วานนี้ ( 29 ส.ค.) นายเลิศ เศรษฐสิทธิ์ กับพวกรวม 97 คน ซึ่งเป็นพนักงาน ลูกจ้างของสำนักอุตสาหกรรมไม้ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ยื่นฟ้ององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป. ) ผู้อำนวยการอ.อ.ป. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี ต่อศาลปกครองกลาง ขอให้มีคำพิพากษาให้การดำเนินการประกวดราคาการให้เช่าที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แปลงบางโพ กทม. รวม 2 แปลง เป็นโมฆะ ขอให้พิพากษา ยกเลิกคำสั่งองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ที่ 46/2555 เรื่อง ระเบียบองค์การอุตสหากรรมป่าไม้ ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พ.ศ. 2555 และยกเลิกประกาศองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ครั้งที่ 10 เรื่องการให้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดินขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ แปลงบางโพ กทม. และมีคำพิพากษาให้การทำสัญญาเช่าที่ดินเพื่อใช้ประโยชน์ที่ดิน แปลงบางโพ ตามสัญญาที่ ส.กม.22/2555 ลงวันที่ 23 ส.ค. เป็นโมฆะ และระหว่างที่ศาลยังไม่มีคำพิพกาษา ขอให้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว โดยสั่งให้อ.อ.ป.ชะลอ การดำเนินการใดๆ อันเกี่ยวกับการให้เช่าที่ดินแปลงบางโพทั้ง 2 แปลงไว้จนกว่าคดีถึงที่สุด และได้มีการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุเหตุที่ต้องฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การออกประกาศให้เช่าที่ดินแปลงบางโพ ของผอ.ออป. จำนวน 2 ครั้ง คือ ประกาศเช่าที่ดินฉบับลงวันที่ 28 ก.พ. และ ฉบับลงวันที่ 27 มี.ค. ตามโครงการพัฒนาที่ดินของอ.อ.ป. เป็นการกระทำการขัดกฎหมาย เพราะไม่ใช้วิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ใช้วิธีการประมูลยื่นซองประกวดราคา ซึ่งก็มิได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ ( กวพ.อ.) และการที่ ผอ.ออป. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการให้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดินของออป. โดยมีการตั้งคณะกรรมการรับซอง และเปิดซอง คณะกรรมการพิจารณาผล ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตั้งบุคคลเดียวกันเป็นทั้งกรรมการรับ และเปิดซอง และพิจารณาผล ขัดต่อข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2548 ข้อ 25 วรรคสี่
นอกจากนี้ ยังพบว่าการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเสนอเช่าใช้ประโยชน์ที่ดิน ยังมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อผู้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดิน ขัดต่อหลักกฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติของการประกวดราคา เช่น การที่ออป.ไม่กำหนดเงื่อนไขของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ของผู้เสนอโครงการในการประกวดราคา ไม่มีการกำหนดคุณลักษณะของผู้เสนอโครงการว่าต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ หรือผลงานในการทำงานให้หน่วยงานรัฐ รวมทั้งตัดรายการเอกสารที่ต้องแสดงหลักฐานการเงินออกไป ซึ่งน่าจะมีเจตนาหลีกเลี่ยงการตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตามข้อบังคับอ.อ.ป. ว่าด้วยการพัสดุ ข้อ 36(1)(2) อันเป็นการช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใด ได้สิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานรัฐโดยไม่เป็นธรรม
" จากการไม่กำหนดหลักเกณฑ์เหล่านี้ ทำให้ บริษัทสยาม แอสแซท จำกัด เป็นผู้ชนะการเสนอราคา ซึ่งภายหลังวันที่ประกาศให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชนะการเสนอราคาแล้ว อ.อ.ป.ได้มีการตรวจสอบสถานประกอบการของ บริษัท ก็พบว่า ไม่ได้มีการประกอบอาชีพ หรือธุรกิจในลักษณะของงานที่ประมูล หรือประกวดราคา ไม่มีป้ายชื่อ ไม่มีลูกจ้าง ทำให้น่าเชื่อว่า เป็นนายหน้ามากกว่า ที่จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจตัวจริง” คำฟ้องระบุ
อีกทั้งเห็นว่าการที่ อ.อ.ป. กำหนดให้ใช้แต่ราคาของกรมธนารักษ์ ซึ่งประเมินในรอบบัญชี 51-54 แต่เพียงอย่างเดียวในการประกวดราคา โดยไม่ได้กำหนดราคาขั้นต่ำที่ อ.อ.ป.ควรได้รับเพิ่ม ถือเป็นการเสียโอกาส และเป็นความเสียหายที่ อ.อ.ป.ได้รับ เพราะ แม้ปัจจุบันที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อที่รวม 8 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา กรมธนารักษ์จะประเมินไว้ว่ามีราคา 523,115,000 บาท แต่โดยข้อเท็จจริง สถานที่ดังกล่าว อยู่ใกล้เคียงกับเส้นทางรถไฟฟ้า บีทีเอส และเอ็มอาร์ที สายสีม่วง และสายสีแดง ที่ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอยู่ ดังนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องมีราคาสูงกว่าที่กรมธนารักษ์ประเมิน และการที่ ผอ.อ.อ.ป. ลงนามระเบียบองค์การอุตสาหกรรมการป่าไม้ ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของ อ.อ.ป. 55 โดยระบุว่า มูลค่าโครงการ หมายความถึงมูลค่าที่ดินรวมมูลค่าก่อสร้างตามโครงการ ก็เพราะเจตนาที่จะควบคุมมูลค่าโครงการไม่ให้ถึงพันล้านบาท เพื่อที่จะได้ไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่อเจตนาทุจริต ทำให้ อ.อ.ป.เสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับ และเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่น ที่ประสงค์เสนอโครงการในเชิงพานิชย์ ที่มีมูลค่าเกินพันล้าน รวมถึงยังเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 เนื่องจากโครงการที่จะมีการดำเนินการกระทบต่อชุมชน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยังไม่เคยประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชน ไม่เคยมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียของผู้ฟ้องคดีที่พักอาศัยในชุมชนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือชุมชนใกล้เคียง จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามที่ร้องขอ
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุเหตุที่ต้องฟ้องคดีว่า ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การออกประกาศให้เช่าที่ดินแปลงบางโพ ของผอ.ออป. จำนวน 2 ครั้ง คือ ประกาศเช่าที่ดินฉบับลงวันที่ 28 ก.พ. และ ฉบับลงวันที่ 27 มี.ค. ตามโครงการพัฒนาที่ดินของอ.อ.ป. เป็นการกระทำการขัดกฎหมาย เพราะไม่ใช้วิธีการประมูลด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ แต่ใช้วิธีการประมูลยื่นซองประกวดราคา ซึ่งก็มิได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุ และคณะกรรมการว่าด้วยการพัสดุด้วยวิธีทาง อิเล็กทรอนิกส์ ( กวพ.อ.) และการที่ ผอ.ออป. มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการให้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดินของออป. โดยมีการตั้งคณะกรรมการรับซอง และเปิดซอง คณะกรรมการพิจารณาผล ก็ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะตั้งบุคคลเดียวกันเป็นทั้งกรรมการรับ และเปิดซอง และพิจารณาผล ขัดต่อข้อบังคับองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ว่าด้วย การพัสดุ พ.ศ. 2548 ข้อ 25 วรรคสี่
นอกจากนี้ ยังพบว่าการกำหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิเสนอเช่าใช้ประโยชน์ที่ดิน ยังมีลักษณะเอื้อประโยชน์ต่อผู้เช่าใช้ประโยชน์ที่ดิน ขัดต่อหลักกฎหมาย และธรรมเนียมปฏิบัติของการประกวดราคา เช่น การที่ออป.ไม่กำหนดเงื่อนไขของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว ของผู้เสนอโครงการในการประกวดราคา ไม่มีการกำหนดคุณลักษณะของผู้เสนอโครงการว่าต้องเป็นผู้มีประสบการณ์ หรือผลงานในการทำงานให้หน่วยงานรัฐ รวมทั้งตัดรายการเอกสารที่ต้องแสดงหลักฐานการเงินออกไป ซึ่งน่าจะมีเจตนาหลีกเลี่ยงการตรวจสอบในเรื่องที่เกี่ยวกับการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เสนอราคา ตามข้อบังคับอ.อ.ป. ว่าด้วยการพัสดุ ข้อ 36(1)(2) อันเป็นการช่วยเหลือให้ผู้เสนอราคารายใด ได้สิทธิเข้าทำสัญญากับหน่วยงานรัฐโดยไม่เป็นธรรม
" จากการไม่กำหนดหลักเกณฑ์เหล่านี้ ทำให้ บริษัทสยาม แอสแซท จำกัด เป็นผู้ชนะการเสนอราคา ซึ่งภายหลังวันที่ประกาศให้บริษัทดังกล่าวเป็นผู้ชนะการเสนอราคาแล้ว อ.อ.ป.ได้มีการตรวจสอบสถานประกอบการของ บริษัท ก็พบว่า ไม่ได้มีการประกอบอาชีพ หรือธุรกิจในลักษณะของงานที่ประมูล หรือประกวดราคา ไม่มีป้ายชื่อ ไม่มีลูกจ้าง ทำให้น่าเชื่อว่า เป็นนายหน้ามากกว่า ที่จะเป็นผู้ดำเนินธุรกิจตัวจริง” คำฟ้องระบุ
อีกทั้งเห็นว่าการที่ อ.อ.ป. กำหนดให้ใช้แต่ราคาของกรมธนารักษ์ ซึ่งประเมินในรอบบัญชี 51-54 แต่เพียงอย่างเดียวในการประกวดราคา โดยไม่ได้กำหนดราคาขั้นต่ำที่ อ.อ.ป.ควรได้รับเพิ่ม ถือเป็นการเสียโอกาส และเป็นความเสียหายที่ อ.อ.ป.ได้รับ เพราะ แม้ปัจจุบันที่ดิน 2 แปลงดังกล่าว ซึ่งมีเนื้อที่รวม 8 ไร่ 2 งาน 60 ตารางวา กรมธนารักษ์จะประเมินไว้ว่ามีราคา 523,115,000 บาท แต่โดยข้อเท็จจริง สถานที่ดังกล่าว อยู่ใกล้เคียงกับเส้นทางรถไฟฟ้า บีทีเอส และเอ็มอาร์ที สายสีม่วง และสายสีแดง ที่ปัจจุบันกำลังมีการก่อสร้างอยู่ ดังนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องมีราคาสูงกว่าที่กรมธนารักษ์ประเมิน และการที่ ผอ.อ.อ.ป. ลงนามระเบียบองค์การอุตสาหกรรมการป่าไม้ ว่าด้วยการจัดหาประโยชน์ในทรัพย์สินของ อ.อ.ป. 55 โดยระบุว่า มูลค่าโครงการ หมายความถึงมูลค่าที่ดินรวมมูลค่าก่อสร้างตามโครงการ ก็เพราะเจตนาที่จะควบคุมมูลค่าโครงการไม่ให้ถึงพันล้านบาท เพื่อที่จะได้ไม่ต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงาน หรือดำเนินการในกิจการของรัฐ 2535 ซึ่งการกระทำดังกล่าว ส่อเจตนาทุจริต ทำให้ อ.อ.ป.เสียประโยชน์ที่ควรจะได้รับ และเป็นการกีดกันผู้ประกอบการรายอื่น ที่ประสงค์เสนอโครงการในเชิงพานิชย์ ที่มีมูลค่าเกินพันล้าน รวมถึงยังเป็นการฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 เนื่องจากโครงการที่จะมีการดำเนินการกระทบต่อชุมชน แต่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองยังไม่เคยประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม และสุขภาพของประชาชนในชุมชน ไม่เคยมีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ผู้มีส่วนได้เสียของผู้ฟ้องคดีที่พักอาศัยในชุมชนขององค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ หรือชุมชนใกล้เคียง จึงขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามที่ร้องขอ