ในความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมควรผนวกรวม (inclusive) ทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้ามากกว่าจะกีดกันกลุ่มหนึ่งกลุ่มใดออกไปเพียงเพราะอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างกัน ด้วยปัจจุบันเสียงชายขอบที่เป็นคนส่วนใหญ่ซึ่งกำลังได้รับผลกระทบจากการพัฒนา ถูกเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจ และเข้าไม่ถึงทรัพยากรธรรมชาติ ทรัพยากรสังคม ทรัพยากรเศรษฐกิจ และทรัพยากรการเมือง ต่างมีความคิดความเชื่อทางการเมืองและชุดผลประโยชน์ทางสังคมหลากหลาย การสร้างความเป็นธรรมสำหรับคนทุกคนจึงยากกว่าการสร้างความเท่าเทียมในการเข้าถึงโอกาส สิทธิและเสรีภาพ ตามระบอบประชาธิปไตย อันจะเป็นหลักประกันขั้นพื้นฐานสำหรับการขยับฐานะทางสังคมและรักษาศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของพลเมืองไทย
นัยสำคัญในการปฏิบัติการเคลื่อนขบวนของขบวนการทางสังคม (social movement) ต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระดับปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อันจะนำไปสู่การกลับหัวกลับหางทางโครงสร้างสังคมให้ทวีคูณความเป็นธรรมกับคนปลายอ้อปลายแขมที่มีจำนวนมหาศาลทั้งในเมืองและชนบทจำเป็นต้องได้รับความเห็นพ้องต้องกันทางยุทธศาสตร์อยู่พอควรคือการมีเป้าหมายเชิงอุดมคติที่จะเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยเสมอเหมือนกัน นอกเหนือไปจากการลดทอนผลประโยชน์และข้อเรียกร้องของฝ่ายตนเองลงบ้างจากจุดยืนที่ไม่ได้ยอมศิโรราบจำนนแต่เกิดจากกระบวนการเจรจาต่อรองของทุกกลุ่มที่มีอำนาจใกล้เคียงกันมากขึ้น
ทว่าก็ว่าเถอะสังคมไทยไม่พร้อมนักกับกระบวนการสร้างความเท่าเทียมกันในการต่อรองเจรจาด้วยที่ผ่านมามักมอบอำนาจการตัดสินใจไว้ที่นักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ และเทคโนแครต ทั้งในระดับของการกำหนดนโยบายสาธารณะและกฎหมาย แม้ว่ามาตรการเหล่านั้นจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนทำลายฐานทรัพยากรของท้องถิ่นชุมชนจนย่อยยับ ไม่นับการสูญเสียชีวิตหรือเสรีภาพของผู้คนมากมายที่ลุกมาต่อกรกับความไม่เป็นธรรมทางนโยบายและกฎหมาย
ภายใต้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมของสังคมไทยที่ประชาชนซึ่งอยู่ในชายขอบของการพัฒนากระแสหลักถูกทำให้ไร้ตัวตนในทางนโยบายและไร้เสียงในโครงการพัฒนาต่างๆ นั้นยังมีขบวนการภาคประชาสังคมคอยหนุนเคลื่อนนโยบายเพื่อสถาปนาความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยตระหนักถึงโทษทัณฑ์เลวร้ายจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ทำให้คนไม่เป็นคนเสมอกัน ดังปฏิบัติการสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่พยายามผนวกทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาขับเคลื่อนผลักดันประเทศไทยให้มีการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในระดับโครงสร้างเพื่อกรุยทางสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค แก่ประชาชนทุกคนให้ได้เสมอหน้ากันไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือร่ำรวย ด้วยที่ผ่านมาแม้แต่ความเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย (everyone equal before the law) ในสังคมไทยก็ไม่มี!
ทั้งนี้มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ใน 6 ประเด็นสำคัญสำหรับการพลิกโฉมหน้าประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำจึงต้องการการมีส่วนร่วมอย่างขันแข็งของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคสังคม ที่ทุกคนไม่ว่าสังกัดชายขอบหรือศูนย์กลางตามนิยามการพัฒนากระแสหลักจะสามารถส่งเสียง (voice) แสดงความคับข้อง คัดค้าน ต่อต้าน หรือสนับสนุนนโยบายหรือมาตรการกฎหมายใดๆ ก็ได้ ด้วยเพราะกระบวนการแสวงหามติแบบ ‘ฉันทามติ’ (consensus decision-making) นี้ทำให้ ‘ทุกคนทุกเสียง’ มีความหมายต่อการกำหนดอนาคตประเทศ ด้วยที่สุดแล้วกระบวนการเช่นนี้คือปฏิบัติการเชิงอำนาจเพื่อสถาปนาความเป็นธรรมของภาคประชาสังคมรูปแบบหนึ่ง
ดังที่ทั้งมติที่ 1 การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น มติที่ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร มติที่ 4 การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย
มติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และมติที่ 6 การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่จะบรรลุผลตามมติเหล่านี้ได้ก็เมื่อสามารถสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนสังคมจำนวนมากเนื่องจากแต่ละมตินั้นมุ่งปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในระดับโครงสร้างระหว่างกลุ่ม/หน่วยงาน/องค์กรต่างๆ
ดังเช่นมติ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารที่จะบรรลุผลตามมตินี้ได้ก็ต่อเมื่อสามารถแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาควิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และคณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร
ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและองค์การมหาชน เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร
และมติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินที่จะบรรลุผลตามมตินี้ได้ก็เมื่อสามารถผนึกพลังกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาคประชาสังคม เช่น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P MOVE) รวมถึงภาครัฐ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กรมที่ดิน กระทรวงหาดไทย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กองบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทาน สำนักนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
การสร้างความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนของบุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยในแต่ละระดับมีการจัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดเป้าหมายและทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน และจัดประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น เช่น สมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นการปฏิรูป กองทุนยุติธรรม การศึกษา และกฎหมายที่ดิน ซึ่งระหว่างการดำเนินการก็ร่วมกับคณะกรรมการการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปในการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนแรงงาน ด้วยการนำเสนอแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practices) รวมทั้งการ mapping องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ จะทำให้เป้าหมายเชิงอุดมคติที่ต้องการเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสมอเหมือนกันทุกคนบรรลุได้
กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยโดยใช้เวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่มีการเสนอแนะทางออกของสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับของการแก้ไขปรากฏการณ์และพลิกวิกฤตโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจที่มาพร้อมกับการพัฒนากลไกเชิงสถาบันเพื่อให้สังคมมีความพร้อมกับการปฏิรูปหรือมีกลไกการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตจะทำให้ความเป็นธรรมไม่ว่าจะนิยามจากทฤษฎีใดๆ ไม่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน (human rights) จนพังพินาศ ถึงแม้นไม่อาจจะหยุดยั้งการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจจากการเป็นอภิสิทธิชนในโลกทุนนิยมที่กลุ่มกุมอำนาจทุนและการเมืองมีสิทธิและเสรีภาพทุกๆ ด้านมากกว่าคนทั่วไปได้ในทันทีทันใด แต่ทว่าก็ทำให้ประชาชนที่เคยถูกทำให้เป็น ‘อื่น’ (other) กับการพัฒนากระแสหลักซึ่งกอบโกยทรัพยากรทุกอย่างไปใช้โดยทิ้งมลพิษและความเสี่ยงต่างๆ ให้สังคมข้างหลังแบกรับ ได้มีสิทธิเสียงแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนเองในพื้นที่สาธารณะมากขึ้นได้
ในความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมควรผนวกภาคีทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าโดยการสถาปนาความเป็นธรรมผ่านทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการกระจายอำนาจและการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อทดลอนความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ถั่งโถมสังคมไทยจนย่อยยับจากการสูญเสียสิทธิ เสรีภาพ อำนาจการต่อรองเจรจา และการมีส่วนร่วมและเข้าถึงในการบริหารจัดการทรัพยากร ของประชาชนชายขอบการพัฒนาที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลางอำนาจรัฐทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง แม้นว่าความตื่นตัวด้านการเมืองอันเนื่องมาจากระบอบประชาธิปไตยเบ่งบานจะกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเสียงทางการเมือง แต่ที่สุดแล้วก็ยังอยู่ในรูปแบบสาระของการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนตามการระดมคนของพรรคการเมืองที่มีแต่นโยบายประชานิยมเหมือนๆ กัน
นัยสำคัญในการปฏิบัติการเคลื่อนขบวนของขบวนการทางสังคม (social movement) ต่อการปฏิรูปประเทศไทยในระดับปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน อันจะนำไปสู่การกลับหัวกลับหางทางโครงสร้างสังคมให้ทวีคูณความเป็นธรรมกับคนปลายอ้อปลายแขมที่มีจำนวนมหาศาลทั้งในเมืองและชนบทจำเป็นต้องได้รับความเห็นพ้องต้องกันทางยุทธศาสตร์อยู่พอควรคือการมีเป้าหมายเชิงอุดมคติที่จะเห็นคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของคนไทยเสมอเหมือนกัน นอกเหนือไปจากการลดทอนผลประโยชน์และข้อเรียกร้องของฝ่ายตนเองลงบ้างจากจุดยืนที่ไม่ได้ยอมศิโรราบจำนนแต่เกิดจากกระบวนการเจรจาต่อรองของทุกกลุ่มที่มีอำนาจใกล้เคียงกันมากขึ้น
ทว่าก็ว่าเถอะสังคมไทยไม่พร้อมนักกับกระบวนการสร้างความเท่าเทียมกันในการต่อรองเจรจาด้วยที่ผ่านมามักมอบอำนาจการตัดสินใจไว้ที่นักการเมือง ข้าราชการ นักวิชาการ และเทคโนแครต ทั้งในระดับของการกำหนดนโยบายสาธารณะและกฎหมาย แม้ว่ามาตรการเหล่านั้นจะส่งผลกระทบร้ายแรงต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ตลอดจนทำลายฐานทรัพยากรของท้องถิ่นชุมชนจนย่อยยับ ไม่นับการสูญเสียชีวิตหรือเสรีภาพของผู้คนมากมายที่ลุกมาต่อกรกับความไม่เป็นธรรมทางนโยบายและกฎหมาย
ภายใต้สถานการณ์ความเหลื่อมล้ำและความไม่เป็นธรรมของสังคมไทยที่ประชาชนซึ่งอยู่ในชายขอบของการพัฒนากระแสหลักถูกทำให้ไร้ตัวตนในทางนโยบายและไร้เสียงในโครงการพัฒนาต่างๆ นั้นยังมีขบวนการภาคประชาสังคมคอยหนุนเคลื่อนนโยบายเพื่อสถาปนาความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทยด้วยตระหนักถึงโทษทัณฑ์เลวร้ายจากความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ สังคม การเมืองที่ทำให้คนไม่เป็นคนเสมอกัน ดังปฏิบัติการสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่พยายามผนวกทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาขับเคลื่อนผลักดันประเทศไทยให้มีการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในระดับโครงสร้างเพื่อกรุยทางสร้างความเป็นธรรม เท่าเทียม และเสมอภาค แก่ประชาชนทุกคนให้ได้เสมอหน้ากันไม่ว่าจะยากดีมีจนหรือร่ำรวย ด้วยที่ผ่านมาแม้แต่ความเสมอหน้ากันต่อหน้ากฎหมาย (everyone equal before the law) ในสังคมไทยก็ไม่มี!
ทั้งนี้มติสมัชชาปฏิรูประดับชาติครั้งที่ 2 ใน 6 ประเด็นสำคัญสำหรับการพลิกโฉมหน้าประเทศไทยให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำจึงต้องการการมีส่วนร่วมอย่างขันแข็งของทุกภาคส่วน โดยเฉพาะภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคสังคม ที่ทุกคนไม่ว่าสังกัดชายขอบหรือศูนย์กลางตามนิยามการพัฒนากระแสหลักจะสามารถส่งเสียง (voice) แสดงความคับข้อง คัดค้าน ต่อต้าน หรือสนับสนุนนโยบายหรือมาตรการกฎหมายใดๆ ก็ได้ ด้วยเพราะกระบวนการแสวงหามติแบบ ‘ฉันทามติ’ (consensus decision-making) นี้ทำให้ ‘ทุกคนทุกเสียง’ มีความหมายต่อการกำหนดอนาคตประเทศ ด้วยที่สุดแล้วกระบวนการเช่นนี้คือปฏิบัติการเชิงอำนาจเพื่อสถาปนาความเป็นธรรมของภาคประชาสังคมรูปแบบหนึ่ง
ดังที่ทั้งมติที่ 1 การปฏิรูประบบแรงงานและสวัสดิการ : การเพิ่มอำนาจต่อรองของแรงงาน การปรับโครงสร้างค่าจ้าง การเพิ่มผลิตภาพ และคุ้มครองแรงงาน มติที่ 2 การปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ : สู่การปรับดุลอำนาจที่เหมาะสมระหว่างรัฐบาลกับชุมชนท้องถิ่น มติที่ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรม : เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหาร มติที่ 4 การปฏิรูประบบการเมือง : พัฒนาความเข้มแข็งของพลเมืองเพื่อปฏิรูปประเทศไทย
มติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดิน : การบริหารจัดการที่ดิน และมติที่ 6 การปฏิรูปการศึกษา : ปรับทิศทางการศึกษาเพื่อสร้างคุณภาพ และลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ที่จะบรรลุผลตามมติเหล่านี้ได้ก็เมื่อสามารถสร้างความร่วมมือกับภาคส่วนสังคมจำนวนมากเนื่องจากแต่ละมตินั้นมุ่งปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจในระดับโครงสร้างระหว่างกลุ่ม/หน่วยงาน/องค์กรต่างๆ
ดังเช่นมติ 3 การปฏิรูประบบเกษตรกรรมเพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทางอาหารที่จะบรรลุผลตามมตินี้ได้ก็ต่อเมื่อสามารถแสวงหาความร่วมมือกับภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาควิชาการ เช่น ศูนย์วิจัยระบบทรัพยากรเกษตร คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคประชาสังคม เช่น มูลนิธิเกษตรกรรมยั่งยืน (ประเทศไทย) มูลนิธิชีววิถี มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค เครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือก และคณะกรรมการเครือข่ายปฏิรูปเพื่อคุณภาพชีวิตเกษตรกร
ตลอดจนสร้างความร่วมมือกับภาครัฐและองค์การมหาชน เช่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กองนโยบายเทคโนโลยีเพื่อการเกษตรและเกษตรกรรมยั่งยืน กระทรวงอุตสาหกรรม กรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และสำนักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตร
และมติที่ 5 การปฏิรูปโครงสร้างและกฎหมายด้านที่ดินที่จะบรรลุผลตามมตินี้ได้ก็เมื่อสามารถผนึกพลังกับคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย (คปก.) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระ ภาคเอกชน เช่น สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ภาคประชาสังคม เช่น เครือข่ายปฏิรูปที่ดินแห่งประเทศไทย และขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (P MOVE) รวมถึงภาครัฐ เช่น สำนักนายกรัฐมนตรี กรมที่ดิน กระทรวงหาดไทย กรมธนารักษ์ กระทรวงการคลัง กองบริหารจัดการที่ดิน สำนักงานนโยบายและแผน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทาน สำนักนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)
การสร้างความร่วมมือในลักษณะหุ้นส่วนของบุคคล หน่วยงาน องค์กรที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม โดยในแต่ละระดับมีการจัดประชุมเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดเป้าหมายและทำแผนปฏิบัติการร่วมกัน และจัดประชุมสมัชชาเฉพาะประเด็น เช่น สมัชชาปฏิรูปเฉพาะประเด็นการปฏิรูป กองทุนยุติธรรม การศึกษา และกฎหมายที่ดิน ซึ่งระหว่างการดำเนินการก็ร่วมกับคณะกรรมการการสื่อสารเพื่อการปฏิรูปในการสื่อสารสาธารณะเพื่อสร้างความเข้าใจให้กับสังคม โดยเฉพาะกลุ่มเป้าหมายต่างๆ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และชุมชนแรงงาน ด้วยการนำเสนอแบบปฏิบัติที่ดี (Best Practices) รวมทั้งการ mapping องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการจัดการตนเองในเรื่องต่างๆ เช่น การจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อมและการจัดการภัยพิบัติ จะทำให้เป้าหมายเชิงอุดมคติที่ต้องการเห็นคนไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและมีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เสมอเหมือนกันทุกคนบรรลุได้
กระบวนการปฏิรูปประเทศไทยโดยใช้เวทีสมัชชาปฏิรูประดับชาติที่มีการเสนอแนะทางออกของสังคมไทยอย่างเป็นรูปธรรมทั้งในระดับของการแก้ไขปรากฏการณ์และพลิกวิกฤตโครงสร้างความสัมพันธ์ทางอำนาจที่มาพร้อมกับการพัฒนากลไกเชิงสถาบันเพื่อให้สังคมมีความพร้อมกับการปฏิรูปหรือมีกลไกการปรับตัวอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตจะทำให้ความเป็นธรรมไม่ว่าจะนิยามจากทฤษฎีใดๆ ไม่ทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชน (human rights) จนพังพินาศ ถึงแม้นไม่อาจจะหยุดยั้งการเอารัดเอาเปรียบทางเศรษฐกิจจากการเป็นอภิสิทธิชนในโลกทุนนิยมที่กลุ่มกุมอำนาจทุนและการเมืองมีสิทธิและเสรีภาพทุกๆ ด้านมากกว่าคนทั่วไปได้ในทันทีทันใด แต่ทว่าก็ทำให้ประชาชนที่เคยถูกทำให้เป็น ‘อื่น’ (other) กับการพัฒนากระแสหลักซึ่งกอบโกยทรัพยากรทุกอย่างไปใช้โดยทิ้งมลพิษและความเสี่ยงต่างๆ ให้สังคมข้างหลังแบกรับ ได้มีสิทธิเสียงแสดงออกถึงความเดือดร้อนของตนเองในพื้นที่สาธารณะมากขึ้นได้
ในความเคลื่อนไหวในการปฏิรูปประเทศไทยให้มีความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมควรผนวกภาคีทุกภาคส่วนสังคมเข้ามาร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไทยไปข้างหน้าโดยการสถาปนาความเป็นธรรมผ่านทางยุทธศาสตร์ และยุทธวิธีการกระจายอำนาจและการปรับเปลี่ยนสัมพันธภาพทางอำนาจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อทดลอนความเหลื่อมล้ำทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ที่ถั่งโถมสังคมไทยจนย่อยยับจากการสูญเสียสิทธิ เสรีภาพ อำนาจการต่อรองเจรจา และการมีส่วนร่วมและเข้าถึงในการบริหารจัดการทรัพยากร ของประชาชนชายขอบการพัฒนาที่อยู่ห่างไกลศูนย์กลางอำนาจรัฐทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง แม้นว่าความตื่นตัวด้านการเมืองอันเนื่องมาจากระบอบประชาธิปไตยเบ่งบานจะกระตุ้นให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิเสียงทางการเมือง แต่ที่สุดแล้วก็ยังอยู่ในรูปแบบสาระของการชุมนุมประท้วงบนท้องถนนตามการระดมคนของพรรคการเมืองที่มีแต่นโยบายประชานิยมเหมือนๆ กัน