"อภิสิทธิ์" วอนรัฐบาลทบทวนจำนำข้าว ก่อนเศรษฐกิจไทยล่มสลาย แนะใช้วิธีอื่นช่วยเกษตรกรแทน เตือนเศรษฐกิจปีหน้าอาการหนัก ห่วง เอสเอ็มอี กระทบหนัก ชี้รัฐบาลเดินผิดทางมุ่งเมกกะโปรเจกต์กระตุ้นเศรษฐกิจช่วยไม่ได้ แถมผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่กับคนกลุ่มเดียว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสดงความเป็นห่วง กรณีที่รัฐบาลยังคงยืนยันที่จะไม่ทบทวนนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งๆ ที่มีการท้วงติงจากหลายฝ่าย โดยล่าสุด คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม วุฒิสภา สรุปผลศึกษานโยบายดังกล่าวว่า จะทำให้เศรษฐกิจล้มละลายซ้ำรอยประเทศกรีซ โดยเห็นว่าความเสียหายโดยตรงจากการขาดทุนแล้ว โอกาสที่จะเสียไปจากการขายข้าวของประเทศ ก็ต้องนับรวมด้วยจึงเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนจะลุกลามบานปลายแค่ไหน ก็แล้วแต่จะมีการประเมินกัน
แต่สิ่งที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้คือ โครงการนี้มีปัญหา และจะต้องทบทวนนโยบาย ซึ่งพรรคยืนยันว่า ถ้าจะต้องเสียเงินจำนวนเท่านี้ เราสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากกว่านี้เป็นเท่าตัว จึงไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลจะไม่ทบทวน เพราะจะช่วยเกษตรกรได้มากขึ้นเป็นเท่าตัว แทนที่จะเอาเงินเหล่านี้ไปตกหล่น หรือรั่วไหลไปที่อื่น
อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิของรัฐบาลว่าจะทบทวนนโยบายนี้หรือไม่ แต่รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย รัฐบาลควรจะตัดสินใจจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงทันที ตัวเลขที่บอกว่าขาดทุนปีละ 1.5 แสนล้าน และการส่งออกที่หายไป 40 % ซึ่งไม่ควรเสียหาย เพราะถ้าลองทำไปอีก 3-5 ปี ไม่ใช่วิธีการบริหารที่ดี
ส่วนที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธาน ทีดีอาร์ไอ ประเมินว่าหากยังเดินหน้าเช่นนี้เศรษฐกิจไทยอาจล่มสลายภายใน 10 ปีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทำไมต้องรอให้เดินไปถึงจุดนั้น รัฐบาลน่าจะทบทวนอย่างตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ยังเห็นว่าประเด็นการบริหารเศรษฐกิจ นอกจากเรื่องของจำนำข้าวแล้ว ยังมีปัญหาค่าแรงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง 300 บาทเท่ากันทุกจังหวัดต้นปีหน้า จะสร้างปัญหาให้กับเอสเอ็มอี ในจังหวัดที่เดิมค่าแรงค่อนข้างต่ำ แต่ยังไม่เห็นแผนที่ชัดเจนว่า รัฐบาลมีมาตรการรองรับอย่างไร นอกจากนั้นราคาอาหารก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะต้นทุนปศุสัตว์ในเรื่องของอาหารจะสูงขึ้น ควบคู่ไปกับนโยบายพลังงานที่รัฐบาลมีแนวโน้มจะซ้ำเติมประชาชนจากการขึ้นค่าแก๊ส และไฟฟ้า ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่จะเสริมรายได้ให้ประชาชน จะไม่สัมพันธ์กับรายจ่ายที่ประชาชนต้องแบกรับ เพราะมีนโยบายที่ซ้ำเติมค่าครองชีพของประชาชนด้วย
" เป็นภาวะที่ผมคิดว่า ขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องก็สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง เพราะเขาเห็นอาการว่าเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นเศรษฐกิจเปิดมีปัญหาในเรื่องการส่งออก ในประเทศก็ยังไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน รัฐบาลจะมุ่งแต่เรื่องโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีความล่าช้ามาก เพราะขาดรายละเอียด และผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนที่รัฐบาลเชื่อว่านโยบายประชานิยมจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ขอให้ดูตัวอย่างจำนำข้าวที่หนี้สินเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นคำตอบอยู่ในตัวอยู่แล้ว ขณะที่ส่งออกก็ไม่เป็นไปตามเป้า รัฐบาลต้องเร่งหาคำตอบให้กับเอสเอ็มอี ที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงในหลายจังหวัด จะทำอย่างไร " นายอภิสิทธิ์ กล่าว
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวแสดงความเป็นห่วง กรณีที่รัฐบาลยังคงยืนยันที่จะไม่ทบทวนนโยบายรับจำนำข้าว ทั้งๆ ที่มีการท้วงติงจากหลายฝ่าย โดยล่าสุด คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจ การพาณิชย์ และอุตสาหกรรม วุฒิสภา สรุปผลศึกษานโยบายดังกล่าวว่า จะทำให้เศรษฐกิจล้มละลายซ้ำรอยประเทศกรีซ โดยเห็นว่าความเสียหายโดยตรงจากการขาดทุนแล้ว โอกาสที่จะเสียไปจากการขายข้าวของประเทศ ก็ต้องนับรวมด้วยจึงเป็นเรื่องใหญ่ ส่วนจะลุกลามบานปลายแค่ไหน ก็แล้วแต่จะมีการประเมินกัน
แต่สิ่งที่รัฐบาลปฏิเสธไม่ได้คือ โครงการนี้มีปัญหา และจะต้องทบทวนนโยบาย ซึ่งพรรคยืนยันว่า ถ้าจะต้องเสียเงินจำนวนเท่านี้ เราสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้มากกว่านี้เป็นเท่าตัว จึงไม่มีเหตุผลที่รัฐบาลจะไม่ทบทวน เพราะจะช่วยเกษตรกรได้มากขึ้นเป็นเท่าตัว แทนที่จะเอาเงินเหล่านี้ไปตกหล่น หรือรั่วไหลไปที่อื่น
อย่างไรก็ตาม เป็นสิทธิของรัฐบาลว่าจะทบทวนนโยบายนี้หรือไม่ แต่รัฐบาลก็ต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย รัฐบาลควรจะตัดสินใจจากปัญหาที่เกิดขึ้นจริงทันที ตัวเลขที่บอกว่าขาดทุนปีละ 1.5 แสนล้าน และการส่งออกที่หายไป 40 % ซึ่งไม่ควรเสียหาย เพราะถ้าลองทำไปอีก 3-5 ปี ไม่ใช่วิธีการบริหารที่ดี
ส่วนที่นายสมเกียรติ ตั้งกิจวานิช ประธาน ทีดีอาร์ไอ ประเมินว่าหากยังเดินหน้าเช่นนี้เศรษฐกิจไทยอาจล่มสลายภายใน 10 ปีนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ทำไมต้องรอให้เดินไปถึงจุดนั้น รัฐบาลน่าจะทบทวนอย่างตรงไปตรงมา
ทั้งนี้ยังเห็นว่าประเด็นการบริหารเศรษฐกิจ นอกจากเรื่องของจำนำข้าวแล้ว ยังมีปัญหาค่าแรงที่จะมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้าง 300 บาทเท่ากันทุกจังหวัดต้นปีหน้า จะสร้างปัญหาให้กับเอสเอ็มอี ในจังหวัดที่เดิมค่าแรงค่อนข้างต่ำ แต่ยังไม่เห็นแผนที่ชัดเจนว่า รัฐบาลมีมาตรการรองรับอย่างไร นอกจากนั้นราคาอาหารก็มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะต้นทุนปศุสัตว์ในเรื่องของอาหารจะสูงขึ้น ควบคู่ไปกับนโยบายพลังงานที่รัฐบาลมีแนวโน้มจะซ้ำเติมประชาชนจากการขึ้นค่าแก๊ส และไฟฟ้า ซึ่งนโยบายของรัฐบาลที่จะเสริมรายได้ให้ประชาชน จะไม่สัมพันธ์กับรายจ่ายที่ประชาชนต้องแบกรับ เพราะมีนโยบายที่ซ้ำเติมค่าครองชีพของประชาชนด้วย
" เป็นภาวะที่ผมคิดว่า ขณะนี้ผู้ที่เกี่ยวข้องก็สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นที่ลดลง เพราะเขาเห็นอาการว่าเศรษฐกิจไทยซึ่งเป็นเศรษฐกิจเปิดมีปัญหาในเรื่องการส่งออก ในประเทศก็ยังไม่มีแผนรองรับที่ชัดเจน รัฐบาลจะมุ่งแต่เรื่องโครงการขนาดใหญ่ ซึ่งจะมีความล่าช้ามาก เพราะขาดรายละเอียด และผลประโยชน์กระจุกตัวอยู่กับคนบางกลุ่มเท่านั้น ส่วนที่รัฐบาลเชื่อว่านโยบายประชานิยมจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศนั้น ขอให้ดูตัวอย่างจำนำข้าวที่หนี้สินเกษตรกรเพิ่มขึ้นเป็นคำตอบอยู่ในตัวอยู่แล้ว ขณะที่ส่งออกก็ไม่เป็นไปตามเป้า รัฐบาลต้องเร่งหาคำตอบให้กับเอสเอ็มอี ที่จะได้รับผลกระทบจากนโยบายค่าแรงในหลายจังหวัด จะทำอย่างไร " นายอภิสิทธิ์ กล่าว