การประมูลใบอนุญาตประกอบกิจการโทรศัพท์มือถือ 3 จีในคลื่นความถี่ 2.1 กิกะเฮิรตซ์ผ่านไปแล้วตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม ที่ผ่านมา โดย 3 ค่ายยักษ์ใหญ่ซึ่งได้แก่ บริษัทแอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด หรือ เอไอเอส บริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ในกลุ่ม บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ดีแทค เนทเวอร์ค จำกัด ในเครือบริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทคประมูลได้
การรับรองการประมูล การมอบหนังสือการประมูล การชำระเงินค่าประมูลงวดแรกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประหนึ่งจะบอกให้รู้ว่า เป็นความกระหายอยาก เป็นความต้องการ ทั้งองค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องนี้ ทั้งผู้ให้บริการ รวมทั้งประชาชนผู้บริโภคที่ถูกปลุกเร้าให้เกิดความอยาก ความต้องการอยากใช้บริการ
นับจากนี้เป็นต้นไป ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคใหม่ของการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเรามักจะพูดอยู่เสมอว่า เราล้าหลังเพื่อนบ้าน อย่างลาว เวียดนาม ที่เขาเดินหน้าไปสู่ 4 จี 5 จีไปโน่นแล้ว
ขณะเดียวกันก็เป็นความรวดเร็วฉับไว ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มต่างๆ ต่อการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้
ไม่ได้คัดค้านการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ 3 จีอันเป็นสิ่งบอกความทันสมัย หากแต่การประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการประเคนผลประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชน แทนที่จะเป็นการประมูลกลับเป็นการฮั้วของบริษัททั้ง 3 ที่ทำธุรกิจการโทรคมนาคม
การประมูลที่บางคนคาดว่าจะดำเนินการอย่างยืดเยื้อข้ามวันข้ามคืนจบลงรวดเร็ว โดยบริษัททั้ง 3 ต่างก็ได้คลื่นความถี่ และต่างก็ไม่ได้สู้ราคากันแต่อย่างใด
บริษัทในเครือเอไอเอสเป็นผู้เสนอราคาเพียงเจ้าเดียวจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้รวมเป็นเงิน 14,625 ล้านบาท ขณะที่บริษัทในเครือดีแทค และบริษัทในเครือของทรูไม่มีการเสนอราคาเพิ่มจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้คือ สล็อตละ 4,500 ล้านบาท แต่อย่างใด แต่ทั้งสองบริษัทกลับได้รับสิทธิ และได้รับใบอนุญาตในอีก 6 สล็อตที่เหลือ
ผลจากการประมูล พฤติการณ์พฤติกรรมของผู้ประมูลเป็นไปอย่างที่มีผู้แสดงความกังวลห่วงใยก่อนที่จะมีการประมูล ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ด้วยความห่วงใยได้นำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ศาลบอกว่าเรื่องยังไม่เกิดบ้าง ผู้ฟ้องคดีคาดการณ์เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นไปเอง คนที่ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย และไม่ใช่ผู้เสียหายบ้าง ยังไม่พิจารณาคำร้องบ้าง
เมื่อไปทางศาลปกครองไม่ได้ก็หันไปหาช่องทางอื่น เป็นต้น ผู้ตรวจการแผ่นดินบ้าง การร้องถอดถอนกรรมการ กสทช.บ้าง
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือความเห็นของนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ ได้ส่งหนังสือคัดค้านการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกล่าวถึงผลการประมูลว่า
ผลการประมูลรวมถึงพฤติกรรมของผู้ร่วมเข้าประมูลเป็นไปตามข้อเรียกร้อง และข้อคัดค้านหลายฝ่ายที่พยายามจะคัดค้านให้ กสทช.ปรับหลักเกณฑ์ก่อนการประมูล แต่ กสทช.ไม่ปรับแก้ ยังคงเดินหน้าไม่สนใจข้อเรียกร้องของทุกฝ่าย
นางสาวสุภา กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวของ กสทช.และผู้เข้าร่วมประมูลว่า มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ส่อไปในทางร่วมมือกันทุจริตต่อผลประโยชน์จากทรัพยากรของรัฐ คือ คลื่นความถี่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย หรือมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการทำให้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่
รูปแบบและวิธีการประมูลแบ่งเป็น 9 สล็อตที่ กสทช.กำหนดขึ้น ถือเป็นการประมูลแบบใหม่ โดยไม่มีการอ้างอิงมาตรฐานการประมูลจากที่ใด หรือกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต 2 รายไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติม ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ถือเป็นความผิดมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า
“เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดหรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบกำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท” หรือไม่
การที่บริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งสอง คือ ดีแทค เนทเวอร์ค และ เรียล ฟิวเจอร์ ไม่เคาะเสนอราคาเพิ่มเติมจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้สล็อตละ 4,500 ล้านบาท เป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ว่าจะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอราคาสินค้า หรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในการประกอบธุรกิจต้องระวางโทษ......
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นดังกล่าวของนางสาวสุภา ถูกโต้กลับจากนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ทันทีว่า ได้ทำหนังสือด่วนถึงนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ขอให้พิจารณาดำเนินการกับนางสาวสุภาและให้นางสาวสุภารับผิดชอบต่อการกระทำที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น
ถ้าหากย้อนกลับไปพิจารณาข้อร้องเรียนของนางสาวสุภาต่อ ป.ป.ช.ก็ดี การแสดงความคิดเห็นต่อการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีของ กสทช.ล้วนเป็นไปด้วยเจตนาที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทั้งสิ้น ถ้าหากข้าราชการไทยออกมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ต้องถูกพิจารณาโทษ พิจารณาความผิด ก็มองเห็นอนาคตได้เลยครับว่า มีแต่ที่จะเดินไปสู่หุบเหวแห่งหายนะเท่านั้น
การรับรองการประมูล การมอบหนังสือการประมูล การชำระเงินค่าประมูลงวดแรกเป็นไปอย่างรวดเร็ว ประหนึ่งจะบอกให้รู้ว่า เป็นความกระหายอยาก เป็นความต้องการ ทั้งองค์กรอิสระที่ดูแลเรื่องนี้ ทั้งผู้ให้บริการ รวมทั้งประชาชนผู้บริโภคที่ถูกปลุกเร้าให้เกิดความอยาก ความต้องการอยากใช้บริการ
นับจากนี้เป็นต้นไป ประเทศไทยจะก้าวสู่ยุคใหม่ของการสื่อสารโทรคมนาคม ซึ่งเรามักจะพูดอยู่เสมอว่า เราล้าหลังเพื่อนบ้าน อย่างลาว เวียดนาม ที่เขาเดินหน้าไปสู่ 4 จี 5 จีไปโน่นแล้ว
ขณะเดียวกันก็เป็นความรวดเร็วฉับไว ท่ามกลางเสียงคัดค้านของกลุ่มต่างๆ ต่อการประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้
ไม่ได้คัดค้านการที่ประเทศไทยจะเข้าสู่ 3 จีอันเป็นสิ่งบอกความทันสมัย หากแต่การประมูลคลื่นความถี่ครั้งนี้ถูกมองว่าเป็นการประเคนผลประโยชน์ให้แก่บริษัทเอกชน แทนที่จะเป็นการประมูลกลับเป็นการฮั้วของบริษัททั้ง 3 ที่ทำธุรกิจการโทรคมนาคม
การประมูลที่บางคนคาดว่าจะดำเนินการอย่างยืดเยื้อข้ามวันข้ามคืนจบลงรวดเร็ว โดยบริษัททั้ง 3 ต่างก็ได้คลื่นความถี่ และต่างก็ไม่ได้สู้ราคากันแต่อย่างใด
บริษัทในเครือเอไอเอสเป็นผู้เสนอราคาเพียงเจ้าเดียวจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้รวมเป็นเงิน 14,625 ล้านบาท ขณะที่บริษัทในเครือดีแทค และบริษัทในเครือของทรูไม่มีการเสนอราคาเพิ่มจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้คือ สล็อตละ 4,500 ล้านบาท แต่อย่างใด แต่ทั้งสองบริษัทกลับได้รับสิทธิ และได้รับใบอนุญาตในอีก 6 สล็อตที่เหลือ
ผลจากการประมูล พฤติการณ์พฤติกรรมของผู้ประมูลเป็นไปอย่างที่มีผู้แสดงความกังวลห่วงใยก่อนที่จะมีการประมูล ผู้ที่ติดตามสถานการณ์ด้วยความห่วงใยได้นำเรื่องฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ศาลบอกว่าเรื่องยังไม่เกิดบ้าง ผู้ฟ้องคดีคาดการณ์เรื่องที่ยังไม่เกิดขึ้นไปเอง คนที่ร้องยังไม่ได้รับความเสียหาย และไม่ใช่ผู้เสียหายบ้าง ยังไม่พิจารณาคำร้องบ้าง
เมื่อไปทางศาลปกครองไม่ได้ก็หันไปหาช่องทางอื่น เป็นต้น ผู้ตรวจการแผ่นดินบ้าง การร้องถอดถอนกรรมการ กสทช.บ้าง
ที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือความเห็นของนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง และประธานกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีการอิเล็กทรอนิกส์ ได้ส่งหนังสือคัดค้านการประมูลคลื่นความถี่ 3 จี ต่อประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ โดยกล่าวถึงผลการประมูลว่า
ผลการประมูลรวมถึงพฤติกรรมของผู้ร่วมเข้าประมูลเป็นไปตามข้อเรียกร้อง และข้อคัดค้านหลายฝ่ายที่พยายามจะคัดค้านให้ กสทช.ปรับหลักเกณฑ์ก่อนการประมูล แต่ กสทช.ไม่ปรับแก้ ยังคงเดินหน้าไม่สนใจข้อเรียกร้องของทุกฝ่าย
นางสาวสุภา กล่าวว่า ด้วยเหตุนี้จึงร้องเรียนไปยัง ป.ป.ช.ให้ตรวจสอบการกระทำดังกล่าวของ กสทช.และผู้เข้าร่วมประมูลว่า มีพฤติกรรมหรือการกระทำที่ส่อไปในทางร่วมมือกันทุจริตต่อผลประโยชน์จากทรัพยากรของรัฐ คือ คลื่นความถี่ทำให้ประเทศชาติเกิดความเสียหาย หรือมีการกระทำที่เอื้อประโยชน์ต่อผู้ประกอบการทำให้รัฐเสียประโยชน์หรือไม่
รูปแบบและวิธีการประมูลแบ่งเป็น 9 สล็อตที่ กสทช.กำหนดขึ้น ถือเป็นการประมูลแบบใหม่ โดยไม่มีการอ้างอิงมาตรฐานการประมูลจากที่ใด หรือกฎระเบียบข้อบังคับใดๆ ส่งผลให้ผู้เข้าร่วมการประมูลใบอนุญาต 2 รายไม่มีการเสนอราคาเพิ่มเติม ทำให้ไม่เกิดการแข่งขัน ถือเป็นความผิดมาตรา 11 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานรัฐ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า
“เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐผู้ใดหรือผู้ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานของรัฐผู้ใด โดยทุจริตทำการออกแบบกำหนดราคา กำหนดเงื่อนไข หรือกำหนดผลประโยชน์ตอบแทน อันเป็นมาตรฐานในการเสนอราคาโดยมุ่งหมายมิให้มีการแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรม หรือเพื่อช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใดมิให้มีโอกาสเข้าแข่งขันในการเสนอราคาอย่างเป็นธรรมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 20 ปี หรือจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ 100,000-400,000 บาท” หรือไม่
การที่บริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งสอง คือ ดีแทค เนทเวอร์ค และ เรียล ฟิวเจอร์ ไม่เคาะเสนอราคาเพิ่มเติมจากราคาเริ่มต้นที่ กสทช.กำหนดไว้สล็อตละ 4,500 ล้านบาท เป็นการร่วมกันกระทำความผิดตามมาตรา 4 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ. 2542 ที่กำหนดว่า ผู้ใดตกลงร่วมกันในการเสนอราคาเพื่อวัตถุประสงค์ว่าจะให้ประโยชน์แก่ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นผู้มีสิทธิทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ โดยหลีกเลี่ยงการแข่งขันราคาอย่างเป็นธรรม หรือโดยการกีดกันมิให้มีการเสนอราคาสินค้า หรือบริการอื่นต่อหน่วยงานของรัฐอันมิใช่เป็นไปในการประกอบธุรกิจต้องระวางโทษ......
อย่างไรก็ตาม ความคิดเห็นดังกล่าวของนางสาวสุภา ถูกโต้กลับจากนายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช.ทันทีว่า ได้ทำหนังสือด่วนถึงนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง ขอให้พิจารณาดำเนินการกับนางสาวสุภาและให้นางสาวสุภารับผิดชอบต่อการกระทำที่สร้างความเสียหายให้แก่ผู้อื่น
ถ้าหากย้อนกลับไปพิจารณาข้อร้องเรียนของนางสาวสุภาต่อ ป.ป.ช.ก็ดี การแสดงความคิดเห็นต่อการประมูลคลื่นความถี่ 3 จีของ กสทช.ล้วนเป็นไปด้วยเจตนาที่ต้องการรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนทั้งสิ้น ถ้าหากข้าราชการไทยออกมาปกป้องผลประโยชน์ของชาติบ้านเมือง ต้องถูกพิจารณาโทษ พิจารณาความผิด ก็มองเห็นอนาคตได้เลยครับว่า มีแต่ที่จะเดินไปสู่หุบเหวแห่งหายนะเท่านั้น