วานนี้(2 ก.ค.55) นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) แถลงข่าวถึงความคืบหน้ากรณีทำสัญญาเดินรถไฟฟ้าของ กทม. กับบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสว่า ภายหลังคณะกรรมการคดีพิเศษ (กคพ.) สั่งการให้ดีเอสไอตรวจสอบข้อเท็จจริงเพิ่มเติมกรณีสัญญาสัมปทานบีทีเอสตามที่กรุงเทพมหานครทำหนังสือชี้แจงต่อที่ประชุมกคพ. ล่าสุดวันนี้ (2 ก.ค.) ดีเอสไอได้ทำหนังสือสอบถามความเห็นเกี่ยวกับการทำสัมปทานบีทีเอสเพิ่มเติมไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย โดยมีประเด็นสอบถามสำคัญ 2 ประเด็นคือการที่กทม.ทำสัญญาจ้างบริษัทกรุงเทพธนาคมบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ ลงวันที่ 2 พ.ค.2555 และต่อมากรุงเทพธนาคมได้ทำสัญญาจ้างบีทีเอสให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงตามสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงลงวันที่ 3 พ.ค. 2555 นั้น ถือเป็นการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นกิจการการรถรางซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงมหาดไทยตามข้อ 3 และข้อ 11 ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 หรือไม่
ประเด็นที่ 2 หากสัญญาจ้างบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงดังกล่าวเป็นการดำเนินการิการการรถรางจะต้องได้รับอนุญาติหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามข้อ 4 ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 หรือไม่ และหากเป็นกรณีที่จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทาน รัฐมนตรีมหาดไทยได้เคยอนุญาตหรืออนุมัติให้สัมปทานในการดำเนินการทั้ง 2 ฉบับหรือไม่อย่างไร เบื้องต้นได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชี้แจงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยทราบว่ากระทรวงมหาดไทยจะตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งข้อซักถามของดีเอสไอในครั้งนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนว่าสัญญาดังกล่าววจะเรียกว่าเป็นกิจการสัมปทานหรือไม่ เพราะหากเป็นก็เป็นอำนาจของมหาดไทย ซึ่งมหาดไทยได้มอบอำนาจให้กทม.ไปอย่างไรบ้าง
ดีเอสไอมีความจำเป็นต้องรอหนังสือชี้แจงจากกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเป็นสาระสำคัญของคดี จึงมีความจำเป็นต้องขอเลื่อนการประชุมของบอร์ดกคพ.ออกไปก่อน จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 4 ก.ค.นี้ โดยตนได้ทำหนังสือถึงร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กคพ. เพื่อขอเลื่อนการประชุมบอร์ดกคพ.ออกไปก่อน ซึ่งร.ต.อ.เฉลิมเห็นชอบให้เลื่อนประชุมจนกว่าจะได้รับการชี้แจงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ากรณีบีทีเอสมีการซักถามและถกเถียงในที่ประชุมกคพ.อย่างกว้างขวาง เนื่องจากบีทีเอสและกทม.ได้ส่งเอกสารให้กรรมการกคพ.ทุกคนซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นการมีมติให้เลื่อนวาระการพิจารณาออกไปเพื่อให้ดีเอสไอรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เป็นเพราะเสียงในการลงมติไม่เพียงพอ
"สำหรับคดีอื่นๆที่ค้างการพิจารณาของบอร์ดกคพ. เช่น คดีเงินบริจาคอีสต์วอเตอร์ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน เนื่องจากเป็นวาระที่จะต้องพิจารณาต่อจากกรณีบีทีเอส ซึ่งกรณีเงินบริจาคอีสต์วอเตอร์นั้นผมไม่ขอวิจารณ์กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาระบว่าไม่ใช่เงินบริจาคให้พรรคการเมือง เพราะเป็นคดีที่เสนอให้บอร์ดกคพ.พิจารณา การแสดงความเห็นอาจเป็นการก้าวก่ายดุลพินิจ แต่ยืนยันว่าดีเอสไอดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่เป็นความผิดอาญา ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจของกกต."อธิบดีดีเอสไอกล่าว
ประเด็นที่ 2 หากสัญญาจ้างบริหารโครงการระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ และสัญญาการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงดังกล่าวเป็นการดำเนินการิการการรถรางจะต้องได้รับอนุญาติหรือได้รับสัมปทานจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยตามข้อ 4 ของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 หรือไม่ และหากเป็นกรณีที่จะต้องได้รับอนุญาตหรือได้รับสัมปทาน รัฐมนตรีมหาดไทยได้เคยอนุญาตหรืออนุมัติให้สัมปทานในการดำเนินการทั้ง 2 ฉบับหรือไม่อย่างไร เบื้องต้นได้ขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยชี้แจงเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องภายใน 30 วัน โดยทราบว่ากระทรวงมหาดไทยจะตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณาให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย ซึ่งข้อซักถามของดีเอสไอในครั้งนี้จะทำให้เกิดความชัดเจนว่าสัญญาดังกล่าววจะเรียกว่าเป็นกิจการสัมปทานหรือไม่ เพราะหากเป็นก็เป็นอำนาจของมหาดไทย ซึ่งมหาดไทยได้มอบอำนาจให้กทม.ไปอย่างไรบ้าง
ดีเอสไอมีความจำเป็นต้องรอหนังสือชี้แจงจากกระทรวงมหาดไทย เนื่องจากเป็นสาระสำคัญของคดี จึงมีความจำเป็นต้องขอเลื่อนการประชุมของบอร์ดกคพ.ออกไปก่อน จากเดิมที่กำหนดไว้วันที่ 4 ก.ค.นี้ โดยตนได้ทำหนังสือถึงร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กคพ. เพื่อขอเลื่อนการประชุมบอร์ดกคพ.ออกไปก่อน ซึ่งร.ต.อ.เฉลิมเห็นชอบให้เลื่อนประชุมจนกว่าจะได้รับการชี้แจงจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่ากรณีบีทีเอสมีการซักถามและถกเถียงในที่ประชุมกคพ.อย่างกว้างขวาง เนื่องจากบีทีเอสและกทม.ได้ส่งเอกสารให้กรรมการกคพ.ทุกคนซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นมาก่อน ดังนั้นการมีมติให้เลื่อนวาระการพิจารณาออกไปเพื่อให้ดีเอสไอรวบรวมข้อมูลหลักฐานมาประกอบการพิจารณาอย่างรอบด้าน ไม่ใช่เป็นเพราะเสียงในการลงมติไม่เพียงพอ
"สำหรับคดีอื่นๆที่ค้างการพิจารณาของบอร์ดกคพ. เช่น คดีเงินบริจาคอีสต์วอเตอร์ให้กับพรรคประชาธิปัตย์ก็ต้องเลื่อนออกไปเช่นกัน เนื่องจากเป็นวาระที่จะต้องพิจารณาต่อจากกรณีบีทีเอส ซึ่งกรณีเงินบริจาคอีสต์วอเตอร์นั้นผมไม่ขอวิจารณ์กรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ออกมาระบว่าไม่ใช่เงินบริจาคให้พรรคการเมือง เพราะเป็นคดีที่เสนอให้บอร์ดกคพ.พิจารณา การแสดงความเห็นอาจเป็นการก้าวก่ายดุลพินิจ แต่ยืนยันว่าดีเอสไอดำเนินคดีเฉพาะในส่วนที่เป็นความผิดอาญา ไม่ได้ก้าวล่วงอำนาจของกกต."อธิบดีดีเอสไอกล่าว