หนี้สาธารณะคงค้างของประเทศไทยล่าสุด ณ เดือนสิงหาคม 2555 แตะหลัก 5.01 ล้านล้านบาทแล้ว
คิดเป็นร้อยละ 44.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
แม้จะยังห่างเพดานร้อยละ 60 ของ GDP อยู่อีกมากแน่ก็ใช่ว่าจะวางใจได้ เพราะจากนี้ไปยอดหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นพรวดพราด
แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556 ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติเมื่อเดือนที่แล้ว ประเทศไทยจะก่อหนี้ใหม่อีก 9.59 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
1.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3 แสนล้านบาท
2.กู้ตามพ.ร.บ.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 3.4 แสนล้านบาท
3.กู้ตามพ.ร.ก.กองทุนประกันภัย 4.9 หมื่นล้านบาท และ...
4.กู้มาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อและ/หรือค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ 2.4 แสนล้านบาท
จำเป็นต้องพูดว่ายอดที่ 1 ที่จะต้องกู้ให้หมดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ตามเงื่อนไขในพ.ร.ก.นั้นเป็นการกู้มากองไว้ก่อนทั้งจำนวน โดยต้องเสียดอกเบี้ย เพราะโครงการยังไม่มีรูปธรรมชัดเจนในวันนี้ ต้องรอผลการประกวดแนวคิดที่บริษัทผู้เข้าร่วมประมูล 8 กลุ่มจะเสนอเข้ามาภายในสิ้นเดือนนี้ก่อน และต่อให้ได้บริษัทผู้ชนะประมูลแล้วก็ไม่ได้เบิกจ่ายไปใช้ทั้งยอด เรื่องนี้รัฐบาลยังตอบคำถามไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
แต่ที่จะพูดในวันนี้คือยอดที่ 4 สุดท้ายนั้นเป็นไปตามโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรในฤดูการผลิต 2555/56 เสีย 1.5 แสนล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดเป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินนี้ !
ที่ต้องจับตาเพราะยอดเงินที่ต้องใช้ในทั้งโครงการในฤดูการผลิต 2555/56 ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติไปเช่นกันนั้นคือ 4.05 แสนล้านบาท ไม่ใช่ 1.5 แสนล้าน
ซึ่งแปลว่าโครงการนี้ยังขาดเงินอยู่อีกมากกว่า 2.5 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลังแจ้งคณะรัฐมนตรีในหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2555 (ลงนามโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.) และ 3 ตุลาคม 2555 (ลงนามโดยนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.) ว่าส่วนที่ขาดขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธ.ก.ส. ระดมเงินจากตลาดเงินหรือจากเงินฝากด้วยตัวเอง หรือถ้าต้องกู้ กระทรวงการคลังจะจัดการให้ แต่จะไม่ค้ำประกันให้
เพราะโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรนี้กินวงเงินเข้าไปร้อยละ 55 ของกรอบวงเงินที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้
หรือถ้ารวมทั้งหมดที่เป็นของฤดูการผลิตนาปรัง 2555 ที่จะต้องจัดหาให้อยู่ก็จะสูงถึงร้อยละ 66
ทำความเข้าใจสักนิดว่าพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 28 กำหนดเกณฑ์ไว้ว่าเงินกู้ที่รัฐจะให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานในกำกับ หรือสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อไปใช้ในโครงการที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการค้ำประกันเงินกู้ด้วย ในปีงบประมาณหนึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น
กรอบวงเงินที่ว่านี้ในปีงบประมาณ 2556 คือ 4.8 แสนล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวซัดเข้าไปแล้ว 2.69 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการกู้ในปีการผลิตใหม่ 1.5 แสนล้านบาทที่กล่าวไว้เบื้องต้น ซึ่งก็ยังไม่พอ บวกกับการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของปีการผลิต 2551/52 และ 2554/55 อีก 1.13 แสนล้านบาท
ตั้งแต่ปีการผลิต 2547 เป็นต้นมา รัฐต้องรับภาระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ใช้ในโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรและรับจำนำข้าว รวมทั้งประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้งสิ้น 7.87 แสนล้านบาท มีผลขาดทุน 2.07 แสนล้านบาท มีหนี้คงค้างทั้งสิ้น 4.55 แสนล้านบาท และยังไม่สามารถปิดโครงการได้อย่างสมบูรณ์ ในหนังสือจากกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555 ตอนท้ายของข้อ 2.1 หน้า 2 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
"เป็นภาระงบประมาณที่สูงมาก จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบายสินค้าเกษตรได้ช้าและไม่มีงบประมาณเพียงพอ..."
และที่ชัดเจนขึ้นไปอีกคือข้อ 2.2 หน้า 3 ขอคัดมาให้อ่านกันทั้งหมด โดยขอแยกเป็น 2 ย่อหน้า
"เนื่องจากวงเงินดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางเกษตร ปีการผลิต 2554/55 เป็นวงเงินที่สูงและเป็นภาระต่อเนื่องต่องบประมาณ ทั้งในส่วนเงินทุนธ.ก.ส. กรอบวงเงินกู้เดิม และส่วนที่อยู่ระหว่างขยายปริมาณและกรอบการใช้เงิน (กรณีพิเศษ) เพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 408,160 ล้านบาท (90,000 + 268,660 + 49,500) รวมทั้งกินวงเงินค้ำประกันของโครงการลงทุนของประเทศของหน่วยงานอื่น ๆ ดังนั้น หากจะมีการดำเนินโครงการต่อเนื่อง ควรมีการวิเคราะห์และประเมินผลของโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมทั้งนโยบายการระบายผลิตผลทางการเกษตรที่รับจำนำ อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนดำเนินโครงการใหม่ซึ่งใช้วงเงินสูงถึง 405,000 ล้านบาท ทำให้ภาระงบประมาณเพิ่มสูง หากยังไม่มีการระบายผลผลิตโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตรดังกล่าวจะส่งผลต่อความสามารถของกระทรวงการคลังในการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56...
“และหากกรณีระบายผลิตผลที่รับจำนำไว้ได้ภายใน 3 ปี จะมีภาระการบริหารปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 224,553 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่อการระดมทุนในตลาดเงินที่มีสภาพคล่องตึงตัว ทั้งในด้านต้นทุนการกู้เงินที่สูงขึ้น และเป็นภาระงบประมาณเพิ่มสูงขึ้นต่อไป...”
แปลไทยเป็นไทยว่าเราจะมีภาระหนี้เพิ่มปีละประมาณ 3 แสนล้านบาทบวกลบ เฉพาะจากโครงการนี้
หนังสือกระทรวงการคลังทั้ง 2 ฉบับที่ลงนามโดยรมว.และรมช.นี้ จัดทำโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักจัดการหนี้ 2 มีความยาว 8 หน้าและ 6 หน้าตามลำดับ กล่าวถึงโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
ข้อความบางตอน โดยเฉพาะข้อ 2.6 หน้า 4 ในหนังสือฉบับ 3 ตุลาคม 2555 อ่านความระหว่างบรรทัดได้ว่าโครงการนี้เฉพาะตัวนโยบายถือว่าล้มเหลวโดยพื้นฐาน
ตอนหนึ่งคือข้อ 2.3 ในหนังสือฉบับเดียวกันระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 มีนาคม 2555 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
และมีข้อเสนอแนะอย่างจริงจัง หนักแน่น แต่สุภาพ ไว้ประมาณ 10 ข้อ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1.จะไม่มีการค้ำประกันเงินกู้ให้ธ.ก.ส.อีกแล้วนอกเหนือไปจาก 1.5 แสนล้านบาท
2.อุดช่องโหว่ในการปฏิบัตินโยบาย โดยเฉพาะการบันทึกหนี้ให้ทันเหตุการณ์
3.ให้เร่งระบายขายข้าวออก
หนังสือกระทรวงการคลังทั้ง 2 ฉบับ (ด่วนที่สุด ที่ 0904/16437 และด่วนที่สุด ที่ 0904/17560) คือหลักฐานและคือใบเสร็จที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูงกว่าราคาตลาดเกือบร้อยละ 50 เป็นอย่างดียิ่ง ไม่มีอะไรจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว
ขอชื่นชมข้าราชการกระทรวงการคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่บอกเล่าเรื่องราวสู่สาธารณะได้อย่างคลาสสิกยิ่ง
ธ.ก.ส.จะทำอย่างไรต่อ ลูกค้าเงินฝากธ.ก.ส.จะรู้สึกอย่างไร หากได้ทราบเนื้อความในหนังสือทั้ง 2 ฉบับนี้ทั้งหมด
ขอย้ำความในตอนสุดท้ายของหนังสือด่วนที่สุด ที่ 0904/17560 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555
“...วงเงินส่วนที่เหลือ เห็นควรให้ธ.ก.ส.ระดมเงินจากตลาดและเงินฝาก ธ.ก.ส. ตามกรอบของพระราชบัญญัติธ.ก.ส.เป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอ ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ให้โดยไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว”
แปลไทยเป็นไทยง่าย ๆ สั้น ๆ ตามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นนั่นแหละ...
ธ.ก.ส.ถูกลอยแพ !
คิดเป็นร้อยละ 44.89 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP
แม้จะยังห่างเพดานร้อยละ 60 ของ GDP อยู่อีกมากแน่ก็ใช่ว่าจะวางใจได้ เพราะจากนี้ไปยอดหนี้สาธารณะจะเพิ่มขึ้นพรวดพราด
แผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ 2556 ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติเมื่อเดือนที่แล้ว ประเทศไทยจะก่อหนี้ใหม่อีก 9.59 แสนล้านบาท แบ่งเป็น
1.กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณรายจ่ายประจำปี 3 แสนล้านบาท
2.กู้ตามพ.ร.บ.บริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ 3.4 แสนล้านบาท
3.กู้ตามพ.ร.ก.กองทุนประกันภัย 4.9 หมื่นล้านบาท และ...
4.กู้มาให้รัฐวิสาหกิจกู้ต่อและ/หรือค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ 2.4 แสนล้านบาท
จำเป็นต้องพูดว่ายอดที่ 1 ที่จะต้องกู้ให้หมดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2556 ตามเงื่อนไขในพ.ร.ก.นั้นเป็นการกู้มากองไว้ก่อนทั้งจำนวน โดยต้องเสียดอกเบี้ย เพราะโครงการยังไม่มีรูปธรรมชัดเจนในวันนี้ ต้องรอผลการประกวดแนวคิดที่บริษัทผู้เข้าร่วมประมูล 8 กลุ่มจะเสนอเข้ามาภายในสิ้นเดือนนี้ก่อน และต่อให้ได้บริษัทผู้ชนะประมูลแล้วก็ไม่ได้เบิกจ่ายไปใช้ทั้งยอด เรื่องนี้รัฐบาลยังตอบคำถามไม่ได้ว่าจะแก้ปัญหาอย่างไร
แต่ที่จะพูดในวันนี้คือยอดที่ 4 สุดท้ายนั้นเป็นไปตามโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรในฤดูการผลิต 2555/56 เสีย 1.5 แสนล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดเป็นส่วนหนึ่งของกรอบวงเงินนี้ !
ที่ต้องจับตาเพราะยอดเงินที่ต้องใช้ในทั้งโครงการในฤดูการผลิต 2555/56 ที่คณะรัฐมนตรีเพิ่งอนุมัติไปเช่นกันนั้นคือ 4.05 แสนล้านบาท ไม่ใช่ 1.5 แสนล้าน
ซึ่งแปลว่าโครงการนี้ยังขาดเงินอยู่อีกมากกว่า 2.5 แสนล้านบาท
กระทรวงการคลังแจ้งคณะรัฐมนตรีในหนังสือลงวันที่ 18 กันยายน 2555 (ลงนามโดยนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รมว.) และ 3 ตุลาคม 2555 (ลงนามโดยนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.) ว่าส่วนที่ขาดขอให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือธ.ก.ส. ระดมเงินจากตลาดเงินหรือจากเงินฝากด้วยตัวเอง หรือถ้าต้องกู้ กระทรวงการคลังจะจัดการให้ แต่จะไม่ค้ำประกันให้
เพราะโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรนี้กินวงเงินเข้าไปร้อยละ 55 ของกรอบวงเงินที่กฎหมายอนุญาตให้ทำได้
หรือถ้ารวมทั้งหมดที่เป็นของฤดูการผลิตนาปรัง 2555 ที่จะต้องจัดหาให้อยู่ก็จะสูงถึงร้อยละ 66
ทำความเข้าใจสักนิดว่าพ.ร.บ.การบริหารหนี้สาธารณะ พ.ศ. 2548 มาตรา 25 ประกอบมาตรา 28 กำหนดเกณฑ์ไว้ว่าเงินกู้ที่รัฐจะให้กู้ต่อแก่รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานในกำกับ หรือสถาบันการเงินของรัฐ เพื่อไปใช้ในโครงการที่รัฐบาลเห็นว่ามีความจำเป็นเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งการค้ำประกันเงินกู้ด้วย ในปีงบประมาณหนึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 20 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปีเท่านั้น
กรอบวงเงินที่ว่านี้ในปีงบประมาณ 2556 คือ 4.8 แสนล้านบาท
โครงการรับจำนำข้าวซัดเข้าไปแล้ว 2.69 แสนล้านบาท แบ่งเป็นการกู้ในปีการผลิตใหม่ 1.5 แสนล้านบาทที่กล่าวไว้เบื้องต้น ซึ่งก็ยังไม่พอ บวกกับการกู้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของปีการผลิต 2551/52 และ 2554/55 อีก 1.13 แสนล้านบาท
ตั้งแต่ปีการผลิต 2547 เป็นต้นมา รัฐต้องรับภาระต้นเงินและดอกเบี้ยที่ใช้ในโครงการรับจำนำผลิตผลการเกษตรและรับจำนำข้าว รวมทั้งประกันรายได้เกษตรกร รวมทั้งสิ้น 7.87 แสนล้านบาท มีผลขาดทุน 2.07 แสนล้านบาท มีหนี้คงค้างทั้งสิ้น 4.55 แสนล้านบาท และยังไม่สามารถปิดโครงการได้อย่างสมบูรณ์ ในหนังสือจากกระทรวงการคลังฉบับลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555 ตอนท้ายของข้อ 2.1 หน้า 2 กล่าวไว้อย่างชัดเจนว่า
"เป็นภาระงบประมาณที่สูงมาก จำเป็นต้องปรับโครงสร้างหนี้อย่างต่อเนื่อง เนื่องจากระบายสินค้าเกษตรได้ช้าและไม่มีงบประมาณเพียงพอ..."
และที่ชัดเจนขึ้นไปอีกคือข้อ 2.2 หน้า 3 ขอคัดมาให้อ่านกันทั้งหมด โดยขอแยกเป็น 2 ย่อหน้า
"เนื่องจากวงเงินดำเนินโครงการรับจำนำผลิตผลทางเกษตร ปีการผลิต 2554/55 เป็นวงเงินที่สูงและเป็นภาระต่อเนื่องต่องบประมาณ ทั้งในส่วนเงินทุนธ.ก.ส. กรอบวงเงินกู้เดิม และส่วนที่อยู่ระหว่างขยายปริมาณและกรอบการใช้เงิน (กรณีพิเศษ) เพิ่มเติม รวมทั้งสิ้น 408,160 ล้านบาท (90,000 + 268,660 + 49,500) รวมทั้งกินวงเงินค้ำประกันของโครงการลงทุนของประเทศของหน่วยงานอื่น ๆ ดังนั้น หากจะมีการดำเนินโครงการต่อเนื่อง ควรมีการวิเคราะห์และประเมินผลของโครงการที่ได้ดำเนินการแล้ว รวมทั้งนโยบายการระบายผลิตผลทางการเกษตรที่รับจำนำ อย่างเป็นรูปธรรม ก่อนดำเนินโครงการใหม่ซึ่งใช้วงเงินสูงถึง 405,000 ล้านบาท ทำให้ภาระงบประมาณเพิ่มสูง หากยังไม่มีการระบายผลผลิตโครงการรับจำนำผลิตผลทางการเกษตรดังกล่าวจะส่งผลต่อความสามารถของกระทรวงการคลังในการค้ำประกันเงินกู้โครงการรับจำนำข้าวเปลือกปีการผลิต 2555/56...
“และหากกรณีระบายผลิตผลที่รับจำนำไว้ได้ภายใน 3 ปี จะมีภาระการบริหารปรับโครงสร้างหนี้เฉลี่ยปีละ 224,553 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่อการระดมทุนในตลาดเงินที่มีสภาพคล่องตึงตัว ทั้งในด้านต้นทุนการกู้เงินที่สูงขึ้น และเป็นภาระงบประมาณเพิ่มสูงขึ้นต่อไป...”
แปลไทยเป็นไทยว่าเราจะมีภาระหนี้เพิ่มปีละประมาณ 3 แสนล้านบาทบวกลบ เฉพาะจากโครงการนี้
หนังสือกระทรวงการคลังทั้ง 2 ฉบับที่ลงนามโดยรมว.และรมช.นี้ จัดทำโดยสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) สำนักจัดการหนี้ 2 มีความยาว 8 หน้าและ 6 หน้าตามลำดับ กล่าวถึงโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดอย่างเป็นรูปธรรมที่สุด
ข้อความบางตอน โดยเฉพาะข้อ 2.6 หน้า 4 ในหนังสือฉบับ 3 ตุลาคม 2555 อ่านความระหว่างบรรทัดได้ว่าโครงการนี้เฉพาะตัวนโยบายถือว่าล้มเหลวโดยพื้นฐาน
ตอนหนึ่งคือข้อ 2.3 ในหนังสือฉบับเดียวกันระบุว่ากระทรวงพาณิชย์ไม่ปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 29 มีนาคม 2555 และวันที่ 1 พฤษภาคม 2555
และมีข้อเสนอแนะอย่างจริงจัง หนักแน่น แต่สุภาพ ไว้ประมาณ 10 ข้อ แบ่งเป็น 3 กลุ่ม
1.จะไม่มีการค้ำประกันเงินกู้ให้ธ.ก.ส.อีกแล้วนอกเหนือไปจาก 1.5 แสนล้านบาท
2.อุดช่องโหว่ในการปฏิบัตินโยบาย โดยเฉพาะการบันทึกหนี้ให้ทันเหตุการณ์
3.ให้เร่งระบายขายข้าวออก
หนังสือกระทรวงการคลังทั้ง 2 ฉบับ (ด่วนที่สุด ที่ 0904/16437 และด่วนที่สุด ที่ 0904/17560) คือหลักฐานและคือใบเสร็จที่มีต่อโครงการรับจำนำข้าวทุกเมล็ดในราคาสูงกว่าราคาตลาดเกือบร้อยละ 50 เป็นอย่างดียิ่ง ไม่มีอะไรจะดีไปกว่านี้อีกแล้ว
ขอชื่นชมข้าราชการกระทรวงการคลัง สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ที่บอกเล่าเรื่องราวสู่สาธารณะได้อย่างคลาสสิกยิ่ง
ธ.ก.ส.จะทำอย่างไรต่อ ลูกค้าเงินฝากธ.ก.ส.จะรู้สึกอย่างไร หากได้ทราบเนื้อความในหนังสือทั้ง 2 ฉบับนี้ทั้งหมด
ขอย้ำความในตอนสุดท้ายของหนังสือด่วนที่สุด ที่ 0904/17560 ลงวันที่ 3 ตุลาคม 2555
“...วงเงินส่วนที่เหลือ เห็นควรให้ธ.ก.ส.ระดมเงินจากตลาดและเงินฝาก ธ.ก.ส. ตามกรอบของพระราชบัญญัติธ.ก.ส.เป็นลำดับแรก หากไม่เพียงพอ ให้กระทรวงการคลังจัดหาเงินกู้ให้โดยไม่ค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว”
แปลไทยเป็นไทยง่าย ๆ สั้น ๆ ตามที่จั่วหัวไว้ข้างต้นนั่นแหละ...
ธ.ก.ส.ถูกลอยแพ !