“ไร้เดียงสา โง่ ไม่รู้เรื่องการเมือง พูดผิดๆ ถูกๆ”
เธอจะพิสูจน์ตนเองได้อย่างไร?
ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวฝรั่งเศสแห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไม่ได้ติดต่อกับ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ตลอดเวลา หรือท่องสคริปต์ที่เขียนขึ้นในดูไบ โดยกล่าวย้ำว่า
“ดิฉันอาศัยคุณสมบัติของตัวเองในฐานะผู้นำประเทศ ฉันต้องการการสนับสนุนจากพี่ชาย แต่ดิฉันได้ส่งสารที่ชัดเจนให้ทุกคนทราบว่าดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรี”
ผลงานด้านเศรษฐกิจของยิ่งลักษณ์เป็นอย่างไรก็เป็นบทพิสูจน์ด้านหนึ่งที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติในฐานะนายกฯ ได้ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด
นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่งของยิ่งลักษณ์ได้ถูกนำไปใช้ในการหาเสียงเพื่อเข้ามาบริหารประเทศก็คือ การประกันราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่มีประชาชนเข้าไปมีส่วนเป็นผู้ผลิตเป็นจำนวนมากได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา
การประกันราคาก็คือการแทรกแซงกลไกตลาดเพื่อทำให้ราคาประกันมีราคาสูงกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันทั่วไปนั่นเอง ดังนั้นราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงในท้องตลาดจึงมาจากการเข้ามารับซื้อของภาครัฐที่ต้องอาศัยเงินจากภาษีของประชาชนทุกคนเพื่อให้คนบางกลุ่ม เช่น ชาวนาผู้ปลูกข้าว ได้รับประโยชน์เหนือกว่าคนอื่นที่เป็นคนส่วนใหญ่
นโยบายเช่นนี้ใครก็ทำได้เพียงแต่ไม่มีใครหน้าด้านพอที่จะอ้างว่าเป็นความสำเร็จต่างหากเพราะไม่ได้ทำให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด
กล่าวสั้นๆ ง่ายๆ ได้ว่า เงินที่ผู้ผลิต/ผู้ที่เป็นเจ้าของ ข้าว มันฯ ยาง ได้รับจากการขายสินค้าของตนในราคาสูงเกินจริงนั้นได้มาจากเงินของคนอื่นๆ ในสังคมที่รัฐบาลไปบังคับจัดเก็บเอามา
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อเข้ามารับตำแหน่งใหม่ก็เริ่มงานนี้ด้วยการจัดตั้งโครงการรับซื้อข้าวเปลือกภายใต้ชื่อ “โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี” ตั้งแต่ ก.ย.54 ติดตามมาด้วยพืชอื่นๆ เช่น มันฯ ยาง และข้าวเปลือกนาปรัง โดยตั้งวงเงินก้อนโตเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท
เป้าหมายเพื่อยกระดับราคาข้าว มันฯ ยาง ให้สูงเกินจริงกว่าราคาตลาด เช่น ข้าวเปลือกเจ้า 5% ในราคาตันละประมาณ 15,000 บาท หรือยางพาราให้มีราคา 120 บาท ต่อ ก.ก.
ผลที่ปรากฏก็คือ ราคาข้าว เช่น ข้าวเปลือก 5% ตั้งแต่ ก.ย. 54 ถึง เม.ษ. 55 ที่เกษตรกรขายได้นอกโครงการรับจำนำมีราคาเพียง 9,897 บาท ต่อตัน ในขณะที่ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้มีราคาเฉลี่ย 124 บาทในปี 54 ที่ผ่านมาและมีราคาเหลือเพียง 98 บาทเศษทั้งๆ ที่มีการเข้าไปแทรกแซงเมื่อต้นปี 55
หากใช้ตัวเลขข้างต้นเป็นเกณฑ์การพิจารณาความสำเร็จก็คงไม่ต้องกล่าวว่าล้มเหลวหรือไม่จากการประกันราคา แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มีเงินเพียง 3.5 แสนล้านบาท การรับซื้อข้าวในราคาประกันจึงทำได้เพียงไม่เกิน 20 ล้านตันข้าวเปลือกทั้งข้าวนาปีและนาปรัง ในขณะที่แม้จะมีการรับซื้อในราคาประกันอย่างไม่จำกัดปริมาณสำหรับยางก็ไม่ได้ทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นมาใกล้เคียงกับราคาประกันแต่อย่างใด
การรับจำนำในราคาที่สูงเกินจริงทำให้รัฐเป็นเจ้าของสินค้าในราคาที่ขายใครโดยไม่ขาดทุนไม่ได้ หากไม่ขายโดยเลือกที่จะเก็บข้าวไว้แม้ยังไม่ขาดทุนแต่ข้าวก็เสื่อมคุณภาพเน่าเสียไปเรื่อยๆ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ในขณะที่หากจะขายขาดทุนก็จะถูกครหา ยิ่งเก็บไว้นานและมาขายทีหลังยิ่งขาดทุนเพิ่มเป็นสองเท่าจากคุณภาพและราคาที่เลวลง ที่สำคัญกว่านั้นในเชิงโครงสร้างก็คือไทยกำลังจะสูญเสียตลาดข้าวที่ไทยเป็นเคยผู้ส่งออกรายใหญ่และกลไกการค้าข้าวทั้งระบบที่พังทลายจากนโยบายนี้
สถิติส่งออกข้าวเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่าในปี 54 ส่งออกข้าวทุกประเภทโดยรวมได้กว่า 10 ล้านตันด้วยมูลค่า 1.96 แสนล้านบาท หรือในราคาเฉลี่ยกว่า 18,000 บาทต่อตัน ในขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 55 สามารถส่งออกได้เพียง 2.8 ล้านตันในมูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แม้จะได้ราคาเฉลี่ยสูงกว่าแต่หากสถานการณ์ยังคงเดิมเช่นนี้รายรับรวมจากการส่งออกข้าวน่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอนเพราะส่งออกได้ปริมาณน้อยลง
รัฐบาลนี้ลงทุนในโครงการจำนำข้าวด้วยเงินเพื่อคนเฉพาะกลุ่มเกือบ 3.0 แสนล้านบาทจากวงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท ผลขาดทุนจากการขายข้าวในราคาขาดทุนและจากข้าวเหลือเสื่อมสภาพที่พบเห็นได้เสมอจากโครงการจำนำเช่นนี้ซึ่งจะเป็นภาระให้คนไทยทุกคนให้รับภาระอีกต่อไปในอนาคตไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน หากคิดง่ายๆ ว่าขาดทุนสักครึ่งหนึ่งก็จะมีรายจ่ายเพื่อการนี้ถึง 1.5 แสนล้านบาทซึ่งเกือบเท่ามูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดในปี 54 ที่ผ่านมาเสียแล้ว
ไม่ต้องสงสัยว่าคนที่สามารถขายข้าวในราคาจำนำได้จะบอกว่าพอใจโครงการเช่นนี้ แต่จะมีใครถามคนไทยทุกคนที่ต้องรับภาระนี้ หรือคนไทยทุกคนที่ต้องกินข้าวแพงขึ้น หรือพ่อค้าทุกระดับ หรือชาวนาที่ไม่สามารถขายข้าวในโครงการนี้หรือไม่ว่าพอใจโครงการนี้หรือไม่ และที่สำคัญได้คุ้มเสียหรือไม่
มองในภาพกว้างขึ้นมาอีกสักนิด หากต้องเปิดรับจำนำข้าวอย่างไม่จำกัดปริมาณ สถิติการผลิตข้าวทั้งนาปีและนาปรังรวมกันน่าจะมีมากกว่า 32 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี นั่นก็หมายความว่าจะต้องมีงบประมาณเพื่อการจำนำมากกว่าที่เป็นอยู่
ในทำนองเดียวกันหากต้องให้รัฐบาลมาเป็นผู้รับซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริงมากชนิดขึ้น งบประมาณเพื่อการนี้ก็ย่อมที่จะมีมากขึ้นกว่า 3.5 แสนล้าน ภาระในเรื่องเงินที่จะนำมาใช้จะมาจากแหล่งใด
นโยบายประชานิยมในเรื่องนี้จึงเป็นเช่นเดียวกับกองทุนหมู่บ้านที่ต้องทำทุกหมู่บ้าน โดยหาได้คำนึงถึงว่าหมู่บ้านใดจำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งทุนหรือไม่เป็นที่ตั้ง เป็นการ “หว่าน” เพื่อซื้อเสียงโดยการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เอาเหตุผลทางการเมืองเป็นที่ตั้งมากกว่าเหตุผลความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจในละตินอเมริกาในอดีตหรือยุโรปในปัจจุบันต่างมีที่มาจากนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนงอมืองอเท้ารอรับความช่วยเหลือจากรัฐที่ไม่ได้มาฟรีๆ หากแต่สร้างภาระหนี้สาธารณะผูกพันประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี เปรียบได้กับการวางฟางไว้บนหลังลามากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดฟางเส้นสุดท้ายแม้ดูไปแล้วจะเบาสักเพียงใดก็ทำลาหลังหักได้
ภาระหนี้สาธารณะของไทยในขณะนี้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 50 ของ GDP ซึ่งใกล้เคียงกับระดับเพดานที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP เข้าไปทุกขณะแม้จะยังไม่คิดรวมถึงการรับประกันสินค้าที่จะทำในปีต่อไปหรือความพยายามที่จะกู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทเพื่อมาปรับโครงสร้างประเทศ
สิ่งที่จะพิสูจน์คำวิพากษ์กล่าวหาข้างต้นว่าเป็นจริงหรือไม่จึงอยู่ที่การกระทำ ความกล้าที่จะรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง มิใช่อยู่ที่ยิ่งลักษณ์ได้นั่งหัวโต๊ะหรือไม่
หากยิ่งลักษณ์คิดว่าตนเองมีสมอง มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอิสระ และคำนึงถึงฐานะของตนเองว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มิใช่เป็นนายกฯ ของพี่ชาย ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะใช้วิจารณญาณทบทวนไตร่ตรองโครงการประชานิยมเช่นนี้ ให้สมกับ “แก้ไข ไม่แก้แค้น” ตามที่หาเสียงเอาไว้ เพราะนี่คือบทพิสูจน์ของคุณ!
เธอจะพิสูจน์ตนเองได้อย่างไร?
ยิ่งลักษณ์ให้สัมภาษณ์สำนักข่าวฝรั่งเศสแห่งหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ไม่ได้ติดต่อกับ พ.ต.ท.ทักษิณอยู่ตลอดเวลา หรือท่องสคริปต์ที่เขียนขึ้นในดูไบ โดยกล่าวย้ำว่า
“ดิฉันอาศัยคุณสมบัติของตัวเองในฐานะผู้นำประเทศ ฉันต้องการการสนับสนุนจากพี่ชาย แต่ดิฉันได้ส่งสารที่ชัดเจนให้ทุกคนทราบว่าดิฉันเป็นนายกรัฐมนตรี”
ผลงานด้านเศรษฐกิจของยิ่งลักษณ์เป็นอย่างไรก็เป็นบทพิสูจน์ด้านหนึ่งที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติในฐานะนายกฯ ได้ว่ามีความสามารถมากน้อยเพียงใด
นโยบายเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่งของยิ่งลักษณ์ได้ถูกนำไปใช้ในการหาเสียงเพื่อเข้ามาบริหารประเทศก็คือ การประกันราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชที่มีประชาชนเข้าไปมีส่วนเป็นผู้ผลิตเป็นจำนวนมากได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง และยางพารา
การประกันราคาก็คือการแทรกแซงกลไกตลาดเพื่อทำให้ราคาประกันมีราคาสูงกว่าราคาตลาดที่ซื้อขายกันทั่วไปนั่นเอง ดังนั้นราคาที่สูงกว่าความเป็นจริงในท้องตลาดจึงมาจากการเข้ามารับซื้อของภาครัฐที่ต้องอาศัยเงินจากภาษีของประชาชนทุกคนเพื่อให้คนบางกลุ่ม เช่น ชาวนาผู้ปลูกข้าว ได้รับประโยชน์เหนือกว่าคนอื่นที่เป็นคนส่วนใหญ่
นโยบายเช่นนี้ใครก็ทำได้เพียงแต่ไม่มีใครหน้าด้านพอที่จะอ้างว่าเป็นความสำเร็จต่างหากเพราะไม่ได้ทำให้คนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด
กล่าวสั้นๆ ง่ายๆ ได้ว่า เงินที่ผู้ผลิต/ผู้ที่เป็นเจ้าของ ข้าว มันฯ ยาง ได้รับจากการขายสินค้าของตนในราคาสูงเกินจริงนั้นได้มาจากเงินของคนอื่นๆ ในสังคมที่รัฐบาลไปบังคับจัดเก็บเอามา
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏก็คือ รัฐบาลยิ่งลักษณ์เมื่อเข้ามารับตำแหน่งใหม่ก็เริ่มงานนี้ด้วยการจัดตั้งโครงการรับซื้อข้าวเปลือกภายใต้ชื่อ “โครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปี” ตั้งแต่ ก.ย.54 ติดตามมาด้วยพืชอื่นๆ เช่น มันฯ ยาง และข้าวเปลือกนาปรัง โดยตั้งวงเงินก้อนโตเพื่อการนี้ไว้ประมาณ 3.5 แสนล้านบาท
เป้าหมายเพื่อยกระดับราคาข้าว มันฯ ยาง ให้สูงเกินจริงกว่าราคาตลาด เช่น ข้าวเปลือกเจ้า 5% ในราคาตันละประมาณ 15,000 บาท หรือยางพาราให้มีราคา 120 บาท ต่อ ก.ก.
ผลที่ปรากฏก็คือ ราคาข้าว เช่น ข้าวเปลือก 5% ตั้งแต่ ก.ย. 54 ถึง เม.ษ. 55 ที่เกษตรกรขายได้นอกโครงการรับจำนำมีราคาเพียง 9,897 บาท ต่อตัน ในขณะที่ยางแผ่นดิบชั้น 3 ที่เกษตรกรขายได้มีราคาเฉลี่ย 124 บาทในปี 54 ที่ผ่านมาและมีราคาเหลือเพียง 98 บาทเศษทั้งๆ ที่มีการเข้าไปแทรกแซงเมื่อต้นปี 55
หากใช้ตัวเลขข้างต้นเป็นเกณฑ์การพิจารณาความสำเร็จก็คงไม่ต้องกล่าวว่าล้มเหลวหรือไม่จากการประกันราคา แต่ด้วยข้อจำกัดด้านงบประมาณที่มีเงินเพียง 3.5 แสนล้านบาท การรับซื้อข้าวในราคาประกันจึงทำได้เพียงไม่เกิน 20 ล้านตันข้าวเปลือกทั้งข้าวนาปีและนาปรัง ในขณะที่แม้จะมีการรับซื้อในราคาประกันอย่างไม่จำกัดปริมาณสำหรับยางก็ไม่ได้ทำให้ราคายางกระเตื้องขึ้นมาใกล้เคียงกับราคาประกันแต่อย่างใด
การรับจำนำในราคาที่สูงเกินจริงทำให้รัฐเป็นเจ้าของสินค้าในราคาที่ขายใครโดยไม่ขาดทุนไม่ได้ หากไม่ขายโดยเลือกที่จะเก็บข้าวไว้แม้ยังไม่ขาดทุนแต่ข้าวก็เสื่อมคุณภาพเน่าเสียไปเรื่อยๆ ไม่สามารถเก็บไว้ได้นาน ในขณะที่หากจะขายขาดทุนก็จะถูกครหา ยิ่งเก็บไว้นานและมาขายทีหลังยิ่งขาดทุนเพิ่มเป็นสองเท่าจากคุณภาพและราคาที่เลวลง ที่สำคัญกว่านั้นในเชิงโครงสร้างก็คือไทยกำลังจะสูญเสียตลาดข้าวที่ไทยเป็นเคยผู้ส่งออกรายใหญ่และกลไกการค้าข้าวทั้งระบบที่พังทลายจากนโยบายนี้
สถิติส่งออกข้าวเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่าในปี 54 ส่งออกข้าวทุกประเภทโดยรวมได้กว่า 10 ล้านตันด้วยมูลค่า 1.96 แสนล้านบาท หรือในราคาเฉลี่ยกว่า 18,000 บาทต่อตัน ในขณะที่ 5 เดือนแรกของปี 55 สามารถส่งออกได้เพียง 2.8 ล้านตันในมูลค่า 5.7 หมื่นล้านบาทเท่านั้น แม้จะได้ราคาเฉลี่ยสูงกว่าแต่หากสถานการณ์ยังคงเดิมเช่นนี้รายรับรวมจากการส่งออกข้าวน่าจะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาแน่นอนเพราะส่งออกได้ปริมาณน้อยลง
รัฐบาลนี้ลงทุนในโครงการจำนำข้าวด้วยเงินเพื่อคนเฉพาะกลุ่มเกือบ 3.0 แสนล้านบาทจากวงเงินรวม 3.5 แสนล้านบาท ผลขาดทุนจากการขายข้าวในราคาขาดทุนและจากข้าวเหลือเสื่อมสภาพที่พบเห็นได้เสมอจากโครงการจำนำเช่นนี้ซึ่งจะเป็นภาระให้คนไทยทุกคนให้รับภาระอีกต่อไปในอนาคตไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน หากคิดง่ายๆ ว่าขาดทุนสักครึ่งหนึ่งก็จะมีรายจ่ายเพื่อการนี้ถึง 1.5 แสนล้านบาทซึ่งเกือบเท่ามูลค่าส่งออกข้าวทั้งหมดในปี 54 ที่ผ่านมาเสียแล้ว
ไม่ต้องสงสัยว่าคนที่สามารถขายข้าวในราคาจำนำได้จะบอกว่าพอใจโครงการเช่นนี้ แต่จะมีใครถามคนไทยทุกคนที่ต้องรับภาระนี้ หรือคนไทยทุกคนที่ต้องกินข้าวแพงขึ้น หรือพ่อค้าทุกระดับ หรือชาวนาที่ไม่สามารถขายข้าวในโครงการนี้หรือไม่ว่าพอใจโครงการนี้หรือไม่ และที่สำคัญได้คุ้มเสียหรือไม่
มองในภาพกว้างขึ้นมาอีกสักนิด หากต้องเปิดรับจำนำข้าวอย่างไม่จำกัดปริมาณ สถิติการผลิตข้าวทั้งนาปีและนาปรังรวมกันน่าจะมีมากกว่า 32 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี นั่นก็หมายความว่าจะต้องมีงบประมาณเพื่อการจำนำมากกว่าที่เป็นอยู่
ในทำนองเดียวกันหากต้องให้รัฐบาลมาเป็นผู้รับซื้อสินค้าในราคาที่สูงเกินจริงมากชนิดขึ้น งบประมาณเพื่อการนี้ก็ย่อมที่จะมีมากขึ้นกว่า 3.5 แสนล้าน ภาระในเรื่องเงินที่จะนำมาใช้จะมาจากแหล่งใด
นโยบายประชานิยมในเรื่องนี้จึงเป็นเช่นเดียวกับกองทุนหมู่บ้านที่ต้องทำทุกหมู่บ้าน โดยหาได้คำนึงถึงว่าหมู่บ้านใดจำเป็นต้องเข้าถึงแหล่งทุนหรือไม่เป็นที่ตั้ง เป็นการ “หว่าน” เพื่อซื้อเสียงโดยการคอร์รัปชันเชิงนโยบาย เอาเหตุผลทางการเมืองเป็นที่ตั้งมากกว่าเหตุผลความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ
วิกฤตเศรษฐกิจในละตินอเมริกาในอดีตหรือยุโรปในปัจจุบันต่างมีที่มาจากนโยบายประชานิยมที่ทำให้คนงอมืองอเท้ารอรับความช่วยเหลือจากรัฐที่ไม่ได้มาฟรีๆ หากแต่สร้างภาระหนี้สาธารณะผูกพันประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี เปรียบได้กับการวางฟางไว้บนหลังลามากขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดฟางเส้นสุดท้ายแม้ดูไปแล้วจะเบาสักเพียงใดก็ทำลาหลังหักได้
ภาระหนี้สาธารณะของไทยในขณะนี้อยู่ในระดับประมาณร้อยละ 50 ของ GDP ซึ่งใกล้เคียงกับระดับเพดานที่ตั้งไว้ที่ร้อยละ 60 ของ GDP เข้าไปทุกขณะแม้จะยังไม่คิดรวมถึงการรับประกันสินค้าที่จะทำในปีต่อไปหรือความพยายามที่จะกู้เงินอีก 2 ล้านล้านบาทเพื่อมาปรับโครงสร้างประเทศ
สิ่งที่จะพิสูจน์คำวิพากษ์กล่าวหาข้างต้นว่าเป็นจริงหรือไม่จึงอยู่ที่การกระทำ ความกล้าที่จะรับผิดชอบ ความมุ่งมั่นที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง มิใช่อยู่ที่ยิ่งลักษณ์ได้นั่งหัวโต๊ะหรือไม่
หากยิ่งลักษณ์คิดว่าตนเองมีสมอง มีความรู้ความสามารถ มีความเป็นอิสระ และคำนึงถึงฐานะของตนเองว่าเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย มิใช่เป็นนายกฯ ของพี่ชาย ก็เป็นโอกาสอันดีที่จะใช้วิจารณญาณทบทวนไตร่ตรองโครงการประชานิยมเช่นนี้ ให้สมกับ “แก้ไข ไม่แก้แค้น” ตามที่หาเสียงเอาไว้ เพราะนี่คือบทพิสูจน์ของคุณ!