ASTVผู้จัดการรายวัน- "ทีมผู้ร้อง-ผู้ถูกร้อง" พร้อมยื่นคำแถลงปิดคดีวันนี้ "โภคิน" ชี้ 4 แนวทางการตัดสินของศาลรธน. "เต้น" เตรียมประชุมแกนนำแดง กำหนดแผนเคลื่อนไหว ขณะที่"ชุมพล" ผวา ชทพ.ถูกยุบอีก ด้านตุลาการศาลรธน. เริ่มเขียนคำวินิจฉัยส่วนตนแล้ว ยันไม่มีตุลาการถอนตัว ตำรวจนครบาลเตรียมแผนรับมือม็อบ
วานนี้ (10 ก.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้องว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามมาตรา 68 หรือไม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ นัดให้คู่ความ ยื่นคำแถลงปิดคดี แบบลายลักษณ์อักษร ในวันที่ 11 ก.ค.นั้น
ล่าสุดผู้ร้องทั้ง 5 คน ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ผู้ร้องที่ 1 นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 2 ตน ในฐานะผู้ร้องที่ 3 นายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 4 และ นายบวร ยสินทร ผู้ร้องที่ 5 ต่างจัดทำคำแถลงปิดคดี เสร็จสิ้นแล้ว โดยจัดทำแยกเป็น 5 ฉบับ และจะนำไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 11 ก.ค.
ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า การเคลื่อนไหวของผู้ถูกร้อง ที่พยายามกดดันศาลฯ ทุกวิถีทาง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า คำร้องที่ยื่นไปเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ แต่หากศาลฯยกคำร้อง ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อประเทศชาติ เนื่องจากอำนาจจะตกอยู่ในมือของประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่เพียงผู้เดียว
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ของพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในส่วนของคำแถลงปิดคดี นายวิรัตน์ มีการสรุปรวม 4 ประเด็น รวมถึงการนำถ้อยคำในส่วนของพยานฝ่ายผู้ถูกร้อง ที่ได้ยอมรับไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในชั้นไต่สวนที่เจือสมกับคำให้การของพยาน โดยแยกเป็นบุคคลต่างๆ อาทิ ในส่วนของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยและมวลชนผู้สนับสนุนพรรค หรือ คนเสื้อแดง มีการดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาและนอกสภา ในลักษณะการเดินสองขา
ส่วนคำแถลงปิดคดีของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม จะเน้นข้อมูลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ มาตรา 291 ไม่ได้ให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และเน้นถึงพฤติกรรมการล้มล้างการปกครอง
** โภคินชี้ผลการตัดสินมี 4 แนวทาง
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าคำวินิจฉัยของศาลฯ น่าจะออกมาใน 4 แนวทาง คือ 1.ขัดมาตรา 68 และนำไปสู่การยุบพรรค 2. ขัดมาตรา 68 แต่ไม่นำไปสู่การยุบพรรค 3. ข้อเท็จจริงขณะนี้ ยังไม่ขัดมาตรา 68 เพราะยังไม่มีการตั้งส.ส.ร. และ 4. การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เข้าข่ายมาตรา 68 ให้ยกคำร้อง ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด แต่บอกไม่ได้ว่าศาลฯ จะวินิจฉัยออกมาในแนวทางใด
**ขู่ศาลวินิจฉัยเป็นลบ แดงเคลื่อนแน่
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เลวร้ายที่สุดก็คงเป็นลักษณะที่ศาลจะชี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญผิดกฎหมายในทุกกรณี ก็อาจจะเลยเถิดไปถึงวิกฤตทางการเมืองต่อไป ถ้าคำวินิจฉัยเป็นไปในทางลบ แกนนำก็จะมีการหารือกันทันที ก่อนจะประกาศมาตรการเคลื่อนไหว
**ห่วงคำร้อง"จำลอง" เล่นงานครม.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมครม.ว่า ที่ประชุม มีมติมอบหมายให้ตน และนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปสรุปข้อมูลแถลงปิดคดี
แหล่งข่าวจากครม. เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการครม. ได้เสนอต่อที่ประชุม ตามที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเสนอให้ครม.พิจารณาเห็น ชอบเรื่องศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ครม.ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากรณีมีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยที่พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชนเพื่อประชาธิปไตย กับพวกเป็นผู้ร้องครม.จำนวน 35 ราย รวม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ มอบหมายให้กฤษฎีกาเป็นผู้รวบรวมข้อมูล พยาน หลักฐาน ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ ครม. 35 คนดังกล่าว ยกเว้น นายศักดิ์ดา คงเพชร รมช.ศึกษาฯ ที่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมครม.ในวันนั้น ลงชื่อมอบอำนาจให้กฤษฎีกาดำเนินการดังกล่าวแทน
** "ชุมพล"ผวาชทพ.โดนยุบ
แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ขอเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบให้ชัด ว่าหมายความว่าอย่างไร คำตัดสินเป็นอย่างไร จะมีผลไปถึงอะไรบ้าง จะถูกยุบพรรคอีกหรือไม่
ขณะที่เลขาฯกฤษฎีกา ปฏิเสธว่า ไม่ใช่ แต่หมายความว่า ถ้าคำตัดสินของศาลเป็นคุณ ตรงนี้ก็จะเป็นคุณด้วย แต่ถ้าเป็นโทษ อย่างหลังก็จะเป็นโทษด้วย เพียงแต่ 5 คำร้องนั้น เขาบอกว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่คำร้องของ พล.ต.จำลอง รวมกับพวก 6 คน เป็นการยื่นว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งถือว่าอยู่ในหมวดเดียวกัน
โดย กรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ก็เหมือนกัน ที่ยื่นยุบ 6 พรรค เพราะคาดว่า ถ้ายุบพรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา แต่กระบวนการที่จะไปยื่นถอดถอน หรือไปยื่น ว่าเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย มันไม่ใช่แค่ยกมือสนับสนุน แต่ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ ก็ไปตั้งคณะกรรมาธิการมาร่วมพิจารณาด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องไปด้วยกัน เกมนี้มันเป็นเกมดับเบิ้ลล็อก ถ้ายุบ 2 พรรคนี้ พรรคเพื่อไทย กับพรรคชาติไทยพัฒนา แล้วไม่ยุบอีก 4 พรรคตอกย้ำ ดังนั้นการที่นายเรืองไกร ยื่นอย่างนี้ จึงถือเป็นการยื่นเพื่อปรามว่า อย่ายุบนะ ประมาณว่า เกมมันทันกัน
**ตุลาการเริ่มเขียนคำวินิจฉัย
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เชื่อว่าการวินิจฉัยครั้งนี้ตุลาการฯ จะพิจารณาไปตามหลักของข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง และผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
ทั้งนี้ ในวันนี้ (11 ก.ค.) จะไม่มีการประชุมคณะตุลาการฯ ประจำสัปดาห์ เนื่องจากนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้สั่งให้สำนักงานไม่ต้องเสนอวาระประชุมขึ้นไป เพื่อให้ตุลาการฯทุกคน มีเวลาศึกษาและจัดทำคำวินิจฉัยส่วนตนในคดีนี้ให้แล้วเสร็จ โดยจะมีประชุมอีกครั้ง ในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. เพื่ออภิปรายแถลงด้วยวาจาและลงมติเลย
ด้านนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีตุลาการฯคนใด ถอนตัวจากการนั่งพิจารณาคดีนี้อย่างที่เกิดกระแสข่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า สำหรับประเด็นในการวินิจฉัยคดีที่ศาลกำหนดไว้ 4 ประเด็นคือ 1. อำนาจฟ้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง 2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่ และ 4. หากมีการกระทำดังกล่าวจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสามและวรรคท้ายหรือไม่ นั้น การพิจารณาของคณะตุลาการ จะพิจารณาเรียงลำดับตามประเด็นที่กำหนดไว้ และหากตุลาการฯวินิจฉัยแล้ว เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างที่มีการกล่าวอ้าง คณะตุลาการฯ จึงจะนำผลของการกระทำมาพิจารณาว่า มีเหตุให้สมควรยุบพรรคหรือไม่
** ตุลาการลงมติเช้า 13 ก.ค.
สำหรับการนัดฟังคำวินิจฉัยคดีในวันที่ 13 ก.ค. เวลา 14.00 น. นั้น ก่อนที่คณะตุลาการจะออกนั่งบัลลังก์ในเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลาประมาณ 09.30 น. คณะตุลาการจะมีการประชุมอภิปรายแถลงด้วยวาจาและลงมติ จากนั้นก็จะมีการยกร่างคำวินิจฉัยกลางที่จะนำมาใช้อ่านให้คู่กรณีฟัง ซึ่งกระบวนการประชุมอภิปรายจนถึงการลงมติ ตุลาการจะดำเนินการจนกว่าเสร็จ โดยจะไม่มีการออกจากประชุม หรือรับโทรศัพท์
ขณะเดียวกันก็จะมีการจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ ที่จะเข้าไปอำนวยความสะดวกภายในห้องประชุม และห้ามมีการนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปภายในห้อง บริเวณหน้าห้องประชุมจะมีเครื่องตรวจจับสัญญาณติดตั้งไว้คอยตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง เพื่อไม่ต้องการให้มีการรั่วไหลของคำวินิจฉัยออกไปก่อนที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัย
** ศาลรธน.เตรียมแผนรับมือม็อบ
วานนี้ ( 10 ก.ค.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และพ.ต.อ.พงษ์ สังข์มุรินทร์ ผู้กำกับการ สน.ทุ่งสองห้อง เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่โดยรอบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และได้มีการประชุมหารือร่วมกับ นายปัญญา อุดชาชน รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประเมินสถานการณ์ และเตรียมวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยโดยรอบศาลธรรมนูญ ในวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.นี้ ที่ศาลฯ นัดฟังคำวินิจฉัยในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวภายหลังการหารือว่า ได้มีการวางกำลังเพื่อป้องกัน หากมีมวลชนบุกรุกเข้ามายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยได้วางกำลังไว้ 3 กองร้อย เพื่อดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมแผนรับมือ เพื่อรักษาสิทธิ และอำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ ที่จะต้องเดินทางมาปฏิบัติงานในวันดังกล่าว รวมทั้งการวางกำลังไว้บริเวณรอบนอก มีจุดตรวจ และชุดลาดตระเวน รวมทั้งชุดสืบสวนหาข่าว โดยวางกำลังเจ้าหน้าที่ไว้ประจำทั้ง 5 จุด ที่เป็นจุดเข้า-ออกอาคาร ซึ่งจะตรวจ และคัดกรองบุคคลเข้าออกอย่างเข้มงวด
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 12 ก.ค. จะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน มาประจำที่ศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับซักซ้อมเหตุการณ์จำลอง เพื่อเตรียมรับมือในวันจริง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 กองร้อย จะพักค้างคืนที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 12 ก.ค.ด้วย
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวว่าการดูแลความสงบเรียบร้อยครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะใช้เพียงอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน ประกอบด้วย โล่ หมวก กันชน และ แก๊สน้ำตา จะไม่ใช้ความรุนแรงในการควบคุมฝูงชน
ส่วนมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวว่า ไม่ได้เพิ่มกำลัง หรือต้องจัดเจ้าหน้าที่ไปอารักขา เนื่องจากตุลาการมีเจ้ารักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว การเข้าออก ก็มีช่องทางพิเศษ แต่หากเกิดมีมวลชนปิดล้อมทางเจ้าหน้าที่ ก็พร้อมจะเคลียร์ช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้า-ออก
**ถกหน่วยข่าวหวั่นมือที่ 3 ป่วน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ ( 11 ก.ค.) ตนได้เรียกประชุมบูรณาการด้านการข่าวจาก 14 หน่วยงาน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ก่อนที่ศาลฯ จะมีคำตัดสินในวันที่ 13 ก.ค.นี้ รวมทั้งสั่งการเรื่องการดูแลความปลอดภัยภายในศาลฯ โดยให้เฝ้าระวังมือที่ 3 เข้ามาป่วนสถานการณ์ การเฝ้าระวังกลุ่มผู้สนับสนุน และกลุ่มคัดค้าน ไม่ให้เกิดการปะทะกัน พร้อมกันหากนี้ตุลาการ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปรักษาความปลอดภัย ก็พร้อมจะจัดให้ทันที แต่ขณะนี้ยังไม่มีใครขอกำลังเพิ่มเติม
วานนี้ (10 ก.ค.) นายวิรัตน์ กัลยาศิริ ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะผู้ร้องว่า ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ มาตรา 219 เข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ตามมาตรา 68 หรือไม่ เปิดเผยว่า หลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญ นัดให้คู่ความ ยื่นคำแถลงปิดคดี แบบลายลักษณ์อักษร ในวันที่ 11 ก.ค.นั้น
ล่าสุดผู้ร้องทั้ง 5 คน ประกอบด้วย พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม ผู้ร้องที่ 1 นายวันธงชัย ชำนาญกิจ ผู้ร้องที่ 2 ตน ในฐานะผู้ร้องที่ 3 นายวรินทร์ เทียมจรัส ผู้ร้องที่ 4 และ นายบวร ยสินทร ผู้ร้องที่ 5 ต่างจัดทำคำแถลงปิดคดี เสร็จสิ้นแล้ว โดยจัดทำแยกเป็น 5 ฉบับ และจะนำไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ วันที่ 11 ก.ค.
ทั้งนี้ส่วนตัวเห็นว่า การเคลื่อนไหวของผู้ถูกร้อง ที่พยายามกดดันศาลฯ ทุกวิถีทาง เป็นการสะท้อนให้เห็นว่า คำร้องที่ยื่นไปเข้าข่ายขัดรัฐธรรมนูญ แต่หากศาลฯยกคำร้อง ก็ถือว่าเป็นอันตรายต่อประเทศชาติ เนื่องจากอำนาจจะตกอยู่ในมือของประธานสภาผู้แทนราษฎร แต่เพียงผู้เดียว
นายถาวร เสนเนียม ส.ส.สงขลา ในฐานะคณะทำงานฝ่ายกฎหมาย ของพรรคประชาธิปัตย์ เปิดเผยว่า ในส่วนของคำแถลงปิดคดี นายวิรัตน์ มีการสรุปรวม 4 ประเด็น รวมถึงการนำถ้อยคำในส่วนของพยานฝ่ายผู้ถูกร้อง ที่ได้ยอมรับไว้ต่อศาลรัฐธรรมนูญ ในชั้นไต่สวนที่เจือสมกับคำให้การของพยาน โดยแยกเป็นบุคคลต่างๆ อาทิ ในส่วนของนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ที่ยอมรับว่า พรรคเพื่อไทยและมวลชนผู้สนับสนุนพรรค หรือ คนเสื้อแดง มีการดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาและนอกสภา ในลักษณะการเดินสองขา
ส่วนคำแถลงปิดคดีของ พล.อ.สมเจตน์ บุญถนอม จะเน้นข้อมูลข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่ มาตรา 291 ไม่ได้ให้อำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ และเน้นถึงพฤติกรรมการล้มล้างการปกครอง
** โภคินชี้ผลการตัดสินมี 4 แนวทาง
นายโภคิน พลกุล อดีตประธานรัฐสภา กล่าวว่า ส่วนตัวคิดว่าคำวินิจฉัยของศาลฯ น่าจะออกมาใน 4 แนวทาง คือ 1.ขัดมาตรา 68 และนำไปสู่การยุบพรรค 2. ขัดมาตรา 68 แต่ไม่นำไปสู่การยุบพรรค 3. ข้อเท็จจริงขณะนี้ ยังไม่ขัดมาตรา 68 เพราะยังไม่มีการตั้งส.ส.ร. และ 4. การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เข้าข่ายมาตรา 68 ให้ยกคำร้อง ซึ่งเป็นแนวทางที่ถูกต้องที่สุด แต่บอกไม่ได้ว่าศาลฯ จะวินิจฉัยออกมาในแนวทางใด
**ขู่ศาลวินิจฉัยเป็นลบ แดงเคลื่อนแน่
นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ รมช.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เลวร้ายที่สุดก็คงเป็นลักษณะที่ศาลจะชี้ว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญผิดกฎหมายในทุกกรณี ก็อาจจะเลยเถิดไปถึงวิกฤตทางการเมืองต่อไป ถ้าคำวินิจฉัยเป็นไปในทางลบ แกนนำก็จะมีการหารือกันทันที ก่อนจะประกาศมาตรการเคลื่อนไหว
**ห่วงคำร้อง"จำลอง" เล่นงานครม.
นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมครม.ว่า ที่ประชุม มีมติมอบหมายให้ตน และนายอัชพร จารุจินดา เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา ไปสรุปข้อมูลแถลงปิดคดี
แหล่งข่าวจากครม. เปิดเผยว่า ในการประชุมครม. นายอำพล กิตติอำพล เลขาธิการครม. ได้เสนอต่อที่ประชุม ตามที่นายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ขอเสนอให้ครม.พิจารณาเห็น ชอบเรื่องศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ครม.ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหากรณีมีคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 โดยที่พล.ต.จำลอง ศรีเมือง แกนนำกลุ่มพันธมิตรประชนเพื่อประชาธิปไตย กับพวกเป็นผู้ร้องครม.จำนวน 35 ราย รวม น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
ทั้งนี้ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบ มอบหมายให้กฤษฎีกาเป็นผู้รวบรวมข้อมูล พยาน หลักฐาน ชี้แจงต่อศาลรัฐธรรมนูญ และให้ ครม. 35 คนดังกล่าว ยกเว้น นายศักดิ์ดา คงเพชร รมช.ศึกษาฯ ที่ไม่ได้อยู่ในที่ประชุมครม.ในวันนั้น ลงชื่อมอบอำนาจให้กฤษฎีกาดำเนินการดังกล่าวแทน
** "ชุมพล"ผวาชทพ.โดนยุบ
แหล่งข่าวเปิดเผยด้วยว่า นายชุมพล ศิลปอาชา รมว.ท่องเที่ยวและกีฬา ในฐานะหัวหน้าพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ขอเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาตอบให้ชัด ว่าหมายความว่าอย่างไร คำตัดสินเป็นอย่างไร จะมีผลไปถึงอะไรบ้าง จะถูกยุบพรรคอีกหรือไม่
ขณะที่เลขาฯกฤษฎีกา ปฏิเสธว่า ไม่ใช่ แต่หมายความว่า ถ้าคำตัดสินของศาลเป็นคุณ ตรงนี้ก็จะเป็นคุณด้วย แต่ถ้าเป็นโทษ อย่างหลังก็จะเป็นโทษด้วย เพียงแต่ 5 คำร้องนั้น เขาบอกว่า เป็นการกระทำที่ขัดต่อการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย แต่คำร้องของ พล.ต.จำลอง รวมกับพวก 6 คน เป็นการยื่นว่า ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งถือว่าอยู่ในหมวดเดียวกัน
โดย กรณีของนายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีต ส.ว.สรรหา ก็เหมือนกัน ที่ยื่นยุบ 6 พรรค เพราะคาดว่า ถ้ายุบพรรคเพื่อไทย และพรรคชาติไทยพัฒนา แต่กระบวนการที่จะไปยื่นถอดถอน หรือไปยื่น ว่าเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตย มันไม่ใช่แค่ยกมือสนับสนุน แต่ที่ผ่านมาพรรคประชาธิปัตย์ และพรรคอื่นๆ ก็ไปตั้งคณะกรรมาธิการมาร่วมพิจารณาด้วย เพราะฉะนั้นก็ต้องไปด้วยกัน เกมนี้มันเป็นเกมดับเบิ้ลล็อก ถ้ายุบ 2 พรรคนี้ พรรคเพื่อไทย กับพรรคชาติไทยพัฒนา แล้วไม่ยุบอีก 4 พรรคตอกย้ำ ดังนั้นการที่นายเรืองไกร ยื่นอย่างนี้ จึงถือเป็นการยื่นเพื่อปรามว่า อย่ายุบนะ ประมาณว่า เกมมันทันกัน
**ตุลาการเริ่มเขียนคำวินิจฉัย
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เชื่อว่าการวินิจฉัยครั้งนี้ตุลาการฯ จะพิจารณาไปตามหลักของข้อกฎหมาย ข้อเท็จจริง และผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นหลัก
ทั้งนี้ ในวันนี้ (11 ก.ค.) จะไม่มีการประชุมคณะตุลาการฯ ประจำสัปดาห์ เนื่องจากนายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้สั่งให้สำนักงานไม่ต้องเสนอวาระประชุมขึ้นไป เพื่อให้ตุลาการฯทุกคน มีเวลาศึกษาและจัดทำคำวินิจฉัยส่วนตนในคดีนี้ให้แล้วเสร็จ โดยจะมีประชุมอีกครั้ง ในช่วงเช้าวันศุกร์ที่ 13 ก.ค. เพื่ออภิปรายแถลงด้วยวาจาและลงมติเลย
ด้านนายสมฤทธิ์ ไชยวงศ์ โฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า เวลานี้ยังไม่มีตุลาการฯคนใด ถอนตัวจากการนั่งพิจารณาคดีนี้อย่างที่เกิดกระแสข่าว
ขณะที่แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวว่า สำหรับประเด็นในการวินิจฉัยคดีที่ศาลกำหนดไว้ 4 ประเด็นคือ 1. อำนาจฟ้องตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสอง 2. การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามมาตรา 291 สามารถแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เป็นการยกเลิกรัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ 3. การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เป็นการได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคหนึ่งหรือไม่ และ 4. หากมีการกระทำดังกล่าวจะเป็นเหตุให้มีการยุบพรรค และตัดสิทธิทางการเมืองกรรมการบริหารพรรคตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 วรรคสามและวรรคท้ายหรือไม่ นั้น การพิจารณาของคณะตุลาการ จะพิจารณาเรียงลำดับตามประเด็นที่กำหนดไว้ และหากตุลาการฯวินิจฉัยแล้ว เห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าว ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 อย่างที่มีการกล่าวอ้าง คณะตุลาการฯ จึงจะนำผลของการกระทำมาพิจารณาว่า มีเหตุให้สมควรยุบพรรคหรือไม่
** ตุลาการลงมติเช้า 13 ก.ค.
สำหรับการนัดฟังคำวินิจฉัยคดีในวันที่ 13 ก.ค. เวลา 14.00 น. นั้น ก่อนที่คณะตุลาการจะออกนั่งบัลลังก์ในเวลาดังกล่าว ตั้งแต่ช่วงเช้าเวลาประมาณ 09.30 น. คณะตุลาการจะมีการประชุมอภิปรายแถลงด้วยวาจาและลงมติ จากนั้นก็จะมีการยกร่างคำวินิจฉัยกลางที่จะนำมาใช้อ่านให้คู่กรณีฟัง ซึ่งกระบวนการประชุมอภิปรายจนถึงการลงมติ ตุลาการจะดำเนินการจนกว่าเสร็จ โดยจะไม่มีการออกจากประชุม หรือรับโทรศัพท์
ขณะเดียวกันก็จะมีการจำกัดจำนวนเจ้าหน้าที่ ที่จะเข้าไปอำนวยความสะดวกภายในห้องประชุม และห้ามมีการนำเครื่องมือสื่อสารทุกชนิดเข้าไปภายในห้อง บริเวณหน้าห้องประชุมจะมีเครื่องตรวจจับสัญญาณติดตั้งไว้คอยตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง เพื่อไม่ต้องการให้มีการรั่วไหลของคำวินิจฉัยออกไปก่อนที่จะมีการอ่านคำวินิจฉัย
** ศาลรธน.เตรียมแผนรับมือม็อบ
วานนี้ ( 10 ก.ค.) ที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ พล.ต.ต.ปริญญา จันทร์สุริยา รองผู้บัญชาการตำรวจนครบาล และพ.ต.อ.พงษ์ สังข์มุรินทร์ ผู้กำกับการ สน.ทุ่งสองห้อง เดินทางไปตรวจสอบพื้นที่โดยรอบสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ และได้มีการประชุมหารือร่วมกับ นายปัญญา อุดชาชน รองเลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อประเมินสถานการณ์ และเตรียมวางกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจรักษาความปลอดภัยโดยรอบศาลธรรมนูญ ในวันศุกร์ที่ 13 ก.ค.นี้ ที่ศาลฯ นัดฟังคำวินิจฉัยในคดีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 เป็นการล้มล้างการปกครองตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 หรือไม่
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวภายหลังการหารือว่า ได้มีการวางกำลังเพื่อป้องกัน หากมีมวลชนบุกรุกเข้ามายังสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โดยได้วางกำลังไว้ 3 กองร้อย เพื่อดูแลความปลอดภัย นอกจากนี้ ได้มีการเตรียมแผนรับมือ เพื่อรักษาสิทธิ และอำนวยความสะดวกให้กับข้าราชการ ที่จะต้องเดินทางมาปฏิบัติงานในวันดังกล่าว รวมทั้งการวางกำลังไว้บริเวณรอบนอก มีจุดตรวจ และชุดลาดตระเวน รวมทั้งชุดสืบสวนหาข่าว โดยวางกำลังเจ้าหน้าที่ไว้ประจำทั้ง 5 จุด ที่เป็นจุดเข้า-ออกอาคาร ซึ่งจะตรวจ และคัดกรองบุคคลเข้าออกอย่างเข้มงวด
อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 12 ก.ค. จะส่งเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดควบคุมฝูงชน มาประจำที่ศาลรัฐธรรมนูญ พร้อมกับซักซ้อมเหตุการณ์จำลอง เพื่อเตรียมรับมือในวันจริง โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจทั้ง 3 กองร้อย จะพักค้างคืนที่สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ในวันที่ 12 ก.ค.ด้วย
พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวว่าการดูแลความสงบเรียบร้อยครั้งนี้ เจ้าหน้าที่ตำรวจ จะใช้เพียงอุปกรณ์ควบคุมฝูงชน ประกอบด้วย โล่ หมวก กันชน และ แก๊สน้ำตา จะไม่ใช้ความรุนแรงในการควบคุมฝูงชน
ส่วนมาตรการดูแลรักษาความปลอดภัยขององค์คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ พล.ต.ต.ปริญญา กล่าวว่า ไม่ได้เพิ่มกำลัง หรือต้องจัดเจ้าหน้าที่ไปอารักขา เนื่องจากตุลาการมีเจ้ารักษาความปลอดภัยอยู่แล้ว การเข้าออก ก็มีช่องทางพิเศษ แต่หากเกิดมีมวลชนปิดล้อมทางเจ้าหน้าที่ ก็พร้อมจะเคลียร์ช่องทาง เพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้า-ออก
**ถกหน่วยข่าวหวั่นมือที่ 3 ป่วน
พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วานนี้ ( 11 ก.ค.) ตนได้เรียกประชุมบูรณาการด้านการข่าวจาก 14 หน่วยงาน เพื่อประเมินสถานการณ์ทางการเมือง ก่อนที่ศาลฯ จะมีคำตัดสินในวันที่ 13 ก.ค.นี้ รวมทั้งสั่งการเรื่องการดูแลความปลอดภัยภายในศาลฯ โดยให้เฝ้าระวังมือที่ 3 เข้ามาป่วนสถานการณ์ การเฝ้าระวังกลุ่มผู้สนับสนุน และกลุ่มคัดค้าน ไม่ให้เกิดการปะทะกัน พร้อมกันหากนี้ตุลาการ ต้องการให้เจ้าหน้าที่ไปรักษาความปลอดภัย ก็พร้อมจะจัดให้ทันที แต่ขณะนี้ยังไม่มีใครขอกำลังเพิ่มเติม