xs
xsm
sm
md
lg

ความเสียหายจากการบริหารจัดการทุนสำรองที่ล้มเหลว

เผยแพร่:   โดย: สุทธิพงษ์ ปรัชญพฤทธิ์


การพังทลายของตลาดหุ้นไทยปี 2521 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมัน เงินบาทไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ภาคการผลิตจริงและภาคการเงินล้มลง เกิดโครงการ 4 เมษายน 2427 คนตกงาน ทุนสำรองลด ต้องลดค่าเงินบาท ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นครั้งแรก ใช้เงินกู้เอ็มเอฟ 982 ล้านเหรียญสหรัฐ เกิดหนี้เสียจำนวนหนึ่ง

การพังทลายของตลาดหุ้นไทยปี 2537 หลังการนำระบบ Maintenance margin & force sell มาใช้ในตลาดหุ้นในปี 2536 ทำให้ค่าเงินบาทเสียหาย ไม่ได้รับความเชื่อมั่น เงินบาทไหลออกจากระบบ ทำให้สภาพคล่องของระบบเสียหาย ภาคการผลิตจริงและภาคการเงินล้มลง เกิดโครงการ 14 สิงหาคม 2541 คนตกงานมาก ทุนสำรองลด ต้องลอยค่าเงินบาท ต้องเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2540 ใช้เงินกู้เอ็มเอฟ 12,296 ล้านเหรียญสหรัฐ เกิดหนี้เสียที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.4 ล้านล้านบาท

การเปิดตลาดอนุพันธ์ ซื้อขายตัวเลขอ้างอิงในปี 2549 (2006) เป็นที่ทำให้เกิดการเก็งกำไรมากกว่าเดิม ใช้เงินประกัน 5-20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ซื้อตัวเลขอ้างอิงได้ 100 เปอร์เซ็นต์ เก็งกำไรได้มากกว่าปกติ 10 เท่า บรรดา Hedge Fund ที่มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถทำกำไรได้ทั้งขาขึ้นและขาลง ต่างพากันขนเงินเข้ามาเก็งกำไรตัวเลขอนุพันธ์กัน ทำให้ช่วงปี 2549 ค่าเงินบาท และทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ทำให้สภาพคล่องท่วมประเทศ

19 กันยายน 2549 เกิดรัฐประหารที่ประเทศไทย

19 ธันวาคม 2549 หรือประมาณ 3 เดือนพอดี ทางการต้องออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า ช่วงนี้ทุนสำรองอยู่ที่ระดับ 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงว่าที่ระดับ 74,000 ล้านเหรียญสหรัฐเป็นระดับที่บ่งบอกว่าสภาพคล่องได้ท่วมประเทศไทยแล้ว

วันที่ออกมาตรการกันสำรอง 30 เปอร์เซ็นต์เงินทุนไหลเข้า ตลาดหุ้นพังทลายกว่า 100 จุด มูลค่าตลาดหุ้นเสียหายกว่า 800,000 ล้านบาท จึงจำเป็นต้องยุติมาตรการดังกล่าวในวันรุ่งขึ้น บอกว่าเงินที่มาลงทุนในตลาดหุ้นจะไม่มีการกันสำรอง คงไม่ตระหนักว่า ที่เงินทุนไหลเข้ามาก แท้ที่จริงต่างชาตินั้นขนเงินมาเก็งกำไรในตลาดอนุพันธ์ที่อยู่ในตลาดหุ้นนั่นเอง

แสดงว่ามาตรการดังกล่าวพ่ายแพ้ ไม่สามารถสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้าได้ ทุกวันนี้ทุนสำรองของประเทศไทยสูงกว่า 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐ สภาพคล่องยิ่งท่วมประเทศหนักมากขึ้นไปอีก

ประเทศไทยเคยเกิดวิกฤตเศรษฐกิจ กระทั้งต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟมาแล้ว 2 ครั้ง

การขาดสภาพคล่องในวิกฤตเศรษฐกิจครั้งแรก ทำให้เอกชนล้มลงและคนตกงานมาก เกิดโครงการ 4 เมษายน 2537 และเข้ารับความช่วยเหลือทางการเงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ครั้งแรก จึงมีความคิดที่ป้องกันการขาดสภาพคล่องของระบบ โดยได้จัดตั้งกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินขึ้นมาในปี 2528 ด้วยความเชื่อว่า หากมีสภาพคล่องให้แก่ระบบ ให้แก่สถาบันการเงินได้ จะทำให้ระบบและสถาบันการเงินไม่ขาดสภาพคล่อง และระบบมีความมั่นคงได้

กองทุนเพื่อการฟื้นฟู เป็นการคิดแก้ปัญหาหรือป้องกันปัญหาที่ปลายเหตุ หลังการนำระบบ Maintenance margin และ force sell มาใช้ในปลายปี 2536 ทำให้ Hedge Fund สวมรอยลากขึ้นไปเชือดรุนแรงในต้นปี 2537

การพังทลายของตลาดหุ้นต้นปี 2537 รุนแรงกว่าปกติ และเป็นประวัติการณ์ เนื่องจากมีการบังคับขายหุ้นของนักลงทุนในเวลาต่อมาด้วย ยิ่งหุ้นตกหนักเท่าใด ยิ่งทำให้ค่าเงินบาทเสียหายมากเท่านั้น แต่เพราะมีการผูกค่าเงินไว้ จึงไม่รู้ว่าค่าเงินบาทเสียหาย ทำให้มีการขายบาทออกมา ทำให้บาทหายไปจากระบบ โดยนำมาซื้อเงินตราต่างประเทศ ส่งผลให้ทุนสำรองที่อยู่ในธนาคารแห่งประเทศไทยตกถึงพื้น เดือนกรกฎาคม 2540 ทุนสำรองเหลือประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จึงได้มีการลอยค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 นั่นเอง โดยก่อนหน้านั้น 1 ปี ทุนสำรองอยู่ที่ระดับ 40,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

วันที่ 2 กรกฎาคม 2540 วันที่ลอยค่าเงินบาท ไม่ใช่วันเริ่มต้นเกิดวิกฤตของประเทศ แต่เป็นวันที่ยอมจำนนต่อความผิดพลาดทางวิสัยทัศน์ของประเทศ

“ต้นเหตุ” วิกฤตของประเทศ เริ่มต้นเมื่อการเปิดตลาดหุ้นต้นปี 2518 แล้วตลาดหุ้นเริ่มพังทลายลงในปี 2521 มีผลให้ต้องลดค่าเงินบาท ต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟเป็นครั้งแรกในปี 2524-2527 ต่อมา มีการนำระบบ Maintenance margin & force sell มาใช้ในตลาดหุ้นเมื่อปลายปี 2536 แล้วตลาดหุ้นเริ่มพังทลายลงรุนแรงในปี 2537 มีผลต้องลอยค่าเงินบาท และเข้าโครงการไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2540

คาดว่าการเปิดซื้อขายตัวเลขอ้างอิงของอนุพันธ์ในปี 2549 รวมทั้งการเปิดตลาดอาเซียนปี 2558 จะนำมาซึ่งวิกฤตทางเศรษฐกิจครั้งที่ 3 ได้


ความเสียหายของสภาพคล่องหลังการพังทลายของตลาดหุ้นในปี 2537 กองทุนเพื่อการฟื้นฟู ได้ทำการอัดฉีดสภาพคล่องเต็มที่ ตามความเชื่อของการตั้งกองทุน แต่ถมเท่าใดก็ไม่เต็ม ต้องยุติบทบาทไปพร้อมกับลอยค่าเงินบาท ทำให้ระบบล้มลงรุนแรงมากกว่าปกติ เอกชนล้มลงเป็นจำนวนมาก คนตกงานมาก เกิดหนี้เสียสูง เงินเฟ้อสูง ธนาคารขนาดใหญ่และภาคการผลิตจริงหลายแห่งต้องตกเป็นของต่างชาติ

กองทุนเพื่อการฟื้นฟู นอกจากจะไม่สามารถฟื้นฟูสถาบันการเงินให้เข้มแข็งตามที่คิดไว้ในช่วงจัดตั้ง ยังทำให้สถาบันการเงินล้มลงทั้งระบบ และก่อให้เกิดหนี้สาธารณะสูง รวมทั้งเกิดหนี้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.4 ล้านล้านบาท แทนที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูจะเป็นเครื่องมือในการช่วยแก้ปัญหาให้ประเทศ กลับเป็นว่ากองทุนเพื่อการฟื้นฟูกลายมาเพิ่มปัญหาให้ประเทศอีก

ปี 2541 -2553 หรือ 12 ปีที่ผ่านมา งานของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูมาถึงจุดสูงสุด
ทางการได้สั่งปิดถาวร 56 สถาบันการเงิน ที่รู้จักกันในชื่อ โครงการ 14 สิงหาคม 2541 เป็นที่มาของหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.4 ล้านล้านบาท

2541-2553 ธนาคารแห่งประเทศไทย ชำระหนี้เงินต้น 249,898 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 20,000 ล้านบาท

2541-2553 กระทรวงการคลัง ชำระดอกเบี้ยรวม 604,473 ล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 50,000 ล้านบาท

สุดท้าย คงมีหนี้เหลือไว้ที่กองทุนเพื่อการฟื้นฟู 1.14 ล้านล้านบาท

ปี 2551 ได้มีการเปลี่ยนแปลง ได้มีการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝาก และจะยุติบทบาทของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูหลังการตั้งสถาบันคุ้มครองเงินฝากได้ 5 ปี

ปี 2555 มีการเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ออก พ.ร.บ.โอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟู มาให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการทั้งหมด แสดงว่าการจ่ายคืนหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยทั้งหมดปีละ 70,000 ล้านบาท จะตกเป็นภาระของธนาคารแห่งประเทศไทยแต่อย่างเดียว ดูแล้วเป็นเรื่องยากที่จะจัดการได้ จะก่อให้เกิดปัญหาความไม่เชื่อมั่นในอนาคตได้

การเปิดตลาดซื้อขายตัวเลขอนุพันธ์ เกิดขึ้นในปี 2549 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร โดยที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนองเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์ เริ่มต้นด้วย SET50 index futures (ก่อนหน้านี้มีการเปิดตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า แต่เป็นตัวที่ไม่น่าสนใจ) ได้มีการเพิ่มตัวเลขตัวอื่นๆ มาซื้อขายเพิ่มขึ้น ในรัฐบาลที่ผ่านๆ มา เช่น ตัวเลขราคาหุ้น 30 ตัว ตัวเลขราคาทองคำ 50 บาทและ 10 บาท ตัวเลขราคาเงิน ตัวเลขราคาน้ำมันล่วงหน้า ตัวเลขค่าดอลลาร์ล่วงหน้า เพราะมันเป็นการซื้อขายตัวเลขอย่างเดียว ไม่ต่างอะไรกับการซื้อขายหวยเบอร์ มันจึงเป็นอบายมุขอย่างหนึ่ง เป็นอบายมุขที่กองโตมาก เปิดการซื้อขายทุกวันทำการของตลาดหุ้น ไม่ได้ทำให้เกิดผลิตผลต่อระบบ เป็นการเอารัดเอาเปรียบระบบ ส่วนใหญ่ต่างชาติจะได้กำไรสูง คนท้องถิ่นจะขาดทุนสูง

การเปิดตลาดอนุพันธ์ เป็นที่มาสภาพคล่องท่วมประเทศ สภาพคล่องเริ่มท่วมประเทศตั้งแต่ปี 2549 มาแล้ว

สภาพคล่องทางการเงินสามารถนำไปเปรียบเทียบกับน้ำได้ สภาพคล่องเหือดแห้งก็ไม่ดี สภาพคล่องท่วมระบบก็ไม่ดี จะทำให้เกิดความเสียหายสูงมาก เช่นเดียวกับน้ำแล้งมากๆ และน้ำท่วมมากๆ นั่นเอง

ภาครัฐได้มีการใช้จ่ายเงินก้อนโตมากขึ้น ผ่านทางงบประมาณ การกู้เงิน และโครงการประชานิยม ด้วยความคิดว่าจะช่วยลดสภาพคล่องของระบบ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ จะทำให้เกิดปัญหาในอนาคตได้ เมื่อสภาพคล่องหายไป

พบว่าประเทศไทยล้มเหลวในการบริหารจัดการระบบเศรษฐกิจของประเทศมากขึ้นหลังการเปิดตลาดหุ้นในปี 2518 ทำให้ไทยพบกับวิกฤตเศรษฐกิจมา 2 ครั้งแล้ว

หลังวิกฤตเศรษฐกิจที่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟครั้งที่ 2 ประเทศไทยก็ไม่ได้แก้ต้นเหตุที่ทำให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจแต่อย่างใด มีแต่การกระทำที่ซ้ำเติมให้ปัญหาเลวร้ายมากขึ้นอีก เช่นล่าสุด การเปิดการซื้อขายตัวเลขอ้างอิงในตลาดอนุพันธ์ โครงการประชานิยม ตั้งงบประมาณกองโต ไม่ตั้งใจที่จะใช้หนี้ที่มีอยู่ ด้วยการโอนหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทยบริหารจัดการทั้งหมด และกู้เงินก้อนโตมากขึ้น เรื่องทั้งหมดกระทบต่อทุนสำรองทั้งทางตรงและทางอ้อม

การขาดความเข้าใจกลไกแห่งเงินทุนสำรอง ทำให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงต่อประเทศไทยมาโดยตลอด

ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานธนาคารแห่งประเทศไทย เคยดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และเคยเป็นรองนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ซึ่งเป็นช่วงที่ประเทศไทยต้องเข้าโครงการไอเอ็มเอฟทั้ง 2 ครั้ง ท่านน่าจะเป็นผู้เชี่ยวชาญเรื่องที่ประเทศไทยต้องเข้าไอเอ็มเอฟมากที่สุด เพื่อที่จะได้ช่วยให้ประเทศไทยไม่ต้องเข้าไอเอ็มเอฟเป็นครั้งที่ 3 อีก

กำลังโหลดความคิดเห็น