ผู้สื่อข่าวรายงานว่า "ศาลอาญา" ได้ออกหมายนัดไต่สวนมูลฟ้องระหว่างนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายจาตุรันต์ บุญเบ็ญจรัตน์ ผู้ช่วยผู้ประสานงานกลุ่มกรีน (จำเลย) เมื่อวันที่ 2 ต.ค.ที่ผ่านมา ข้อหาหมิ่นประมาท ในวันที่ 26 พ.ย.เวลา 13.30 น.
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการณีในชวงระหว่างวันที่ 26-27 ก.ย.ได้มีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สำนักต่าง ๆ เผยแพร่ข่าว นายจาตุรันต์ ได้แถลงข่าว ถึงการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีตรวจสอบคุณสมบัติส.ส.ของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย และนายปลดอประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ และแทคโนโลยี ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (6) และมาตรา 174(4) หรือไม่ ซึ่งเอามาเทียบเคียงกับนายยงยุทธ และเห็นว่าตนยังไม่ได้รับโทษ ซึ่งการให้สัมภาษณ์ของนายจาตุรันต์ต่อสื่อมวลชนนั้น เป็นเท็จ เป็นการหมิ่นประมาณโจทก์ โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร หรือตัวอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือบุคคลที่สามเข้าใจและหลงเชื่อว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยตามที่จำเลยได้กล่าวอ้างอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง จากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ จากผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกศิษย์ต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติคุณ ของวงศ์ตระกูล และมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์อย่างมากอยู่ในขณะนี้
ทั้งที่ความจริงนั้น กรณีของโจทก์ตามที่นายจาตุรันต์กล่าวอ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 326/2553 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 2553 เรื่องยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ โดยคำสั่งดังกล่าวระบุว่า “ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค. 2550 ลงโทษไล่นายปลอดประสพ อดีตข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร 11) ตำแหน่งเลขที่ 3 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ออกจากราชการ ตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่งร้ายแรง กรณีเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีป่าไม้ ได้อนุญาตให้บริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ ซู จำกัด ส่งออกเสือโคร่งพันธุ์ เบงกอล จำนวน 100 ตัวไปยังสวนสัตว์ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมิชอบ
โดยกรณีดังกล่าวได้มีการดำเนินการทางวินัยแก่นายปลอดประสพ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สั่งยุติเรื่องก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2550 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาส ที่พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ นายปลดอประสพย่อมได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินเพราะได้ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 ของพ.ร.บ.ดังกล่าว อันมีผลให้ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีก แม้ว่าคณะกรรมกรป.ป.ช.มีมติว่า นายปลอดประสพ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามมาตรา 92 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ทั้งนี้ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1 คณะที่ 2 และคณะที่ 11 ) ซึ่งได้มีความเห็นในเรื่องเสร็จที่ 234/2552 และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องเสร็จที่ 468-469/2552 ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจสั่งลงโทษไล่นายปลอดประสพ ออกจากราชการได้
นายกรัฐมนตรีจึงส่งเรื่องให้อ.ก.พ.ทำหน้าที่อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณา และอ.ก.พ. กระทรวงของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในการประชุมครั้งที่ 1 /2553 เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2553 พิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค. 2550 ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 วรรคสองแห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ประกอบมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค.2550 เพื่อเป็นผลให้นายปลอดประสพ พ้นจากราชการเนื่องจากได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.2548...”
นอกจากนี้ โจทก์ก็ได้สมัครเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งโจทก์ก็ได้ถูกตรวจสอบคุณสมบัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถึง 2 ครั้ง โดยทั้ง 2 ครั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้รับรองคุณสมบัติของโจทก์ ดังนั้นการกระทำของนายจาตุรันต์ เป็นการกระทำหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร หรือตัวอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือบุคคลที่สามเข้าใจและหลงเชื่อว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยตามที่จำเลยได้กล่าวอ้างอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง จากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ จากผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกศิษย์ต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติคุณ ของวงศ์ตระกูล และมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์อย่างมากอยู่ในขณะนี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโจทก์จึงขอให้ศาลได้โปรดนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยเร็ว เพื่อโจทก์จะได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของโจทก์ และเพื่อเป็นการหยุดการกระทำของจำเลย ขอให้ศาลออกหมายนัด และเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายและขอให้ศาลสั่งและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
ขอให้จำเลยลงโษณาคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวัน หน้า 6 หนังสือพิมพ์มติชนรายวันหน้า 15 หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวันหน้า 14 และหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายวันหน้า 17 หนังสือพิมพ์เดสินิวส์หน้า 14 และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์หน้า 12 มีกำหนด 3 วัน ติดต่อกันและมีขนาดกรอบโฆษณาขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว โดยให้จำเลยดำเนินการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันดังกล่าวทั้งหมดภายในเวลา 3 วันหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ
ทั้งนี้สืบเนื่องจากการณีในชวงระหว่างวันที่ 26-27 ก.ย.ได้มีหนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ สำนักต่าง ๆ เผยแพร่ข่าว นายจาตุรันต์ ได้แถลงข่าว ถึงการยื่นเรื่องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ให้ส่งเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีตรวจสอบคุณสมบัติส.ส.ของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย และนายปลดอประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ และแทคโนโลยี ว่าสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 102 (6) และมาตรา 174(4) หรือไม่ ซึ่งเอามาเทียบเคียงกับนายยงยุทธ และเห็นว่าตนยังไม่ได้รับโทษ ซึ่งการให้สัมภาษณ์ของนายจาตุรันต์ต่อสื่อมวลชนนั้น เป็นเท็จ เป็นการหมิ่นประมาณโจทก์ โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร หรือตัวอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือบุคคลที่สามเข้าใจและหลงเชื่อว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยตามที่จำเลยได้กล่าวอ้างอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง จากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ จากผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกศิษย์ต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติคุณ ของวงศ์ตระกูล และมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์อย่างมากอยู่ในขณะนี้
ทั้งที่ความจริงนั้น กรณีของโจทก์ตามที่นายจาตุรันต์กล่าวอ้างนั้น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีในสมัยนั้น ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 326/2553 ลงวันที่ 2 ธ.ค. 2553 เรื่องยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ข้าราชการออกจากราชการ โดยคำสั่งดังกล่าวระบุว่า “ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีได้มีคำสั่งที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค. 2550 ลงโทษไล่นายปลอดประสพ อดีตข้าราชการพลเรือนสามัญ ตำแหน่งที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีฝ่ายข้าราชการประจำ (นักบริหาร 11) ตำแหน่งเลขที่ 3 สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี ออกจากราชการ ตามมติคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดทางวินัยอย่งร้ายแรง กรณีเมื่อครั้งดำรงตำแหน่งอธิบดีป่าไม้ ได้อนุญาตให้บริษัท ศรีราชา ไทเกอร์ ซู จำกัด ส่งออกเสือโคร่งพันธุ์ เบงกอล จำนวน 100 ตัวไปยังสวนสัตว์ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมิชอบ
โดยกรณีดังกล่าวได้มีการดำเนินการทางวินัยแก่นายปลอดประสพ ซึ่งผู้บังคับบัญชาได้สั่งยุติเรื่องก่อนวันที่ 5 ธ.ค. 2550 ซึ่งเป็นวันที่พ.ร.บ.ล้างมลทินในวโรกาส ที่พระบาทสมด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระชนมพรรษา 80 พรรษา พ.ศ. 2550 มีผลบังคับใช้ นายปลดอประสพย่อมได้รับประโยชน์จากการล้างมลทินเพราะได้ตามเงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในมาตรา 6 ของพ.ร.บ.ดังกล่าว อันมีผลให้ผู้บังคับบัญชาไม่สามารถดำเนินการทางวินัยได้อีก แม้ว่าคณะกรรมกรป.ป.ช.มีมติว่า นายปลอดประสพ กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง และให้ผู้บังคับบัญชาดำเนินการตามมาตรา 92 แห่งพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 ทั้งนี้ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 1 คณะที่ 2 และคณะที่ 11 ) ซึ่งได้มีความเห็นในเรื่องเสร็จที่ 234/2552 และความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกาในเรื่องเสร็จที่ 468-469/2552 ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจึงไม่อาจสั่งลงโทษไล่นายปลอดประสพ ออกจากราชการได้
นายกรัฐมนตรีจึงส่งเรื่องให้อ.ก.พ.ทำหน้าที่อ.ก.พ.กระทรวงของสำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีพิจารณา และอ.ก.พ. กระทรวงของสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในการประชุมครั้งที่ 1 /2553 เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2553 พิจารณาแล้วมีมติให้ยกเลิกคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค. 2550 ฉะนั้นอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 103 วรรคสองแห่งพ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551 ประกอบมาตรา 50 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 จึงให้ยกเลิกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 318/2550 ลงวันที่ 19 ธ.ค.2550 เพื่อเป็นผลให้นายปลอดประสพ พ้นจากราชการเนื่องจากได้รับอนุญาตให้ลาออกจากราชการ ตั้งแต่วันที่ 28 มี.ค.2548...”
นอกจากนี้ โจทก์ก็ได้สมัครเป็นส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งโจทก์ก็ได้ถูกตรวจสอบคุณสมบัติจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันถึง 2 ครั้ง โดยทั้ง 2 ครั้งคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็ได้รับรองคุณสมบัติของโจทก์ ดังนั้นการกระทำของนายจาตุรันต์ เป็นการกระทำหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาด้วยเอกสาร หรือตัวอักษร หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ซึ่งทำให้ผู้อ่านหรือบุคคลที่สามเข้าใจและหลงเชื่อว่า โจทก์ยังมีโทษทางวินัยตามที่จำเลยได้กล่าวอ้างอยู่ในปัจจุบันนี้ ทำให้โจทก์ ได้รับความเสียหาย ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง จากประชาชนชาวไทยและต่างประเทศ จากผู้บังคับบัญชา และผู้ใต้บังคับบัญชา และลูกศิษย์ต่างๆ ตลอดจนชื่อเสียง เกียรติคุณ ของวงศ์ตระกูล และมีผลกระทบต่อตำแหน่งหน้าที่การงานของโจทก์อย่างมากอยู่ในขณะนี้
ด้วยเหตุผลดังกล่าวโจทก์จึงขอให้ศาลได้โปรดนัดไต่สวนมูลฟ้องโดยเร็ว เพื่อโจทก์จะได้พิสูจน์ความบริสุทธิ์ของโจทก์ และเพื่อเป็นการหยุดการกระทำของจำเลย ขอให้ศาลออกหมายนัด และเรียกจำเลยมาพิจารณาพิพากษาลงโทษตามกฎหมายและขอให้ศาลสั่งและบังคับจำเลยตามคำขอต่อไปนี้
ขอให้จำเลยลงโษณาคำพิพากษาของศาลในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐรายวัน หน้า 6 หนังสือพิมพ์มติชนรายวันหน้า 15 หนังสือพิมพ์ข่าวสดรายวันหน้า 14 และหนังสือพิมพ์แนวหน้ารายวันหน้า 17 หนังสือพิมพ์เดสินิวส์หน้า 14 และหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์หน้า 12 มีกำหนด 3 วัน ติดต่อกันและมีขนาดกรอบโฆษณาขนาดกว้าง 4 นิ้ว ยาว 5 นิ้ว โดยให้จำเลยดำเนินการลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันดังกล่าวทั้งหมดภายในเวลา 3 วันหลังจากที่ศาลมีคำพิพากษา โดยให้จำเลยเป็นผู้ชำระค่าใช้จ่ายในการลงหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ