การประมูลคลื่นความถี่ 3 จีจบไปฉากหนึ่ง หลังจากตั้งท่ามานาน แต่ถูกมองว่าเป็นการประเคนแบบเอื้ออวยสุดๆ ให้ 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ด้านสื่อ คือ เอไอเอส ดีแทค และทรู ซึ่งส่งบริษัทในเครือเข้าชิงผลประโยชน์มหาศาลกินนาน 15 ปี
จำนวนเงินที่รัฐจะได้จากทั้ง 3 ค่ายคือ 4 หมื่นกว่าล้านบาทเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าผลประโยชน์ที่จ่ายให้รัฐปีที่ผ่านมาปีเดียว ถ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับพันกว่าล้านบาท ถูกยิ่งกว่าได้เปล่า ถ้าคำนึงถึงมูลค่าเงินแท้จริง หักอัตราเงินเฟ้อในอีก 15 ปี แต่ทั้ง 3 ค่ายมีสิทธิปรับค่าบริการในช่วงของอายุสัมปทาน
การประมูลซึ่งดูถูกประชาชนอย่างร้ายกาจคือ 2 ค่ายยักษ์ ดีแทค และทรู ไม่ยอมเคาะราคาสู้ ยื้ออยู่ที่ราคาตั้งต้น เสนอเงินเท่ากันคือ 13,500 ล้านบาท! นับเป็นความมหัศจรรย์พันลึกเกินกว่าจะเชื่อได้ว่าทั้งคู่มีใจตรงกัน
หรือเป็นเพราะตัวแทนของกลุ่มดีแทค และกลุ่มทรูใช้ความสามารถด้านโทรจิตติดต่อกันว่าจะไม่แข่งราคาให้สิ้นเปลืองเงินตัวเองมากเกินความจำเป็น แบบนี้ไม่ต้องประมูลเอาคลื่นโทรศัพท์ให้เสียเงิน เปิดบริการโทรจิตดีกว่า
ความพิสดารด้านเงื่อนไขของการประมูลมีกลุ่มนักวิชาการ ผู้รู้ต่างๆ ชี้ให้เห็นเป็นฉากๆ กระทรวงการคลังก็บอกว่าการประมูลส่งกลิ่นตุๆ จากซอกรักแร้ “ไอ้ฮั้ว” ซึ่งไม่ยอมใช้แขน มือ เคาะราคา แต่องค์กรที่จัดประมูลคือ กสทช. และ กทค.ไม่ยอมรับฟัง ยืนกระต่ายขาเดียวว่าทุกอย่างโปร่งใส
แถมยังขยันออกหนังสือรับรองการประมูล รับเช็ควงเงิน 50 เปอร์เซ็นต์จากผู้ประมูล อ้างเงื่อนไข กฎ ระเบียบ แต่ไม่ยอมบอกว่าประชาชน บ้านเมืองได้ประโยชน์อย่างไรเมื่อราคาประมูลต่ำน่าเหลือเชื่อ และไม่มีการสู้ราคา
เมื่อการประมูลไม่มีการแข่งขัน ย่อมไม่ใช่การประมูล! ผู้จัดการประมูลย่อมยกเลิกได้ถ้ามีจิตสำนึกดีต้องการให้ชาติบ้านเมืองได้ประโยชน์แท้จริง! แต่นี่ดันอ้างเหตุผลข้างๆ คูๆ ชาวบ้านฟังแล้วมองว่าเป็นการอวยให้เอกชนทั้งนั้น
จะโทษผู้เข้าประมูลก็ไม่ได้ เมื่อมีเงื่อนไขอวยให้แบบนั้นก็ต้องไม่เสียโอกาสงามๆ ยิ่ง กสทช.ลดราคาประมูลพื้นฐานจาก 6 พันกว่าล้านต่อช่องเหลือเพียง 4 พันกว่าล้าน ยิ่งทำให้ความสงสัยมีน้ำหนักว่ามีการคิดไม่ซื่อ
การรับจำนำข้าวโดยรัฐบาล เป็นการเอาเงินประชาชนไปซื้อแพงมาขายถูกๆ! การประมูลคลื่น 3 จี เป็นการเอาของดีของประชาชนมาขายถูกๆ เหมือนการขายเลหลังสินค้าจากไฟไหม้ร้านค้า เอามาแบกะดินขายบนฟุตปาธ
กทค.มีความกระเหี้ยนกระหือรือกระสันสุดๆ อยากออกใบอนุญาตให้ผู้รับการประเคน อ้างว่าไม่ต้องให้ กสทช.อนุมัติก็ได้! สร้างความสงสัยว่าการเร่งเอื้อประโยชน์นั้นมันชวนให้คิดว่าจะมีใครได้อะไรจากงานนี้เช่นนั้นหรือ
ชาวบ้านติดตามงานประมูลเชื่อว่ามี “ไอ้ฮั้ว” มาเพ่นพ่าน เป็นตัวนำสื่อโทรจิตเชื่อมโยง 2 ค่าย ยิ่งทำให้เกิดเสียงซุบซิบของการเปลี่ยนสภาพฐานะ ความมั่งคั่งส่วนตัวของคนวงการได้เสียกับการประมูล เปลี่ยนรถ เตรียมยกระดับสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงตัวเลขเงินฝาก
การอ้างความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. และ กทค.นั้นก็เกินไป! เหมือนกับว่าไม่มีใครในโลกนี้มีสิทธิท้วงติง ตรวจสอบได้ ทั้งๆ ที่คนในองค์กรกินเงินเดือนสูง ผลประโยชน์สารพัดอื้อซ่าด้วยเงินจากภาษีของประชาชน
คลื่น 3 จี ที่เอาไปประมูล ก็เป็นทรัพย์สินแผ่นดิน ไม่ใช่เป็นสมบัติของโคตรเหง้าคนใน กสทช.ซึ่งจะเอาไปแจกฟรีๆ หรือปู้ยี่ปู้ยำอวยให้เอกชน
ถ้ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่ไว้ใจ กสทช. กทค.แล้วจะให้ประชาชนคนธรรมดาเชื่อมั่นในความโปร่งใส สุจริตใจของคนในองค์กรอิสระนี้ได้อย่างไร เมื่อคำพูด พฤติกรรมท่าทีส่อแววว่าไม่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
ความน่าสมเพชเวทนาในสภาวะของการปราศจากการคุ้มครองผลประโยชน์ทรัพย์สินของบ้านเมือง ยังมีในคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งไม่รับคำร้อง คำฟ้องของอย่างน้อย 6 กลุ่มบุคคลและหน่วยงานในกรณี 3 จี
อ้างว่าพวกผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง! ขอถามย้ำอีกครั้ง ถ้าประชาชนเสียภาษี เจ้าของทรัพย์สินแผ่นดิน ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะสูญเสียรายได้ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง แล้วไอ้เบื๊อก ไอ้ปื๊ด ไอ้หน้าโง่ที่ไหนเป็นผู้เสียหาย!
ยังดี คราวนี้ศาลปกครองบอกให้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบ! แบบนี้ทำให้ชาวบ้านธรรมดาเริ่มสงสัยว่าจะไปร้องเรียนกับใคร การดิ้นรนเป็นปากเสียงต่อส่วนรวม เมื่อเห็นความทะแม่งๆ กลิ่นตุๆ ดันมีข้อจำกัดพิสดาร
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมีกฎหมาย หรือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญชัดเจนถึงกรณีผู้เสียหายโดยตรง! ระบุให้ชัดว่าประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกรณีจากโครงการของรัฐ การฟ้องร้องคดีทุจริตต่อศาล หรือองค์กรอิสระ ต้องไม่จำกัดเฉพาะอำนาจของอัยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น
กฎหมายเกี่ยวโยงกับกระบวนการพิจารณาคดี มุมมอง ทัศนคติของตุลาการสมควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันเกมพวกกังฉิน
หรือจะให้พวก “ไอ้ฮั้ว” ขบวนการ “เจ๊” เสือหิวงาบสะดวกจนสิ้นชาติ!?
จำนวนเงินที่รัฐจะได้จากทั้ง 3 ค่ายคือ 4 หมื่นกว่าล้านบาทเล็กน้อย แต่ต่ำกว่าผลประโยชน์ที่จ่ายให้รัฐปีที่ผ่านมาปีเดียว ถ้าเฉลี่ยต่อปีเท่ากับพันกว่าล้านบาท ถูกยิ่งกว่าได้เปล่า ถ้าคำนึงถึงมูลค่าเงินแท้จริง หักอัตราเงินเฟ้อในอีก 15 ปี แต่ทั้ง 3 ค่ายมีสิทธิปรับค่าบริการในช่วงของอายุสัมปทาน
การประมูลซึ่งดูถูกประชาชนอย่างร้ายกาจคือ 2 ค่ายยักษ์ ดีแทค และทรู ไม่ยอมเคาะราคาสู้ ยื้ออยู่ที่ราคาตั้งต้น เสนอเงินเท่ากันคือ 13,500 ล้านบาท! นับเป็นความมหัศจรรย์พันลึกเกินกว่าจะเชื่อได้ว่าทั้งคู่มีใจตรงกัน
หรือเป็นเพราะตัวแทนของกลุ่มดีแทค และกลุ่มทรูใช้ความสามารถด้านโทรจิตติดต่อกันว่าจะไม่แข่งราคาให้สิ้นเปลืองเงินตัวเองมากเกินความจำเป็น แบบนี้ไม่ต้องประมูลเอาคลื่นโทรศัพท์ให้เสียเงิน เปิดบริการโทรจิตดีกว่า
ความพิสดารด้านเงื่อนไขของการประมูลมีกลุ่มนักวิชาการ ผู้รู้ต่างๆ ชี้ให้เห็นเป็นฉากๆ กระทรวงการคลังก็บอกว่าการประมูลส่งกลิ่นตุๆ จากซอกรักแร้ “ไอ้ฮั้ว” ซึ่งไม่ยอมใช้แขน มือ เคาะราคา แต่องค์กรที่จัดประมูลคือ กสทช. และ กทค.ไม่ยอมรับฟัง ยืนกระต่ายขาเดียวว่าทุกอย่างโปร่งใส
แถมยังขยันออกหนังสือรับรองการประมูล รับเช็ควงเงิน 50 เปอร์เซ็นต์จากผู้ประมูล อ้างเงื่อนไข กฎ ระเบียบ แต่ไม่ยอมบอกว่าประชาชน บ้านเมืองได้ประโยชน์อย่างไรเมื่อราคาประมูลต่ำน่าเหลือเชื่อ และไม่มีการสู้ราคา
เมื่อการประมูลไม่มีการแข่งขัน ย่อมไม่ใช่การประมูล! ผู้จัดการประมูลย่อมยกเลิกได้ถ้ามีจิตสำนึกดีต้องการให้ชาติบ้านเมืองได้ประโยชน์แท้จริง! แต่นี่ดันอ้างเหตุผลข้างๆ คูๆ ชาวบ้านฟังแล้วมองว่าเป็นการอวยให้เอกชนทั้งนั้น
จะโทษผู้เข้าประมูลก็ไม่ได้ เมื่อมีเงื่อนไขอวยให้แบบนั้นก็ต้องไม่เสียโอกาสงามๆ ยิ่ง กสทช.ลดราคาประมูลพื้นฐานจาก 6 พันกว่าล้านต่อช่องเหลือเพียง 4 พันกว่าล้าน ยิ่งทำให้ความสงสัยมีน้ำหนักว่ามีการคิดไม่ซื่อ
การรับจำนำข้าวโดยรัฐบาล เป็นการเอาเงินประชาชนไปซื้อแพงมาขายถูกๆ! การประมูลคลื่น 3 จี เป็นการเอาของดีของประชาชนมาขายถูกๆ เหมือนการขายเลหลังสินค้าจากไฟไหม้ร้านค้า เอามาแบกะดินขายบนฟุตปาธ
กทค.มีความกระเหี้ยนกระหือรือกระสันสุดๆ อยากออกใบอนุญาตให้ผู้รับการประเคน อ้างว่าไม่ต้องให้ กสทช.อนุมัติก็ได้! สร้างความสงสัยว่าการเร่งเอื้อประโยชน์นั้นมันชวนให้คิดว่าจะมีใครได้อะไรจากงานนี้เช่นนั้นหรือ
ชาวบ้านติดตามงานประมูลเชื่อว่ามี “ไอ้ฮั้ว” มาเพ่นพ่าน เป็นตัวนำสื่อโทรจิตเชื่อมโยง 2 ค่าย ยิ่งทำให้เกิดเสียงซุบซิบของการเปลี่ยนสภาพฐานะ ความมั่งคั่งส่วนตัวของคนวงการได้เสียกับการประมูล เปลี่ยนรถ เตรียมยกระดับสถานที่อยู่อาศัยให้เหมาะสมกับความเปลี่ยนแปลงตัวเลขเงินฝาก
การอ้างความเป็นองค์กรอิสระของ กสทช. และ กทค.นั้นก็เกินไป! เหมือนกับว่าไม่มีใครในโลกนี้มีสิทธิท้วงติง ตรวจสอบได้ ทั้งๆ ที่คนในองค์กรกินเงินเดือนสูง ผลประโยชน์สารพัดอื้อซ่าด้วยเงินจากภาษีของประชาชน
คลื่น 3 จี ที่เอาไปประมูล ก็เป็นทรัพย์สินแผ่นดิน ไม่ใช่เป็นสมบัติของโคตรเหง้าคนใน กสทช.ซึ่งจะเอาไปแจกฟรีๆ หรือปู้ยี่ปู้ยำอวยให้เอกชน
ถ้ากระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานของรัฐ ไม่ไว้ใจ กสทช. กทค.แล้วจะให้ประชาชนคนธรรมดาเชื่อมั่นในความโปร่งใส สุจริตใจของคนในองค์กรอิสระนี้ได้อย่างไร เมื่อคำพูด พฤติกรรมท่าทีส่อแววว่าไม่ปกป้องผลประโยชน์ของรัฐ
ความน่าสมเพชเวทนาในสภาวะของการปราศจากการคุ้มครองผลประโยชน์ทรัพย์สินของบ้านเมือง ยังมีในคำวินิจฉัยของศาลปกครอง ซึ่งไม่รับคำร้อง คำฟ้องของอย่างน้อย 6 กลุ่มบุคคลและหน่วยงานในกรณี 3 จี
อ้างว่าพวกผู้ร้องไม่ใช่ผู้เสียหายโดยตรง! ขอถามย้ำอีกครั้ง ถ้าประชาชนเสียภาษี เจ้าของทรัพย์สินแผ่นดิน ไม่ใช่ผู้เสียหายเพราะสูญเสียรายได้ ไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรง แล้วไอ้เบื๊อก ไอ้ปื๊ด ไอ้หน้าโง่ที่ไหนเป็นผู้เสียหาย!
ยังดี คราวนี้ศาลปกครองบอกให้ไปร้องผู้ตรวจการแผ่นดินให้ตรวจสอบ! แบบนี้ทำให้ชาวบ้านธรรมดาเริ่มสงสัยว่าจะไปร้องเรียนกับใคร การดิ้นรนเป็นปากเสียงต่อส่วนรวม เมื่อเห็นความทะแม่งๆ กลิ่นตุๆ ดันมีข้อจำกัดพิสดาร
ถึงเวลาหรือยังที่ต้องมีกฎหมาย หรือบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญชัดเจนถึงกรณีผู้เสียหายโดยตรง! ระบุให้ชัดว่าประชาชนย่อมเป็นผู้เสียหาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกรณีจากโครงการของรัฐ การฟ้องร้องคดีทุจริตต่อศาล หรือองค์กรอิสระ ต้องไม่จำกัดเฉพาะอำนาจของอัยการ หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเท่านั้น
กฎหมายเกี่ยวโยงกับกระบวนการพิจารณาคดี มุมมอง ทัศนคติของตุลาการสมควรปรับเปลี่ยนให้เข้ากับยุคสมัย ไม่อย่างนั้นจะไม่ทันเกมพวกกังฉิน
หรือจะให้พวก “ไอ้ฮั้ว” ขบวนการ “เจ๊” เสือหิวงาบสะดวกจนสิ้นชาติ!?