หอการค้าไทยจี้กระทรวงแรงงานชะลอผลักดันแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ หวั่นกระทบอุตสาหกรรมการผลิต และทำให้ส่งออกชะลอตัว หลังรัฐขีดเส้นแค่ 14 ธ.ค.นี้ วอนหาทางออกร่วมเอกชนก่อน
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ขยายเวลาในการพิสูจน์สัญชาติสำหรับแรงงานต่างด้าวจนถึงวันที่ 14 ธ.ค. 2555 ว่า ภาคเอกชนเห็นว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น ธุรกิจประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และธุรกิจก่อสร้าง เพราะหลังจากพ้นวันดังกล่าวแรงงานที่ไม่ได้ทำการพิสูจน์สัญชาติจะถูกผลักดันออกจากประเทศไทย และหากต้องการกลับเข้ามาทำงานใหม่จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด
ทั้งนี้ เอกชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือหากยังไม่มีมาตรการรองรับที่ดีพอ โดยชะลอการผลักดันแรงงานต่างด้าวออกไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยเพื่อให้เวลาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแล้วได้พิสูจน์สัญชาติให้ถูกต้อง เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้มีการพิสูจน์สัญชาติอย่างถูกต้องต่อไป และควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการหาทางออกเรื่องนี้ เพราะไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และกระทบไปจนถึงภาคการส่งออก
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการบริหารหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า หากผลักดันแรงงานต่างด้าวออกไปอุตสาหกรรมอาหารและประมงที่ใช้แรงงานต่างด้าว 3-4 แสนคนจะได้รับผลกระทบทันที ทำให้การผลิตต้องหยุดลง และกระทบไปถึงภาคส่งออก
รายงานข่าวระบุว่า สำหรับข้อมูลแรงงานต่างด้าวจากกรมการจัดหางานเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2555 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่จะต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติจำนวน 886,507 คน (พม่า 565,058 คน ลาว 99,019 คน กัมพูชา 222,430 คน) โดยในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วจำนวน 530,156 คน (พม่า 473,380 คน กัมพูชา 56,776 คน) คงเหลือแรงงานที่ยังพิสูจน์สัญชาติไม่แล้วเสร็จอีกถึง 356,351 คน และคาดว่ายังมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้มีการพิสูจน์สัญชาติอีกประมาณ 5-8 แสนคน
นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยถึงกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติให้ขยายเวลาในการพิสูจน์สัญชาติสำหรับแรงงานต่างด้าวจนถึงวันที่ 14 ธ.ค. 2555 ว่า ภาคเอกชนเห็นว่านโยบายดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้น เช่น ธุรกิจประมง อุตสาหกรรมต่อเนื่อง และธุรกิจก่อสร้าง เพราะหลังจากพ้นวันดังกล่าวแรงงานที่ไม่ได้ทำการพิสูจน์สัญชาติจะถูกผลักดันออกจากประเทศไทย และหากต้องการกลับเข้ามาทำงานใหม่จะต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด
ทั้งนี้ เอกชนต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือหากยังไม่มีมาตรการรองรับที่ดีพอ โดยชะลอการผลักดันแรงงานต่างด้าวออกไปอีกระยะหนึ่ง อย่างน้อยเพื่อให้เวลาแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาแล้วได้พิสูจน์สัญชาติให้ถูกต้อง เปิดให้มีการขึ้นทะเบียนแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายใหม่อีกครั้งหนึ่งเพื่อจะได้มีการพิสูจน์สัญชาติอย่างถูกต้องต่อไป และควรมีการจัดตั้งคณะทำงานเพื่อหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับเอกชนในการหาทางออกเรื่องนี้ เพราะไม่เช่นนั้นอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมากจะได้รับผลกระทบอย่างหนัก และกระทบไปจนถึงภาคการส่งออก
นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ กรรมการบริหารหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์สมาคมแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า หากผลักดันแรงงานต่างด้าวออกไปอุตสาหกรรมอาหารและประมงที่ใช้แรงงานต่างด้าว 3-4 แสนคนจะได้รับผลกระทบทันที ทำให้การผลิตต้องหยุดลง และกระทบไปถึงภาคส่งออก
รายงานข่าวระบุว่า สำหรับข้อมูลแรงงานต่างด้าวจากกรมการจัดหางานเมื่อวันที่ 23 พ.ย. 2555 พบว่ามีแรงงานต่างด้าวที่จะต้องเข้ารับการพิสูจน์สัญชาติจำนวน 886,507 คน (พม่า 565,058 คน ลาว 99,019 คน กัมพูชา 222,430 คน) โดยในปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวได้รับการพิสูจน์สัญชาติแล้วจำนวน 530,156 คน (พม่า 473,380 คน กัมพูชา 56,776 คน) คงเหลือแรงงานที่ยังพิสูจน์สัญชาติไม่แล้วเสร็จอีกถึง 356,351 คน และคาดว่ายังมีแรงงานต่างด้าวผิดกฎหมายที่ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนและไม่ได้มีการพิสูจน์สัญชาติอีกประมาณ 5-8 แสนคน