เมื่อพูดถึงเรื่องของคณะกรรมการป้องกันและปราบปราบการทุจริตแห่งชาติหรือ ป.ป.ช.กับทักษิณ ชินวัตร และสมุนบริวารทั้งหลายของคนในระบอบทักษิณแล้ว ย่อมเต็มไปด้วยเรื่องราวฉาวโฉ่ อันเกี่ยวข้องกับการทุจริตและประพฤติมิชอบ ซึ่งเป็นเรื่องราวอยู่ในความสนใจของประชาชนทั้งประเทศ โดยเฉพาะคดีประวัติศาสตร์ทางการเมือง กรณีคดี “ซุกหุ้นภาค 1 และ 2” เกี่ยวข้องกับการทุจริต ประพฤติมิชอบ การแสดงรายการบัญชีทรัพย์สินอันเป็นเท็จ ที่มีมูลค่าทรัพย์สินจำนวนมหาศาลหลายหมื่นล้าน จนนำไปสู่การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ คดีซุกหุ้นภาค 1 และคดีของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง กรณีซุกหุ้นภาค 2 จนศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ยึดทรัพย์ จำนวน 4.6 หมื่นล้าน ของทักษิณ ชินวัตร เพราะเหตุร่ำรวยผิดปกติ ปรากฏตามคำพิพากษา ที่ อม.1/2553
ความหลังฝังใจ และความแค้นที่ทักษิณกับพวกมีต่อ ป.ป.ช. องค์กรอิสระ ที่มีบทบาทตรวจสอบการทุจริตของนักการเมืองอย่างเข้มแข็งจนสามารถตรวจสอบจับโกงของนักการเมืองระดับตำแหน่งสูงสุด คือนายกรัฐมนตรี และสามารถยึดทรัพย์ คืนแผ่นดินได้เป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นคดีแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่นายกรัฐมนตรีผู้มาจากการเลือกตั้งถูกตรวจสอบและจับโกงได้ จนเป็นชนักปักหลัง และตีตราประทับบนหน้าผากของผู้ที่ถูกคำพิพากษาดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีขี้โกง” ชนิดที่ไม่สามารถที่จะแก้ภาพลักษณ์ หรือดิ้นให้หลุดจนวันตาย ย่อมเป็นเรื่องที่ทักษิณและพวกผูกใจเจ็บและหาทางเอาคืน มาโดยตลอด
ในช่วงเวลาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นมวลชนจัดตั้ง อันธพาลการเมืองรับจ้าง ในกำกับบงการของทักษิณจะพยายามเคลื่อนไหว ประท้วง คัดค้าน เรียกร้องให้ยุบ ป.ป.ช. หรือโละคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันทิ้งไปทั้งคณะ หรือความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อหาช่องทางในการที่จะล้มล้างองค์กรอิสระทั้งหลาย รวมถึง ป.ป.ช.ให้มาอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมือง โดยข้ออ้าง ว่าควรยึดโยงกับประชาชน ซึ่งก็คือฝ่ายการเมือง ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนนั่นเอง แต่ความพยายามทั้งหลายก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ป.ป.ช.ก็ยังเป็นองค์การอิสระที่ทักษิณ และสมุนบริวารทางการเมืองของเขา มิอาจบงการและครอบงำได้ นี่ยังไม่นับรวมศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลปกครอง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมถึงศาลยุติธรรมและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นองค์กรเป้าหมาย ที่พวกเขาต้องหาทางควบคุมและกำกับบงการ ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปในทิศทางที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจรัฐของระบอบทักษิณหรือให้เป็นไปในทางเอื้อประโยชน์กับตนเองและพวกพ้อง
เมื่อมิอาจเปลี่ยนแปลงและเข้าครอบงำองค์การอิสระทั้งหลายเหล่านั้นได้ ทักษิณกับพวก จึงใช้กุศโลบายส่งคนแทรกเข้าไปในองค์กรอิสระต่างๆ โดยใช้แผน “ซื้อ-แทรก-สั่ง-ทำลาย” ด้วยอามิสและนโยบาย การใช้อำนาจรัฐที่อยู่ในกำมือ เป็นเครื่องนำทาง การปรากฏชื่อ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ ได้รับการโหวดลงมติจากที่ประชุมวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. แทนนายเมธี ครองแก้ว ที่หมดวาระการดำรงตำแหน่ง ด้วยคะแนน 76 ต่อ 43 เสียง โดยมีผู้งดออกเสียง 8 เสียง ก็ได้สร้างความแปลกประหลาดใจไม่น้อยแก่ผู้เขียน และประชาชนโดยทั่วไป หลายคนล้วนมีคำถามอยู่ในใจว่า นายตำรวจผู้นี้ มีคุณสมบัติของความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นที่ประจักษ์ หรือมีผลงานใดอันแสดงออก ซึ่งการต่อต้านคัดค้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการจึงได้ผ่านกระบวนการสรรหาจนนำมาสู่การพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบของที่ประชุมวุฒิสภา
และที่สำคัญ ทุกคนที่ติดตามประวัติการทำงานของนายตำรวจผู้นี้ ต่างทราบดีว่ามีความสนิทสนมกับทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการชุมนุมของพี่น้องประชาชน ที่ร่วมกันออกมาต่อต้านคัดค้านทักษิณ ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรี ว่าบริหารบ้านเมืองส่อไปในทางทุจริต และใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและครอบครัว นายตำรวจผู้นี้ก็ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับประชาชน กระทั่งมีพฤติกรรมเข้าขัดขวางการใช้เสรีภาพ และการทำหน้าที่ของประชาชน เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศชาติอีกด้วย
นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่นายตำรวจผู้นี้ดำรงตำแหน่งเป็นจเรตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ สอบสวน สืบสวน การกระทำความผิดของข้าราชการตำรวจ อันเกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบในทุกๆ เรื่องทั่วประเทศ ก็มิเคยปรากฏผลงานว่า นายตำรวจผู้นี้ได้จับโกง จับทุจริตในเรื่องสำคัญๆ ที่มีอยู่มากมายในวงการตำรวจ แม้แต่เรื่องเดียว จะปรากฏเป็นข่าวก็เพียงเรื่องไปตรวจสอบการเปิดบ่อนการพนันที่ผิดกฎหมาย ที่มีตำรวจในระดับท้องที่กลายเป็นแพะรับบาปเท่านั้น นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ทุจริตประพฤติมิชอบ ร่ำรวยผิดปกติ จากการจัดซื้อจัดจ้าง ทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดิน รับสินบน รับส่วยจากธุรกิจผิดกฎหมาย กระทั่งกรณีบ้าน หรือรีสอร์ตไม้สักหลังใหญ่โต พื้นที่หลายสิบไร่มูลค่ามหาศาล ของอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้มาโดยมิอาจชี้แจงได้ ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยที่ พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง เป็นจเรตำรวจแห่งชาติ ก็มิได้เห็นผลงานการทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงการตำรวจเลย
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 246 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ประจักษ์ โดยข้อนี้ พล.ต.อ.สถาพร ก็ไม่น่าจะผ่านคุณสมบัติมาได้ เมื่อพิจารณาว่าต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 205 โดยต้องเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางบริหารในหน่วยราชการที่มีอำนาจบริหารเทียบเท่าอธิบดีแล้ว จึงย่อมเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า นายตำรวจผู้นี้ผ่านการคัดเลือกมาได้อย่างไร การคัดค้านของสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 40 ส.ว.ที่ข้องใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายตำรวจผู้นี้ ว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ สามารถเทียบเคียงได้กับตำแหน่งผู้บริหารที่เทียบเท่าระดับอธิบดีหรือไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองไว้หรือไม่ และยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเพื่อเป็นบรรทัดฐาน จึงย่อมมีเหตุผลอันสมควร
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 246 ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมาย จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. ประธานศาลฎีกา 2. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 3. ประธานศาลปกครองสูงสุด 4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ 5. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการทั้ง 5 ท่านนี้ เป็นผู้สรรหาและคัดเลือก คำถามและข้อสงสัยอย่างยิ่งของผู้เขียน คือ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง ผู้นี้ ผ่านการสรรหาและคัดเลือกมาจากคณะกรรมการชุดนี้ได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า คือ นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายสุวัช สิงหพันธุ์ อดีตรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช., พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร อดีต ส.ว.สรรหา, ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ ศ.ดร.จงจิตร์ หิรัญลาภ ผอ.ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พวกผมและประชาชนเจ้าของประเทศสงสัยจริงๆ ว่า การเอานายตำรวจซึ่งไม่เคยปรากฏผลงานเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตให้เป็นที่ประจักษ์ และมีความใกล้ชิดสนิทสนม เคยรับใช้ทักษิณ ชินวัตร มาก่อนนี้ จะเป็นหลักประกันอะไรให้กับการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ ที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนและรัฐธรรมนูญ โปรดตอบคำถามประชาชนด้วยครับ
ความหลังฝังใจ และความแค้นที่ทักษิณกับพวกมีต่อ ป.ป.ช. องค์กรอิสระ ที่มีบทบาทตรวจสอบการทุจริตของนักการเมืองอย่างเข้มแข็งจนสามารถตรวจสอบจับโกงของนักการเมืองระดับตำแหน่งสูงสุด คือนายกรัฐมนตรี และสามารถยึดทรัพย์ คืนแผ่นดินได้เป็นจำนวนมหาศาลเช่นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถือเป็นคดีแรกของประวัติศาสตร์การเมืองไทย ที่นายกรัฐมนตรีผู้มาจากการเลือกตั้งถูกตรวจสอบและจับโกงได้ จนเป็นชนักปักหลัง และตีตราประทับบนหน้าผากของผู้ที่ถูกคำพิพากษาดังกล่าวว่า “นายกรัฐมนตรีขี้โกง” ชนิดที่ไม่สามารถที่จะแก้ภาพลักษณ์ หรือดิ้นให้หลุดจนวันตาย ย่อมเป็นเรื่องที่ทักษิณและพวกผูกใจเจ็บและหาทางเอาคืน มาโดยตลอด
ในช่วงเวลาการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนเสื้อแดง ซึ่งเป็นมวลชนจัดตั้ง อันธพาลการเมืองรับจ้าง ในกำกับบงการของทักษิณจะพยายามเคลื่อนไหว ประท้วง คัดค้าน เรียกร้องให้ยุบ ป.ป.ช. หรือโละคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดปัจจุบันทิ้งไปทั้งคณะ หรือความพยายามที่จะแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เพื่อหาช่องทางในการที่จะล้มล้างองค์กรอิสระทั้งหลาย รวมถึง ป.ป.ช.ให้มาอยู่ภายใต้การครอบงำของฝ่ายการเมือง โดยข้ออ้าง ว่าควรยึดโยงกับประชาชน ซึ่งก็คือฝ่ายการเมือง ที่อ้างว่ามาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนนั่นเอง แต่ความพยายามทั้งหลายก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ ป.ป.ช.ก็ยังเป็นองค์การอิสระที่ทักษิณ และสมุนบริวารทางการเมืองของเขา มิอาจบงการและครอบงำได้ นี่ยังไม่นับรวมศาลรัฐธรรมนูญ, ศาลปกครอง, ผู้ตรวจการแผ่นดิน รวมถึงศาลยุติธรรมและศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฯลฯ ซึ่งล้วนเป็นองค์กรเป้าหมาย ที่พวกเขาต้องหาทางควบคุมและกำกับบงการ ให้ปฏิบัติหน้าที่ไปในทิศทางที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่ออำนาจรัฐของระบอบทักษิณหรือให้เป็นไปในทางเอื้อประโยชน์กับตนเองและพวกพ้อง
เมื่อมิอาจเปลี่ยนแปลงและเข้าครอบงำองค์การอิสระทั้งหลายเหล่านั้นได้ ทักษิณกับพวก จึงใช้กุศโลบายส่งคนแทรกเข้าไปในองค์กรอิสระต่างๆ โดยใช้แผน “ซื้อ-แทรก-สั่ง-ทำลาย” ด้วยอามิสและนโยบาย การใช้อำนาจรัฐที่อยู่ในกำมือ เป็นเครื่องนำทาง การปรากฏชื่อ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ ได้รับการโหวดลงมติจากที่ประชุมวุฒิสภาให้ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการ ป.ป.ช. แทนนายเมธี ครองแก้ว ที่หมดวาระการดำรงตำแหน่ง ด้วยคะแนน 76 ต่อ 43 เสียง โดยมีผู้งดออกเสียง 8 เสียง ก็ได้สร้างความแปลกประหลาดใจไม่น้อยแก่ผู้เขียน และประชาชนโดยทั่วไป หลายคนล้วนมีคำถามอยู่ในใจว่า นายตำรวจผู้นี้ มีคุณสมบัติของความซื่อสัตย์สุจริต อันเป็นที่ประจักษ์ หรือมีผลงานใดอันแสดงออก ซึ่งการต่อต้านคัดค้านการทุจริตและการประพฤติมิชอบในวงราชการจึงได้ผ่านกระบวนการสรรหาจนนำมาสู่การพิจารณาลงมติให้ความเห็นชอบของที่ประชุมวุฒิสภา
และที่สำคัญ ทุกคนที่ติดตามประวัติการทำงานของนายตำรวจผู้นี้ ต่างทราบดีว่ามีความสนิทสนมกับทักษิณ ชินวัตร เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีการชุมนุมของพี่น้องประชาชน ที่ร่วมกันออกมาต่อต้านคัดค้านทักษิณ ขณะที่เป็นนายกรัฐมนตรี ว่าบริหารบ้านเมืองส่อไปในทางทุจริต และใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและครอบครัว นายตำรวจผู้นี้ก็ยืนอยู่ฝั่งตรงข้ามกับประชาชน กระทั่งมีพฤติกรรมเข้าขัดขวางการใช้เสรีภาพ และการทำหน้าที่ของประชาชน เพื่อพิทักษ์ผลประโยชน์ของประเทศชาติอีกด้วย
นอกจากนี้ในช่วงเวลาที่นายตำรวจผู้นี้ดำรงตำแหน่งเป็นจเรตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีหน้าที่ในการตรวจสอบ สอบสวน สืบสวน การกระทำความผิดของข้าราชการตำรวจ อันเกี่ยวกับการทุจริต และประพฤติมิชอบในทุกๆ เรื่องทั่วประเทศ ก็มิเคยปรากฏผลงานว่า นายตำรวจผู้นี้ได้จับโกง จับทุจริตในเรื่องสำคัญๆ ที่มีอยู่มากมายในวงการตำรวจ แม้แต่เรื่องเดียว จะปรากฏเป็นข่าวก็เพียงเรื่องไปตรวจสอบการเปิดบ่อนการพนันที่ผิดกฎหมาย ที่มีตำรวจในระดับท้องที่กลายเป็นแพะรับบาปเท่านั้น นายตำรวจชั้นผู้ใหญ่ที่ทุจริตประพฤติมิชอบ ร่ำรวยผิดปกติ จากการจัดซื้อจัดจ้าง ทุจริตเงินงบประมาณแผ่นดิน รับสินบน รับส่วยจากธุรกิจผิดกฎหมาย กระทั่งกรณีบ้าน หรือรีสอร์ตไม้สักหลังใหญ่โต พื้นที่หลายสิบไร่มูลค่ามหาศาล ของอดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ซึ่งได้มาโดยมิอาจชี้แจงได้ ซึ่งเกิดขึ้นในยุคสมัยที่ พล.ต.อ. สถาพร หลาวทอง เป็นจเรตำรวจแห่งชาติ ก็มิได้เห็นผลงานการทำหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริตในวงการตำรวจเลย
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 246 กรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต้องเป็นผู้ซึ่งมีความซื่อสัตย์ สุจริต เป็นที่ประจักษ์ โดยข้อนี้ พล.ต.อ.สถาพร ก็ไม่น่าจะผ่านคุณสมบัติมาได้ เมื่อพิจารณาว่าต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 205 โดยต้องเคยเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางบริหารในหน่วยราชการที่มีอำนาจบริหารเทียบเท่าอธิบดีแล้ว จึงย่อมเป็นที่น่าสงสัยอย่างยิ่งว่า นายตำรวจผู้นี้ผ่านการคัดเลือกมาได้อย่างไร การคัดค้านของสมาชิกวุฒิสภากลุ่ม 40 ส.ว.ที่ข้องใจเกี่ยวกับคุณสมบัติของนายตำรวจผู้นี้ ว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ สามารถเทียบเคียงได้กับตำแหน่งผู้บริหารที่เทียบเท่าระดับอธิบดีหรือไม่ เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) รับรองไว้หรือไม่ และยื่นเรื่องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความเพื่อเป็นบรรทัดฐาน จึงย่อมมีเหตุผลอันสมควร
นอกจากนี้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 246 ยังได้กำหนดให้มีคณะกรรมการสรรหาและการเลือกกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เพื่อคัดเลือกบุคคลผู้มีคุณสมบัติตามกฎหมาย จำนวน 5 คน ประกอบด้วย 1. ประธานศาลฎีกา 2. ประธานศาลรัฐธรรมนูญ 3. ประธานศาลปกครองสูงสุด 4. ประธานสภาผู้แทนราษฎร และ 5. ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร คณะกรรมการทั้ง 5 ท่านนี้ เป็นผู้สรรหาและคัดเลือก คำถามและข้อสงสัยอย่างยิ่งของผู้เขียน คือ พล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง ผู้นี้ ผ่านการสรรหาและคัดเลือกมาจากคณะกรรมการชุดนี้ได้อย่างไร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้สมัครท่านอื่นๆ ซึ่งล้วนแต่มีคุณสมบัติที่ดีกว่า คือ นายกุลพัชร์ อิทธิธรรมวินิจ อดีตผู้พิพากษาหัวหน้าคณะในศาลฎีกา, นายสุวัช สิงหพันธุ์ อดีตรองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, นางจรวยพร ธรณินทร์ อดีตปลัดกระทรวงศึกษาธิการและกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรม, นพ.พลเดช ปิ่นประทีป อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, นายสุรสีห์ โกศลนาวิน อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา อดีตเลขาธิการ ป.ป.ช., พล.ต.ต.เกริก กัลยาณมิตร อดีต ส.ว.สรรหา, ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และ ศ.ดร.จงจิตร์ หิรัญลาภ ผอ.ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
พวกผมและประชาชนเจ้าของประเทศสงสัยจริงๆ ว่า การเอานายตำรวจซึ่งไม่เคยปรากฏผลงานเรื่องความซื่อสัตย์สุจริตให้เป็นที่ประจักษ์ และมีความใกล้ชิดสนิทสนม เคยรับใช้ทักษิณ ชินวัตร มาก่อนนี้ จะเป็นหลักประกันอะไรให้กับการทำหน้าที่ขององค์กรอิสระ ที่มีหน้าที่ป้องกันและปราบปรามการทุจริต สามารถทำหน้าที่ได้อย่างเข้มแข็ง ปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ตามเจตนารมณ์ของประชาชนและรัฐธรรมนูญ โปรดตอบคำถามประชาชนด้วยครับ