คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเมื่อวันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม 2555 ยังไม่ได้ยุติปัญหาอะไรเลย
กลุ่มคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 2 ฝ่ายต่างสามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกหยิบมุมไหนประเด็นใดขึ้นมาขยายความ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกที่หลังคำวินิจฉัยปรากฏทั้ง 2 ฝ่ายต่างประกาศชัยชนะออกมาหนักแน่นพอๆ กัน
เนื้อแท้แก่นแกนของ “คำวินิจฉัย” คือยกคำร้อง
แต่บังเอิญเป็นคำวินิจฉัยมี “คำแนะนำ” อันหนักแน่นพ่วงมาด้วย!
ยกคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้มีผลยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับแล้วจัดทำใหม่โดยองค์กรนอกรัฐสภาแล้วไม่กลับมาให้รัฐสภาวินิจฉัย ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง
ศาลมีมติประเด็นนี้ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 8 : 0
เมื่อวินิจฉัยเช่นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจสั่งยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคารัฐสภารอลงมติวาระ 3 อยู่ได้
ส่วนในเรื่องคำแนะนำนั้น อยู่ในคำวินิจฉัยประเด็นที่ 2 ที่ศาลรัฐธรรมนูญตั้งไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 นั้นสามารถทำได้โดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับหรือไม่ คำวินิจฉัยออกมาเอกฉันท์เช่นกันคือ 8 : 0 ซึ่งถ้าเอาเฉพาะคำวินิจฉัยอย่างเดียวก็แปลว่าฝ่ายต้องการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ชนะ เพราะคำวินิจฉัยระบุออกมาชัดเจนว่า...
เป็นอำนาจของรัฐสภา!
แต่คำวินิจฉัยประเด็นนี้แฝงคำแนะนำไว้ด้วยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชน จึงควรที่จะให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ และจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 291
ผมคาดการณ์ว่าประเด็นนี้น่าจะมีการอภิปรายกันยาวพอสมควรกว่าจะมีบทสรุปออกมาเป็นเอกฉันท์
คือถ้าจะให้คำแนะนำมีผลเป็นคำวินิจฉัย เสียงน่าจะก้ำกึ่งกันมาก ไม่น่าจะเกิน 5 : 3 หรืออาจจะออกมา 4 : 4 ด้วยซ้ำ เพราะดูยังไงศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจไปวินิจฉัยเนื้อหามาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมาตรา 291 มีแต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าการกระทำใดๆ เป็นการขัดมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่เท่านั้น
ก็เลยออกมาเป็นคำวินิจฉัยแฝงคำแนะนำเช่นนี้แล!
ทำให้รัฐสภาต้องมาทะเลาะกันอีกว่าจะต้องทำยังไงต่อ ประธานรัฐสภาก็ต้องปวดหัวต่อ และก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดคดีขึ้นศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรคสองต่อไป
ซึ่งก็ยังยากที่จะคาดการณ์ได้ง่ายๆ
เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยด้วยมติ 7 : 1 ว่าประชาชนสามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 68 วรรคสองได้ทั้ง 2 ทาง คือยื่นผ่านอัยการสูงสุด และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องจากประชาชนได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ผ่านมาจากอัยการสูงสุดเท่านั้น
ทำให้เราต้องรอคำวินิจฉัยคดีต่อไปเมื่อมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งหน้า หรือรัฐสภาฝืนคำแนะนำศาลรัฐธรรมนูญ เดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ยังคาอยู่และศาลไม่ได้สั่งยกเลิก โดยไม่จัดให้มีการลงประชามติก่อน
แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการกระทำใดที่เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง
เพราะในคดีที่ผ่านมา ทั้งการนำสืบของผู้ร้องทั้ง 5 สำนวน และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดูจะเน้นอยู่แต่ในประเด็น...
“การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ไม่ใช่ประเด็น...
“การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้”
ซึ่งผมเห็นว่ามีความแตกต่างกัน
เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะวินิจฉัยว่าใครจะกระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีบทบังคับไว้ชัดเจนอยู่แล้วในมาตรา 291 (1) ว่าญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำมิได้ และเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่ทั้งฉบับครั้งนี้เขาก็ยอมบรรจุหลักการห้ามเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ไว้แล้ว
แต่จะยากน้อยกว่าหากจะวินิจฉัยตรงตามข้อความในมาตรา 68 วรรคหนึ่งเต็มๆ ว่าการกระทำนั้นๆ เป็น “การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้” หรือไม่
เฉพาะถ้อยคำในมาตรา 291 (1) กับมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ก็แตกต่างกัน
นี่เป็นประเด็นสำคัญในการวินิจฉัยครั้งต่อไป
คำถามคือศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นเอง หรือผู้ร้องไม่ว่ารายเดิมหรือรายใหม่จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นได้หรือไม่ว่า “การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้” ในมาตรา 68 วรรคหนึ่ง มีความหมายเฉพาะเจาะจงและแคบกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ)” เฉยๆ ในมาตรา 291 (1)
ประเด็นสำคัญรองลงมาคือ “ระยะห่างที่ยังไม่บังเกิดผล” ของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้ว่าแค่ไหน อย่างไร จึงจะถือว่าเป็นความผิดและศาลฯ สั่งยกเลิกการกระทำได้
ศาลฯ วินิจฉัยในประเด็นที่ 1 ที่สถาปนาอำนาจรับคำร้องโดยตรงจากประชาชนว่าเพื่อให้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 มีผลบังคับใช้ได้ตามเจตนารมณ์ และสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนไม่ถูกจำกัด โดยการกระทำต้องดำเนินการอยู่และ “...ยังไม่บังเกิดผล” แต่ในคำวินิจฉัยประเด็นที่ 3 ยกคำร้องนั้น ศาลฯ ระบุว่าเพราะ “...ยังห่างไกลต่อการที่จะเกิดเหตุขึ้น”
ต้องรอคำวินิจฉัยคดีต่อไปในเร็วๆ นี้เท่านั้นว่าจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือไม่? อย่างไร?
กลุ่มคนที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน 2 ฝ่ายต่างสามารถตีความเข้าข้างตัวเองได้ทั้งนั้น ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกหยิบมุมไหนประเด็นใดขึ้นมาขยายความ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหรอกที่หลังคำวินิจฉัยปรากฏทั้ง 2 ฝ่ายต่างประกาศชัยชนะออกมาหนักแน่นพอๆ กัน
เนื้อแท้แก่นแกนของ “คำวินิจฉัย” คือยกคำร้อง
แต่บังเอิญเป็นคำวินิจฉัยมี “คำแนะนำ” อันหนักแน่นพ่วงมาด้วย!
ยกคำร้องว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ให้มีผลยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ทั้งฉบับแล้วจัดทำใหม่โดยองค์กรนอกรัฐสภาแล้วไม่กลับมาให้รัฐสภาวินิจฉัย ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง
ศาลมีมติประเด็นนี้ด้วยคะแนนเสียงเอกฉันท์ 8 : 0
เมื่อวินิจฉัยเช่นนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่อาจสั่งยกเลิกการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ยังคารัฐสภารอลงมติวาระ 3 อยู่ได้
ส่วนในเรื่องคำแนะนำนั้น อยู่ในคำวินิจฉัยประเด็นที่ 2 ที่ศาลรัฐธรรมนูญตั้งไว้ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 นั้นสามารถทำได้โดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับหรือไม่ คำวินิจฉัยออกมาเอกฉันท์เช่นกันคือ 8 : 0 ซึ่งถ้าเอาเฉพาะคำวินิจฉัยอย่างเดียวก็แปลว่าฝ่ายต้องการยกเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 ชนะ เพราะคำวินิจฉัยระบุออกมาชัดเจนว่า...
เป็นอำนาจของรัฐสภา!
แต่คำวินิจฉัยประเด็นนี้แฝงคำแนะนำไว้ด้วยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยการยกร่างใหม่ทั้งฉบับยังไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เนื่องจากรัฐธรรมนูญ 2550 ได้มาโดยการลงประชามติของประชาชน จึงควรที่จะให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญได้ลงประชามติก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่ หรือรัฐสภาจะใช้อำนาจในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นรายมาตรา ก็เป็นความเหมาะสมและเป็นอำนาจของรัฐสภาที่จะดำเนินการได้ และจะเป็นการสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมาตรา 291
ผมคาดการณ์ว่าประเด็นนี้น่าจะมีการอภิปรายกันยาวพอสมควรกว่าจะมีบทสรุปออกมาเป็นเอกฉันท์
คือถ้าจะให้คำแนะนำมีผลเป็นคำวินิจฉัย เสียงน่าจะก้ำกึ่งกันมาก ไม่น่าจะเกิน 5 : 3 หรืออาจจะออกมา 4 : 4 ด้วยซ้ำ เพราะดูยังไงศาลรัฐธรรมนูญก็ไม่มีอำนาจไปวินิจฉัยเนื้อหามาตราใดๆ ในรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมาตรา 291 มีแต่อำนาจในการวินิจฉัยว่าการกระทำใดๆ เป็นการขัดมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่เท่านั้น
ก็เลยออกมาเป็นคำวินิจฉัยแฝงคำแนะนำเช่นนี้แล!
ทำให้รัฐสภาต้องมาทะเลาะกันอีกว่าจะต้องทำยังไงต่อ ประธานรัฐสภาก็ต้องปวดหัวต่อ และก็มีแนวโน้มว่าจะเกิดคดีขึ้นศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 68 วรรคสองต่อไป
ซึ่งก็ยังยากที่จะคาดการณ์ได้ง่ายๆ
เพราะแม้ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยด้วยมติ 7 : 1 ว่าประชาชนสามารถยื่นคำร้องตามมาตรา 68 วรรคสองได้ทั้ง 2 ทาง คือยื่นผ่านอัยการสูงสุด และยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยตรง และศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับคำร้องจากประชาชนได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ผ่านมาจากอัยการสูงสุดเท่านั้น
ทำให้เราต้องรอคำวินิจฉัยคดีต่อไปเมื่อมีการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งหน้า หรือรัฐสภาฝืนคำแนะนำศาลรัฐธรรมนูญ เดินหน้าลงมติร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 ที่ยังคาอยู่และศาลไม่ได้สั่งยกเลิก โดยไม่จัดให้มีการลงประชามติก่อน
แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการกระทำใดที่เข้าข่ายเป็นการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ ตามมาตรา 68 วรรคหนึ่ง
เพราะในคดีที่ผ่านมา ทั้งการนำสืบของผู้ร้องทั้ง 5 สำนวน และคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ดูจะเน้นอยู่แต่ในประเด็น...
“การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข”
ไม่ใช่ประเด็น...
“การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้”
ซึ่งผมเห็นว่ามีความแตกต่างกัน
เป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่จะวินิจฉัยว่าใครจะกระทำการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข เฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็มีบทบังคับไว้ชัดเจนอยู่แล้วในมาตรา 291 (1) ว่าญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะกระทำมิได้ และเฉพาะการแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบยกร่างใหม่ทั้งฉบับครั้งนี้เขาก็ยอมบรรจุหลักการห้ามเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติในหมวดพระมหากษัตริย์ไว้แล้ว
แต่จะยากน้อยกว่าหากจะวินิจฉัยตรงตามข้อความในมาตรา 68 วรรคหนึ่งเต็มๆ ว่าการกระทำนั้นๆ เป็น “การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้” หรือไม่
เฉพาะถ้อยคำในมาตรา 291 (1) กับมาตรา 68 วรรคหนึ่ง ก็แตกต่างกัน
นี่เป็นประเด็นสำคัญในการวินิจฉัยครั้งต่อไป
คำถามคือศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นเอง หรือผู้ร้องไม่ว่ารายเดิมหรือรายใหม่จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญเห็นได้หรือไม่ว่า “การล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้” ในมาตรา 68 วรรคหนึ่ง มีความหมายเฉพาะเจาะจงและแคบกว่า “การเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ)” เฉยๆ ในมาตรา 291 (1)
ประเด็นสำคัญรองลงมาคือ “ระยะห่างที่ยังไม่บังเกิดผล” ของการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐตามรัฐธรรมนูญนี้ว่าแค่ไหน อย่างไร จึงจะถือว่าเป็นความผิดและศาลฯ สั่งยกเลิกการกระทำได้
ศาลฯ วินิจฉัยในประเด็นที่ 1 ที่สถาปนาอำนาจรับคำร้องโดยตรงจากประชาชนว่าเพื่อให้รัฐธรรมนูญมาตรา 68 มีผลบังคับใช้ได้ตามเจตนารมณ์ และสิทธิพิทักษ์รัฐธรรมนูญของประชาชนไม่ถูกจำกัด โดยการกระทำต้องดำเนินการอยู่และ “...ยังไม่บังเกิดผล” แต่ในคำวินิจฉัยประเด็นที่ 3 ยกคำร้องนั้น ศาลฯ ระบุว่าเพราะ “...ยังห่างไกลต่อการที่จะเกิดเหตุขึ้น”
ต้องรอคำวินิจฉัยคดีต่อไปในเร็วๆ นี้เท่านั้นว่าจะเบ็ดเสร็จเด็ดขาดหรือไม่? อย่างไร?