ณ บ้านพระอาทิตย์
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เห็นนักการเมืองคนไทยถึงกับให้สัมภาษณ์ว่ากรณีที่องค์การการบินอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซ่าจะเข้ามาในประเทศไทยนั้นจะเป็นการทำให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วมได้ ดังนั้นหากใครขวางโครงการนี้ก็จะต้องออกมารับผิดชอบ
ทันทีที่มีข่าวนี้ก็ทำให้ต้องไปดูงานภัยพิบัติก็ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า สหรัฐอเมริกา ขณะที่เขียนบทความนี้มลรัฐโคโรลาโดกำลังเผชิญหน้ากับไฟป่าที่ลุกลามอย่างหนัก อีกทั้งมลรัฐฟลอริดาก็กำลังเผชิญหน้ากับอุทกภัยที่มีพายุเข้าอย่างหนัก
ที่สหรัฐอเมริกาไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดน้ำท่วม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์จริงที่ลุกลามแล้วแล้วจึงค่อยประกาศเตือนภัยให้กับประชาชนทราบ
พ.ศ. 2554 สหรัฐอเมริกาเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่รวมทั้งสิ้น 99 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าที่มี 81 ครั้ง มีการประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติ 29 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 9 ครั้ง และประกาศการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือเพลิงไหม้ป่าอีก 114 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากว่าปีก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 18 ครั้ง หลักฐานเหล่านี้ก็น่าจะเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าถ้าสหรัฐอเมริกามีความสามารถทางเทคโนโลยีที่พยากรณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ หรือสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้จริง เหตุใดภัยพิบัติเหล่านี้สหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้
และคนที่มักจะบอกว่านาซ่าไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่สามารถจะสรุปได้ว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการสำรวจขององค์การนาซ่านั้นจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทางการทหารและทางด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา
โดยเฉพาะการสำรวจเกี่ยวกับ “เมฆ”และ “ชั้นบรรยากาศ”
เพราะถ้าหากสหรัฐอเมริกามีเป้าประสงค์ที่จะต้องการสำรวจเรื่องเมฆและบรรายกาศเพื่อการพยากรณ์คาดการณ์ภูมิอากาศจริง เหตุใดจึงไม่ใช้องค์กรที่มีภารกิจและความเชี่ยวชาญโดยตรงซึ่งก็คือ NOAA หรือที่เรียกว่า National Oceanic and Atmospheric Administration
NOAA เป็นองค์กรที่ทำงานไม่ใช่เพียงแค่พยากรณ์อากาศน้ำท่วมหรือฝนตก หิมะตกเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงการสำรวจวิจัยทะเลด้วยทั้งชายฝั่งและใต้ท้องทะเลรวมไปถึงสมุทรศาสตร์ทั่วไป และยังทำงานไขปัญหาน้ำท่วมร่วมกับองค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา และกรมวิศวกรรมแห่งกองทัพบก
แต่การที่สหรัฐอเมริกาส่งองค์การน่าซ่ามานั้น น่าจะต้องการใช้ผลการสำรวจนี้ในหลายด้านพร้อมๆกัน
ทั้งนี้องค์การนาซ่ามีส่วนสำคัญทางการทหารของสหรัฐอเมริกาอย่างมากมาย หนึ่งในตัวอย่างที่สำคัญก็คือความร่วมมือระหว่างทหารบก ทหารเรือ องค์การนาซ่า และกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาในนาม JANNAF (Joint Army Navy NASA Air Force) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า ต้องการที่จะเป็นผู้นำของโลกในด้านการใช้พลังงานขับเคลื่อนในชั้นบรรยากาศและในอวกาศโดยตอบสนองความต้องการพลังงานการขับเคลื่อนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์การนาซ่าทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกาได้อย่างแน่นอน
แม้แต่เรื่องที่คนไทยเห็นว่าไม่เห็นเป็นประเด็นในทางการทหาร ทั้งๆที่ความจริงการสำรวจเมฆนั้นเป็นเรื่องทางการทหารได้เช่นเดียวกัน
9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สำนักข่าวเอพี ได้เคยรายงานจากแองคอร์เรจ มลรัฐอลาสก้า ว่า นายริค เลห์เนอร์ โฆษกสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การทดสอบการยิงสกัดที่จะยิงขีปานาวุธจากเกาะ โคกเดียก มลรัฐอลาสก้า ต้องชะลอไปและไม่สามารถทดสอบได้ โดยเหตุผลเพียงเพราะว่า....
“มีเมฆหนา”
โครงการป้องกันขีปนาวุธนั้นได้มีการเตรียมทดสอบด้วยงบประมาณ 85 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,550 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีด้วยขีปนาวุธจากเกาหลีเหลือหรือที่อื่นในเอเชียตะวันออก แต่มาติดปัญหาเพียงเพราะมีเมฆมาก เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เมฆและชั้นบรรยากาศก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางการทหาร
แค่คิดตามจากข่าวข้างต้นนี้ก็ทำให้เห็นว่าหากกองกำลังเรือของสหรัฐอเมริกาที่จะเพิ่มการประจำการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นี้เพิ่มขึ้นจาก 50% ให้กลายเป็น 60% ในปี พ.ศ.2568 ย่อมเข้าทำการศึกษาเมฆและชั้นบรรยากาศโดยทันที เพื่อความมั่นคงของกองกำลังเรือของสหรัฐอเมริกา
ไม่ต้องพูดถึงโครงการ High Frequency Active Auroral Research Program หรือที่เรียกว่า โครงการ H.A.A.RP ซึ่งเป็นโครงการที่ทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศ กองทัพเรือ สำนักงานความก้าวหน้ากระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยอลาสก้า ที่มีการใช้คลื่นความถี่วิทยุ 3.6 ล้านวัตต์ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศและสามารถสะท้อนกลับมาได้บนพื้นดิน ที่สร้างความหวาดระแวงให้กับรัฐบาลและรัฐสภาหลายประเทศโดยปรากฏเป็นหลักฐานแล้ว ได้แก่ เวเนซูเอล่า, รัสเซีย, สมาชิกสภาสหภาพยุโรป ฯลฯ ว่าสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศได้ รวมถึงแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งลักษณะโครงการนี้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้จะถูกจับตาในการสำรวจชั้นบรรยากาศขององค์การนาซ่าในประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 นายดิมิตตาร์ อูโซโนฟ และทีมงานซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์การบินอวกาศ NASA Goodard ได้ตีพิมพ์บทความเผยแพร่รายงานทางวิชาการทางด้านเทคโลยีของสถาบันเทคโนโลยีแมตซาชูเซ็ทส์ (MIT) ระบุว่าการสร้างความร้อนในชั้นบรรยากาศในชั้นไอโอโนสเฟียร์นั้นทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ อีกทั้งยังได้ระบุอีกด้วยว่าพบความแปลกประหลาดในชั้นบรรยากาศก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น พร้อมทั้งชี้แนะและตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากโครงการ H.A.A.R.F
หลายคนอาจจะมีความเห็นว่าเรื่อง H.A.A.R.P นั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ และจินตนาการ แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องที่จะไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ แต่ความสำคัญก็คือมีรัฐบาลและรัฐสภาหลายประเทศมีความหวาดวิตกโครงการนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญมากกว่า
และประการสำคัญเทคโนโลยีขององค์การนาซ่ายังถูกเชื่อมโยงกับการแสวงหาพลังงานของกลุ่มทุนในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่องค์การนาซ่าเข้ามาสำรวจนั้น เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าที่จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นี้
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2554 นายทรงภพ พลจันทร์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า “รัฐเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เน้นพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงถึง 5-10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณในอ่าวไทย ชั้นความหนา 1-2 กิโลเมตร และมีโครงสร้างที่ใหญ่มาก กินพื้นที่มากว่า 1 แสนตารางกิโลเมตร ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือผลิตก๊าซเอ็นจีวีป้อนได้ทั้งอีสานและคาดว่าใหญ่กว่าซาอุดีอาระเบีย”
ทุกวันนี้กลุ่มบริษัทเชฟรอน ของสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยคิดปริมาณปิโตรเลียมคิดเทียบเท่าน้ำมันดิบ ประมาณ 1,255 ล้านบาเรล ถือเป็นผู้ที่ได้สัมปทานอันดับ 1 ในประเทศ และมีสัดส่วนถึง 50.7%
ดังนั้นเชฟรอนเมื่อได้แหล่งพลังงานจากประเทศไทยในราคาค่าสัมปทานที่แสนถูก ครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง แถมยังจะมีสัมปทานราคาค่าภาคหลวงต่ำๆอีกกำลังจะเริ่มเปิดสัมปทานครั้งที่ 21 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นี้ แต่เมื่อภาคประชาชนเริ่มตื่นรู้การเสียผลประโยชน์ทางพลังงานของชาติไทยเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนกองกำลังเรือเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อดูแลคุ้มครองผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ห้องปฏิบัติการการขับเคลื่อนก๊าซหรือของเหลวที่พ่อออกมาด้วยความเร็วขององค์การนาซ่า ที่เรียกว่า The NASA Jet Propulsion Laboratory ได้ประกาศเป็นหุ้นส่วนกับเชฟรอน ในอันที่จะพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำหรับสิ่งแวดล้อมที่หยาบกระด้าง รวมทั้งในอวกาศและบนบก เช่น ระบบปั้ม, วาล์ว, การบริหารจัดการ, ระบบตรวจสอบบ่อลึก โดยเชฟรอนระบุว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องการที่จะค้นหาน้ำมันและก๊าซทั้งบนโลกและอวกาศได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินสำรวจ ER2 นั้น ที่จะเข้ามาสำรวจในประเทศไทยโดยองค์การนาซ่านั้น มีประวัติหลายด้านทั้งการสำรวจชั้นบรรยากาศ การทำงานร่วมกับดาวเทียมในการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และการดัดแปลงอุปกรณ์เพื่อจารกรรมข้อมูลทางการทหาร
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดแต่การเดินหน้าโครงการนี้โดยไม่เปิดเผยข้อตกลงให้ประชาชนและสาธารณชนได้รับทราบ สังคม ประชาชน และสื่อมวลชน ย่อมมีสิทธิ์สงสัย ทั่วโลกย่อมมีสิทธิ์หวาดระแวง ดังนั้นการปกปิดข้อมูลในเรื่องนี้โดยอ้างลอยๆว่าไม่ใช่ภารกิจด้านการทหารแต่เป็นการดำเนินการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งๆที่ผู้มาเจรจาเป็นทหารนั้น ย่อมเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจได้เลย
ดังนั้นการที่องค์การนาซ่ายกเลิกภารกิจที่สนามบินอู่ตะเภา โดยอ้างว่าประสานงานยุ่งยากนั้น ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทยแล้ว เพราะจะมาทำสิ่งใดโดยที่ไม่เปิดเผยข้อตกลงให้คนไทยได้ทราบทั้งๆที่มีพฤติกรรมที่หลายประเทศหวาดระแวง ก็ไม่ควรมาทำภารกิจลับๆล่อๆในแผ่นดินไทย หรือทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสมรภูมิแห่งความขัดแย้งของมหาอำนาจโดยไม่จำเป็น
หลังจากที่องค์การนาซ่าได้ยุติบทบาทตัวเองแล้ว สิ่งที่ประชาชนควรจะต้องเฝ้าระวังต่อไปก็คือภารกิจในการตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและมนุษยธรรมของสหรัฐอเมริกา และการเข้าสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ทั้งบนบกและอ่าวไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้เป็นต้นไป
ต้องเฝ้าระวังชนิด “ห้ามกระพริบตา”โดยเด็ดขาด!!!
โดย : ปานเทพ พัวพงษ์พันธ์
เห็นนักการเมืองคนไทยถึงกับให้สัมภาษณ์ว่ากรณีที่องค์การการบินอวกาศแห่งชาติ หรือองค์การนาซ่าจะเข้ามาในประเทศไทยนั้นจะเป็นการทำให้ประเทศไทยสามารถรอดพ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วมได้ ดังนั้นหากใครขวางโครงการนี้ก็จะต้องออกมารับผิดชอบ
ทันทีที่มีข่าวนี้ก็ทำให้ต้องไปดูงานภัยพิบัติก็ยิ่งทำให้เห็นชัดว่า สหรัฐอเมริกา ขณะที่เขียนบทความนี้มลรัฐโคโรลาโดกำลังเผชิญหน้ากับไฟป่าที่ลุกลามอย่างหนัก อีกทั้งมลรัฐฟลอริดาก็กำลังเผชิญหน้ากับอุทกภัยที่มีพายุเข้าอย่างหนัก
ที่สหรัฐอเมริกาไม่มีใครรู้ล่วงหน้าว่าจะเกิดน้ำท่วม แต่เมื่อเกิดสถานการณ์จริงที่ลุกลามแล้วแล้วจึงค่อยประกาศเตือนภัยให้กับประชาชนทราบ
พ.ศ. 2554 สหรัฐอเมริกาเกิดภัยพิบัติครั้งใหญ่รวมทั้งสิ้น 99 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าที่มี 81 ครั้ง มีการประกาศภาวะฉุกเฉินจากภัยพิบัติ 29 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากกว่าปีก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 9 ครั้ง และประกาศการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือเพลิงไหม้ป่าอีก 114 ครั้ง เพิ่มขึ้นมากว่าปีก่อนหน้าซึ่งมีเพียง 18 ครั้ง หลักฐานเหล่านี้ก็น่าจะเพียงพอที่แสดงให้เห็นว่าถ้าสหรัฐอเมริกามีความสามารถทางเทคโนโลยีที่พยากรณ์ภัยพิบัติทางธรรมชาติได้อย่างแม่นยำ หรือสามารถรับมือกับภัยพิบัติได้จริง เหตุใดภัยพิบัติเหล่านี้สหรัฐอเมริกาก็ไม่สามารถจะรู้ล่วงหน้าได้
และคนที่มักจะบอกว่านาซ่าไม่เกี่ยวข้องกับการทหาร แต่ในความเป็นจริงแล้วก็ไม่สามารถจะสรุปได้ว่าข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ได้จากการสำรวจขององค์การนาซ่านั้นจะไม่ได้ถูกนำมาใช้ในทางการทหารและทางด้านพลังงานของสหรัฐอเมริกา
โดยเฉพาะการสำรวจเกี่ยวกับ “เมฆ”และ “ชั้นบรรยากาศ”
เพราะถ้าหากสหรัฐอเมริกามีเป้าประสงค์ที่จะต้องการสำรวจเรื่องเมฆและบรรายกาศเพื่อการพยากรณ์คาดการณ์ภูมิอากาศจริง เหตุใดจึงไม่ใช้องค์กรที่มีภารกิจและความเชี่ยวชาญโดยตรงซึ่งก็คือ NOAA หรือที่เรียกว่า National Oceanic and Atmospheric Administration
NOAA เป็นองค์กรที่ทำงานไม่ใช่เพียงแค่พยากรณ์อากาศน้ำท่วมหรือฝนตก หิมะตกเท่านั้น แต่ครอบคลุมไปถึงการสำรวจวิจัยทะเลด้วยทั้งชายฝั่งและใต้ท้องทะเลรวมไปถึงสมุทรศาสตร์ทั่วไป และยังทำงานไขปัญหาน้ำท่วมร่วมกับองค์กรสำรวจทางธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา และกรมวิศวกรรมแห่งกองทัพบก
แต่การที่สหรัฐอเมริกาส่งองค์การน่าซ่ามานั้น น่าจะต้องการใช้ผลการสำรวจนี้ในหลายด้านพร้อมๆกัน
ทั้งนี้องค์การนาซ่ามีส่วนสำคัญทางการทหารของสหรัฐอเมริกาอย่างมากมาย หนึ่งในตัวอย่างที่สำคัญก็คือความร่วมมือระหว่างทหารบก ทหารเรือ องค์การนาซ่า และกองทัพอากาศของสหรัฐอเมริกาในนาม JANNAF (Joint Army Navy NASA Air Force) ซึ่งมีวิสัยทัศน์ที่ประกาศอย่างชัดเจนว่า ต้องการที่จะเป็นผู้นำของโลกในด้านการใช้พลังงานขับเคลื่อนในชั้นบรรยากาศและในอวกาศโดยตอบสนองความต้องการพลังงานการขับเคลื่อนทั้งในปัจจุบันและในอนาคต
ซึ่งย่อมแสดงให้เห็นว่าองค์การนาซ่าทำงานร่วมกับกองทัพสหรัฐอเมริกาได้อย่างแน่นอน
แม้แต่เรื่องที่คนไทยเห็นว่าไม่เห็นเป็นประเด็นในทางการทหาร ทั้งๆที่ความจริงการสำรวจเมฆนั้นเป็นเรื่องทางการทหารได้เช่นเดียวกัน
9 ธันวาคม พ.ศ. 2547 สำนักข่าวเอพี ได้เคยรายงานจากแองคอร์เรจ มลรัฐอลาสก้า ว่า นายริค เลห์เนอร์ โฆษกสำนักงานป้องกันขีปนาวุธ ได้ให้สัมภาษณ์ว่า การทดสอบการยิงสกัดที่จะยิงขีปานาวุธจากเกาะ โคกเดียก มลรัฐอลาสก้า ต้องชะลอไปและไม่สามารถทดสอบได้ โดยเหตุผลเพียงเพราะว่า....
“มีเมฆหนา”
โครงการป้องกันขีปนาวุธนั้นได้มีการเตรียมทดสอบด้วยงบประมาณ 85 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,550 ล้านบาท โดยเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อป้องกันการโจมตีด้วยขีปนาวุธจากเกาหลีเหลือหรือที่อื่นในเอเชียตะวันออก แต่มาติดปัญหาเพียงเพราะมีเมฆมาก เพียงเท่านี้ก็แสดงให้เห็นว่าแม้แต่เมฆและชั้นบรรยากาศก็มีความสำคัญอย่างยิ่งในทางการทหาร
แค่คิดตามจากข่าวข้างต้นนี้ก็ทำให้เห็นว่าหากกองกำลังเรือของสหรัฐอเมริกาที่จะเพิ่มการประจำการในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก นี้เพิ่มขึ้นจาก 50% ให้กลายเป็น 60% ในปี พ.ศ.2568 ย่อมเข้าทำการศึกษาเมฆและชั้นบรรยากาศโดยทันที เพื่อความมั่นคงของกองกำลังเรือของสหรัฐอเมริกา
ไม่ต้องพูดถึงโครงการ High Frequency Active Auroral Research Program หรือที่เรียกว่า โครงการ H.A.A.RP ซึ่งเป็นโครงการที่ทำงานร่วมกันระหว่างกองทัพอากาศ กองทัพเรือ สำนักงานความก้าวหน้ากระทรวงกลาโหม และมหาวิทยาลัยอลาสก้า ที่มีการใช้คลื่นความถี่วิทยุ 3.6 ล้านวัตต์ขึ้นไปในชั้นบรรยากาศและสามารถสะท้อนกลับมาได้บนพื้นดิน ที่สร้างความหวาดระแวงให้กับรัฐบาลและรัฐสภาหลายประเทศโดยปรากฏเป็นหลักฐานแล้ว ได้แก่ เวเนซูเอล่า, รัสเซีย, สมาชิกสภาสหภาพยุโรป ฯลฯ ว่าสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอากาศได้ รวมถึงแผ่นดินไหวและสึนามิ ซึ่งลักษณะโครงการนี้ย่อมหลีกเลี่ยงไม่ได้จะถูกจับตาในการสำรวจชั้นบรรยากาศขององค์การนาซ่าในประเทศไทย
โดยเมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2554 นายดิมิตตาร์ อูโซโนฟ และทีมงานซึ่งทำงานอยู่ที่ศูนย์การบินอวกาศ NASA Goodard ได้ตีพิมพ์บทความเผยแพร่รายงานทางวิชาการทางด้านเทคโลยีของสถาบันเทคโนโลยีแมตซาชูเซ็ทส์ (MIT) ระบุว่าการสร้างความร้อนในชั้นบรรยากาศในชั้นไอโอโนสเฟียร์นั้นทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้ อีกทั้งยังได้ระบุอีกด้วยว่าพบความแปลกประหลาดในชั้นบรรยากาศก่อนเกิดเหตุแผ่นดินไหวที่ญี่ปุ่น พร้อมทั้งชี้แนะและตั้งข้อสังเกตว่าน่าจะเกิดจากโครงการ H.A.A.R.F
หลายคนอาจจะมีความเห็นว่าเรื่อง H.A.A.R.P นั้นเป็นเรื่องเพ้อเจ้อ และจินตนาการ แต่ในความจริงแล้วไม่ใช่เรื่องที่จะไปพิสูจน์ว่าจริงหรือไม่ แต่ความสำคัญก็คือมีรัฐบาลและรัฐสภาหลายประเทศมีความหวาดวิตกโครงการนี้น่าจะเป็นประเด็นสำคัญมากกว่า
และประการสำคัญเทคโนโลยีขององค์การนาซ่ายังถูกเชื่อมโยงกับการแสวงหาพลังงานของกลุ่มทุนในสหรัฐอเมริกาอีกด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงเวลาที่องค์การนาซ่าเข้ามาสำรวจนั้น เป็นช่วงเวลาที่รัฐบาลกำลังเดินหน้าที่จะเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นี้
วันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2554 นายทรงภพ พลจันทร์ ในขณะที่ดำรงตำแหน่งรักษาการอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ได้เคยให้สัมภาษณ์ว่า “รัฐเตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 เน้นพื้นที่ภาคอีสาน ซึ่งมีปริมาณก๊าซธรรมชาติสูงถึง 5-10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต คิดเป็น 1 ใน 3 ของปริมาณในอ่าวไทย ชั้นความหนา 1-2 กิโลเมตร และมีโครงสร้างที่ใหญ่มาก กินพื้นที่มากว่า 1 แสนตารางกิโลเมตร ยันศักยภาพรองรับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ หรือผลิตก๊าซเอ็นจีวีป้อนได้ทั้งอีสานและคาดว่าใหญ่กว่าซาอุดีอาระเบีย”
ทุกวันนี้กลุ่มบริษัทเชฟรอน ของสหรัฐอเมริกามีส่วนแบ่งปริมาณปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วในการสัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยโดยคิดปริมาณปิโตรเลียมคิดเทียบเท่าน้ำมันดิบ ประมาณ 1,255 ล้านบาเรล ถือเป็นผู้ที่ได้สัมปทานอันดับ 1 ในประเทศ และมีสัดส่วนถึง 50.7%
ดังนั้นเชฟรอนเมื่อได้แหล่งพลังงานจากประเทศไทยในราคาค่าสัมปทานที่แสนถูก ครองตลาดเป็นอันดับหนึ่ง แถมยังจะมีสัมปทานราคาค่าภาคหลวงต่ำๆอีกกำลังจะเริ่มเปิดสัมปทานครั้งที่ 21 ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2555 นี้ แต่เมื่อภาคประชาชนเริ่มตื่นรู้การเสียผลประโยชน์ทางพลังงานของชาติไทยเพิ่มมากขึ้น การเคลื่อนกองกำลังเรือเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิกของสหรัฐอเมริกาจึงกลายเป็นปฏิกิริยาตอบสนองเพื่อดูแลคุ้มครองผลประโยชน์ของสหรัฐอเมริกาเอง
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2554 ห้องปฏิบัติการการขับเคลื่อนก๊าซหรือของเหลวที่พ่อออกมาด้วยความเร็วขององค์การนาซ่า ที่เรียกว่า The NASA Jet Propulsion Laboratory ได้ประกาศเป็นหุ้นส่วนกับเชฟรอน ในอันที่จะพัฒนาความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสำหรับสิ่งแวดล้อมที่หยาบกระด้าง รวมทั้งในอวกาศและบนบก เช่น ระบบปั้ม, วาล์ว, การบริหารจัดการ, ระบบตรวจสอบบ่อลึก โดยเชฟรอนระบุว่าเทคโนโลยีเหล่านี้ต้องการที่จะค้นหาน้ำมันและก๊าซทั้งบนโลกและอวกาศได้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องบินสำรวจ ER2 นั้น ที่จะเข้ามาสำรวจในประเทศไทยโดยองค์การนาซ่านั้น มีประวัติหลายด้านทั้งการสำรวจชั้นบรรยากาศ การทำงานร่วมกับดาวเทียมในการสำรวจน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ และการดัดแปลงอุปกรณ์เพื่อจารกรรมข้อมูลทางการทหาร
ไม่ว่าจะเป็นด้วยเหตุผลใดแต่การเดินหน้าโครงการนี้โดยไม่เปิดเผยข้อตกลงให้ประชาชนและสาธารณชนได้รับทราบ สังคม ประชาชน และสื่อมวลชน ย่อมมีสิทธิ์สงสัย ทั่วโลกย่อมมีสิทธิ์หวาดระแวง ดังนั้นการปกปิดข้อมูลในเรื่องนี้โดยอ้างลอยๆว่าไม่ใช่ภารกิจด้านการทหารแต่เป็นการดำเนินการทางวิชาการด้านวิทยาศาสตร์ ทั้งๆที่ผู้มาเจรจาเป็นทหารนั้น ย่อมเป็นพฤติกรรมที่ไม่น่าไว้วางใจได้เลย
ดังนั้นการที่องค์การนาซ่ายกเลิกภารกิจที่สนามบินอู่ตะเภา โดยอ้างว่าประสานงานยุ่งยากนั้น ต้องถือว่าเป็นความโชคดีของประเทศไทยแล้ว เพราะจะมาทำสิ่งใดโดยที่ไม่เปิดเผยข้อตกลงให้คนไทยได้ทราบทั้งๆที่มีพฤติกรรมที่หลายประเทศหวาดระแวง ก็ไม่ควรมาทำภารกิจลับๆล่อๆในแผ่นดินไทย หรือทำให้ประเทศไทยกลายเป็นสมรภูมิแห่งความขัดแย้งของมหาอำนาจโดยไม่จำเป็น
หลังจากที่องค์การนาซ่าได้ยุติบทบาทตัวเองแล้ว สิ่งที่ประชาชนควรจะต้องเฝ้าระวังต่อไปก็คือภารกิจในการตั้งศูนย์บรรเทาสาธารณภัยและมนุษยธรรมของสหรัฐอเมริกา และการเข้าสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 ทั้งบนบกและอ่าวไทยในเดือนกรกฎาคม พ.ศ.2555 นี้เป็นต้นไป
ต้องเฝ้าระวังชนิด “ห้ามกระพริบตา”โดยเด็ดขาด!!!