คำพิพากษาศาลปกครองกลางให้สำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติต้องจ่ายเงินให้กับผู้ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 นั้น มีความหมายอย่างยิ่งยวดว่าการรอคอยที่ยาวนานนั้นได้เดินหน้าในการพิสูจน์ในระยะเวลาอันใกล้เพิ่มมากขึ้น เมื่อศาลปกครองกลางได้พิพากษาว่าการกระทำดังกล่าวของเจ้าหน้าที่รัฐนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และละเมิดต่อประชาชนผู้ใช้สิทธิและทำหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญและต้องชดใช้ความเสียหายจากกรณีดังกล่าว
เป็นคำพิพากษาที่แปลความได้ว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และได้เป็นการชุมนุมที่ทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่ได้ประโยชน์ส่วนตน
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นว่ากรณีการกล่าวให้ร้ายทั้งจากนักการเมือง ตำรวจ และแกนนำคนเสื้อแดงบางคนที่ระบุว่า น้องโบว์ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ว่าเสียชีวิตเพราะหนีบระเบิดอยู่บริเวณรักแร้นั้น เป็นเรื่องโกหกหน้าด้านๆ ไร้ยางอาย และไม่เคยแสดงความรับผิดชอบ
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งชุมนุมตามสิทธิและตามหน้าที่ซึ่งบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น กลับถูกกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐ ลุแก่อำนาจ ทำไปด้วยความสะใจ กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง จึงสมควรที่จะต้องถูกดำเนินคดีความอาญาต่อไปจนถึงที่สุด
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นเช่นกันอีกด้วยว่า การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธอันเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุนั้น ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จึงมีสิทธิอันชอบธรรมแล้วที่จะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐโดยไม่มีข้อสงสัย และผู้ที่กระทำความผิดที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียเงินดังกล่าวก็ต้องรับผิดทางแพ่งนั้นด้วยเช่นกัน
เป็นคำพิพากษาที่สะท้อนให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นและชั้นกลางซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาลทุกยุคไม่ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม สนใจแต่จะอุ้มชูช่วยเหลือผู้ที่ถืออำนาจรัฐและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด และกลั่นแกล้งยัดเยียดข้อหาที่เป็นเท็จให้กับมวลชนฝ่ายตรงกันข้าม ดังจะเห็นได้จากกรณีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ที่ตำรวจและอัยการได้ร่วมมือกันในการขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการตายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดในปี 2553 ในการชุมนุมของคนเสื้อแดง แต่คดีของ “น้องโบว์” น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ กลับไม่มีการไต่สวนพลิกศพเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2551
แสดงให้เห็นว่า “คนเสื้อแดง” ต่างหาก ที่เป็นอภิสิทธิชนเหนือกว่าประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ ย่อมเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าแกนนำคนเสื้อแดงไม่ได้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม แต่เป็นการต่อสู้เพื่อให้กลุ่มและพวกของตัวเองเป็นอภิสิทธิชนเหนือกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ใช่หรือไม่?
คำพิพากษาครั้งนี้ พิสูจน์ว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงย่อมมีความแตกต่างจากการชุมนุมภายใต้แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อย่างสิ้นเชิง
ด้วยข้อพิสูจน์ข้างต้นนี้ การได้รับการเยียวยาจึงเป็นความชอบธรรมของผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีภาพและหลักฐานเป็นจำนวนมากว่าเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง อีกทั้งยังมีการประกาศบนเวทีในการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงด้วย จากเหตุผลเหล่านี้จะมีความชอบธรรมที่จะได้รับการเยียวยาโดยนำกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาบังหน้า โดยจ่ายมั่วๆ เพื่อช่วยเหลือตัวเองและพวกพ้องของฝ่ายรัฐบาลได้อย่างไร ทั้งๆ ที่การชุมนุมของคนทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน?
คำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีนี้ คงอาจทำให้ขบวนการของอำนาจรัฐบาลในการอุ้มชูคนทำผิด และทำร้ายทำลายคนทำถูกคงต้องหยุดชะงักลง จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเกิดการสมรู้ร่วมคิดในการช่วยเหลือและถ่วงเวลาผลของคำพิพากษาครั้งนี้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
เพราะเวลาที่ถ่วงผลของคำพิพากษาให้เนิ่นนานออกไป ก็จะได้ใช้สื่อของฝ่ายรัฐบาลในการประโคมข่าว โฆษณาชวนเชื่อ ในการอุ้มคนชั่ว ทำลายคนดี ต่อไป ใช่หรือไม่?
หลังคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล จึงตัดสินใจในการอุทธรณ์ต่อโดยทันที เพราะคงไม่อยากให้มีบทสรุปโดยเร็วว่าการจ่ายเงินเยียวยาที่ผ่านมานั้น เป็นการจ่ายเงินแบบมั่วๆ เพื่อให้แยกไม่ออกระหว่างคนทำผิดกับคนทำถูก และจะได้นำเงินจากภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายให้กับพรรคพวกคนเสื้อแดงที่สนับสนุนรัฐบาลใช่หรือไม่?
ความขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงได้เกิดขึ้นเพราะในขณะที่รัฐบาลเร่งจ่ายเงินเยียวยาให้เร็วที่สุดโดยไม่สนใจว่าใครผิดหรือใครถูก อัยการเร่งรัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพคนเสื้อแดงโดยอ้างว่าเพื่อเร่งพิสูจน์ความจริง แต่กลับปล่อยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอุทธรณ์ให้ยืดเยื้อยาวนานเพื่อไม่ต้องการรับผลการพิสูจน์ความจริงในคดีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นผู้ควบคุมกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำเอาไว้ได้เกือบทั้งหมด ทั้งกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ แถมยังสามารถเอื้อประโยชน์ต่ออัยการซึ่งเป็นกระบวนการต้นน้ำให้ได้รับผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในกิจการรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์และผลตอบแทนในรูปตัวเงิน อันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ไม่สามารถจะให้ความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นและชั้นกลางได้
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คดีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หากหาทางออกในการช่วยไม่ได้อาจจะถูกเก็บเข้าลิ้นชักในชั้นกระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นและชั้นกลาง ในขณะที่หากพอหาแนวทางศรีธนญชัยพอได้กระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นหรือชั้นกลางคงหาทางแถ และทำทุกวิถีทางที่จะไม่นำคดีของคนเสื้อแดงไปส่งฟ้องเพื่อพิสูจน์ความจริงในชั้นศาล
ตรงกันข้ามกับคดี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่เมื่อศาลปกครองกลางได้พิพากษาว่าสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติกระทำความผิดแล้ว แทนที่อัยการจะเร่งสรุปนำผลการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการฟ้องคดีอาญากับผู้ที่กระทำความผิดก็กลับสั่งไม่ฟ้องอย่างหน้าตาเฉย
ไม่ต้องพูดถึงอัยการสูงสุดที่ก่อนหน้านี้มีผลในการไม่ฎีกาคดีการหลบเลี่ยงภาษีหุ้นชินคอร์ปอันเป็นประโยชน์ต่อตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีความเห็นที่แตกต่างกัน ก็สะท้อนให้เห็นว่าอัยการมีการทำงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร?
ประเทศนี้นับวันจึงยากที่จะหาความยุติธรรมได้แล้ว เพราะดูแต่ละคนที่เคยทำงานในกระบวนการยุติธรรมหากยืนข้างการเมืองในระบอบทักษิณแล้ว ต่างก็มีหน้าที่การเงินเจริญรุ่งเรืองกันอย่างถ้วนหน้า
นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายอาญา มีผลงานในการสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปก.ที่บุกบ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยสั่งฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหากระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ขึ้นเวทีเปิดโปงพฤติกรรมและคำพูดของนางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด” เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉยไม่ดำเนินการใด อีกทั้งก่อนการเกษียณในเดือนกันยายน 2554 ได้ฝากผลงานการสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข โดยอ้างว่าหลักฐานไม่เพียงพอ หลังเกษียณแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555 ก็ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการบรรษัทตลาดรองเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) และต่อมาวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นกรรมการองค์การเภสัชกรรม
นายอุดม มั่งมีดี อดีตผู้พิพากษาผู้ตัดสินให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชชยชัย แต่ต่อมาก็กลับไปขึ้นเวทีการชุมนุมคนเสื้อแดงและต่อว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 2 มาตรฐาน มาวันนี้ก็เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
แม้กระบวนการยุติธรรมชั้นต้นและชั้นกลางอาจไม่มีข้อสงสัยแล้วว่าฝักใฝ่ทางการเมืองหรือไม่ คงเหลือแต่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลที่ไม่มีใครจะหยั่งรู้ว่าระบอบทักษิณได้มีบทบาทและแทรกแซง แทรกซึม และแทรกซื้อ ไปได้หรือไม่ และได้มากน้อยเพียงใด เพราะต้องไม่ลืมว่าวันนี้เครือข่ายอดีตผู้พิพากษา อดีตอัยการในพรรคเพื่อไทยมีอยู่อย่างกว้างขวางในกระบวนการยุติธรรมในยุคปัจจุบัน ทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายอุดม มั่งมีดี, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ฯลฯ
เอาเฉพาะถ้าเทียบบทลงโทษในคดีระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับคดีแกนนำคนเสื้อแดงในข้อหาหมิ่นประมาท ก็พอจะพิจารณาได้ว่าการไม่รอลงอาญาเกิดขึ้นอยู่กับฝ่ายไหน และการรอลงอาญาอยู่กับฝ่ายใด
เอาเถิด ถึงแม้สมมติว่าจะมีการใช้กระบวนการยุติธรรมในการอุ้มชูช่วยเหลือพวกพ้องตัวเอง และกลั่นแกล้งทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอย่างอยุติธรรม แต่ถ้าเชื่อบาปบุญคุณโทษ คนชั่วเหล่านี้ถึงแม้จะเอาผิดตามกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ ก็คงต้องได้รับผลกรรมของตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างแน่นอน
เพราะถ้าคนในประเทศนี้รู้สึกได้ว่ากระบวนการยุติธรรมประเทศนี้ ไม่มีความเที่ยงธรรม ก็คงมีคนคิดใช้วิธีอื่นในการลงโทษคนชั่วเหล่านี้ในแนวทางที่ตัวเองพอจะคิดได้ต่อไป!!!
เป็นคำพิพากษาที่แปลความได้ว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นการชุมนุมโดยสงบ และปราศจากอาวุธ และเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และได้เป็นการชุมนุมที่ทำไปเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมโดยไม่ได้ประโยชน์ส่วนตน
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นว่ากรณีการกล่าวให้ร้ายทั้งจากนักการเมือง ตำรวจ และแกนนำคนเสื้อแดงบางคนที่ระบุว่า น้องโบว์ น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ ว่าเสียชีวิตเพราะหนีบระเบิดอยู่บริเวณรักแร้นั้น เป็นเรื่องโกหกหน้าด้านๆ ไร้ยางอาย และไม่เคยแสดงความรับผิดชอบ
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นว่าพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยซึ่งชุมนุมตามสิทธิและตามหน้าที่ซึ่งบัญญัติเอาไว้ในรัฐธรรมนูญนั้น กลับถูกกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐ ลุแก่อำนาจ ทำไปด้วยความสะใจ กับผู้ที่มีความคิดเห็นแตกต่างทางการเมือง จึงสมควรที่จะต้องถูกดำเนินคดีความอาญาต่อไปจนถึงที่สุด
เป็นคำพิพากษาที่แสดงให้เห็นเช่นกันอีกด้วยว่า การชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเมื่อชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธอันเป็นไปตามบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ แต่กลับถูกกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุนั้น ผู้ที่เข้าร่วมชุมนุมในเหตุการณ์วันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 จึงมีสิทธิอันชอบธรรมแล้วที่จะได้รับการเยียวยาจากภาครัฐโดยไม่มีข้อสงสัย และผู้ที่กระทำความผิดที่ทำให้รัฐต้องสูญเสียเงินดังกล่าวก็ต้องรับผิดทางแพ่งนั้นด้วยเช่นกัน
เป็นคำพิพากษาที่สะท้อนให้เห็นว่าตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมา กระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นและชั้นกลางซึ่งอยู่ภายใต้อำนาจรัฐบาลทุกยุคไม่ธำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม สนใจแต่จะอุ้มชูช่วยเหลือผู้ที่ถืออำนาจรัฐและข้าราชการที่เกี่ยวข้องในการกระทำความผิด และกลั่นแกล้งยัดเยียดข้อหาที่เป็นเท็จให้กับมวลชนฝ่ายตรงกันข้าม ดังจะเห็นได้จากกรณีการเสียชีวิตของนายพัน คำกอง ที่ตำรวจและอัยการได้ร่วมมือกันในการขอให้ศาลไต่สวนชันสูตรพลิกศพเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการตายโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเกิดในปี 2553 ในการชุมนุมของคนเสื้อแดง แต่คดีของ “น้องโบว์” น.ส.อังคณา ระดับปัญญาวุฒิ กลับไม่มีการไต่สวนพลิกศพเพื่อพิสูจน์ว่าเป็นการเสียชีวิตโดยเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งๆ ที่เหตุการณ์เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2551
แสดงให้เห็นว่า “คนเสื้อแดง” ต่างหาก ที่เป็นอภิสิทธิชนเหนือกว่าประชาชนคนกลุ่มอื่นๆ ย่อมเป็นหลักฐานที่พิสูจน์ว่าแกนนำคนเสื้อแดงไม่ได้ต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม แต่เป็นการต่อสู้เพื่อให้กลุ่มและพวกของตัวเองเป็นอภิสิทธิชนเหนือกว่าคนกลุ่มอื่นๆ ใช่หรือไม่?
คำพิพากษาครั้งนี้ พิสูจน์ว่าการชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย จึงย่อมมีความแตกต่างจากการชุมนุมภายใต้แกนนำของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อย่างสิ้นเชิง
ด้วยข้อพิสูจน์ข้างต้นนี้ การได้รับการเยียวยาจึงเป็นความชอบธรรมของผู้เข้าร่วมชุมนุมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แต่การชุมนุมของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ซึ่งมีภาพและหลักฐานเป็นจำนวนมากว่าเต็มไปด้วยการใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธสงครามร้ายแรง อีกทั้งยังมีการประกาศบนเวทีในการส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงด้วย จากเหตุผลเหล่านี้จะมีความชอบธรรมที่จะได้รับการเยียวยาโดยนำกรณีของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยมาบังหน้า โดยจ่ายมั่วๆ เพื่อช่วยเหลือตัวเองและพวกพ้องของฝ่ายรัฐบาลได้อย่างไร ทั้งๆ ที่การชุมนุมของคนทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างกัน?
คำพิพากษาของศาลปกครองกลางคดีนี้ คงอาจทำให้ขบวนการของอำนาจรัฐบาลในการอุ้มชูคนทำผิด และทำร้ายทำลายคนทำถูกคงต้องหยุดชะงักลง จึงไม่น่าแปลกใจที่จะเกิดการสมรู้ร่วมคิดในการช่วยเหลือและถ่วงเวลาผลของคำพิพากษาครั้งนี้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะนานได้
เพราะเวลาที่ถ่วงผลของคำพิพากษาให้เนิ่นนานออกไป ก็จะได้ใช้สื่อของฝ่ายรัฐบาลในการประโคมข่าว โฆษณาชวนเชื่อ ในการอุ้มคนชั่ว ทำลายคนดี ต่อไป ใช่หรือไม่?
หลังคำพิพากษาศาลปกครองกลาง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล จึงตัดสินใจในการอุทธรณ์ต่อโดยทันที เพราะคงไม่อยากให้มีบทสรุปโดยเร็วว่าการจ่ายเงินเยียวยาที่ผ่านมานั้น เป็นการจ่ายเงินแบบมั่วๆ เพื่อให้แยกไม่ออกระหว่างคนทำผิดกับคนทำถูก และจะได้นำเงินจากภาษีอากรของประชาชนมาจ่ายให้กับพรรคพวกคนเสื้อแดงที่สนับสนุนรัฐบาลใช่หรือไม่?
ความขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิงได้เกิดขึ้นเพราะในขณะที่รัฐบาลเร่งจ่ายเงินเยียวยาให้เร็วที่สุดโดยไม่สนใจว่าใครผิดหรือใครถูก อัยการเร่งรัดไต่สวนชันสูตรพลิกศพคนเสื้อแดงโดยอ้างว่าเพื่อเร่งพิสูจน์ความจริง แต่กลับปล่อยให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติอุทธรณ์ให้ยืดเยื้อยาวนานเพื่อไม่ต้องการรับผลการพิสูจน์ความจริงในคดีที่เจ้าหน้าที่รัฐกระทำด้วยความรุนแรงเกินกว่าเหตุกับผู้ชุมนุมของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย
แต่ก็เป็นที่คาดหมายได้ว่ารัฐบาลซึ่งเป็นผู้ควบคุมกระบวนการยุติธรรมต้นน้ำเอาไว้ได้เกือบทั้งหมด ทั้งกำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมสอบสวนคดีพิเศษ แถมยังสามารถเอื้อประโยชน์ต่ออัยการซึ่งเป็นกระบวนการต้นน้ำให้ได้รับผลประโยชน์ส่วนตน ทั้งการแต่งตั้งให้เป็นกรรมการในกิจการรัฐวิสาหกิจเพื่อให้ได้รับสิทธิประโยชน์และผลตอบแทนในรูปตัวเงิน อันเป็นการขัดกันแห่งผลประโยชน์ที่ไม่สามารถจะให้ความเชื่อถือในกระบวนการยุติธรรมชั้นต้นและชั้นกลางได้
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น คดีของแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หากหาทางออกในการช่วยไม่ได้อาจจะถูกเก็บเข้าลิ้นชักในชั้นกระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นและชั้นกลาง ในขณะที่หากพอหาแนวทางศรีธนญชัยพอได้กระบวนการยุติธรรมในชั้นต้นหรือชั้นกลางคงหาทางแถ และทำทุกวิถีทางที่จะไม่นำคดีของคนเสื้อแดงไปส่งฟ้องเพื่อพิสูจน์ความจริงในชั้นศาล
ตรงกันข้ามกับคดี 7 ตุลาคม พ.ศ. 2551 ที่เมื่อศาลปกครองกลางได้พิพากษาว่าสำนักนายกรัฐมนตรีและสำนักงานตำรวจแห่งชาติกระทำความผิดแล้ว แทนที่อัยการจะเร่งสรุปนำผลการชี้มูลความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ไปดำเนินการฟ้องคดีอาญากับผู้ที่กระทำความผิดก็กลับสั่งไม่ฟ้องอย่างหน้าตาเฉย
ไม่ต้องพูดถึงอัยการสูงสุดที่ก่อนหน้านี้มีผลในการไม่ฎีกาคดีการหลบเลี่ยงภาษีหุ้นชินคอร์ปอันเป็นประโยชน์ต่อตระกูลชินวัตรและดามาพงศ์ ทั้งๆ ที่ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์มีความเห็นที่แตกต่างกัน ก็สะท้อนให้เห็นว่าอัยการมีการทำงานในกระบวนการยุติธรรมอย่างไร?
ประเทศนี้นับวันจึงยากที่จะหาความยุติธรรมได้แล้ว เพราะดูแต่ละคนที่เคยทำงานในกระบวนการยุติธรรมหากยืนข้างการเมืองในระบอบทักษิณแล้ว ต่างก็มีหน้าที่การเงินเจริญรุ่งเรืองกันอย่างถ้วนหน้า
นายกายสิทธิ์ พิศวงปราการ อดีตอธิบดีอัยการฝ่ายอาญา มีผลงานในการสั่งไม่ฟ้องแกนนำ นปก.ที่บุกบ้านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เคยสั่งฟ้องนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหากระทำผิดกฎหมายอาญามาตรา 112 ที่ขึ้นเวทีเปิดโปงพฤติกรรมและคำพูดของนางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ “ดา ตอร์ปิโด” เพราะเจ้าหน้าที่รัฐเพิกเฉยไม่ดำเนินการใด อีกทั้งก่อนการเกษียณในเดือนกันยายน 2554 ได้ฝากผลงานการสั่งไม่ฟ้องนายจักรภพ เพ็ญแข โดยอ้างว่าหลักฐานไม่เพียงพอ หลังเกษียณแล้วเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2555 ก็ได้เข้ารับตำแหน่งกรรมการบรรษัทตลาดรองเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) และต่อมาวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2555 ได้รับตำแหน่งเพิ่มเป็นกรรมการองค์การเภสัชกรรม
นายอุดม มั่งมีดี อดีตผู้พิพากษาผู้ตัดสินให้จำคุกนายสนธิ ลิ้มทองกุล ในข้อหาหมิ่นประมาทนายภูมิธรรม เวชชยชัย แต่ต่อมาก็กลับไปขึ้นเวทีการชุมนุมคนเสื้อแดงและต่อว่ากระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย 2 มาตรฐาน มาวันนี้ก็เป็นกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.)
แม้กระบวนการยุติธรรมชั้นต้นและชั้นกลางอาจไม่มีข้อสงสัยแล้วว่าฝักใฝ่ทางการเมืองหรือไม่ คงเหลือแต่กระบวนการยุติธรรมในชั้นศาลที่ไม่มีใครจะหยั่งรู้ว่าระบอบทักษิณได้มีบทบาทและแทรกแซง แทรกซึม และแทรกซื้อ ไปได้หรือไม่ และได้มากน้อยเพียงใด เพราะต้องไม่ลืมว่าวันนี้เครือข่ายอดีตผู้พิพากษา อดีตอัยการในพรรคเพื่อไทยมีอยู่อย่างกว้างขวางในกระบวนการยุติธรรมในยุคปัจจุบัน ทั้งนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์, นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา, นายอุดม มั่งมีดี, นายมานิตย์ จิตต์จันทร์กลับ ฯลฯ
เอาเฉพาะถ้าเทียบบทลงโทษในคดีระหว่างนายสนธิ ลิ้มทองกุล กับคดีแกนนำคนเสื้อแดงในข้อหาหมิ่นประมาท ก็พอจะพิจารณาได้ว่าการไม่รอลงอาญาเกิดขึ้นอยู่กับฝ่ายไหน และการรอลงอาญาอยู่กับฝ่ายใด
เอาเถิด ถึงแม้สมมติว่าจะมีการใช้กระบวนการยุติธรรมในการอุ้มชูช่วยเหลือพวกพ้องตัวเอง และกลั่นแกล้งทำลายฝ่ายตรงกันข้ามอย่างอยุติธรรม แต่ถ้าเชื่อบาปบุญคุณโทษ คนชั่วเหล่านี้ถึงแม้จะเอาผิดตามกระบวนการยุติธรรมไม่ได้ ก็คงต้องได้รับผลกรรมของตัวเองในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งอย่างแน่นอน
เพราะถ้าคนในประเทศนี้รู้สึกได้ว่ากระบวนการยุติธรรมประเทศนี้ ไม่มีความเที่ยงธรรม ก็คงมีคนคิดใช้วิธีอื่นในการลงโทษคนชั่วเหล่านี้ในแนวทางที่ตัวเองพอจะคิดได้ต่อไป!!!