ASTVผู้จัดการรายวัน-“ค้อนปลอม” ลุยแก้รัฐธรรมนูญสั่ง 3 วิปหารือแก้รายมาตรา ปชป.ขวางเรียกถกสภาล้มคำตัดสินศาลรธน. พท. เสนอประชามติหลังแก้ “มาร์ค”ซัด“โภคิน” แก้ม. 309 หวังช่วย“ทักษิณ” ด้านพธม. ไล่ส่ง “แม้ว” ลี้ภัยไม่ต้องกลับ หลังอดีตนายกฯอ้างไปไหนก็ได้แต่เข้าไทยไม่ได้
วานนี้ (19 ก.ค.55) นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา มีวางแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องการให้มีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายประกอบด้วย 1.คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) 2.คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) และ 3.คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในหมวดไหนบ้าง ยกเว้นหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์ เพื่อร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดตามแนวคิดของแต่ละฝ่าย ซึ่งหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป 1 ส.ค.นี้ ทั้งนี้เพื่อยุติความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
**ทำประชามติหลังร่างรธน.เสร็จ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สำหรับคำวินิจฉัยที่จะออกมาอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ก.ค.นั้น พรรคเพื่อไทยจะนำไปหารือในการสัมมนาของพรรคระหว่างวันที่ 28-29 ก.ค ที่จ.ชลบุรีด้วย เพื่อจะได้กำหนดแนวทางว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร จากนั้นจึงจะนำแนวทางที่ได้ไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง ในงานเลี้ยงกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ไม่ควรทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ระบุให้มีการทำประชามติหลังจากที่ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อีกทั้งการทำประชามติหลังจากยกร่างเสร็จนั้นจะช่วยให้ประชาชนเห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่กับรัฐธรรมนูญปี 50 ได้อย่างชัดเจนด้วย หากไปทำประชามติก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าเนื้อหาที่แก้ไขใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็จะเป็นการสิ้นเปลือง
**จุรินทร์ ขวางเรียกถกสภาล้มคำตัดสิน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว ว่า ไม่เห็นด้วยกับการกดดันให้มี การเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้ลง มติว่ารัฐสภาต้องฟังคำวินิจฉัยศ าลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเท่ากับ 1.เอารัฐสภาเป็นเครื่องมือลบล้างคำวินิจฉัยศาล ซึ่งยังไงก็ลบล้างไม่ได้เพราะคำ วินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร และ 2. เท่ากับเปิดทางให้เสียงข้างมากลากเอาสถาบันนิติบัญญัติไปขัดแย้งกับสถาบันตุลาการ ทางออกที่ดีที่สุดคือรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารต้องเป็นตัวอย่างใน การเคารพกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาล
ส่วนกรณีความคิดให้ประธานรัฐสภา เชิญวิป 3 ฝ่ายไปหารือว่าควรแก้รัฐธรรมนูญมาตราใด ด้วยวิธีใดนั้นตนเห็นว่า 1.ไม่ใช่ภารกิจของฝ่ายค้านเนื่องจากยังไม่ ได้มีความคิดในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญในขณะนี้ การแก้รัฐธรรมนูญเป็นความปรารถนาของรัฐบาล หากจะเชิญจึงควรเป็นการเชิญหารือ กันเองเฉพาะในหมู่ผู้มีความประสงค์จะแก้รัฐธรรมนูญด้วยกันเท่านั้น 2.เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลไม่ควรเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไปเพราะจะทำให้ประเทศจมปลักอยู่กับความขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุด
**ซัด“โภคิน” แก้ม.309 เพื่อ “ทักษิณ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ระบุว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ว่าเป็นการยืนยันในสิ่งที่ตนและหลายฝ่ายพูดมาโดยตลอดว่า ที่พายามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็เพื่อเป้าหมายคือการมีผลต่อคดีพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เท่ากับเป็นการยอมรับสารภาพว่านี่คือเป้าหมายที่แท้จริง ฉะนั้นก็ช่วยกันต้องติดตามดูต่อไป ว่าประเด็นที่จะแก้ไขเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนจริง ทางรัฐบาลก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามีประเด็นอะไรบ้าง แม้ที่ผ่านมาพรรคไม่เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขมาตรา 309 หากมีเป้าหมายคือเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณได้หลุดจากคดีต่างๆ แต่ถ้าเป็นการแก้ไขในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆเราก็ยินดีร่วมพิจารณา
ส่วนที่นายอุกฤษ มงคลนาวิน เสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 17 เป็นต้นแบบ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เวลานี้ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่สมบูรณ์ ส่วนรัฐธรรมนูญปี 17 ในช่วงสมัยนั้นถือว่าก้าวหน้ามาก เพราะก่อนหน้านั้นเราไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แต่เมื่อมีการใช้ไปก็เริ่มมองเห็นว่าควรจะมีการคานอำนาจการใช้อำนาจของนักการเมือง จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักการสำคัๆ เช่น เพิ่มสิทธิเสรีภาพ การตรวจสอบถ่วงดุล และรัฐธรรมนูญปี 50 ก็สืบทอดแนวคิดนี้มา“หากจะมีการย้อนกลับไปใช้แนวทางรัฐธรรมนูญปี 17 ก็เท่ากับปฏิเสธหลักการ การตรวจสอบ ถ่วงดุล ซึ่งหมายถึงองค์กรอิสระต่างๆ ก็จะไม่มีเลย ศาลจะไม่มีอำนาจหน้าที่มาตรวจสอบกรณีนักการเมืองใช้อำนาจในทางที่ผิด รวมถึงสิทธิชุมชนต่างๆ และไม่ควรมานั่งถกเถียงว่าควรเอารัฐธรรมนูญฉบับไหน แต่ควรจะดูว่าระบบที่เราต้องการอยากจะปรับปรุงอยู่ตรงไหน แล้วมาเสนอประเด็นให้สังคมช่วยพิจารณามากกว่า” นายอภิสิทธิ์กล่าว
**อุกฤษชี้ปล่อยวาระ 3ตกไม่กระทบรบ.
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หากปล่อยให้วาระสามตกไปจะไม่มีผลกระทบต่อสถานะรัฐบาล ส่วนการทำประชามตินั้นรัฐบาลต้องดำเนินการ ซึ่งครม.สามารถนำเสนอประธานรัฐสภา ซึ่งทำได้ตามกม.ลงประชามติ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยึดเอาปี 2517 มาเป็นหลักและในปี 2517 ก็ยึดปี 2492 มาเป็นหลักคือการยึดโยงประชาชนดีกว่าจะมีสสร. ซึ่งในขณะนั้นเรียกกันว่าสภาสนามม้าเนื่องจากจำนวนสมาชิกที่จะเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าพันคนทำให้สถานที่ไม่เพียงพอจึงใช้สนามม้า ซึ่งเลือกประชาชนมาทุกอาชีพซึ่งต่างจากการมีสสร.
** “สดศรี” ชี้แก้ม309 ควรทำประชามติก่อน
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีนายโภคิน เสนอแก้ไข มาตรา 309 ว่า ถ้าหากจะมีการแก้มาตรา 309 ควรจะมีการทำประชามติ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน จากประชาชนที่สนับสนุนว่าเห็นด้วย เพราะการแก้มาตรา 309 จะไปกระทบทางการเมืองหลายส่วน แต่หนทางในการแก้ไขจะเป็นทางสะดวกหรือไม่ เป็นเรื่องทางการเมืองไม่เกี่ยวกับกกต. เพราะถ้ามีการแก้ไขมาตรา 309 ก็จะไปกระทบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และอาจจะมีคนไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีก เรื่องก็จะยาว ดังนั้นต้องดูว่าการแก้ไขจะไปกระทบกับกลุ่มก้อนทางการเมืองใดหรือไม่
**แม้วโวตอนนี้ไปได้ทั่วโลก
อีกด้านเว็บไซต์ แชนแนล นิวเอเชีย สื่อชื่อดังของสิงคโปร์ รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่ออินโดนีเซีย ว่า ตอนนี้สามารถเดินทางไปในทุกที่บนโลกใบนี้ ยกเว้นที่บ้านของตัวเอง ทุกประเทศพร้อมให้การต้อนรับ แต่ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เพราะอะไรถึงกลับบ้านตัวเองไม่ได้ และรู้สึกไม่ดีเอาเสียเลย เพราะมีบ้างอย่างผิดปกติที่บ้าน อาจเป็นเพราะการเมืองไทย โดยแบ่งเป็น2ฝ่าย ทำให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง มันถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องหันหน้าพูดคุยกันไม่ว่า จะสีแดง หรือว่า สีเหลือง ก็ตาม และย้ำว่า ความเป็นไปได้ในการกลับบ้านเกิดของตนเอง คือต้องรอให้การปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นมาก่อน
"ผมหวังว่า ต้องให้มีการสมานฉันท์เกิดขึ้นให้ได้เพื่อทวงคืนความสามัคคีกลับมา ผมให้อภัยทุกคนนะ ที่เคยว่าร้ายผม ด้วยวาจา หรืออะไร ต่างๆ นาๆ ผมไม่ได้โกรธเคืองอะไรหรอก เพราะผมเพียงต้องการกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และอยากจะได้ ชีวิตปกติสุขคืนมาแค่นั้น" พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าว
**พธม. ไล่ส่ง “แม้ว” ลี้ภัยไม่ต้องกลับ
นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในความเป็นจริง พ.ต.ท.ทักษิณสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทุกเวลา แต่ พ.ต.ท.ทักษิณมีความหวังในเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรองดอง เพื่อให้ตัวเองเดินทางกลับประเทศโดยไม่ต้องรับผิด
“แค่คุณทักษิณกลับมาแล้วยอมรับความผิดที่ตัวเองได้กระทำ ทุกอย่างก็จบ ปัญหาความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้นในประเทศ ขอแค่คุณทักษิณมาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ผมมั่นใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นอยู่จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่หากคุณทักษิณไม่ต้องการรับผิด ก็ควรจะลี้ภัยไปในประเทศที่เปิดรับนักโทษคดีอาญาแผ่นดิน และไม่ต้องกลับประเทศไทยอีก” นายปานเทพ ระบุ
สำหรับการเปิดการประชุมรัฐสภา สมัยทั่วไป ในวันที่ 1 ส.ค.นี้นั้น นายปานเทพ เปิดเผยว่า กลุ่มพันธมิตรฯยืนยันว่าจะไม่มีการชุมนุมขัดขวางการประชุมอย่างแน่นอน หากไม่มีการกระทำที่เข้า 2 เงื่อนไข คือ 1.เดินหน้าผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ 2.การแก้ไขกฎหมายหรือยุ่งเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยืนยันว่าหากไม่เข้าทั้ง 2 เงื่อนไข กลุ่มพันธมิตรฯก็จะไม่ออกมาเคลื่อนไหว และจะสู้ตามกระบวนการที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย
“ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการตรา พ.ร.บ.ปรองดอง แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวนักการเมืองว่ายอมรับกติกาที่มีอยู่หรือไม่ รวมไปถึงยอมเสียสละผลประโยชน์ของตัวเองแล้วมาทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนได้หรือไม่ หากทำได้รัฐบาลก็อยู่ได้ ดังนั้นควรเอาเวลาที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนน่าจะดีกว่าเร่งดำเนินการในเรื่องอื่น” นายปานเทพ กล่าว
**สามารถ หนุนเดินหน้าร่างฯ ปรองดอง
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอร่างปรองดอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการเรื่องการถอดถอนพระราชบัญญัติปรองดอง ออกจากการประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ โดยตนได้เสนอทางออกไว้ 3 ทาง คือ ให้ฝ่ายค้านเสนอร่างปรองดองเข้ามาอีก 1 ฉบับ เพื่อร่วมหารือกัน รวมถึงถ่วงร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และถอนร่างดังกล่าวออกไป ทั้งนี้หากถอนร่างดังกล่าวออก ตนเชื่อว่าบ้านเมืองจะยังวุ่นวาย และประเทศไทยอาจพัฒนาด้านต่างๆ ล่าช้า จึงต้องรีบดำเนินการเพื่อให้ปัญหาบ้านเมืองยุติ
**ปูโว มุ่งมั่นสร้างความปรองดอง
ที่เยอรมนี กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี ได้เข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดย ได้กล่าวยินดี ว่า รัฐบาล มุ่งมั่นจะสร้างความปรองดองและเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และยืนยันว่า ประเทศไทย มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในอาเซียน พร้อมทั้งจะเร่งรัดความตกลงการค้าเสรีไทย-อียู ให้เป็นรูปธรรม
**1ปีรบ.ปูคนกรุงเสี่ยงการเมือง
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์” พบว่าคะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวมอยู่ที่ 5.89 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนซึ่งเป็นระดับความเสี่ยงสูงสุด) โดยคนกรุงเทพฯ รู้สึกเสี่ยงในด้านการเมืองมากที่สุด (6.83 คะแนน) รองลงมาคือ รู้สึกเสี่ยงด้านค่าครองชีพ (6.63 คะแนน) และ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน (6.32 คะแนน) ทั้งนี้ยังมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองเพิ่มเติมว่าหากรัฐบาลมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือ พรบ. ปรองดอง ร้อยละ 51.0 เชื่อว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและนำไปสู่การชุมนุมทางการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 16.6 ไม่เชื่อว่าจะเกิดความไม่สงบดังกล่าว.
วานนี้ (19 ก.ค.55) นายวัฒนา เซ่งไพเราะ โฆษกประธานสภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานรัฐสภา มีวางแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญว่าต้องการให้มีการประชุมร่วมกัน 3 ฝ่ายประกอบด้วย 1.คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) 2.คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมฝ่ายค้าน (วิปฝ่ายค้าน) และ 3.คณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิสภา) เพื่อให้ได้ข้อสรุปร่วมกันว่าอยากแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตราในหมวดไหนบ้าง ยกเว้นหมวดว่าด้วยพระมหากษัตริย์ เพื่อร่วมกันร่างรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดตามแนวคิดของแต่ละฝ่าย ซึ่งหวังว่าจะสามารถดำเนินการได้ก่อนเปิดสมัยประชุมสามัญทั่วไป 1 ส.ค.นี้ ทั้งนี้เพื่อยุติความขัดแย้งที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต
**ทำประชามติหลังร่างรธน.เสร็จ
นายภูมิธรรม เวชยชัย รักษาการผู้อำนวยการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า สำหรับคำวินิจฉัยที่จะออกมาอย่างเป็นทางการในวันที่ 26 ก.ค.นั้น พรรคเพื่อไทยจะนำไปหารือในการสัมมนาของพรรคระหว่างวันที่ 28-29 ก.ค ที่จ.ชลบุรีด้วย เพื่อจะได้กำหนดแนวทางว่าจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญอย่างไร จากนั้นจึงจะนำแนวทางที่ได้ไปหารือกับพรรคร่วมรัฐบาลอีกครั้ง ในงานเลี้ยงกับพรรคร่วมรัฐบาลในวันที่ 31 ก.ค. ที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์
ส่วนตัวแล้วเห็นว่า ไม่ควรทำประชามติก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ก็ระบุให้มีการทำประชามติหลังจากที่ส.ส.ร.ยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จแล้ว อีกทั้งการทำประชามติหลังจากยกร่างเสร็จนั้นจะช่วยให้ประชาชนเห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างรัฐธรรมนูญที่แก้ไขใหม่กับรัฐธรรมนูญปี 50 ได้อย่างชัดเจนด้วย หากไปทำประชามติก่อนทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าเนื้อหาที่แก้ไขใหม่จะเป็นอย่างไรนั้น ก็จะเป็นการสิ้นเปลือง
**จุรินทร์ ขวางเรียกถกสภาล้มคำตัดสิน
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ประธานวิปฝ่ายค้าน โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊คส่วนตัว ว่า ไม่เห็นด้วยกับการกดดันให้มี การเรียกประชุมรัฐสภาเพื่อให้ลง มติว่ารัฐสภาต้องฟังคำวินิจฉัยศ าลรัฐธรรมนูญหรือไม่ เพราะเท่ากับ 1.เอารัฐสภาเป็นเครื่องมือลบล้างคำวินิจฉัยศาล ซึ่งยังไงก็ลบล้างไม่ได้เพราะคำ วินิจฉัยมีผลผูกพันทุกองค์กร และ 2. เท่ากับเปิดทางให้เสียงข้างมากลากเอาสถาบันนิติบัญญัติไปขัดแย้งกับสถาบันตุลาการ ทางออกที่ดีที่สุดคือรัฐบาลในฐานะฝ่ายบริหารต้องเป็นตัวอย่างใน การเคารพกฎหมายและคำวินิจฉัยของศาล
ส่วนกรณีความคิดให้ประธานรัฐสภา เชิญวิป 3 ฝ่ายไปหารือว่าควรแก้รัฐธรรมนูญมาตราใด ด้วยวิธีใดนั้นตนเห็นว่า 1.ไม่ใช่ภารกิจของฝ่ายค้านเนื่องจากยังไม่ ได้มีความคิดในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญในขณะนี้ การแก้รัฐธรรมนูญเป็นความปรารถนาของรัฐบาล หากจะเชิญจึงควรเป็นการเชิญหารือ กันเองเฉพาะในหมู่ผู้มีความประสงค์จะแก้รัฐธรรมนูญด้วยกันเท่านั้น 2.เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันรัฐบาลไม่ควรเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญต่อไปเพราะจะทำให้ประเทศจมปลักอยู่กับความขัดแย้งไม่มีที่สิ้นสุด
**ซัด“โภคิน” แก้ม.309 เพื่อ “ทักษิณ”
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีที่นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา ระบุว่าจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 309 ว่าเป็นการยืนยันในสิ่งที่ตนและหลายฝ่ายพูดมาโดยตลอดว่า ที่พายามแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับก็เพื่อเป้าหมายคือการมีผลต่อคดีพ.ต.ท.ทักษิณ อดีตนายกรัฐมนตรี ก็เท่ากับเป็นการยอมรับสารภาพว่านี่คือเป้าหมายที่แท้จริง ฉะนั้นก็ช่วยกันต้องติดตามดูต่อไป ว่าประเด็นที่จะแก้ไขเพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนจริง ทางรัฐบาลก็ต้องตอบคำถามให้ได้ว่ามีประเด็นอะไรบ้าง แม้ที่ผ่านมาพรรคไม่เห็นด้วยหากจะมีการแก้ไขมาตรา 309 หากมีเป้าหมายคือเพื่อให้พ.ต.ท.ทักษิณได้หลุดจากคดีต่างๆ แต่ถ้าเป็นการแก้ไขในสิ่งที่เป็นประโยชน์กับประชาชนจริงๆเราก็ยินดีร่วมพิจารณา
ส่วนที่นายอุกฤษ มงคลนาวิน เสนอให้ใช้รัฐธรรมนูญปี 17 เป็นต้นแบบ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เวลานี้ไม่มีรัฐธรรมนูญฉบับไหนที่สมบูรณ์ ส่วนรัฐธรรมนูญปี 17 ในช่วงสมัยนั้นถือว่าก้าวหน้ามาก เพราะก่อนหน้านั้นเราไม่ได้เป็นประชาธิปไตยเต็มใบ แต่เมื่อมีการใช้ไปก็เริ่มมองเห็นว่าควรจะมีการคานอำนาจการใช้อำนาจของนักการเมือง จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญปี 40 โดยมีการเปลี่ยนแปลงหลักการสำคัๆ เช่น เพิ่มสิทธิเสรีภาพ การตรวจสอบถ่วงดุล และรัฐธรรมนูญปี 50 ก็สืบทอดแนวคิดนี้มา“หากจะมีการย้อนกลับไปใช้แนวทางรัฐธรรมนูญปี 17 ก็เท่ากับปฏิเสธหลักการ การตรวจสอบ ถ่วงดุล ซึ่งหมายถึงองค์กรอิสระต่างๆ ก็จะไม่มีเลย ศาลจะไม่มีอำนาจหน้าที่มาตรวจสอบกรณีนักการเมืองใช้อำนาจในทางที่ผิด รวมถึงสิทธิชุมชนต่างๆ และไม่ควรมานั่งถกเถียงว่าควรเอารัฐธรรมนูญฉบับไหน แต่ควรจะดูว่าระบบที่เราต้องการอยากจะปรับปรุงอยู่ตรงไหน แล้วมาเสนอประเด็นให้สังคมช่วยพิจารณามากกว่า” นายอภิสิทธิ์กล่าว
**อุกฤษชี้ปล่อยวาระ 3ตกไม่กระทบรบ.
นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานคณะกรรมการอิสระว่าด้วยการส่งเสริมหลักนิติธรรมแห่งชาติ กล่าวว่า หากปล่อยให้วาระสามตกไปจะไม่มีผลกระทบต่อสถานะรัฐบาล ส่วนการทำประชามตินั้นรัฐบาลต้องดำเนินการ ซึ่งครม.สามารถนำเสนอประธานรัฐสภา ซึ่งทำได้ตามกม.ลงประชามติ ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2550 ก็ยึดเอาปี 2517 มาเป็นหลักและในปี 2517 ก็ยึดปี 2492 มาเป็นหลักคือการยึดโยงประชาชนดีกว่าจะมีสสร. ซึ่งในขณะนั้นเรียกกันว่าสภาสนามม้าเนื่องจากจำนวนสมาชิกที่จะเข้ามาแก้ไขรัฐธรรมนูญมากกว่าพันคนทำให้สถานที่ไม่เพียงพอจึงใช้สนามม้า ซึ่งเลือกประชาชนมาทุกอาชีพซึ่งต่างจากการมีสสร.
** “สดศรี” ชี้แก้ม309 ควรทำประชามติก่อน
นางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมืองและการออกเสียงประชามติ กล่าวถึงกรณีนายโภคิน เสนอแก้ไข มาตรา 309 ว่า ถ้าหากจะมีการแก้มาตรา 309 ควรจะมีการทำประชามติ เพื่อเป็นภูมิคุ้มกัน จากประชาชนที่สนับสนุนว่าเห็นด้วย เพราะการแก้มาตรา 309 จะไปกระทบทางการเมืองหลายส่วน แต่หนทางในการแก้ไขจะเป็นทางสะดวกหรือไม่ เป็นเรื่องทางการเมืองไม่เกี่ยวกับกกต. เพราะถ้ามีการแก้ไขมาตรา 309 ก็จะไปกระทบกับรัฐธรรมนูญมาตรา 68 และอาจจะมีคนไปยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้อีก เรื่องก็จะยาว ดังนั้นต้องดูว่าการแก้ไขจะไปกระทบกับกลุ่มก้อนทางการเมืองใดหรือไม่
**แม้วโวตอนนี้ไปได้ทั่วโลก
อีกด้านเว็บไซต์ แชนแนล นิวเอเชีย สื่อชื่อดังของสิงคโปร์ รายงานว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์กับสื่ออินโดนีเซีย ว่า ตอนนี้สามารถเดินทางไปในทุกที่บนโลกใบนี้ ยกเว้นที่บ้านของตัวเอง ทุกประเทศพร้อมให้การต้อนรับ แต่ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า เพราะอะไรถึงกลับบ้านตัวเองไม่ได้ และรู้สึกไม่ดีเอาเสียเลย เพราะมีบ้างอย่างผิดปกติที่บ้าน อาจเป็นเพราะการเมืองไทย โดยแบ่งเป็น2ฝ่าย ทำให้ทุกอย่างดูเลวร้ายลง มันถึงเวลาแล้ว ที่จะต้องหันหน้าพูดคุยกันไม่ว่า จะสีแดง หรือว่า สีเหลือง ก็ตาม และย้ำว่า ความเป็นไปได้ในการกลับบ้านเกิดของตนเอง คือต้องรอให้การปรองดองแห่งชาติเกิดขึ้นมาก่อน
"ผมหวังว่า ต้องให้มีการสมานฉันท์เกิดขึ้นให้ได้เพื่อทวงคืนความสามัคคีกลับมา ผมให้อภัยทุกคนนะ ที่เคยว่าร้ายผม ด้วยวาจา หรืออะไร ต่างๆ นาๆ ผมไม่ได้โกรธเคืองอะไรหรอก เพราะผมเพียงต้องการกลับมาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย และอยากจะได้ ชีวิตปกติสุขคืนมาแค่นั้น" พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าว
**พธม. ไล่ส่ง “แม้ว” ลี้ภัยไม่ต้องกลับ
นายปานเทพ พัวพงศ์พันธุ์ โฆษกกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย (พธม.) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ในความเป็นจริง พ.ต.ท.ทักษิณสามารถเดินทางกลับประเทศได้ทุกเวลา แต่ พ.ต.ท.ทักษิณมีความหวังในเรื่องพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ปรองดอง เพื่อให้ตัวเองเดินทางกลับประเทศโดยไม่ต้องรับผิด
“แค่คุณทักษิณกลับมาแล้วยอมรับความผิดที่ตัวเองได้กระทำ ทุกอย่างก็จบ ปัญหาความขัดแย้งก็จะไม่เกิดขึ้นในประเทศ ขอแค่คุณทักษิณมาต่อสู้ในกระบวนการยุติธรรม ผมมั่นใจว่าปัญหาที่เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นอยู่จะคลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น แต่หากคุณทักษิณไม่ต้องการรับผิด ก็ควรจะลี้ภัยไปในประเทศที่เปิดรับนักโทษคดีอาญาแผ่นดิน และไม่ต้องกลับประเทศไทยอีก” นายปานเทพ ระบุ
สำหรับการเปิดการประชุมรัฐสภา สมัยทั่วไป ในวันที่ 1 ส.ค.นี้นั้น นายปานเทพ เปิดเผยว่า กลุ่มพันธมิตรฯยืนยันว่าจะไม่มีการชุมนุมขัดขวางการประชุมอย่างแน่นอน หากไม่มีการกระทำที่เข้า 2 เงื่อนไข คือ 1.เดินหน้าผลักดันร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และ 2.การแก้ไขกฎหมายหรือยุ่งเกี่ยวกับพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ ยืนยันว่าหากไม่เข้าทั้ง 2 เงื่อนไข กลุ่มพันธมิตรฯก็จะไม่ออกมาเคลื่อนไหว และจะสู้ตามกระบวนการที่มีอยู่ในระบอบประชาธิปไตย
“ปัญหาไม่ใช่อยู่ที่การแก้ไขรัฐธรรมนูญหรือการตรา พ.ร.บ.ปรองดอง แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวนักการเมืองว่ายอมรับกติกาที่มีอยู่หรือไม่ รวมไปถึงยอมเสียสละผลประโยชน์ของตัวเองแล้วมาทำเพื่อประเทศชาติและประชาชนได้หรือไม่ หากทำได้รัฐบาลก็อยู่ได้ ดังนั้นควรเอาเวลาที่มีอยู่มาแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนน่าจะดีกว่าเร่งดำเนินการในเรื่องอื่น” นายปานเทพ กล่าว
**สามารถ หนุนเดินหน้าร่างฯ ปรองดอง
นายสามารถ แก้วมีชัย ส.ส.เชียงราย พรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้เสนอร่างปรองดอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังไม่มีการหารืออย่างเป็นทางการเรื่องการถอดถอนพระราชบัญญัติปรองดอง ออกจากการประชุมรัฐสภาในวันที่ 1 สิงหาคมนี้ โดยตนได้เสนอทางออกไว้ 3 ทาง คือ ให้ฝ่ายค้านเสนอร่างปรองดองเข้ามาอีก 1 ฉบับ เพื่อร่วมหารือกัน รวมถึงถ่วงร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และถอนร่างดังกล่าวออกไป ทั้งนี้หากถอนร่างดังกล่าวออก ตนเชื่อว่าบ้านเมืองจะยังวุ่นวาย และประเทศไทยอาจพัฒนาด้านต่างๆ ล่าช้า จึงต้องรีบดำเนินการเพื่อให้ปัญหาบ้านเมืองยุติ
**ปูโว มุ่งมั่นสร้างความปรองดอง
ที่เยอรมนี กลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเยอรมนี ได้เข้าเยี่ยมคารวะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี โดย ได้กล่าวยินดี ว่า รัฐบาล มุ่งมั่นจะสร้างความปรองดองและเสถียรภาพให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และยืนยันว่า ประเทศไทย มีศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางการค้าและการลงทุนในอาเซียน พร้อมทั้งจะเร่งรัดความตกลงการค้าเสรีไทย-อียู ให้เป็นรูปธรรม
**1ปีรบ.ปูคนกรุงเสี่ยงการเมือง
ศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ (กรุงเทพโพลล์) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “ดัชนีความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในรอบ 1 ปีรัฐบาลยิ่งลักษณ์” พบว่าคะแนนความเสี่ยงของคนกรุงเทพฯ ในภาพรวมอยู่ที่ 5.89 คะแนน (จากคะแนนเต็ม 10 คะแนนซึ่งเป็นระดับความเสี่ยงสูงสุด) โดยคนกรุงเทพฯ รู้สึกเสี่ยงในด้านการเมืองมากที่สุด (6.83 คะแนน) รองลงมาคือ รู้สึกเสี่ยงด้านค่าครองชีพ (6.63 คะแนน) และ ด้านชีวิตและทรัพย์สิน (6.32 คะแนน) ทั้งนี้ยังมีความเห็นเกี่ยวกับประเด็นการเมืองเพิ่มเติมว่าหากรัฐบาลมีการเดินหน้าแก้รัฐธรรมนูญหรือ พรบ. ปรองดอง ร้อยละ 51.0 เชื่อว่าจะทำให้เกิดความไม่สงบทางการเมืองและนำไปสู่การชุมนุมทางการเมือง ขณะที่ ร้อยละ 16.6 ไม่เชื่อว่าจะเกิดความไม่สงบดังกล่าว.