ASTVผู้จัดการรายวัน-“หมอประเวศ” ชี้ออกกฎหมายล้างผิด “นช.แม้ว”ไม่ช่วยสร้างความปรองดอง ย้อนนักโทษชายอยู่เมืองนอก คุมพรรค-คุมรัฐบาล ก็สร้างความปรองดองได้ ไม่ต้องกลับมา เพื่อไม่ให้เกิดความวุ่นวาย ชี้ ด้าน ปธ.ศาลปค.สูงสุด” ย้ำต้องหาทางออกเพื่อคุ้มครองตุลาการ
วานที่ (14 มิ.ย.2555) ที่โรงแรมรามาการ์เดนท์ ถ.วิภาวดีฯ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวภายหลังบรรยายการเสวนาเรื่อง "สมานฉันท์ปรองดองในมุมมองของศาสนาและประชาชน" ถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติฯว่าจะสามารถสร้างความปรองดองได้หรือไม่ว่า คงจะค่อนข้างยาก เพราะอย่างที่เห็นเมื่อออกกฎหมายก็ทะเลาะกัน แต่ก็เชื่อว่าสถานการณ์คงไม่รุนแรงนัก เพราะขณะนี้คนไทยเมื่อเกิดความรุนแรงก็จะยั้งคิด ไม่ต้องการความรุนแรง เพราะเคยผ่านมามากแล้ว และความรุนแรงเป็นตัวแปรสำคัญคืออำนาจรัฐ และแม้ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งรัฐต้องจัดการให้ได้
ต่อข้อถามกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความขัดแย้งหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนมีอำนาจมากที่สุด แม้จะอยู่นอกประเทศก็ตาม เพราะสามารถสั่งรัฐบาล สั่งพรรคได้ และตนก็อยากฝากถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความปรองดองสมานฉันท์ได้นั้น คือการสร้างสังคมที่เป็นธรรม หากพ.ต.ท.ทักษิณที่เป็นคนเก่งสามารถทำเรื่องนี้ได้ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ได้เช่น การกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น เพราะหากกระจุกอยู่ส่วนกลางจะทำอะไรไม่ได้ คอร์รัปชั่นจะเกิดขึ้นมาก บ้านเมืองแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ทหารก็ทำรัฐประหารได้ง่ายเพราะอำนาจกระจุก ถ้ากระจายไปสู่ชุมชนรัฐประหารทำไม่ได้ คอร์รัปชั่นก็ยาก การแย่งชิงอำนาจก็จะน้อยลง และต้องปฏิรูประบบต่างๆ ให้เป็นธรรมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณควรเดินทางกลับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า บางคนถ้ากลับมาจะทำให้ยุ่ง ซึ่งต้องดูอย่างนายปรีดี พนมยงค์ ที่ไม่มีคดีอะไร แต่เลือกจะไม่เดินทางกลับมา เพราะหากกลับมาห่วงจะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณมีคนรักและคนเกลียดเยอะ ก็จะทำให้ยุ่งได้ แต่ถ้าอยู่อย่างนี้ก็มีอำนาจอยู่แล้วและพยายามทำเรื่องดีๆ
ส่วนการที่จะออกก.ม.ปรองดองฯโดยยกเลิกการกระทำจากผลพวงของคณะปฏิวัติ เช่น คตส.เช่นนี้จะเกิดความเป็นธรรมหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมยังขาดความเป็นธรรม เพราะคนจนไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องต่างๆ และพ.ต.ท.ทักษิณก็ควรทำเรื่องนี้ ซึ่งการอยู่ต่างประเทศถ้ากลับมาอาจจะเกิดการต่อสู้กัน วุ่นวายขึ้น หากอยู่ตรงนั้นสามารถดูแลรัฐบาลจากระยะไกลได้
นพ.ประเวศ ยังกล่าวถึงการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ คุยกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อให้ปัญหาจบว่า "คงไม่ต้องคุยกัน ตนไม่คิดอย่างนั้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องคุยพล.อ.เปรม ที่พูดคุยกันก็ไม่เห็นได้ผล จุดสำคัญหากเราสร้างสังคมที่เป็นธรรม ก็จะสมานฉันท์เอง"
**ต้องหาทางออกเพื่อคุ้มครองตุลาการ
ที่สำนักงานศาลปกครอง มีการจัดงานโครงการสื่อมวลชนพบศาลปกครอง โดยมีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานในการเปิดโครงการและร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ"ศาลปกครองไทยกับการแก้ไขข้อพิพาทในสังคม" ว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้จำเป็นต้องมีองค์กร ที่ทำให้คนในชาติให้ความเชื่อมั่น เนื่องจากจะต้องเป็นองค์กรที่ตัดสินชี้ขาดปัญหาเพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับและทำให้ประเทศชาติเกิดความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นหลายอย่างอาจพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เลวร้าย โดยไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ได้
หลายสิบปีที่ผ่านมาตนกล้าพูดว่าองค์กรศาลทำหน้าที่อย่างเต็มที่และสมบูรณ์แบบเพื่อที่จะลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งในเรื่องใดๆ ที่ผ่านมา ทุกอย่างก็จะอยู่ในความสงบ ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
นายหัสวุฒิ กล่าวอีกว่า คนในสังคมต้องใจกว้างต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากเรา ทุกสิ่งเป็นก็ไปตามระบบ ไม่มีการเล่นนอกกติกายอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ของการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย การมีความเห็นแตกต่างกันไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่เราต้องสอนให้คนในประเทศยอมรับความเห็นที่ต่างกัน จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้
“ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐหนึ่งในสามอำนาจที่สูงสุด แต่ไม่มีอำนาจเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น อาทิ รัฐบาล รัฐสภา เพราะศาลจะใช้อำนาจตุลาการไปทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตัวเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้มาฟ้องคดี ถ้าไม่มีผู้ฟ้องคดีถึงจะเป็นเรื่องใหญ่ศาลก็ดำเนินการเองไม่ได้ และที่พูดกันว่าตุลาการภิวัฒน์ ก็ไม่รู้ว่าผู้พูดเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือไม่ จริงๆตุลาการภิวัฒน์ เป็นเรื่องของการใช้อำนาจในคดีตามหลักกฎหมายที่ต้องอธิบายได้ ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ และข้อกฎหมาย ศาลไม่ได้ตราขึ้นมาเอง ศาลจึงไม่ได้มีอำนาจเหมือนฝ่ายอื่นๆ ดังนั้นที่กล่าวหาว่าศาลมีอำนาจมากเกินไปและไม่เคยถูกตรวจสอบ ไม่เป็นความจริงเลย เพราะศาลปกครองก็ต้องทำรายงานไปรัฐสภา จึงไม่เห็นด้วยหากมีการรวมรวม เพราะเชื่อว่าประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่เป็นการถอยหลังไปสู่ยุคก่อนปี พ.ศ.2540
อย่างไรก็ตามประธานศาลปกครองสูงสุด ยังเรียกร้องว่า ประเทศไทยน่าจะถึงเวลาที่มีระบบการคุ้มครองผู้พิพากษา ตุลาการ รวมถึงครอบครัวอย่างจริงจัง เช่นในต่างประเทศ ไม่ใช่พอมีเรื่องก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่มาคุ้มกันเป็นครั้งๆไป เหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะการตัดสินคดีของศาลในทุกคดีล้วนแต่มีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายทั้งสิ้น
**วิปรัฐจัดเสวนา ทบทวนปรองดอง
ที่รัฐสภา นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการปิดสมัยประชุมสามัญ นิติบัญญัติ ว่า กระบวนการปิดสมัยประชุมอยู่ที่พระราชกฤษฎีกาที่จะตราออกมา หากออกมาในวัดใด และระยะเวลาที่เหลืออยู่ ประธานสภาฯ ไม่ได้นัดประชุม ก็ถือว่าไม่มีการประชุมแล้ว
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยจะเดินสายทำความเข้าใจกฎหมายปรองดองหรือไม่ นายอุดมเดช กล่าวว่า จริงๆ ในคณะกมธ.ปรองดองฯ ที่มีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธานฯ ได้พูดอย่างชัดเจน ถึงสิ่งที่สถาบันพระปกเกล้า เสนอมาให้มีการจัดเวทีสานเสวนา เราก็ต้องทำให้เข้มแข็งขึ้น
เมื่อถามว่าขณะนี้สภาฯ ดำเนินการข้ามขั้นตอนโดยการออกกฎหมาย ก่อนแล้วค่อยจัดเวทีสานเสวนาทีหลัง จะมีผลสอดรับกันได้อย่างไร นายอุดมเดช กล่าวว่า ต้องย้อนไปดูว่าสถาบันพระปกเกล้าล่าสุดเขาบอกว่า เขาไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการส่วนนี้ เมื่อมีความเห็นมาเช่นนั้นจะให้รัฐบาลทำอย่างไร ขอยืนยันว่ารัฐบาลอ้างอิงสถาบันพระปกเกล้า
เมื่อถามว่าล่าสุด นายคณิต ออกมาท้วงติงเรื่องตัวเนื้อหาของกฎหมายปรองดอง ว่าจะเป็นการทำลายระบบยุติธรรม นายอุดมเดช กล่าวว่า นั่นก็อยู่ในส่วนของความเห็นของท่าน การที่จะเอากฎหมายดังกล่าวเข้ามา ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จรูป เพราะยังมีคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่พิจารณาอีก ข้อท้วงติงต่างๆก็สามารถไปปรับปรุงแก้ไขได้ ในชั้นกรรมาธิการฯ ทั้งนี้มีโอกาสที่จะทบทวนว่าจะเข้ามาสู่ในระยะเวลาใดที่เหมาะสม
**มาร์คจี้รบ.ทบทวนร่างปรองดอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลถอน ร่างพรบ.ปรองดองที่มีเนื้อหานิรโทษกรรมคนทุจริตออกจากการประชุมสภา แทนที่จะชะลอปัญหาโดยไม่พิจารณาในสมัยประชุมนี้เท่านั้น โดยในระหว่างการปิดสมัยประชุมรัฐบาลต้องทบทวนเรื่องเหล่านี้ เพราะหากเปิดประชุมในเดือนสิงหาคม หรือรัฐบาลจะเปิดสภาสมัยวิสามัญ ก็จะย้อนกลับไปสู่สถานการณ์ความขัดแย้งที่นำไปสู่การเผชิญหน้าโดยไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น
ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลได้ยึดตามแนวทางที่ คอป. สถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งความเห็นของนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แต่ถ้ารัฐบาลไม่ฟังก็เท่ากับทำทั้งหมด เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวก โดยนำเอาความปรองดองมาบังหน้าเท่านั้น และไม่อยากให้รัฐบาลมองว่าผู้คัดค้านจะมีจำนวนมากหรือน้อย แต่ต้องพิจารณาว่า การผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่พึงกระทำหรือไม่ และต้องถามว่าการช่วยให้คนทุจริตพ้นผิดเป็นแนวทางของรัฐบาลได้อย่างไร
“ผมคิดว่าการเลือกที่จะชะลอปัญหาออกไปเป็นเรื่องดี แต่แปลกใจนักการเมืองอย่างนายจาตุรนต์ (ฉายแสง) กลับพยายามชักชวนให้คนในรัฐบาลสร้างปมความขัดแย้งขึ้นมาอีก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ฟัดกันเอง“ก่อแก้ว”ด่าค้อนปลอม
อีกด้าน นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ระบุการกระทำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ที่สั่งเลื่อนการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ออกไป เป็นการสร้างรอยด่างให้รัฐสภาว่า การตัดสินใจของนายสมศักดิ์ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของกลุ่มหรือพรรค เมื่อพรรคเพื่อไทยมีมติให้นายสมศักดิ์ตัดสินใจเรื่องการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 แล้ว หากนายก่อแก้วเป็นสมาชิกพรรคที่ดีก็ควรวิพากษ์วิจารณ์ในพรรค ไม่ใช่พูดผ่านสื่อ ทั้งนี้หากนายก่อแก้วเคารพเสียงข้างมาก และระบอบประชาธิปไตย จะมาใช้ความรู้สึกส่วนตัวไม่ได้ ถ้านายก่อแก้วรับมติพรรคไม่ได้ ก็ควรพิจารณาตัวเอง
"ยืนยันว่า การตัดสินใจของนายสมศักดิ์ไม่ได้ถูกครอบงำจากตุลาการ แม้นายสมศักดิ์เหนื่อยและหนักใจมากกับการตัดสินใจเรื่องนี้ แต่เป็นการทำหน้าที่อย่างสง่างาม ไม่ได้สร้างรอยด่างให้รัฐสภา"นายวัฒนากล่าว
ด้านนายก่อแก้ว กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ โทรศัพท์มาต่อว่า ว่า ไม่มีการคุยเรื่องดังกล่าวกับพ.ต.ท.ทักษิณ มีเพียงการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบเท่านั้น เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องภายในของกรรมการบริหารพรรค ส.ส.เพื่อไทย และประธานรัฐสภา พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย รวมไปถึงไม่มีผู้ใหญ่คนใดในพรรคโทรมาต่อว่าตน เพราะทุกคนเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้คนเสื้อแดงมีความอดทนเพื่อรอดูสถานการณ์ ไม่ได้มีปฏิกิริยาอะไรมากมาย เพราะรู้ว่าพวกตนพยายามผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ไม่ยอมให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ต้องแจ้งให้มวลชนรับทราบข้อมูลเป็นระยะๆ เพราะขั้นตอนต่างๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ซึ่งเชื่อว่าคงจะไม่นานหลังจากนี้ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อลงมติในวาระที่ 3
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะจัดเวทีเสวนา “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ที่หน้าสำนักงานเขต มีนบุรีในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ พรรคเพื่อไทย ก็เตรียมจัดเวทีปราศรัยเช่นกันในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เวลา 16.00 น. ใช้ชื่อว่า “เพื่อไทย ความจริงเพื่อประชาธิปไตย”นำโดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหม พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสุนัย จุลพงศ์ และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว
วานที่ (14 มิ.ย.2555) ที่โรงแรมรามาการ์เดนท์ ถ.วิภาวดีฯ นพ.ประเวศ วะสี ราษฎรอาวุโส กล่าวภายหลังบรรยายการเสวนาเรื่อง "สมานฉันท์ปรองดองในมุมมองของศาสนาและประชาชน" ถึงการเสนอร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติฯว่าจะสามารถสร้างความปรองดองได้หรือไม่ว่า คงจะค่อนข้างยาก เพราะอย่างที่เห็นเมื่อออกกฎหมายก็ทะเลาะกัน แต่ก็เชื่อว่าสถานการณ์คงไม่รุนแรงนัก เพราะขณะนี้คนไทยเมื่อเกิดความรุนแรงก็จะยั้งคิด ไม่ต้องการความรุนแรง เพราะเคยผ่านมามากแล้ว และความรุนแรงเป็นตัวแปรสำคัญคืออำนาจรัฐ และแม้ว่าใครจะเป็นรัฐบาลก็ไม่อยากให้เกิดขึ้น ซึ่งรัฐต้องจัดการให้ได้
ต่อข้อถามกรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ที่ยังคงเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความขัดแย้งหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า ต้องยอมรับว่าขณะนี้ พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นคนมีอำนาจมากที่สุด แม้จะอยู่นอกประเทศก็ตาม เพราะสามารถสั่งรัฐบาล สั่งพรรคได้ และตนก็อยากฝากถึงพ.ต.ท.ทักษิณ ว่าสิ่งที่ดีที่สุดที่จะทำให้ประเทศไทยเกิดความปรองดองสมานฉันท์ได้นั้น คือการสร้างสังคมที่เป็นธรรม หากพ.ต.ท.ทักษิณที่เป็นคนเก่งสามารถทำเรื่องนี้ได้ก็จะเป็นประวัติศาสตร์ได้เช่น การกระจายอำนาจไปสู่ชุมชน ท้องถิ่น เพราะหากกระจุกอยู่ส่วนกลางจะทำอะไรไม่ได้ คอร์รัปชั่นจะเกิดขึ้นมาก บ้านเมืองแก้ปัญหาอะไรไม่ได้ ทหารก็ทำรัฐประหารได้ง่ายเพราะอำนาจกระจุก ถ้ากระจายไปสู่ชุมชนรัฐประหารทำไม่ได้ คอร์รัปชั่นก็ยาก การแย่งชิงอำนาจก็จะน้อยลง และต้องปฏิรูประบบต่างๆ ให้เป็นธรรมด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า พ.ต.ท.ทักษิณควรเดินทางกลับมาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า บางคนถ้ากลับมาจะทำให้ยุ่ง ซึ่งต้องดูอย่างนายปรีดี พนมยงค์ ที่ไม่มีคดีอะไร แต่เลือกจะไม่เดินทางกลับมา เพราะหากกลับมาห่วงจะเกิดความขัดแย้ง ซึ่งพ.ต.ท.ทักษิณมีคนรักและคนเกลียดเยอะ ก็จะทำให้ยุ่งได้ แต่ถ้าอยู่อย่างนี้ก็มีอำนาจอยู่แล้วและพยายามทำเรื่องดีๆ
ส่วนการที่จะออกก.ม.ปรองดองฯโดยยกเลิกการกระทำจากผลพวงของคณะปฏิวัติ เช่น คตส.เช่นนี้จะเกิดความเป็นธรรมหรือไม่ นพ.ประเวศ กล่าวว่า ขณะนี้สังคมยังขาดความเป็นธรรม เพราะคนจนไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องต่างๆ และพ.ต.ท.ทักษิณก็ควรทำเรื่องนี้ ซึ่งการอยู่ต่างประเทศถ้ากลับมาอาจจะเกิดการต่อสู้กัน วุ่นวายขึ้น หากอยู่ตรงนั้นสามารถดูแลรัฐบาลจากระยะไกลได้
นพ.ประเวศ ยังกล่าวถึงการเรียกร้องให้ พ.ต.ท.ทักษิณ คุยกับพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เพื่อให้ปัญหาจบว่า "คงไม่ต้องคุยกัน ตนไม่คิดอย่างนั้นว่า พ.ต.ท.ทักษิณต้องคุยพล.อ.เปรม ที่พูดคุยกันก็ไม่เห็นได้ผล จุดสำคัญหากเราสร้างสังคมที่เป็นธรรม ก็จะสมานฉันท์เอง"
**ต้องหาทางออกเพื่อคุ้มครองตุลาการ
ที่สำนักงานศาลปกครอง มีการจัดงานโครงการสื่อมวลชนพบศาลปกครอง โดยมีนายหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ประธานศาลปกครองสูงสุด เป็นประธานในการเปิดโครงการและร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ"ศาลปกครองไทยกับการแก้ไขข้อพิพาทในสังคม" ว่า สถานการณ์บ้านเมืองขณะนี้จำเป็นต้องมีองค์กร ที่ทำให้คนในชาติให้ความเชื่อมั่น เนื่องจากจะต้องเป็นองค์กรที่ตัดสินชี้ขาดปัญหาเพื่อให้ทุกฝ่ายยอมรับและทำให้ประเทศชาติเกิดความสงบเรียบร้อย ซึ่งเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นหลายอย่างอาจพัฒนาเป็นสู่สิ่งที่เลวร้าย โดยไม่อยากให้เกิดขึ้นก็ได้
หลายสิบปีที่ผ่านมาตนกล้าพูดว่าองค์กรศาลทำหน้าที่อย่างเต็มที่และสมบูรณ์แบบเพื่อที่จะลดปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าหลังจากที่ศาลปกครองมีคำสั่งในเรื่องใดๆ ที่ผ่านมา ทุกอย่างก็จะอยู่ในความสงบ ทุกฝ่ายให้การยอมรับ
นายหัสวุฒิ กล่าวอีกว่า คนในสังคมต้องใจกว้างต้องรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นที่แตกต่างจากเรา ทุกสิ่งเป็นก็ไปตามระบบ ไม่มีการเล่นนอกกติกายอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง เพราะเป็นธรรมชาติของมนุษย์ของการอยู่ร่วมกันในระบอบประชาธิปไตย การมีความเห็นแตกต่างกันไม่ใช่เรื่องเสียหาย แต่เราต้องสอนให้คนในประเทศยอมรับความเห็นที่ต่างกัน จึงจะสามารถอยู่ร่วมกันได้
“ศาลเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจรัฐหนึ่งในสามอำนาจที่สูงสุด แต่ไม่มีอำนาจเมื่อเปรียบเทียบกับองค์กรอื่น อาทิ รัฐบาล รัฐสภา เพราะศาลจะใช้อำนาจตุลาการไปทำเรื่องใดเรื่องหนึ่งด้วยตัวเองไม่ได้ จำเป็นต้องมีผู้มาฟ้องคดี ถ้าไม่มีผู้ฟ้องคดีถึงจะเป็นเรื่องใหญ่ศาลก็ดำเนินการเองไม่ได้ และที่พูดกันว่าตุลาการภิวัฒน์ ก็ไม่รู้ว่าผู้พูดเข้าใจความหมายที่แท้จริงหรือไม่ จริงๆตุลาการภิวัฒน์ เป็นเรื่องของการใช้อำนาจในคดีตามหลักกฎหมายที่ต้องอธิบายได้ ไม่ใช่การใช้อำนาจตามอำเภอใจ และข้อกฎหมาย ศาลไม่ได้ตราขึ้นมาเอง ศาลจึงไม่ได้มีอำนาจเหมือนฝ่ายอื่นๆ ดังนั้นที่กล่าวหาว่าศาลมีอำนาจมากเกินไปและไม่เคยถูกตรวจสอบ ไม่เป็นความจริงเลย เพราะศาลปกครองก็ต้องทำรายงานไปรัฐสภา จึงไม่เห็นด้วยหากมีการรวมรวม เพราะเชื่อว่าประชาชนจะไม่ได้ประโยชน์อะไร แต่เป็นการถอยหลังไปสู่ยุคก่อนปี พ.ศ.2540
อย่างไรก็ตามประธานศาลปกครองสูงสุด ยังเรียกร้องว่า ประเทศไทยน่าจะถึงเวลาที่มีระบบการคุ้มครองผู้พิพากษา ตุลาการ รวมถึงครอบครัวอย่างจริงจัง เช่นในต่างประเทศ ไม่ใช่พอมีเรื่องก็จะมีการส่งเจ้าหน้าที่มาคุ้มกันเป็นครั้งๆไป เหมือนที่ทำอยู่ในปัจจุบัน เพราะการตัดสินคดีของศาลในทุกคดีล้วนแต่มีความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับความเป็นความตายทั้งสิ้น
**วิปรัฐจัดเสวนา ทบทวนปรองดอง
ที่รัฐสภา นายอุดมเดช รัตนเสถียร ส.ส.นนทบุรี พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร (วิปรัฐบาล) กล่าวถึงการปิดสมัยประชุมสามัญ นิติบัญญัติ ว่า กระบวนการปิดสมัยประชุมอยู่ที่พระราชกฤษฎีกาที่จะตราออกมา หากออกมาในวัดใด และระยะเวลาที่เหลืออยู่ ประธานสภาฯ ไม่ได้นัดประชุม ก็ถือว่าไม่มีการประชุมแล้ว
เมื่อถามว่าพรรคเพื่อไทยจะเดินสายทำความเข้าใจกฎหมายปรองดองหรือไม่ นายอุดมเดช กล่าวว่า จริงๆ ในคณะกมธ.ปรองดองฯ ที่มีพล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นประธานฯ ได้พูดอย่างชัดเจน ถึงสิ่งที่สถาบันพระปกเกล้า เสนอมาให้มีการจัดเวทีสานเสวนา เราก็ต้องทำให้เข้มแข็งขึ้น
เมื่อถามว่าขณะนี้สภาฯ ดำเนินการข้ามขั้นตอนโดยการออกกฎหมาย ก่อนแล้วค่อยจัดเวทีสานเสวนาทีหลัง จะมีผลสอดรับกันได้อย่างไร นายอุดมเดช กล่าวว่า ต้องย้อนไปดูว่าสถาบันพระปกเกล้าล่าสุดเขาบอกว่า เขาไม่ให้ความร่วมมือในการดำเนินการส่วนนี้ เมื่อมีความเห็นมาเช่นนั้นจะให้รัฐบาลทำอย่างไร ขอยืนยันว่ารัฐบาลอ้างอิงสถาบันพระปกเกล้า
เมื่อถามว่าล่าสุด นายคณิต ออกมาท้วงติงเรื่องตัวเนื้อหาของกฎหมายปรองดอง ว่าจะเป็นการทำลายระบบยุติธรรม นายอุดมเดช กล่าวว่า นั่นก็อยู่ในส่วนของความเห็นของท่าน การที่จะเอากฎหมายดังกล่าวเข้ามา ไม่ใช่ว่าจะสำเร็จรูป เพราะยังมีคณะกรรมาธิการฯ ทำหน้าที่พิจารณาอีก ข้อท้วงติงต่างๆก็สามารถไปปรับปรุงแก้ไขได้ ในชั้นกรรมาธิการฯ ทั้งนี้มีโอกาสที่จะทบทวนว่าจะเข้ามาสู่ในระยะเวลาใดที่เหมาะสม
**มาร์คจี้รบ.ทบทวนร่างปรองดอง
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวเรียกร้องให้รัฐบาลถอน ร่างพรบ.ปรองดองที่มีเนื้อหานิรโทษกรรมคนทุจริตออกจากการประชุมสภา แทนที่จะชะลอปัญหาโดยไม่พิจารณาในสมัยประชุมนี้เท่านั้น โดยในระหว่างการปิดสมัยประชุมรัฐบาลต้องทบทวนเรื่องเหล่านี้ เพราะหากเปิดประชุมในเดือนสิงหาคม หรือรัฐบาลจะเปิดสภาสมัยวิสามัญ ก็จะย้อนกลับไปสู่สถานการณ์ความขัดแย้งที่นำไปสู่การเผชิญหน้าโดยไม่เป็นผลดีกับใครทั้งสิ้น
ทั้งนี้ อยากให้รัฐบาลได้ยึดตามแนวทางที่ คอป. สถาบันพระปกเกล้า รวมทั้งความเห็นของนายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย แต่ถ้ารัฐบาลไม่ฟังก็เท่ากับทำทั้งหมด เพื่อ พ.ต.ท.ทักษิณ กับพวก โดยนำเอาความปรองดองมาบังหน้าเท่านั้น และไม่อยากให้รัฐบาลมองว่าผู้คัดค้านจะมีจำนวนมากหรือน้อย แต่ต้องพิจารณาว่า การผลักดันร่างกฎหมายดังกล่าวเป็นสิ่งที่พึงกระทำหรือไม่ และต้องถามว่าการช่วยให้คนทุจริตพ้นผิดเป็นแนวทางของรัฐบาลได้อย่างไร
“ผมคิดว่าการเลือกที่จะชะลอปัญหาออกไปเป็นเรื่องดี แต่แปลกใจนักการเมืองอย่างนายจาตุรนต์ (ฉายแสง) กลับพยายามชักชวนให้คนในรัฐบาลสร้างปมความขัดแย้งขึ้นมาอีก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
**ฟัดกันเอง“ก่อแก้ว”ด่าค้อนปลอม
อีกด้าน นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงถึงกรณีนายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย แกนนำคนเสื้อแดง ระบุการกระทำของนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา ที่สั่งเลื่อนการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 ออกไป เป็นการสร้างรอยด่างให้รัฐสภาว่า การตัดสินใจของนายสมศักดิ์ยึดผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ใช่ผลประโยชน์ของกลุ่มหรือพรรค เมื่อพรรคเพื่อไทยมีมติให้นายสมศักดิ์ตัดสินใจเรื่องการลงมติแก้รัฐธรรมนูญ วาระ 3 แล้ว หากนายก่อแก้วเป็นสมาชิกพรรคที่ดีก็ควรวิพากษ์วิจารณ์ในพรรค ไม่ใช่พูดผ่านสื่อ ทั้งนี้หากนายก่อแก้วเคารพเสียงข้างมาก และระบอบประชาธิปไตย จะมาใช้ความรู้สึกส่วนตัวไม่ได้ ถ้านายก่อแก้วรับมติพรรคไม่ได้ ก็ควรพิจารณาตัวเอง
"ยืนยันว่า การตัดสินใจของนายสมศักดิ์ไม่ได้ถูกครอบงำจากตุลาการ แม้นายสมศักดิ์เหนื่อยและหนักใจมากกับการตัดสินใจเรื่องนี้ แต่เป็นการทำหน้าที่อย่างสง่างาม ไม่ได้สร้างรอยด่างให้รัฐสภา"นายวัฒนากล่าว
ด้านนายก่อแก้ว กล่าวถึงกรณีที่มีรายงานข่าวว่า พ.ต.ท.ทักษิณ โทรศัพท์มาต่อว่า ว่า ไม่มีการคุยเรื่องดังกล่าวกับพ.ต.ท.ทักษิณ มีเพียงการถามไถ่สารทุกข์สุกดิบเท่านั้น เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องภายในของกรรมการบริหารพรรค ส.ส.เพื่อไทย และประธานรัฐสภา พ.ต.ท.ทักษิณไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย รวมไปถึงไม่มีผู้ใหญ่คนใดในพรรคโทรมาต่อว่าตน เพราะทุกคนเคารพความคิดเห็นที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้คนเสื้อแดงมีความอดทนเพื่อรอดูสถานการณ์ ไม่ได้มีปฏิกิริยาอะไรมากมาย เพราะรู้ว่าพวกตนพยายามผลักดันเรื่องนี้อย่างเต็มที่ ไม่ยอมให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญตกไปอย่างแน่นอน แต่ตอนนี้ต้องแจ้งให้มวลชนรับทราบข้อมูลเป็นระยะๆ เพราะขั้นตอนต่างๆ จะเกิดขึ้นหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยออกมา ซึ่งเชื่อว่าคงจะไม่นานหลังจากนี้ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องมีการเปิดประชุมสมัยวิสามัญเพื่อลงมติในวาระที่ 3
ส่วนกรณีที่พรรคประชาธิปัตย์จะจัดเวทีเสวนา “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ที่หน้าสำนักงานเขต มีนบุรีในวันที่ 15 มิ.ย.นี้ พรรคเพื่อไทย ก็เตรียมจัดเวทีปราศรัยเช่นกันในวันที่ 16 มิ.ย.นี้ เวลา 16.00 น. ใช้ชื่อว่า “เพื่อไทย ความจริงเพื่อประชาธิปไตย”นำโดย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายจตุพร พรหม พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย นายสุนัย จุลพงศ์ และนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว