรการอื่นๆ เช่น มาตรการลดอัตราเงินสบทบกองทุนประกันสังคม , การลดภาษีเงินได้นิติบุคคล , การนำส่วนต่างของค่าจ้างที่เพิ่มขึ้นมาหักเป็นค่าใช้จ่ายก่อนชำระภาษีได้ 2 เท่า , การนำค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานมาหักลดหย่อนภาษีได้เพิ่มขึ้นเป็น 3 เท่า , การให้กู้ยืมเงินกองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน , มาตรการทางการเงินเพื่อเสริมสภาพคล่องให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งมีทั้งสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการจ้างงาน สินเชื่อเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิต การค้ำประกันสินเชื่อ ให้กับ SMEs ที่มีศักยภาพแต่ขาดหลักประกัน และ SMEs ที่เริ่มประกอบธุรกิจใหม่ให้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินจากระบบสถาบันเงินมากขึ้น เป็นต้น