แหล่งข่าวจากกรรมการสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) คนหนึ่งกล่าวถึงการเสนอชื่อพล.ต.อ.สถาพร หลาวทอง อดีตจเรตำรวจแห่งชาติ ดำรงตำแหน่งกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อวุฒิสภาพิจารณากรณีมีการตั้งข้อสังเกตว่า ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ ไม่อาจเทียบเท่าอธิบดีตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดเป็นคุณสมบัติ โดยยืนยันว่า ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานศาลปกครอง ก็ได้มีการหารือและก็คุยกันในเรื่องดังกล่าวเช่นกัน และได้มีการตรวจสอบข้อมูลและประวัติต่างๆ ก็ตรงตามหลักเกณฑ์
โดยทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ออกหลักเกณฑ์มาใหม่เมื่อปี 51 ว่า ด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบเคียงตำแหน่งอื่น ซึ่งในข้อกำหนดหลักเกณฑ์นั้นได้ระบุไว้ด้วย ว่า ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ นั้นก็ถือว่าเป็นผู้บริหารระดับสูง มีเงินประจำตำแหน่งเทียบเท่ากับอธิบดี จึงเห็นว่า ไม่มีปัญหาในเรื่องการที่จะได้รับการสรรหา ส่วนจะมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็แล้วแต่เพราะความเห็นทางกฎหมายสามารถแตกต่างกันได้
“แต่คณะกรรมการสรรหาฯได้พิจารณาแล้ว ว่า พล.ต.อ.สถาพร นั้นเป็นผู้มีคุณสมบัติ เป็นตำรวจน้ำดีคนหนึ่งที่ตรงไปตรงมา เสียงก็ออกมาจึงเป็นเอกฉันท์ แต่ถ้าส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัติ แล้ววินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องก็ต้องสรรหากันใหม่ ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลก็ต้องถอนตัวจากการเป็นองค์คณะเพราะเข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหาฯ ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ควรเข้าร่วมเป็นองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาเรื่องนี้”
อีกด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่าตนและส.ว.จำนวนหนึ่ง ได้ลงนามในหนังสือส่งถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตามมาตรา 245 ประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
หลังจากที่คณะกรรมการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของ พล.ต.อ.สถาพร ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ ป.ป.ช. เนื่องจากเห็นว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาตินั้น เทียบเท่ากับตำแหน่งอธิบดี ทำให้ถือว่า พล.ต.อ.สถาพรมีคุณสมบัติครบถ้วนที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งที่ส.ว.ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ ไม่ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่าอธิบดี
นายสมชาย กล่าวต่อว่าสำหรับประเด็นที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล แต่จะขอให้พิจารณาเพื่อเป็นมาตรฐานในการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ในอนาคต ว่ามีตำแหน่งใดบ้างที่ถือว่าเทียบเท่าอธิบดี เช่น ผู้ตรวจราชการกระทรวง, สบ.10, รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, รองผู้บัญชาการทหารเรือ, จเรทหาร, ผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยงานทหาร หรือ ตำรวจ, ที่ปรึกษากองทัพบก เนื่องจากตำแหน่งที่ตนยกตัวอย่างดังกล่าว ถือเป็นผู้บริหารระดับสูง และอยู่ในระดับ ซี 10 หรือ ซี 11 อย่างไรก็ตามตนมองว่าเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญต่อเรื่องดังกล่าวไม่ได้ระบุไว้กว้างตามที่มีกรรมการสามัญฯ ให้ความเห็น
ตนไม่ทราบว่าการส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นจะมีผลยับยั้งการนำรายชื่อพล.ต.อ.สถาพร ขึ้นทูลเกล้าแต่งตั้งหรือไม่ เบื้องต้นมองว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องควรมีการพิจารณาให้รอบคอบ
โดยทางสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ได้ออกหลักเกณฑ์มาใหม่เมื่อปี 51 ว่า ด้วยหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการเทียบเคียงตำแหน่งอื่น ซึ่งในข้อกำหนดหลักเกณฑ์นั้นได้ระบุไว้ด้วย ว่า ตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ นั้นก็ถือว่าเป็นผู้บริหารระดับสูง มีเงินประจำตำแหน่งเทียบเท่ากับอธิบดี จึงเห็นว่า ไม่มีปัญหาในเรื่องการที่จะได้รับการสรรหา ส่วนจะมีการเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยก็แล้วแต่เพราะความเห็นทางกฎหมายสามารถแตกต่างกันได้
“แต่คณะกรรมการสรรหาฯได้พิจารณาแล้ว ว่า พล.ต.อ.สถาพร นั้นเป็นผู้มีคุณสมบัติ เป็นตำรวจน้ำดีคนหนึ่งที่ตรงไปตรงมา เสียงก็ออกมาจึงเป็นเอกฉันท์ แต่ถ้าส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญตีความคุณสมบัติ แล้ววินิจฉัยว่ากรณีดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องก็ต้องสรรหากันใหม่ ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลก็ต้องถอนตัวจากการเป็นองค์คณะเพราะเข้าไปเป็นคณะกรรมการสรรหาฯ ถือว่ามีส่วนได้ส่วนเสีย ไม่ควรเข้าร่วมเป็นองค์คณะของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการพิจารณาเรื่องนี้”
อีกด้านนายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา เปิดเผยว่าตนและส.ว.จำนวนหนึ่ง ได้ลงนามในหนังสือส่งถึงผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ตามมาตรา 245 ประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.)
หลังจากที่คณะกรรมการสามัญเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบประวัติ ความประพฤติ และพฤติกรรมทางจริยธรรมของ พล.ต.อ.สถาพร ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กรรมการ ป.ป.ช. เนื่องจากเห็นว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาตินั้น เทียบเท่ากับตำแหน่งอธิบดี ทำให้ถือว่า พล.ต.อ.สถาพรมีคุณสมบัติครบถ้วนที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งที่ส.ว.ส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าตำแหน่งจเรตำรวจแห่งชาติ ไม่ถือว่าเป็นตำแหน่งที่เทียบเท่าอธิบดี
นายสมชาย กล่าวต่อว่าสำหรับประเด็นที่ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณา ไม่เกี่ยวกับตัวบุคคล แต่จะขอให้พิจารณาเพื่อเป็นมาตรฐานในการคัดเลือกบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการ ป.ป.ช. ในอนาคต ว่ามีตำแหน่งใดบ้างที่ถือว่าเทียบเท่าอธิบดี เช่น ผู้ตรวจราชการกระทรวง, สบ.10, รองผู้บัญชาการทหารสูงสุด, รองผู้บัญชาการทหารเรือ, จเรทหาร, ผู้ทรงคุณวุฒิหน่วยงานทหาร หรือ ตำรวจ, ที่ปรึกษากองทัพบก เนื่องจากตำแหน่งที่ตนยกตัวอย่างดังกล่าว ถือเป็นผู้บริหารระดับสูง และอยู่ในระดับ ซี 10 หรือ ซี 11 อย่างไรก็ตามตนมองว่าเจตนารมย์ของรัฐธรรมนูญต่อเรื่องดังกล่าวไม่ได้ระบุไว้กว้างตามที่มีกรรมการสามัญฯ ให้ความเห็น
ตนไม่ทราบว่าการส่งเรื่องให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อให้ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณานั้นจะมีผลยับยั้งการนำรายชื่อพล.ต.อ.สถาพร ขึ้นทูลเกล้าแต่งตั้งหรือไม่ เบื้องต้นมองว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องควรมีการพิจารณาให้รอบคอบ