xs
xsm
sm
md
lg

ผู้จัดการสุดสัปดาห์

x

ยัดไส้ “เขื่อนแก่งเสื้อเต้น” กินรวบ“ทีโออาร์” 3.5 แสนล้าน

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ASTVผู้จัดการสุดสัปดาห์-ข่าวการดูแลแก้ปัญหาน้ำเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมามีแต่ความขัดแย้งในที่ประชุม

เช่น นายกฯยิ่งลักษณ์ จะปฏิเสธ ตามข้อเสนอของนายกิจจา ผลภาษี รองประธานคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำและอุทกภัย (กบอ.) ที่ให้ปลด นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์ ออกจากการดูแลแก้ปัญหาน้ำ โดยเฉพาะตำแหน่งประธาน กบอ.

แถม “นายปลอดประสพ” ยัง ตอบโต้นายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน ที่ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การบริหารจัดการน้ำ

เรื่องข้างต้น “น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” นายกรัฐมนตรี ออกมาพูดแค่ว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่าง แต่สิ่งสำคัญคือเราต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาหารือกันเพื่อให้ได้ข้อสรุป เพราะการบริหารจัดการน้ำ เราไม่ได้ยึดอยู่กับบุคคลใด บุคคลหนึ่ง แต่เป็นการรวมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีความรู้ในแต่ละเรื่องมาหารือ ก่อนที่จะตัดสินใจร่วมกัน

ส่วน“นายบรรหาร ศิลปอาชา”ให้ความเห็นว่า ท่านเคยทำงานกับตนสมัยที่อยู่กระทรวงเกษตรฯ ถึงแม้ว่านายปลอดประสพจะไม่เคยดูแลเรื่องน้ำ แต่หลังจากที่ได้มารับหน้าที่ดูแลเรื่องน้ำ ก็คงจะมีความรู้มาก พอสมควร และก็ยังมีกรรมการอีกหลายฝ่ายรวมทั้งกรมชลประทานเข้าร่วมด้วย ท่านคงไม่สามารถตัดสินใจคนเดียวได้ โดยหลักแล้วกรมชลประทานจะตัดสินใจและมีหน้าที่รับผิดชอบเป็นหลักใหญ่ ประชาชนมั่นใจในข้อมูลได้ และไม่ต้องกังวล

เรื่องนี้ค่อยๆ จางหายไป “นายปลอดประสพ” ก็ยังจะเป็นประธาน กบอ.ต่อไป โดยมี “นายปราโมทย์ ไม้กลัด” “นายกิจจา ผลภาษี” รวมถึงกรรมการคนอื่น ๆทำงานกับนายปลอดประสพต่อ!

ล่าสุด “นายปลอดประสพ” ฐานประธานกบอ. บอกว่า จะดำเนินการซ้อมการระบายน้ำ ใน กรุงเทพมหานครฝั่งตะวันออกและตะวันตก ระหว่างวันที่ 5 และ 7 ก.ย. 55 นี้ เพื่อเตรียมรับมือกับน้ำเหนือที่จะลง มาถึงกรุงเทพฯประมาณต้นเดือน ต.ค.นี้

โดย เทคโนโลยีใหม่ ๆทั้งการใช้เซ็นเซอร์ติดตามการไหลของน้ำ การควบคุมการเปิด-ปิดประตูระบายน้ำอัตโนมัติ

ถือเป็นครั้งแรกที่มีการทดลองใช้โมเดลระบายน้ำ ในรูปแบบต่างๆ ในการทดสอบพื้นที่จริง ซึ่งได้รับความร่วมมือจากกรุงเทพมหานคร หลังจากที่มีการขุดลอกคูคลองรอบกรุงเทพ ฯ เรียบร้อยแล้ว ทั้งฝั่งตะวันออกและตะวันตก รวมถึงได้ติดตั้งระบบการเตือนภัย

ดังนั้นขออย่าให้ประชาชนตกใจ เพราะน้ำที่ระบายผ่านคูคลองรอบกรุงเทพฯมีปริมาณไม่มาก เป็นการ ทดลองระบบและความพร้อม เพื่อดูจุดติดขัดต่างๆ และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในกรุงเทพฯว่าปีนี้น้ำจะ ไม่ท่วมแน่นอน

ดังนั้น “ประชาชนอย่าตกใจ”ประธานกบอ.บอกเสียงดัง!

อีกด้านรองประธาน กบอ. อีกคนอย่าง “นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล” รัฐมนตรีประจำสำนัก นาย
กรัฐมนตรี ได้ใช้งบประมาณกว่า 12 ล้านบาท เนรมิต “ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า ลาดพร้าว ได้จัด นิทรรศการเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำของรัฐบาล

โดย31ส.ค.ที่ผ่านมานี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้มาเปิดงาน พร้อมชี้แจงข้อมูลการบริหารจัดการน้ำ
ของรัฐบาลให้ประชาชนและนักลงทุนรับทราบ มีคนเข้าฟังคึกคัก!

แต่เรื่องการแก้ปัญหาน้ำ อีกเรื่องหนึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมา และถือเป็นรื่องที่น่ามีพิรุธที่สุด กับเป็นวาระการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 28 ส.ค.เรื่องที่ “กระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ได้รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม โดยใช้กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการ

เป็นวาระเพื่อให้ที่ประชุมครม.รับทราบ

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยมโดยใช้ กระบวนการนโยบายสาธารณะแบบบูรณาการให้ที่ประชุมครม.รับทราบ

สาระสำคัญของผลการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยม มี 2 ประเด็น ได้แก่

1. การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงกลยุทธ์ (Strategic Environmental Assessment : SEA) เป็นกระบวนการในการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของนโยบาย แผน เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจเชิงนโยบาย โดยจะได้มีการพิจารณาถึงผลกระทบทางลบ ทางบวกจากการดำเนินโครงการต่อมิติสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม โดยมีเป้าหมายอยู่ที่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ผลการศึกษาสรุปว่า ทางเลือกการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมมีด้วยกัน 4 ทางเลือก ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 มีการพัฒนาเฉพาะมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและการปรับปรุงประสิทธิภาพ
การชลประทาน

ทางเลือกที่ 2 มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
การพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง ทั้งอ่างเก็บน้ำและฝาย/ประตูระบายน้ำตามลำน้ำยม รวมถึงการพัฒนาและจัดสรรน้ำโครงการขนาดเล็กในพื้นที่ประสบภัยแล้งซ้ำซาก

ทางเลือกที่ 3 มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
ทั้งโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแม่น้ำยม และเขื่อนแม่น้ำยมตอนบน

ทางเลือกที่ 4 มีการพัฒนาในมาตรการไม่ใช้สิ่งก่อสร้างและมาตรการใช้สิ่งก่อสร้าง
ทั้งการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลางและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ได้แก่ เขื่อนแก่งเสือเต้น

แนวทางเลือกการพัฒนาโครงการ ทางเลือกที่ 4 เป็นทางเลือกที่มีศักยภาพมากที่สุด โดยมี
ความยั่งยืนทางด้านสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกับทางเลือกที่ 1,2, และ 3 ในด้านความยั่งยืนทางด้านเศรษฐกิจ ทางเลือก ที่ 4 จะให้ผลประโยชน์สุทธิมากกว่าทางเลือกที่ 3 และทางเลือกที่ 2 ตามลำดับ

2. การใช้นโยบายสาธารณะแบบบูรณาการเป็นกระบวนการที่ให้ความสำคัญกับผู้ที่มีส่วนได้เสีย ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างจริงจังในกระบวนการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการลุ่มน้ำยม

ผลสรุปจาการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความสำคัญของทางเลือกในการพัฒนาลุ่มน้ำยมพบว่า ผู้มีส่วน ได้เสียส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 รองลงมาได้แก่ ทางเลือกที่ 3 ทางเลือกที่ 2 ทางเลือกที่ 1 ตามลำดับ ยกเว้นกลุ่มองค์กรอิสระที่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 น้อยที่สุด

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ ระบุว่า ผลจากการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ “ทางเลือกในการจัดการลุ่มน้ำยม” ครอบคลุมพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนบนและลุ่มน้ำยมตอนล่าง รวม 9 จังหวัด ได้แก่ จ.พะเยา ลำปาง น่าน แพร่ สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร กำแพงเพชร และนครสวรรค์ โดยจัดให้มีการประชุมทั้งหมดจำนวน 9 ครั้ง โดยพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายของการประชุมในพื้นที่ลุ่มน้ำยมได้ครอบคลุมพื้นที่และกลุ่มประชากรเป้าหมายที่มาจากพื้นที่ลุ่มน้ำย่อยทั้ง 11 ลุ่มน้ำดังกล่าวข้างต้น

มีพื้นที่ครอบคลุม 161 ตำบล 33 อำเภอ 10 จังหวัด มีจำนวนผู้เข้าร่วมประชุมถึง 6,313 คน ผลสรุปจากการมีส่วนร่วมในการจัดระดับความสำคัญของทางเลือกในการพัฒนาลุ่มน้ำยม พบว่า ผู้มีส่วนได้เสียส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับทางเลือกที่ 4 รองลงมาได้แก่ ทางเลือกที่ 3 ทางเลือกที่ 2 และทางเลือกที่ 1 ตามลำดับ

เป็นที่สังเกตด้วยว่า ตามข้อเสนอที่ส่งเข้าครม.มีการระบุว่า เมื่อได้ฟังความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่แล้ว จะได้นำความเห็นไปปรับปรุง เป็นข้อกำหนดงาน (TOR ) สำหรับการศึกษาวิเคราะห์ระบบการจัดการลุ่มน้ำยมฯ ต่อไป และนำเสนอระบบการจัดการน้ำลุ่มน้ำยมฯ ที่ดำเนินการแล้วเสร็จต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้นำไปเป็นกรอบการกำหนดแผนงาน/ โครงการ และการดำเนินการใดๆ ในการจัดการน้ำในลุ่มน้ำยมต่อไป

ทั้งนี้ตามกรอบแผนงานโครงการบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำตอนบน มูลค่า 3.5 แสนล้านบาท ได้บรรจุโครงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น และเขื่อนแม่วงศ์เอาไว้

กลายเป็นว่า เรื่องเพื่อทราบ ที่ ครม.เสนอผลศึกษา โดยเอา “เขื่อนแก่งเสือเต้น” มาสอดแทรก เพื่อรับกับทีโออาร์ 3.5 แสนล้านบาท

เหมือนกับการเข้ามาตีตราว่า “ผลศึกษา 9 จังหวัดลุ่มน้ำตอนบน” ที่มีเขื่อนแก่งเสือเต้น รวมอยู่ด้วยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เห็นด้วยและเห็นชอบให้สร้างชัวร์แล้ว
ปลอดประสพ สุรัสวดี
กำลังโหลดความคิดเห็น