ด้านหนึ่งถึงประชาชนจะถูกทอนคุณค่าเป็นเพียงเครื่องมือเข้าสู่อำนาจรัฐตามระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน (representative democracy) จากการเป็นคะแนนเสียงทางการเมืองและเป็นเพียงเฟืองจักรในการเคลื่อนขบวนทางการเมืองที่ระดมคนออกมาบนท้องถนนตามการปลุกระดมของแกนนำมวลชนและพรรคการเมืองจนหลายคราวครั้งถูกปรามาสเป็นฝูงชนหรือม็อบก่อความวุ่นวายในบ้านเมือง
แต่ทว่าอีกด้านของการถูกใช้เป็น ‘ฐานทางการเมือง’ เพื่อขึ้นสู่อำนาจรัฐนั้น ประชาชนก็ยังมีพลังทางการเมืองนอกเหนือจากในระบบเลือกตั้งจากการรวมตัวจัดตั้งเป็นมวลชนขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ทั้งที่คับแคบแบบกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) ที่เรียกร้องหรือปกป้องประโยชน์เฉพาะกลุ่มตน หรือกว้างขวางมากขึ้นกับการเป็นขบวนการทางสังคม (social movement) ที่ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะนานาประการ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม จนถึงการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย
นโยบายสาธารณะที่มีส่วนสำคัญกับการสร้างบ้านแปงเมืองจึงไม่เพียงมาจากการกำหนดของกลุ่มทางการ (official policy maker) อย่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการเท่านั้น หากประชาชนที่โดยส่วนใหญ่ไม่มีความตื่นตัวทางการเมืองก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการกำหนดกฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมที่กำลังถั่งโถมประเทศไทยให้กำลังเข้าสู่วิกฤตมืดมิดได้ ไม่ว่าจะโดยจัดเวทีสาธารณะวิพากษ์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หรือเคลื่อนพลพรรคออกท้องถนนเพื่อเปิดประเด็นสาธารณะหลังถูกกักขังปิดบังทั้งจากการกีดกันของกลุ่มกุมอำนาจและการเฉยชาในการเข้าร่วมกิจกรรมการทางการเมืองของประชาชนเองอันเป็นอุปสรรคภายใน
ทั้งนี้ถึงการกำหนดนโยบายสาธารณะส่วนหนึ่งจะพิจารณาจากข้อเรียกร้องต้องการของประชาชน แต่กระนั้นจุดมุ่งหมายของนโยบายเหล่านั้นก็มักไม่พ้นการรักษาและขยายฐานคะแนนเสียงทางการเมืองเป็นสำคัญจึงทำให้ถูกออกแบบในรูปของนโยบายประชานิยม (populism) เป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทว่ายังตัดขาดจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนเพราะเป็นกระบวนการกำหนดนโยบายโดยกลุ่มข้าราชการและเทคโนแครตที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อพรรคการเมือง หรือเลวร้ายกว่านั้นก็เป็นการคิดขึ้นเองของผู้นำทางการเมืองโดยขาดความสมเหตุสมผลรองรับถึงแม้จะมีเสียงท้วงติงต่อต้านคัดค้านให้ทบทวนหรือยกเลิกที่สมเหตุสมผลทางด้านเศรษฐศาสตร์กว่า
ทว่าที่สุดแล้วถ้าสถาปนิกการเมืองซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนรัฐทั้งในเสื้อคลุมข้าราชการ เทคโนแครต นักวิชาการ และนักการเมืองสามารถอ้างอิงนโยบายประชานิยมเข้ากับประชาชนได้ก็เดินหน้านโยบายเหล่านั้นต่อไปได้ไม่ว่าเศรษฐกิจประเทศจะเสียหายมหาศาลหรือตัวเลขหนี้สาธารณะจะทะยานสูงมากจากการสร้างภาระทางการเงินการคลังและการนำงบประมาณไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเพื่อขยายและรักษาฐานคะแนนเสียง และระหว่างการเคลื่อนนโยบายประชานิยมนั้นๆ จะท่วมท้นด้วยคอร์รัปชันและผลประโยนช์ทับซ้อน ตลอดจนทำร้ายประชาชนโดยตรงจากการทำลายศักยภาพการพึ่งตนเองให้เหลือแต่คอยรอรับความอนุเคราะห์การเงิน และบั่นทอนจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับการอยู่ร่วมกันทางสังคมจากการเซื่องซึมในทุจริตคอร์รัปชันอันเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ด้วยแม้เพียงเสี้ยวเล็กน้อยหรือไม่ก็เป็นเพราะนโยบายเหล่านั้นเป็นผลิตผลของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบจนกระทั่งทำให้ละเลยการตรวจสอบถ่วงดุลไป
จุดดุลยภาพสังคมไทยในสถานการณ์นโยบายประชานิยมพุ่งสูงสุดหลังการล่มสลายของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ อันเกิดจากการเลือกข้างทางการเมืองของประเทศไทยที่ผลักประชาชนออกเป็นฝักฝ่ายสีเสื้อนั้นคือการสร้างนโยบายสาธารณะอีกด้านที่อยู่บนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกสีเสื้อและยึดโยงกับผลประโยชน์ประชาชนโดยรวมสูงสุด ซึ่งถึงจะทำได้ยากมากหากแต่ก็ต้องทำเพราะเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยที่จะไปให้พ้นนโยบายประชานิยมที่ระยะยาวจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เท่าๆ กับดึงประชาชนออกจาก ‘ความฝันกลางวัน’ อันเกิดจากผลของนโยบายประชานิยมที่มักไม่เป็นดังหวังหลังดำเนินการไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งถึงที่สุดแล้วกว่าจะถึงวันนั้นประเทศชาติก็ถลำลึกถึงระดับของการเกือบเป็นรัฐที่ล้มเหลว (failed state) แล้วจากการสูญเสียศักยภาพและสมรรถนะด้านต่างๆ เกือบสิ้น ซึ่งรวมถึงอาจเกิดการจลาจลประท้วงทั่วทุกหัวระแหงหลังการยกเลิกนโยบายประชานิยมเพราะไปต่อไม่ไหวแล้วด้วย
ทั้งนี้ ด้วยในการขับเคลื่อนขบวนการทางสังคมของประเทศไทยในห้วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแม้ถูกประทับฉลากจากสังคมส่วนใหญ่ว่าเป็นการก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมืองถึงแม้มีข้อยกเว้นบ้างบางสถานการณ์โดยเฉพาะในห้วงเผด็จการทหารครองเมือง และถูกเสียงประณามหยามหมิ่นว่าแน่จริงให้กระโดดลงสนามเลือกตั้งแล้ววัดใจประชาชนว่าจะเลือกเข้าไปหรือไม่นั้นจะดังขรมจากฟากฝั่งนักการเมืองและผู้ยึดติดในระบบการเลือกตั้งว่าเป็นทั้งหมดของระบอบประชาธิปไตยเพราะผูกร้อยอยู่กับความเชื่อที่ว่าถ้าจะทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ได้นั้นจำเป็นจะต้องเข้ามารั้งตำแหน่งทางการเมืองให้ได้เสียก่อนหรือต้องเข้ามาครองอำนาจรัฐโดยการยึดกุมกลไกการบริหารชาติบ้านเมืองผ่านทางความรุนแรงของการปฏิวัติ
ทัศนะเช่นนี้ครอบงำความเป็นไปในสังคมไทยมาช้านาน หากแต่ก็กำลังเสื่อมสลายมนต์ขลังลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์พบว่าประชาชนทั่วไปก็สามารถสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะในระดับต่างๆ
นับตั้งแต่การเข้าร่วมเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มผลักดัน (pressure group) เรียกร้องต่อรองผลประโยชน์เพื่อส่วนรวมจากกลุ่มกุมอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย ไปจนถึงการสวมเสื้อ ‘สถาปนิกสังคม’ ที่ไม่สังกัดสีเพื่อสร้างบ้านแปงเมืองร่วมกันโดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันฉันกัลยาณมิตรใน ‘เวทีสาธารณะ’ (public sphere) ต่างๆ กระทั่งได้ออกมาเป็นชุดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นที่กำลังสร้างวิกฤตความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ดังมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมอันเกิดจากกระบวนการแสวงหาฉันทามติ (consensus) ร่วมกันแล้ว ยังเป็น ‘ผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกปฏิรูปประเทศไทย’ ที่สรรค์สร้างสถาปัตยกรรมสำหรับสังคมไทยในระดับของการปรับเปลี่ยนระบบและโครงสร้างซึ่งนำไปสู่การจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่
ในศาสตร์และศิลป์ของกระบวนการพัฒนาฉันทามติหรือรังสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมกันนั้นสถาปนิกปฏิรูปประเทศไทยไม่เพียงนำเสนอชุดข้อเสนอนโยบายครั้งที่ 1 จำนวน 8 ข้อ คือ 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม
5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ 6) การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม เพื่อจะสถาปนาความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้น ทว่ายังวางรากฐานสำคัญสำหรับการสร้างสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำไม่มากนักด้วย
ครั้นวางอิฐก้อนแรกมั่นคงแล้ว อิฐก้อนต่อมาสำหรับสถาปนาความเป็นธรรมทางสังคมที่เข้มข้นขึ้นจำนวน 6 ข้อจากเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 คือ 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ก็ค่อยๆ ถูกวางอย่างบรรจงเพื่อก่อร่างเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมสังคมไทยที่มั่นคงขึ้น
สถาปัตยกรรมสังคมไทยที่มีความเป็นธรรมในระดับโครงสร้างอันเกิดจากการรื้อถอนระบบและโครงสร้างความไม่เป็นธรรมที่เป็นรากฐานความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ออกทีละก้อนๆ จากสถาปนิกสังคมที่เป็นประชาชนจะทำให้ท้ายสุดสามารถทลาย ‘สถาปัตยกรรมไทยๆ’ ที่ไม่เคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์สังคมที่มีความสวยงาม มั่นคงแข็งแรง และตอบสนองต่อประโยชน์ของคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้ ไม่ใช่เช่นเดิมที่กลุ่มกุมอำนาจทุนและการเมืองได้ประโยชน์เต็มเปี่ยมบนความเสียเปรียบของคนเล็กคนน้อยในสังคมนับแต่เกษตรกรจนถึงแรงงานนอกระบบ
ในการออกแบบสังคมร่วมกันทั้งในระดับภายในและภายนอกนั้น จำเป็นต้องมีความปรารถนา (desire) ร่วมกันระดับหนึ่งในการจะเห็นสังคมเป็นแบบใดในอนาคต ทั้งนี้ไม่ใช่ความปรารถนาที่มีต่อตัวเองเท่านั้น ทว่าเป็นความปรารถนาต่อสังคมโดยรวมว่าควรจะก้าวไปในทิศทางใด ดังนั้นการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นประชาชนจะต้องเป็นทั้ง ‘สถาปนิก’ (architect) ในการวางแผน ออกแบบ ประสาน และต่อรองเจรจากับภาคส่วนสังคมอื่นๆ เพื่อควบคุมคุณภาพสถาปัตยกรรมสังคมไทยให้มีความสมดุลทั้งด้านความเป็นธรรม ความร่มเย็น และความมั่นคงแข็งแรงตามแบบการก่อสร้างซึ่งร่วมคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งยังเป็น ‘กลจักร’ (machine) ขับเคลื่อนสังคมไทยในการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจตามความปรารถนาด้วยการสร้างกระบวนการที่เปิดกว้างด้านโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง
แน่นอนที่สุดว่าการปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรมนั้น นอกเหนือจากการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของประชาชนบนพื้นที่และเวทีสาธารณะต่างๆ แล้ว การเคลื่อนขบวนประชาชนบนท้องถนนในรูปแบบของมวลชน (mass) ฝูงชน (crowd) หรือกระทั่งม็อบ (mob) ก็ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญได้ แม้ยากต่อการคาดคำนวณทั้งในแง่ของเชื้อไฟ การลุกลาม ผลลัพธ์ และผลสะเทือน
ทั้งนี้ ที่สุดแล้วเพื่อสร้างสังคมซึ่ง ‘กำลังจะ’ มีความเสมอภาคเท่าเทียม และยุติธรรมนั้น ประชาชนจะต้องปลดเปลื้องพันธนาการจากการถูกใช้เป็นแค่ ‘ฐานทางการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ’ โดยการปลดปล่อยแรงปรารถนาของตนเองจากการเป็น ‘สถาปนิกปฏิรูปประเทศไทย’ ที่จะใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางสังคม ควบคู่กับรื้อถอนโครงสร้างและระบบที่มีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้วยการเป็น ‘กลจักรขับเคลื่อนแรงปรารถนา’ ที่ถูกเก็บกดกักขังมานานให้มีอิสระเพื่อจะสามารถผลักดันประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันและโครงสร้างที่อย่างน้อยสุดต้องสอดรับกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนที่แตกต่างกันเป็นอย่างน้อย
แต่ทว่าอีกด้านของการถูกใช้เป็น ‘ฐานทางการเมือง’ เพื่อขึ้นสู่อำนาจรัฐนั้น ประชาชนก็ยังมีพลังทางการเมืองนอกเหนือจากในระบบเลือกตั้งจากการรวมตัวจัดตั้งเป็นมวลชนขับเคลื่อนประเด็นต่างๆ ทั้งที่คับแคบแบบกลุ่มผลประโยชน์ (interest group) ที่เรียกร้องหรือปกป้องประโยชน์เฉพาะกลุ่มตน หรือกว้างขวางมากขึ้นกับการเป็นขบวนการทางสังคม (social movement) ที่ขับเคลื่อนประเด็นสาธารณะนานาประการ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม การกำหนดสวัสดิการสังคมถ้วนหน้า การสร้างระบบเศรษฐกิจที่เป็นธรรม การสร้างความเป็นธรรมในกระบวนการยุติธรรม จนถึงการสถาปนาระบอบประชาธิปไตยที่ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนเจ้าของอำนาจอธิปไตย
นโยบายสาธารณะที่มีส่วนสำคัญกับการสร้างบ้านแปงเมืองจึงไม่เพียงมาจากการกำหนดของกลุ่มทางการ (official policy maker) อย่างฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการเท่านั้น หากประชาชนที่โดยส่วนใหญ่ไม่มีความตื่นตัวทางการเมืองก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมโดยตรงในการกำหนดกฎหมายและนโยบายสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมที่กำลังถั่งโถมประเทศไทยให้กำลังเข้าสู่วิกฤตมืดมิดได้ ไม่ว่าจะโดยจัดเวทีสาธารณะวิพากษ์เพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย หรือเคลื่อนพลพรรคออกท้องถนนเพื่อเปิดประเด็นสาธารณะหลังถูกกักขังปิดบังทั้งจากการกีดกันของกลุ่มกุมอำนาจและการเฉยชาในการเข้าร่วมกิจกรรมการทางการเมืองของประชาชนเองอันเป็นอุปสรรคภายใน
ทั้งนี้ถึงการกำหนดนโยบายสาธารณะส่วนหนึ่งจะพิจารณาจากข้อเรียกร้องต้องการของประชาชน แต่กระนั้นจุดมุ่งหมายของนโยบายเหล่านั้นก็มักไม่พ้นการรักษาและขยายฐานคะแนนเสียงทางการเมืองเป็นสำคัญจึงทำให้ถูกออกแบบในรูปของนโยบายประชานิยม (populism) เป็นส่วนใหญ่ซึ่งไม่เพียงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม ทว่ายังตัดขาดจากการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนเพราะเป็นกระบวนการกำหนดนโยบายโดยกลุ่มข้าราชการและเทคโนแครตที่คิดค้นขึ้นมาเพื่อพรรคการเมือง หรือเลวร้ายกว่านั้นก็เป็นการคิดขึ้นเองของผู้นำทางการเมืองโดยขาดความสมเหตุสมผลรองรับถึงแม้จะมีเสียงท้วงติงต่อต้านคัดค้านให้ทบทวนหรือยกเลิกที่สมเหตุสมผลทางด้านเศรษฐศาสตร์กว่า
ทว่าที่สุดแล้วถ้าสถาปนิกการเมืองซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทนรัฐทั้งในเสื้อคลุมข้าราชการ เทคโนแครต นักวิชาการ และนักการเมืองสามารถอ้างอิงนโยบายประชานิยมเข้ากับประชาชนได้ก็เดินหน้านโยบายเหล่านั้นต่อไปได้ไม่ว่าเศรษฐกิจประเทศจะเสียหายมหาศาลหรือตัวเลขหนี้สาธารณะจะทะยานสูงมากจากการสร้างภาระทางการเงินการคลังและการนำงบประมาณไปใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่ายเพื่อขยายและรักษาฐานคะแนนเสียง และระหว่างการเคลื่อนนโยบายประชานิยมนั้นๆ จะท่วมท้นด้วยคอร์รัปชันและผลประโยนช์ทับซ้อน ตลอดจนทำร้ายประชาชนโดยตรงจากการทำลายศักยภาพการพึ่งตนเองให้เหลือแต่คอยรอรับความอนุเคราะห์การเงิน และบั่นทอนจริยธรรมความซื่อสัตย์สุจริตสำหรับการอยู่ร่วมกันทางสังคมจากการเซื่องซึมในทุจริตคอร์รัปชันอันเนื่องจากได้รับผลประโยชน์ด้วยแม้เพียงเสี้ยวเล็กน้อยหรือไม่ก็เป็นเพราะนโยบายเหล่านั้นเป็นผลิตผลของพรรคการเมืองที่ชื่นชอบจนกระทั่งทำให้ละเลยการตรวจสอบถ่วงดุลไป
จุดดุลยภาพสังคมไทยในสถานการณ์นโยบายประชานิยมพุ่งสูงสุดหลังการล่มสลายของกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนในการกำหนดนโยบายสาธารณะต่างๆ อันเกิดจากการเลือกข้างทางการเมืองของประเทศไทยที่ผลักประชาชนออกเป็นฝักฝ่ายสีเสื้อนั้นคือการสร้างนโยบายสาธารณะอีกด้านที่อยู่บนกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนทุกสีเสื้อและยึดโยงกับผลประโยชน์ประชาชนโดยรวมสูงสุด ซึ่งถึงจะทำได้ยากมากหากแต่ก็ต้องทำเพราะเป็นความจำเป็นเร่งด่วนของสังคมไทยที่จะไปให้พ้นนโยบายประชานิยมที่ระยะยาวจะส่งผลกระทบมหาศาลต่อเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และวัฒนธรรม เท่าๆ กับดึงประชาชนออกจาก ‘ความฝันกลางวัน’ อันเกิดจากผลของนโยบายประชานิยมที่มักไม่เป็นดังหวังหลังดำเนินการไปได้ระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งถึงที่สุดแล้วกว่าจะถึงวันนั้นประเทศชาติก็ถลำลึกถึงระดับของการเกือบเป็นรัฐที่ล้มเหลว (failed state) แล้วจากการสูญเสียศักยภาพและสมรรถนะด้านต่างๆ เกือบสิ้น ซึ่งรวมถึงอาจเกิดการจลาจลประท้วงทั่วทุกหัวระแหงหลังการยกเลิกนโยบายประชานิยมเพราะไปต่อไม่ไหวแล้วด้วย
ทั้งนี้ ด้วยในการขับเคลื่อนขบวนการทางสังคมของประเทศไทยในห้วงประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาแม้ถูกประทับฉลากจากสังคมส่วนใหญ่ว่าเป็นการก่อกวนความสงบสุขของบ้านเมืองถึงแม้มีข้อยกเว้นบ้างบางสถานการณ์โดยเฉพาะในห้วงเผด็จการทหารครองเมือง และถูกเสียงประณามหยามหมิ่นว่าแน่จริงให้กระโดดลงสนามเลือกตั้งแล้ววัดใจประชาชนว่าจะเลือกเข้าไปหรือไม่นั้นจะดังขรมจากฟากฝั่งนักการเมืองและผู้ยึดติดในระบบการเลือกตั้งว่าเป็นทั้งหมดของระบอบประชาธิปไตยเพราะผูกร้อยอยู่กับความเชื่อที่ว่าถ้าจะทำงานเพื่อสาธารณประโยชน์ได้นั้นจำเป็นจะต้องเข้ามารั้งตำแหน่งทางการเมืองให้ได้เสียก่อนหรือต้องเข้ามาครองอำนาจรัฐโดยการยึดกุมกลไกการบริหารชาติบ้านเมืองผ่านทางความรุนแรงของการปฏิวัติ
ทัศนะเช่นนี้ครอบงำความเป็นไปในสังคมไทยมาช้านาน หากแต่ก็กำลังเสื่อมสลายมนต์ขลังลงเรื่อยๆ อันเนื่องมาจากข้อเท็จจริงเชิงประจักษ์พบว่าประชาชนทั่วไปก็สามารถสร้างความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยได้ด้วยการเข้ามามีส่วนร่วมกำหนดนโยบายสาธารณะในระดับต่างๆ
นับตั้งแต่การเข้าร่วมเป็นกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มผลักดัน (pressure group) เรียกร้องต่อรองผลประโยชน์เพื่อส่วนรวมจากกลุ่มกุมอำนาจตัดสินใจทางนโยบาย ไปจนถึงการสวมเสื้อ ‘สถาปนิกสังคม’ ที่ไม่สังกัดสีเพื่อสร้างบ้านแปงเมืองร่วมกันโดยใช้กระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันฉันกัลยาณมิตรใน ‘เวทีสาธารณะ’ (public sphere) ต่างๆ กระทั่งได้ออกมาเป็นชุดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นที่กำลังสร้างวิกฤตความไม่เป็นธรรมและความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ดังมติสมัชชาปฏิรูประดับชาติทั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะมีความชัดเจนเป็นรูปธรรมอันเกิดจากกระบวนการแสวงหาฉันทามติ (consensus) ร่วมกันแล้ว ยังเป็น ‘ผลงานชิ้นเอกของสถาปนิกปฏิรูปประเทศไทย’ ที่สรรค์สร้างสถาปัตยกรรมสำหรับสังคมไทยในระดับของการปรับเปลี่ยนระบบและโครงสร้างซึ่งนำไปสู่การจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจใหม่
ในศาสตร์และศิลป์ของกระบวนการพัฒนาฉันทามติหรือรังสรรค์สถาปัตยกรรมร่วมกันนั้นสถาปนิกปฏิรูปประเทศไทยไม่เพียงนำเสนอชุดข้อเสนอนโยบายครั้งที่ 1 จำนวน 8 ข้อ คือ 1) การปฏิรูปการจัดสรรทรัพยากรที่ดินอย่างเป็นธรรมและยั่งยืน 2) การปฏิรูปโครงสร้างการจัดการทรัพยากรทะเลและชายฝั่ง 3) การคืนความเป็นธรรมให้แก่ประชาชนในกรณีที่ดินและทรัพยากร 4) การปฏิรูประบบประกันสังคมเพื่อความเป็นธรรม
5) การสร้างระบบหลักประกันในการดำรงชีพและระบบสังคมที่สร้างเสริมสุขภาวะแก่ผู้สูงอายุ 6) การสร้างสังคมที่คนไทยอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน 7) การปฏิรูปการกระจายอำนาจเพื่อเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในสังคม และ 8) ศิลปวัฒนธรรมกับการสร้างสรรค์และเยียวยาสังคม เพื่อจะสถาปนาความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นบนผืนแผ่นดินไทยเท่านั้น ทว่ายังวางรากฐานสำคัญสำหรับการสร้างสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำไม่มากนักด้วย
ครั้นวางอิฐก้อนแรกมั่นคงแล้ว อิฐก้อนต่อมาสำหรับสถาปนาความเป็นธรรมทางสังคมที่เข้มข้นขึ้นจำนวน 6 ข้อจากเวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 คือ 1) การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน 2) การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น 3) การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร
4) การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย 5) การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และ 6) การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ก็ค่อยๆ ถูกวางอย่างบรรจงเพื่อก่อร่างเป็นโครงสร้างสถาปัตยกรรมสังคมไทยที่มั่นคงขึ้น
สถาปัตยกรรมสังคมไทยที่มีความเป็นธรรมในระดับโครงสร้างอันเกิดจากการรื้อถอนระบบและโครงสร้างความไม่เป็นธรรมที่เป็นรากฐานความเหลื่อมล้ำด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ออกทีละก้อนๆ จากสถาปนิกสังคมที่เป็นประชาชนจะทำให้ท้ายสุดสามารถทลาย ‘สถาปัตยกรรมไทยๆ’ ที่ไม่เคารพในความหลากหลายทางวัฒนธรรม และละเมิดสิทธิ เสรีภาพ ความเท่าเทียม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ได้ ในขณะเดียวกันก็สร้างสรรค์สังคมที่มีความสวยงาม มั่นคงแข็งแรง และตอบสนองต่อประโยชน์ของคนทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกันเท่าที่จะสามารถเป็นไปได้ ไม่ใช่เช่นเดิมที่กลุ่มกุมอำนาจทุนและการเมืองได้ประโยชน์เต็มเปี่ยมบนความเสียเปรียบของคนเล็กคนน้อยในสังคมนับแต่เกษตรกรจนถึงแรงงานนอกระบบ
ในการออกแบบสังคมร่วมกันทั้งในระดับภายในและภายนอกนั้น จำเป็นต้องมีความปรารถนา (desire) ร่วมกันระดับหนึ่งในการจะเห็นสังคมเป็นแบบใดในอนาคต ทั้งนี้ไม่ใช่ความปรารถนาที่มีต่อตัวเองเท่านั้น ทว่าเป็นความปรารถนาต่อสังคมโดยรวมว่าควรจะก้าวไปในทิศทางใด ดังนั้นการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมนั้นประชาชนจะต้องเป็นทั้ง ‘สถาปนิก’ (architect) ในการวางแผน ออกแบบ ประสาน และต่อรองเจรจากับภาคส่วนสังคมอื่นๆ เพื่อควบคุมคุณภาพสถาปัตยกรรมสังคมไทยให้มีความสมดุลทั้งด้านความเป็นธรรม ความร่มเย็น และความมั่นคงแข็งแรงตามแบบการก่อสร้างซึ่งร่วมคิดเห็นแลกเปลี่ยนกัน รวมทั้งยังเป็น ‘กลจักร’ (machine) ขับเคลื่อนสังคมไทยในการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจตามความปรารถนาด้วยการสร้างกระบวนการที่เปิดกว้างด้านโอกาสและการเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง
แน่นอนที่สุดว่าการปฏิรูปเพื่อสังคมไทยที่เป็นธรรมนั้น นอกเหนือจากการขับเคลื่อนข้อเสนอแนะเชิงนโยบายของประชาชนบนพื้นที่และเวทีสาธารณะต่างๆ แล้ว การเคลื่อนขบวนประชาชนบนท้องถนนในรูปแบบของมวลชน (mass) ฝูงชน (crowd) หรือกระทั่งม็อบ (mob) ก็ยังสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญได้ แม้ยากต่อการคาดคำนวณทั้งในแง่ของเชื้อไฟ การลุกลาม ผลลัพธ์ และผลสะเทือน
ทั้งนี้ ที่สุดแล้วเพื่อสร้างสังคมซึ่ง ‘กำลังจะ’ มีความเสมอภาคเท่าเทียม และยุติธรรมนั้น ประชาชนจะต้องปลดเปลื้องพันธนาการจากการถูกใช้เป็นแค่ ‘ฐานทางการเมืองเพื่อเข้าสู่อำนาจรัฐ’ โดยการปลดปล่อยแรงปรารถนาของตนเองจากการเป็น ‘สถาปนิกปฏิรูปประเทศไทย’ ที่จะใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการออกแบบสังคมเพื่อปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจที่เหลื่อมล้ำอย่างมากระหว่างกลุ่มต่างๆ ทางสังคม ควบคู่กับรื้อถอนโครงสร้างและระบบที่มีความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมด้วยการเป็น ‘กลจักรขับเคลื่อนแรงปรารถนา’ ที่ถูกเก็บกดกักขังมานานให้มีอิสระเพื่อจะสามารถผลักดันประเทศไทยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงสถาบันและโครงสร้างที่อย่างน้อยสุดต้องสอดรับกับความหลากหลายทางวัฒนธรรมของผู้คนที่แตกต่างกันเป็นอย่างน้อย