นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.มหาดไทย กล่าวถึงกรณี กรุงเทพมหานคร ของบประมาณเพิ่มเติม 400 ล้านบาท จากรัฐบาล เพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยครัวเรือนละ 20,000 บาท ว่า ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายตามความเป็นจริง และตามระเบียบ ส่วนที่มีม็อบมาเรียกร้อง ก็ต้องแก้ปัญหากันไป ผู้สื่อข่าวถามว่า ทางกทม.อ้างว่า ส่งเรื่องมาให้กรมป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)แล้ว แต่ความล่าช้าอยู่ที่ ปภ. นายยงยุทธ กล่าวปฏิเสธว่า ไม่จริง ขั้นตอนทั้งหมดของกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้ว และตอนนี้ก็ไม่เห็นมีพื้นที่ไหนล่าช้า เพราะเจ้าหน้าที่ได้ตรวจสอบหมดแล้ว
เมื่อถามว่า มีการถ่วงไว้เพื่อหวังผลในการเลือกตั้งทางการเมือง หรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ก็ยืนยันไปแล้วว่า ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายตามจริง และตามระเบียบ
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า เป็นเพราะกทม. เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เลยทำให้การช่วยเหลือล่าช้า นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่มี หลายโครงการรัฐบาลก็สนับสนุนงบประมาณไปมาก เราไม่เคยคิดเรื่องแบบนั้น
** ขู่ปิดถนนเจอฟ้องแพ่ง- อาญา
ด้านนายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการที่ประชาชนหลายพื้นที่ ยังคงปิดถนนประท้วง การรับเงินเยียวยาช่วยเหลือน้ำท่วมว่า ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ตนมีอำนาจสั่งการแล้วว่า ประชาชนที่เดือดร้อนให้รับเรื่องราวร้องทุกข์เร่งด่วน และเชิญมายังหน้าศาลากลางก็ได้ อย่าให้มีการปิดถนนเด็ดขาด หากมีการปิดถนน ก็ต้องดำเนินคดีย้อนหลังทุกราย ขณะที่ประชาชนที่เดือดร้อนจากการปิดถนน เช่น พ่อค้า แม่ค้า สามารถฟ้องแพ่งกับผู้ชุมนุมได้ และยังโดนคดีอาญาจากการปิดการจราจรก็ได้
ทั้งนี้ปัญหาที่ผ่านมา เกิดจากการให้ท้องถิ่นสำรวจ เพราะต้องยอมรับว่ามีเรื่องของหัวคะแนน และความเป็นพวกกัน ทำให้มีชาวบ้านโวยวาย เนื่องจากติดใจที่บ้านติดกัน แต่ได้เงินไม่เท่ากัน ซึ่งประชาชนจะต้องไปโวยกับท้องถิ่นเอง และขณะเดียวกันตนยังหนักใจกับกลุ่มประชาชน อีก 200,000 หลัง ที่ยื่นไม่ทันกำหนดถ้าโดยกฎหมายจะไม่มีสิทธิ์ได้ แต่เข้าใจว่ารัฐบาลอาจต้องเยียวยา ซึ่งก็ต้องแล้วแต่รัฐบาล
" กรณีที่ยื่นหลักฐานเกินกำหนดเวลา จำนวนกว่า 200,000 ราย ขอถามว่าจะเอาคำตอบอะไร งบกลางถ้าหมดแล้ว จะขยายเวลาได้อย่างไร ส่วนกรณีรายที่ขึ้นบัญชีไว้แล้วไม่พอใจในวงเงินที่ได้รับ ก็สามารถที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ ขั้นตอนต่อไปก็จะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการอุทธรณ์ ว่าจะได้อีกเท่าไหร่ เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าใครจะตัดสินได้ เพราะเรามอบให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลทั้งหมด และท้องถิ่นเองสามารถใช้เงินงบประมาณในส่วนของท้องถิ่นโปะให้ได้อยู่แล้ว ซึ่ง กทม.ก็เคยใช้วิธีนี้"
เมื่อถามว่า กระทรวงมหาดไทย สามารถดำเนินการกับทางท้องถิ่นได้ ใช่หรือไม่หากเกิดความไม่ยุติธรรมในการจ่ายเงิน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จะไปดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากท้องถิ่นมีกลไกที่เป็นอัตโนมัติ ดังนั้นชาวบ้านต้องโวยว่า ทำไมจึงจ่ายไม่เท่ากัน หัวคะแนนได้เยอะกว่าคนอื่น ประชาชนต้องโวยกันเอง หรือไปฟ้องศาลปกครอง ในฐานที่เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่รับผิดชอบ
ส่วนจะเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ให้ ไปวิเคราะห์กันเอง
" คุณเคยสังเกตุหรือไม่ว่า การเมืองท้องถิ่น การเมืองท้องที่ มันแรง ไม่ว่าจะเป็น กทม. ปทุมธานี นนทบุรี "นายประชา กล่าว
** กทม.ยันไร้อำนาจจ่าย 2 หมื่นทุกราย
นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนมาประท้วงเรียกร้องเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 บาทเท่ากันทุกราย ว่า ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย โดยสุดท้ายจะมีข้อสรุปอย่างไร ขอให้หน่วยงานที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องสั่งการมา และจัดสรรงบประมาณ กทม. ก็พร้อมดำเนินการให้
"ที่ผ่านมา กทม.ก็เป็นเพียงผู้รับคำร้องและตรวจสอบว่าเป็นผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจริง โดยทำหน้าที่เพียงออกหนังสือรับรองให้ จากนั้นผู้เสียหายก็นำหนังสือรับรองจากเขตไปยื่นขอเงินเยียวยากับทางกรมปภ. ทางกทม.มีหน้าที่เพียงเท่านั้น แต่เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งมีคนเดือดร้อนจำนวนมาก กรมปภ.ได้มอบหมายให้กทม.ดำเนินการแทน กทม.ก็รับมาทำให้ แต่หากว่ายังเห็นว่าการทำงานของกทม.มีปัญหา กรมปภ. จะดำเนินการเองทั้งหมดก็ได้ กทม.ยินดี" นายสมภพ กล่าว
**เตรียมร้องนายกฯขอเหมาจ่าย 2 หมื่น
นายอรรถวิช สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า วันนี้ (20 ก.ค.) ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์จะไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในประเด็นเงินเยียวยา เพราะเกณฑ์ของกทม.ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นลูกเมียน้อย เนื่องจากไม่เท่าเทียมกับในต่างจังหวัด โดย กทม.ไม่ได้ค่าเครื่องนุ่งห่ม 1 พันบาท ค่าเครื่องนอน 500 เครื่องครัวและอุปกรณ์ทำอาหาร 3,500 บาท รวมเงินชดเชย 5 พันบาท ที่คนกทม.ไม่ได้ แต่คนต่างจังหวัดได้ ทั้งนี้เป็นเพราะการจ่ายเงินจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำหนด ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เพิ่งโอนเงินให้กทม.เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้ว่าฯในจังหวัดอื่น มีเงินสำรอง 50 ล้าน และมีอำนาจที่จะพิจารณาการจ่ายเยียวยาได้แตกต่างจากผู้ว่าฯกทม.ที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ ปภ.กำหนด ไม่มีอำนาจพิจารณาเหมาจ่ายได้เหมือนที่ในบางจังหวัด ส.ส.กทม.จึงขอให้นายกฯใช้ระบบแบบเหมาจ่ายในวงเงินไม่เกิน 2 หมื่นบาท เพื่อเยียวยาอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมในกทม. เช่นเดียวกับที่มีการประกาศที่ปทุมธานีว่า ได้เท่ากันหมด 2 หมื่นบาท หากไม่มีการดำเนินการอะไร ตนคงคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากว่ารัฐบาลกำลังเอาความเดือดร้อนประชาชนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ทำลายผู้ว่าฯกทม. เพื่อหวังผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในปีหน้า
เมื่อถามว่า มีการถ่วงไว้เพื่อหวังผลในการเลือกตั้งทางการเมือง หรือไม่ นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่ทราบ แต่ก็ยืนยันไปแล้วว่า ถึงอย่างไรก็ต้องจ่ายตามจริง และตามระเบียบ
เมื่อถามว่า พรรคประชาธิปัตย์อ้างว่า เป็นเพราะกทม. เป็นฐานเสียงของพรรคประชาธิปัตย์ เลยทำให้การช่วยเหลือล่าช้า นายยงยุทธ กล่าวว่า ไม่มี หลายโครงการรัฐบาลก็สนับสนุนงบประมาณไปมาก เราไม่เคยคิดเรื่องแบบนั้น
** ขู่ปิดถนนเจอฟ้องแพ่ง- อาญา
ด้านนายประชา เตรัตน์ รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงการที่ประชาชนหลายพื้นที่ ยังคงปิดถนนประท้วง การรับเงินเยียวยาช่วยเหลือน้ำท่วมว่า ได้สั่งการไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด ที่ตนมีอำนาจสั่งการแล้วว่า ประชาชนที่เดือดร้อนให้รับเรื่องราวร้องทุกข์เร่งด่วน และเชิญมายังหน้าศาลากลางก็ได้ อย่าให้มีการปิดถนนเด็ดขาด หากมีการปิดถนน ก็ต้องดำเนินคดีย้อนหลังทุกราย ขณะที่ประชาชนที่เดือดร้อนจากการปิดถนน เช่น พ่อค้า แม่ค้า สามารถฟ้องแพ่งกับผู้ชุมนุมได้ และยังโดนคดีอาญาจากการปิดการจราจรก็ได้
ทั้งนี้ปัญหาที่ผ่านมา เกิดจากการให้ท้องถิ่นสำรวจ เพราะต้องยอมรับว่ามีเรื่องของหัวคะแนน และความเป็นพวกกัน ทำให้มีชาวบ้านโวยวาย เนื่องจากติดใจที่บ้านติดกัน แต่ได้เงินไม่เท่ากัน ซึ่งประชาชนจะต้องไปโวยกับท้องถิ่นเอง และขณะเดียวกันตนยังหนักใจกับกลุ่มประชาชน อีก 200,000 หลัง ที่ยื่นไม่ทันกำหนดถ้าโดยกฎหมายจะไม่มีสิทธิ์ได้ แต่เข้าใจว่ารัฐบาลอาจต้องเยียวยา ซึ่งก็ต้องแล้วแต่รัฐบาล
" กรณีที่ยื่นหลักฐานเกินกำหนดเวลา จำนวนกว่า 200,000 ราย ขอถามว่าจะเอาคำตอบอะไร งบกลางถ้าหมดแล้ว จะขยายเวลาได้อย่างไร ส่วนกรณีรายที่ขึ้นบัญชีไว้แล้วไม่พอใจในวงเงินที่ได้รับ ก็สามารถที่จะยื่นอุทธรณ์ได้ ขั้นตอนต่อไปก็จะขึ้นอยู่กับคณะกรรมการอุทธรณ์ ว่าจะได้อีกเท่าไหร่ เรื่องนี้ไม่ใช่ว่าใครจะตัดสินได้ เพราะเรามอบให้ท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลทั้งหมด และท้องถิ่นเองสามารถใช้เงินงบประมาณในส่วนของท้องถิ่นโปะให้ได้อยู่แล้ว ซึ่ง กทม.ก็เคยใช้วิธีนี้"
เมื่อถามว่า กระทรวงมหาดไทย สามารถดำเนินการกับทางท้องถิ่นได้ ใช่หรือไม่หากเกิดความไม่ยุติธรรมในการจ่ายเงิน รองปลัดกระทรวงมหาดไทย กล่าวว่า จะไปดำเนินการอะไรได้ เนื่องจากท้องถิ่นมีกลไกที่เป็นอัตโนมัติ ดังนั้นชาวบ้านต้องโวยว่า ทำไมจึงจ่ายไม่เท่ากัน หัวคะแนนได้เยอะกว่าคนอื่น ประชาชนต้องโวยกันเอง หรือไปฟ้องศาลปกครอง ในฐานที่เจ้าหน้าที่ ปฏิบัติหน้าที่โดยไม่รับผิดชอบ
ส่วนจะเป็นเรื่องการเมืองหรือไม่ให้ ไปวิเคราะห์กันเอง
" คุณเคยสังเกตุหรือไม่ว่า การเมืองท้องถิ่น การเมืองท้องที่ มันแรง ไม่ว่าจะเป็น กทม. ปทุมธานี นนทบุรี "นายประชา กล่าว
** กทม.ยันไร้อำนาจจ่าย 2 หมื่นทุกราย
นายสมภพ ระงับทุกข์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) กล่าวถึงกรณีที่มีประชาชนมาประท้วงเรียกร้องเงินเยียวยาน้ำท่วม 20,000 บาทเท่ากันทุกราย ว่า ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย โดยสุดท้ายจะมีข้อสรุปอย่างไร ขอให้หน่วยงานที่มีอำนาจที่เกี่ยวข้องสั่งการมา และจัดสรรงบประมาณ กทม. ก็พร้อมดำเนินการให้
"ที่ผ่านมา กทม.ก็เป็นเพียงผู้รับคำร้องและตรวจสอบว่าเป็นผู้ประสบภัยที่ได้รับผลกระทบจริง โดยทำหน้าที่เพียงออกหนังสือรับรองให้ จากนั้นผู้เสียหายก็นำหนังสือรับรองจากเขตไปยื่นขอเงินเยียวยากับทางกรมปภ. ทางกทม.มีหน้าที่เพียงเท่านั้น แต่เหตุการณ์น้ำท่วมเมื่อปีที่ผ่านมาซึ่งมีคนเดือดร้อนจำนวนมาก กรมปภ.ได้มอบหมายให้กทม.ดำเนินการแทน กทม.ก็รับมาทำให้ แต่หากว่ายังเห็นว่าการทำงานของกทม.มีปัญหา กรมปภ. จะดำเนินการเองทั้งหมดก็ได้ กทม.ยินดี" นายสมภพ กล่าว
**เตรียมร้องนายกฯขอเหมาจ่าย 2 หมื่น
นายอรรถวิช สุวรรณภักดี ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า วันนี้ (20 ก.ค.) ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์จะไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ในประเด็นเงินเยียวยา เพราะเกณฑ์ของกทม.ได้รับการปฏิบัติเหมือนเป็นลูกเมียน้อย เนื่องจากไม่เท่าเทียมกับในต่างจังหวัด โดย กทม.ไม่ได้ค่าเครื่องนุ่งห่ม 1 พันบาท ค่าเครื่องนอน 500 เครื่องครัวและอุปกรณ์ทำอาหาร 3,500 บาท รวมเงินชดเชย 5 พันบาท ที่คนกทม.ไม่ได้ แต่คนต่างจังหวัดได้ ทั้งนี้เป็นเพราะการจ่ายเงินจะต้องเป็นไปตามเกณฑ์ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำหนด ขณะเดียวกันรัฐบาลก็เพิ่งโอนเงินให้กทม.เมื่อวันที่ 6 มิ.ย.ที่ผ่านมา ในขณะที่ผู้ว่าฯในจังหวัดอื่น มีเงินสำรอง 50 ล้าน และมีอำนาจที่จะพิจารณาการจ่ายเยียวยาได้แตกต่างจากผู้ว่าฯกทม.ที่ต้องปฏิบัติตามเกณฑ์ที่ ปภ.กำหนด ไม่มีอำนาจพิจารณาเหมาจ่ายได้เหมือนที่ในบางจังหวัด ส.ส.กทม.จึงขอให้นายกฯใช้ระบบแบบเหมาจ่ายในวงเงินไม่เกิน 2 หมื่นบาท เพื่อเยียวยาอย่างเป็นธรรมเท่าเทียมในกทม. เช่นเดียวกับที่มีการประกาศที่ปทุมธานีว่า ได้เท่ากันหมด 2 หมื่นบาท หากไม่มีการดำเนินการอะไร ตนคงคิดเป็นอย่างอื่นไม่ได้นอกจากว่ารัฐบาลกำลังเอาความเดือดร้อนประชาชนมาแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง ทำลายผู้ว่าฯกทม. เพื่อหวังผลการเลือกตั้งผู้ว่าฯกทม.ในปีหน้า