"เหลิมดาวเทียม" รับลูก "นช.แม้ว" แก้รธน.รายมาตรา เสนอแก้ 5 เรื่องหลัก ยุบผู้ตรวจการแผ่นดิน- ควบรวมศาล - ส.ว.มาจากการเลือกตั้ง- กกต.ไม่มีอำนาจแจกใบเหลือง ใบแดง - ป.ป.ช.และกกต. มาจากการแต่งตั้งของสภา คุยโวทำได้ง่าย ไม่ยืดเยื้อ ด้านตุลาการศาลรธน. ประชุมลงลงนามคำวินิจฉัยกลางวันนี้ มั่นใจทำหลายฝ่ายหายข้องใจ "มาร์ค"ขอให้ประชาชนเป็นผู้กำหนดทิศทางประเทศ ไม่ใช่ปล่อยให้นช.แม้วบงการ
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่า ส่วนตัวมีแนวทางแก้ไข อยู่ 5 ประเด็น คือ 1. ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 2. ยกเลิกผู้ตรวจการแผ่นดิน 3. ควบรวมศาลไปเป็นแผนกในศาลฎีกา ตรงนี้ใครจะมาว่าก็ไม่ได้ เพราะเวลามีคดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ คดีปกครอง ศาลฎีกา จะเลือกตุลาการมา 9 คน เพื่อมาทำหน้าที่องค์คณะ 4. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ไม่ควรมีอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง และ 5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกกต. ต้องมาจากการคัดเลือกของรัฐสภา มีอายุดำรงตำแหน่ง 4 ปี เนื่องจากตำแหน่งสำคัญอย่างนี้ ต้องคัดเลือกโดยตัวแทนของประชาชน ส่วนส.ว.ที่มาจากการสรรหา เมื่อมั่นใจว่าดี ก็ลงสมัครรับเลือกตั้ง ชาวบ้านเลือกก็จะจบ ถ้าเป็นแบบเดิมบ้านเมืองไม่สงบ
ส่วนที่มีการมองกันว่า การแก้ไขรายมาตรา จะทำให้ยืดเยื้อ เสียเวลา ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าพรรคใช้บริการของตน ก็ง่าย ไม่ยืดเยื้อ แต่ถ้ามีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะยิ่งยืดเยื้อ ส่วนเรื่องเกมในสภาของฝ่ายค้าน คิดว่าคงไม่มี
เมื่อถามว่า เหตุใดจึงต้องยุบ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า มีไว้ทำไม มีประโยชน์อะไร เปลืองเงินเดือน ใครยื่นอะไร ก็รับคำร้อง เก่งแต่ให้สัมภาษณ์ เมื่อถามอีกว่า จะโน้มน้าวให้สมาชิกพรรคสนับสนุนแนวทางนี้อย่างไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า สภาเปิดก็จะต้องมีการคุยกัน และหากในการประชุมพรรคเพื่อไทย ได้ขอให้ตนวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง ตนก็จะเสนอแนวทางนี้
** "ปู"โยนทุกอย่างอยู่ที่สภา
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตราว่า ทุกอย่างอยู่ที่สภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นแบบรายมาตราหรือไม่ ต้องมีการพูดคุยกันในสภา เพราะมติต้องมาจากการโหวตของสภาผู้แทนราษฎร ว่ามติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างอยู่ในวาระ 3 จะเป็นอย่างไร
ส่วนที่หลายฝ่ายถามว่า จุดยืนรัฐบาลเป็นอย่างไร คงต้องรอฟังกลไกทั้งหมดที่จะสรุปในสภา ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า คงต้องฟังคำวินิจฉัยกลางจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้รับ และเมื่อได้รับแล้วจะให้นักกฎหมาย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาให้ชัดเจนต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่รัฐบาลเป็นแกนนำในรัฐบาล และมีเสียงข้างมากในสภาควรที่จะประกาศจุดยืนของรัฐบาลเอง นายกฯ กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลได้ชี้แจงอยู่แล้วว่า ต้องรอคำวินิจฉัยก่อน เพราะเมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จึงจะมีการตัดสินใจและจะประกาศจุดยืนได้ ดังนั้นต้องขอเวลาอีกนิด
** ลงนามคำวินิจฉัยกลางวันนี้
นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ ( 25 ก.ค.) ตุลาการทุกคนจะเข้าร่วมประชุม เพี่อให้ความเห็นชอบ และลงนามในคำวินิจฉัยกลาง และเชื่อว่าคำวินิจฉัยกลาง จะมีความชัดเจน ทำให้หลายฝ่ายหายข้องใจได้
ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนนั้น ขณะนี้ตุลาการทั้งหมดดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้แจ้งว่า จะมีการสอบถามในที่ประชุม ถึงคำวินิจฉัยส่วนตนของแต่ละคน ถ้าหากเสร็จเรียบร้อยคาดว่าจะสามารถเผยแพร่พร้อมกับคำวินิจฉัยกลางได้
อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยส่วนตน สามารถเผยแพร่ภายหลังได้ เนื่องจากตามกฎหมาย ให้ระยะเวลาในการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนถึง 60 วัน หลังจากตุลาการได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ จะมีการพิจารณาคำร้องตามปกติรวม 6 เรื่อง รวมถึงตรวจสอบคำวินิจฉัยกลางกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยขณะนี้ตุลาการฯได้ตรวจสอบร่างคำวินิจฉัยครบทุกคนแล้ว ก่อนที่จะลงมติเห็นชอบ ในวันนี้ และถ้าคณะตุลาการเห็นว่า คำวินิจฉัยกลางไม่มีส่วนไหนต้องแก้ไข ก็อาจสามารถเผยแพร่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตุลาการ ว่าจะให้เผยแพร่ทันทีหรือ ว่าเมื่อใด
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีคำวินิจฉัยกลาง ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะลงนามรับรอง ในการประชุมวันนี้ ในประเด็นที่ 2 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แนะนำว่า ควรจะทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับว่า จากการอ่านคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำว่า ควรที่จะทำประชามติ ส่วนรัฐสภาจะดำเนินการตามคำแนะนำของศาลหรือไม่นั้น ก็ถือเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตัดสินใจ แต่หากไม่ดำเนินการตามคำแนะนำ และส่งผลให้มีผลกระทบตามมา ทางรัฐสภาก็จะต้องรับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้หากรัฐสภาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของศาล และเดินหน้าลงมติในวาระ 3 จะส่งผลกระทบให้บุคคลที่ทราบการกระทำ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มายื่นร้องต่อศาลอีกครั้งหรือไม่นั้น ตนคงตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องอนาคตที่ไม่สามารถไปคาดการณ์ได้
**รัฐบาลต้องชัด จะแก้รธน.อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายเสนาะ เทียนทอง อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่า ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าใครคิดอย่างไร แต่อยู่ที่คนมีหน้าที่คือรัฐสภา ต้องหาทางออกให้กับประเทศ ตนยืนยันว่าอย่าสร้างบรรยากาศการเผชิญหน้า ให้ดำเนินการตามที่ศาลชี้ หรือปรึกษาหารือกันถึงแนวทางที่เหมาะสมในเรื่องรัฐธรรมนูญจะดีที่สุด ทั้งนี้หากจะแก้ไขรายมาตรา ก็ดีกว่าที่จะเดินหน้าเรื่องวาระ 3 แต่ถ้าถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะแก้มาตราไหน ด้วยเหตุผลอะไร
ส่วนคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นธงสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูก่อน เพราะกระแสข่าวที่ออกมาก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ตนคิดว่าสิ่งสำคัญคือ รัฐบาลและวิป ควรมีความชัดเจนได้แล้วว่า จะไม่ดำเนินการในสิ่งที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้า จะได้ช่วยบรรยากาศบ้านเมือง ทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ในการแก้ปัญหาประชาชน
** ประชาชนคือผู้กำหนดทิศทาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี พยายามยืนยันมาโดยตลอดว่า การตัดสินใจอยู่ภายในประเทศ การที่มีคนของพรรคเพื่อไทยเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดเวลา พร้อมกับนำคำพูด พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา สะท้อนว่า อำนาจอยู่ที่ใคร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นที่รับรู้กันอยู่ และนี่คือปัญหาที่เราพูดมาตลอดว่า เมื่อไรจะก้าวพ้น พ.ต.ท.ทักษิณเสียที
" ผมคิดว่าคนที่กำหนดทิศทางประเทศไทย คือประชาชน เพราะแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะบงการรัฐบาลได้ แต่ผมว่ามีประชาชนที่เขาร่วมกำหนดทิศทางประเทศ เขาคงไม่ยอมให้มีปัญหาที่จะต้องทะเลาะเบาะแว้ง ระหว่างสถาบันหลักต่างๆ กับศาล และคนที่อยากจะกำหนดทิศทางของประเทศส่วนใหญ่คือ ประชาชน เขาก็อยากจะบอกกับรัฐบาลว่า เดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องอื่นเถอะ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า เวทีผ่าความจริงหยุดล้มรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายล้างผิดคนโกง ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค.นี้ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง จะสะท้อนให้ประชาชนเห็นว่า ภารกิจที่พรรคเห็นว่ารัฐบาลต้องทำคือ ขจัดเงื่อนไขความขัดแย้ง ด้วยการถอนเรื่องรัฐธรรมนูญ และกฎหมายล้างผิดออกไป และเดินหน้าในการแก้ปัญหาประเทศ
ส่วนการปรองดอง การแก้ไขกฎหมาย ควรจะเป็นกระบวนการที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนเมื่อเปิดสมัยประชุมสภาในเดือนสิงหาคมแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องเดินสายเปิดเวทีปราศรัยอีกหรือไม่นั้น คงต้อรอดูท่าทีของรัฐบาลเมื่อเปิดสภาก่อน โดยในขณะนี้ประธานรัฐสภา ยังไม่ได้แจ้งวาระการประชุม คาดว่าจะมีการส่งวาระในวันศุกร์ที่ 27 ก.ค.
**ต้องแก้รธน.ให้ทันสมัยประชุมสภานี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง กล่าวว่า มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้แล้วว่าคงต้องรอดูคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ทุกคนตรงกัน สำหรับพี่น้องคนเสื้อแดงนั้น หลังจากที่มีคำวินิจฉัยกลางออกมาแล้ว เราคงต้องมาหารือกัน เพราะวันนี้มีคนกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะใช้ทุกเครื่องมือโค่นล้มรัฐบาล และรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มนั้นไปด้วย ดังนั้นการจะดำเนินการแก้ไข จะต้องไม่ตกไปในกับดักของคนกลุ่มนี้ อีกรอบ
** วุฒิฯถกหาข้อสรุปแก้ไขรธน.
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 กล่าวว่า ในวันนี้ ( 25 ก.ค.) จะมีการหารือของวิปวุฒิฯ เรื่องปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะในกลุ่มส.ว. ยังมีความเห็นที่แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรลงมติวาระ 3 ซึ่งน่าจะมีปัญหาแน่ เพราะจะมีคนไม่ร่วมสังฆกรรม ซึ่งจะทำให้เสียงก้ำกึ่ง และมีเสียงไม่ถึง ในขณะเดียวกันจะมีคนยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง
2. กลุ่มที่เห็นควรทำประชามติก่อน ลงมติวาระ 3 ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และใช้เงิน 2.5 พันล้านบาท ถึงแม้จะมีความกังขาจากประชาชนที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ก็สามารถชี้แจงได้ว่าเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ และหากเดินตามแนวทางนี้ และประชามติผ่าน ก็สามารถตั้งส.ส.ร. ขึ้นมายกร่าง และหลังจากร่างเสร็จ ก็กลับไปทำประชามติอีกครั้ง หากถามว่าการใช่งบประมาณในครั้งนี้คุ้มหรือไม่ ตนเห็นว่าคุ้ม ถ้าจะแลกกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน และชะลอความขัดแย้งของประเทศลงได้
3. กลุ่มส.ว.สรรหา ส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีการแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งตรงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนขั้นตอนจะเร็ว หรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ไขในมาตราไหนก่อน ซึ่งคิดว่าประเด็นที่จะมีผู้เสนอแก้เป็นลำดับแรก คือ มาตรา 68 เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า ควรเป็นองค์กรใด ที่มีหน้าที่วินิจฉัยตามมาตรานี้
**แนะทำประชามติ เลิกโหวตวาระ3
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน แม้จะมีการลงประชามติ แต่อยู่ในช่วงเวลาที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 35 จังหวัด ซึ่งตัวรัฐธรรมนูญ ยังมีเนื้อหากำหนดให้ฝ่ายตุลาการ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป ทำให้ระบบตรวจสอบถ่วงดุลของสภาเสียดุล เกิดความยุติธรรม 3 มาตรฐาน ทำให้เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องแก้ไขทั้งฉบับ ส่วนการแก้ไขรายมาตรา หรือรายประเด็นนั้น ตนเห็นว่า กระทำได้ยาก เพราะตัวรัฐธรรมนูญมีปัญหาทางโครงสร้าง
นายอุกฤษ ยังเห็นว่า การแก้ไขในช่วงนี้ ถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะกระทำโดยรัฐบาลที่มาจากประชาชน ส่วนการแก้ไขทั้งฉบับ ควรเริ่มจากการให้ประชาชนทำประชามติเสียก่อน หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจแก้ไขรายมาตราก็ได้ แต่ไม่สามารถคาดหมายได้ว่า จะแล้วเสร็จเมื่อใด
ทั้งนี้ การออกเสียงประชามติ ควรให้ได้มติจากเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ 24 ล้านเสียง และจะต้องมีการรณรงค์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ส่วนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรมนูญ ในวาระ 3 นั้น รัฐสภาควรยุติ และปล่อยให้ร่างแก้ไขที่ค้างอยู่ตกไป เพื่อดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยรัฐบาลควรนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาเป็นตัวเลือก หรือเป็นต้นแบบในการยกร่าง และการเสนอเข้าสู่กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 291
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นอกจากนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะต้องมีการจัดวางโรงสร้าง หรือองค์กรผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่
ส่วนประเด็นปัญหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนั้น นายอุกฤษ เห็นว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว องค์กรอิสระยังคงมีความจำเป็นอยู่ แต่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการสรรหา ทั้งนี้ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นผลให้ มาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกยกเลิกไป เพื่อให้เกิดบรรยากาศปรองดอง บ้านเมืองควรตรากฎหมายนิรโทษกรรมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบรรดาผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง ส่วนคดีความผิดทางอาญา หรือกฎหมายอื่น ให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม
ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณีที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องการให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่า ส่วนตัวมีแนวทางแก้ไข อยู่ 5 ประเด็น คือ 1. ส.ว.ต้องมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด 2. ยกเลิกผู้ตรวจการแผ่นดิน 3. ควบรวมศาลไปเป็นแผนกในศาลฎีกา ตรงนี้ใครจะมาว่าก็ไม่ได้ เพราะเวลามีคดี ไม่ว่าจะเป็นเรื่องรัฐธรรมนูญ คดีปกครอง ศาลฎีกา จะเลือกตุลาการมา 9 คน เพื่อมาทำหน้าที่องค์คณะ 4. คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีหน้าที่จัดการเลือกตั้ง ไม่ควรมีอำนาจให้ใบเหลือง ใบแดง และ 5. คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) และกกต. ต้องมาจากการคัดเลือกของรัฐสภา มีอายุดำรงตำแหน่ง 4 ปี เนื่องจากตำแหน่งสำคัญอย่างนี้ ต้องคัดเลือกโดยตัวแทนของประชาชน ส่วนส.ว.ที่มาจากการสรรหา เมื่อมั่นใจว่าดี ก็ลงสมัครรับเลือกตั้ง ชาวบ้านเลือกก็จะจบ ถ้าเป็นแบบเดิมบ้านเมืองไม่สงบ
ส่วนที่มีการมองกันว่า การแก้ไขรายมาตรา จะทำให้ยืดเยื้อ เสียเวลา ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า ถ้าพรรคใช้บริการของตน ก็ง่าย ไม่ยืดเยื้อ แต่ถ้ามีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) จะยิ่งยืดเยื้อ ส่วนเรื่องเกมในสภาของฝ่ายค้าน คิดว่าคงไม่มี
เมื่อถามว่า เหตุใดจึงต้องยุบ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า มีไว้ทำไม มีประโยชน์อะไร เปลืองเงินเดือน ใครยื่นอะไร ก็รับคำร้อง เก่งแต่ให้สัมภาษณ์ เมื่อถามอีกว่า จะโน้มน้าวให้สมาชิกพรรคสนับสนุนแนวทางนี้อย่างไร ร.ต.อ.เฉลิม กล่าวว่า สภาเปิดก็จะต้องมีการคุยกัน และหากในการประชุมพรรคเพื่อไทย ได้ขอให้ตนวิเคราะห์สถานการณ์การเมือง ตนก็จะเสนอแนวทางนี้
** "ปู"โยนทุกอย่างอยู่ที่สภา
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เสนอการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบรายมาตราว่า ทุกอย่างอยู่ที่สภา การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นแบบรายมาตราหรือไม่ ต้องมีการพูดคุยกันในสภา เพราะมติต้องมาจากการโหวตของสภาผู้แทนราษฎร ว่ามติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญที่ค้างอยู่ในวาระ 3 จะเป็นอย่างไร
ส่วนที่หลายฝ่ายถามว่า จุดยืนรัฐบาลเป็นอย่างไร คงต้องรอฟังกลไกทั้งหมดที่จะสรุปในสภา ขณะเดียวกันก็เชื่อว่า คงต้องฟังคำวินิจฉัยกลางจากศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งตรงนี้ยังไม่ได้รับ และเมื่อได้รับแล้วจะให้นักกฎหมาย หรือผู้ที่เกี่ยวข้องทำการศึกษาให้ชัดเจนต่อไป
ผู้สื่อข่าวถามว่า ในฐานะที่รัฐบาลเป็นแกนนำในรัฐบาล และมีเสียงข้างมากในสภาควรที่จะประกาศจุดยืนของรัฐบาลเอง นายกฯ กล่าวว่า ทางพรรคเพื่อไทย และรัฐบาลได้ชี้แจงอยู่แล้วว่า ต้องรอคำวินิจฉัยก่อน เพราะเมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จึงจะมีการตัดสินใจและจะประกาศจุดยืนได้ ดังนั้นต้องขอเวลาอีกนิด
** ลงนามคำวินิจฉัยกลางวันนี้
นายบุญส่ง กุลบุปผา ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เชื่อว่าการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ ( 25 ก.ค.) ตุลาการทุกคนจะเข้าร่วมประชุม เพี่อให้ความเห็นชอบ และลงนามในคำวินิจฉัยกลาง และเชื่อว่าคำวินิจฉัยกลาง จะมีความชัดเจน ทำให้หลายฝ่ายหายข้องใจได้
ส่วนคำวินิจฉัยส่วนตนนั้น ขณะนี้ตุลาการทั้งหมดดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้แจ้งว่า จะมีการสอบถามในที่ประชุม ถึงคำวินิจฉัยส่วนตนของแต่ละคน ถ้าหากเสร็จเรียบร้อยคาดว่าจะสามารถเผยแพร่พร้อมกับคำวินิจฉัยกลางได้
อย่างไรก็ตาม คำวินิจฉัยส่วนตน สามารถเผยแพร่ภายหลังได้ เนื่องจากตามกฎหมาย ให้ระยะเวลาในการเผยแพร่คำวินิจฉัยส่วนตนถึง 60 วัน หลังจากตุลาการได้มีคำวินิจฉัย เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ที่ผ่านมา
นายสมฤทธิ์ ไชยวงค์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า ในการประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ จะมีการพิจารณาคำร้องตามปกติรวม 6 เรื่อง รวมถึงตรวจสอบคำวินิจฉัยกลางกรณีศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไม่เข้าข่ายล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยขณะนี้ตุลาการฯได้ตรวจสอบร่างคำวินิจฉัยครบทุกคนแล้ว ก่อนที่จะลงมติเห็นชอบ ในวันนี้ และถ้าคณะตุลาการเห็นว่า คำวินิจฉัยกลางไม่มีส่วนไหนต้องแก้ไข ก็อาจสามารถเผยแพร่ได้ แต่ก็ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของตุลาการ ว่าจะให้เผยแพร่ทันทีหรือ ว่าเมื่อใด
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึง กรณีคำวินิจฉัยกลาง ที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจะลงนามรับรอง ในการประชุมวันนี้ ในประเด็นที่ 2 ที่ศาลรัฐธรรมนูญ แนะนำว่า ควรจะทำประชามติตามรัฐธรรมนูญ หากต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับว่า จากการอ่านคำวินิจฉัยขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมานั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้แนะนำว่า ควรที่จะทำประชามติ ส่วนรัฐสภาจะดำเนินการตามคำแนะนำของศาลหรือไม่นั้น ก็ถือเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะตัดสินใจ แต่หากไม่ดำเนินการตามคำแนะนำ และส่งผลให้มีผลกระทบตามมา ทางรัฐสภาก็จะต้องรับผิดชอบต่อไป
ทั้งนี้หากรัฐสภาไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำของศาล และเดินหน้าลงมติในวาระ 3 จะส่งผลกระทบให้บุคคลที่ทราบการกระทำ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 มายื่นร้องต่อศาลอีกครั้งหรือไม่นั้น ตนคงตอบไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องอนาคตที่ไม่สามารถไปคาดการณ์ได้
**รัฐบาลต้องชัด จะแก้รธน.อย่างไร
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณี นายเสนาะ เทียนทอง อ้างว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ว่า ยังไม่ทราบข้อเท็จจริงว่าเป็นอย่างไร แต่สิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ที่ว่าใครคิดอย่างไร แต่อยู่ที่คนมีหน้าที่คือรัฐสภา ต้องหาทางออกให้กับประเทศ ตนยืนยันว่าอย่าสร้างบรรยากาศการเผชิญหน้า ให้ดำเนินการตามที่ศาลชี้ หรือปรึกษาหารือกันถึงแนวทางที่เหมาะสมในเรื่องรัฐธรรมนูญจะดีที่สุด ทั้งนี้หากจะแก้ไขรายมาตรา ก็ดีกว่าที่จะเดินหน้าเรื่องวาระ 3 แต่ถ้าถามว่าเห็นด้วยหรือไม่ ยังตอบไม่ได้ เพราะไม่รู้ว่าจะแก้มาตราไหน ด้วยเหตุผลอะไร
ส่วนคำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะเป็นธงสำหรับรัฐบาลในการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นรายมาตราหรือไม่นั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ต้องรอดูก่อน เพราะกระแสข่าวที่ออกมาก็เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ตนคิดว่าสิ่งสำคัญคือ รัฐบาลและวิป ควรมีความชัดเจนได้แล้วว่า จะไม่ดำเนินการในสิ่งที่ทำให้เกิดการเผชิญหน้า จะได้ช่วยบรรยากาศบ้านเมือง ทำให้ทุกอย่างเดินหน้าไปได้ในการแก้ปัญหาประชาชน
** ประชาชนคือผู้กำหนดทิศทาง
ผู้สื่อข่าวถามว่า ที่ผ่านมานายกรัฐมนตรี พยายามยืนยันมาโดยตลอดว่า การตัดสินใจอยู่ภายในประเทศ การที่มีคนของพรรคเพื่อไทยเดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ตลอดเวลา พร้อมกับนำคำพูด พ.ต.ท.ทักษิณ กลับมา สะท้อนว่า อำนาจอยู่ที่ใคร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เป็นที่รับรู้กันอยู่ และนี่คือปัญหาที่เราพูดมาตลอดว่า เมื่อไรจะก้าวพ้น พ.ต.ท.ทักษิณเสียที
" ผมคิดว่าคนที่กำหนดทิศทางประเทศไทย คือประชาชน เพราะแม้ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ จะบงการรัฐบาลได้ แต่ผมว่ามีประชาชนที่เขาร่วมกำหนดทิศทางประเทศ เขาคงไม่ยอมให้มีปัญหาที่จะต้องทะเลาะเบาะแว้ง ระหว่างสถาบันหลักต่างๆ กับศาล และคนที่อยากจะกำหนดทิศทางของประเทศส่วนใหญ่คือ ประชาชน เขาก็อยากจะบอกกับรัฐบาลว่า เดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ เดินหน้าแก้ปัญหาเรื่องอื่นเถอะ" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวด้วยว่า เวทีผ่าความจริงหยุดล้มรัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายล้างผิดคนโกง ของพรรคประชาธิปัตย์ ที่จะจัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 29 ก.ค.นี้ ที่สนามกีฬาไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง จะสะท้อนให้ประชาชนเห็นว่า ภารกิจที่พรรคเห็นว่ารัฐบาลต้องทำคือ ขจัดเงื่อนไขความขัดแย้ง ด้วยการถอนเรื่องรัฐธรรมนูญ และกฎหมายล้างผิดออกไป และเดินหน้าในการแก้ปัญหาประเทศ
ส่วนการปรองดอง การแก้ไขกฎหมาย ควรจะเป็นกระบวนการที่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ส่วนเมื่อเปิดสมัยประชุมสภาในเดือนสิงหาคมแล้ว ยังมีความจำเป็นต้องเดินสายเปิดเวทีปราศรัยอีกหรือไม่นั้น คงต้อรอดูท่าทีของรัฐบาลเมื่อเปิดสภาก่อน โดยในขณะนี้ประธานรัฐสภา ยังไม่ได้แจ้งวาระการประชุม คาดว่าจะมีการส่งวาระในวันศุกร์ที่ 27 ก.ค.
**ต้องแก้รธน.ให้ทันสมัยประชุมสภานี้
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ แกนนำกลุ่มเสื้อแดง กล่าวว่า มีการพูดคุยกันก่อนหน้านี้แล้วว่าคงต้องรอดูคำวินิจฉัยกลางของศาลรัฐธรรมนูญก่อน ซึ่งเป็นข้อสรุปที่ทุกคนตรงกัน สำหรับพี่น้องคนเสื้อแดงนั้น หลังจากที่มีคำวินิจฉัยกลางออกมาแล้ว เราคงต้องมาหารือกัน เพราะวันนี้มีคนกลุ่มหนึ่ง พยายามที่จะใช้ทุกเครื่องมือโค่นล้มรัฐบาล และรัฐธรรมนูญ ก็กลายเป็นเครื่องมือของคนกลุ่มนั้นไปด้วย ดังนั้นการจะดำเนินการแก้ไข จะต้องไม่ตกไปในกับดักของคนกลุ่มนี้ อีกรอบ
** วุฒิฯถกหาข้อสรุปแก้ไขรธน.
นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภา คนที่ 1 กล่าวว่า ในวันนี้ ( 25 ก.ค.) จะมีการหารือของวิปวุฒิฯ เรื่องปัญหาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะในกลุ่มส.ว. ยังมีความเห็นที่แตกออกเป็น 3 ฝ่าย คือ
1. กลุ่มส.ว.เลือกตั้ง ส่วนใหญ่เห็นว่า ควรลงมติวาระ 3 ซึ่งน่าจะมีปัญหาแน่ เพราะจะมีคนไม่ร่วมสังฆกรรม ซึ่งจะทำให้เสียงก้ำกึ่ง และมีเสียงไม่ถึง ในขณะเดียวกันจะมีคนยื่นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง
2. กลุ่มที่เห็นควรทำประชามติก่อน ลงมติวาระ 3 ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลา 3-4 เดือน และใช้เงิน 2.5 พันล้านบาท ถึงแม้จะมีความกังขาจากประชาชนที่ต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก แต่ก็สามารถชี้แจงได้ว่าเป็นไปตามคำพิพากษาของศาลรัฐธรรมนูญ และหากเดินตามแนวทางนี้ และประชามติผ่าน ก็สามารถตั้งส.ส.ร. ขึ้นมายกร่าง และหลังจากร่างเสร็จ ก็กลับไปทำประชามติอีกครั้ง หากถามว่าการใช่งบประมาณในครั้งนี้คุ้มหรือไม่ ตนเห็นว่าคุ้ม ถ้าจะแลกกับความเชื่อมั่นของนักลงทุน และชะลอความขัดแย้งของประเทศลงได้
3. กลุ่มส.ว.สรรหา ส่วนใหญ่ เห็นควรให้มีการแก้ไขเป็นรายมาตรา ซึ่งตรงตามคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ส่วนขั้นตอนจะเร็ว หรือช้า ก็ขึ้นอยู่กับว่าจะแก้ไขในมาตราไหนก่อน ซึ่งคิดว่าประเด็นที่จะมีผู้เสนอแก้เป็นลำดับแรก คือ มาตรา 68 เพื่อทำให้เกิดความชัดเจนว่า ควรเป็นองค์กรใด ที่มีหน้าที่วินิจฉัยตามมาตรานี้
**แนะทำประชามติ เลิกโหวตวาระ3
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ (คอ.นธ.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 ถึงเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยยืนยันว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน มีปัญหาเรื่องความชอบธรรม ขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน แม้จะมีการลงประชามติ แต่อยู่ในช่วงเวลาที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกในพื้นที่ 35 จังหวัด ซึ่งตัวรัฐธรรมนูญ ยังมีเนื้อหากำหนดให้ฝ่ายตุลาการ เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเมืองมากเกินไป ทำให้ระบบตรวจสอบถ่วงดุลของสภาเสียดุล เกิดความยุติธรรม 3 มาตรฐาน ทำให้เกิดความแตกแยก ขาดความสามัคคี ทั้งนี้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญจำเป็นต้องแก้ไขทั้งฉบับ ส่วนการแก้ไขรายมาตรา หรือรายประเด็นนั้น ตนเห็นว่า กระทำได้ยาก เพราะตัวรัฐธรรมนูญมีปัญหาทางโครงสร้าง
นายอุกฤษ ยังเห็นว่า การแก้ไขในช่วงนี้ ถือว่าเหมาะสมแล้ว เพราะกระทำโดยรัฐบาลที่มาจากประชาชน ส่วนการแก้ไขทั้งฉบับ ควรเริ่มจากการให้ประชาชนทำประชามติเสียก่อน หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจแก้ไขรายมาตราก็ได้ แต่ไม่สามารถคาดหมายได้ว่า จะแล้วเสร็จเมื่อใด
ทั้งนี้ การออกเสียงประชามติ ควรให้ได้มติจากเสียงข้างมากเกินกว่ากึ่งหนึ่งของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง หรือ 24 ล้านเสียง และจะต้องมีการรณรงค์ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อให้ประชาชนตระหนักถึงการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ส่วนการลงมติร่างแก้ไขรัฐธรมนูญ ในวาระ 3 นั้น รัฐสภาควรยุติ และปล่อยให้ร่างแก้ไขที่ค้างอยู่ตกไป เพื่อดำเนินการออกเสียงประชามติ โดยรัฐบาลควรนำรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2517 มาเป็นตัวเลือก หรือเป็นต้นแบบในการยกร่าง และการเสนอเข้าสู่กระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมตามมาตรา 291
ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้ประชาชนเห็นว่า รัฐธรรมนูญที่จะเกิดขึ้นในอนาคต จะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร นอกจากนี้การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ จะต้องมีการจัดวางโรงสร้าง หรือองค์กรผู้ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่
ส่วนประเด็นปัญหาองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญนั้น นายอุกฤษ เห็นว่า เมื่อมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว องค์กรอิสระยังคงมีความจำเป็นอยู่ แต่ต้องมีการปรับปรุงแก้ไขวิธีการสรรหา ทั้งนี้ การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ จะเป็นผลให้ มาตรา 309 ของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ถูกยกเลิกไป เพื่อให้เกิดบรรยากาศปรองดอง บ้านเมืองควรตรากฎหมายนิรโทษกรรมบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหาร และบรรดาผู้ถูกดำเนินคดีทางการเมือง ส่วนคดีความผิดทางอาญา หรือกฎหมายอื่น ให้ดำเนินการไปตามกระบวนการยุติธรรม