กรมธนารักษ์เซ็นเอ็มโอยูให้ปตท.เช่าที่ราชพัสดุทำปั๊มเอ็นจีวี 4 แปลงในเขตกรุงเทพฯ หวังลดปัญหาต่อคิวเติมเอ็นจีวี ด้านปตท.ยอมรับสิ้นปีนี้ขยายปั๊มเอ็นจีวีไม่ครบ 502 แห่งอ้างติดปัญหาเพียบ เผยเจรจาก.พลังงานขอขายก๊าซฯหน้าท่อ ให้เอกชนลงทุนปั๊มและขนส่งก๊าซเอ็นจีวีเอง หวังลดภาระ โดยกำหนดราคาก๊าซฯไม่เกิน 60%ของดีเซล"บิ๊กปตท."หนุนรัฐขยายเพดานตรึงดีเซลเกิน 30 บาท/ลิตร เพื่อลดภาระให้ผู้ใช้เบนซิน
วานนี้ (6 ก.ย.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)ระหว่างกรมธนารักษ์กับบมจ.ปตท. ด้วยการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนการจัดตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี) เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการบูรณาการข้ามกระทรวงเพื่อสนองนโยบายรัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้ก๊าซสำหรับภาคขนส่งมากขึ้นทดแทนการใช้น้ำมันที่มีราคาสูง โดยมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่17เม.ย.ที่ผ่านมาให้ส่วนราชการที่ครอบครองใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุยินยอมให้กรมธนารักษ์นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสนับสนุนขยายปั๊มเอ็นจีวีเพื่อลดความหนาแน่นของการใช้บริการ และสอดคล้องกับการลอยตัวราคาก๊าซเอ็นจีวีในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันราคาก๊าซเอ็นจีวีอยู่ในระดับต่ำก็ตาม
จากการร่วมกันพิจารณาทั้ง 2 ฝ่าย ทางปตท.ตัดสินใจเช่าที่ราชพัสดุในเขตกรุงเทพฯสำหรับทำปั๊มเอ็นจีวีเบื้องต้น 4 แปลงในเขตพระโขนง บางขุนเทียน จอมทองและหลักสี่ โดยจะเช่าที่บางส่วนตั้งแต่ 2-5 ไร่ ระยะเวลา 15-20 ปี โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก๊าซฯแต่อย่างใด
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.จะดำเนินการสร้างปั๊มเอ็นจีวีบนพื้นที่ราชพัสดุแปลงแรกที่หมายเลขที่กท.0475 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 2 ไร่ ใช้เวลาก่อสร้าง 11 เดือน เงินลงทุน 40 ล้านบาท โดยจะจ่ายก๊าซเอ็นจีวีได้วันละ 15 ตัน ส่วนปั๊มเอ็นจีวีอีก3แห่งที่เหลือจะทยอยดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2ปีนี้
"ปั๊มเอ็นจีวีที่พระโขนง ขณะนี้ทางบางจากสนใจอยากลงทุนและบริหารเองเนื่องจากใกล้โรงกลั่นบางจาก ทั้งนี้ คงต้องไปดูเรื่องกฎระเบียบว่าสามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากการดำเนินการเช่าที่ราชพัสดุนั้นเปตท.เป็นผู้เช่าจากกรมธนารักษ์"
นายพีระพงษ์ กล่าวยอมรับว่า ปีนี้ปตท.ไม่สามารถขยายปั๊มเอ็นจีวีได้ครบตามเป้าหมายที่ให้ไว้กับรัฐบาลได้ 502 ปั๊ม จากปัจจุบันที่มีอยู่ 479 ปั๊ม เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการขอใบอนุญาตดำเนินการ และบางชุมชนไม่ยินยอม อีกทั้งสถานีหลัก(Mother Station) มีปริมาณก๊าซไม่เพียงพอต่อการกระจายให้สถานีลูกได้เต็มที่ ดังนั้นหากขยายสถานีบริการลูกเพิ่มเติมคงไม่เกิดประโยชน์
อย่างไรก็ตามตามเป้าหมายการจ่ายก๊าซฯที่สถานีหลักเพิ่มขึ้นอีก 1,500 ตัน/วันในปีนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงพลังงานเพื่อขอขายก๊าซเอ็นจีวีหน้าท่อให้กับลูกค้าแทน เพื่อลดภาระการลงทุนทำปั๊มเอ็นจีวีของปตท. แต่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้นโดยปตท.จะทำหน้าที่ป้อนก๊าซฯให้ โดยบริษัทฯเสนอราคาขายหน้าท่อที่ราคาขายก๊าซฯให้การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT) บวกส่วนเพิ่มเป็นค่าดำเนินการอีก 10-15%
โดยยืนยันว่าราคาเอ็นจีวีไม่ เกิน 60%ของราคาน้ำมันดีเซล
ส่วนความคืบหน้าการซื้อก๊าซแอลเอ็นจีจากกาตาร์จำนวน 2 ล้านตันนั้น คงต้องรอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)อนุมัติก่อนยื่นให้ครม.อนุมัติต่อไป โดยจะรับก๊าซฯในปี 2558 ส่วนที่เหลืออีก 3 ล้านตันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากหลายแหล่งทั้งออสเตรเลีย แอฟริกาและสหรัฐฯ ซึ่งยังมีเวลาอีก 2ปีเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซฯในอนาคต
ระหว่างนี้มีการซื้อก๊าซแอลเอ็นจีตามราคาตลาดจร โดยปัจจุบันราคาแอลเอ็นจีลดต่ำลงจาก 17 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียูเหลือ 14 เหรียญหลังจากญี่ปุ่นหันกลับมาผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพลังงานจะขยายเพดานตรึงราคาดีเซลเกินกว่า 30 บาทต่อลิตรว่าเห็นด้วย เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลเท่ากับราคาเบนซินในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งราคาขายปลีกเบนซินอยู่ลิตรละ 40 บาท ทำให้ภาระอยู่ที่กองทุนน้ำมันซึ่งเก็บจากผู้ใช้เบนซินไปอุดหนุนผู้ใช้ดีเซล ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ยครึ่งปีหลังจะทรงตัวอยู่ที่ 110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล
วานนี้ (6 ก.ย.) นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานพิธีลงนามบันทึกข้อตกลง(MOU)ระหว่างกรมธนารักษ์กับบมจ.ปตท. ด้วยการนำที่ราชพัสดุไปสนับสนุนการจัดตั้งสถานีบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(เอ็นจีวี) เพื่อแก้ปัญหาความหนาแน่นของผู้ใช้บริการ
นายกิตติรัตน์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ถือเป็นการบูรณาการข้ามกระทรวงเพื่อสนองนโยบายรัฐที่ต้องการส่งเสริมการใช้ก๊าซสำหรับภาคขนส่งมากขึ้นทดแทนการใช้น้ำมันที่มีราคาสูง โดยมติคณะรัฐมนตรีเห็นชอบเมื่อวันที่17เม.ย.ที่ผ่านมาให้ส่วนราชการที่ครอบครองใช้ประโยชน์ที่ราชพัสดุยินยอมให้กรมธนารักษ์นำที่ราชพัสดุที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาสนับสนุนขยายปั๊มเอ็นจีวีเพื่อลดความหนาแน่นของการใช้บริการ และสอดคล้องกับการลอยตัวราคาก๊าซเอ็นจีวีในอนาคต แม้ว่าปัจจุบันราคาก๊าซเอ็นจีวีอยู่ในระดับต่ำก็ตาม
จากการร่วมกันพิจารณาทั้ง 2 ฝ่าย ทางปตท.ตัดสินใจเช่าที่ราชพัสดุในเขตกรุงเทพฯสำหรับทำปั๊มเอ็นจีวีเบื้องต้น 4 แปลงในเขตพระโขนง บางขุนเทียน จอมทองและหลักสี่ โดยจะเช่าที่บางส่วนตั้งแต่ 2-5 ไร่ ระยะเวลา 15-20 ปี โดยพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้อยู่ตามแนวท่อก๊าซฯแต่อย่างใด
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บมจ.ปตท. กล่าวว่า ปตท.จะดำเนินการสร้างปั๊มเอ็นจีวีบนพื้นที่ราชพัสดุแปลงแรกที่หมายเลขที่กท.0475 แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ เนื้อที่ 2 ไร่ ใช้เวลาก่อสร้าง 11 เดือน เงินลงทุน 40 ล้านบาท โดยจะจ่ายก๊าซเอ็นจีวีได้วันละ 15 ตัน ส่วนปั๊มเอ็นจีวีอีก3แห่งที่เหลือจะทยอยดำเนินการคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2ปีนี้
"ปั๊มเอ็นจีวีที่พระโขนง ขณะนี้ทางบางจากสนใจอยากลงทุนและบริหารเองเนื่องจากใกล้โรงกลั่นบางจาก ทั้งนี้ คงต้องไปดูเรื่องกฎระเบียบว่าสามารถทำได้หรือไม่ เนื่องจากการดำเนินการเช่าที่ราชพัสดุนั้นเปตท.เป็นผู้เช่าจากกรมธนารักษ์"
นายพีระพงษ์ กล่าวยอมรับว่า ปีนี้ปตท.ไม่สามารถขยายปั๊มเอ็นจีวีได้ครบตามเป้าหมายที่ให้ไว้กับรัฐบาลได้ 502 ปั๊ม จากปัจจุบันที่มีอยู่ 479 ปั๊ม เนื่องจากติดปัญหาเรื่องการขอใบอนุญาตดำเนินการ และบางชุมชนไม่ยินยอม อีกทั้งสถานีหลัก(Mother Station) มีปริมาณก๊าซไม่เพียงพอต่อการกระจายให้สถานีลูกได้เต็มที่ ดังนั้นหากขยายสถานีบริการลูกเพิ่มเติมคงไม่เกิดประโยชน์
อย่างไรก็ตามตามเป้าหมายการจ่ายก๊าซฯที่สถานีหลักเพิ่มขึ้นอีก 1,500 ตัน/วันในปีนี้สามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย
นอกจากนี้ บริษัทอยู่ระหว่างหารือกับกระทรวงพลังงานเพื่อขอขายก๊าซเอ็นจีวีหน้าท่อให้กับลูกค้าแทน เพื่อลดภาระการลงทุนทำปั๊มเอ็นจีวีของปตท. แต่เปิดโอกาสให้เอกชนเข้ามาลงทุนปั๊มเอ็นจีวีมากขึ้นโดยปตท.จะทำหน้าที่ป้อนก๊าซฯให้ โดยบริษัทฯเสนอราคาขายหน้าท่อที่ราคาขายก๊าซฯให้การไฟฟ้าฝายผลิตแห่งประเทศไทย ( EGAT) บวกส่วนเพิ่มเป็นค่าดำเนินการอีก 10-15%
โดยยืนยันว่าราคาเอ็นจีวีไม่ เกิน 60%ของราคาน้ำมันดีเซล
ส่วนความคืบหน้าการซื้อก๊าซแอลเอ็นจีจากกาตาร์จำนวน 2 ล้านตันนั้น คงต้องรอให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)อนุมัติก่อนยื่นให้ครม.อนุมัติต่อไป โดยจะรับก๊าซฯในปี 2558 ส่วนที่เหลืออีก 3 ล้านตันอยู่ระหว่างการพิจารณาจากหลายแหล่งทั้งออสเตรเลีย แอฟริกาและสหรัฐฯ ซึ่งยังมีเวลาอีก 2ปีเพื่อรองรับความต้องการใช้ก๊าซฯในอนาคต
ระหว่างนี้มีการซื้อก๊าซแอลเอ็นจีตามราคาตลาดจร โดยปัจจุบันราคาแอลเอ็นจีลดต่ำลงจาก 17 เหรียญสหรัฐ/ล้านบีทียูเหลือ 14 เหรียญหลังจากญี่ปุ่นหันกลับมาผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์อีกครั้ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงพลังงานจะขยายเพดานตรึงราคาดีเซลเกินกว่า 30 บาทต่อลิตรว่าเห็นด้วย เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำมันดีเซลเท่ากับราคาเบนซินในตลาดสิงคโปร์ ซึ่งราคาขายปลีกเบนซินอยู่ลิตรละ 40 บาท ทำให้ภาระอยู่ที่กองทุนน้ำมันซึ่งเก็บจากผู้ใช้เบนซินไปอุดหนุนผู้ใช้ดีเซล ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำมันดิบตลาดดูไบเฉลี่ยครึ่งปีหลังจะทรงตัวอยู่ที่ 110 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล