จากข้อมูลของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ได้รายงานประวัติการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยนับตั้งแต่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งแรกเมื่อวันที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2514 มาจนถึงการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ.2550 นั้น ตลอดระยะเวลาเกือบ 36 ปีได้มีออกสัมปทานไปแล้วทั้งสิ้น 110 สัญญา รวมจำนวนแปลงสัมปทานทั้งสิ้น 157 แปลง ซึ่งในจำนวนนี้ยังคงเหลือดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน 63 สัญญา 79 แปลงสัมปทาน
ที่น่าสนใจก็คือการสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมาประเทศไทยได้ค่าตอบแทนจากเอกชนที่ได้รับค่าภาคหลวงเพียงประมาณร้อยละ 12.5 ของปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียม ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ให้กับรัฐนั้นต่ำมาก
เปรียบเทียบกับประเทศโบลิเวีย ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันน้อยกว่าประเทศไทย แต่ก็ได้รับผลตอบแทนให้กับรัฐสูงถึงร้อยละ 82
เปรียบเทียบกับประเทศคาซัคสถาน ได้รับผลตอบแทนจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมจากเอกชนได้สูงถึงร้อยละ 80
รัสเซียได้รับผลตอบแทนจากเอกชนในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคานั้นสูงกว่า 25 เหรียญต่อบาร์เรล
ประเทศไทยจึงได้รับค่าภาคหลวงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ประชาชนคนไทยกลับต้องใช้ราคาพลังงานที่สูงยิ่งในราคาที่อ้างว่าเป็นไปตามกลไกลตลาดโลก เพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจพลังงานที่จำกัดความร่ำรวยเอาไว้เพียงไม่กี่คน
ประเทศไทยจึงเสียระโยชน์ถึง 2 ด้าน
ด้านหนึ่งประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้พลังงานแพงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเหมือนเดิม
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐไทยกลับได้ผลตอบแทนต่ำติดดิน ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับใครทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเช่นกัน
ปัจจุบันส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานของประเทศไทยที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเชฟรอนได้มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 สูงถึงร้อยละ 50.5 ของปริมาณสัดส่วนปิโตรเลียม รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ก็คือกลุ่มบริษัท ปตท. มีสัดส่วนร้อยละ 29.2 แต่ผลประโยชน์ใน ปตท. ร้อยละ49 ก็ตกอยู่กับผู้ถือหุ้นคนไทยเพียงไม่กี่คนอยู่ดี
นิตยสารและเว็บไซต์ฟอร์จูน 500 ได้จัดอันดับเชฟรอนให้เป็นบริษัทที่มีรายได้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยมีรายได้ต่อปีสูงถึง 245,621 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.37 ล้านล้านบาท) และมี “กำไร”สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกสูงถึง 26,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (806,850 ล้านบาท)
ในขณะที่ ปตท. ก็ได้ถูกเลื่อนจากอันดับที่ 128 ของโลก มาเป็นอันดับ 95 ของโลกด้วยรายได้ 7,969 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.39 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ (103,680 ล้านบาท)
มีแต่คนไทยและประเทศไทยที่กลับไม่ได้ผลประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
แต่ล่าสุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ก็กำลังจะดำเนินการต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้ โดยเป็นการเปิดสัมปทานทั้งหมด 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ด้วยผลตอบแทนให้กับรัฐต่ำติดดินเหมือนเดิม
จะว่าไปแล้วนี่คือการสัมปทานครั้งใหญ่เท่าที่มีเหลืออยู่ในประเทศไทย ส่วนที่เหลือหลังจากการสัมปทานครั้งที่ 21 แล้ว ก็จะเหลือเพียงแค่พื้นที่อ้างสิทธิ์การทับซ้อนเขตไหล่ทวีประหว่างไทย-กัมพูชา ที่ทางสหรัฐอเมริกากำลังหาทางลดความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อเข้าไปแบ่งเค้กทางพลังงานในอ่าวไทยด้วยค่าภาคหลวงต่ำๆให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
ที่น่าสนใจก็คือนักการเมืองในพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต่างพร้อมใจกันเงียบกริบ ไม่สนใจและทำเป็นไม่รู้เรื่องดังกล่าว
ทั้งๆ ที่เรื่องการให้สัมปทานพลังงานของชาติเป็นผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน ไม่แบ่งพรรค ไม่แยกสี แต่สังเกตดูเอาเถิดว่ามีนักการเมืองคนใด หรือ แกนนำมวลชนกลุ่มใดบ้างที่สนใจเรื่องผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้
จะมีก็แต่ภาคประชาชน สมาชิกวุฒิสภาบางส่วน และนักวิชาการ ตลอดจนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะได้เคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมี พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย) จึงได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้
“ด้วยคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งชององค์กรสาธารณะประโยชน์ ดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาด้านยุทธศาสตร์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ.2555 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการธุรกิจพลังงานที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และจากแหล่งต่างๆในประเทศและต่างปะเทศโดยมีผลการศึกษาที่ใคร่ขอนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้
1.ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประเทศไทยรวมถึงอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและก๊าซที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงของโลกอาณาเขตหนึ่ง และแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ประมาณว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมากเป็นอันดับค่อนข้างสูงของโลก และสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม OPEC บางประเทศ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยเป็นมูลค่าปีละกว่า 3.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากการให้สัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในผืนแผ่นดินไทยใน 20 รอบที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติ ที่เป็นสมบัติของไทยทุกคนในระดับที่ควรจะเป็น
2.การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งใหม่รอบที่ 21 (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ประกอบไปด้วยสัมปทานบนบก 17 แปลง (ภาคกลางและ ภาคเหนือ 6 แปลง ตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง) และอ่าวไทย 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 45,000 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นการหยิบยื่นให้โอกาสแก่ผู้ยื่นขอสัมปทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทฯข้ามชาติ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับน่าจะทำให้รัฐฯขาดรายได้อย่างน้อยปีละ 1 แสนล้านบาท จากการให้สัมปทานในครั้งนี้ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยจะขาดรายได้ตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2.55 ล้านล้านบาท เป็นอ่างต่ำ ทั้งนี้ยังไม่รวมส่วนต่ออายุอีก 10 ปีอีกด้วย
3.การกำหนดกฎระเบียบ วิธีการ ในรูปแบบของการสัมปทานและการกำหนดค่าภาคหลวงตลอดจนผลประโยชน์อื่นๆที่ประเทศควรจะได้รับในอดีตถูกกำหนดภายใต้บทสรุปที่ว่า “ประเทศไร้พลังงานธรรมชาติ” หรือ “มีแต่ไม่คุ้มค่าในการสำรวจ” เป็นผลให้รัฐบาลที่ผ่านมากำหนดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมเข้ารัฐ ในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ระหว่างร้อยละ 5-15 ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถเก็บค่าภาคหลวงเข้ารัฐฯ ได้เพียงประมาณร้อยละ 12 เท่านั้น
4.หากประเทศไทยเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศผู้ให้สัมปทานที่เก็บค่าภาคหลวงระดับสูงเช่น ประเทศเวเนซูเอลา หรือประเทศโบลิเวีย น่าจะมีรายได้จากการเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอในการดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างราบรื่นโดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ
5.การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของไทยที่ผ่านมาได้มีส่วนค้ำจุนระบบเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งมาโดยตลอดมา และหน่วยงานเอกชนไทยสามารถสร้างหน่วยธุรกิจด้านการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและสมรรถนะในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เอง สมควรได้นำความสามารถดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม จึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอแนะให้รัฐบาลกรุณาพิจารณา โดยเร่งด่วนดังนี้
1.ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและรับรู้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปิโตรเลียมของชาติ เพื่อความโปร่งใสและเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทยในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า
2.ควรระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 นี้ไว้ก่อน เพื่อทบทวนมาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทยและประชนชาวไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่
2.1ทบทวนกฎระเบียบและประกาศที่กำหนดการเก็บค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15 และปรับปรุงวิธีการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ทั้งระบบ โดยพิจารณาเพเปรียบเทียบ (Benchmark) กับประเทศที่เก็บค่าภาคหลวง (เช่น ประเทศเวเนซูเอลา และประเทศโบลิเวีย เป็นต้น) เป็นพื้นฐานในการอ้างอิง
2.2ทบทวนระบบการแบ่งกำไรจากผู้รับสัมปทานเพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม
2.3พิจารณาให้หน่วยงานของคนไทยมีสิทธิและหน้าที่หลักในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอาณาเขตประเทศไทยเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในระยะยาว
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
ประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม
ที่น่าสนใจก็คือการสัมปทานปิโตรเลียมที่ผ่านมาประเทศไทยได้ค่าตอบแทนจากเอกชนที่ได้รับค่าภาคหลวงเพียงประมาณร้อยละ 12.5 ของปริมาณปิโตรเลียมทุกชนิดที่ขายหรือจำหน่ายปิโตรเลียม ซึ่งถือว่าผลตอบแทนที่ให้กับรัฐนั้นต่ำมาก
เปรียบเทียบกับประเทศโบลิเวีย ซึ่งผลิตก๊าซธรรมชาติและน้ำมันน้อยกว่าประเทศไทย แต่ก็ได้รับผลตอบแทนให้กับรัฐสูงถึงร้อยละ 82
เปรียบเทียบกับประเทศคาซัคสถาน ได้รับผลตอบแทนจากการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมจากเอกชนได้สูงถึงร้อยละ 80
รัสเซียได้รับผลตอบแทนจากเอกชนในการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมสูงถึงร้อยละ 90 ของรายได้ในส่วนที่ราคานั้นสูงกว่า 25 เหรียญต่อบาร์เรล
ประเทศไทยจึงได้รับค่าภาคหลวงอยู่ในระดับที่ต่ำมาก แต่ประชาชนคนไทยกลับต้องใช้ราคาพลังงานที่สูงยิ่งในราคาที่อ้างว่าเป็นไปตามกลไกลตลาดโลก เพื่อสร้างกำไรสูงสุดให้กับกลุ่มธุรกิจพลังงานที่จำกัดความร่ำรวยเอาไว้เพียงไม่กี่คน
ประเทศไทยจึงเสียระโยชน์ถึง 2 ด้าน
ด้านหนึ่งประชาชนคนไทยยังคงต้องใช้พลังงานแพงเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเหมือนเดิม
ในขณะที่อีกด้านหนึ่งรัฐไทยกลับได้ผลตอบแทนต่ำติดดิน ทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติจึงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์กลับใครทั้งสิ้นเพื่อประโยชน์ของกลุ่มทุนพลังงานเช่นกัน
ปัจจุบันส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานของประเทศไทยที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทเชฟรอนได้มากที่สุดเป็นลำดับที่ 1 สูงถึงร้อยละ 50.5 ของปริมาณสัดส่วนปิโตรเลียม รองลงมาเป็นอันดับที่ 2 ก็คือกลุ่มบริษัท ปตท. มีสัดส่วนร้อยละ 29.2 แต่ผลประโยชน์ใน ปตท. ร้อยละ49 ก็ตกอยู่กับผู้ถือหุ้นคนไทยเพียงไม่กี่คนอยู่ดี
นิตยสารและเว็บไซต์ฟอร์จูน 500 ได้จัดอันดับเชฟรอนให้เป็นบริษัทที่มีรายได้สูงเป็นอันดับ 8 ของโลก โดยมีรายได้ต่อปีสูงถึง 245,621 ล้านเหรียญสหรัฐ (7.37 ล้านล้านบาท) และมี “กำไร”สูงเป็นอันดับ 3 ของโลกสูงถึง 26,895 ล้านเหรียญสหรัฐ (806,850 ล้านบาท)
ในขณะที่ ปตท. ก็ได้ถูกเลื่อนจากอันดับที่ 128 ของโลก มาเป็นอันดับ 95 ของโลกด้วยรายได้ 7,969 ล้านเหรียญสหรัฐ (2.39 ล้านล้านบาท) และมีกำไรสุทธิ 3,456 ล้านเหรียญสหรัฐ (103,680 ล้านบาท)
มีแต่คนไทยและประเทศไทยที่กลับไม่ได้ผลประโยชน์จากการที่ประเทศไทยมีทรัพยากรน้ำมันและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก
แต่ล่าสุดการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ก็กำลังจะดำเนินการต่อไปในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้ โดยเป็นการเปิดสัมปทานทั้งหมด 11 แปลง ภาคกลาง 6 แปลงและอ่าวไทย 5 แปลง ด้วยผลตอบแทนให้กับรัฐต่ำติดดินเหมือนเดิม
จะว่าไปแล้วนี่คือการสัมปทานครั้งใหญ่เท่าที่มีเหลืออยู่ในประเทศไทย ส่วนที่เหลือหลังจากการสัมปทานครั้งที่ 21 แล้ว ก็จะเหลือเพียงแค่พื้นที่อ้างสิทธิ์การทับซ้อนเขตไหล่ทวีประหว่างไทย-กัมพูชา ที่ทางสหรัฐอเมริกากำลังหาทางลดความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา เพื่อเข้าไปแบ่งเค้กทางพลังงานในอ่าวไทยด้วยค่าภาคหลวงต่ำๆให้มากที่สุดและเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้
ที่น่าสนใจก็คือนักการเมืองในพรรคการเมืองทุกพรรค ไม่ว่าฝ่ายค้านหรือรัฐบาลต่างพร้อมใจกันเงียบกริบ ไม่สนใจและทำเป็นไม่รู้เรื่องดังกล่าว
ทั้งๆ ที่เรื่องการให้สัมปทานพลังงานของชาติเป็นผลประโยชน์ของประชาชนคนไทยทุกคน ไม่แบ่งพรรค ไม่แยกสี แต่สังเกตดูเอาเถิดว่ามีนักการเมืองคนใด หรือ แกนนำมวลชนกลุ่มใดบ้างที่สนใจเรื่องผลประโยชน์ของชาติครั้งนี้
จะมีก็แต่ภาคประชาชน สมาชิกวุฒิสภาบางส่วน และนักวิชาการ ตลอดจนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจะได้เคลื่อนไหวในเรื่องดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้ยังมี พลเอกจรัล กุลละวณิชย์ ในฐานะเป็นประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม (วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักรไทย) จึงได้ทำหนังสือถึง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เมื่อสัปดาห์ที่แล้วเพื่อขอให้ระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 โดยเนื้อหาของหนังสือดังกล่าวมีดังนี้
“ด้วยคลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งชององค์กรสาธารณะประโยชน์ ดำเนินงานวิเคราะห์ปัญหาด้านยุทธศาสตร์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังผลตอบแทนมาตั้งแต่ พ.ศ.2555 ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการธุรกิจพลังงานที่จะทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปอย่างสมดุล มั่นคง และยั่งยืน จึงได้ดำเนินการศึกษาข้อมูลจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และจากแหล่งต่างๆในประเทศและต่างปะเทศโดยมีผลการศึกษาที่ใคร่ขอนำเสนอให้รัฐบาลพิจารณา ดังนี้
1.ในปัจจุบันเป็นที่ประจักษ์แล้วว่า ประเทศไทยรวมถึงอาณาเขตทางทะเลของประเทศไทยเป็นแหล่งทรัพยากรธรรมชาติทั้งน้ำมันและก๊าซที่มีความอุดมสมบูรณ์ระดับสูงของโลกอาณาเขตหนึ่ง และแหล่งข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ประมาณว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมจำนวนมากเป็นอันดับค่อนข้างสูงของโลก และสามารถส่งออกได้ในปริมาณที่มากกว่าประเทศในกลุ่ม OPEC บางประเทศ ซึ่งทำให้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเป็นสินค้าส่งออกอันดับหนึ่งของไทยเป็นมูลค่าปีละกว่า 3.5 แสนล้านบาท ทั้งนี้เป็นผลจากการให้สัมปทานการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในผืนแผ่นดินไทยใน 20 รอบที่ผ่านมา ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติของชาติ ที่เป็นสมบัติของไทยทุกคนในระดับที่ควรจะเป็น
2.การเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมครั้งใหม่รอบที่ 21 (ตามสิ่งที่ส่งมาด้วย) ประกอบไปด้วยสัมปทานบนบก 17 แปลง (ภาคกลางและ ภาคเหนือ 6 แปลง ตะวันออกเฉียงเหนือ 11 แปลง) และอ่าวไทย 5 แปลง รวมพื้นที่กว่า 45,000 ตารางกิโลเมตรนั้น เป็นการหยิบยื่นให้โอกาสแก่ผู้ยื่นขอสัมปทาน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบริษัทฯข้ามชาติ ซึ่งจากข้อมูลที่ได้รับน่าจะทำให้รัฐฯขาดรายได้อย่างน้อยปีละ 1 แสนล้านบาท จากการให้สัมปทานในครั้งนี้ ซึ่งโดยรวมแล้วประเทศไทยจะขาดรายได้ตลอดอายุสัมปทาน 25 ปี เป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2.55 ล้านล้านบาท เป็นอ่างต่ำ ทั้งนี้ยังไม่รวมส่วนต่ออายุอีก 10 ปีอีกด้วย
3.การกำหนดกฎระเบียบ วิธีการ ในรูปแบบของการสัมปทานและการกำหนดค่าภาคหลวงตลอดจนผลประโยชน์อื่นๆที่ประเทศควรจะได้รับในอดีตถูกกำหนดภายใต้บทสรุปที่ว่า “ประเทศไร้พลังงานธรรมชาติ” หรือ “มีแต่ไม่คุ้มค่าในการสำรวจ” เป็นผลให้รัฐบาลที่ผ่านมากำหนดเก็บค่าภาคหลวงปิโตรเลียมเข้ารัฐ ในอัตราค่อนข้างต่ำเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ระหว่างร้อยละ 5-15 ซึ่งในทางปฏิบัติสามารถเก็บค่าภาคหลวงเข้ารัฐฯ ได้เพียงประมาณร้อยละ 12 เท่านั้น
4.หากประเทศไทยเปลี่ยนการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับประเทศผู้ให้สัมปทานที่เก็บค่าภาคหลวงระดับสูงเช่น ประเทศเวเนซูเอลา หรือประเทศโบลิเวีย น่าจะมีรายได้จากการเก็บค่าภาคหลวงเพิ่มขึ้นปีละประมาณ 3-4 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้รัฐบาลมีงบประมาณเพิ่มขึ้นและเพียงพอในการดำเนินนโยบายรัฐสวัสดิการได้อย่างราบรื่นโดยไม่จำเป็นต้องกู้เงินจากแหล่งต่างๆ
5.การผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมของไทยที่ผ่านมาได้มีส่วนค้ำจุนระบบเศรษฐกิจไทยให้เข้มแข็งมาโดยตลอดมา และหน่วยงานเอกชนไทยสามารถสร้างหน่วยธุรกิจด้านการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมขึ้นมาได้ ซึ่งทำให้ประเทศไทยมีศักยภาพและสมรรถนะในการสำรวจแหล่งปิโตรเลียมในประเทศได้เอง สมควรได้นำความสามารถดังกล่าวมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
คลังสมอง วปอ.เพื่อสังคม จึงใคร่ขอกราบเรียนเสนอแนะให้รัฐบาลกรุณาพิจารณา โดยเร่งด่วนดังนี้
1.ควรเปิดโอกาสให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและรับรู้ในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการปิโตรเลียมของชาติ เพื่อความโปร่งใสและเพื่อประโยชน์ของลูกหลานไทยในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า
2.ควรระงับชั่วคราวการเปิดประมูลสัมปทานสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมรอบที่ 21 นี้ไว้ก่อน เพื่อทบทวนมาตรการต่างๆ ให้ประเทศไทยและประชนชาวไทยได้รับประโยชน์สูงสุดจากทรัพยากรเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้แก่
2.1ทบทวนกฎระเบียบและประกาศที่กำหนดการเก็บค่าภาคหลวงร้อยละ 5-15 และปรับปรุงวิธีการเก็บค่าภาคหลวงใหม่ทั้งระบบ โดยพิจารณาเพเปรียบเทียบ (Benchmark) กับประเทศที่เก็บค่าภาคหลวง (เช่น ประเทศเวเนซูเอลา และประเทศโบลิเวีย เป็นต้น) เป็นพื้นฐานในการอ้างอิง
2.2ทบทวนระบบการแบ่งกำไรจากผู้รับสัมปทานเพื่อให้ประเทศไทยได้รับผลประโยชน์อย่างเหมาะสม
2.3พิจารณาให้หน่วยงานของคนไทยมีสิทธิและหน้าที่หลักในการสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมในอาณาเขตประเทศไทยเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานของชาติในระยะยาว
จึงกราบเรียนมาเพื่อโปรดกรุณาพิจารณา
ขอแสดงความนับถือ
พลเอกจรัล กุลละวณิชย์
ประธานคลังสมอง วปอ. เพื่อสังคม