ASTVผู้จัดการรายวัน-เพื่อไทย ไอ้เสือถอย เลื่อนลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 และพ.ร.บ.ปรองดอง ออกไปสมัยประชุมหน้า แต่ทิ้งท้ายเปิดสภาเมื่อไร พิจารณาได้ทันที ปชป.ชี้ระเบิดเวลาถูกโยนไปเดือน ส.ค. ช่วงนี้แค่ถอดชนวนชั่วคราว "ยะใส"จี้ นปช. ทบทวนท่าที หลังถูกหลอกซ้ำๆ ด้านธิดาแดง ไม่สน เตรียมเคลื่อนไหวต่อ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ วานนี้ (13 มิ.ย.) ซึ่งเริ่มเวลา 09.30 น. มีเพียงวาระเร่งด่วน 2 เรื่องที่ต้องเร่งพิจารณาให้เสร็จก่อนปิดสมัยประชุมรัฐสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอทั้ง 2 ฉบับ โดยไม่ได้บรรจุร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... ในระเบียบวาระการประชุม
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวก่อนการประชุมว่า แม้จะมีการเลื่อนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติออกไป แต่ในสมัยประชุมหน้าจะสามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
ส่วนกรณีที่เสียงสนับสนุนให้ที่ประชุมรัฐสภานำเรื่องอื่นมาพิจารณาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตติ ไม่เพียงพอนั้น ไม่ใช่ความล้มเหลวของการประสานงานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล แต่เชื่อว่ามาจากความไม่เข้มงวดของพรรคร่วมที่ไม่กำชับให้ส.ส.ของพรรคร่วมสนับสนุนเรื่องนี้ อีกทั้งยังมีความประมาท ดังนั้น ทางพรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา ที่เสียงของส.ส.หายไปถึง 8 เสียง ต้องมาชี้แจงถึงเหตุผลว่าทำไมถึงไม่เข้าร่วม ทั้งนี้ มองว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องรายงานข้อมูลไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
สำหรับประเด็นที่มีส.ส.พรรคภูมิใจไทย ในฐานะพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมลงเสียงสนับสนุนถึง 7 เสียงนั้น มองว่าเป็นการสนับสนุนในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ ที่เห็นว่าคำสั่งของศาลไม่ควรมีผลผูกพันกับฝ่ายนิติบัญญัติ และมาจากจิตสำนึกไม่ใช่เป็นการส่งสัญญาณจะเข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผลการลงมติเรื่องนี้ ตนเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการลงมติในวาระอื่นๆ ของรัฐบาล
"ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยที่หายไป 16 เสียงนั้น ส่วนใหญ่เป็นส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรี และทราบว่ามีอีก 2 คนที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ดังนั้น ในส่วนของพรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา" นายอุดมเดชกล่าว
ทั้งนี้ ญัตติที่ให้ลงมติว่าคำสั่งศาลมีผลผูกพันต่อรัฐสภาหรือไม่นั้น เท่ากับยังค้างอยู่ในการพิจารณา เพราะการลงมติ ซึ่งเสียงไม่เพียงพอ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. เป็นแค่การขอให้ที่ประชุมนำเรื่องอื่นมาพิจารณาเท่านั้น ส่วนจะนำญัตติดังกล่าวมาพิจารณาในที่ประชุมอีกหรือไม่ ต้องมาพิจารณาอีกครั้ง หากช่วงก่อนที่จะพิจารณาในญัตติ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคำร้องถึงที่สุดแล้ว คงไม่มีความจำเป็นนำญัตติดังกล่าวมาพิจารณาอีก
**"เต้น"วอนมวลชนเข้าใจรัฐบาล
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า สถานการณ์แบบนี้รัฐสภาควรมีความมั่นคงและแสดงจุดยืนให้ชัดเจน และปฏิเสธการแทรกแซงก้าวก่ายของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรใดที่จะทำให้โครงสร้างประชาธิปไตยบิดเบี้ยวสับสน โดยความเห็นส่วนตัวยังเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อที่ประชุม ครม. สรุปเช่นนั้น ก็ต้องเป็นมติ แต่ก็อยากให้ที่ประชุม ครม. เคารพความเห็นของตนด้วย
ทั้งนี้ เห็นว่า การที่รัฐสภาชะลอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการยอมรับท่าทีบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ หากเขาตัดสินว่าบทบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้กระบวนการแก้ไขโดยชอบเข้าสู่วิกฤตอย่างแท้จริง และจะนำไปสู่วิกฤตการเมืองอย่างแน่นอน อีกด้านหากเดินหน้าวาระ 3 ในขณะนี้ ก็จะมีฝ่ายตรงข้ามหยิบเป็นประเด็นขัดคำสั่งศาล และหากลงมติวาระ 3 แล้ว กฎหมายก็กำหนดให้นายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ใน 20 วัน หากศาลชี้ว่ามีปัญหา ก็ต้องตีความว่าหากชะลอเกิน 20 วันจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และจะทำอย่างไร เป็นหมากบังคับให้เดินเข้าไปในพื้นที่อันตราย
"ในสถานการณ์แบบนี้ อยากให้ประชาชนได้ติดตามเหตุการณ์ด้วยความเข้าใจสถานะที่รัฐบาลเผชิญอยู่ แม้ว่ามุมความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญจะต่างกัน แต่ที่ทุกฝ่ายเห็นตรง คือ สถานการณ์การเมืองไม่เดินออกไปจากวงของความขัดแย้ง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่อาจจะอยู่ในจุดที่ปลอดภัยเลย" นายณัฐวุฒิกล่าว
***"เหลิม"กลับลำเห็นด้วยชะลอไปก่อน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่รัฐสภาชะลอ ตนเห็นด้วยและก็ยืนยันมาตั้งแต่ต้น แม้จะเป็นนโยบายของพรรค แต่รัฐบาลมีเวลาบริหารตั้ง 4 ปี ดังนั้น ควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนก่อนดีกว่า และการที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมายืนยันว่าการดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากใครได้ฟังตนพูดในสภาก็จะเข้าใจ เพราะได้พูดในตัวบทกฎหมายไปหมดแล้ว
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 กล่าวว่า ทีท่าของรัฐสภาที่ชัดเจนควรจะชะลอร่างพ.ร.บ.ปรองดองออกไปก่อน และควรนำจังหวะนี้ ไปฟังความเห็นของสังคม ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอย้ำว่า มีการทำผิดขั้นตอน เพราะตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องแล้ว ควรผ่านช่องทางอัยการสูงสุดเท่านั้น
**ปชป.ชี้ระเบิดเวลากลับมา ส.ค.
ส่วนท่าที่พรรคฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่กล้าไปวิเคราะห์ แต่ถือว่าเป็นโชคดี ที่มตินี้ไม่ผ่านออกไป เพราะจะเป็นมติที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายตุลาการ
“ถ้าไม่มีมติแล้ว อย่างน้อยที่สุดเราก็ไม่มีการเผชิญหน้า ส่วนการที่จะดำเนินการเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างไรนั้น ก็ต้องขอบคุณท่านประธานสมศักดิ์ ที่ท่านได้ตัดสินใจ แต่ว่าการผ่อนคลายตรงนี้ ผมก็คิดว่าน่าจะต้องทำให้รัฐบาลไปคิดต่อว่า ตกลงแล้ว แค่เพียงจะปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ หรือเปล่า เพราะว่าในที่สุดแล้ว พอเดือนส.ค. ปม 2 เรื่องนี่ก็ยังอยู่ในวาระเป็นเรื่องแรก”
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จะเดินหน้าเวทีประชาชน “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ต่อ แต่จะปรับรูปแบบมาเป็นสานเสวนาประชาชนเหมือนที่เคยดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ก่อนหน้านี้ โดยในวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย.นี้ จะจัดที่สำนักงานเขตมีนบุรี และจะจัดเวทีในลักษณะเดียวกันนี้ทุกวันเสาร์ ซึ่งจะหมุนเวียนไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
**"จุรินทร์"เชื่อแค่ถอดชนวนชั่วคราว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปค้าน) กล่าวว่า สะท้อนให้เห็นว่ามี ส.ว. หลายคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าคำสั่งศาลเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นแค่การถอดชนวน เพื่อให้ความขัดแย้งยุติชั่วคราว ตนเชื่อว่าเรื่องนี้ ยังไม่จบ และยังมีความพยายามที่จะต้องผลักดันทำให้เสร็จตามใบสั่งต่อไป
ส่วนส.ส.เพื่อไทยที่ไม่ร่วมลงมติ ตนมองว่า หลายคนอาจจะมีความกังวลว่า หากมาลงมติก็จะมีความผิดติดตัวไปด้วย และจะมีผลกระทบต่อสถานะภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะคำสั่งศาลได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่ง ส.ส. ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ขณะที่ความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นเรื่องในอนาคต เพราะ 3 อำนาจทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ก็คานกันอยู่ ซึ่งศาลก็มีอำนาจในฐานะตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติก็มีอำนาจในการออกกฎหมาย ทั้งนี้เรื่องทั้งหมดต้องอยู่ที่ความสมดุลระหว่างแต่ละอำนาจว่าควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งตนมองว่าปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาเรื่องอำนาจถ่วงดุล แต่มีปัญหาเรื่องตัวบุคคลที่ไม่พอใจศาล และนำมาซึ่งความคิดที่ต้องการไปลบล้างอำนาจศาล โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือดำเนินการด้วยวิถีทางใดวิถีทางหนึ่ง ส่วนที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องไปชี้แจงต่อศาลหรือไม่นั้น ตนไม่สามารถตอบได้ แต่เห็นควรว่าจะต้องเป็นไปตามระเบียบ
** จี้ นปช. ทบทวน ระวังถูกหลอกซ้ำ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า เชื่อว่าคงเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประเมินแล้วไม่คุ้มกับผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว หากขัดขืนคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ปลุกระดมถอดถอนตุลาการ แต่การกลับไปกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในครั้งนี้ เป็นบทพิสูจน์ว่าไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการอะไรทั้งสิ้น เป็นเพียง “หลักกู” เอาแต่ได้ ถ้าประเมินแล้วได้ไม่คุ้มเสีย ก็พร้อมเลี้ยวกลับทันที
"วันนี้เป็นอีกครั้งที่คนเสื้อแดงที่ต่อสู้ด้วยความสุจริตใจ จะต้องทบทวนจุดยืนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ให้ถูกหลอกใช้ไปวันๆ เหมือนที่ผ่านมา และถ้าคนเสื้อแดงสู้เพื่อประชาธิปไตยจริง ก็ต้องดำเนินการถอดถอนประธานสภาผู้แทนราษฎรแทน 7 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถึงจะถูกต้อง”นายสุริยะใสกล่าว
**สดศรีแนะศาลรัฐธรรมนูญคุยสภา
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ควรจะมีการพูดคุยกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ ที่มีคำสั่งระงับลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่า การเลื่อนลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ออกไปนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่เชื่อว่าจะสามารถลดความขัดแย้งในบ้านเมือง การเมืองไม่สับสน และทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น และยังเป็นการให้เวลาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาในการรับคำร้องที่ยับยั้งการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ด้วย
ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ได้กลับมาทำลายการเมืองนั้น นางสดศรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตุลาการ มีบทบาทมาโดยตลอด แต่ต้องถือกฎหมายเป็นสำคัญ และตุลาการควรใช้บทบาทตุลาการมากกว่าการเมือง
**นปช.เตรียมเคลื่อนไหวต่อ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. กล่าวว่า คนเสื้อแดง คงย้ำจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนเดิม คือ เห็นว่าต้องมีการแก้ไข เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเหมือนแนวคิดพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมือง ที่ต้องการอยู่ในอำนาจการบริหารนานๆ แต่คนเสื้อแดง เป็นกลุ่มนักต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย หลังจากนี้ แกนนำจะวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดก่อนจะกำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อไป
"การเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะการตั้งเวทีปราศรัย ตนเห็นว่าเป็นการพยายามเลียนแบบคนเสื้อแดงและเป็นการชี้ให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ ละทิ้งความสำคัญของการเมืองในรัฐสา และมาให้ความสำคัญกับการเมืองนอกสภา"
**"คณิต"จี้ทบทวนเนื้อหาร่างปรองดอง
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ให้เลื่อนการพิจารณาออกไป เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และทบทวนเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวถึงหลักความชอบธรรมด้วยกฎหมาย (Legality) หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of power) หลักนิติรัฐ (Legal State) หรือหลักนิติธรรม (Rule of law) และหลักสิทธิมนุษยชน (Human rights)
**เชียร์ตุลาการรัฐธรรมนูญ
อีกด้านที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนกว่า 100 คน ประกอบด้วยกลุ่มธรรมาภิบาล กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มเครือข่ายชาติมั่นคง กลุ่มเครือข่ายปัญญาสยาม กลุ่มเครือข่ายประชาชนต่อต้านอธรรม กลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน กลุ่มเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน กลุ่มสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน เดินทางมายังศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมนำช่อดอกไม้ให้กำลังใจ รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการทำหน้าที่ต่อไป
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เป็นพิเศษ วานนี้ (13 มิ.ย.) ซึ่งเริ่มเวลา 09.30 น. มีเพียงวาระเร่งด่วน 2 เรื่องที่ต้องเร่งพิจารณาให้เสร็จก่อนปิดสมัยประชุมรัฐสภา สมัยสามัญนิติบัญญัติ ในวันที่ 19 มิ.ย.นี้ ได้แก่ ร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ฉบับที่...) พ.ศ. ... และร่างพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย พ.ศ. ... ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นผู้เสนอทั้ง 2 ฉบับ โดยไม่ได้บรรจุร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... ในระเบียบวาระการประชุม
นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) กล่าวก่อนการประชุมว่า แม้จะมีการเลื่อนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญในวาระ 3 และพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติออกไป แต่ในสมัยประชุมหน้าจะสามารถพิจารณาเรื่องดังกล่าวได้ และจะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง
ส่วนกรณีที่เสียงสนับสนุนให้ที่ประชุมรัฐสภานำเรื่องอื่นมาพิจารณาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัตติ ไม่เพียงพอนั้น ไม่ใช่ความล้มเหลวของการประสานงานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล แต่เชื่อว่ามาจากความไม่เข้มงวดของพรรคร่วมที่ไม่กำชับให้ส.ส.ของพรรคร่วมสนับสนุนเรื่องนี้ อีกทั้งยังมีความประมาท ดังนั้น ทางพรรคร่วมรัฐบาล เช่น พรรคชาติไทยพัฒนา ที่เสียงของส.ส.หายไปถึง 8 เสียง ต้องมาชี้แจงถึงเหตุผลว่าทำไมถึงไม่เข้าร่วม ทั้งนี้ มองว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องรายงานข้อมูลไปถึง พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ
สำหรับประเด็นที่มีส.ส.พรรคภูมิใจไทย ในฐานะพรรคร่วมฝ่ายค้าน ร่วมลงเสียงสนับสนุนถึง 7 เสียงนั้น มองว่าเป็นการสนับสนุนในฐานะสมาชิกสภานิติบัญญัติ ที่เห็นว่าคำสั่งของศาลไม่ควรมีผลผูกพันกับฝ่ายนิติบัญญัติ และมาจากจิตสำนึกไม่ใช่เป็นการส่งสัญญาณจะเข้าร่วมรัฐบาล อย่างไรก็ตาม ผลการลงมติเรื่องนี้ ตนเชื่อว่าจะไม่กระทบต่อการลงมติในวาระอื่นๆ ของรัฐบาล
"ส.ส.ของพรรคเพื่อไทยที่หายไป 16 เสียงนั้น ส่วนใหญ่เป็นส.ส. ที่เป็นรัฐมนตรี และทราบว่ามีอีก 2 คนที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล ดังนั้น ในส่วนของพรรคเพื่อไทยไม่มีปัญหา" นายอุดมเดชกล่าว
ทั้งนี้ ญัตติที่ให้ลงมติว่าคำสั่งศาลมีผลผูกพันต่อรัฐสภาหรือไม่นั้น เท่ากับยังค้างอยู่ในการพิจารณา เพราะการลงมติ ซึ่งเสียงไม่เพียงพอ เมื่อวันที่ 12 มิ.ย. เป็นแค่การขอให้ที่ประชุมนำเรื่องอื่นมาพิจารณาเท่านั้น ส่วนจะนำญัตติดังกล่าวมาพิจารณาในที่ประชุมอีกหรือไม่ ต้องมาพิจารณาอีกครั้ง หากช่วงก่อนที่จะพิจารณาในญัตติ ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยในคำร้องถึงที่สุดแล้ว คงไม่มีความจำเป็นนำญัตติดังกล่าวมาพิจารณาอีก
**"เต้น"วอนมวลชนเข้าใจรัฐบาล
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และแกนนำคนเสื้อแดง กล่าวว่า สถานการณ์แบบนี้รัฐสภาควรมีความมั่นคงและแสดงจุดยืนให้ชัดเจน และปฏิเสธการแทรกแซงก้าวก่ายของศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรใดที่จะทำให้โครงสร้างประชาธิปไตยบิดเบี้ยวสับสน โดยความเห็นส่วนตัวยังเป็นเช่นนั้น แต่เมื่อที่ประชุม ครม. สรุปเช่นนั้น ก็ต้องเป็นมติ แต่ก็อยากให้ที่ประชุม ครม. เคารพความเห็นของตนด้วย
ทั้งนี้ เห็นว่า การที่รัฐสภาชะลอการลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลายเป็นการยอมรับท่าทีบทบาทของศาลรัฐธรรมนูญ หากเขาตัดสินว่าบทบัญญัติขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะทำให้กระบวนการแก้ไขโดยชอบเข้าสู่วิกฤตอย่างแท้จริง และจะนำไปสู่วิกฤตการเมืองอย่างแน่นอน อีกด้านหากเดินหน้าวาระ 3 ในขณะนี้ ก็จะมีฝ่ายตรงข้ามหยิบเป็นประเด็นขัดคำสั่งศาล และหากลงมติวาระ 3 แล้ว กฎหมายก็กำหนดให้นายกฯ ต้องนำขึ้นทูลเกล้าฯ ใน 20 วัน หากศาลชี้ว่ามีปัญหา ก็ต้องตีความว่าหากชะลอเกิน 20 วันจะขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ และจะทำอย่างไร เป็นหมากบังคับให้เดินเข้าไปในพื้นที่อันตราย
"ในสถานการณ์แบบนี้ อยากให้ประชาชนได้ติดตามเหตุการณ์ด้วยความเข้าใจสถานะที่รัฐบาลเผชิญอยู่ แม้ว่ามุมความคิดเรื่องรัฐธรรมนูญจะต่างกัน แต่ที่ทุกฝ่ายเห็นตรง คือ สถานการณ์การเมืองไม่เดินออกไปจากวงของความขัดแย้ง รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งไม่อาจจะอยู่ในจุดที่ปลอดภัยเลย" นายณัฐวุฒิกล่าว
***"เหลิม"กลับลำเห็นด้วยชะลอไปก่อน
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การที่รัฐสภาชะลอ ตนเห็นด้วยและก็ยืนยันมาตั้งแต่ต้น แม้จะเป็นนโยบายของพรรค แต่รัฐบาลมีเวลาบริหารตั้ง 4 ปี ดังนั้น ควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาเรื่องปากท้องของประชาชนก่อนดีกว่า และการที่เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาออกมายืนยันว่าการดำเนินการของรัฐบาลในเรื่องดังกล่าวไม่ขัดรัฐธรรมนูญ ซึ่งหากใครได้ฟังตนพูดในสภาก็จะเข้าใจ เพราะได้พูดในตัวบทกฎหมายไปหมดแล้ว
นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา อดีตสมาชิกบ้านเลขที่ 111 กล่าวว่า ทีท่าของรัฐสภาที่ชัดเจนควรจะชะลอร่างพ.ร.บ.ปรองดองออกไปก่อน และควรนำจังหวะนี้ ไปฟังความเห็นของสังคม ส่วนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ขอย้ำว่า มีการทำผิดขั้นตอน เพราะตามหลักกฎหมายที่ถูกต้องแล้ว ควรผ่านช่องทางอัยการสูงสุดเท่านั้น
**ปชป.ชี้ระเบิดเวลากลับมา ส.ค.
ส่วนท่าที่พรรคฝ่ายค้าน นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ตนไม่กล้าไปวิเคราะห์ แต่ถือว่าเป็นโชคดี ที่มตินี้ไม่ผ่านออกไป เพราะจะเป็นมติที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้ามากยิ่งขึ้นระหว่างฝ่ายนิติบัญญัติ กับฝ่ายตุลาการ
“ถ้าไม่มีมติแล้ว อย่างน้อยที่สุดเราก็ไม่มีการเผชิญหน้า ส่วนการที่จะดำเนินการเรื่องรัฐธรรมนูญอย่างไรนั้น ก็ต้องขอบคุณท่านประธานสมศักดิ์ ที่ท่านได้ตัดสินใจ แต่ว่าการผ่อนคลายตรงนี้ ผมก็คิดว่าน่าจะต้องทำให้รัฐบาลไปคิดต่อว่า ตกลงแล้ว แค่เพียงจะปล่อยเวลาผ่านไปเฉยๆ หรือเปล่า เพราะว่าในที่สุดแล้ว พอเดือนส.ค. ปม 2 เรื่องนี่ก็ยังอยู่ในวาระเป็นเรื่องแรก”
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า จะเดินหน้าเวทีประชาชน “ผ่าความจริง หยุดกฎหมายล้างผิดคนโกง” ต่อ แต่จะปรับรูปแบบมาเป็นสานเสวนาประชาชนเหมือนที่เคยดำเนินการในพื้นที่ภาคใต้ก่อนหน้านี้ โดยในวันศุกร์ที่ 15 มิ.ย.นี้ จะจัดที่สำนักงานเขตมีนบุรี และจะจัดเวทีในลักษณะเดียวกันนี้ทุกวันเสาร์ ซึ่งจะหมุนเวียนไปตามภูมิภาคต่างๆ ทั่วประเทศ
**"จุรินทร์"เชื่อแค่ถอดชนวนชั่วคราว
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปค้าน) กล่าวว่า สะท้อนให้เห็นว่ามี ส.ว. หลายคนที่ไม่เห็นด้วย เพราะถือว่าคำสั่งศาลเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว จึงเป็นแค่การถอดชนวน เพื่อให้ความขัดแย้งยุติชั่วคราว ตนเชื่อว่าเรื่องนี้ ยังไม่จบ และยังมีความพยายามที่จะต้องผลักดันทำให้เสร็จตามใบสั่งต่อไป
ส่วนส.ส.เพื่อไทยที่ไม่ร่วมลงมติ ตนมองว่า หลายคนอาจจะมีความกังวลว่า หากมาลงมติก็จะมีความผิดติดตัวไปด้วย และจะมีผลกระทบต่อสถานะภาพความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพราะคำสั่งศาลได้มีการสั่งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ซึ่ง ส.ส. ก็ถือเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ขณะที่ความเห็นของเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ถือเป็นเรื่องในอนาคต เพราะ 3 อำนาจทั้งฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ ก็คานกันอยู่ ซึ่งศาลก็มีอำนาจในฐานะตุลาการ ฝ่ายนิติบัญญัติก็มีอำนาจในการออกกฎหมาย ทั้งนี้เรื่องทั้งหมดต้องอยู่ที่ความสมดุลระหว่างแต่ละอำนาจว่าควรจะเป็นอย่างไร ซึ่งตนมองว่าปัจจุบันไม่ได้มีปัญหาเรื่องอำนาจถ่วงดุล แต่มีปัญหาเรื่องตัวบุคคลที่ไม่พอใจศาล และนำมาซึ่งความคิดที่ต้องการไปลบล้างอำนาจศาล โดยการแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือดำเนินการด้วยวิถีทางใดวิถีทางหนึ่ง ส่วนที่ว่าบุคคลที่เกี่ยวข้องต้องไปชี้แจงต่อศาลหรือไม่นั้น ตนไม่สามารถตอบได้ แต่เห็นควรว่าจะต้องเป็นไปตามระเบียบ
** จี้ นปช. ทบทวน ระวังถูกหลอกซ้ำ
นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานกลุ่มกรีน กล่าวว่า เชื่อว่าคงเกิดจากการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ประเมินแล้วไม่คุ้มกับผลกระทบที่จะตามมาในระยะยาว หากขัดขืนคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านี้ ปลุกระดมถอดถอนตุลาการ แต่การกลับไปกลับมาของ พ.ต.ท.ทักษิณ ในครั้งนี้ เป็นบทพิสูจน์ว่าไม่ได้ยืนอยู่บนหลักการอะไรทั้งสิ้น เป็นเพียง “หลักกู” เอาแต่ได้ ถ้าประเมินแล้วได้ไม่คุ้มเสีย ก็พร้อมเลี้ยวกลับทันที
"วันนี้เป็นอีกครั้งที่คนเสื้อแดงที่ต่อสู้ด้วยความสุจริตใจ จะต้องทบทวนจุดยืนต่อ พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ให้ถูกหลอกใช้ไปวันๆ เหมือนที่ผ่านมา และถ้าคนเสื้อแดงสู้เพื่อประชาธิปไตยจริง ก็ต้องดำเนินการถอดถอนประธานสภาผู้แทนราษฎรแทน 7 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญถึงจะถูกต้อง”นายสุริยะใสกล่าว
**สดศรีแนะศาลรัฐธรรมนูญคุยสภา
นางสดศรี สัตยธรรม กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ควรจะมีการพูดคุยกันว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญทำอะไรผิดพลาดหรือไม่ ที่มีคำสั่งระงับลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 เพราะโดยส่วนตัวเห็นว่า การเลื่อนลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญวาระ 3 ออกไปนั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.) แต่เชื่อว่าจะสามารถลดความขัดแย้งในบ้านเมือง การเมืองไม่สับสน และทำให้เกิดความโปร่งใสมากขึ้น และยังเป็นการให้เวลาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ได้พิจารณาในการรับคำร้องที่ยับยั้งการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ด้วย
ส่วนกรณีที่มีการระบุว่า ขบวนการตุลาการภิวัฒน์ ได้กลับมาทำลายการเมืองนั้น นางสดศรี กล่าวว่า ที่ผ่านมาตุลาการ มีบทบาทมาโดยตลอด แต่ต้องถือกฎหมายเป็นสำคัญ และตุลาการควรใช้บทบาทตุลาการมากกว่าการเมือง
**นปช.เตรียมเคลื่อนไหวต่อ
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ ประธาน นปช. กล่าวว่า คนเสื้อแดง คงย้ำจุดยืนการแก้ไขรัฐธรรมนูญเหมือนเดิม คือ เห็นว่าต้องมีการแก้ไข เรื่องนี้ไม่จำเป็นต้องเหมือนแนวคิดพรรคเพื่อไทย เนื่องจากพรรคเพื่อไทยเป็นพรรคการเมือง ที่ต้องการอยู่ในอำนาจการบริหารนานๆ แต่คนเสื้อแดง เป็นกลุ่มนักต่อสู้เรียกร้องเพื่อให้ได้มาซึ่งประชาธิปไตย หลังจากนี้ แกนนำจะวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆอย่างใกล้ชิดก่อนจะกำหนดกิจกรรมเคลื่อนไหวต่อไป
"การเคลื่อนไหวของพรรคประชาธิปัตย์ โดยเฉพาะการตั้งเวทีปราศรัย ตนเห็นว่าเป็นการพยายามเลียนแบบคนเสื้อแดงและเป็นการชี้ให้เห็นว่า พรรคประชาธิปัตย์ ละทิ้งความสำคัญของการเมืองในรัฐสา และมาให้ความสำคัญกับการเมืองนอกสภา"
**"คณิต"จี้ทบทวนเนื้อหาร่างปรองดอง
นายคณิต ณ นคร ประธานคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ได้ทำหนังสือบันทึกความเห็นและข้อเสนอแนะ เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... เสนอต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร์และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร์ให้เลื่อนการพิจารณาออกไป เพื่อให้ภาคประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น และทบทวนเนื้อหาของร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวถึงหลักความชอบธรรมด้วยกฎหมาย (Legality) หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation of power) หลักนิติรัฐ (Legal State) หรือหลักนิติธรรม (Rule of law) และหลักสิทธิมนุษยชน (Human rights)
**เชียร์ตุลาการรัฐธรรมนูญ
อีกด้านที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ประชาชนกว่า 100 คน ประกอบด้วยกลุ่มธรรมาภิบาล กลุ่มเสื้อหลากสี กลุ่มเครือข่ายชาติมั่นคง กลุ่มเครือข่ายปัญญาสยาม กลุ่มเครือข่ายประชาชนต่อต้านอธรรม กลุ่มพลเมืองอาสาปกป้องแผ่นดิน กลุ่มเครือข่ายราษฎรอาสาปกป้อง 3 สถาบัน กลุ่มสถาบันพัฒนาการเมืองและคุณภาพคน เดินทางมายังศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมนำช่อดอกไม้ให้กำลังใจ รวมตัวกันเพื่อสนับสนุนและให้กำลังใจตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในการทำหน้าที่ต่อไป