ก่อนวันหยุดยาวเนื่องในวันสำคัญทางพุทธศาสนา ผมได้มีโอกาสพบปะพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อนๆ ที่เป็นนักเศรษฐศาสตร์ นักวิเคราะห์ทางการเมือง และสื่อมวลชนอาวุโสหลายสำนัก ได้ฟังความคิดเห็นและมุมมองปัญหาต่างๆ ของบุคคลเหล่านั้น ล้วนแต่เป็นบุคคลที่รอบรู้ที่เข้าใจสภาพปัญหาเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของประเทศไทยเป็นอย่างดี เป็นกลุ่มบุคคลที่เกาะติดใกล้ชิดกับปัญหาและติดตามความเป็นไปของบ้านเมืองด้วยความห่วงใย เป็นผู้ที่ศึกษารายละเอียดของแต่ละปัญหาอย่างรู้ลึกรู้รอบและรู้จริง แม้ผมจะพยายามหาข้อโต้แย้งหามุมค้านเพียงใดก็จนด้วยเกล้า ยากที่จะโต้แย้งได้
และเมื่อนำสิ่งที่ได้ฟังและพูดคุยกับท่านทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้แถลงเตือนรัฐบาล ถึงการใช้นโยบายประชานิยม เพื่อหวังผลทางการเมืองโดยมิได้คำนึงถึงวินัยทางการคลัง และมีแนวโน้มแต่จะผลาญเงินงบประมาณแผ่นดิน และก่อหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นจนทะลุเกินกว่า 60% ของ GDP จนอาจจะนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศในยุโรป และนำมาเปรียบเทียบพิจารณาประกอบความเห็นที่ได้รับฟังคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ที่ได้ออกมาเตือนสังคม และสงสัญญาณถึงรัฐบาลในทำนองเดียวกันว่า ตัวเลข GDP ทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกถึงความเติบโตมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเรียกร้องให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้นโยบายประชานิยมให้ลดน้อยลง เพราะหากเดินหน้าตามนโยบายดังกล่าวต่อไป โดยมิยอมรับฟังคำเตือน อาจทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลายได้
นอกจากนี้ในวงเสวนาทางเศรษฐกิจของวงการทางการค้า อุตสาหกรรม และการลงทุน ก็ล้วนพูดถึงปัญหานี้ และมีข้อสรุปอันเป็นความห่วงใยต่อเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การบริหารของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกชักใยกำกับโดยทักษิณ และอาศัยทีมเศรษฐกิจที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสักเท่าไร ทั้งมีความเชื่อมั่นแบบผิดๆ และดื้อรั้น ไม่ว่าใครเตือนจะด้วยเหตุผลที่ดีเพียงใด รัฐบาลก็ทำเป็นหูทวนลม เมื่อพิจารณากับสิ่งที่ผมได้รับรู้รับฟังมาจากวงเสวนาที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้ผมมีข้อสรุปกับตัวเองว่า “ประเทศไทยวันนี้ คือประเทศที่รอวันตาย” และ “ประชาชนไทยวันนี้ คือ ประชาชนที่ก้มหน้ายอมรับความตาย” จากน้ำมือของคนในตระกูลชินวัตร
อะไรเป็นเหตุทำให้ผมคิดเช่นนั้น ผมก็มีวิธีคิดแบบซื่อๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมาแบบคนที่ไม่ได้จบมาทางเศรษฐศาสตร์ คือคิดแบบประชาชน วิญญูชนโดยทั่วไปคือ
(1) เปรียบประเทศเหมือนบ้าน หรือครอบครัวหนึ่ง หรือกิจการของบริษัทหนึ่ง พิจารณาดูจากรายรับรายจ่าย ก็พอให้ทราบสถานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ไม่ยาก จะดูรายรับของประเทศ ก็หาดูได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล ซึ่งจะระบุรายรับและรายจ่ายกับภาระหนี้สินทั้งหลาย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อเปิดดูงบประมาณรายจ่ายประจำปีแต่ละปีของครอบครัวประเทศไทย ก็จะพบว่ามีลักษณะเหมือนกันแทบทุกปี คือ เป็นงบรายจ่ายประจำที่เป็นเงินเดือนค่าจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และค่าใช้จ่ายเพื่อชำระเงินกู้และดอกเบี้ยเสียร้อยละ 80 ของงบประมาณทั้งหมด จะเหลืออยู่เป็นงบประมาณเพื่อการลงทุน หรือการใช้จ่ายอื่นๆ เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น งบประมาณปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไว้ 2,400,000,000,000 บาท (สองล้านสี่แสนล้านบาท) โดยรัฐบาลคาดว่าจะจัดเก็บรายได้สุทธิเพียง 2,197,900 ล้านบาท (สองล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยรัฐบาลต้องกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลอีก 300,000 ล้านบาท (สามแสนล้านบาท) ในงบประมาณทั้งหมดนี้เป็นรายจ่ายประจำจำนวน 1,901,911.7 ล้านบาท (หนึ่งล้านเก้าแสนหนึ่งพันเก้าร้อยสิบเอ็ดจุดเจ็ดล้านบาท) หรือคิดป็นร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ เหลือเป็นวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจำนวน 448,938.8 ล้านบาท (สี่แสนสี่หมื่นแปดพันเก้าร้อยสามสิบแปดจุดแปดล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ และเป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 49,149.5 ล้านบาท (สี่หมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยสี่สิบเก้าจุดห้าล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 2.1 งบประมาณ
นี่คือ ลักษณะงบประมาณที่สะท้อนภาพรายรับรายจ่ายของประเทศ พูดแบบภาษาชาวบ้าน ครอบครัวประเทศไทยก็อยู่ในประเภทชักหน้าไม่ถึงหลัง คือมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องก่อภาระหนี้ผูกพันถึงลูกหลานทุกปี สะสมกันไป ไม่มีเงินออม ไม่มีทุนสะสม อยู่ในฐานะเป็นประเทศลูกหนี้ ไม่ใช่เจ้าหนี้
(2) รัฐบาลก็เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัว ที่มีอำนาจหน้าที่ในการหารายได้และบริหารการใช้จ่าย เพื่อประโยชน์ของคนในครอบครัว หากครอบครัวประเทศใดมีผู้บริหารที่ดี และมีความสามารถย่อมแสดงออกโดยการหารายได้ได้มากเพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีเหลือเก็บไว้เป็นทุนสะสม แต่ถ้าด้อยความสามารถ และบริหารไม่ดีย่อมไม่สามารถสร้างรายได้ มีแต่ก่อภาระหนี้ให้ลูกหลานและครอบครัว หากเป็นไปในลักษณะเช่นนี้เรื่อยไปย่อมสิ้นเนื้อประดาตัว อาจถึงล้มละลายได้ เฉกเช่น บรรดาประเทศทั้งหลายในยุโรป และอเมริกาใต้ หลายประเทศเคยประสบมาแล้ว
คำถามคือ วันนี้รัฐบาลมีศักยภาพและความสามารถในการหารายได้เข้าประเทศได้เพียงใด ประชาชนทั้งหลายย่อมรู้และเห็นประจักษ์เป็นอย่างดีว่า ประเทศกำลังประสบภาวะวิกฤต มีแต่ภาระหนี้เพิ่มขึ้น นอกจากประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี สร้างความเสียหายหลายล้านล้านบาท ต้องกู้เงินมาฟื้นฟูประเทศอีกหลายล้านล้านบาทแล้ว รัฐบาลยังหลงระเริงอยู่กับการทุ่มเทใช้เงินแบบไร้สติ หวังผลเพียงหาเสียงทางการเมือง กับนโยบายประชานิยมที่บ้าคลั่ง ไม่ว่าการรับประกันราคาข้าวจากชาวนาที่สูงกว่าราคาตลาดโลกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้รัฐต้องขาดทุนจากโครงการนี้ติดต่อกันตลอดระยะเวลาของรัฐบาลนี้ไม่น้อยกว่า 4-5 แสนล้านบาท นโยบายรถคันแรก บ้านหลังแรก กองทุนพัฒนาสตรี ขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง พนักงาน และข้าราชการ ล้วนแต่เป็นการผลาญเงินของประเทศโดยมิได้สร้างรายได้ การก่อหนี้เพื่อมาใช้ในโครงการต่างๆ ได้ทะลุเกินเพดานหนี้สาธารณะที่ประเทศจะแบกรับได้
(3) รัฐบาลนอกจากไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีความสามารถในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ หน้ามืดตามัวก่อหนี้สาธารณะอย่างมิหยุดยั้ง อันเป็นหนทางไปสู่ความหายนะของชาติแล้ว ในทางการเมืองรัฐบาลก็ขาดความโปร่งใส มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชัน ในแทบจะทุกโครงการไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ส่วนปัญหาทางด้านการเมืองที่เป็นปัญหาวิกฤตเรื้อรังของชาติ รัฐบาลนี้ก็มีแต่เติมเชื้อไฟ เดินหน้าสร้างปัญหาความขัดแย้งในชาติ ทำทุกอย่างเพียงเพื่อช่วยเหลือพี่ชายนักโทษหนีคดี และเอาใจมวลชนคนเสื้อแดง เหยียบย่ำและข่มขืนจิตใจคนไทยร่วมชาติ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มองเห็นแต่ประโยชน์กลุ่มตนและพวกพ้อง ประชาชนส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่พวกเสื้อแดง รัฐบาลก็ไม่เห็นหัวมองข้าม กระทั่งมองเป็นศัตรู บริหารบ้านเมืองล้มเหลวขาดประสิทธิภาพเพียงใด
นายกรัฐมนตรีไร้ความสามารถประพฤติตัวไม่เหมาะสม เอาแต่เพลิดเพลินเสพสำราญ ท่ามกลางปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน กระทั่งแม้แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจากภัยก่อการร้ายที่คุกคามความสงบสุขของพี่น้องร่วมชาติในชายแดนภาคใต้เพียงใด เธอก็ยังสุข สนุกสนาน แบบสุขกันเถอะเรา ประชาชนทั้งหลายจะบาดเจ็บล้มตายเพียงไรเธอก็ไร้สำนึก
ประเทศไทยวันนี้ จึงเป็นประเทศที่รอวันตาย ประชาชนอยู่ก็เหมือนตายทั้งเป็น ท่านจะเลือกอยู่รอวันตาย หรือจะเปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศและตัวท่านเอง อยู่ที่คนไทยวันนี้ต้องตัดสินใจเอง
และเมื่อนำสิ่งที่ได้ฟังและพูดคุยกับท่านทั้งหลายเหล่านั้นมาเปรียบเทียบกับที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) ได้แถลงเตือนรัฐบาล ถึงการใช้นโยบายประชานิยม เพื่อหวังผลทางการเมืองโดยมิได้คำนึงถึงวินัยทางการคลัง และมีแนวโน้มแต่จะผลาญเงินงบประมาณแผ่นดิน และก่อหนี้สาธารณะเพิ่มมากขึ้นจนทะลุเกินกว่า 60% ของ GDP จนอาจจะนำไปสู่วิกฤตทางเศรษฐกิจเช่นเดียวกับประเทศในยุโรป และนำมาเปรียบเทียบพิจารณาประกอบความเห็นที่ได้รับฟังคุณประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยคนปัจจุบัน ที่ได้ออกมาเตือนสังคม และสงสัญญาณถึงรัฐบาลในทำนองเดียวกันว่า ตัวเลข GDP ทางเศรษฐกิจ ไม่ใช่สิ่งที่จะบ่งบอกถึงความเติบโตมั่นคงทางเศรษฐกิจ และเรียกร้องให้รัฐบาลหลีกเลี่ยงหรือลดการใช้นโยบายประชานิยมให้ลดน้อยลง เพราะหากเดินหน้าตามนโยบายดังกล่าวต่อไป โดยมิยอมรับฟังคำเตือน อาจทำให้เศรษฐกิจไทยล่มสลายได้
นอกจากนี้ในวงเสวนาทางเศรษฐกิจของวงการทางการค้า อุตสาหกรรม และการลงทุน ก็ล้วนพูดถึงปัญหานี้ และมีข้อสรุปอันเป็นความห่วงใยต่อเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การบริหารของรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกชักใยกำกับโดยทักษิณ และอาศัยทีมเศรษฐกิจที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นหัวหน้าทีม ซึ่งไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นสักเท่าไร ทั้งมีความเชื่อมั่นแบบผิดๆ และดื้อรั้น ไม่ว่าใครเตือนจะด้วยเหตุผลที่ดีเพียงใด รัฐบาลก็ทำเป็นหูทวนลม เมื่อพิจารณากับสิ่งที่ผมได้รับรู้รับฟังมาจากวงเสวนาที่กล่าวถึงข้างต้น ทำให้ผมมีข้อสรุปกับตัวเองว่า “ประเทศไทยวันนี้ คือประเทศที่รอวันตาย” และ “ประชาชนไทยวันนี้ คือ ประชาชนที่ก้มหน้ายอมรับความตาย” จากน้ำมือของคนในตระกูลชินวัตร
อะไรเป็นเหตุทำให้ผมคิดเช่นนั้น ผมก็มีวิธีคิดแบบซื่อๆ ง่ายๆ ตรงไปตรงมาแบบคนที่ไม่ได้จบมาทางเศรษฐศาสตร์ คือคิดแบบประชาชน วิญญูชนโดยทั่วไปคือ
(1) เปรียบประเทศเหมือนบ้าน หรือครอบครัวหนึ่ง หรือกิจการของบริษัทหนึ่ง พิจารณาดูจากรายรับรายจ่าย ก็พอให้ทราบสถานะความมั่นคงทางเศรษฐกิจได้ไม่ยาก จะดูรายรับของประเทศ ก็หาดูได้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปีของรัฐบาล ซึ่งจะระบุรายรับและรายจ่ายกับภาระหนี้สินทั้งหลาย ทั้งในปัจจุบันและอนาคต เมื่อเปิดดูงบประมาณรายจ่ายประจำปีแต่ละปีของครอบครัวประเทศไทย ก็จะพบว่ามีลักษณะเหมือนกันแทบทุกปี คือ เป็นงบรายจ่ายประจำที่เป็นเงินเดือนค่าจ้างพนักงาน เจ้าหน้าที่ของรัฐ และค่าใช้จ่ายเพื่อชำระเงินกู้และดอกเบี้ยเสียร้อยละ 80 ของงบประมาณทั้งหมด จะเหลืออยู่เป็นงบประมาณเพื่อการลงทุน หรือการใช้จ่ายอื่นๆ เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น
ตัวอย่างเช่น งบประมาณปี พ.ศ. 2556 รัฐบาลตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีไว้ 2,400,000,000,000 บาท (สองล้านสี่แสนล้านบาท) โดยรัฐบาลคาดว่าจะจัดเก็บรายได้สุทธิเพียง 2,197,900 ล้านบาท (สองล้านหนึ่งแสนเก้าหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยล้านบาท) ซึ่งเป็นงบประมาณแบบขาดดุล โดยรัฐบาลต้องกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลอีก 300,000 ล้านบาท (สามแสนล้านบาท) ในงบประมาณทั้งหมดนี้เป็นรายจ่ายประจำจำนวน 1,901,911.7 ล้านบาท (หนึ่งล้านเก้าแสนหนึ่งพันเก้าร้อยสิบเอ็ดจุดเจ็ดล้านบาท) หรือคิดป็นร้อยละ 79.2 ของวงเงินงบประมาณ เหลือเป็นวงเงินงบประมาณรายจ่ายลงทุนจำนวน 448,938.8 ล้านบาท (สี่แสนสี่หมื่นแปดพันเก้าร้อยสามสิบแปดจุดแปดล้านบาท) หรือคิดเป็นร้อยละ 18.7 ของวงเงินงบประมาณ และเป็นรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้จำนวน 49,149.5 ล้านบาท (สี่หมื่นเก้าพันหนึ่งร้อยสี่สิบเก้าจุดห้าล้านบาท) คิดเป็นร้อยละ 2.1 งบประมาณ
นี่คือ ลักษณะงบประมาณที่สะท้อนภาพรายรับรายจ่ายของประเทศ พูดแบบภาษาชาวบ้าน ครอบครัวประเทศไทยก็อยู่ในประเภทชักหน้าไม่ถึงหลัง คือมีรายรับน้อยกว่ารายจ่าย ต้องก่อภาระหนี้ผูกพันถึงลูกหลานทุกปี สะสมกันไป ไม่มีเงินออม ไม่มีทุนสะสม อยู่ในฐานะเป็นประเทศลูกหนี้ ไม่ใช่เจ้าหนี้
(2) รัฐบาลก็เปรียบเหมือนหัวหน้าครอบครัว ที่มีอำนาจหน้าที่ในการหารายได้และบริหารการใช้จ่าย เพื่อประโยชน์ของคนในครอบครัว หากครอบครัวประเทศใดมีผู้บริหารที่ดี และมีความสามารถย่อมแสดงออกโดยการหารายได้ได้มากเพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีเหลือเก็บไว้เป็นทุนสะสม แต่ถ้าด้อยความสามารถ และบริหารไม่ดีย่อมไม่สามารถสร้างรายได้ มีแต่ก่อภาระหนี้ให้ลูกหลานและครอบครัว หากเป็นไปในลักษณะเช่นนี้เรื่อยไปย่อมสิ้นเนื้อประดาตัว อาจถึงล้มละลายได้ เฉกเช่น บรรดาประเทศทั้งหลายในยุโรป และอเมริกาใต้ หลายประเทศเคยประสบมาแล้ว
คำถามคือ วันนี้รัฐบาลมีศักยภาพและความสามารถในการหารายได้เข้าประเทศได้เพียงใด ประชาชนทั้งหลายย่อมรู้และเห็นประจักษ์เป็นอย่างดีว่า ประเทศกำลังประสบภาวะวิกฤต มีแต่ภาระหนี้เพิ่มขึ้น นอกจากประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 50 ปี สร้างความเสียหายหลายล้านล้านบาท ต้องกู้เงินมาฟื้นฟูประเทศอีกหลายล้านล้านบาทแล้ว รัฐบาลยังหลงระเริงอยู่กับการทุ่มเทใช้เงินแบบไร้สติ หวังผลเพียงหาเสียงทางการเมือง กับนโยบายประชานิยมที่บ้าคลั่ง ไม่ว่าการรับประกันราคาข้าวจากชาวนาที่สูงกว่าราคาตลาดโลกจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้รัฐต้องขาดทุนจากโครงการนี้ติดต่อกันตลอดระยะเวลาของรัฐบาลนี้ไม่น้อยกว่า 4-5 แสนล้านบาท นโยบายรถคันแรก บ้านหลังแรก กองทุนพัฒนาสตรี ขึ้นเงินเดือนลูกจ้าง พนักงาน และข้าราชการ ล้วนแต่เป็นการผลาญเงินของประเทศโดยมิได้สร้างรายได้ การก่อหนี้เพื่อมาใช้ในโครงการต่างๆ ได้ทะลุเกินเพดานหนี้สาธารณะที่ประเทศจะแบกรับได้
(3) รัฐบาลนอกจากไม่มีความสามารถในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีความสามารถในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ หน้ามืดตามัวก่อหนี้สาธารณะอย่างมิหยุดยั้ง อันเป็นหนทางไปสู่ความหายนะของชาติแล้ว ในทางการเมืองรัฐบาลก็ขาดความโปร่งใส มีพฤติกรรมที่ส่อไปในทางทุจริตคอร์รัปชัน ในแทบจะทุกโครงการไม่ว่าเล็กหรือใหญ่
ส่วนปัญหาทางด้านการเมืองที่เป็นปัญหาวิกฤตเรื้อรังของชาติ รัฐบาลนี้ก็มีแต่เติมเชื้อไฟ เดินหน้าสร้างปัญหาความขัดแย้งในชาติ ทำทุกอย่างเพียงเพื่อช่วยเหลือพี่ชายนักโทษหนีคดี และเอาใจมวลชนคนเสื้อแดง เหยียบย่ำและข่มขืนจิตใจคนไทยร่วมชาติ ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ มองเห็นแต่ประโยชน์กลุ่มตนและพวกพ้อง ประชาชนส่วนใหญ่ถ้าไม่ใช่พวกที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทย ไม่ใช่พวกเสื้อแดง รัฐบาลก็ไม่เห็นหัวมองข้าม กระทั่งมองเป็นศัตรู บริหารบ้านเมืองล้มเหลวขาดประสิทธิภาพเพียงใด
นายกรัฐมนตรีไร้ความสามารถประพฤติตัวไม่เหมาะสม เอาแต่เพลิดเพลินเสพสำราญ ท่ามกลางปัญหาและความทุกข์ยากของประชาชน กระทั่งแม้แผ่นดินจะลุกเป็นไฟ ประชาชนต้องบาดเจ็บล้มตายจากภัยก่อการร้ายที่คุกคามความสงบสุขของพี่น้องร่วมชาติในชายแดนภาคใต้เพียงใด เธอก็ยังสุข สนุกสนาน แบบสุขกันเถอะเรา ประชาชนทั้งหลายจะบาดเจ็บล้มตายเพียงไรเธอก็ไร้สำนึก
ประเทศไทยวันนี้ จึงเป็นประเทศที่รอวันตาย ประชาชนอยู่ก็เหมือนตายทั้งเป็น ท่านจะเลือกอยู่รอวันตาย หรือจะเปลี่ยนแปลงอนาคตประเทศและตัวท่านเอง อยู่ที่คนไทยวันนี้ต้องตัดสินใจเอง