นายภูมินทร์ หะรินสุต รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า 27 มาตรการที่รัฐบาลออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง 300 บาทนั้น ผู้ประกอบการถึงร้อยละ 70 ยังเห็นว่าไม่สามารถช่วยลดต้นทุนในส่วนที่เหลือได้ ซึ่งได้สอดคล้องกับผลการสำรวจความคิดเห็นของผู้ประกอบการเอกชนที่มาร่วมงานสัมนาหอการค้าทั่วประเทศ ครั้งที่ 30 ที่ต้องการให้รัฐบาลรับฟังความคิดเห็น และหามาตรการมาช่วยในส่วนที่ผู้ประกอบการต้องการมากที่สุด ทั้งการลดดอกเบี้ยสำหรับการซื้อเครื่องจักร เพื่อลดต้นทุนการจ้างงาน เป็นต้น
สำหรับมาตรการทั้ง 27 ข้อที่รัฐบาลเสนอออกมานั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลคิดเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ได้หารือกับผู้ประกอบการก่อน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ประเภท SMEs ที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 98 ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำมากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี ถึงร้อยละ 74
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผลสำรวจหอการค้าไทยต่อมุมมองสถานการณ์เศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท พบว่า หากมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ จะกระทบต่อธุรกิจในด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานลดลง ซึ่งจะทำให้มีการปลดคนงาน ธุรกิจขาดทุน ทั้งยังส่งผลถึงธุรกิจบางรายอาจต้องปิดกิจการ
ด้าน ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์มีความกังวลถึงเม็ดเงินที่รัฐหวังจะเพิ่มเข้ามาในระบบ 120,000-150,000 แสนล้านบาท อาจจะไม่ได้เข้าระบบ หลังขึ้นค่าจ้างแรงขั้นต่ำ เพราะประชาชนจะมีความกังวลเรื่องการเลิกจ้างงาน และทำให้เกิดการชะลอ และระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น จนทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจถึง 30,000-50,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหากประชาชนชะลอการใช้จ่ายจริงจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น
สำหรับมาตรการทั้ง 27 ข้อที่รัฐบาลเสนอออกมานั้น เป็นมาตรการที่รัฐบาลคิดเพียงฝ่ายเดียว ซึ่งไม่ได้หารือกับผู้ประกอบการก่อน โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดเล็ก ประเภท SMEs ที่มีสัดส่วนถึงร้อยละ 98 ของผู้ประกอบการไทยทั้งหมด และเป็นกลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงขั้นต่ำมากที่สุด เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการที่ไม่ได้อยู่ในระบบภาษี ถึงร้อยละ 74
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับผลสำรวจหอการค้าไทยต่อมุมมองสถานการณ์เศรษฐกิจและมาตรการช่วยเหลือของรัฐบาลจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท พบว่า หากมีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ จะกระทบต่อธุรกิจในด้านต้นทุนที่เพิ่มขึ้น การจ้างงานลดลง ซึ่งจะทำให้มีการปลดคนงาน ธุรกิจขาดทุน ทั้งยังส่งผลถึงธุรกิจบางรายอาจต้องปิดกิจการ
ด้าน ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์มีความกังวลถึงเม็ดเงินที่รัฐหวังจะเพิ่มเข้ามาในระบบ 120,000-150,000 แสนล้านบาท อาจจะไม่ได้เข้าระบบ หลังขึ้นค่าจ้างแรงขั้นต่ำ เพราะประชาชนจะมีความกังวลเรื่องการเลิกจ้างงาน และทำให้เกิดการชะลอ และระมัดระวังการใช้จ่ายมากขึ้น จนทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจถึง 30,000-50,000 หมื่นล้านบาท ซึ่งถ้าหากประชาชนชะลอการใช้จ่ายจริงจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพียงร้อยละ 0.7 เท่านั้น