วานนี้ (25 ก.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในโครงการตำรวจประสานโรงเรียน 1 ตำรวจ 1 โรงเรียน ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3 ระดับ คือ ระดับนโยบาย ระดับอำนวยการ และ ระดับปฏิบัติการ เพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหายาเสพติด ตามยุทธศาสตร์พลังแผ่นดิน เอาชนะยาเสพติด มีตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ พล.ต.อ.วัชพล ประสานราชกิจ รอง ผบ.ตร. พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ โชติมา ผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด นายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าฯกทม. และผู้ว่าฯทั่วประเทศ ตัวแทนกองบัญชาการตำรวจภูธร 1-9 เป็นต้น
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวมอบโนบายว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์ยาเสพติด ที่ระบาดรุนแรง เพราะข้าราชการไทยประพฤติไม่ดีงาม แต่เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามา ได้ประกาศให้การปราบปรามยาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ตน เป็นผอ.ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ดังนั้นโครงการนี้ถือเรื่องที่ดี และจากการดำเนินการโครงการนี้ โดยนำร่องในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 พบว่าได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี รวมทั้งพื้นที่อื่นๆในต่างจังหวัด ซึ่งผู้ว่าฯไประชุมหารือร่วมกับตำรวจ และสถานศึกษา เหลือเพียงกทม. ที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ จึงขอฝากให้ ผอ.เขตทั้ง 50 เขต ประชุมร่วมกับ 88 สถานีตำรวจ ในกทม. เพื่อเร่งแก้ปัญหาต่อไป
นอกจากนี้ ขอฝากให้ตำรวจ ครู และ ผู้ว่าฯ ร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจัง เชื่อว่านับจากนี้ 1 ปี ยาเสพติดจะลดลง และอย่าไปอิจฉากันเอง เพราะขณะนี้เราเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาตนเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่หนักใจ เพราะคนที่กำกับดูแลเรื่องนี้ เป็นคนละส่วนกัน
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ปัญหายาเสพติด ไม่ได้ผลิตในบ้านเรา แต่มาจากชนกลุ่มน้อยหรือพวกว้า ของพม่า เมื่อตนพูดไปก็ถูกวิจารณ์ว่าสร้างความแตกแยก แต่ถ้าเราสกัดการนำเข้าจากพม่า ที่ผ่านเข้ามาทางภาคเหนือได้ก็จะลดปัญหาได้ ทั้งนี้ในเร็วๆนี้ ตนจะลงพื้นอีสาน เพื่อติดตามสถานการณ์ เพราะทราบว่าเริ่มมีการเคลื่นอไหวไปในพื้นที่ภาคอีสาน
"ผมจะประสานรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงของไทย ไปบีบพม่า ให้ไปกดดันพวกว้า เมื่อเรากดดันได้ ก็จะแก้ปัญหาไม่ให้เข้ามาในบ้านเราได้ และหากทางพม่าต้องการจะพบกับผม ก็จะพร้อมจะพบ และยอมรับว่าว่าผมทำงานแรง เพราะถ้าไม่แรง ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ผมยืนยันว่า เอาจริงในเรื่องนี้ และจะฝากผลงานเรื่องนี้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเลิกเล่นการเมือง และถ้าไม่ถูกปรับออกก่อน ก็จะทำงานต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ โชติมา ผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด กล่าวถึงโครงการ " ตำรวจประสานโรงเรียน 1 ตำรวจ 1 โรงเรียน" ว่า โครงการนี้จะเน้นการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กมัธยมศึกษา และเด็กอาชีวะ เพื่อช่วยให้โรงเรียนสามารถคัดกรองเด็ก จะได้รู้ว่าเด็กไปยุ่งกับยาเสพติดจำนวนเท่าไร อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเท่าไร และ ไม่ยุ่งเกี่ยวเท่าไร เพื่อจะหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งพอโรงเรียนรู้จำนวนเด็ก ว่ามีเท่าไรบ้าง ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน เป็นแบ๊คอัพให้โรงเรียน เพราะพอโรงเรียนไปเจอผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล ก็อาจจะสู้ไม่ไหว อาจะถูกข่มขู่ เช่น การกรีดรถ ราดน้ำมันเบรก ตำรวจต้องเข้าไปช่วย ถ้าเราทำโครงการนี้ไปได้ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชนได้
สำหรับการแพร่ระบาดของยาเสพติดตอนนี้ ก็มีแพร่กระจายในประเทศไทย มากพอสมควร เคยมีการพูดคุยกับกระทรวงศึกษาธิการว่า ตอนนี้มีเด็กไปเกี่ยวข้องเท่าไร เพื่อหามาตรการมารองรับ เพราะหากเราทำไม่ถูกกลุ่ม เราจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับโครงการนี้เราต้องทำต่อเนื่อง โดยจะต้องมีการประสานงานระหว่างตำรวจ ครู และฝ่ายปกครองให้มากขึ้น
ส่วนกำลังพลในการปฏิบัติงานของตำรวจ คิดว่าน่าจะพอเพียง เพราะเราจะให้ตำรวจลงไปประสานงานกับโรงเรียน แห่งละ1 คน ซึ่งอาจจะเป็นตำรวจที่มีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียนเช่น เป็นศิษย์เก่า หรือเป็นผู้ปกครอง แล้วหากมีอะไร ก็ให้ประสานงานมาที่ส่วนกลาง เพื่อเราจะส่งตำรวจหลักลงไปดูว่า จะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ที่สำคัญตำรวจจะต้องไม่เป็นผู้ไปค้าเสียเอง โครงการนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ที่ต้องเน้นในเยาวชน เพราะเป็นกลุ่มสำคัญ เราจะต้องทุ่มเทให้กับกลุ่มนี้ให้มาก
" หากเราพบเยาวชนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เราจะให้ไปเรียนตามปกติ และมีการบำบัดไปพร้อมกัน และในช่วงปิดเทอม จะมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน โดยโครงการของตำรวจ จะไม่เหมือนกับทหารที่จัดค่ายวิวัฒน์พลเมือง แต่เราจะทำให้เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพราะเด็กบางคนไม่ได้ติดมาก หากไปส่งเข้ากลุ่มที่เสพมาก ก็ไม่เหมาะสม เราต้องหากิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพื่อจะได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์" พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ กล่าว
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวมอบโนบายว่า ที่ผ่านมาสถานการณ์ยาเสพติด ที่ระบาดรุนแรง เพราะข้าราชการไทยประพฤติไม่ดีงาม แต่เมื่อรัฐบาลนี้เข้ามา ได้ประกาศให้การปราบปรามยาเสพติด เป็นวาระแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี มอบหมายให้ตน เป็นผอ.ศูนย์อำนวยการพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ดังนั้นโครงการนี้ถือเรื่องที่ดี และจากการดำเนินการโครงการนี้ โดยนำร่องในพื้นที่ตำรวจภูธรภาค 7 พบว่าได้รับการตอบรับจากทุกภาคส่วนเป็นอย่างดี รวมทั้งพื้นที่อื่นๆในต่างจังหวัด ซึ่งผู้ว่าฯไประชุมหารือร่วมกับตำรวจ และสถานศึกษา เหลือเพียงกทม. ที่ยังไม่เริ่มดำเนินการ จึงขอฝากให้ ผอ.เขตทั้ง 50 เขต ประชุมร่วมกับ 88 สถานีตำรวจ ในกทม. เพื่อเร่งแก้ปัญหาต่อไป
นอกจากนี้ ขอฝากให้ตำรวจ ครู และ ผู้ว่าฯ ร่วมมือกันทำงานอย่างจริงจัง เชื่อว่านับจากนี้ 1 ปี ยาเสพติดจะลดลง และอย่าไปอิจฉากันเอง เพราะขณะนี้เราเป็นรัฐบาลพรรคเดียว ไม่น่าจะมีปัญหา ที่ผ่านมาตนเข้าใจว่า เจ้าหน้าที่หนักใจ เพราะคนที่กำกับดูแลเรื่องนี้ เป็นคนละส่วนกัน
ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ปัญหายาเสพติด ไม่ได้ผลิตในบ้านเรา แต่มาจากชนกลุ่มน้อยหรือพวกว้า ของพม่า เมื่อตนพูดไปก็ถูกวิจารณ์ว่าสร้างความแตกแยก แต่ถ้าเราสกัดการนำเข้าจากพม่า ที่ผ่านเข้ามาทางภาคเหนือได้ก็จะลดปัญหาได้ ทั้งนี้ในเร็วๆนี้ ตนจะลงพื้นอีสาน เพื่อติดตามสถานการณ์ เพราะทราบว่าเริ่มมีการเคลื่นอไหวไปในพื้นที่ภาคอีสาน
"ผมจะประสานรองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคงของไทย ไปบีบพม่า ให้ไปกดดันพวกว้า เมื่อเรากดดันได้ ก็จะแก้ปัญหาไม่ให้เข้ามาในบ้านเราได้ และหากทางพม่าต้องการจะพบกับผม ก็จะพร้อมจะพบ และยอมรับว่าว่าผมทำงานแรง เพราะถ้าไม่แรง ก็แก้ปัญหาไม่ได้ ผมยืนยันว่า เอาจริงในเรื่องนี้ และจะฝากผลงานเรื่องนี้เป็นครั้งสุดท้าย ก่อนเลิกเล่นการเมือง และถ้าไม่ถูกปรับออกก่อน ก็จะทำงานต่อไป" ร.ต.อ.เฉลิม กล่าว
พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ โชติมา ผู้บัญชาการปราบปรามยาเสพติด กล่าวถึงโครงการ " ตำรวจประสานโรงเรียน 1 ตำรวจ 1 โรงเรียน" ว่า โครงการนี้จะเน้นการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหาสำหรับเด็กมัธยมศึกษา และเด็กอาชีวะ เพื่อช่วยให้โรงเรียนสามารถคัดกรองเด็ก จะได้รู้ว่าเด็กไปยุ่งกับยาเสพติดจำนวนเท่าไร อยู่ในกลุ่มเสี่ยงเท่าไร และ ไม่ยุ่งเกี่ยวเท่าไร เพื่อจะหากิจกรรมที่เหมาะสมกับเด็ก ซึ่งพอโรงเรียนรู้จำนวนเด็ก ว่ามีเท่าไรบ้าง ที่ไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง เข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนโรงเรียน เป็นแบ๊คอัพให้โรงเรียน เพราะพอโรงเรียนไปเจอผู้ค้า ผู้มีอิทธิพล ก็อาจจะสู้ไม่ไหว อาจะถูกข่มขู่ เช่น การกรีดรถ ราดน้ำมันเบรก ตำรวจต้องเข้าไปช่วย ถ้าเราทำโครงการนี้ไปได้ ก็จะช่วยแก้ไขปัญหายาเสพติดในเยาวชนได้
สำหรับการแพร่ระบาดของยาเสพติดตอนนี้ ก็มีแพร่กระจายในประเทศไทย มากพอสมควร เคยมีการพูดคุยกับกระทรวงศึกษาธิการว่า ตอนนี้มีเด็กไปเกี่ยวข้องเท่าไร เพื่อหามาตรการมารองรับ เพราะหากเราทำไม่ถูกกลุ่ม เราจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์ สำหรับโครงการนี้เราต้องทำต่อเนื่อง โดยจะต้องมีการประสานงานระหว่างตำรวจ ครู และฝ่ายปกครองให้มากขึ้น
ส่วนกำลังพลในการปฏิบัติงานของตำรวจ คิดว่าน่าจะพอเพียง เพราะเราจะให้ตำรวจลงไปประสานงานกับโรงเรียน แห่งละ1 คน ซึ่งอาจจะเป็นตำรวจที่มีความเกี่ยวข้องกับโรงเรียนเช่น เป็นศิษย์เก่า หรือเป็นผู้ปกครอง แล้วหากมีอะไร ก็ให้ประสานงานมาที่ส่วนกลาง เพื่อเราจะส่งตำรวจหลักลงไปดูว่า จะช่วยเหลืออะไรได้บ้าง ที่สำคัญตำรวจจะต้องไม่เป็นผู้ไปค้าเสียเอง โครงการนี้ทุกฝ่ายต้องช่วยกัน ที่ต้องเน้นในเยาวชน เพราะเป็นกลุ่มสำคัญ เราจะต้องทุ่มเทให้กับกลุ่มนี้ให้มาก
" หากเราพบเยาวชนไปยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติด เราจะให้ไปเรียนตามปกติ และมีการบำบัดไปพร้อมกัน และในช่วงปิดเทอม จะมีการจัดกิจกรรมที่เหมาะสม เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเยาวชน โดยโครงการของตำรวจ จะไม่เหมือนกับทหารที่จัดค่ายวิวัฒน์พลเมือง แต่เราจะทำให้เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพราะเด็กบางคนไม่ได้ติดมาก หากไปส่งเข้ากลุ่มที่เสพมาก ก็ไม่เหมาะสม เราต้องหากิจกรรมที่เหมาะสมในแต่ละกลุ่ม เพื่อจะได้สำเร็จตามวัตถุประสงค์" พล.ต.ท.ชัยวัฒน์ กล่าว