ผอ.วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์เกษตร ทีดีอาร์ไอ ไม่เชื่อรับจำนำข้าวยกระดับราคาข้าวให้สูงขึ้น ชี้กักข้าวแค่ทำราคาสูงชั่วคราว สุดท้ายก็ต้องปล่อยบิ๊กล็อตทำราคาตกอีก จี้ระบายของค้างสต๊อกด่วนตามราคาตลาดโลก-ลดราคาจำนำเหลือหมื่น 3 ต่อเกวียนแล้วยกเลิกกลับไปใช้ประกันรายได้แทน
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 2 เวลา 14.00 น. นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผอ.วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยระหว่างการประชุมพิจารณาศึกษาผลกระทบจากนโยบายรับจำนำข้าว ในคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาฯ ว่า ไม่เชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจะสามารถยกระดับราคาข้าวในตลาดโลกให้สูงขึ้นได้ เพราะราคาข้าวในประเทศอินเดีย และประเทศเวียดนามมีราคาต่ำกว่า การที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวคุณภาพรายใหญ่และอ้างว่าการเก็บข้าวในสต๊อกจะทำให้ข้าวหายไปจากตลาดและจะส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นตามมานั้นยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ แต่จะสูงขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้วข้าวที่ค้างสต๊อกจากการขาดประสิทธิภาพในการระบายของรัฐบาล รวมถึงข้าวอีกปริมาณมหาศาลที่เตรียมเข้าสู่โครงการรับจำนำในปีถัดไปจะทำให้ปริมาณข้าวทั้งหมดมีปริมาณสูงจนในที่สุดก็ต้องปล่อยออกมาจำนวนมาก และส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกตกลงมาในที่สุด
นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ เร่งระบายข้าวที่ค้างในสต๊อกอย่างเร็วที่สุดโดยผ่านการประมูลอย่างโปร่งใสเพื่อให้ได้ราคาข้าวตามตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลขาดทุนราว 1 แสนล้านบาท เนื่องจากต้นทุนรับซื้อข้าวของรัฐบาลอยู่ที่ 800 เหรียญต่อตัน แต่ขายออกไปในราคาตลาด 500 เหรียญต่อตัน ซึ่งเม็ดเงินแสนล้านที่เสียไปไม่ได้แตกต่างจากโครงการรับประกันราคาข้าวของรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์มากนัก เพราะการรับประกันราคาข้าวในปี 52/53 ก็ขาดทุน 5 หมื่นล้าน ต่อมาปี 53/54 ขาดทุน 7.7 หมื่นล้าน แต่โครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีขนาดโครงการใหญ่กว่าเพราะรับจำนำขีดเส้นไว้ให้ 1.5 หมื่นบาท ถือว่าเยอะที่สุดเป็นครั้งประวัติศาสตร์ การขาดทุน 1 แสนล้านจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
“ในระยะสั้นอยากให้รัฐบาลเร่งระบายข้าวในสต๊อก และลดราคาจำนำลงมาในระดับที่ทั้งชาวนารับได้ และรัฐบาลไม่ขาดทุนมากจนเกินไปอาจอยู่ที่ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน จะทำให้ขายข้าวในตลาดโลกไม่ขาดทุนจนเกินไป” นายวิโรจน์กล่าว
นายวิโรจน์กล่าวอีกว่า หากจะแก้ปัญหานี้ในระยะยาวขอเสนอให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำแล้วหันไปใช้การประกันราคาตามปกติ โดยยึดราคาข้าวเฉลี่ย 3 ปีเป็นมาตรฐาน และหากปีใดชาวนาได้ราคาข้าวที่ต่ำกว่าราคามาตรฐานดังกล่าว รัฐบาลจึงเข้ามาชดเชยในราคาข้าวส่วนต่างที่ชาวนาไม่ได้รับตามเกณฑ์ ทั้งนี้จะส่งผลดีให้รัฐบาลได้คาดการณ์แนวโน้มจากตลาดโลกโดยรวมแล้วมาปรับปรุงนโยบายภายในประเทศ เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในขณะนี้กำลังเข้าไปกำหนดกลไกตลาดโลก ดังนั้นควรเปลี่ยนให้ตลาดโลกเป็นตัวส่งสัญญาณเข้ามาแล้วรัฐบาลก็ปรับนโยบาย ส่วนชาวนาก็จะปรับพฤติกรรมการปลูกพืชให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกไม่ควรเป็นผู้เข้าไปฝืนตลาดเอง
วันนี้ (17 ต.ค.) ที่อาคารรัฐสภา 2 เวลา 14.00 น. นายวิโรจน์ ณ ระนอง ผอ.วิจัยด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและการเกษตร มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) เปิดเผยระหว่างการประชุมพิจารณาศึกษาผลกระทบจากนโยบายรับจำนำข้าว ในคณะกรรมาธิการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาฯ ว่า ไม่เชื่อว่าโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลจะสามารถยกระดับราคาข้าวในตลาดโลกให้สูงขึ้นได้ เพราะราคาข้าวในประเทศอินเดีย และประเทศเวียดนามมีราคาต่ำกว่า การที่ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวคุณภาพรายใหญ่และอ้างว่าการเก็บข้าวในสต๊อกจะทำให้ข้าวหายไปจากตลาดและจะส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นตามมานั้นยอมรับว่ามีความเป็นไปได้ แต่จะสูงขึ้นเพียงชั่วคราวเท่านั้น เพราะท้ายที่สุดแล้วข้าวที่ค้างสต๊อกจากการขาดประสิทธิภาพในการระบายของรัฐบาล รวมถึงข้าวอีกปริมาณมหาศาลที่เตรียมเข้าสู่โครงการรับจำนำในปีถัดไปจะทำให้ปริมาณข้าวทั้งหมดมีปริมาณสูงจนในที่สุดก็ต้องปล่อยออกมาจำนวนมาก และส่งผลให้ราคาข้าวในตลาดโลกตกลงมาในที่สุด
นายวิโรจน์กล่าวต่อว่า ขณะนี้สิ่งที่รัฐบาลควรทำคือ เร่งระบายข้าวที่ค้างในสต๊อกอย่างเร็วที่สุดโดยผ่านการประมูลอย่างโปร่งใสเพื่อให้ได้ราคาข้าวตามตลาดโลก ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลขาดทุนราว 1 แสนล้านบาท เนื่องจากต้นทุนรับซื้อข้าวของรัฐบาลอยู่ที่ 800 เหรียญต่อตัน แต่ขายออกไปในราคาตลาด 500 เหรียญต่อตัน ซึ่งเม็ดเงินแสนล้านที่เสียไปไม่ได้แตกต่างจากโครงการรับประกันราคาข้าวของรัฐบาลสมัยพรรคประชาธิปัตย์มากนัก เพราะการรับประกันราคาข้าวในปี 52/53 ก็ขาดทุน 5 หมื่นล้าน ต่อมาปี 53/54 ขาดทุน 7.7 หมื่นล้าน แต่โครงการของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร มีขนาดโครงการใหญ่กว่าเพราะรับจำนำขีดเส้นไว้ให้ 1.5 หมื่นบาท ถือว่าเยอะที่สุดเป็นครั้งประวัติศาสตร์ การขาดทุน 1 แสนล้านจึงไม่ใช่เรื่องแปลก
“ในระยะสั้นอยากให้รัฐบาลเร่งระบายข้าวในสต๊อก และลดราคาจำนำลงมาในระดับที่ทั้งชาวนารับได้ และรัฐบาลไม่ขาดทุนมากจนเกินไปอาจอยู่ที่ 1.3 หมื่นบาทต่อตัน จะทำให้ขายข้าวในตลาดโลกไม่ขาดทุนจนเกินไป” นายวิโรจน์กล่าว
นายวิโรจน์กล่าวอีกว่า หากจะแก้ปัญหานี้ในระยะยาวขอเสนอให้รัฐบาลยกเลิกโครงการรับจำนำแล้วหันไปใช้การประกันราคาตามปกติ โดยยึดราคาข้าวเฉลี่ย 3 ปีเป็นมาตรฐาน และหากปีใดชาวนาได้ราคาข้าวที่ต่ำกว่าราคามาตรฐานดังกล่าว รัฐบาลจึงเข้ามาชดเชยในราคาข้าวส่วนต่างที่ชาวนาไม่ได้รับตามเกณฑ์ ทั้งนี้จะส่งผลดีให้รัฐบาลได้คาดการณ์แนวโน้มจากตลาดโลกโดยรวมแล้วมาปรับปรุงนโยบายภายในประเทศ เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลในขณะนี้กำลังเข้าไปกำหนดกลไกตลาดโลก ดังนั้นควรเปลี่ยนให้ตลาดโลกเป็นตัวส่งสัญญาณเข้ามาแล้วรัฐบาลก็ปรับนโยบาย ส่วนชาวนาก็จะปรับพฤติกรรมการปลูกพืชให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกไม่ควรเป็นผู้เข้าไปฝืนตลาดเอง