วานนี้(7 ส.ค.55)นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ) แถลงผลการตรวจสอบกรณีกรุงเทพมหานคร โดยบริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด ลงนามสัญญาจ้างบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพจำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ว่า ภายหลังดีเอสไอทำหนังสือสอบถามอำนาจการลงนามต่อสัญญาดังกล่าวไปถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือตอบกลับข้อซักถามของดีเอสไอใน 2 ประเด็น คือ การที่กทม.ทำสัญญาจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคมฯ ลงวันที่ 2 พ.ค. 2555 บริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกทม.และต่อมาบริษัทกรุงเทพ ธนาคม ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตามสัญญาลงวันที่ 3 พ.ค. 2555 นั้น เป็นการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการรถรางอยู่ในอำนาจมหาดไทยหรือไม่ และสัญญาจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงเป็นการดำเนินการรถราง จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 58 sหรือไม่ และรัฐมนตรีมหาดไทยเคยได้เคยอนุญาตหรืออนุมัติให้สัมปทานการดำเนินการตามสัญญา ทั้ง 2 ฉบับหรือไม่
ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือยืนยันว่าอำนาจการต่อสัญญาเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งนายยงยุทธ ระบุในหนังสือตอบข้อซักถามดีเอสไอด้วยว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนของกทม.ที่ได้ดำเนินการเมื่อปี 2535 ก็เป็นกิจการเกี่ยวกับรถรางซึ่งรมว.มหาดไทยได้เคยอนุมัติให้สัมปทานตามประกาศคณะปฏิบัติที่ 58 ดังนั้น การที่กทม.ทำสัญญาจ้างบริษัท กรุงเทพ ธนาคม บริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนและต่อมาบริษัท กรุงเทพ ธนาคมได้ทำสัญญาจ้างบริษัท บีทีเอส ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง จึงเป็นการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการรถราง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย การดำเนินการดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ที่ห้ามไม่ให้บุคคลใดประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรมว.มหาดไทย ทั้งนี้ จากการตรวจ สอบยังไม่ปรากฏว่ารมว.มหาดไทยได้เคยอนุญาต หรือให้สัมปทานเกี่ยวกับสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ดังนั้นจึงถือว่าการต่อสัญญาทั้ง 2 ฉบับเป็นอำนาจของมหาดไทยไม่ใช่กทม.
อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (8ส.ค.)ดีเอสไอจะทำหนังสือแจ้งไปยัง 3หน่วยงาน คือ กรุงเทพมหานคร บริษัทกรุงเทพธนาคมและกลุ่มบริษัทธนายงซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ได้รับสัมปทาน เพื่อแจ้งให้ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยตอบคำถามบอร์ดมาแล้ว ส่วน 3 หน่วยงานจะมีความเห็นต่างต้องการชี้แจง หรือมีข้อโต้แย้ง เห็นต่างอย่างไร ก็ขอให้ชี้แจงกลับมา และเมื่อดีเอสไอได้รับคำตอบแล้วก็เสนอเรื่องให้ประธานคณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาต่อไป
**กทม.สวนดีเอสไอจ้องชงคดีพิเศษ
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษานายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่ากทม.ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ในการว่าจ้างเคทีบริหารระบบสาธารณูปโภค และจ้างบริษัทบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าได้ ยืนยันไม่ได้แตะ หรือไม่ได้ต่อสัญญาสัมปทาน หากกรณีนี้เกี่ยวข้องกับสัมปทานต้องขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแน่นอน เพราะเป็นอำนาจโดยตรง แต่การจ้างเดินรถไฟฟ้าสามารถใช้อำนาจของผู้ว่าฯกทม.บริหารงานได้ ทั้งนี้ เมื่อดีเอสไอได้รับหนังสือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะเสนอเรื่องกลับไปยังประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นกคพ.ชุดใหม่ เนื่องจากชุดเดิมจะหมดวาระในวันที่ 7 ก.ย.นี้
"ผมเข้าใจอธิบดีดีเอสไอที่ต้องพยายามทำเรื่องบีทีเอสเป็นคดีพิเศษให้ได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ใกล้ฤดูโยกย้าย ขอตั้งข้อสังเกตว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง และอาจจะดึงเรื่องนี้ลากยาวไปจนถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. สมัยหน้า เพื่อดิสเครดิต" นายอัศวัชร์กล่าว
ล่าสุด เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือตอบกลับข้อซักถามของดีเอสไอใน 2 ประเด็น คือ การที่กทม.ทำสัญญาจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคมฯ ลงวันที่ 2 พ.ค. 2555 บริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกทม.และต่อมาบริษัทกรุงเทพ ธนาคม ได้ทำสัญญาจ้างบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตามสัญญาลงวันที่ 3 พ.ค. 2555 นั้น เป็นการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการรถรางอยู่ในอำนาจมหาดไทยหรือไม่ และสัญญาจ้างเดินรถและซ่อมบำรุงเป็นการดำเนินการรถราง จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามประกาศคณะปฎิวัติฉบับที่ 58 sหรือไม่ และรัฐมนตรีมหาดไทยเคยได้เคยอนุญาตหรืออนุมัติให้สัมปทานการดำเนินการตามสัญญา ทั้ง 2 ฉบับหรือไม่
ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ทำหนังสือยืนยันว่าอำนาจการต่อสัญญาเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ไม่ใช่อำนาจของกรุงเทพมหานคร (กทม.) ซึ่งนายยงยุทธ ระบุในหนังสือตอบข้อซักถามดีเอสไอด้วยว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนของกทม.ที่ได้ดำเนินการเมื่อปี 2535 ก็เป็นกิจการเกี่ยวกับรถรางซึ่งรมว.มหาดไทยได้เคยอนุมัติให้สัมปทานตามประกาศคณะปฏิบัติที่ 58 ดังนั้น การที่กทม.ทำสัญญาจ้างบริษัท กรุงเทพ ธนาคม บริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนและต่อมาบริษัท กรุงเทพ ธนาคมได้ทำสัญญาจ้างบริษัท บีทีเอส ให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุง จึงเป็นการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการรถราง ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทย การดำเนินการดังกล่าวจึงอยู่ในบังคับประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ที่ห้ามไม่ให้บุคคลใดประกอบกิจการค้าขายอันเป็นสาธารณูปโภค เว้นแต่จะได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทานจากรมว.มหาดไทย ทั้งนี้ จากการตรวจ สอบยังไม่ปรากฏว่ารมว.มหาดไทยได้เคยอนุญาต หรือให้สัมปทานเกี่ยวกับสัญญาทั้ง 2 ฉบับ ดังนั้นจึงถือว่าการต่อสัญญาทั้ง 2 ฉบับเป็นอำนาจของมหาดไทยไม่ใช่กทม.
อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (8ส.ค.)ดีเอสไอจะทำหนังสือแจ้งไปยัง 3หน่วยงาน คือ กรุงเทพมหานคร บริษัทกรุงเทพธนาคมและกลุ่มบริษัทธนายงซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทที่ได้รับสัมปทาน เพื่อแจ้งให้ทราบว่ากระทรวงมหาดไทยตอบคำถามบอร์ดมาแล้ว ส่วน 3 หน่วยงานจะมีความเห็นต่างต้องการชี้แจง หรือมีข้อโต้แย้ง เห็นต่างอย่างไร ก็ขอให้ชี้แจงกลับมา และเมื่อดีเอสไอได้รับคำตอบแล้วก็เสนอเรื่องให้ประธานคณะกรรมการคดีพิเศษพิจารณาต่อไป
**กทม.สวนดีเอสไอจ้องชงคดีพิเศษ
นายอัศวัชร์ อภัยวงศ์ ที่ปรึกษานายธีระชน มโนมัยพิบูลย์ รองผู้ว่าฯกทม. กล่าวว่า ยืนยันอีกครั้งว่ากทม.ใช้อำนาจตามพ.ร.บ.บริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 ในการว่าจ้างเคทีบริหารระบบสาธารณูปโภค และจ้างบริษัทบีทีเอสเดินรถไฟฟ้าได้ ยืนยันไม่ได้แตะ หรือไม่ได้ต่อสัญญาสัมปทาน หากกรณีนี้เกี่ยวข้องกับสัมปทานต้องขออนุญาตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยแน่นอน เพราะเป็นอำนาจโดยตรง แต่การจ้างเดินรถไฟฟ้าสามารถใช้อำนาจของผู้ว่าฯกทม.บริหารงานได้ ทั้งนี้ เมื่อดีเอสไอได้รับหนังสือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว จะเสนอเรื่องกลับไปยังประธานคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเป็นกคพ.ชุดใหม่ เนื่องจากชุดเดิมจะหมดวาระในวันที่ 7 ก.ย.นี้
"ผมเข้าใจอธิบดีดีเอสไอที่ต้องพยายามทำเรื่องบีทีเอสเป็นคดีพิเศษให้ได้ โดยเฉพาะช่วงนี้ที่ใกล้ฤดูโยกย้าย ขอตั้งข้อสังเกตว่ามีนักการเมืองอยู่เบื้องหลัง และอาจจะดึงเรื่องนี้ลากยาวไปจนถึงการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม. สมัยหน้า เพื่อดิสเครดิต" นายอัศวัชร์กล่าว