วานนี้ ( 16 ส.ค.) ศาลปกครองกลาง มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องในคดีที่ นายสนธิญา สวัสดี อดีตยุทธศาสตร์ พัฒนา จ.สมุทรสาคร ยื่นฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร กรณีที่อนุญาตให้มีการขนถ่ายถ่านหิน ในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร จนทำให้เกิดปัญหาน้ำเน่าเสียในแม่น้ำท่าจีน สภาพแวดล้อมถูกทำลาย และไม่ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับเรือบรรทุกถ่านหิน รวมทั้งมีท่าขนถ่ายถ่านหินที่ไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งนายสนธิญา ได้ขอให้ศาล มีคำสั่งย้ายผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร ออกนอกพื้นที่ภายใน 30 วัน และขอให้ ผวจ.สมุทรสาคร ออกคำสั่งบังคับห้ามขนถ่ายถ่านหินภายในพื้นที่ รวมทั้งขอให้หน่วยงานเกี่ยวข้องทั้งตำรวจน้ำ กรมเจ้าท่า ห้ามเรือบรรทุกถ่านหินเข้ามาจอดเทียบท่าแม่น้ำท่าจีน
สำหรับเหตุที่ศาลปกครองยกฟ้อง ระบุว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อนายสนธิญา ได้มีหนังสือถึงผวจ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุการเน่าเสียของแม่น้ำท่าจีนแล้ว และให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้ประกอบกิจการขนถ่านหิน ที่ใช้เรือผิดประเภท หรือไม่ได้รับอนุญาต หลังจากนั้นผวจ.สมุทรสาครได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ แล้วให้รายงานผลให้ทราบ
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยด้วยว่า ก่อนที่ ผวจ.สมุทรสาคร จะได้รับหมายแจ้งคำสั่งศาลที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้แก่ นายสนธิญา เมื่อวันที่ 24 ส.ค.54 นั้น ผวจ.สมุทรสาคร ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 13 ก.ค.54 ถึงรองผวจ.สมุทรสาคร หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และผู้ประกอบกิจการถ่านหินทุกราย ให้ระงับการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการถ่านหินทุกกรณี หากมีการฝ่าฝืน ให้มีการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง และยังมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจพิสูจน์คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีน ลงวันที่ 9 ก.ย.54 โดยมีตัวแทนเป็นชาวบ้านในตำบลต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ดังนั้น จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ ผวจ.สมุทรสาคร จึงถือไม่ได้ว่าละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฎิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ส่วนกรณีที่นายสนธิญา ขอให้ย้ายผวจ.สุมทรสาคร ออกจากพื้นที่ภายใน 30 วันนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา ในทางการบริหารบุคคล ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปใช้อำนาจของฝ่ายบริหารได้ จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจกำหนดคำบังคับได้ จึงพิพากษายกฟ้อง และให้คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ก่อนการพิพากษานั้นสิ้นผลไป
สำหรับเหตุที่ศาลปกครองยกฟ้อง ระบุว่า เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า เมื่อนายสนธิญา ได้มีหนังสือถึงผวจ.สมุทรสาคร เมื่อวันที่ 1 ก.พ.54 เพื่อขอให้ดำเนินการตรวจสอบหาสาเหตุการเน่าเสียของแม่น้ำท่าจีนแล้ว และให้ดำเนินการขั้นเด็ดขาดกับผู้ประกอบกิจการขนถ่านหิน ที่ใช้เรือผิดประเภท หรือไม่ได้รับอนุญาต หลังจากนั้นผวจ.สมุทรสาครได้มีหนังสือแจ้งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตรวจสอบข้อเท็จจริง และดำเนินการแก้ไขปัญหาตามอำนาจหน้าที่ แล้วให้รายงานผลให้ทราบ
นอกจากนี้ยังปรากฏข้อเท็จจริงด้วยด้วยว่า ก่อนที่ ผวจ.สมุทรสาคร จะได้รับหมายแจ้งคำสั่งศาลที่มีคำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองชั่วคราวให้แก่ นายสนธิญา เมื่อวันที่ 24 ส.ค.54 นั้น ผวจ.สมุทรสาคร ได้มีหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 13 ก.ค.54 ถึงรองผวจ.สมุทรสาคร หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่ง และผู้ประกอบกิจการถ่านหินทุกราย ให้ระงับการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการถ่านหินทุกกรณี หากมีการฝ่าฝืน ให้มีการพิจารณาดำเนินการตามกฎหมายอย่างจริงจัง และยังมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อตรวจพิสูจน์คุณภาพน้ำในแม่น้ำท่าจีน ลงวันที่ 9 ก.ย.54 โดยมีตัวแทนเป็นชาวบ้านในตำบลต่างๆ ร่วมเป็นกรรมการ ดังนั้น จากการปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวของ ผวจ.สมุทรสาคร จึงถือไม่ได้ว่าละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฎิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร
ส่วนกรณีที่นายสนธิญา ขอให้ย้ายผวจ.สุมทรสาคร ออกจากพื้นที่ภายใน 30 วันนั้น เป็นการใช้ดุลพินิจของผู้บังคับบัญชา ในทางการบริหารบุคคล ศาลไม่อาจก้าวล่วงไปใช้อำนาจของฝ่ายบริหารได้ จึงเป็นคำขอที่ศาลไม่อาจกำหนดคำบังคับได้ จึงพิพากษายกฟ้อง และให้คำสั่งกำหนดมาตรการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ก่อนการพิพากษานั้นสิ้นผลไป