ASTVผู้จัดการ – ส.ว.คำนูณ เผยยุทธการ “ซื้อ-ฆ่า-คุก” ปิดปาก “สนธิ ลิ้มทองกุล” หวังล้มมาตรา 112 สลายกลุ่มคนรักสถาบัน ชี้ “สนธิ-พันธมิตรฯ” ไม่กลัวติดคุก แต่หากคนที่จงรักภักดีและต่อสู้แทบถวายชีวิตเพื่อปกป้องสถาบันยังมีจุดจบในคุก ก็ยากที่จะมีใครออกมาลุกขึ้นสู้กับความไม่ถูกต้องอีก
วานนี้ (26 ก.ย.) ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ASTV ดำเนินรายการโดยนายเติมศักดิ์ จารุปราณ นายประพันธ์ คูณมี อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้ร่วมสนทนากันในประเด็นเรื่อง ศาลอาญาพิพากษายกฟ้อง นายสนธิ ลิ้มทองกุล แกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หยิบยกคำปราศรัย “ดา ตอร์ปิโด” นางดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ขึ้นพูดบนเวทีพันธมิตรฯ เพื่อเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการจับกุม โดยให้เห็นผลว่า เนื่องจากไม่มีเจตนาหมิ่นเบื้องสูง
ในตอนหนึ่งของรายการ นายคำนูณระบุว่า ในฐานะที่ตนเองรับทราบเรื่องราวมาตั้งแต่ต้น ได้ฟังคำปราศรัยของนายสนธิ ทั้งยังเป็นนายประกันให้นายสนธิเมื่อครั้งเข้ามอบตัวที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ณ วังปารุสก์ เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2551 ตนเห็นว่า จริงๆ แล้วคดีนี้ไม่น่าจะเป็นคดีเสียด้วยซ้ำ เพราะการขึ้นปราศรัยของนายสนธิโดยยกคำพูดของนางดารณีที่ให้ร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มาอ้างอิง นายสนธิมีจุดประสงค์เพื่อให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองและตำรวจดำเนินคดีต่อนางดารณี ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีการดำเนินคดีใดๆ ขณะที่คลิปเสียงของนางดารณีก็แพร่กระจายไปในสังคมวงกว้าง
“ทุกคนก็รู้ดีอยู่ว่าเหตุเกิดจากคุณดา ตอร์ปิโด ปราศรัยที่ท้องสนามหลวง ถึงพระเจ้าอยู่หัว ถึงสมเด็จพระนางเจ้าฯ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรงนะครับ คนก็รู้ กระจาย เริ่มมีคลิป ทุกคนก็ (สงสัยว่า) เกิดขึ้นได้ยังไง คุณสนธิก็ขึ้นไปพูดบนเวที ในขณะเกิดเหตุยังไม่มีการดำเนินคดีกับดา ตอร์ปิโด หลังจากคุณสนธิพูดแล้วถึงได้มีการดำเนินคดีกับดา ตอร์ปิโด ในเวลาต่อมา แล้วก็เป็นคดีที่ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกดา ตอร์ปิโดไป แต่ว่าคุณสนธิก็โดนด้วย ซึ่งผมมองว่าทั้งชั้นพนักงานสอบสวน ทั้งชั้นพนักงานอัยการน่าจะสั่งไม่ฟ้องด้วยซ้ำไป แต่คดีก็มาจนถึงวันนี้ แล้วก็สร้างความใจหายใจคว่ำ เพราะว่าเป็นคดีที่มีความหมายอย่างใหญ่หลวง” ส.ว.คำนูณกล่าว
พร้อมทั้งกล่าวต่อว่า ในช่วง 6-7 ปีที่ผ่านมา ไม่ว่าใครจะรักหรือใครจะเกลียดนายสนธิ แต่ก็เป็นที่พิสูจน์แล้วว่า นายสนธิ และแกนนำกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นผู้ที่สามารถระดมมวลชนได้มากที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยในยุคนี้ แม้กระทั่งในยุคปัจจุบันที่มีคนดูแคลนว่ากลุ่มพันธมิตรฯ อยู่ในช่วงขาลง
“ซื้อ-ฆ่า-คุก” ปิดปากสนธิ
นายคำนูณกล่าวต่อว่า ด้วยแนวทางการต่อสู้เพี่อความถูกต้องในสังคม และอิทธิพลของนายสนธิที่มีต่อมวลชนในระดับสูง ฝ่ายตรงข้ามจึงต้องการจัดการกับนายสนธิ ซึ่งฝ่ายตรงข้ามหรือฝ่ายที่ชังกลุ่มพันธมิตรฯ อาจไม่ได้มีแค่ระบอบทักษิณเพียงฝ่ายเดียว แต่อาจรวมถึงคนที่อยู่ในอำนาจในกลุ่มอื่นๆ ซึ่งตนมองว่าที่ผ่านมามีอยู่ 3 วิธี
“วิธีการที่เขาจะจัดการกับคนอย่างคุณสนธินะครับ ขั้นแรกก็คือ ‘ซื้อ’ ซึ่งปรากฏแล้วว่าคุณสนธิซื้อไม่ได้ แม้ว่าจะมีความพยายามซื้อ ทั้งทางตรง และทางอ้อม ด้วยเงินก้อนโตนะครับ เมื่อซื้อไม่ได้ทำไงครับ ‘ฆ่า’ ครับ เหตุการณ์วันที่ 17 เมษายน 2552 ก็เป็นที่ประจักษ์ชัดว่าการรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กลางเมือง ขณะที่เพิ่งเสร็จหมาดๆ จากการจลาจล ทหาร-ตำรวจควรจะอยู่เต็มไปหมด เกิดขึ้นได้ ไม่ใช่เรื่องธรรมดา
“เมื่อฆ่าแล้วยังไม่ตายทำยังไงครับ ก็เอามัน ‘ติดคุก’ ให้ได้ ส่วนเมื่อติดคุกแล้วจะไปฆ่าในคุกหรือยังไง ก็อีกเรื่องหนึ่ง เพราะเมื่อติดคุกแล้วก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุ มีผู้ต้องขังที่เกิดเกลียดชัง เกิดอารมณ์ชั่ววูบ เกลียดคุณสนธิวิ่งเข้าไปทำร้ายคุณสนธิก็เป็นไปได้ทั้งนั้น เมืองไทยในคุกเจ้าพ่อยังอยู่ได้ โทรศัพท์สั่งการค้ายาเสพติดยังทำกันได้ กับอีแค่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ไม่มีอำนาจวาสนาคนเดียว ถ้าติดคุกไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น?” นายคำนูณตั้งคำถาม
จากนั้นนายคำนูณจึงกล่าวต่อว่า การทำให้นายสนธิติดคุกจึงมีขบวนการมากมาย ซึ่งก็ไม่ได้หมายความว่านายสนธิจะรอดพ้นจากคดีความ เพราะคดีหมิ่นประมาทส่วนหนึ่งก็จ่ออยู่ที่การพิจารณาของศาลฎีกาหลายคดี ซึ่งหลายคดีนั้นศาลอุทธรณ์ก็ไม่ได้รอลงอาญา
“แต่ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าติดคุก 3 เดือน ติด 6 เดือน ปัญหาว่าถ้าคนอย่างคุณสนธิติดคุก แม้จะเพียง 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์ จะได้อยู่คุกสบาย มีคาราโอเกะร้อง หรือมีคนไปเต้นข้างหน้าหรือเปล่า ไม่ใช่ครับ เพราะประเด็นคือ จะทำยังไงให้เอาคุณสนธิไปอยู่ในคุกให้ได้ ... ” นายคำนูณระบุ และว่า ถ้าหากว่าคดีอย่างหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่ไม่น่าจะเป็นคดี ซึ่งศาลอาญาเพิ่งยกฟ้องไปวานนี้สามารถทำให้นายสนธิติดคุกได้ก็เหมือนกับการยิงปืนนัดเดียวได้นกหลายตัว
ทั้งนี้ ตนเชื่อว่าหากนายสนธิถูกลงโทษพิพากษาให้ติดคุก นายสนธิก็พร้อม แต่คดีที่จะทำให้นายสนธิติดคุกจะไม่มีคดีใดที่จะสร้างความเจ็บปวดให้กับนายสนธิ และกลุ่มพันธมิตรฯ เท่ากับคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หากคดีถึงที่สุดแล้ว เนื่องจากเป็นที่ประจักษ์ชัดว่า นายสนธิเป็นคนที่รักสถาบัน รักในหลวง และเป็นคนเปิดเผย เป็นคนแฉสิ่งที่ทำให้กระทบสถาบันและพระเจ้าอยู่หัว และเป็นการพูดที่คนส่วนใหญ่ของสังคมไทยไม่กล้าพูด เพราะคนพูดก็มีความเสี่ยงด้วย
ส่งผลประเด็น ม.112
นอกจากนี้ ในสถานการณ์ที่มีการรณรงค์ให้มีการยกเลิกประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หากนายสนธิ ต้องโทษจำคุกเพราะกฎหมายมาตรานี้ทั้งๆ ที่เป็นที่ปรากฏชัดว่านายสนธิปกป้องสถาบันมาตลอด ต้องถามต่อว่าจะทำให้คนที่รักสถาบันคนอื่นๆ ปรับเปลี่ยนท่าทีของตนเองหรือไม่ เพราะเกรงกลัวว่าจะมีการกลั่นแกล้งตนเองโดยใช้วิธีการเดียวกัน
“ถ้าคนที่รักสถาบันอย่างคุณสนธิ ต้องติดคุกเพราะคดีนี้ คนที่รักสถาบันคนอื่นจะรู้สึกยังไงครับ จะปรับพฤติกรรมในการรักสถาบันใหม่หรือไม่ รักอยู่แต่ในใจ รักแล้วไม่ต้องพูด รักแล้วก็เข้าห้องพระ จุดธูปเทียน กราบไหว้ ไม่ต้องออกมา แต่ขณะคนที่เขาไม่รัก เขาพูดเปิดเผย ในเว็บไซต์ ในหนังสือใต้ดินต่างๆ แล้วก็พูดจาฉวัดเฉวียน เลียบค่าย ส่อนัยยะให้เข้าใจได้อย่างนั้น แต่คนที่รักและจงรักภักดี ต้องการที่จะต่อสู้เพื่อพิทักษ์ปกป้องพระองค์ท่าน ก็จะมีความรู้สึกว่า เราเป็นใคร สนธิ ลิ้มทองกุล ทุ่มเท เสียสละ เอาเงินทอง แทบจะเอาชีวิตเข้าแลก แล้วผลสุดท้ายคืออะไร คุก ตะราง?” นายคำนูณย้ำและว่า คดีนี้เป็นคดีที่มีความหมายอย่างยิ่ง
สมาชิกวุฒิสภาสรรหายังกล่าวต่อว่า กรณีนายสนธิในคดีนี้จริงๆ แล้วไม่น่าจะเป็นคดีความเสียด้วยซ้ำ เพราะน่าจะถูกชี้ว่าไม่มีมูลไปตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวนและอัยการแล้ว โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับคดีของนายจักรภพ เพ็ญแข อดีตแกนนำคนเสื้อแดง เมื่อครั้งไปพูดที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศแห่งประเทศไทย (เอฟซีซีที) เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2550 ซึ่งคดีดังกล่าวพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการใช้เวลาในการแปลเอกสารนานถึง 3 ปี ขณะที่พวกตนเคยให้คนแปลกลับใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน
“แล้วเมื่ออ่านโดยนัย โดยความหมาย พูดแบบไม่ได้มีอคตินะครับ เจตนานั้นชัดเจน ต้องเข้าใจว่า ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือ ประมวลกฎหมายอาญาทุกมาตรา การที่รัฐจะไปลงทัณฑ์หรือลงโทษทางอาญากับราษฎรผู้ใด เขาถือสูงสุดเลยคือเจตนา เจตนาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คือ คุณต้องมีเจตนาดูหมิ่น อาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ... ซึ่งเจตนาของคุณสนธิที่พูดในกรณีนี้ก็คือต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปจัดการกับดา ตอร์ปิโด ตรงข้ามกับกรณีของนายจักรภพที่เจตนาชัดเจน แต่อัยการกลับสั่งไม่ฟ้อง” นายคำนูณกล่าวเปรียบเทียบ
พร้อมกล่าวว่า คำตัดสินวานนี้ศาลยุติธรรมถือว่ายังเป็นที่พึ่งสุดท้ายให้กับสังคมได้อยู่ ทว่า คดีดังกล่าวยังไม่จบและยุทธการ “ซื้อ-ฆ่า-คุก” หรือ “ซื้อ-ฆ่า-ขัง” นายสนธิก็จะยังคงดำเนินต่อไปอยู่
คำต่อคำ “คนเคาะข่าว” 26 ก.ย.55
เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้อนรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว พุธที่ 26 กันยายน 2555 วันนี้ประเด็นหลักที่เราจะสนทนากันคือ ประเด็นที่ศาลอาญาวันนี้ มีคำพิพากษายกฟ้องคดีที่ คุณสนธิ ลิ้มทองกุล เป็นจำเลยในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในกรณีที่นำคำพูดของดา ตอร์ปิโด ไปเผยแพร่บนเวทีพันธมิตร ซึ่งศาลมีคำพิพากษาตอนหนึ่งกล่าวว่า การที่จำเลยสรุปคำพูดของ น.ส.ดารณี ชาญเชิงศิลปกุล หรือ ดา ตอร์ปิโด เมื่อฟังโดยรวมแสดงให้เห็นว่า มีเจตนาที่จะเรียกร้องให้มีการดำเนินคดีกับ น.ส.ดารณี การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นการขยายคำพูดของ น.ส.ดารณี อันมีเจตนาโดยตรง เพื่อหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ การกระทำของจำเลย จึงไม่มีความผิดตามฟ้องให้พิพากษายกฟ้อง
วันนี้เราจะคุยกันนะครับว่า คำพิพากษาของศาลอาญาในคดีนี้ที่ออกมามีข้อน่าสังเกต และข้อน่าศึกษาอย่างไรบ้าง และจะเป็นบรรทัดฐานทางกฎหมายต่อไปในอนาคตอย่างไร รวมทั้งคดีนี้ยังสะท้อนการกระทำของเจ้าหน้าที่ หรือกระบวนการการทำหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ ในกระบวนการยุติธรรมอย่างไรบ้าง วันนี้เราจะสนทนาสองท่านนะครับ ท่านแรกครับ คุณคำนูณ สิทธิสมาน สวัสดีครับคุณคำนูณครับ
คำนูณ- สวัสดีครับ
เติมศักดิ์- ท่านที่สองนะครับ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ คุณประพันธ์ คูณมี สวัสดีครับคุณประพันธ์
ประพันธ์- สวัสดีครับ
เติมศักดิ์- ขอเรียนถามคุณประพันธ์ก่อนนะครับว่า คดีนี้โดยรายละเอียดคำพิพากษา มีข้อที่น่าตั้งเป็นข้อน่าศึกษา หรือข้อสังเกตอย่างไรบ้างครับ
ประพันธ์- ผมคิดว่า คำพิพากษาของศาลในวันนี้ ยังอยู่บนหลักเกณฑ์และบรรทัดฐานที่ศาลเคยวินิจฉัยมาแต่เดิม เคยมีคำวินิจฉัยของศาลฎีกาในทำนองนี้มาหลายคดี ในลักษณะที่ผู้ต้องหา หรือจำเลยที่ถูกฟ้องในคดีที่มีลักษณะคำพูด หรือการกระทำที่ดูหมิ่นเหม่ อาจจะส่อไปในทางที่เข้าใจได้ว่า เป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ แต่ว่าเมื่อดูข้อเท็จจริง เมื่อดูบริบทของการพูด การแสดงความคิดเห็น หรือเจตนาของผู้พูดแล้ว ศาลเห็นว่ายังไม่เข้าข่ายเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท หรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ศาลยกฟ้อง ซึ่งมีแนวคำพิพากษาศาลฎีกาแบบนี้ตัดสินมาหลายคดีแล้ว และจริงๆ แล้วคดีในลักษณะทำนองนี้ พนักงานอัยการเคยมีคำสั่งไม่ฟ้องมาหลายคดีในลักษณะนี้ แต่ว่ากรณีของ คุณสนธิ ลิ้มทองกุลนั้น มันเป็นกรณีที่มีความแปลกประหลาดตั้งแต่ขั้นตอนของการดำเนินคดีแล้ว ทั้งๆ ที่จริงๆ แล้วโดยดุลพินิจ โดยวินิจฉัยของพนักงานสอบสวนก็ดี โดยพนักงานอัยการก็ดี ดูลักษณะการพูด หรือเจตนารมณ์ของผู้พูด ดูข้อเท็จจริงรายละเอียดของผู้พูดที่แสดงออก ดูประวัติ ดูภูมิหลังของผู้พูดที่แสดงออกถึงความจงรักภักดี และต่อสู้เพื่อปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์มาโดยตลอดนั้น มันน่าเชื่อมีพฤติกรรมที่น่าเชื่อทั้งเหตุผล ทั้งข้อเท็จจริง และพฤติกรรมแวดล้อมว่า ผู้พูดไม่น่าจะมีเจตนารมณ์ในลักษณะเช่นนั้น แต่ด้วยเหตุที่ในขณะนั้นผมเข้าใจว่า ฝ่ายบ้านเมืองโดยเฉพาะพนักงานสอบสวน และคนที่มีอำนาจในบ้านเมืองในขณะนั้น คงจะเห็นว่า อีกฝ่ายหนึ่งคือ ในกระบวนการที่เผยแพร่ ความคิดที่เป็นการจงใจหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เผยแพร่ในนิตยสารฟ้าเดียวกัน หรือเว็บไซต์ ความเห็นในเชิงของนักวิชาการ ที่พยายามที่จะโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์ก็ดี เผยแพร่ออกค่อนข้างกว้างขวาง
และสองคือ การที่นักวิชาการพยายามออกมาเรียกร้อง หรือรณรงค์ในการที่จะแก้ไขปัญหาประมวลกฎหมายอาญา 1- 2 มันพยายามที่จะใช้เป็นข้ออ้างว่า มีฝ่ายโน้นพยายามเอาประเด็นนี้ มาเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างอีกฝ่ายหนึ่ง จึงมีกระบวนการที่จะดำเนินคดีกับคุณสนธิ เพื่อจะให้เห็นว่า ทุกฝ่ายควรจะยุติในการพูดถึงสถาบัน โดยไม่ได้แยกแยะว่า คนที่พูดในเชิงปกป้องสถาบัน กับคนที่พูดในเชิงทำลาย หรือโจมตี หรือเจตนอาฆาตมาดร้าย มันมีความแตกต่างกันอย่างไร
เพราะฉะนั้นเมื่อพนักงานสอบสวน เมื่อฝ่ายหนึ่งถูกดำเนินคดี หลายคนถูกดำเนินคดี แม้กระทั่งถูกฟ้องร้อง หรือดำเนินคดี ศาลตัดสินไปบ้างแล้วก็มี หรืออยู่ในระหว่างการพิจารณา อยากจะดำเนินคดีกับอีกฝ่ายหนึ่ง เพื่อจะให้เห็นว่า ประเด็นปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหา เพราะฉะนั้นเพื่อจะนำไปเป็นข้ออ้างผสมโรง กับการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา 1-2 อันนี้เป็นไปได้ โดยข้อสังเกตของผมนะครับ ว่าจริงๆ แล้วกรณีของคุณสนธิ ไม่ควรจะเป็นคดีขึ้นมา
ส่วนประเด็นที่สอง ผมเข้าใจว่า แน่นอนเมื่อมีช่อง หรือมีเหตุที่จะหาทางเล่นงานคุณสนธิ ไม่ว่าจะในกรณีใด กระบวนการที่อยากจะดำเนินการคุณสนธิมันมีอยู่แล้ว จ้องอยู่แล้ว หาเหตุอยู่แล้ว หาเรื่องอยู่แล้ว และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง พูดดีนัก สู้เพื่อในหลวง ปกป้องในหลวง นี่ไงเอาข้อหาหมิ่นพระบรมเดชานุภาพมาปักหลังคุณสนธิเลย จะได้บอกจริงๆ คุณมีพฤติกรรมในลักษณะที่หมิ่นเหม่ และกระทำการอันมิบังควรเหมือนกัน ในทำนองต้องการจะดิสเครดิต และจะได้เอาไปผสมโรงกัน ในการที่จะบรรลุเป้าหมายทางการเมือง หรือทางแก้ไขข้อกฎหมาย
ผมเข้าใจว่า ที่มาของการดำเนินคดีมันมาอย่างนี้มากกว่า ที่ต้องการที่จะแสดงออกถึงความปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ เพราะถ้าหากว่า พนักงานสอบสวนก็ดี อัยการก็ดี เห็นว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่เป็นเรื่องสำคัญ และไม่ว่าใครก็ตามมีพฤติกรรมอย่างนี้ เขาคงไม่ปล่อยให้คนอย่างนางดา ตอร์ปิโด คนอย่างนายอะไรต่อนายอะไรที่หลบหนีไป ปราศรัยโจมตีสถาบันพระมหากษัตริย์อยู่มาเป็นเดือนๆ โดยไม่ได้ดำเนินคดี ใช่ไหมครับ และปล่อยให้เว็บไซต์ต่างๆ เผยแพร่ข้อความอันเป็นการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพอยู่มาเป็นเดือนๆ
เพราะฉะนั้นเมื่อมีการดำเนินคดี มีการสอบสวน และมีการสั่งฟ้องคุณสนธิในคดีนี้ ผมแปลกประหลาดใจอยู่ตั้งแต่แรกแล้ว และขณะเดียวกันก่อนที่อัยการจะดำเนินคดีส่งฟ้อง คุณสนธิได้ทำเรื่องร้องขอความเป็นธรรมไปที่สำนักงานอัยการสูงสุด และได้ทำเรื่องถวายฎีกาไปยัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านสำนักราชเลขาด้วย ว่ากรณีนี้คุณสนธิถูกกลั่นแกล้งอย่างไร แต่แทนที่พนักงานอัยการจะรอฟังหนังสือตอบรับจากสำนักราชเลขามา รีบสั่งฟ้องเลย ซึ่งเป็นเรื่องพฤติกรรมที่ผิดปกติมาก ทั้งๆ ที่ขณะคดีก่อการร้าย คดีอุทธรณ์คุณหญิงพจมาน คดีอะไรสั่งไม่ฟ้องได้หมด แต่คดีซึ่งดูแล้วมันไม่มีมูลรีบสั่งฟ้อง เห็นแล้วว่า มีเจตนาในลักษณะที่จะหาทางเอาให้คุณสนธิโดนลงโทษ จำคุกในกรณีนี้ให้ได้ แต่ต้องขอบพระคุณศาล และกระบวนการยุติธรรม ว่าเมื่อชั้นพิจารณาคดีในชั้นศาล พยานที่มาให้การต่อศาลแต่ละท่าน ฝ่ายจำเลยนะครับ ฝ่ายคุณสนธิ เป็นพยานที่มีเหตุผลมีน้ำหนักทั้งสิ้น ไม่ว่าคำเบิกความของอาจารย์อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องภาษาไทย และแปลภาษาคำพูดของคุณสนธิทุกบรรทัดทุกถ้อยความให้ศาลฟังว่า เจตนาของผู้พูดส่อความหมายอย่างไร ส่อเจตนาแสดงความหมายไปในทิศทางใดอย่างไร อันนี้ก็หนึ่ง ท่านพลโทนันทเดช เมฆสวัสดิ์ ซึ่งเป็นนักการข่าวที่ติดตามพฤติกรรมของทุกคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับความมั่นคง และเขาได้ติดตามการปราศรัยของกลุ่มคนเสื้อแดง และขบวนการที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาพูดมาเป็นพยานให้กับคุณสนธิ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณพ่อของน้องโบ ผมก็ไปเป็นพยานคุณพ่อของน้องโบ ในงานศพของน้องโบ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเสด็จ และมีพระราชดำรัสกับคุณสนธิว่าอย่างไร กับคุณพ่อของน้องโบว่าอย่างไร แสดงให้เห็นว่า คุณสนธิเป็นคนที่มีความจงรักภักดีมาโดยตลอด และสู้ถวายชีวิตเพื่อปกป้องสถาบันอย่างไร ซึ่งอันนี้พยานหลักฐานฝ่ายจำเลยค่อนข้างแน่นหนา ผมไปเป็นพยานให้ และมีหลายๆ ท่าน คุณคำนูณด้วย
เพราะฉะนั้นด้วยเหตุนี้ ศาลเห็นแล้วว่า พยานฝ่ายโจทก์ที่กล่าวหาคุณสนธิ มันไม่มีน้ำหนักพอที่จะฟังลงโทษคุณสนธิได้ จึงปรากฏคำพิพากษาดังที่ปรากฏในวันนี้ ซึ่งต้องขอบพระคุณศาลนะครับ ที่ให้ความยุติธรรม และวินิจฉัยคดีอย่างตรงไปตรงมา ซึ่งอยู่บนหลักเกณฑ์ของกฎหมาย และข้อเท็จจริง หรือแนวทางที่ศาลเคยวินิจฉัยมา มันไม่มีพยานหลักฐานใดที่พอจะฟังไปในลักษณะที่คุณสนธิมีเจตนา ที่จะก้าวล่วงหรือหมิ่นพระบรมเดชานุภาพเลยแม้แต่น้อย เพราะฉะนั้นคดีในวันนี้ พี่น้องไปให้กำลังใจคุณสนธิ และไปฟังคำพิพากษา ผมอยู่ในบัลลังก์นั่งฟังอยู่ด้วย พอศาลมีคำพิพากษาให้ยกฟ้อง ทุกคนดีใจ แต่ว่ากว่าจะได้ฟังคำพิพากษานะครับ ไปตั้งแต่เช้ากว่าจะได้ฟังเกือบเที่ยงและ
เติมศักดิ์- 9 โมงครึ่งใช่ไหมครับ
ประพันธ์- ครับรับฟัง 9 โมงครึ่ง กว่าจะได้อ่าน ซึ่งเข้าใจว่า ทางอธิบดี หรือรองอธิบดีคงจะหารือกับเจ้าของสำนวน เพื่อตรวจความเรียบร้อย หรือขอตรวจ ขอดู อะไรในกระบวนการของผู้พิพากษา ซึ่งตรงนี้เราไม่อาจจะไปก้าวล่วงนะครับ แต่ว่ากว่าจะได้ฟังเกือบเที่ยง แต่อย่างไรก็ตาม ผลของคำพิพากษาออกมาผมเชื่อว่า พี่น้องคงจะพอใจนะครับ แต่ว่ามันยังไม่จบนะครับ เพราะว่าพนักงานอัยการอาจจะยื่นอุทธรณ์ เราต้องไปสู้คดีในชั้นอุทธรณ์
เติมศักดิ์- ซึ่งเชื่อว่าเขาจะอุทธรณ์
ประพันธ์- ซึ่งผมเชื่อว่าเขาคงจะอุทธรณ์ ซึ่งความจริงแล้ว เขาไม่อุทธรณ์ก็ได้ ในคดีอย่างนี้ซึ่งเห็นอยู่แล้วว่า ข้อเท็จจริงมันค่อนข้างกระจ่างแจ้ง ชัดเจนว่าผู้พูดมีเจตนารมณ์อย่างไรใช่ไหม แต่ว่ากระบวนการยุติธรรมที่กลางน้ำ ต้นน้ำ เราไม่ค่อยไว้วางใจอยู่แล้ว เขาคงจะอุทธรณ์ แต่กับคดีที่เราเห็นว่า ควรอุทธรณ์ เขาก็ไม่อุทธรณ์ แต่คดีนี้เราเห็นว่าไม่ควรอุทธรณ์ ผมดูว่าเขาคงจะใช้ดุลพินิจอุทธรณ์ ซึ่งเราต้องไปสู้ในชั้นอุทธรณ์ หรือถ้าหากว่ามีฎีกา อาจจะต้องฎีกากันต่อไปในชั้นต้นถือว่า คุณสนธิได้แสดงถึงการเคารพกระบวนการยุติธรรม แม้ท้ายที่สุดศาลจะตัดสินอย่างไร คุณสนธิจะไม่หนี และพร้อมที่จะเคารพกระบวนการยุติธรรม เคารพหลักนิติรัฐ นิติธรรมของบ้านเมือง ไม่เคยด่าไม่เคยโจมตี ไม่เคยประณาม ไม่เคยเอามวลชนไปกดดันศาล นี่คือพวกเราครับ เพราะฉะนั้นคดีนี้ผมคิดว่า เราทุกคนควรจะต้องติดตามต่อไป
เติมศักดิ์- คุณคำนูณทั้งในสถานะ ส.ว. ทั้งในฐานะที่ไปเป็นพยานในคดีนี้ด้วย มองคำพิพากษาคดีนี้อย่างไรครับ
คำนูณ- เป็นนายประกันด้วยครับ ผมเข้าใจว่า ณ วันที่มีข่าวว่าตำรวจจะดำเนินคดี คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ในคดีนี้ ตอนนั้นมีการชุมนุมในช่วง 193 วัน อยู่ที่สะพานมัฆวาน รู้ตอนเย็นผมเข้าใจว่า พอมีผู้ปราศรัยบอกเล่า ผมเรียกน้ำตาได้ทั่วที่ชุมนุม และในวันรุ่งขึ้นที่คุณสนธิตัดสินใจเข้ามอบตัว ที่กองบัญชาการตำรวจนครบาล ที่วังปรารุสนะครับ จะมีพี่น้องเดินมาให้กำลังใจเป็นจำนวนมาก ผมเองไปใช้ตำแหน่งประกันคุณสนธิ ลิ้มทองกุล และได้เห็นบรรยากาศ คือคดีนี้ไม่น่าจะเป็นคดีด้วยซ้ำ เพราะว่าทุกคนรู้ดีอยู่ว่า เหตุเกิดจากคุณดา ตอร์ปิโด ปราศรัยที่ท้องสนามหลวง ถึงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง คนก็รู้กระจาย เริ่มมีคลิป ทุกคนก็เกิดขึ้นได้อย่างไร คุณสนธิขึ้นไปพูดบนเวที ในขณะเกิดเหตุยังไม่มีการดำเนินคดีกับดา ตอร์ปิโด หลังจากคุณสนธิพูดแล้ว ถึงได้มีการดำเนินคดีกับดา ตอร์ปิโดในเวลาต่อมา และเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกดา ตอร์ปิโดไป แต่ว่าคุณสนธิโดนด้วย ซึ่งผมมองว่า ทั้งชั้นพนักงานสอบสวน ทั้งชั้นพนักงานอัยการน่าจะสั่งไม่ฟ้องด้วยซ้ำไป แต่คดีมาจนถึงวันนี้ และสร้างความใจหายใจคว่ำ เพราะว่ามันเป็นคดีที่มีความหมายอย่างใหญ่หลวง ผมจะบอกให้นะครับว่า 4 5 ปี 6 7 ปี มานี้เป็นที่พิสูจน์แล้ว ไม่ว่าใครจะรักใครจะเกลียดคุณสนธิ ลิ้มทองกุล แต่ผู้ชายคนนี้คือ ผู้ที่สามารถระดมมวลชนได้สูงที่สุดคนหนึ่งของประเทศไทยยุคคนนี้ แม้จนกระทั่งวันนี้ ณ วันที่มีคนกล่าวว่า พันธมิตรฯ ขาลง พันธมิตรฯ หมดน้ำยา พันธมิตรฯ นานๆ ออกทีนะครับ แต่ว่าล่าสุดในกรณีกฎหมายปรองดองเป็นที่พิสูจน์ได้ระดับสำคัญ ระดับหนึ่งว่า เมื่อถึงเวลาคุณสนธิ และพันธมิตรฯ ยังคงมีน้ำหนักในการระดมมวลชนได้เหนือกว่าผู้ใด หรือกลุ่มใดในประเทศนี้นะครับ เหนือกว่าคนอื่นกลุ่มอื่นที่อาจจะร่วมอยู่ในแนวเดียวกัน แต่ว่าเขาแยกกันไป เพราะอาจจะมีจุดต่างบ้างเป็นบางประการ เป็นที่พิสูจน์กันได้
เพราะฉะนั้นผมเห็นว่า ทิศทางของฝ่ายที่ชังคุณสนธิอาจจะไม่ได้มีฝ่ายเดียว อาจจะไม่ใช่ระบอบทักษิณอย่างเดียว อาจจะเป็นคนที่อยู่ในอำนาจกลุ่มอื่น วิธีการที่เขาจะจัดการกับคนอย่างคุณสนธิ ขั้นแรกคือ ซื้อ ปรากฏว่า คุณสนธิซื้อไม่ได้ แม้ว่าจะมีความพยายามซื้อทั้งทางตรง และทางอ้อมด้วยเงินก้อนโตนะครับ เมื่อซื้อไม่ได้ทำอย่างไรครับ ฆ่าครับ เหตุการณ์วันที่ 17 เมษายน 2552 เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า การรุมสังหารคุณสนธิ ลิ้มทองกุล กลางเมือง ขณะที่เพิ่งเสร็มหมาดๆ จากการจลาจล ทหาร ตำรวจควรจะอยู่เต็มไปหมดเลย เกิดขึ้นได้ไม่ใช่เรื่องธรรมดา เมื่อฆ่าแล้วยังไม่ตายทำอย่างไรครับ เอามันติดคุกให้ได้ ส่วนเมื่อติดคุกแล้วจะไปฆ่าในคุกหรืออย่างไรอีกเรื่องหนึ่ง เพราะเมื่อติดคุกแล้ว อาจจะเกิดอุบัติเหตุมีผู้ต้องขังที่เกิดเกลียดชัง เกิดอารมณ์ชั่ววูบ เกลียดคุณสนธิวิ่งเข้าไปทำร้ายคุณสนธิเป็นไปได้ทั้งนั้น ในคุกเมืองไทยเจ้าพ่อยังอยู่ได้ โทรศัพท์สั่งการค้ายาเสพติดยังทำกันได้ กะแค่คุณสนธิ ลิ้มทองกุล ที่ไม่มีอำนาจวาสนาเพียงคนเดียว ถ้าติดคุกไปแล้วอะไรจะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้นกระบวนการเอาคุณสนธิติดคุก มันจึงมีคดี 108 และไม่ใช่ว่าคุณสนธิจะรอด ในที่สุดอาจจะเจอเข้าสักดอกสองดอก คดีหมิ่นประมาทจ่ออยู่ที่ศาลฎีกาหลายคดี ในคดีชั้นหลังๆ ศาลไม่รอลงอาญา ศาลอุทธรณ์ไม่รอลงอาญา ประเด็นมันไม่ใช่ว่าติด 3 เดือน ติด 6 เดือน ปัญหาว่าถ้าคนอย่างคุณสนธิติดคุก แม้จะเพียงแค่ 1 อาทิตย์ 2 อาทิตย์ จะได้อยู่คุกสบายมีคาราโอเกะร้อง มีโชว์ไปเต้นข้างหน้ารึเปล่า ไม่ใช่ครับ ประเด็นมันสำคัญอยู่ที่ว่า ทำยังไงเอาคุณสนธิไปอยู่ในคุกให้ได้ คดีหมิ่นประมาทเยอะไปหมด คดีที่สมัยคุณสนธิทำธุรกิจ ก่อนมาทำงานการเมือง ศาลชั้นต้นว่าไปแล้ว 20 ปี ทั้งหมดเริ่มอยู่ในชั้นอุทธรณ์ ชั้นฎีกา คดีใหม่สุวรรณภูมิ ทำเนียบ ก่อการร้ายกำลังจะไล่มาช่วงตุลา พฤจิกา ธันวานี้นะครับ ซึ่งสั่งฟ้องแน่นอน คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ หรือคดีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ดูหมิ่นอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ทั้งๆ ที่ไม่น่าจะเป็นคดี เป็นคดีขึ้นมา ถ้าเผื่อคดีนี้ทำให้คุณสนธิติดคุกได้ มันเสมือนเป็นการยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว หรือได้นกทั้งฝูง
ประพันธ์- ได้หลายตัว
คำนูณ- ผมเชื่อว่า ถ้าคุณสนธิจะต้องถูกลงโทษติดคุก คุณสนธิพร้อม แต่จะไม่มีคดีไหนที่สร้างความเจ็บปวดรวดร้าวใจให้กับคุณสนธิ และพี่น้องพันธมิตรฯ เท่ากับคดีนี้ ถ้าถึงที่สุดแล้วเป็นอย่างนั้น เพราะใครจะชอบใครจะชังคุณสนธิอย่างไรแล้วแต่ แต่สิ่งหนึ่งที่ปฏิเสธไม่ได้คือ คุณสนธิเป็นคนรักสถาบัน รักในหลวง และพูดเปิดเผยแฉโพยแต่สิ่งที่หมิ่นเหม่ ที่จะเป็นการกระทบสถาบัน กระทบพระเจ้าอยู่หัว เป็นการพูดที่คนส่วนใหญ่ของสังคมไทยไม่กล้าพูด เพราะว่าผู้พูดมีความเสี่ยงด้วย นอกจากนั้นท่ามกลางสถานการณ์ที่มีการรณรงค์ให้ยกเลิก หรือแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หากคุณสนธิต้องโทษจำคุกเพราะคดีนี้ มันจะเป็นการบอกว่า พูดอย่างไรถึงพระมหากษัตริย์อย่างไร ไม่ว่าจะมีเจตนาอะไร จะเจตนาดูหมิ่น หรือจะเจตนาแจ้งให้เจ้าหน้าที่ไปจับคนดูหมิ่นโดนหมด
ประพันธ์- คุณอาจเป็นเหยื่อได้
คำนูณ- คุณอาจเป็นเหยื่อได้ เพราะฉะนั้นมาตรา 112 ไม่เป็นคุณแก่ใครเลย
เติมศักดิ์- ทำให้เกิดเงื่อนไข
คำนูณ- และที่สำคัญคือ ถ้าคนที่รักสถาบันอย่างคุณสนธิ ต้องโดนติดคุกเพราะคดีนี้ คนที่รักสถาบันคนอื่นจะรู้สึกอย่างไรครับ จะปรับพฤติการณ์ในการรักสถาบันใหม่หรือไม่ รักอยู่แต่ในใจ รักแล้วไม่ต้องพูด รักแล้วเข้าห้องพระจุดธูปเทียนกราบไหว้
ประพันธ์- ไม่ต้องออกมา
คำนูญ- ไม่ต้องออกมา แต่ในขณะที่คนที่เขาไม่รัก เขาพูดเปิดเผย ในเว็บไซต์ ในหนังสือใต้ดินต่างๆ และพูดจาฉวัดเฉวียน เลียบค่ายส่อนัยให้เข้าใจอย่างนั้น แต่คนที่รักจงรักภักดี ต้องการจะต่อสู้เพื่อพิทักษ์ปกป้องพระองค์ท่าน จะมีความรู้สึกว่า เราเป็นใคร สนธิ ลิ้มทองกุล ทุ่มเทเสียสละ เอาเงินทองแทบจะเอาชีวิตเข้าแลก แล้วผลสุดท้ายคืออะไร คุกตาราง ผมว่าคดีนี้เป็นคดีที่มีความหมายอย่างยิ่ง และเท่าที่ผมทราบใจหายใจคว่ำกันจนนาทีสุดท้าย ทั้งๆ ที่ประการที่ หนึ่ง มันไม่ควรจะเป็นคดีมาตั้งแต่ต้น น่าจะจบตั้งแต่ชั้นพนักงานสอบสวน หรือน่าจะจบตั้งแต่ชั้นพนักงานอัยการ คุณเติมศักดิ์ผมจะไม่เปรียบเทียบกับคดีอื่น เอาคดีคุณจักรภพ เพ็ญแขแล้วกัน ทุกคนรู้ดีว่า จักรภพ เพ็ญแข คิดอย่างไรกับสถาบัน เขาเขียนหนังสือเปิดเผยโดยชื่อจริง โดยนามปากกานะครับ แล้วคดีที่เราพูดกันในเอเอสทีวีกันตลอดคือ คดีที่เขาไปสปีคเป็นภาษาอังกฤษที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการ ใช้เวลาแปลเอกสารอยู่ ผมเข้าใจว่า 3 ปี เราเองแปลกันใช้เวลาไม่กี่วัน และเมื่ออ่านโดยนัย โดยความหมาย พูดโดยไม่มีอคติ เจตนานั้นชัดเจน ต้องเข้าใจนะครับประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 หรือว่าประมวลกฎหมายอาญาทุกมาตรา การที่รัฐจะไปลงทัณฑ์ หรือลงโทษทางอาญากับราษฎรผู้ใด เขาถือสูงสุดเลยคือ เจตนา เจตนาของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 คือ คุณต้องมีเจตนาดูหมิ่นอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท แต่ในกรณีนี้เจตนาของคุณสนธิไม่ใช่เช่นนั้น แม้จะพูดด้วยถ้อยคำ 1 ใน 10 หรือ 1 ใน 100 หรือ 1 ใน 1,000 ที่ดา ตอร์ปิโดพูดเหมือนกัน แต่เจตนาของดา ตอร์ปิโดชัดเจน เจตนาของคุณสนธิ ลิ้มทองกุลชัดเจนเหมือนกันว่า ให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองไปจัดการ ดา ตอร์ปิโด หรือเจตนาที่จะบอกกับพี่น้องประชาชนว่า มีคนบางคนบังอาจจาบจ้วงถึงขนาดนี้ พวกเราจะนิ่งเฉยอยู่ไม่ได้ เพราะฉะนั้นเมื่อสารัตถะของประมวลกฎหมายอาญาเป็นเช่นนี้นะครับ ในคดีของคุณจักรภพ เพ็ญแข ที่ไปสปีคที่สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เจตนานี้เห็นชัด คุณเติมศักดิ์อ่านมาหลายครั้ง ผมเองอ่านมาหลายครั้ง คุณประพันธ์อ่านมาหลายครั้ง เป็นไปอย่างไรครับบ้านนี้เมืองนี้
ประพันธ์- อัยการสั่งไม่ฟ้อง
คำนูณ- อัยการสั่งไม่ฟ้อง มันจบแล้วครับ เพราะฉะนั้นเรื่องนี้นะครับ ผมว่าวันนี้เป็นอีกวันหนึ่ง ที่มีความหมาย อย่างน้อยไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ต้องถือได้ว่าศาลอาญา องค์คณะผู้พิพากษาในคดีนี้ ท่านทำหน้าที่ได้สมกับความที่เป็นที่พึ่งสุดท้าย แต่อย่างไรก็ตามแต่ คดียังไม่จบ แล้วยุทธศาสตร์ที่จะจัดการกับคุณสนธิ ยังมีอยู่ต่อไป ซื้อ ฆ่า เอามันติดคุก
ประพันธ์- ซื้อ ฆ่า ขัง
คำนูณ- ซื้อ ฆ่า ขัง สุดแท้แต่ เพราะว่าคุกเมืองไทย หรือว่าคุกที่ไหนในโลก ถ้าไม่ได้อยู่ฝั่งผู้มีอำนาจก็ไม่ได้ร้องคาราโอเกะ ไม่มีวงดนตรีมาตั้งข้างหน้า ไม่ได้อยู่ในสถานที่จำขังที่ทำไว้เป็นกรณีพิเศษ คุณสนธิยังจะเจอกับยุทธการซื้อค่าขังอยู่ตลอดเวลา
เติมศักดิ์- แต่ที่คุณคำนูณพูดมาพอจะพูดได้ไหมครับว่า คำพิพากษา โดยเฉพาะคดีนี้สะท้อนว่ามาตรา 12 ไม่ได้มีปัญหาในตัวมันเอง ไม่ได้มีปัญหาในตัวบท
คำนูณ- ไม่ใช่ว่าใครจะทำผิดมาตารา 112 ง่ายๆ ทั้งหมด คุณต้องมีเจตนาอย่างนั้นจริงๆ
ประพันธ์- คือตัวประมวลกฎหมายอาญา 112 มันไม่ได้เป็นตัวปัญหาที่ว่า เมื่อมีไว้แล้วมันจะเป็นเครื่องมือสำหรับพนักงานสอบสวน หรือใครที่ใช้เอาไปกลั่นแกล้งใคร แต่ว่าใครจะใช้อำนาจโดยการกลั่นแกล้งคนอื่นมันใช้กมลสันดานของคน มันไม่ได้ใช้ในตัวบทกฎหมาย เหมือนเช่นคดีจักรภพ เพ็ญแข ทำไมคุณสั่งไม่ฟ้อง ถ้ายึดตัวประมวลกฎหมายอาญาและองค์ประกอบความผิดแล้ว มันก็ชัดเจน พฤติกรรมของผู้พูด เจตนารมณ์ของผู้พูด การแสดงออกของผู้พูดในหลายที่หลายแห่ง อันแสดงออกถึงความไม่จงรักภักดี หรืออาฆาตมาดร้าย หรือจงเกลียดจงชังต่อสถาบัน มันมีให้เห็นตั้งหลายแห่ง แต่ในขณะอีกคนหนึ่งแสดงมาตั้งแต่ต้น เป็นคนแรกในประเทศนี้ที่ใส่เสื้อแล้วบอกว่า สู้เพื่อในหลวง มีใครในประเทศนี้ ไม่ได้พูดแต่ปาก แสดงออกต่อสาธารณชนถึงการต่อสู้ปกป้องสถาบัน ตีแผ่ขบวนการที่จะล้มล้างสถาบันทุกวิถีทาง ไม่กลัวว่าชีวิตของตัวเองจะเป็นอะไร และไม่ใช่เฉพาะสถาบันกษัตริย์เท่านั้น ทางด้านสงฆ์ สมเด็จพระสังฆราช ถูกล่วงละเมิดพระราชอำนาจอย่างไร ถูกก้าวล่วงในเรื่องใดบ้าง มีใครออกมาสู้เพื่อปกป้องสมเด็จพระสังฆราช มีใครมาปกป้องสมเด็จพระบรมราชินีนาถฯ สถาบันพระมหากษัตริย์เยี่ยงคุณสนธิ
ผมยังบอกว่า เขาก็เป็นลูกเจ๊กลูกจีนคนหนึ่ง แต่ไอ้คนที่ควรจะมีหน้าที่ ทำหน้าที่มากกว่าเขา ไม่ทำหน้าที่ เพราะฉะนั้นวันนี้คุณสนธิ โดนข้อหานี้ และโดนจำคุกด้วยเรื่องนี้มันจะเป็นเรื่องที่เจ็บปวดที่สุดสำหรับคนที่ทุ่มเททั้งชีวิตของเขาเพื่อเรื่องนี้ ผมถึงบอกว่า กระบวนกฎหมายอาญา 1,2 มันไม่ได้เป็นตัวปัญหา แต่ปัญหามันอยู่ที่คนใช้กฎหมาย แล้วการที่จะใช้กฎหมายไปกลั่นแกล้งคนอื่น ไม่ใช่แค่ 112 นะ ข้อหาอื่นมันยัดเยียดให้เขาได้ ข้อหาฟอกเงิน ข้อหาลักทรัพย์ ข้อหาปล้น มียาเสพติด พนักงานสอบสวน คนที่มีใจไม่เป็นธรรม หรืออคติ หรือไม่มีมโนธรรม ไม่มีศีลธรรม มันใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือกลั่นแกล้งคนอื่นได้เสมอ ฉะนั้นประเด็นปัญหาคือประเทศไทยไม่ได้มีปัญหาของตัวบทกฎหมาย หรือบัญญัติของกฎหมายเป็นปัญหา เรามีปัญหาในเรื่องบุคคล ตัวบุคคลผู้บังคับใช้กฎหมาย ปราศจากคุณธรรม ศีลธรรม ไม่ยึดหลักกฎหมาย ถูกอำนาจอิทธิพล เงิน สินบน หรืออำนาจทางการเมืองครอบงำแทรกแซง แล้วเบี่ยงเบน บิดเบือนแบบนี้หมด เหมือนเรื่องดีเอสไอ มันเป็นแบบนี้ ไม่ได้อยู่ที่ตัวบัญญัติของกฎหมาย แต่มันอยู่ที่ตัวคนบังคับใช้กฎหมาย ฉะนั้นเรามีปัญหา
เติมศักดิ์- ต่อให้แก้ไขอย่างที่พวกรณรงค์พวก ครก.เขาต้องการ ถ้าจะกลั่นแกล้งได้อยู่ดี
คำนูณ- คือมันอยู่ที่ผู้บังคับใช้กฎหมาย และอยู่ที่กระบวนการ คือ ตัวบทกฎหมายมันไม่ได้เป็นปัญหาโดยตรงของตัวเอง ยกเว้นในรายละเอียดบางประการ ซึ่งจุดยืนผมชัดเจน ถ้าจะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 มันเป็นประเด็นที่หารือกันได้ เพราะว่าแต่เดิมประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โทษไม่ได้สูงเหมือนขั้นนี้ มีการแก้ไขเพิ่มเติมหลังการรัฐประหาร 6 ตุลาคม 2519 ก็แก้ไขเพิ่มเติมจนกระทั่งเป็นโทษที่เรียกว่า โทษขั้นต่ำไม่สามารถจะรอลงอาญาได้ ในประเด็นนี้โดยส่วนตัวผมเป็นประเด็นที่จริงก็มีผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านก็เห็นว่า ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่หารือกันได้ แต่เรื่องยกเลิกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง หรือเรื่องการมากล่าวว่า การมีประมวลกฎหมายอาญามาตรานี้มันกลายเป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายเอาไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองกัน ผมว่าถ้าเผื่อกระบวนการบังคับใช้กฎหมายมีหลักมั่น และยืนอยู่บนความถูกต้องมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ใช้การพิจารณาเรื่องนี้ด้วยความละเอียดรอบคอบ มันจะไม่เกิดเหตุขึ้นมา
เติมศักดิ์- คดีนี้เป็นคดีที่เกี่ยวกับ น.ส.ดารุณี เดี๋ยวไปดูเรื่องที่เกี่ยวกับดารุณี แล้วพัฒนามาเป็นความรุนแรงที่กองปราบเมื่อวานนี้ในช่วงหน้านะครับ ช่วงนี้พักสักครู่ครับ
ช่วงที่ 2
เติมศักดิ์- ช่วงนี้มาที่กรณี คุณดารณี กฤตบุญญาลัย ถูกด่าในห้างพารากอน มีผู้หญิงมาถามว่าด่าในหลวงทำไม มันพัฒนาไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงที่กองปราบเมื่อวานนี้
ทั้งสองท่านมองเรื่องนี้อย่างไรบ้างครับ
ประพันธ์- คือเรื่องนี้เท่าที่ผมติดตามทราบว่า สตรีผู้หนึ่งซึ่งเป็นอดีตครูโรงเรียนนานาชาติ ที่ว่าตามข่าวได้ไปสอบถามเชิงต่อว่า กับนางดารณี ผมขอให้เว็บไซต์ของเมเนเจอร์ และหนังสือพิมพ์ผู้จัดการตัดคำว่าไฮโซออก เพราะผู้หญิงคนนี้ไม่ใช่ไฮโซ แต่พยายามอยากจะทำตัวเป็นไฮโซ เขาเป็นประชาชนสามัญชนเหมือนพวกเรา แต่พยายามทำตัวอยากจะแสดงออกเยอะ ฉะนั้นการที่สตรีท่านหนึ่งเดินไปถามดูโดยเนื้อหาสาระแล้ว มันไม่น่าเป็นความผิดในฐานะหมิ่นประมาท จากคลิปยูทิวบ์ที่ดู ซึ่งจริงๆ แล้วถ้าตำรวจจะขยันมันควรจะขยันเหตุการณ์ที่คนเสื้อแดงมาทุบตีประชาชนที่มาเมื่อวานมากกว่า
แต่เอาล่ะ เมื่อมีการจะดำเนินคดีกับผู้หญิงคนนี้โดยมีหมายเรียกให้มารับทราบข้อกล่าวหา มีประชาชนซึ่งรู้สึกว่าสตรีผู้นี้ไม่ได้รับความเป็นธรรม หรือเธอได้แสดงออกซึ่งความจงรักภักดี หรือไม่พอใจกับการที่มีคนมาตำหนิต่อว่า หรือพูดจาพาดพิงหมิ่นเหม่ต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เป็นเรื่องปกติที่ประชาชนจะแสดงออกได้ เมื่อพนักงานสอบสวนจะดำเนินคดีกับเธอแบบนี้ ในเว็บไซต์ ในเฟซบุ๊ก โซเซียลเน็ตเวิร์ก แสดงความรู้สึกเห็นใจกับผู้หญิงคนนี้ ประชาชนอยากจะไปให้กำลังใจ อาจจะมีพี่น้องพันธมิตรฯ บ้าง หรือใครก็ตามที่รู้ข่าวนี้ แต่ว่าคนที่ไปเพื่อให้กำลังใจเธอไม่ได้ไปในฐานะที่เป็นการชุมนุมของแกนนำพันธมิตรฯ แต่เป็นการไปด้วยความเต็มใจ ความสมัครใจของพี่น้องประชาชนกลุ่มต่างๆทุกกลุ่ม ซึ่งในนั้นอาจจะมีพี่สุวัตรไปด้วย เป็นเรื่องที่อาจจะทำให้เข้าใจว่า เป็นการไปของแกนนำพันธมิตรฯ มันไม่ใช่ เป็นเรื่องของแต่ละคนที่อยากจะไปแสดงให้กำลังใจกับเธอ แต่ปัญหาคือว่า การไปของพี่น้องประชาชเหล่านี้ ผมเห็นว่ามันเป็นสิทธิเสรีภาพของเขาที่เขาอยากจะแสดงออกได้ หรือไปให้กำลังใจกับคนที่ถูกกล่าวหา ซึ่งเขาเห็นว่าไม่เป็นธรรม แต่แล้วมีคนอีกกลุ่มหนึ่งซึ่งผมคิดว่า 1.คนกลุ่มนี้ไม่ควรจะมา และ 2. มาแล้วก็ไม่มีเหตุผลที่จะมา เช่นบอกว่า จะมาให้กำลังใจ นางดารณี ถามว่านางดารณีอยู่ที่ไหน ไม่ได้ถูกจับกุมในวันนั้น ยังไม่ได้ถูกนำตัวมา มันเป็นผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นผู้เสียหาย และไปแจ้งความ เพราะฉะนั้นข้ออ้างที่บอกว่าจะมาให้กำลังใจนางดารุณีมันไม่มีเหตุผล
และรวมขบวนกันมาจำนวนเป็นร้อย และเอาเครื่องขยายเสียงมาแล้วมาก่อกวน การใช้สิทธิเสรีภาพของผู้อื่น ผมคิดว่าการมาของกลุ่มคนเสื้อแดงกลุ่มนี้มันมีพฤติกรรมคือ 1.ไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะมา แล้ว 2 มาในลักษณะที่จงใจ และจะมาหาเรื่อง จงใจที่จะมายั่วยุ จงใจที่จะมาทำให้เกิดปัญหา ซึ่งลักษณะแบบนี้ของกลุ่มคนเสื้อแดงมีมาตลอด ตั้งแต่เราชุมนุมกันครั้งไหนแล้ว และบรรดาแกนนำของกลุ่มคนเสื้อแดงไม่เคยอบรมสั่งสอนไม่เคยตักเตือน ไม่เคยห้ามปราม กลับให้ท้ายด้วยซ้ำบางที และบนเวทีปราศรัยของแกนนำเสื้อแดง เป็นที่ทราบกัน จากรายงานของคณะกรรมการอิสระค้นหาความจริงที่ชุด อาจารย์คณิต ณ นคร ระบุไว้ชัดเจนว่า ในการที่เกิดเหตุรุนแรงส่วนหนึ่งมาจากแกนนำของกลุ่มผู้ชุมนุม นปช.ผลิตความคิด สร้างวาทะกรรม ปลุกระดม ยั่วยุ ให้เกิดความรุนแรง การ์ดของ นปช.เป็นผู้ที่ให้อำนวยความสะดวก ร่วมมือสนับสนุนกลุ่มชายชุดดำ เพราะฉะนั้นพฤติกรรมที่มันมีความรุนแรง มีการปะทะกับเจ้าหน้าที่ มีการเผาบ้านเผาเมือง มีการเผาสถานที่ราชการ ส่วนหนึ่งมาจากผู้นำการชุมนุมส่งเสริมให้เกิดความรุนแรงมาโดยตลอด เพราะฉะนั้นเพิ่งมาเห็นในวันนี้ ก่อแก้ว พิกุลทอง ทำเป็นออกมาพูด ซึ่งความจริงคงพยายามจะพูดโดยเจตนาอย่างไร ผมต้องไปวิเคราะห์อีกที เพราะตลอดเวลาที่เห็นการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงมาจนกระทั่งปัจจุบันไม่เคยมีท่าทีแบบนี้เลย ฉะนั้นปัญหาที่มันเกิดขึ้นเมื่อวานนี้ผมคิดว่า 1.กลุ่มคนเสื้อแดงมาทำไม 2.คุณมีเหตุผลอะไรที่จะมา และ 3.เวลาที่พวกคุณชุมนุม เวลาที่คุณมีการแสดงออก หรือมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองทั้งที่ประชาชนส่วนใหญ่ เห็นพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของพวกคุณเขาไม่อยากไปยุ่งเกี่ยวกับพวกคุณ ปล่อยให้เป็นอำนาจหน้าที่ของบ้านเมือง แต่กรณีนี้ประชาชนเขาไปให้กำลังใจกับคนที่ถูกกล่าวหาและไม่ได้รับความเป็นธรรม มันไม่ใช่หน้าที่ของกลุ่มเหล่านี้จะไปแสดงกิริยามารยาท หรือปลุกระดม หรือก่อกวนยั่วยุ ฉะนั้นพฤติกรรมมันยั่วยุ หาเรื่อง ชวนทะเลาะ
นอกจากนี้ ยังมีตำรวจบริเวณหน้ากองปราบที่อาจจะในเครื่องแบบ หรือนอกเครื่องแบบผสมโรงกับเหตุการณ์เข้าไปด้วย เมื่อเป็นอย่างนี้ผมเลยคิดว่าเหตุความรุนแรงทั้งหมด มันไม่ได้เกิดจากพี่น้องประชาชนที่ไปและโดยวัฒนธรรม โดยการชุมนุมของพี่น้อง จะเรียกว่าเป็นพันธมิตรฯ หรือกลุ่มคนเสื้อเหลือง หรือกลุ่มต่างๆ ที่ไม่ใช่พวกเสื้อแดง จะไม่มีพฤติกรรมในการชวนทะเลาะหาเรื่องหรือก่อความรุนแรง เคารพกฎหมาย อยู่ในความสงบ ไม่ต้องการจะมีเรื่องกับใคร เมื่อเป็นดั่งกรณีนี้ผมเลยคิดว่า เมื่อเหตุรุนแรงมันเกิดขึ้นกับกลุ่มคนเหล่านี้ และกลุ่มคนเหล่านี้ พอจะติดตามได้จากภาพ และแหล่งที่มาที่ไปของคนเหล่านี้เมื่อมีพี่น้องประชาชนได้รับบาดเจ็บถูกทุบทีทำร้ายเป็นความผิดทางอาญาอย่างนี้ ผมคิดว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจปฏิเสธความรับผิดชอบไม่ได้ ที่สำคัญคือรัฐบาลนี้ไม่เคยห้ามปราม ไม่เคยจับกุมมวลชนกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นมวลชนของพรรคเพือ่ไทย และรัฐบาล ให้มีกิริยามารยาทไม่ถ่อย ไม่สามานย์ ไม่เคยอบรมกัน
ฉะนั้นหน้าที่ของรัฐบาล มีหน้าที่จะต้องดูแลความสงบเรียบร้อยของบ้านเมืองมีหน้าที่ต้องควบคุมดูแลการปฏิบัติการให้เป็นไปตากฎหมาย มีหน้าที่ที่จะทำให้ประชาชนอยู่ด้วยความสงบ รักใคร่สามัคคีกัน ป้องกันเหตุร้าย หากมีกลุ่มหนึ่งจะมาทำร้ายอีกกลุ่ม คุ้มครองการใช้สิทธิเสรีภาพของประชาชน รัฐบาลจะต้องทำหน้าที่อันนี้ แต่ถ้ารัฐบาลไม่ทำหน้าที่นี้ เป็นหน้าที่ของพี่น้องประชาชนที่จะต้องดำเนินการ ผมเลยเห็นว่า พี่น้องประชาชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรม ถูกทุบตี ทำร้าย เมื่อวันที่มีเหตุการณ์ดังกล่าว ควรจะไปเรียกร้องให้ดำเนินการเอาคนพวกนี้มารับโทษดำเนินคดีตามกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ตำรวจถ้าใครที่เข้าไปเกี่ยวข้องในการทุบตีทำร้ายประชาชนต้องเอาตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมาย ถ้ารัฐบาล ถ้าเจ้าหน้าที่ตำรวจ ไม่ดำเนินการทางกฎหมายเป็นมาตรการพี่น้องประชาชนที่มีสิทธิโดยชอบธรรมที่จะกดดัน และเรียกร้องต่อรัฐบาล ว่าต่อไปนี้คุณจะจัดการต่อมวลชน อันธพาลเสื้อแดงเหล่านี้ได้อย่างไร ถ้ารัฐบาลไม่ดำเนินการต่อกลุ่มอันธพาลมวลชนเสื้อแดงเหล่านี้ให้อยู่ในกรอบของกฎหมาย และกติกาของบ้านเมือง รัฐบาลกลายเป็นรัฐบาลโจร รัฐบาลที่ส่งเสริมคนชั่ว ทำผิดกฎหมาย และต่อไปประชาชนอาจจะไม่เคารพรัฐบาล ไม่เคารพกฎหมาย มันจะเกิดบรรยากาศตาต่อตาฟันต่อฟันขึ้นมาได้ แล้วสังคมจะอยู่กันอย่างไร
เพราะฉะนั้นรัฐบาลต้องเอาใจใส่ในเรื่องนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจต้องใส่ใจในเรื่องนี้ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องสำคัญมากกว่าจะไปตามหาเรื่องกับครูคนนั้น อันนี้ทำผิดต่อหน้าต่อตาตำรวจ และอยู่ในการบ้านการเมืองทุกคนเห็นดูว่ามาตรการของรัฐบาล และเจ้าหน้าที่ตำรวจจะให้ความคุ้มครองประชาชนได้หรือไม่
ฉะนั้นมูลเหตุของเรื่องนี้มันเห็นได้ชัดว่า ผู้ไปเขาไปด้วยความสงบ และไม่มีเจตนาหาเรื่อง แต่คนพวกนี้กรูเข้ามาทุบตีทำร้ายหาเรื่องกับประชาชนที่ไปในวันนั้น ประชาชนเหล่านั้น มีสิทธิ์ที่จะป้องกันตัวเองโดยชอบของเขา เพราะหวังว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจและรัฐบาลจะเห็นความสำคัญของเรื่องนนี้ อย่าทำให้เรื่องนี้มันกลายเป็นน้ำผึ้งหยดหนึ่งแล้วมันจะบานปลายต่อไปได้ เพราะเมื่อไหร่ที่ประชาชนไม่เคารพและเชื่อฟังรัฐบาล จะปกครองไม่ได้
เติมศักดิ์- หลายคนเอาเรื่องนี้ไปโยงกับการปรองดองได้ไม่ได้ ตรงนี้ ส.ว.คำนูณ ว่าอย่างไรครับ
คำนูณ- ได้อยู่แล้วครับ คือตราบใดที่ คือประเด็นรายงาน คอป. ผมว่าเป็นประเด็นสำคัญนะ รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งคณะกรรมการอิสระมา 3 ชุด หลังเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2553 ชุดคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ คุณอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ชุดสภาปฏิรูป คุณหมอประเวศ วะสี เป็นประธาน และชุดตรวจสอบความจริงเพื่อความปรองดอง อาจารย์คณิต ณ นคร เป็นประธาน ใครเป็นคนของใครจะตีตราใส่สีเสื้อให้ท่านเป็นอย่างไรนั่นก็อีกเรื่อง แต่ละชุดเขาจะมีคณะทำงานของเขาโดยอิสระ มีอนุกรรมการ จะเป็นเสื้อเหลืองเสื้อแดงสุดแท้แต่ เขาตั้งตั้งแต่เข้าใจว่ามิถุนายน กรกฎาคม 53 รัฐบาลชุดนี้เข้ามาสิงหาคม 54 คณะกรรมการทุกชุดทำงานเดินหน้ากันไปหมดแล้ว คณะทำงานมีหมดแล้วจะใกล้ชิดคุณสุริยะใส กตะศิลา หรือไม่บ้างที่เป็นอนุกรรมการผมไม่ทราบ แต่ถ้ามีเขาทำงานกันอยู่แล้ว
การแถลงนโยบายต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2554 รัฐบาลชุดนี้ พูดไว้ในนโยบายเร่งด่วนที่จะดำเนินการในปีแรก ในข้อ 1.1 , 1.3 ว่าจะสนับสนุนให้ คอป.ชุด อาจารย์คณิต ณ นคร ทำงานโดยอิสระ สนับสนุนเพื่อค้นหาความจริงเพื่อเป็นรากฐานของความปรองดอง รัฐบาลชุดนี้รู้อยู่แล้ว ว่าอาจารย์คณิต ณ นคร เป็นใคร ท่านจะโกรธคุณทักษิณ ชินวัตร หายแล้วหรือยังผมไม่ทราบ คณะทำงานของท่านจะเป็นใครบ้าง ผมไม่ได้รู้ทั้งหมด คุณสมชาย หอมลออ จะสนับสนุนใคร ความจริงเป็นที่ประจักษ์อยู่แล้ว รัฐบาลชุดนี้คงจะต้องกลั่นกรองที่แล้วถึงจะคิดสนับสนุน คอป. โดยเลือกที่จะไม่พูดถึงคณะของคุณอานันท์ กับคุณหมอประเวศ ไม่พูดถึงเลย พูดถึงชุดเดียว แล้วเมื่อ คอป.เสนอแนะมาตรการมาเป็นช่วงๆเป็นรายงาน 3 เดือนบ้าง 6 เดือนบ้าง รัฐบาลดูเหมือนว่าจะรับไปปฏิบัติหลายอย่าง เป็นต้นว่าเรื่องการประกันตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเยียวยาที่อ้างเอาฐานจากรายงานของ คอป.ไป และคุณยงยุทธ วิชัยดิษฐ ไปทำเป็นเยียวยาตาย 7 ล้าน บาดเจ็บเท่าไหร่ก็ว่าไป เพิ่งจะมาสะดุดตรงรายงานชุดก่อนสุดท้ายของ คอป.ที่บอกว่า ต้นเหตุมันคือคดีซุกหุ้นภาค 1 ที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินอย่างนั้น รัฐบาลชุดนี้เริ่มนะจังงังเอายังไงกันวะ สุดท้ายพอมาเป็นรายงานทั้งหมด ผมสารภาพผมยังไม่ได้อ่านรายงานทุกตัวอักษรอย่างพินิจพิเคราะห์ แต่อ่านผ่านๆโดยโครงสร้างแล้ว ผมเชื่อว่าในรายงานสารัตถะทั้งหมดไม่ได้พูดเรื่องรายงานอย่างเดียว แต่พูดวิพากษ์วิจารณ์ฝ่ายต่างๆอย่างตรงไปตรงมา แม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรม แม้กระทั่งศาลยุติธรรม วิพากษ์วิจารณ์การดำเนินการของกองทัพของตำรวจ และที่สำคัญคือว่าสามารถจะบรรยายหรืออธิบายรากฐานของปัญหาที่ย้อนหลังไปถึงปี 2544 เป็นมาได้ค่อนข้างจะเป็นเหตุเป็นผลและมีตรรกะ ผมเปรียบเทียบอย่างนี้คุณประพันธ์ คุณเติมศักดิ์ มันคล้ายๆกับหลังวิกฤติปี 2540 รัฐบาลประชาธิปัตย์ ยุคนั้นตั้ง อ.นุกูล ประจวบเหมาะ เป็นคณะกรรมการชุดหนึ่งชื่อว่า สปร. เขามีรายงานออกมาชุดหนึ่ง เราต้องยอมรับว่า เขาสามารถให้ภาพรวมของวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นซึ่งถ้าอ่านโดยใจที่ปราศจากอคติแล้ว จะพบได้ว่า ส่วนใหญ่น่ารับฟัง และน่าที่จะไปต่อยอดต่อ คอป.เช่นกัน ผมเองจะไม่ได้เห็นด้วยทั้งหมด หรือคนที่เป็นพันธมิตรฯ ไม่ใช่ว่าจะเห็นด้วยทั้งหมด คนที่เป็นคนกลุ่มต่างๆ ใช่ว่าจะเห็นด้วยทั้งหมด แต่ผมเห็นว่าถ้าสังคมนี้จะพอมีโอกาสเดินหน้าไปสู่การปรองดองกันได้มันจะต้องเห็นร่วมกัน หรือยอมรับกันในอะไรสักอย่างหนึ่ง ถ้าเราสองฝ่ายใหญ่ๆ ซึ่งมันก็จะมีอะไรปลีกย่อยกันอีกเยอะ ยอมรับร่วมกันตามรายงานตรงนี้ได้ แล้วเดินหน้าไปผมว่า เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี แต่ถ้าเผื่อว่าพอเริ่มต้นมาก็ตั้งโต๊ะประณาม ตั้งโต๊ะด่ากันเสียแล้ว
มันก็เป็นเรื่องน่ารันทดนะครับ ที่วันนี้เราต้องมานั่งเถียงกันว่า มีชายชุดดำหรือไม่ ทั้งๆที่เราก็เห็นเหตุการณ์ที่มันผ่านมาไม่นาน 2-3 ปีเอง มีมันมีอยู่แล้วแต่มันเป็นใคร อย่างไร เกี่ยวข้องกับคนเสื้อแดง ตรง อ้อม อย่างไรหรือไม่ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง คือถ้าผมพูดตรงๆว่าเราต้องยอมรับกันเป็นพื้นฐานก่อนว่า มันมีปกิบัติการของชายชุดดำจริง นี่ที่เราต้องยอมรับ อีกทางหนึ่งเราก็ต้องยอมรับด้วยเช่นกันว่า เมื่อมีเหตุมีชายชุดดำ มีทหารชั้นผู้ใหญ่ ตาย และบาดเจ็บสาหัส เป็นเหตุให้ทหารจากที่ใช้กระสุนไม่จริงมาเป็นใช้กระสุนจริงในการพยายามที่จะกระชับพื้นที่หรือสลายการชุมนุมแม้จะพยายามกระทำการละมุนละม่อมอย่างไร โอกาสที่จะมีประชาชนเสียชีวิตเพราะอาวุธของทหารก็มีเช่นกัน ถ้าเรายอมรับทั้งสองอย่างว่าเป็นการเกิดขึ้นจริงมันไม่ได้จะเป็นความผิดคอขาดบาดตาย มันมีเหตุผลที่จะอธิบายได้ แต่ถ้าเริ่มต้นเราไม่ แล้วเราจะพูดอีกด้านหนึ่ง คนเสื้อแดงจะตั้งหน้าตั้งตาที่จะบอกว่าทหารฆ่าประชาชน เมื่อศาลมีคำสั่งชันสูตรพลิกศพมาว่า นายพัน คำกอง ตายเพราะอาวุธของเจ้าหน้าที่ซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการอยู่ก็ขยายผลกันใหญ่โต แต่พอรายงานของ คอป.ซึ่งมีจำนวนมหาศาลแต่ส่วนหนึ่งเชื่อว่ามีชายชุดดำ ท่านจะเป็นจะตายทีอย่างนี้มันไม่ใช่บรรยากาศของการที่จะพูดจากัน การที่จะพูดจากันคือ มันจะต้องยอมรับความจริงพื้นฐานกันก่อน
เช่นเดียวกันครับ ภายใต้บรรยากาศแบบนี้เกิดเหตุปะทะกันซึ่งแกนนำของทั้งสองฝ่ายไม่ได้ลงไปนำมันเกิดจากกระแสในโซเชียลมีเดีย โซเชียลเน็ตเวิร์ก เกิดจากวิทยุชุมชน โดยเฉพาะวิทยุชุมชนของคนเสื้อแดง ซึ่งขยายความเกินเหตุโซเชียลมีเดียของคนเสื้อแดงที่ขยายความเกินการณ์ ขยายความว่าดารณีถูกเสื้อเหลืองล้อมอยู่ที่กองปราบ พี่ตั้วกำลังอาละวาดพวกเราอยู่ ตอนนี้พวกเราน้อยกว่าระดมกันออกมา ไอ้อย่างนี้มวลชนที่ออกมาด้วยอารมณ์ที่เชื่อจากโซเชียลมีเดียที่เชื่อจากวิทยุ ที่สำคัญมวลชนเหล่านี้เป็นมวลชนที่ถูกปลุกช่วง 3-4 ที่ผ่านมาด้วยวาทะกรรมอย่างหนึ่ง แต่ตอนนี้ผู้นำเขาเคว้งเพราะผู้นำเขากำลังเอนจอยกับการเป็นรัฐมนตรี รัฐบาล หรือพูดง่ายๆ ว่าอำมาตย์ เขาจึงต้องเคลื่อนไหว ซึ่งมีหลากหลายกลุ่ม หลากหลายดีกรีของความรุนแรง