วานนี้ (4 ต.ค.) สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผยรายการทรัพย์สิน และหนี้สินของคณะรัฐมนตรี (ครม.)ในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หลังพ้นจากการดำรงตำแหน่งครบรอบ 1 ปี เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 53 ที่ผ่านมา ปรากฏว่า รัฐมนตรีที่มีทรัพย์สินมากสุดเป็นอันดับหนึ่งคือ นายกรณ์ จาติกวณิช อดีต รมว.คลัง แจ้งว่ามีทรัพย์สิน 751,780,346.09 บาท
, คู่สมรส มี 114,129,493.75 บาท ทำให้นายกรณ์ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน รวม 865,909,839.84 บาท, อันดับสองคือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต รมว.มหาดไทย แจ้งมีทรัพย์สิน 694,659,336.42 บาท คู่สมรสมี 59,577,935.60 บาท รวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 754,237,272.02 บาท
อันดับสาม เป็นของ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต รมช.คลัง แจ้งมีทรัพย์สิน 649,431,082.22 บาท ส่วนภรรยามีทรัพย์สิน 32,081,513.14 บาท ส่วนหนี้สินแจ้งว่าตนเองมีหนี้สิน 253,629.14 บาท โดยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 681,258,966.23 บาท , อันดับสี่ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรมว.ยุติธรรม มีทรัพย์สิน 156,131,656.46 บาท คู่สมรส 404,197,083.26 บาท บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 39,552,991.29 บาท ขณะที่มีหนี้สินของตัวเอง 520,656.78 บาท หนี้สินของภรรยา 11,837,094.21 บาท รวมหนี้สิน 12,357,750.99 บาท ทำให้มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินรวม 617,523,980.02 บาท
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แจ้งทรัพย์สินทั้งหมด 36,751,183.11 บาท คู่สมรสอีก 16,938,432.44 บาท บุตรที่ยังไม่บรรลุดนิติภาวะ 255,350.71 บาท ไม่มีหนี้สิน รวมทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 53,944,966.26 บาท ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี แจ้งมีทรัพย์สิน 210,954,501.32 บาท มีหนี้สิน 347,578,495.60 บาท รวมมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินรวม 136,623,994.28 บาท
ในบรรดา "บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน" ของรัฐมนตรี กรณีที่ ครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในวันที่ 9 ส.ค.55 (ตามกฎหมายว่ารัฐมนตรีจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช. รวม 3 ครั้ง ได้แก่ 1. เข้ารับตำแหน่ง 2. พ้นจากตำแหน่ง และ 3. พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี) ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ล่าสุด แน่นอนว่า 1 ในบัญชีทรัพย์สินของบุคคลที่สปอตไลต์ จะสาดส่อง นอกจาก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องมี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี รวมอยู่ด้วย
เมื่อพลิกดูข้อมูลทางการเงินดังกล่าวของ สุเทพ หลายคนอาจต้องขมวดคิ้วสงสัย เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่นายสุเทพ ยื่นตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ ในวันที่ 9 พ.ย.53 ผลปรากฏว่า ผ่านมาเพียงแค่ 1 ปี 8 เดือน นายสุเทพ กลับแจ้งต่อป.ป.ช. ว่า มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท ทำให้ยอดรวมทรัพย์สิน ติดลบถึง 218,231,189 บาท !
คำถามก็คือ "หนี้สิน" ก้อนดังกล่าว มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ลองตรวจสอบ โดยนำบัญชีทรัพย์สินที่นายสุเทพ ยื่นต่อ ป.ป.ช.ทั้ง 3 ครั้ง ได้แก่ กรณีเข้ารับตำแหน่ง (19 พ.ย.53) กรณีพ้นจากตำแหน่ง (10 ส.ค.54) และกรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี (9 ส.ค.55) มาเปรียบเทียบ ก่อนจะได้ร่องรอยเบื้องต้น ดังนี้
(1) กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ รอบสอง เมื่อปี พ.ศ.2553 (เนื่องจากนายสุเทพ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ รอบแรก ไปลงเลือกตั้ง ส.ส.สุราษฎร์ธานีใหม่ หลังมีปัญหาเรื่องการถือครองหุ้น ที่มีสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐ) นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 111,092,190 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 31,609,820 บาท ที่ดิน 77,507,250 บาท และโรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท มีหนี้สิน 29,484,994 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 728,850 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 28,756,143 บาท
เวลานั้น นายสุเทพ ยังแจ้ง ป.ป.ช. ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 81,607,195 บาท
(2) กรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2554 นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 140,378,599 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 16,709,789 บาท ที่ดิน 96,103,650 บาท โรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และ ยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 44,735,294 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 521,257 บาท และเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 44,214,036 บาท
หลังเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยิน นายสุเทพ ก็ยังแจ้งต่อ ป.ป.ช. ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน ถึง 95,643,265 บาท มากกว่าเดิมราว 14 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของที่ดิน และยานพาหนะ
(3) กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในปี พ.ศ.2555 นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 210,954,501 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 6,385,131 บาท ที่ดิน 177,004,250 บาท โรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 347,578,495 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 247,847 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 267,330,647 บาท และหนี้สิน ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 80,000,000 บาท
แปลง่ายๆ ว่า หลังพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี แม้ "ทรัพย์สิน" ของนายสุเทพ จะเพิ่มขึ้นบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินกว่า 80 ล้านบาท (ถึงเงินฝากจะลดลงราว 10 ล้านบาท)
แต่ "หนี้สิน" จากการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นมากกว่า แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ที่เพิ่มขึ้นกว่า 223 ล้านบาท และหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออีก 80 ล้านบาท
ทำให้นายสุเทพแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเป็นครั้งแรก ที่ 136,623,994 บาท !
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่มาของ "เงินกู้ปริศนา" ดังกล่าว ก็พบว่ามีที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่
-วันที่ 15 มิ.ย.2554 นายสุเทพ ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักอโศก เป็นเงิน 20,202,021 บาท
-วันที่ 21 ก.ค.2554 นายสุเทพทำหนังสือสัญญากู้เงินจากบริษัท ศรีสุวรรณฟาร์ม จำกัด (ที่มีนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายคนโตของนายสุเทพ เป็นเจ้าของ ) เป็นเงิน 80,000,000 บาท
-วันที่ 19 เม.ย. 2555 นายสุเทพ ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเงิน 228,368,706 บาท
ในขณะที่หนี้สินมีมากขึ้น แต่ทรัพย์สินกลับไม่เพิ่มตามอย่างสมดุล เป็นเหตุให้นายสุเทพ แจ้งตัวเลขในบัญชีต่อ ป.ป.ช.แบบ "ติดลบ" จึงน่าสนใจว่า ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์รายนี้ นำ "เงินกู้ปริศนา" ทั้ง 328 ล้านบาทดังกล่าว ไปใช้ทำอะไรกันแน่ !!!
, คู่สมรส มี 114,129,493.75 บาท ทำให้นายกรณ์ มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน รวม 865,909,839.84 บาท, อันดับสองคือ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล อดีต รมว.มหาดไทย แจ้งมีทรัพย์สิน 694,659,336.42 บาท คู่สมรสมี 59,577,935.60 บาท รวมมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 754,237,272.02 บาท
อันดับสาม เป็นของ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ อดีต รมช.คลัง แจ้งมีทรัพย์สิน 649,431,082.22 บาท ส่วนภรรยามีทรัพย์สิน 32,081,513.14 บาท ส่วนหนี้สินแจ้งว่าตนเองมีหนี้สิน 253,629.14 บาท โดยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 681,258,966.23 บาท , อันดับสี่ นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค อดีตรมว.ยุติธรรม มีทรัพย์สิน 156,131,656.46 บาท คู่สมรส 404,197,083.26 บาท บุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ 39,552,991.29 บาท ขณะที่มีหนี้สินของตัวเอง 520,656.78 บาท หนี้สินของภรรยา 11,837,094.21 บาท รวมหนี้สิน 12,357,750.99 บาท ทำให้มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สินรวม 617,523,980.02 บาท
ขณะที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) แจ้งทรัพย์สินทั้งหมด 36,751,183.11 บาท คู่สมรสอีก 16,938,432.44 บาท บุตรที่ยังไม่บรรลุดนิติภาวะ 255,350.71 บาท ไม่มีหนี้สิน รวมทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 53,944,966.26 บาท ส่วนนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตรองนายกรัฐมนตรี แจ้งมีทรัพย์สิน 210,954,501.32 บาท มีหนี้สิน 347,578,495.60 บาท รวมมีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินรวม 136,623,994.28 บาท
ในบรรดา "บัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน" ของรัฐมนตรี กรณีที่ ครม.อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในวันที่ 9 ส.ค.55 (ตามกฎหมายว่ารัฐมนตรีจะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สิน และหนี้สินต่อ ป.ป.ช. รวม 3 ครั้ง ได้แก่ 1. เข้ารับตำแหน่ง 2. พ้นจากตำแหน่ง และ 3. พ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี) ที่ สำนักงาน ป.ป.ช. นำมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน ล่าสุด แน่นอนว่า 1 ในบัญชีทรัพย์สินของบุคคลที่สปอตไลต์ จะสาดส่อง นอกจาก “นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ” อดีตนายกรัฐมนตรี จะต้องมี “นายสุเทพ เทือกสุบรรณ” รองนายกรัฐมนตรี รวมอยู่ด้วย
เมื่อพลิกดูข้อมูลทางการเงินดังกล่าวของ สุเทพ หลายคนอาจต้องขมวดคิ้วสงสัย เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่นายสุเทพ ยื่นตอนเข้ารับตำแหน่งใหม่ๆ ในวันที่ 9 พ.ย.53 ผลปรากฏว่า ผ่านมาเพียงแค่ 1 ปี 8 เดือน นายสุเทพ กลับแจ้งต่อป.ป.ช. ว่า มีหนี้สินเพิ่มขึ้นกว่า 300 ล้านบาท ทำให้ยอดรวมทรัพย์สิน ติดลบถึง 218,231,189 บาท !
คำถามก็คือ "หนี้สิน" ก้อนดังกล่าว มีที่มาที่ไปอย่างไร ?
สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ลองตรวจสอบ โดยนำบัญชีทรัพย์สินที่นายสุเทพ ยื่นต่อ ป.ป.ช.ทั้ง 3 ครั้ง ได้แก่ กรณีเข้ารับตำแหน่ง (19 พ.ย.53) กรณีพ้นจากตำแหน่ง (10 ส.ค.54) และกรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี (9 ส.ค.55) มาเปรียบเทียบ ก่อนจะได้ร่องรอยเบื้องต้น ดังนี้
(1) กรณีเข้ารับตำแหน่งรองนายกฯ รอบสอง เมื่อปี พ.ศ.2553 (เนื่องจากนายสุเทพ ลาออกจากตำแหน่งรองนายกฯ รอบแรก ไปลงเลือกตั้ง ส.ส.สุราษฎร์ธานีใหม่ หลังมีปัญหาเรื่องการถือครองหุ้น ที่มีสัมปทานกับหน่วยงานของรัฐ) นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 111,092,190 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 31,609,820 บาท ที่ดิน 77,507,250 บาท และโรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท มีหนี้สิน 29,484,994 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 728,850 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 28,756,143 บาท
เวลานั้น นายสุเทพ ยังแจ้ง ป.ป.ช. ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน 81,607,195 บาท
(2) กรณีพ้นจากตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ.2554 นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 140,378,599 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 16,709,789 บาท ที่ดิน 96,103,650 บาท โรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และ ยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 44,735,294 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 521,257 บาท และเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 44,214,036 บาท
หลังเลือกตั้ง ส.ส.ทั่วประเทศ ที่พรรคประชาธิปัตย์พ่ายแพ้ยับเยิน นายสุเทพ ก็ยังแจ้งต่อ ป.ป.ช. ว่า มีทรัพย์สินมากกว่าหนี้สิน ถึง 95,643,265 บาท มากกว่าเดิมราว 14 ล้านบาท โดยเพิ่มขึ้นในส่วนของที่ดิน และยานพาหนะ
(3) กรณีพ้นจากตำแหน่งครบ 1 ปี ในปี พ.ศ.2555 นายสุเทพ ระบุว่า มีทรัพย์สิน 210,954,501 บาท แบ่งเป็นเงินฝาก 6,385,131 บาท ที่ดิน 177,004,250 บาท โรงเรือนกับสิ่งปลูกสร้าง 1,975,120 บาท และยานพาหนะ 25,590,000 บาท มีหนี้สิน 347,578,495 บาท แบ่งเป็นเงินเบิกเกินบัญชี 247,847 บาท เงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น 267,330,647 บาท และหนี้สิน ที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ 80,000,000 บาท
แปลง่ายๆ ว่า หลังพ้นตำแหน่งครบ 1 ปี แม้ "ทรัพย์สิน" ของนายสุเทพ จะเพิ่มขึ้นบ้าง โดยเฉพาะในส่วนของที่ดินกว่า 80 ล้านบาท (ถึงเงินฝากจะลดลงราว 10 ล้านบาท)
แต่ "หนี้สิน" จากการกู้เงินที่เพิ่มขึ้นมากกว่า แบ่งเป็นเงินกู้จากธนาคารและสถาบันการเงินอื่น ที่เพิ่มขึ้นกว่า 223 ล้านบาท และหนี้สินที่มีหลักฐานเป็นหนังสืออีก 80 ล้านบาท
ทำให้นายสุเทพแจ้งต่อ ป.ป.ช.ว่ามีหนี้สินมากกว่าทรัพย์สินเป็นครั้งแรก ที่ 136,623,994 บาท !
เมื่อเจาะลึกลงไปถึงที่มาของ "เงินกู้ปริศนา" ดังกล่าว ก็พบว่ามีที่มาจาก 3 แหล่ง ได้แก่
-วันที่ 15 มิ.ย.2554 นายสุเทพ ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักอโศก เป็นเงิน 20,202,021 บาท
-วันที่ 21 ก.ค.2554 นายสุเทพทำหนังสือสัญญากู้เงินจากบริษัท ศรีสุวรรณฟาร์ม จำกัด (ที่มีนายแทน เทือกสุบรรณ บุตรชายคนโตของนายสุเทพ เป็นเจ้าของ ) เป็นเงิน 80,000,000 บาท
-วันที่ 19 เม.ย. 2555 นายสุเทพ ทำสัญญากู้เงินจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย จ.สุราษฎร์ธานี เป็นเงิน 228,368,706 บาท
ในขณะที่หนี้สินมีมากขึ้น แต่ทรัพย์สินกลับไม่เพิ่มตามอย่างสมดุล เป็นเหตุให้นายสุเทพ แจ้งตัวเลขในบัญชีต่อ ป.ป.ช.แบบ "ติดลบ" จึงน่าสนใจว่า ขุนพลพรรคประชาธิปัตย์รายนี้ นำ "เงินกู้ปริศนา" ทั้ง 328 ล้านบาทดังกล่าว ไปใช้ทำอะไรกันแน่ !!!