เมื่อเวลา 10.00 น. วานนี้ (7 ส.ค.) ที่พรรคเพื่อไทย มีการประชุมนัดแรกของคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลต่อกรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 11 คน ซึ่งเข้าร่วมพร้อมเพรียง อาทิ นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาลหรือวิปรัฐบาล นายภราดร ปริศนานันทกุล ส.ส.อ่างทอง พรรคชาติไทยพัฒนา นายประเสริฐ บุญชัยสุข ส.ส.นครราชสีมา พรรคชาติพัฒนา นายสันตศักย์ จรูญ งามพิเชษฐ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคพลังชล เป็นต้น
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาของคณะทำงานที่ชัดเจน จากกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาแสดงความกังวลว่าระยะเวลา 3-4 เดือนอาจล่าช้าเกินไป ทั้งนี้กรอบการทำงานต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่จะมีการประชุมถกเถียง ซึ่งต้องดำเนินการให้เกิดความรอบคอบมากที่สุดเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ส.ว. รวมถึงประชาชนด้วย
นายสามารถ กล่าวต่อว่า การประชุมของคณะทำงานจะเน้นศึกษาคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลัก เนื่องจากคำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 ส่วนคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่มีผลผูกพันต่อองค์กร ดังนั้นต้องมีการหารือว่าจะต้องปฏิบัติตามแนวทางคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการจัดทำประชามติที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญระบุไว้ให้จัดทำหลังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จจะถือเป็นการทำประชามติตามความหมายของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากมีการจัดทำประชามติไม่ควรยึดตามมาตรา 165 ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ระบุให้ใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง แต่ควรยึดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ระบุให้ใช้เสียงข้างมากของผู้ที่ออกมาใช้สิทธิได้ตามที่เคยมีการจัดทำประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 50
นายสามารถ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งต่อไปที่ประชุมของคณะทำงานอาจมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภายนอก เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา รัฐสภา หรือนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน มาให้คำปรึกษาเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดความรอบคอบมากที่สุดเพื่อป้องกันการยื่นคำร้องเข้าข่ายล้มล้างการปกครองอีกในอนาคต
ขณะที่ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในฐานะคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องมีการหารือ คือ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติออกมาเท่ากัน 4 ต่อ 4 ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาว่า 4 เสียงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 นั้นมีประเด็นอะไรที่ต้องพิจารณา อย่างไรก็ตามคาดว่าการประชุมวันนี้จะมีการเลือกหัวหน้าคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพราะที่ผ่านมามีเพียงการตั้งนายวราเทพ รัตนากร สมาชิกพรรคเพื่อไทยเป็นเลขานุการเท่านั้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าหัวหน้าของคณะทำงานต้องมาจากพรรคเพื่อไทย
**ตั้ง“โภคิน-พงษ์เทพ” ปลดล็อกรธน.
นายโภคิน พลกุล สมาชิกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะทำงานมีมติให้ตนเป็นประธานคณะทำงานชุดนี้ และให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองประธานคณะทำงานฯ ทั้งนี้ ประเด็นหลักๆ ที่คุยกันในครั้งนี้มี 2 เรื่องคือ 1.คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสาระอะไรบ้าง และ 2.เหตุใดจึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550
นายโภคินกล่าวอีกว่า ในเรื่องคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนนั้น คณะทำงานได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้ 1.การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีอำนาจรับเรื่องการตีความตามมาตรา 68 โดยตรงได้นั้น อาจทำให้ประชาชนสับสน และเกรงว่าต่อไปจะเป็นภาระของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีการมายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด 2.การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา 291 เป็นเพียงการให้คำแนะนำว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับควรทำประชามติจากประชาชนก่อนแต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะต้องทำประชามติอย่างไร และคำแนะนำเรื่องการแก้ไขรายมาตราก็ไม่ได้บอกว่าสามารถทำเป็นรายประเด็นได้หรือไม่ และ 3.การที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ขัดมาตรา 68 นั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงหยิบมาตรา 291 ที่ว่าด้วยกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาพิจารณาก่อนมาตรา 68 ที่ว่าด้วยขั้นตอนการรับคำร้อง เพราะถ้าวินิจฉัยตามมาตรา 68 ก่อน ซึ่งคำวินิจฉัยกลางบอกว่าไม่เข้าข่ายความผิด ก็จะเป็นอันยุติ ไม่ต้องวินิจฉัยตามมาตรา 291 และมาตราอื่นๆ ต่อ
สำหรับเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 291 นั้น เนื่องจากมีหลายมาตราในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ขัดแย้งกันเอง เช่น มาตรา 237 และมาตรา 68 ที่ว่าด้วยการยุบพรรคและให้ตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยใช้อำนาจของประกาศของคณะรัฐประหาร และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ต่อสู้ ซึ่งขัดต่อมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ระบุว่า การดำเนินการขององค์กรต่างๆ ต้องปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับก็ไม่เคยมีการบัญญัติเรื่องการยุบพรรครวมถึงการที่พรรคถูกยุบแต่ไม่สามารถใช้ชื่อเดิม ทั้งๆ ที่คนทำผิดเพียง 1-2 คนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด แต่กลับต้องได้รับโทษทั้งหมดทุกคนซึ่งไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาว่าจะต้องหาข้อสรุปให้ได้ภายในเวลาเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแต่ต้องทำให้เสร็จเร็วที่สุด โดยมีคำอธิบายในแต่ละประเด็นด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้มอบการบ้านให้พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคไปตรวจสอบรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในแต่ละประเด็นให้ชัดเจนด้วยว่า แต่ละประเด็นมีความหมายอย่างไร แล้วนำมาเสนอต่อคณะทำงานอีกครั้งในวันที่ 20 ส.ค.เพื่อนำมาพิจารณาว่าจะสามารถลงมติในวาระ 3 ต่อไปได้หรือไม่
**พท.แหยงไม่กล้าลักไก่ปรองดอง
ที่พรรคเพื่อไทย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังการประชุมพรรคเพื่อไทยว่า ที่ประชุมแจ้งต่อ ส.ส.เพื่อไทยว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพรุ่งนี้ (8 ส.ค.) จะไม่มีการนำวาระร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ มาหารือในที่ประชุมอย่างแน่นอน โดยจะเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่างๆที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว 10 ฉบับ ทั้งนี้กำชับให้ ส.ส.ทุกคนเข้าประชุมถึงเวลา 21.00 น. โดยที่ประชุมยังได้ชื่นชม ส.ส.เพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลว่า ตั้งแต่เป็นรัฐบาลมา ไม่เคยมีเหตุการณ์สภาล่มเหมือนสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว แสดงว่า ส.ส.ตั้งใจทำงาน อยู่ร่วมประชุมตลอด ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น พรรคเพื่อไทยมีความพร้อมเสมอในการถูกอภิปราย และกำชับว่าการทำนโยบายต่างๆของรัฐบาลต้องไม่มีการทุจริต หากเกิดการทุจริตในหน่วยงานใด ต้องเอาผิดกับข้าราชการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทันที
**ฝ่ายค้านยัน ต้องถอนปรองดอง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้านมีความเห็นร่วมกันให้ความห็นชอบร่างพ.ร.บ. 5 ฉบับในวาระที่ 2-3 ซึ่งเป็นเรื่องที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนประกอบด้วย 1.ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ 2.ร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 3.ร่างพ.ร.บ.วิชาชาชีพแผนไทย 4.ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 5.ร่างพ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ
นายจุรินทร์ กล่าววที่เหลืออีก 5 ฉบับได้แก่ ร่างพ.ร.บ.สถานพยาบาล ร่างพ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร ร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และ ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีของผู้บริโภค ฝ่ายค้านก็มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วยเช่นกันแต่ต้องขอไปศึกษารายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อน
"เมื่อเสร็จสิ้นร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้ก็จะถึงวาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 4 ฉบับ ซึ่งฝ่ายค้านยังยืนยันที่จะให้สภาฯถอนกฎหมายที่มีปัญหานี้ออกจากสภาฯเพื่อไม่เป็นการเติมเชื้อไฟความขัดแย้งเข้าไปอีก" นายจุรินทร์ กล่าว
** จี้บริสุทธิ์ใจต้องถอนปรองดอง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่วิปรัฐบาลมีมติว่าจะพิจารณาว่าจะเลื่อนร่างพรบ.ปรองดองหรือไม่อีกครั้ง หลังการพิจารณาวาระที่เลื่อนมา 10 วาระก่อนหน้านี้ เป็นการสะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีความบริสุทธิ์ใจที่จะหยุดชนวนความขัดแย้ง เพราะหากบริสุทธิ์ใจจริงต้องถอนร่างออกไป ไม่ใช่ให้อยู่ในวาระการประชุมซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถใช้เสียงข้างมากเลื่อนขึ้นมาพิจารณาได้ทันที โดยอาจฉวยโอกาสสังคมเผลอ ประเมินกำลังเพื่อเอาชนะ จึงอยากให้ทบทวนวิธีคิดที่จะคา ร่างพรบ.ปรองดองในวาระการประชุมออกไป ไม่เช่นนั้นก็สร้างความคลางแคลงใจต่อประชาชน และสถานการณ์บ้านเมืองจะอึมครึมต่อไป
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาลศึกษาแนวทางแก้ไขรัฐธรรมนูญว่า ขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดกรอบระยะเวลาของคณะทำงานที่ชัดเจน จากกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาแสดงความกังวลว่าระยะเวลา 3-4 เดือนอาจล่าช้าเกินไป ทั้งนี้กรอบการทำงานต้องขึ้นอยู่กับเนื้อหาสาระที่จะมีการประชุมถกเถียง ซึ่งต้องดำเนินการให้เกิดความรอบคอบมากที่สุดเพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล ส.ว. รวมถึงประชาชนด้วย
นายสามารถ กล่าวต่อว่า การประชุมของคณะทำงานจะเน้นศึกษาคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเป็นหลัก เนื่องจากคำวินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กรตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 ส่วนคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญนั้นไม่มีผลผูกพันต่อองค์กร ดังนั้นต้องมีการหารือว่าจะต้องปฏิบัติตามแนวทางคำแนะนำของศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่ และการจัดทำประชามติที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญระบุไว้ให้จัดทำหลังสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ร่างรัฐธรรมนูญแล้วเสร็จจะถือเป็นการทำประชามติตามความหมายของศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ อย่างไรก็ตามเห็นว่าหากมีการจัดทำประชามติไม่ควรยึดตามมาตรา 165 ตามรัฐธรรมนูญปี 50 ที่ระบุให้ใช้เสียงข้างมากเกินกึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิออกเสียง แต่ควรยึดตามพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ที่ระบุให้ใช้เสียงข้างมากของผู้ที่ออกมาใช้สิทธิได้ตามที่เคยมีการจัดทำประชามติรับรัฐธรรมนูญปี 50
นายสามารถ กล่าวอีกว่า การประชุมครั้งต่อไปที่ประชุมของคณะทำงานอาจมีการเชิญผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายภายนอก เช่น คณะกรรมการกฤษฎีกา รัฐสภา หรือนักวิชาการด้านกฎหมายมหาชน มาให้คำปรึกษาเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญเกิดความรอบคอบมากที่สุดเพื่อป้องกันการยื่นคำร้องเข้าข่ายล้มล้างการปกครองอีกในอนาคต
ขณะที่ นายอุดมเดช รัตนเสถียร ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) ในฐานะคณะทำงานของพรรคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า สิ่งสำคัญที่ต้องมีการหารือ คือ คำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติออกมาเท่ากัน 4 ต่อ 4 ซึ่งจำเป็นต้องพิจารณาว่า 4 เสียงเห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจวินิจฉัยการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 นั้นมีประเด็นอะไรที่ต้องพิจารณา อย่างไรก็ตามคาดว่าการประชุมวันนี้จะมีการเลือกหัวหน้าคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพราะที่ผ่านมามีเพียงการตั้งนายวราเทพ รัตนากร สมาชิกพรรคเพื่อไทยเป็นเลขานุการเท่านั้น ทั้งนี้ไม่จำเป็นว่าหัวหน้าของคณะทำงานต้องมาจากพรรคเพื่อไทย
**ตั้ง“โภคิน-พงษ์เทพ” ปลดล็อกรธน.
นายโภคิน พลกุล สมาชิกพรรคเพื่อไทย ในฐานะคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะทำงานมีมติให้ตนเป็นประธานคณะทำงานชุดนี้ และให้นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา เป็นรองประธานคณะทำงานฯ ทั้งนี้ ประเด็นหลักๆ ที่คุยกันในครั้งนี้มี 2 เรื่องคือ 1.คำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมีสาระอะไรบ้าง และ 2.เหตุใดจึงต้องแก้ไขรัฐธรรมนูญปี 2550
นายโภคินกล่าวอีกว่า ในเรื่องคำวินิจฉัยกลางและคำวินิจฉัยส่วนตนนั้น คณะทำงานได้ตั้งข้อสังเกตดังนี้ 1.การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีอำนาจรับเรื่องการตีความตามมาตรา 68 โดยตรงได้นั้น อาจทำให้ประชาชนสับสน และเกรงว่าต่อไปจะเป็นภาระของศาลรัฐธรรมนูญที่จะมีการมายื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง ไม่ต้องผ่านอัยการสูงสุด 2.การที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมาตรา 291 เป็นเพียงการให้คำแนะนำว่า หากจะแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับควรทำประชามติจากประชาชนก่อนแต่ไม่ได้บอกรายละเอียดว่าจะต้องทำประชามติอย่างไร และคำแนะนำเรื่องการแก้ไขรายมาตราก็ไม่ได้บอกว่าสามารถทำเป็นรายประเด็นได้หรือไม่ และ 3.การที่ศาลรัฐธรรมนูญระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่ขัดมาตรา 68 นั้น ขอตั้งข้อสังเกตว่า เหตุใดศาลรัฐธรรมนูญจึงหยิบมาตรา 291 ที่ว่าด้วยกระบวนการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาพิจารณาก่อนมาตรา 68 ที่ว่าด้วยขั้นตอนการรับคำร้อง เพราะถ้าวินิจฉัยตามมาตรา 68 ก่อน ซึ่งคำวินิจฉัยกลางบอกว่าไม่เข้าข่ายความผิด ก็จะเป็นอันยุติ ไม่ต้องวินิจฉัยตามมาตรา 291 และมาตราอื่นๆ ต่อ
สำหรับเหตุผลของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 291 นั้น เนื่องจากมีหลายมาตราในรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ขัดแย้งกันเอง เช่น มาตรา 237 และมาตรา 68 ที่ว่าด้วยการยุบพรรคและให้ตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรค 5 ปี โดยใช้อำนาจของประกาศของคณะรัฐประหาร และไม่เปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาได้ต่อสู้ ซึ่งขัดต่อมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ระบุว่า การดำเนินการขององค์กรต่างๆ ต้องปฏิบัติตามหลักนิติรัฐ นิติธรรม ซึ่งที่ผ่านมารัฐธรรมนูญแต่ละฉบับก็ไม่เคยมีการบัญญัติเรื่องการยุบพรรครวมถึงการที่พรรคถูกยุบแต่ไม่สามารถใช้ชื่อเดิม ทั้งๆ ที่คนทำผิดเพียง 1-2 คนเท่านั้น ไม่ใช่ทั้งหมด แต่กลับต้องได้รับโทษทั้งหมดทุกคนซึ่งไม่ถูกต้อง อย่างไรก็ตาม คณะทำงานยังไม่ได้กำหนดกรอบเวลาว่าจะต้องหาข้อสรุปให้ได้ภายในเวลาเท่าไหร่ เพราะเรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและให้เป็นที่พอใจของทุกฝ่ายแต่ต้องทำให้เสร็จเร็วที่สุด โดยมีคำอธิบายในแต่ละประเด็นด้วย ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้มอบการบ้านให้พรรคร่วมรัฐบาลแต่ละพรรคไปตรวจสอบรายละเอียดคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในแต่ละประเด็นให้ชัดเจนด้วยว่า แต่ละประเด็นมีความหมายอย่างไร แล้วนำมาเสนอต่อคณะทำงานอีกครั้งในวันที่ 20 ส.ค.เพื่อนำมาพิจารณาว่าจะสามารถลงมติในวาระ 3 ต่อไปได้หรือไม่
**พท.แหยงไม่กล้าลักไก่ปรองดอง
ที่พรรคเพื่อไทย นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ รองโฆษกพรรคเพื่อไทย แถลงภายหลังการประชุมพรรคเพื่อไทยว่า ที่ประชุมแจ้งต่อ ส.ส.เพื่อไทยว่า ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรวันพรุ่งนี้ (8 ส.ค.) จะไม่มีการนำวาระร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ มาหารือในที่ประชุมอย่างแน่นอน โดยจะเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ต่างๆที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จแล้ว 10 ฉบับ ทั้งนี้กำชับให้ ส.ส.ทุกคนเข้าประชุมถึงเวลา 21.00 น. โดยที่ประชุมยังได้ชื่นชม ส.ส.เพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลว่า ตั้งแต่เป็นรัฐบาลมา ไม่เคยมีเหตุการณ์สภาล่มเหมือนสมัยรัฐบาลชุดที่แล้ว แสดงว่า ส.ส.ตั้งใจทำงาน อยู่ร่วมประชุมตลอด ส่วนการอภิปรายไม่ไว้วางใจนั้น พรรคเพื่อไทยมีความพร้อมเสมอในการถูกอภิปราย และกำชับว่าการทำนโยบายต่างๆของรัฐบาลต้องไม่มีการทุจริต หากเกิดการทุจริตในหน่วยงานใด ต้องเอาผิดกับข้าราชการและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทันที
**ฝ่ายค้านยัน ต้องถอนปรองดอง
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) แถลงว่า ที่ประชุมวิปฝ่ายค้านมีความเห็นร่วมกันให้ความห็นชอบร่างพ.ร.บ. 5 ฉบับในวาระที่ 2-3 ซึ่งเป็นเรื่องที่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบให้เลื่อนขึ้นมาพิจารณาก่อนประกอบด้วย 1.ร่างพ.ร.บ.วิชาชีพสังคมสงเคราะห์ 2.ร่างพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลห้วยโป่ง และตำบลมาบตาพุด อ.เมืองระยอง จ.ระยอง 3.ร่างพ.ร.บ.วิชาชาชีพแผนไทย 4.ร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย 5.ร่างพ.ร.บ.ประกอบโรคศิลปะ
นายจุรินทร์ กล่าววที่เหลืออีก 5 ฉบับได้แก่ ร่างพ.ร.บ.สถานพยาบาล ร่างพ.ร.บ.มาตรฐานสินค้าเกษตร ร่างพ.ร.บ.เงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง และประโยชน์ตอบแทนอื่นของประธานศาลรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ประธานกรรมการและกรรมการการเลือกตั้ง ประธานผู้ตรวจการแผ่นดินและผู้ตรวจการแผ่นดิน ประธานกรรมการและกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และ ประธานกรรมการและกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค และ ร่างพ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีของผู้บริโภค ฝ่ายค้านก็มีแนวโน้มว่าจะเห็นด้วยเช่นกันแต่ต้องขอไปศึกษารายละเอียดอีกครั้งหนึ่งก่อน
"เมื่อเสร็จสิ้นร่างกฎหมายทั้ง 10 ฉบับนี้ก็จะถึงวาระการพิจารณาร่างพ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ 4 ฉบับ ซึ่งฝ่ายค้านยังยืนยันที่จะให้สภาฯถอนกฎหมายที่มีปัญหานี้ออกจากสภาฯเพื่อไม่เป็นการเติมเชื้อไฟความขัดแย้งเข้าไปอีก" นายจุรินทร์ กล่าว
** จี้บริสุทธิ์ใจต้องถอนปรองดอง
นายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่วิปรัฐบาลมีมติว่าจะพิจารณาว่าจะเลื่อนร่างพรบ.ปรองดองหรือไม่อีกครั้ง หลังการพิจารณาวาระที่เลื่อนมา 10 วาระก่อนหน้านี้ เป็นการสะท้อนว่ารัฐบาลไม่มีความบริสุทธิ์ใจที่จะหยุดชนวนความขัดแย้ง เพราะหากบริสุทธิ์ใจจริงต้องถอนร่างออกไป ไม่ใช่ให้อยู่ในวาระการประชุมซึ่งจะทำให้รัฐบาลสามารถใช้เสียงข้างมากเลื่อนขึ้นมาพิจารณาได้ทันที โดยอาจฉวยโอกาสสังคมเผลอ ประเมินกำลังเพื่อเอาชนะ จึงอยากให้ทบทวนวิธีคิดที่จะคา ร่างพรบ.ปรองดองในวาระการประชุมออกไป ไม่เช่นนั้นก็สร้างความคลางแคลงใจต่อประชาชน และสถานการณ์บ้านเมืองจะอึมครึมต่อไป