วันนี้ (13 ก.ค.55) ศาลรัฐธรรมนูญได้นัดฟังคำวินิจฉัย เวลา 14.00 น. ท่ามกลางความสนใจของประชาชนทั้งประเทศ ที่เฝ้าติดตามฟังผลการพิจารณาและวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ กรณีคดีระหว่าง พลเอกสมเจตน์ บุญถนอม กับพวก ที่ 1 นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ที่ 2 นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ ที่ 3 นายวรินทร์ เทียมจรัส ที่ 4 นายบวร ยสินทร และคณะที่ 5 ผู้ร้อง ฝ่ายหนึ่งกับประธานรัฐสภา ที่ 1 คณะรัฐมนตรี ที่ 2 พรรคเพื่อไทย ที่ 3 พรรคชาติพัฒนา ที่ 4
นายสุนัย จุลพงศธร ที่ 5 นายภารดร ปริศนานันทกุล และคณะที่ 6 ผู้ถูกร้อง อีกฝ่ายหนึ่ง เรื่อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาไต่สวน เป็นเรื่องพิจารณาที่ 18-22/2555 ซึ่งบัดนี้ การไต่สวนและพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 โดยทั้งสองฝ่ายได้ยื่นมาเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการฟังคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งหากไม่มีเหตุให้เลื่อนการรับฟังคำวินิจฉัยประชาชนทั้งประเทศ คงได้ทราบผลของคำวินิจฉัยในวันนี้
ข้อเขียนนี้มิได้เป็นการชี้นำหรือก้าวล่วงดุลพินิจของศาลแต่อย่างใด แต่ประสงค์จะชี้ให้เห็นประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จากที่ได้ศึกษาและรวบรวมประมวลมาจากสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ ทั้งนี้เพื่อผู้อ่านจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกันจากการรับฟังคำวินิจฉัยของศาล ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นสำคัญที่จะรับฟังได้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหกเป็นความผิด ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้ได้หรือไม่ และศาลมีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่
1.1 มาตรา 68 ให้อำนาจผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดและต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังปรากฏรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตรา 68 ซึ่งบัญญัติไว้โดยชัดเจนในวรรคสองว่า “ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
1.2 มาตรา 68 ไม่ได้ให้อำนาจอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งคดีว่ามีมูลหรือไม่มีมูล เพื่อตัดอำนาจและสิทธิของประชาชน เพียงแต่ตรวจสอบและยื่นคำร้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น และไม่ได้ให้อำนาจอัยการออกข้อกำหนดใดๆ เพื่อพิจารณากรณีนี้ หรือนำอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่นมาอนุโลมใช้กรณีนี้ได้
1.3 การวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย และคำวินิจฉัยถือเป็นเด็ดขาดผูกพันทุกองค์กร เมื่อความเห็นของอัยการแย้งกับความเห็นศาลรัฐธรรมนูญ จำต้องฟังคำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สุด
1.4 ข้อต่อสู้ที่ผู้ถูกร้องอ้าง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2549 กรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้อง เป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกัน อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอำนาจกลับคำวินิจฉัยเดิมได้ด้วย
2. ประเด็นพิจารณาว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องชอบด้วย มาตรา 291 หรือไม่
2.1 การแก้ไขรัฐธรรมของผู้ถูกร้องทั้งหก ขัดต่อมาตรา 291 โดยชัดแจ้ง เพราะตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ปรากฏผลชัดเจนตามบทบัญญัติของร่างแก้ไขเพิ่มเติมนั่นเอง จึงขัดต่อมาตรา 291
2.2 ข้ออ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ห้ามแก้ทั้งฉบับ รับฟังไม่ขึ้น เพราะบทบัญญัติมาตรา 291 ได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว การกระทำนอกเหนือจากหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว จึงต้องด้วยข้อห้าม ตามมาตรา 291 แล้ว การแก้บางมาตรายังอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และข้อห้ามดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขได้ทั้งฉบับ การตีความว่า เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ห้ามก็ทำได้ จึงไม่ชอบ
2.3 ข้ออ้างว่า เคยมีการกระทำเช่นนี้ กรณีรัฐธรรมนูญปี 2489 และปี 2539 แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2534 มีข้อเท็จจริงและบริบททางสังคมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทั้งขณะนั้น ยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและดำเนินการไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ มิได้เป็นการดำเนินการโดยกลุ่มคณะบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสีย และมีเจตนาทางการเมืองที่ชั่วร้ายแอบแฝง และถูกต่อต้านคัดค้านจากประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างกว้างขวางเหมือนขณะนี้
2.4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติของประชาชนทั้งฉบับ จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังบัญญัติให้ความชอบของรัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่เป็นอำนาจวินิจฉัยของประธานรัฐสภาแต่เพียงผู้เดียว เป็นการล้มล้างอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย
3. ประเด็นพิจารณาว่าการกระทำของผู้ถูกร้องขัดต่อมาตรา 68 หรือไม่
3.1 การกระทำของผู้ถูกร้องโดยเนื้อหาสาระตามร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมปรากฏข้อเท็จจริงเป็นลายลักษณ์อักษรและผลของการพิจารณา ตั้งแต่บรรจุญัตตินี้ไปถึงการมติวาระ 1, 2 และ 3 ล้วนนำไปสู่ผลของการเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเท่ากับเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครองตามรัฐธรรมนูญนี้ (2550) ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 68
3.2 การกระทำได้เกิดขึ้น มิใช่เรื่องในจินตนาการตามที่ผู้ถูกร้องอ้าง กรณีดังกล่าว เป็นพฤติกรรมที่เจตนาย่อมเล็งเห็นผลและเป็นการคาดหมายได้โดยชัดแจ้ง ทั้งจากการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังกระทำอยู่ หรือที่จะกระทำต่อไป ความผิดนี้เทียบเคียงได้กับความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ,114 ซึ่งเพียงแต่ตระเตรียมยังไม่ได้ลงมือกระทำก็เป็นความผิดแล้ว ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 68 บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครอง...........มิได้” ซึ่งมีบทบัญญัติที่ชัดเจนเพียงบุคคลจะใช้สิทธิ....ก็ผิดและต้องห้ามแล้วไม่จำต้องรอให้ผลของการกระทำนั้นสำเร็จเสียก่อน ศาลก็มีอำนาจห้ามและสั่งให้เลิกเสียก็ได้
หากต้องรอให้ผลการกระทำสำเร็จเสียก่อนทั้งหมด เหมือนความผิดทางอาญาทั่วไปย่อมไม่ต้องบัญญัติไว้ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้เลิกการกระทำเช่นนั้น การสั่งให้เลิกการกระทำย่อมหมายถึงผู้กระทำอยู่ในระหว่างกำลังกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 68 นั่นเอง
3.3 การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหก เป็นการใช้สิทธิตามหน้าที่ก็จริงแต่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมถูกห้ามและมิอาจกระทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะกระทำการใดโดยผิดต่อกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมมิได้
4. ประเด็นพิจารณาว่า ต้องยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่
หากฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทั้งหมดตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลวินิจฉัยเป็นความผิด ศาลอาจสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นได้ นอกจากนี้ศาลยังได้สั่งรับคำร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไว้เป็นคดีพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งด้วย และหากศาลรวมเอาสำนวนคดีนั้น มาวินิจฉัยไปพร้อมกัน ก็สามารถกระทำได้ ด้วยเหตุผลว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งได้ความจากการไต่สวนพอวินิจฉัยคดีได้แล้ว ซึ่งคำร้องของพันธมิตรฯ อาจทำให้ 416 ส.ส., ส.ว.ต้องคดีอาญาและถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ด้วย
วันนี้ประชาชนทั้งประเทศคงจะได้ทราบผลคำวินิจฉัยว่าจะมีผลออกมาอย่างไร สำหรับผู้เขียนเชื่อว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหก เป็นความผิด ส่วนคำวินิจฉัยจะเป็นเช่นไรเราต้องเคารพอย่าทำตนเป็นอันธพาลการเมือง ข่มขู่ศาล เพราะประชาชนทั้งประเทศยืนอยู่ข้างศาลและความยุติธรรม และพร้อมตะโกนดังๆ ว่า “ประชาชนไม่กลัวพวกมึง”
นายสุนัย จุลพงศธร ที่ 5 นายภารดร ปริศนานันทกุล และคณะที่ 6 ผู้ถูกร้อง อีกฝ่ายหนึ่ง เรื่อง ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ซึ่งศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องไว้พิจารณาไต่สวน เป็นเรื่องพิจารณาที่ 18-22/2555 ซึ่งบัดนี้ การไต่สวนและพิจารณาเสร็จสิ้นแล้ว ทั้งให้โอกาสคู่กรณีทั้งสองฝ่ายได้ยื่นคำแถลงการณ์ปิดคดีเป็นลายลักษณ์อักษร ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2555 โดยทั้งสองฝ่ายได้ยื่นมาเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงการฟังคำวินิจฉัยของศาล ซึ่งหากไม่มีเหตุให้เลื่อนการรับฟังคำวินิจฉัยประชาชนทั้งประเทศ คงได้ทราบผลของคำวินิจฉัยในวันนี้
ข้อเขียนนี้มิได้เป็นการชี้นำหรือก้าวล่วงดุลพินิจของศาลแต่อย่างใด แต่ประสงค์จะชี้ให้เห็นประเด็นข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย จากที่ได้ศึกษาและรวบรวมประมวลมาจากสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายได้หยิบยกขึ้นมาเป็นข้อต่อสู้ ทั้งนี้เพื่อผู้อ่านจะได้เรียนรู้ไปพร้อมกันจากการรับฟังคำวินิจฉัยของศาล ผู้เขียนเห็นว่ามีประเด็นสำคัญที่จะรับฟังได้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องทั้งหกเป็นความผิด ด้วยเหตุผลดังนี้
1. ประเด็นที่ต้องพิจารณาว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องในคดีนี้ได้หรือไม่ และศาลมีอำนาจรับคดีนี้ไว้พิจารณาได้หรือไม่
1.1 มาตรา 68 ให้อำนาจผู้ร้องยื่นคำร้องต่ออัยการสูงสุดและต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ดังปรากฏรายละเอียดตามบทบัญญัติมาตรา 68 ซึ่งบัญญัติไว้โดยชัดเจนในวรรคสองว่า “ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้ทราบการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริง และยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้เลิกการกระทำดังกล่าว”
1.2 มาตรา 68 ไม่ได้ให้อำนาจอัยการสูงสุดมีอำนาจสั่งคดีว่ามีมูลหรือไม่มีมูล เพื่อตัดอำนาจและสิทธิของประชาชน เพียงแต่ตรวจสอบและยื่นคำร้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญเท่านั้น และไม่ได้ให้อำนาจอัยการออกข้อกำหนดใดๆ เพื่อพิจารณากรณีนี้ หรือนำอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หรือกฎหมายอื่นมาอนุโลมใช้กรณีนี้ได้
1.3 การวินิจฉัยว่า ผู้ร้องมีอำนาจยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ เป็นอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย และคำวินิจฉัยถือเป็นเด็ดขาดผูกพันทุกองค์กร เมื่อความเห็นของอัยการแย้งกับความเห็นศาลรัฐธรรมนูญ จำต้องฟังคำวินิจฉัยของศาลเป็นที่สุด
1.4 ข้อต่อสู้ที่ผู้ถูกร้องอ้าง คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 12/2549 กรณีที่นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล ยื่นคำร้องให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ และศาลรัฐธรรมนูญสั่งไม่รับคำร้อง เป็นข้อเท็จจริงคนละกรณีกัน อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญยังมีอำนาจกลับคำวินิจฉัยเดิมได้ด้วย
2. ประเด็นพิจารณาว่า การขอแก้ไขรัฐธรรมนูญของผู้ถูกร้องชอบด้วย มาตรา 291 หรือไม่
2.1 การแก้ไขรัฐธรรมของผู้ถูกร้องทั้งหก ขัดต่อมาตรา 291 โดยชัดแจ้ง เพราะตามร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ปรากฏผลชัดเจนตามบทบัญญัติของร่างแก้ไขเพิ่มเติมนั่นเอง จึงขัดต่อมาตรา 291
2.2 ข้ออ้างว่า รัฐธรรมนูญไม่ห้ามแก้ทั้งฉบับ รับฟังไม่ขึ้น เพราะบทบัญญัติมาตรา 291 ได้วางหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมไว้แล้ว การกระทำนอกเหนือจากหลักเกณฑ์และวิธีการดังกล่าว จึงต้องด้วยข้อห้าม ตามมาตรา 291 แล้ว การแก้บางมาตรายังอยู่ภายใต้หลักเกณฑ์และข้อห้ามดังกล่าว จึงไม่มีเหตุที่จะแก้ไขได้ทั้งฉบับ การตีความว่า เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ห้ามก็ทำได้ จึงไม่ชอบ
2.3 ข้ออ้างว่า เคยมีการกระทำเช่นนี้ กรณีรัฐธรรมนูญปี 2489 และปี 2539 แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญปี 2534 มีข้อเท็จจริงและบริบททางสังคมแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ทั้งขณะนั้น ยังไม่มีศาลรัฐธรรมนูญและดำเนินการไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนส่วนใหญ่ มิได้เป็นการดำเนินการโดยกลุ่มคณะบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสีย และมีเจตนาทางการเมืองที่ชั่วร้ายแอบแฝง และถูกต่อต้านคัดค้านจากประชาชนทุกหมู่เหล่าอย่างกว้างขวางเหมือนขณะนี้
2.4 การแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญฉบับประชามติของประชาชนทั้งฉบับ จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและของประชาชนทั้งประเทศ นอกจากนี้ยังบัญญัติให้ความชอบของรัฐธรรมนูญที่จะร่างขึ้นใหม่เป็นอำนาจวินิจฉัยของประธานรัฐสภาแต่เพียงผู้เดียว เป็นการล้มล้างอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย
3. ประเด็นพิจารณาว่าการกระทำของผู้ถูกร้องขัดต่อมาตรา 68 หรือไม่
3.1 การกระทำของผู้ถูกร้องโดยเนื้อหาสาระตามร่างรัฐธรรมนูญ แก้ไขเพิ่มเติมปรากฏข้อเท็จจริงเป็นลายลักษณ์อักษรและผลของการพิจารณา ตั้งแต่บรรจุญัตตินี้ไปถึงการมติวาระ 1, 2 และ 3 ล้วนนำไปสู่ผลของการเลิกรัฐธรรมนูญ 2550 จึงเท่ากับเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญและเปลี่ยนแปลงการปกครองตามรัฐธรรมนูญนี้ (2550) ต้องด้วยข้อห้ามตามมาตรา 68
3.2 การกระทำได้เกิดขึ้น มิใช่เรื่องในจินตนาการตามที่ผู้ถูกร้องอ้าง กรณีดังกล่าว เป็นพฤติกรรมที่เจตนาย่อมเล็งเห็นผลและเป็นการคาดหมายได้โดยชัดแจ้ง ทั้งจากการกระทำที่เกิดขึ้นแล้ว และที่กำลังกระทำอยู่ หรือที่จะกระทำต่อไป ความผิดนี้เทียบเคียงได้กับความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 ,114 ซึ่งเพียงแต่ตระเตรียมยังไม่ได้ลงมือกระทำก็เป็นความผิดแล้ว ประกอบรัฐธรรมนูญมาตรา 68 บัญญัติว่า “บุคคลจะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครอง...........มิได้” ซึ่งมีบทบัญญัติที่ชัดเจนเพียงบุคคลจะใช้สิทธิ....ก็ผิดและต้องห้ามแล้วไม่จำต้องรอให้ผลของการกระทำนั้นสำเร็จเสียก่อน ศาลก็มีอำนาจห้ามและสั่งให้เลิกเสียก็ได้
หากต้องรอให้ผลการกระทำสำเร็จเสียก่อนทั้งหมด เหมือนความผิดทางอาญาทั่วไปย่อมไม่ต้องบัญญัติไว้ให้ศาลมีอำนาจสั่งให้เลิกการกระทำเช่นนั้น การสั่งให้เลิกการกระทำย่อมหมายถึงผู้กระทำอยู่ในระหว่างกำลังกระทำการอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา 68 นั่นเอง
3.3 การกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหก เป็นการใช้สิทธิตามหน้าที่ก็จริงแต่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ย่อมถูกห้ามและมิอาจกระทำได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง จะกระทำการใดโดยผิดต่อกฎหมายหรือขัดต่อรัฐธรรมนูญย่อมมิได้
4. ประเด็นพิจารณาว่า ต้องยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหรือไม่
หากฟังข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายทั้งหมดตามที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว ศาลวินิจฉัยเป็นความผิด ศาลอาจสั่งยุบพรรคการเมืองและเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นได้ นอกจากนี้ศาลยังได้สั่งรับคำร้องของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยไว้เป็นคดีพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งด้วย และหากศาลรวมเอาสำนวนคดีนั้น มาวินิจฉัยไปพร้อมกัน ก็สามารถกระทำได้ ด้วยเหตุผลว่า เป็นเรื่องเดียวกัน ทั้งได้ความจากการไต่สวนพอวินิจฉัยคดีได้แล้ว ซึ่งคำร้องของพันธมิตรฯ อาจทำให้ 416 ส.ส., ส.ว.ต้องคดีอาญาและถูกถอดถอนจากตำแหน่งได้ด้วย
วันนี้ประชาชนทั้งประเทศคงจะได้ทราบผลคำวินิจฉัยว่าจะมีผลออกมาอย่างไร สำหรับผู้เขียนเชื่อว่าการกระทำของผู้ถูกร้องทั้งหก เป็นความผิด ส่วนคำวินิจฉัยจะเป็นเช่นไรเราต้องเคารพอย่าทำตนเป็นอันธพาลการเมือง ข่มขู่ศาล เพราะประชาชนทั้งประเทศยืนอยู่ข้างศาลและความยุติธรรม และพร้อมตะโกนดังๆ ว่า “ประชาชนไม่กลัวพวกมึง”