การปฏิรูปประเทศไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มีการตรวจสอบถ่วงดุล (check and balance) การใช้อำนาจรัฐอย่างกว้างขวางและลงลึกทั่วทุกด้าน โดยเฉพาะการกำหนดนโยบายประชานิยมด้านเศรษฐกิจโดยการจัดสรรงบประมาณแผ่นดินจำนวนมหาศาลเพื่อชนะใจผู้มีสิทธิเสียงถึงแม้ว่ารัฐบาลจะมาจากการเลือกตั้งนั้นนอกเหนือไปจากการสร้างกลไกที่ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะผ่านมาตรการทางกฎหมายที่เปิดกว้างเป็นสำคัญแล้ว การปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจ (power relations) ในการเข้าถึงและใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง ที่กระจุกตัวในกลุ่มกุมอำนาจทั้งเก่าและใหม่ด้วยการสร้างกระบวนการป้องกันและปราบปรามคอร์รัปชันก็เป็นความจำเป็นเร่งด่วนเช่นกันเพราะหมายถึงการทวีอำนาจภาคประชาสังคมในการกำกับนักการเมืองให้มีความรับผิด (Accountability) และทำงานเพื่อประโยชน์ประชาชนทุกคนมากขึ้น
การบริหารราชการบ้านเมืองที่มีความโปร่งใสในกระบวนการกำหนดนโยบายและมุ่งกระจายอำนาจจากส่วนกลาง (Decentralization) จะลดความไม่เป็นธรรมที่ถั่งโถมสังคมไทยได้ ด้วยเบื้องต้นจะทำให้โอกาสในการพัฒนากระจายไปทั่วทุกภูมิภาคมากขึ้นเพราะเม็ดเงินแผ่นดินจะถูกใช้ไปในการขจัดความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทแทนที่การจัดสรรงบประมาณแบบเดิมๆ ที่เป็นไปตามคำขอของหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม ที่กำหนดขึ้นโดยภารกิจของรัฐมากกว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณตามความต้องการที่จำเป็นของแต่ละจังหวัดที่มีคุณภาพชีวิตต่างกัน ซึ่งแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณจะเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความขัดแย้งแตกแยกของสังคมไทยได้ เพราะจะเปิดโอกาสในการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมๆ กันกับสถาปนาความเป็นธรรมด้านต่างๆ ขึ้นมาด้วย
ทั้งนี้แน่นอนที่สุดว่าการพัฒนาต้องยึดโยงกับบริบทของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ ขณะที่ความเป็นธรรมก็สัมพันธ์สลับซับซ้อนกับปัจจัยจำนวนมาก หากกระนั้นหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มกุมอำนาจในการตัดสินใจทางนโยบาย (policy maker) กลับมองการพัฒนากระแสหลักเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับแบบไร้เงื่อนไขแม้ว่าจะก่อประโยชน์กับคนจำนวนน้อยโดยโบยตีคนส่วนใหญ่ให้ได้รับความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากผลกระทบของโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐและเอกชนก็ตามที ที่สำคัญแม้ความเป็นธรรมจะมีลักษณะสัมพัทธ์ (relative) สำหรับคนจำนวนหนึ่ง ทว่าถึงที่สุดแล้วความเป็นธรรมที่ก่อวิกฤตยาวนานต่อเนื่องในสังคมไทยก็มีลักษณะร่วมสำคัญ 5 ด้านตามที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) วิเคราะห์ไว้ คือ
1) ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม : ดังประจักษ์จากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน และการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อการสร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดิน เงินทุน ความรู้และทักษะของแรงงาน ที่มีความเหลื่อมล้ำอย่างมาก จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2550 พบความเหลื่อมล้ำสุดขั้วทางเศรษฐกิจ โดยกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุดมีส่วนแบ่งรายได้ถึงร้อยละ 54.9
ในขณะที่กลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้ต่ำสุดมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้น ในจำนวนคนข้นแค้นเหล่านี้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตด้วยสิ่งจำเป็นพื้นฐานถึง 5.4 ล้านคน ขณะที่คุณภาพชีวิตคนกลุ่มนี้ตกต่ำสุดขีดแต่ประเทศชาติกลับทอดทิ้งพวกเขาไว้ในนามของการพัฒนาเศรษฐกิจที่กอบโกยทรัพยากรทุกอย่างไปใช้สอยโดยทิ้งผลกระทบเบื้องหลังมหาศาลไว้ให้สังคมแบกรับ ซึ่งถึงที่สุดกลุ่มคนที่ถูกกีดกันออกไปจากการพัฒนากระแสหลักเหล่านี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือในการทวีคูณความมั่งคั่งให้แก่กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดอยู่แล้ว
2) ความไม่เป็นธรรมด้านที่ดินและทรัพยากร : การกระจุกตัวในการถือครองที่ดินของประเทศไทยทำให้คนส่วนใหญ่ที่ยากจนอยู่แล้วยิ่งยากจนข้นแค้นขึ้นมาก เมื่อผนวกกับการมีข้อพิพาทหรือขัดแย้งกับรัฐในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งทำให้คนจนกลุ่มนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้นเพราะไม่เพียงผจญกับการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทว่าภายในขณะเดียวกันนั้นก็ยังสูญเสีย ‘สิทธิชุมชน’ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่กฎหมายสูงสุดรัฐธรรมนูญรับรองความชอบธรรมไว้ด้วย เพราะเอาเข้าจริงประชาชนกลุ่มนี้มักถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งยังถูกแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และโครงการขนาดต่างๆ ของรัฐและเอกชนรุกรานอยู่เสมอ
3) ความไม่เป็นธรรมด้านโอกาส : จุดตั้งต้นของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีทางเป็นไปได้จริงก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน กระนั้นสำหรับสังคมไทยโอกาสด้านการศึกษาและสุขภาพที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีก็ยังคงมีสถานะความเป็นวิกฤตหนักหนาสาหัสเหมือนดังที่แล้วมา เพราะในด้านการศึกษานั้นยังมีเด็กและเยาวชนในวัยเรียนจำนวนมากที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเนื่องมาจากปัญหาความยากไร้ พิการ และเชื้อชาติ อีกทั้งยังถูกความไม่เป็นธรรมถาโถมยามเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยเพราะมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านทรัพยากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั้งระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด และระหว่างเมืองกับชนบท รวมทั้งชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงของระบบหลักประกันสุขภาพแต่ละระบบด้วย
นอกจากนั้นยังรวมถึงการขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร แหล่งเงินทุน ข้อมูลข่าวสาร งบประมาณรัฐ และการได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ที่ยังคงแตกต่างกันมากระหว่างคนกรุงกับต่างจังหวัดและคนรวยกับจน
4) ความไม่เป็นธรรมด้านสิทธิ : สิทธิพื้นฐานของปัจเจกบุคคลและชุมชนถูกละเมิดรุนแรงเรื่อยมาแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธินี้ไว้ ในหลายกรณีมีการตีความกฎหมายขัดกับหลักการแห่งสิทธิตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติที่ขัดกับสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมักเกิดกรณีการใช้อิทธิพลเถื่อนและการใช้อำนาจที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิชุมชนและบุคคลเสมอๆ ครั้นจะเรียกร้องสิทธิหรือพิทักษ์สิทธิของตนเองก็ต้องเผชิญปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม ไม่นับการไม่รู้เรื่องสิทธิของตนเองของประชาชนจำนวนมาก
5) ความไม่เป็นธรรมด้านอำนาจต่อรอง : ความหลากหลายในผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิด อุดมการณ์ เศรษฐสถานะ วัฒนธรรม ย่อมสร้างความขัดแย้งแตกแยกตามมา ทว่าผลรวมของผลประโยชน์มักตกแก่กลุ่มกุมอำนาจรัฐและทุนที่มีจำนวนน้อยเนื่องจากมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงกว่าถ้าเทียบกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ในประเทศที่มีอำนาจเจรจาต่อรองต่ำ ซ้ำความเหลื่อมล้ำในสัมพันธภาพทางอำนาจที่ดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นยังทำให้การเจรจาหาข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่มีอำนาจไม่เท่าเทียมกันมักล้มเหลว หรือไม่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มที่เดือดร้อน ตลอดจนผลิตซ้ำการละเมิดสิทธิของบุคคลและชุมชนเพราะบทบัญญัติกฎหมายไม่ได้ให้ฐานะและอำนาจการเจรจาต่อรองของกลุ่มด้อยอำนาจทางสังคมไว้มากเพียงพอ ไม่นับการถูกทอนอำนาจการต่อรองเจรจาจากการเข้าไม่ถึงสื่อสาธารณะ การจัดตั้งรวมกลุ่ม และการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อสร้างเสริมอำนาจของกลุ่มที่อ่อนแอกว่า
การสร้างความเป็นธรรมใน 5 ประเด็นเหล่านี้นอกเหนือจากการดำเนินการตามข้อเสนอของ คปร.แล้ว การปฏิบัติตามฉันทามติสมัชชาปฏิรูปประดับชาติครั้งที่ 1 ในปี 2554 ที่มีทั้งสิ้น 8 ประเด็นก็จะกรุยถางความเท่าเทียมเป็นธรรมขึ้นมาในสังคมไทยได้ เพราะทั้งมติที่ 1 การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มติที่ 3 การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร มติที่ 4 การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม
มติที่ 5 การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ มติที่ 6 การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มติที่ 7 การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และมติที่ 8 ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม จะพลิกวิกฤตสังคมไทยได้
ยิ่งถ้านำมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ในปี 2555 ทั้ง 6 ประเด็นไปปฏิบัติการทั้งในระดับนโยบายและพื้นที่ก็ยิ่งลดทอนความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคมไทยได้ ด้วยมติที่ 1 การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น มติที่ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
มติที่ 4 การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย มติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และมติที่ 6 การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จะสามารถขับเคลื่อนผลักดันสังคมไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำได้
ดุลอำนาจในสังคมไทยที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มกุมอำนาจที่ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง ที่ทำทั้งประเทศตกอยู่ในความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมจะปรับเปลี่ยนสู่จุด ‘ดุลยภาพ’ ได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนกระจายอำนาจจากเคยรวมศูนย์อยู่กับรัฐส่วนกลางมาสู่สังคมมากขึ้นโดยให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกด้านเพราะจะเป็นรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ต่อไปโดยไม่ทอดทิ้ง กดทับ หรือกีดกันกลุ่มหนึ่งใดออกไปเพียงเพราะพวกเขาได้รับผลกระทบจากการพัฒนาแล้วออกมาต่อต้านคัดค้านแม้ว่าอำนาจเจราจาต่อรองจะน้อย โดยเบื้องต้นการปฏิบัติตาม ‘ยุทธศาสตร์การปฏิรูปความเป็นธรรมของสังคมไทย’ ที่นำเสนอโดยคณะกรรมการปฏิรูปและมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่เป็นฉันทามติจะพลิกวิกฤตสังคมไทยได้
การบริหารราชการบ้านเมืองที่มีความโปร่งใสในกระบวนการกำหนดนโยบายและมุ่งกระจายอำนาจจากส่วนกลาง (Decentralization) จะลดความไม่เป็นธรรมที่ถั่งโถมสังคมไทยได้ ด้วยเบื้องต้นจะทำให้โอกาสในการพัฒนากระจายไปทั่วทุกภูมิภาคมากขึ้นเพราะเม็ดเงินแผ่นดินจะถูกใช้ไปในการขจัดความอยุติธรรมและความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบทแทนที่การจัดสรรงบประมาณแบบเดิมๆ ที่เป็นไปตามคำขอของหน่วยงานราชการ กระทรวง ทบวง กรม ที่กำหนดขึ้นโดยภารกิจของรัฐมากกว่าจะเป็นการจัดสรรงบประมาณตามความต้องการที่จำเป็นของแต่ละจังหวัดที่มีคุณภาพชีวิตต่างกัน ซึ่งแนวทางการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณจะเป็นปัจจัยสำคัญในการลดความขัดแย้งแตกแยกของสังคมไทยได้ เพราะจะเปิดโอกาสในการพัฒนาอย่างเท่าเทียมกัน พร้อมๆ กันกับสถาปนาความเป็นธรรมด้านต่างๆ ขึ้นมาด้วย
ทั้งนี้แน่นอนที่สุดว่าการพัฒนาต้องยึดโยงกับบริบทของแต่ละพื้นที่เป็นสำคัญ ขณะที่ความเป็นธรรมก็สัมพันธ์สลับซับซ้อนกับปัจจัยจำนวนมาก หากกระนั้นหลายฝ่าย โดยเฉพาะกลุ่มกุมอำนาจในการตัดสินใจทางนโยบาย (policy maker) กลับมองการพัฒนากระแสหลักเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยอมรับแบบไร้เงื่อนไขแม้ว่าจะก่อประโยชน์กับคนจำนวนน้อยโดยโบยตีคนส่วนใหญ่ให้ได้รับความไม่เป็นธรรมอันเนื่องมาจากผลกระทบของโครงการพัฒนาต่างๆ ของรัฐและเอกชนก็ตามที ที่สำคัญแม้ความเป็นธรรมจะมีลักษณะสัมพัทธ์ (relative) สำหรับคนจำนวนหนึ่ง ทว่าถึงที่สุดแล้วความเป็นธรรมที่ก่อวิกฤตยาวนานต่อเนื่องในสังคมไทยก็มีลักษณะร่วมสำคัญ 5 ด้านตามที่คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) วิเคราะห์ไว้ คือ
1) ความไม่เป็นธรรมด้านเศรษฐกิจและสังคม : ดังประจักษ์จากดัชนีชี้วัดการกระจายรายได้และการถือครองทรัพย์สิน และการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตที่มีผลต่อการสร้างรายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ดิน เงินทุน ความรู้และทักษะของแรงงาน ที่มีความเหลื่อมล้ำอย่างมาก จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในปี 2550 พบความเหลื่อมล้ำสุดขั้วทางเศรษฐกิจ โดยกลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้สูงสุดมีส่วนแบ่งรายได้ถึงร้อยละ 54.9
ในขณะที่กลุ่มประชากรร้อยละ 20 ที่มีรายได้ต่ำสุดมีส่วนแบ่งรายได้เพียงร้อยละ 4.4 เท่านั้น ในจำนวนคนข้นแค้นเหล่านี้มีรายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิตด้วยสิ่งจำเป็นพื้นฐานถึง 5.4 ล้านคน ขณะที่คุณภาพชีวิตคนกลุ่มนี้ตกต่ำสุดขีดแต่ประเทศชาติกลับทอดทิ้งพวกเขาไว้ในนามของการพัฒนาเศรษฐกิจที่กอบโกยทรัพยากรทุกอย่างไปใช้สอยโดยทิ้งผลกระทบเบื้องหลังมหาศาลไว้ให้สังคมแบกรับ ซึ่งถึงที่สุดกลุ่มคนที่ถูกกีดกันออกไปจากการพัฒนากระแสหลักเหล่านี้ก็เป็นเพียงเครื่องมือในการทวีคูณความมั่งคั่งให้แก่กลุ่มประชากรที่มีรายได้สูงสุดอยู่แล้ว
2) ความไม่เป็นธรรมด้านที่ดินและทรัพยากร : การกระจุกตัวในการถือครองที่ดินของประเทศไทยทำให้คนส่วนใหญ่ที่ยากจนอยู่แล้วยิ่งยากจนข้นแค้นขึ้นมาก เมื่อผนวกกับการมีข้อพิพาทหรือขัดแย้งกับรัฐในการใช้ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติก็ยิ่งทำให้คนจนกลุ่มนี้ถูกเอารัดเอาเปรียบมากขึ้นเพราะไม่เพียงผจญกับการเลือกปฏิบัติทางกฎหมายจากเจ้าหน้าที่รัฐ ทว่าภายในขณะเดียวกันนั้นก็ยังสูญเสีย ‘สิทธิชุมชน’ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญที่กฎหมายสูงสุดรัฐธรรมนูญรับรองความชอบธรรมไว้ด้วย เพราะเอาเข้าจริงประชาชนกลุ่มนี้มักถูกตัดออกจากการมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนท้องถิ่น รวมทั้งยังถูกแผนพัฒนาเชิงพื้นที่และโครงการขนาดต่างๆ ของรัฐและเอกชนรุกรานอยู่เสมอ
3) ความไม่เป็นธรรมด้านโอกาส : จุดตั้งต้นของการมีคุณภาพชีวิตที่ดีมีทางเป็นไปได้จริงก็ต่อเมื่อประชาชนทุกคนเข้าถึงโอกาสอย่างเท่าเทียมกัน กระนั้นสำหรับสังคมไทยโอกาสด้านการศึกษาและสุขภาพที่เป็นพื้นฐานสำคัญของการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีก็ยังคงมีสถานะความเป็นวิกฤตหนักหนาสาหัสเหมือนดังที่แล้วมา เพราะในด้านการศึกษานั้นยังมีเด็กและเยาวชนในวัยเรียนจำนวนมากที่ตกหล่นจากระบบการศึกษา ไม่น้อยไม่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานอันเนื่องมาจากปัญหาความยากไร้ พิการ และเชื้อชาติ อีกทั้งยังถูกความไม่เป็นธรรมถาโถมยามเจ็บไข้ได้ป่วย ด้วยเพราะมีปัญหาความเหลื่อมล้ำในด้านทรัพยากรทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั้งระหว่างกรุงเทพฯ กับต่างจังหวัด และระหว่างเมืองกับชนบท รวมทั้งชุดสิทธิประโยชน์และการเข้าถึงของระบบหลักประกันสุขภาพแต่ละระบบด้วย
นอกจากนั้นยังรวมถึงการขาดโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทรัพยากร แหล่งเงินทุน ข้อมูลข่าวสาร งบประมาณรัฐ และการได้รับความเป็นธรรมจากกระบวนการยุติธรรม ที่ยังคงแตกต่างกันมากระหว่างคนกรุงกับต่างจังหวัดและคนรวยกับจน
4) ความไม่เป็นธรรมด้านสิทธิ : สิทธิพื้นฐานของปัจเจกบุคคลและชุมชนถูกละเมิดรุนแรงเรื่อยมาแม้ว่ารัฐธรรมนูญจะรับรองสิทธินี้ไว้ ในหลายกรณีมีการตีความกฎหมายขัดกับหลักการแห่งสิทธิตามเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นๆ เช่น กฎหมายอุทยานแห่งชาติที่ขัดกับสิทธิชุมชนในการมีส่วนร่วมจัดการทรัพยากรธรรมชาติ รวมทั้งมักเกิดกรณีการใช้อิทธิพลเถื่อนและการใช้อำนาจที่มิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐละเมิดสิทธิชุมชนและบุคคลเสมอๆ ครั้นจะเรียกร้องสิทธิหรือพิทักษ์สิทธิของตนเองก็ต้องเผชิญปัญหาความล่าช้าของกระบวนการยุติธรรม ไม่นับการไม่รู้เรื่องสิทธิของตนเองของประชาชนจำนวนมาก
5) ความไม่เป็นธรรมด้านอำนาจต่อรอง : ความหลากหลายในผลประโยชน์ของกลุ่มคนที่มีความแตกต่างหลากหลายทางความคิด อุดมการณ์ เศรษฐสถานะ วัฒนธรรม ย่อมสร้างความขัดแย้งแตกแยกตามมา ทว่าผลรวมของผลประโยชน์มักตกแก่กลุ่มกุมอำนาจรัฐและทุนที่มีจำนวนน้อยเนื่องจากมีอำนาจการเจรจาต่อรองสูงกว่าถ้าเทียบกับกลุ่มคนส่วนใหญ่ในประเทศที่มีอำนาจเจรจาต่อรองต่ำ ซ้ำความเหลื่อมล้ำในสัมพันธภาพทางอำนาจที่ดำรงอยู่อย่างเหนียวแน่นยังทำให้การเจรจาหาข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่มีอำนาจไม่เท่าเทียมกันมักล้มเหลว หรือไม่ก็ไม่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มที่เดือดร้อน ตลอดจนผลิตซ้ำการละเมิดสิทธิของบุคคลและชุมชนเพราะบทบัญญัติกฎหมายไม่ได้ให้ฐานะและอำนาจการเจรจาต่อรองของกลุ่มด้อยอำนาจทางสังคมไว้มากเพียงพอ ไม่นับการถูกทอนอำนาจการต่อรองเจรจาจากการเข้าไม่ถึงสื่อสาธารณะ การจัดตั้งรวมกลุ่ม และการสนับสนุนทรัพยากรเพื่อสร้างเสริมอำนาจของกลุ่มที่อ่อนแอกว่า
การสร้างความเป็นธรรมใน 5 ประเด็นเหล่านี้นอกเหนือจากการดำเนินการตามข้อเสนอของ คปร.แล้ว การปฏิบัติตามฉันทามติสมัชชาปฏิรูปประดับชาติครั้งที่ 1 ในปี 2554 ที่มีทั้งสิ้น 8 ประเด็นก็จะกรุยถางความเท่าเทียมเป็นธรรมขึ้นมาในสังคมไทยได้ เพราะทั้งมติที่ 1 การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง มติที่ 3 การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร มติที่ 4 การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม
มติที่ 5 การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ มติที่ 6 การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน มติที่ 7 การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และมติที่ 8 ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม จะพลิกวิกฤตสังคมไทยได้
ยิ่งถ้านำมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ในปี 2555 ทั้ง 6 ประเด็นไปปฏิบัติการทั้งในระดับนโยบายและพื้นที่ก็ยิ่งลดทอนความเหลื่อมล้ำและไม่เป็นธรรมในสังคมไทยได้ ด้วยมติที่ 1 การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น มติที่ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
มติที่ 4 การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย มติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และมติที่ 6 การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม จะสามารถขับเคลื่อนผลักดันสังคมไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงระบบและโครงสร้างเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำได้
ดุลอำนาจในสังคมไทยที่ถูกกำหนดโดยกลุ่มกุมอำนาจที่ครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง ที่ทำทั้งประเทศตกอยู่ในความเหลื่อมล้ำไม่เป็นธรรมจะปรับเปลี่ยนสู่จุด ‘ดุลยภาพ’ ได้ก็ต่อเมื่อมีการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ตลอดจนกระจายอำนาจจากเคยรวมศูนย์อยู่กับรัฐส่วนกลางมาสู่สังคมมากขึ้นโดยให้ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกด้านเพราะจะเป็นรากฐานการพัฒนาอย่างยั่งยืน (sustainable development) ต่อไปโดยไม่ทอดทิ้ง กดทับ หรือกีดกันกลุ่มหนึ่งใดออกไปเพียงเพราะพวกเขาได้รับผลกระทบจากการพัฒนาแล้วออกมาต่อต้านคัดค้านแม้ว่าอำนาจเจราจาต่อรองจะน้อย โดยเบื้องต้นการปฏิบัติตาม ‘ยุทธศาสตร์การปฏิรูปความเป็นธรรมของสังคมไทย’ ที่นำเสนอโดยคณะกรรมการปฏิรูปและมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่เป็นฉันทามติจะพลิกวิกฤตสังคมไทยได้