การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนอกเหนือจากการปรับสัมพันธภาพทางอำนาจโดยการมุ่งเพิ่มพื้นที่สิทธิเสรีภาพของประชาชน การสร้างดุลยภาพระหว่างอำนาจบริหาร นิติบัญญัติ กับตุลาการแล้ว การปรับโครงสร้างอำนาจระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่นก็เป็นหลักการสำคัญเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการปฏิรูปด้วย ที่ผ่านมาการรวมศูนย์อำนาจอธิปไตยของรัฐส่วนกลางสร้างปัญหานานัปการต่อชุมชนท้องถิ่นทั้งในด้านของการตอบสนองความต้องการของประชาชนในพื้นที่ที่ล่าช้าและผิดพลาด การพัฒนาสาธารณูปโภคที่ไม่ตอบโจทย์ท้องถิ่น จนถึงการรับมือภัยพิบัติธรรมชาติที่ไม่ทันท่วงทีสถานการณ์ความรุนแรง
การรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจไว้ที่ส่วนกลางสร้างวิกฤตสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมตามมามหาศาล แม้ว่าอดีตก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองจะเป็นแบบมูลนายกับไพร่ทาส ทว่าก็ไม่ได้ควบคุมเข้มข้นนัก ชุมชนท้องถิ่นจึงคงปกครองตนเองมีอำนาจบริหารจัดการตนเอง แต่ต่อมาก็ถูกรวบอำนาจและลิดรอนอำนาจจากการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ที่ใช้อำนาจรัฐบาลส่วนกลางกำกับท้องถิ่นผ่านกลไก และระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม ลงมาควบคุมกำกับ กระทั่งศักยภาพการปกครองตนเองของพื้นที่ต้องสูญเสียจากการพึ่งพิงส่วนกลางมากขึ้นเรื่อยๆ
ประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นที่เป็นรากฐานประชาธิปไตยระดับชาติจึงถูกบอนไซไม่สามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทั้งในแง่มุมของการเลือกผู้แทนประชาชน ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและการบริหารกิจการบ้านเมืองในระดับต่างๆ การรวมศูนย์อำนาจผูกขาดอธิปไตยจึงมีดีกรีที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยระดับชาติมาตั้งแต่ปี 2475
ทั้งนี้ปรากฏการณ์กลับหัวกลับหางทางพัฒนาการประชาธิปไตยกับตะวันตกเพราะประเทศไทยประชาธิปไตยระดับชาติเกิดก่อนประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นได้ส่งผลกระทบเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ท้องถิ่นถูกแปรสภาพเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐบาลจากการต้องพึ่งพิงนโยบายส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณ จนทำให้ศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการตนเองลดน้อยถอยลง ซึ่งระหว่างนั้นความเป็นอิสระและพึ่งตนเองได้ของท้องถิ่นชุมชนก็ถูกลดทอนลงอย่างมากจากการกระหน่ำนโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอตัวมาเป็นรัฐบาลที่ท้ายสุดประชาชนก็กลายเป็นเพียงผู้ออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเข้ามาบริหารชาติบ้านเมืองและท้องถิ่นแทนตนเอง
ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 จะเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะปี 2540 ที่กำหนด พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้ต้องมีการกระจายอำนาจทางการเงินการคลังและการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ให้กับท้องถิ่นไปดำเนินการ หากกระนั้นถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เพราะว่ารัฐยังคงควบคุมอำนาจทางการเงินการคลังไว้ที่ส่วนกลาง ดังช่วงระหว่างปี 2550-2554 ที่ท้องถิ่นได้รับงบประมาณเพียงร้อยละ 25.17, 25.20, 25.82, 25.26 และ 26.14 ตามลำดับ ทั้งๆ ที่ท้องถิ่นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลร้อยละ 35
มากกว่านั้นการรวมศูนย์อำนาจส่วนกลางยังสร้างปัญหาทั้งด้านการตอบสนองความต้องการของประชาชนและการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นชุมชน โดยเฉพาะการคลี่คลายวิกฤตพิบัติภัยที่รัฐส่วนกลางไม่สามารถบริหารจัดการได้ทันท่วงที ดังเช่นอุทกภัยในปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ดังนั้นการปฏิรูปโครงสร้างสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอย่างน้อยสุดควรปฏิบัติตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ที่เสนอแนะให้จัดตั้งองค์กรอิสระที่มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาครัฐ เพื่อจัดทำร่างกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างอำนาจระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยองค์กรอิสระดังกล่าวนี้จะดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนและรณรงค์แนวคิดการปฏิรูปสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น
รวมถึงการเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการส่วนตำบลและเทศบาล สมาพันธ์ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันมติสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี โดยให้มีการตรากฎหมายที่มีสาระครอบคลุมถึงกฎหมายการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายรายได้ท้องถิ่น และกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 283 และ 303 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อจะบรรลุเจตนารมณ์ของการลดอำนาจการรวมศูนย์ส่วนกลางที่ฉวยใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปใช้ในการธำรงอำนาจส่วนกลางมากกว่าจะกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น
เช่นนี้การเปลี่ยนสภาวการณ์ที่ประชาสังคมและพลเมืองไร้พลังจนไม่อาจจัดการปัญหาตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่นับวันจะทวีความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างคนรวยและคนจนในท้องถิ่นรวมถึงระหว่างคนเมืองกับคนชนบทนั้น จึงต้องปฏิปโครงสร้างอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 และของ คปร.โดยเฉพาะการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยการกำหนดกลไกการบริหารแบบมีส่วนร่วมและมุ่งใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมากกว่าจะเป็นการจัดสรรจากส่วนกลางลงมาครอบ ซึ่งถึงจุดหนึ่งของการปฏิรูปตามมรรคานี้จะลดความรุนแรงของวิกฤตความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคม ตลอดจนปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ลุกลามกลืนกินความอยู่ดีมีสุขของคนไทยลงได้ เนื่องด้วยกระบวนการนี้เกื้อหนุนให้ประชาชนเปลี่ยนตนเองเป็น ‘พลเมือง’ มากขึ้น
โครงสร้างอำนาจที่เปลี่ยนไประหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นในทิศทางที่ท้องถิ่นมีอำนาจและอิสระมากขึ้น โดยเฉพาะด้านงบประมาณณจะเปิดโอกาสให้ผู้คนในแต่ละชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและกำกับการบริหารชาติบ้านเมืองของตัวแทนที่ตนเองเลือกไปได้ ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกเป็น ‘เจ้าของ’ ท้องถิ่นมากขึ้นด้วย โดยกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับรัฐอันจะเป็นฐานรากสำคัญของการสร้างจังหวัดจัดการตนเองต่อไป ไม่เท่านั้นการปฏิรูปการกระจายอำนาจยังพังทลายวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักที่เบียดขับคนข้นแค้นออกจากสมการการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ การกำกับติดตามประเมินผล และการได้รับประโยชน์
ดังนั้นในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงต้องมุ่งปรับสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นเป็นการเร่งด่วนโดยการ ‘ปฏิรูปการกระจายอำนาจ’ ด้วยนอกจากจะเป็นการฟื้นสุขภาวะที่พร่องหายไปทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญากลับสู่ชุมชนท้องถิ่นแล้ว การกระจายอำนาจที่ผ่านกระบวนการปฏิรูปตามแนวทางนี้ยังสามารถเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของท้องถิ่นชุมชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ด้วย เพราะ ‘อธิปไตยชุมชน’ ที่คืนผืนดินท้องถิ่นจะสร้าง ‘อิสระ+อำนาจ’ ในระบบการบริหารจัดการด้านต่างๆ ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จนถึงการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งจะตัดสินใจบนผลประโยชน์ของท้องถิ่นชุมชนแทนที่จะผูกผันกับนโยบายประชานิยมอันเป็นที่มาของคำดูถูกดูแคลนว่าท้องถิ่นดีแต่รอรับการบริการจากรัฐ
การรวมศูนย์ผูกขาดอำนาจไว้ที่ส่วนกลางสร้างวิกฤตสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมตามมามหาศาล แม้ว่าอดีตก่อนหน้านี้ความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองจะเป็นแบบมูลนายกับไพร่ทาส ทว่าก็ไม่ได้ควบคุมเข้มข้นนัก ชุมชนท้องถิ่นจึงคงปกครองตนเองมีอำนาจบริหารจัดการตนเอง แต่ต่อมาก็ถูกรวบอำนาจและลิดรอนอำนาจจากการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ที่ใช้อำนาจรัฐบาลส่วนกลางกำกับท้องถิ่นผ่านกลไก และระบบราชการส่วนกลางและส่วนภูมิภาคตั้งแต่ระดับกระทรวง ทบวง กรม ลงมาควบคุมกำกับ กระทั่งศักยภาพการปกครองตนเองของพื้นที่ต้องสูญเสียจากการพึ่งพิงส่วนกลางมากขึ้นเรื่อยๆ
ประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นที่เป็นรากฐานประชาธิปไตยระดับชาติจึงถูกบอนไซไม่สามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพได้ ทั้งในแง่มุมของการเลือกผู้แทนประชาชน ตลอดจนการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและการบริหารกิจการบ้านเมืองในระดับต่างๆ การรวมศูนย์อำนาจผูกขาดอธิปไตยจึงมีดีกรีที่เข้มข้นขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าประเทศไทยจะเปลี่ยนผ่านสู่ระบอบประชาธิปไตยระดับชาติมาตั้งแต่ปี 2475
ทั้งนี้ปรากฏการณ์กลับหัวกลับหางทางพัฒนาการประชาธิปไตยกับตะวันตกเพราะประเทศไทยประชาธิปไตยระดับชาติเกิดก่อนประชาธิปไตยระดับท้องถิ่นได้ส่งผลกระทบเลวร้ายขึ้นเรื่อยๆ ท้องถิ่นถูกแปรสภาพเป็นเพียงเครื่องมือของรัฐบาลจากการต้องพึ่งพิงนโยบายส่วนกลาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งงบประมาณ จนทำให้ศักยภาพของท้องถิ่นในการบริหารจัดการตนเองลดน้อยถอยลง ซึ่งระหว่างนั้นความเป็นอิสระและพึ่งตนเองได้ของท้องถิ่นชุมชนก็ถูกลดทอนลงอย่างมากจากการกระหน่ำนโยบายประชานิยมของพรรคการเมืองต่างๆ ที่เสนอตัวมาเป็นรัฐบาลที่ท้ายสุดประชาชนก็กลายเป็นเพียงผู้ออกเสียงเลือกตั้งตัวแทนเข้าไปใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยเข้ามาบริหารชาติบ้านเมืองและท้องถิ่นแทนตนเอง
ถึงแม้ว่ารัฐธรรมนูญทั้งฉบับ 2540 และ 2550 จะเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมืองและการกำหนดนโยบายสาธารณะ โดยเฉพาะปี 2540 ที่กำหนด พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ที่กำหนดให้ต้องมีการกระจายอำนาจทางการเงินการคลังและการถ่ายโอนภารกิจต่างๆ ให้กับท้องถิ่นไปดำเนินการ หากกระนั้นถึงปัจจุบันก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้เพราะว่ารัฐยังคงควบคุมอำนาจทางการเงินการคลังไว้ที่ส่วนกลาง ดังช่วงระหว่างปี 2550-2554 ที่ท้องถิ่นได้รับงบประมาณเพียงร้อยละ 25.17, 25.20, 25.82, 25.26 และ 26.14 ตามลำดับ ทั้งๆ ที่ท้องถิ่นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณเป็นสัดส่วนต่อรายได้สุทธิของรัฐบาลร้อยละ 35
มากกว่านั้นการรวมศูนย์อำนาจส่วนกลางยังสร้างปัญหาทั้งด้านการตอบสนองความต้องการของประชาชนและการแก้ไขปัญหาของท้องถิ่นชุมชน โดยเฉพาะการคลี่คลายวิกฤตพิบัติภัยที่รัฐส่วนกลางไม่สามารถบริหารจัดการได้ทันท่วงที ดังเช่นอุทกภัยในปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ดังนั้นการปฏิรูปโครงสร้างสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นจึงจำเป็นต้องกระจายอำนาจให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและคืนอำนาจให้ประชาชน โดยอย่างน้อยสุดควรปฏิบัติตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ที่เสนอแนะให้จัดตั้งองค์กรอิสระที่มีการบริหารจัดการร่วมกันระหว่างภาคประชาชน ภาคท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาครัฐ เพื่อจัดทำร่างกฎหมายปฏิรูปโครงสร้างอำนาจระหว่างส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และส่วนท้องถิ่น ตามข้อเสนอของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) โดยองค์กรอิสระดังกล่าวนี้จะดำเนินกิจกรรมขับเคลื่อนและรณรงค์แนวคิดการปฏิรูปสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่น
รวมถึงการเสนอให้คณะรัฐมนตรีมอบหมายให้คณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย
สมาคมพนักงานเทศบาลแห่งประเทศไทย สมาคมข้าราชการส่วนตำบลและเทศบาล สมาพันธ์ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลแห่งประเทศไทย และสมาคมสมาชิกสภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผลักดันมติสมัชชาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อการปฏิรูปให้บังเกิดผลเป็นรูปธรรมภายใน 1 ปี โดยให้มีการตรากฎหมายที่มีสาระครอบคลุมถึงกฎหมายการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กฎหมายรายได้ท้องถิ่น และกฎหมายเกี่ยวกับข้าราชการส่วนท้องถิ่น ตามมาตรา 283 และ 303 ของรัฐธรรมนูญ 2550 เพื่อจะบรรลุเจตนารมณ์ของการลดอำนาจการรวมศูนย์ส่วนกลางที่ฉวยใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทยไปใช้ในการธำรงอำนาจส่วนกลางมากกว่าจะกระจายอำนาจสู่ชุมชนท้องถิ่น
เช่นนี้การเปลี่ยนสภาวการณ์ที่ประชาสังคมและพลเมืองไร้พลังจนไม่อาจจัดการปัญหาตนเองได้ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ที่นับวันจะทวีความไม่เป็นธรรมและเหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างคนรวยและคนจนในท้องถิ่นรวมถึงระหว่างคนเมืองกับคนชนบทนั้น จึงต้องปฏิปโครงสร้างอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นตามมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 และของ คปร.โดยเฉพาะการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมโดยการกำหนดกลไกการบริหารแบบมีส่วนร่วมและมุ่งใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในแต่ละท้องถิ่นมากกว่าจะเป็นการจัดสรรจากส่วนกลางลงมาครอบ ซึ่งถึงจุดหนึ่งของการปฏิรูปตามมรรคานี้จะลดความรุนแรงของวิกฤตความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมทางสังคม ตลอดจนปัญหาทุจริตคอร์รัปชันที่ลุกลามกลืนกินความอยู่ดีมีสุขของคนไทยลงได้ เนื่องด้วยกระบวนการนี้เกื้อหนุนให้ประชาชนเปลี่ยนตนเองเป็น ‘พลเมือง’ มากขึ้น
โครงสร้างอำนาจที่เปลี่ยนไประหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นในทิศทางที่ท้องถิ่นมีอำนาจและอิสระมากขึ้น โดยเฉพาะด้านงบประมาณณจะเปิดโอกาสให้ผู้คนในแต่ละชุมชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะและกำกับการบริหารชาติบ้านเมืองของตัวแทนที่ตนเองเลือกไปได้ ในขณะเดียวกันก็เกิดความรู้สึกเป็น ‘เจ้าของ’ ท้องถิ่นมากขึ้นด้วย โดยกระตือรือร้นที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และกำหนดแนวทางการพัฒนาท้องถิ่นร่วมกับรัฐอันจะเป็นฐานรากสำคัญของการสร้างจังหวัดจัดการตนเองต่อไป ไม่เท่านั้นการปฏิรูปการกระจายอำนาจยังพังทลายวาทกรรมการพัฒนากระแสหลักที่เบียดขับคนข้นแค้นออกจากสมการการมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะ การกำกับติดตามประเมินผล และการได้รับประโยชน์
ดังนั้นในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคตจึงต้องมุ่งปรับสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นเป็นการเร่งด่วนโดยการ ‘ปฏิรูปการกระจายอำนาจ’ ด้วยนอกจากจะเป็นการฟื้นสุขภาวะที่พร่องหายไปทั้งทางกาย จิต สังคม และปัญญากลับสู่ชุมชนท้องถิ่นแล้ว การกระจายอำนาจที่ผ่านกระบวนการปฏิรูปตามแนวทางนี้ยังสามารถเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของท้องถิ่นชุมชนเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ด้วย เพราะ ‘อธิปไตยชุมชน’ ที่คืนผืนดินท้องถิ่นจะสร้าง ‘อิสระ+อำนาจ’ ในระบบการบริหารจัดการด้านต่างๆ ตั้งแต่การกำหนดนโยบาย การจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จนถึงการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งซึ่งจะตัดสินใจบนผลประโยชน์ของท้องถิ่นชุมชนแทนที่จะผูกผันกับนโยบายประชานิยมอันเป็นที่มาของคำดูถูกดูแคลนว่าท้องถิ่นดีแต่รอรับการบริการจากรัฐ