ASTVผู้จัดการรายวัน - เอกชนท่องเที่ยว ชี้ไทยหมดหวังฮับท่องเที่ยวอาเซียน เจอศึก 4 ประเทศ CLMV รวมตัว ตัดหน้าเปิดซิงเกิลวีซ่า ส่วนในประเทศเจอ 3 ปัญหารุมเร้า
วานนี้(19 ก.ค.55) การสัมมนาเรื่อง “การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” จัดโดย 3 สมาคมด้านการท่องเที่ยว คือ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) สมาคมไทย บริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) โดยมีจุดประสงค์ เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเตรียมพร้อมรับมือกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558
นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) และนายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช นายก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) เปิดเผยว่า ปัญหาสำคัญของประเทศไทย คือ วิธีการทำงาน ของรัฐไม่ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน และยังคิดว่าไทยเป็นผู้นำในอาเซียนเหนือประเทศอื่นทั้งที่ความสามารรถด้านภาษาอังกฤษ เราตกไปอยู่ อันดับที่ 7 นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการเมือง และอื่นๆ อีกมากมาย
*** 4 ประเทศรวมหัวเปิดซิงเกิลวีซ่า
ล่าสุด 4 ประเทศ กลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ได้จับมือลงบันทึกข้อตกลงร่วม กัน(MOU) เมื่อปี 2554 ในเรื่องการทำ ซิงเกิ้ลวีซ่า และ ทัวริสซึ่ม อไลน์ แอนซ์ และเตรียมที่จะประกาศ ตัวอย่างเป็นทางการ ในงาน ITE หรือ อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวริสซึ่ม เอ็กซิบิชั่น ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโฮจิมิ นทร์ ประเทศเวียดนาม ในเดือนสิงคมคมศกนี้ สะท้อนชัดว่าไทยจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางอาเซียน เพราะเขาสามารถ พัฒนาสนามบิน และเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศ ไทย และเมื่อ 4 ประเทศรวมตัวกัน จะทำให้มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว
***3 ปัญหาใหญ่ฉุดไทยเสียแชมป์*
ปัญหาที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไข มี 3 ประการคือ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาคอรัปชั่น และ ปัญหาความแออัด ของสนามบิน โดยปัญหาบุคคลากร พรรคการเมืองที่ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยว เลือกที่จะนำคนใกล้ตัวเข้ามาเป็นผู้บริหาร ไม่ได้เลือกคนที่รู้เรื่องท่องเที่ยวมาทำงาน ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รองปลัด และ ส่วนภาคเอกชน คือ ปัญหาบุคลากรขาดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษทั้งที่เป็นภาษากลางที่จะใช้สื่อสารในอาเซียน ปัญหาคอร์รัปชั่น เห็นได้จากการคิดโครงการเมกกะโปรเจก จะตัดสินใจโดยรัฐ และแจ้งเอกชนเพื่อทราบเท่านั้น ไม่เปิดเข้าไปตรวจสอบ แต่พอทำเสร็จก็อย่างที่เห็นกันอยู่แถมมีปัญหาตามมาอีกมากมาย
“ทางที่ดี ควรเปลี่ยนผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี และระดับผู้บริหาร ใช้คนที่ทำงานเป็นและมีความรู้เรื่อง ท่องเที่ยว แยกกระทรวงท่องเที่ยวออกจากกีฬา เพราะขณะนี้ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอยู่ได้เพราะความแข็งแกร่งของภาคเอกชน ไม่ใช่ความสามารถของรัฐ” ปัญหาสุดท้าย คือเรื่องความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ควรให้สนามบินดอนเมือง เป็นสนามบินนานาชาติเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แค่เป็นสนามบินเพื่อสายการบินโลว์คอสต์
***ไทยหมดหวังเป็นฮับอาเซียน
ไม่สามารถเป็นศูนย์กลางอาเซียนได้เลย เพราะเมื่อเปิด เออีซี เชื่อว่าศูนย์กลางอาเซียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นดิน คือ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จะมีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง เพราะมีการเตรียมพร้อมด้านการบิน ส่วนพื้นที่เกาะ คือ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จะมีอินโดฯเป็นศูนย์กลาง เพราะจากจำนวนประชากรกว่า 245 ล้านคน มีการเติบโตของGDP สูงจากการบริโภคภายในประเทศ
***เร่งเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง
ดร.สุรินทร์ พิตสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วิทยากร บรรยายพิเศษในงานสัมมนาฯครั้งนี้ กล่าวว่า ปัญหาของประเทศไทย คือ ความแออัดและการบริหารจัดการ สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงการขาดความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพราะ กว่า 50% เป็น นักท่องเที่ยวมาซ้ำ ไทย จะต้องเร่งทำการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระดับอนุภูมิภาค ดึงนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยก่อนที่จะต่อไปเดสติเน ชั่นอื่นๆ
ส่วนปัญหา การทำซิงเกิล วีซ่า ของ 4 ประเทศ CLMV หากไทย ต้องการเข้าไปร่วมเป็นประเทศที่ 5 ควรเริ่มจากการเจรจาแบบทวิภาคีซึ่งอาจจะมีโอกาสเข้าไปได้มากกว่าที่จะเจรจาพร้อมกันใน 4 ประเทศ อย่างไร ก็ตาม จากสถิติ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางในอาเซียนเมื่อปี 2553 จำนวน 82 ล้านคน โดย 45% เป็น การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันในกลุ่มอาเซียน และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น กว่า 50% ได้ เพราะจากวิกฤติในยุโรป ทำให้ตลาด อียูและอเมริกาไม่เติบโต ญี่ปุ่นก็คงไม่ก้าวกระโดด ซึ่งไทยน่าจะมีส่วนแบ่ง 50% หากปรับตัวได้ดี
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะ วิทยากรบรรยายพิเศษ ในงานสัมมนาฯ กล่าวว่า ไทยควรเร่งพัฒนาระบบการเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องของสนามบิน ที่ควรให้มีถึง 3 สนามบิน ในกรุงเทพฯและใกล้เคียง คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา ให้รองรับนักท่องเที่ยวจากสายการบินต่างประเทศได้ทุกสนามบิน ซึ่งจะทำให้ ความ หวัง ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาค และการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวสู่ 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 เป็นจริงได้
วานนี้(19 ก.ค.55) การสัมมนาเรื่อง “การเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว” จัดโดย 3 สมาคมด้านการท่องเที่ยว คือ สมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว(แอตต้า) สมาคมไทย บริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) โดยมีจุดประสงค์ เพื่อต้องการให้ผู้ประกอบการในธุรกิจท่องเที่ยวเตรียมพร้อมรับมือกับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(เออีซี) ในปี 2558
นายสุทธิพงศ์ เผื่อนพิภพ นายกสมาคมไทยบริการท่องเที่ยว (ทีทีเอเอ) และนายยุทธชัย สุนทรรัตนเวช นายก สมาคมธุรกิจท่องเที่ยวภายในประเทศ(สทน.) เปิดเผยว่า ปัญหาสำคัญของประเทศไทย คือ วิธีการทำงาน ของรัฐไม่ประสานความร่วมมือกับภาคเอกชน และยังคิดว่าไทยเป็นผู้นำในอาเซียนเหนือประเทศอื่นทั้งที่ความสามารรถด้านภาษาอังกฤษ เราตกไปอยู่ อันดับที่ 7 นอกจากนั้นยังมีปัญหาเรื่องการเมือง และอื่นๆ อีกมากมาย
*** 4 ประเทศรวมหัวเปิดซิงเกิลวีซ่า
ล่าสุด 4 ประเทศ กลุ่ม CLMV คือ กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ได้จับมือลงบันทึกข้อตกลงร่วม กัน(MOU) เมื่อปี 2554 ในเรื่องการทำ ซิงเกิ้ลวีซ่า และ ทัวริสซึ่ม อไลน์ แอนซ์ และเตรียมที่จะประกาศ ตัวอย่างเป็นทางการ ในงาน ITE หรือ อินเตอร์เนชั่นแนล ทัวริสซึ่ม เอ็กซิบิชั่น ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงโฮจิมิ นทร์ ประเทศเวียดนาม ในเดือนสิงคมคมศกนี้ สะท้อนชัดว่าไทยจะสูญเสียความเป็นศูนย์กลางอาเซียน เพราะเขาสามารถ พัฒนาสนามบิน และเส้นทางคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างกัน โดยไม่จำเป็นต้องผ่านประเทศ ไทย และเมื่อ 4 ประเทศรวมตัวกัน จะทำให้มีความหลากหลายของแหล่งท่องเที่ยว
***3 ปัญหาใหญ่ฉุดไทยเสียแชมป์*
ปัญหาที่รัฐบาลควรเร่งแก้ไข มี 3 ประการคือ ปัญหาด้านบุคลากร ปัญหาคอรัปชั่น และ ปัญหาความแออัด ของสนามบิน โดยปัญหาบุคคลากร พรรคการเมืองที่ดูแลกระทรวงการท่องเที่ยว เลือกที่จะนำคนใกล้ตัวเข้ามาเป็นผู้บริหาร ไม่ได้เลือกคนที่รู้เรื่องท่องเที่ยวมาทำงาน ตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง รองปลัด และ ส่วนภาคเอกชน คือ ปัญหาบุคลากรขาดความรู้ความสามารถด้านภาษาอังกฤษทั้งที่เป็นภาษากลางที่จะใช้สื่อสารในอาเซียน ปัญหาคอร์รัปชั่น เห็นได้จากการคิดโครงการเมกกะโปรเจก จะตัดสินใจโดยรัฐ และแจ้งเอกชนเพื่อทราบเท่านั้น ไม่เปิดเข้าไปตรวจสอบ แต่พอทำเสร็จก็อย่างที่เห็นกันอยู่แถมมีปัญหาตามมาอีกมากมาย
“ทางที่ดี ควรเปลี่ยนผู้บริหารตั้งแต่ระดับรัฐมนตรี และระดับผู้บริหาร ใช้คนที่ทำงานเป็นและมีความรู้เรื่อง ท่องเที่ยว แยกกระทรวงท่องเที่ยวออกจากกีฬา เพราะขณะนี้ความอยู่รอดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอยู่ได้เพราะความแข็งแกร่งของภาคเอกชน ไม่ใช่ความสามารถของรัฐ” ปัญหาสุดท้าย คือเรื่องความแออัดของสนามบินสุวรรณภูมิ ควรให้สนามบินดอนเมือง เป็นสนามบินนานาชาติเต็มรูปแบบ ไม่ใช่แค่เป็นสนามบินเพื่อสายการบินโลว์คอสต์
***ไทยหมดหวังเป็นฮับอาเซียน
ไม่สามารถเป็นศูนย์กลางอาเซียนได้เลย เพราะเมื่อเปิด เออีซี เชื่อว่าศูนย์กลางอาเซียนจะแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่เป็นพื้นดิน คือ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า จะมีสิงคโปร์เป็นศูนย์กลาง เพราะมีการเตรียมพร้อมด้านการบิน ส่วนพื้นที่เกาะ คือ บรูไน ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จะมีอินโดฯเป็นศูนย์กลาง เพราะจากจำนวนประชากรกว่า 245 ล้านคน มีการเติบโตของGDP สูงจากการบริโภคภายในประเทศ
***เร่งเปิดเส้นทางท่องเที่ยวเชื่อมโยง
ดร.สุรินทร์ พิตสุวรรณ เลขาธิการอาเซียน และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ วิทยากร บรรยายพิเศษในงานสัมมนาฯครั้งนี้ กล่าวว่า ปัญหาของประเทศไทย คือ ความแออัดและการบริหารจัดการ สนามบินสุวรรณภูมิ รวมถึงการขาดความคิดเชิงสร้างสรรค์ เพราะ กว่า 50% เป็น นักท่องเที่ยวมาซ้ำ ไทย จะต้องเร่งทำการท่องเที่ยวเชื่อมโยงระดับอนุภูมิภาค ดึงนักท่องเที่ยวมาประเทศไทยก่อนที่จะต่อไปเดสติเน ชั่นอื่นๆ
ส่วนปัญหา การทำซิงเกิล วีซ่า ของ 4 ประเทศ CLMV หากไทย ต้องการเข้าไปร่วมเป็นประเทศที่ 5 ควรเริ่มจากการเจรจาแบบทวิภาคีซึ่งอาจจะมีโอกาสเข้าไปได้มากกว่าที่จะเจรจาพร้อมกันใน 4 ประเทศ อย่างไร ก็ตาม จากสถิติ มีจำนวนนักท่องเที่ยวเดินทางในอาเซียนเมื่อปี 2553 จำนวน 82 ล้านคน โดย 45% เป็น การเดินทางท่องเที่ยวระหว่างกันในกลุ่มอาเซียน และมีแนวโน้มจะเพิ่มเป็น กว่า 50% ได้ เพราะจากวิกฤติในยุโรป ทำให้ตลาด อียูและอเมริกาไม่เติบโต ญี่ปุ่นก็คงไม่ก้าวกระโดด ซึ่งไทยน่าจะมีส่วนแบ่ง 50% หากปรับตัวได้ดี
นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะ วิทยากรบรรยายพิเศษ ในงานสัมมนาฯ กล่าวว่า ไทยควรเร่งพัฒนาระบบการเชื่อมโยงทางด้านคมนาคมขนส่งทั้งทางบก ทางอากาศ โดยเฉพาะเรื่องของสนามบิน ที่ควรให้มีถึง 3 สนามบิน ในกรุงเทพฯและใกล้เคียง คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภา ให้รองรับนักท่องเที่ยวจากสายการบินต่างประเทศได้ทุกสนามบิน ซึ่งจะทำให้ ความ หวัง ที่ไทยจะเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาค และการสร้างรายได้จากนักท่องเที่ยวสู่ 2 ล้านล้านบาทในปี 2558 เป็นจริงได้