"ศรีราชา" ฉะนักการเมืองใช้ประชาธิปไตยบังหน้าไม่เลิก ปลงไม่หวังอะไรกับ รธน.ฉบับใหม่ ขณะที่"สุรพล" ชี้นักการเมืองเมินเสียงประชามติ จึงเป็นที่มาของการชำเรากม.สูงสุด เชื่อ"คนเมืองนอก" อยู่เบื้องหลัง แนะอย่าใจร้อนเร่งเกมเร็ว หวั่นเกิดอุบัติเหตุการเมือง คาดเดือนส.ค.อุณหภูมิเดือดแน่ "จาตุรนต์"ย้ำ รธน.50 ต้นเหตุวิกฤติการเมือง ต้องแก้ไข "จุรินทร์" ชี้ เผด็จการรัฐสภา เป็นที่มาของการปฏิวัติรัฐประหาร
วานนี้ (21 มิ.ย.) ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนา " 80ปี รัฐธรรมนูญไทย กับก้าวต่อไปของประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีวิทยากรที่น่าสนใจ ประกอบด้วย นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 50 นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นายศรีราชา กล่าวยอมรับว่า ช่วงที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีหลายเรื่องที่ไม่ถูกใจ เพราะตัดเรื่องดีๆ ออกไปหลายจุด เนื่องจากต้องทำให้อิงกระแสในตอนนั้น จึงมองได้ว่าไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีนัก อีกทั้งปัจจุบันการเคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดลดน้อยลง ความศักดิ์สิทธิ์ก็หายไป ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญเป็นหลัก กรอบกติกาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
" ย้อนไป 80 ปีที่ผ่านมาของการมีรัฐธรรมนูญในเมืองไทย จนถึงมองไปในอนาคต ผมยังมองว่า ไร้อนาคต ประเทศไทยอยู่ในมือของนักการเมืองที่จะทำอะไรก็ได้ ซึ่งไม่มีแผนที่ชัดเจน ทำให้สะเปะสะปะ ยังวนเวียนอยู่ที่เดิมเหมือนสุนัขที่วิ่งไล่กัดหางตัวเอง เวลานี้เราถูกนำคำว่า ประชาธิปไตยมาหากินกันเยอะ จึงต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดประชาธิปไตยข้างถนน" นายศรีราชา กล่าว
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวด้วยว่า ก้าวต่อไปของการเมือง โดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ดี ตนมองว่าจะต้องมี 3 ข้อหลัก คือ 1.หลักการต้องมั่นคง 2. รัฐธรรมนูญจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่ผู้ร่างเป็นสำคัญ เพราะเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของเทคนิก โดยเฉพาะขั้นตอนการโหวต การแปรญัตติ จะขึ้นอยู่กับเสียงข้างมาก และ 3. ต้องแก้ปัญหาของประเทศ 2 เรื่อง คือ ความยากจนของเกษตรกร และความด้อยการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ในการใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านมา ตนมีความพึงพอใจแค่ 10 % เท่านั้น ส่วนแนวโน้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้มีความคาดหวังอะไร
** ชี้ชัดแก้รธน.เพื่อ"แม้ว"
ขณะที่ นายสุรพล นิติไกรพจน์ กล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวในประเทศ ที่มาจากการลงประชามติ แต่ช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มคนที่เรียกว่า นักการเมืองพลเมือง มีความพยายามของที่จะดึงอำนาจออกจากระบบ โดยอธิบายว่า เป็นอำนาจประชาชน ที่ออกมาระบุว่า องค์กรอิสระ ศาล ไม่ใหญ่เท่ากับประชาชนเจ้าของอธิปไตย ซึ่งในสังคมสมัยใหม่เรารู้ดีว่า ประชาชนเจ้าของอธิปไตยให้ความไว้วางใจนักการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามา ซึ่งตรงนี้ทำให้เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดเหตุการณ์รสช. หรือ คมช. อีกหรือไม่ หากไม่มีการตรวจสอบใดๆ เกิดขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ยังหลอนสังคมไทยอยู่
" ขอถามว่า ส.ส.ที่เซ็นต์ชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีความอยากแก้ไขจริงๆ หรือเปล่า หรือคนที่อยู่ต่างประเทศ ที่มีอิทธิพลเหนือรัฐบาลและรัฐสภา ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปรองดอง ใครเป็นคนสั่ง และต้องการให้เกิดขึ้น ส.ส. และ ส.ว.ที่อยู่ในสภาฯ ก็รู้ดีว่าเป็นความต้องการของใคร เพียงแต่เรามาหลอกกันอยู่เท่านั้นเอง เพราะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เราเห็นชัดเจนว่า ทำเพื่อคนเพียงคนเดียวเท่านั้น" นายสุรพล กล่าว
นายสุรพล ยังแนะนำด้วยว่า หากไม่อยากให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เป็นสังคมการเมืองแบบเต็มรูปแบบ ก็ขอเตือนคนที่อยู่ในรัฐสภา รัฐบาล และคนที่อยู่ต่างประเทศ ว่า อย่าใจร้อน อย่าเดินเกมทำให้คนในสังคมรู้สึกว่า ยอมไม่ได้ หรือหักกับอำมาตย์ กับทหาร ที่เขาก็อาจยอมไม่ได้ รัฐบาลควรทุ่มเทบริหารประเทศ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และเมื่อถึงเวลาหากต้องมีการปรับแก้อะไร ก็มาพูดจากัน ตอนนั้นสังคมอาจจะรับได้ และลืมบางสิ่งบางอย่างได้
" อย่าเร่งรีบก้าวข้ามให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ มิเช่นนั้นเดือน ส.ค.โอกาสที่จะเกิดพายุใหญ่หลายลูก หรืออาจเกิดอะไรขึ้นทางการเมืองได้ ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันไว้ แต่มีวิธีเดียวที่จะแก้ไขได้ ก็คือ การตัดสินใจของคนๆเดียว ที่ตอนนี้แม้จะอยู่ต่างประเทศ ไม่ได้กลับบ้าน แต่ก็ยังสบายดี " นายสุรพล กล่าว
**แก้รธน.ต้องฟังเสียงรอบด้าน
ด้านนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวในช่วงเสวนาตอนหนึ่ง ว่า 80 ปีประชาธิปไตยในประเทศไทย ถือว่าไม่เลวนัก เพราะประชาชนระดับรากหญ้าได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เพียงแต่ตนอยากเตือนรัฐบาลให้ฟังรอบด้าน อย่าเลือกที่จะฟังเฉพาะกลุ่ม อาทิ กลุ่มนิติราษฎร์ เป็นต้น และคิดว่าการยอมถอยของทั้งฝ่ายแดง และเหลือง มีความจำเป็นมาก เพราะหากต้องชนกัน ก็คงจะสูญเสียหนักมาก ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญ จะสามารถแข่งขันกันได้ แต่ต้องมีข้อยุติ และต้องเปิดรับให้คนใหม่ๆ เข้ามาในการเมืองบ้าง
" บรรยากาศแบบนี้ พวกเราต้องฉลาด ต้องปรองดองบนหลักการที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และเหตุการณ์ในช่วงนี้ ก็ต้องเจรจา เพียงแต่กำลังดูวิธีไหนอยู่เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากถูกต้องตามระเบียบกฎหมายแล้ว เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ให้แก้ได้อยู่แล้ว หากจะแก้ทั้งระบบ ก็ไม่มีใครขัด และเมื่อเสร็จแล้วให้เอาไปถามประชาชน ว่าจะเอาฉบับเก่าหรือใหม่ก็ได้" นายเอนก กล่าว
**อ๋อย ย้ำรธน.50ต้นเหตุวิกฤติการเมือง
ในวันเดียวกันนี้ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ " 80 ปี ประชาธิปไตย รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย" ประเด็นวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และประธานวิปฝ่ายค้าน รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองของประเทศมาจนทุกวันนี้ ขณะที่ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับรัฐสภา ฝ่ายบริหาร กำลังพัฒนาไปสู่การขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีอำนาจสูงสุดในอำนาจอธิปไตย บทบาทของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ชื่อว่า ตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นกฎหมายสูงสุดจริง และทำให้เกิดความชอบธรรมของการรัฐประหาร ที่ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน คือ ลดกลไกของรัฐสภา และทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอ
การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่าอาจทำให้เกิดความผิดตาม มาตรา68 โดยไม่ผ่านอัยการ ก็สะท้อนอำนาจของตุลาการอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว อาจนำไปสู่สุญญากาศทางการเมือง และนำไปสู่การใช้ มาตรา 7 รวมไปถึงการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก และเปลี่ยนขั้วทางการเมือง
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลล้มล้างการปกครอง จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจเหนือรัฐสภา และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยปิดทางไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ซึ่งก็จะนำไปสู่วิกฤติมากขึ้น และรุนแรงกว่าที่ผ่านมา
**เผด็จการรัฐสภานำไปสู่ปฏิวัติ
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ปัญหาของประชาธิปไตย ได้เผชิญกับการปฏิวัติ เผด็จการทหารมาหลายครั้ง ปัจจุบันเผด็จการได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่คือ เผด็จการรัฐสภา โดยคนถืออำนาจรัฐ ต้องมีเสียงข้างมากซึ่งเป็นภัยใหม่ของประชาธิปไตย ต่อจากเผด็จการทหาร โดยเฉพาะช่วงก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะเห็นว่ามีการทุจริตเชิงนโยบาย และใช้เสียงข้างมากเอื้อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้องอย่างกว้างขวาง และยังมีการบิดเบือนการใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อปิดกั้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การฟื้นระบบเผด็จการรัฐสภา อาจนำไปสู่การยึดอำนาจได้อีกในอนาคต เพราะปัจจุบันคู่ขัดแย้งที่แท้จริงคือ ฝ่ายต่อต้าน กับ ระบอบเผด็จการรัฐสภา ที่มีเป้าหมายเปลี่ยน คือ ต้องการเงิน-อำนาจคืน โดยอาศัยเสียงข้างมากในสภา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และออก พ.ร.บ.ปรองดอง เพื่อล้างผิด และนิรโทษกรรมเพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของคนๆ เดียว ซึ่งสองเรื่องนี้ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง วิกฤติของประเทศในปัจจุบัน
** พท.รวบทุนท้องถิ่นยึดการเมือง
ขณะที่ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การฟื้นอำนาจปี 49 เป็นการฟื้นอำนาจบนการเปลี่ยนแปลงที่ใหม่ที่สุด ทำให้ชนบทมีพลวัตรมากขึ้น และเห็นการเปลี่ยนแปลงมากกว่า โดยเฉพาะทุนนิยมภาคท้องถิ่นที่ผูกโยงการเมือง และนโยบาย ซึ่งพรรคไทยรักไทย สามารถดึงเอาชนบทมามีส่วนร่วมทางการเมืองได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับเช่นเดียวกัน
รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวด้วยว่า การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เหมือนการเปิดกล่องแพนเดอร่า ที่ทำให้ความขัดแย้งบางอย่างในสังคมทางการเมืองไทยเด่นชัดขึ้นจริง ทั้งในเรื่องของชนชั้นนำ - ชนชั้นล่าง ทหาร กับการเมืองการเมือง รวมไปถึงความขัดแย้งในระบบทุนนิยมระหว่างทุนเก่า - ทุนใหม่ ด้วย
** 80ปีปชต.ยังไม่เข้มแข็ง
ด้าน ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในขณะนี้เป็นวิกฤติที่น่ากังวล ที่การพัฒนาประชาธิปไตยดำเนินไปพร้อมกับความขัดแย้งทำให้ขอบเขตความขัดแย้งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการใช้หลักการเพียงหลักการเดียว เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ และเสียงข้างมาก เพื่อกำหนดการปกครองที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่
ดังนั้น จึงต้องมีหลักการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาชน และกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขึ้นมา เพื่อไม่ให้สถาบันของรัฐใช้เสียงข้างมากละเมิด เพราะถ้ายึดเสียงข้างมากโดยไม่คำนึงผลกระทบของคนอื่น ถือว่าเป็นการทำลายกระบวนการกลไกตรวจสอบของตัวเอง และจำนำไปสู่อำนาจนิยมสมัยใหม่ ภายใต้ผ้าคลุมประชาธิปไตยหลายๆ รูปแบบมากขึ้น
ศ.ดร.อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่รัฐสภาเป็นเสียงข้างมาก ถ้าสามารถคุมอำนาจกันได้ตามกลไกการมีดุลยภาพทั้งสองด้านได้ทั้งผู้ปกคองเสียงข้างมาก และการตรวจสอบอำนาจรัฐ ความขัดแย้งธรรมดาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ขยายตัวเป็นสภาวะสงคราม
ส่วนระบอบประชาธิปไตยของไทยตลอดเวลา 80 ปี ที่ผ่านมา มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังไม่เข้มแข็ง เพราะยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยอยู่ในภาวะหยุดชะงัก ก็ควรที่จะร่วมกันหาทางออกภายใต้กฎหมายที่มีอยู่
วานนี้ (21 มิ.ย.) ที่ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ได้มีการจัดเสวนา " 80ปี รัฐธรรมนูญไทย กับก้าวต่อไปของประชาธิปไตย" ซึ่งจัดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน ร่วมกับสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย โดยมีวิทยากรที่น่าสนใจ ประกอบด้วย นายศรีราชา เจริญพานิช ผู้ตรวจการแผ่นดิน และอดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ปี 50 นายสุรพล นิติไกรพจน์ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ คณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
นายศรีราชา กล่าวยอมรับว่า ช่วงที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 มีหลายเรื่องที่ไม่ถูกใจ เพราะตัดเรื่องดีๆ ออกไปหลายจุด เนื่องจากต้องทำให้อิงกระแสในตอนนั้น จึงมองได้ว่าไม่ใช่รัฐธรรมนูญที่ดีนัก อีกทั้งปัจจุบันการเคารพกฎหมายรัฐธรรมนูญ ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดลดน้อยลง ความศักดิ์สิทธิ์ก็หายไป ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญเป็นหลัก กรอบกติกาที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ
" ย้อนไป 80 ปีที่ผ่านมาของการมีรัฐธรรมนูญในเมืองไทย จนถึงมองไปในอนาคต ผมยังมองว่า ไร้อนาคต ประเทศไทยอยู่ในมือของนักการเมืองที่จะทำอะไรก็ได้ ซึ่งไม่มีแผนที่ชัดเจน ทำให้สะเปะสะปะ ยังวนเวียนอยู่ที่เดิมเหมือนสุนัขที่วิ่งไล่กัดหางตัวเอง เวลานี้เราถูกนำคำว่า ประชาธิปไตยมาหากินกันเยอะ จึงต้องสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับคนในสังคม เพื่อไม่ให้เกิดประชาธิปไตยข้างถนน" นายศรีราชา กล่าว
ผู้ตรวจการแผ่นดิน กล่าวด้วยว่า ก้าวต่อไปของการเมือง โดยเฉพาะเรื่องรัฐธรรมนูญที่ดี ตนมองว่าจะต้องมี 3 ข้อหลัก คือ 1.หลักการต้องมั่นคง 2. รัฐธรรมนูญจะดีหรือไม่ดี อยู่ที่ผู้ร่างเป็นสำคัญ เพราะเรื่องรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องของเทคนิก โดยเฉพาะขั้นตอนการโหวต การแปรญัตติ จะขึ้นอยู่กับเสียงข้างมาก และ 3. ต้องแก้ปัญหาของประเทศ 2 เรื่อง คือ ความยากจนของเกษตรกร และความด้อยการศึกษา
อย่างไรก็ตาม ในการใช้รัฐธรรมนูญปี 2550 ที่ผ่านมา ตนมีความพึงพอใจแค่ 10 % เท่านั้น ส่วนแนวโน้มร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ไม่ได้มีความคาดหวังอะไร
** ชี้ชัดแก้รธน.เพื่อ"แม้ว"
ขณะที่ นายสุรพล นิติไกรพจน์ กล่าวตอนหนึ่งว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 เป็นรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียวในประเทศ ที่มาจากการลงประชามติ แต่ช่วง 2 - 3 เดือนที่ผ่านมา กลุ่มคนที่เรียกว่า นักการเมืองพลเมือง มีความพยายามของที่จะดึงอำนาจออกจากระบบ โดยอธิบายว่า เป็นอำนาจประชาชน ที่ออกมาระบุว่า องค์กรอิสระ ศาล ไม่ใหญ่เท่ากับประชาชนเจ้าของอธิปไตย ซึ่งในสังคมสมัยใหม่เรารู้ดีว่า ประชาชนเจ้าของอธิปไตยให้ความไว้วางใจนักการเมืองที่ประชาชนเลือกเข้ามา ซึ่งตรงนี้ทำให้เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า จะเกิดเหตุการณ์รสช. หรือ คมช. อีกหรือไม่ หากไม่มีการตรวจสอบใดๆ เกิดขึ้น เพราะสิ่งเหล่านี้ยังหลอนสังคมไทยอยู่
" ขอถามว่า ส.ส.ที่เซ็นต์ชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญ มีความอยากแก้ไขจริงๆ หรือเปล่า หรือคนที่อยู่ต่างประเทศ ที่มีอิทธิพลเหนือรัฐบาลและรัฐสภา ต้องการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และกฎหมายปรองดอง ใครเป็นคนสั่ง และต้องการให้เกิดขึ้น ส.ส. และ ส.ว.ที่อยู่ในสภาฯ ก็รู้ดีว่าเป็นความต้องการของใคร เพียงแต่เรามาหลอกกันอยู่เท่านั้นเอง เพราะ 2-3 เดือนที่ผ่านมา เราเห็นชัดเจนว่า ทำเพื่อคนเพียงคนเดียวเท่านั้น" นายสุรพล กล่าว
นายสุรพล ยังแนะนำด้วยว่า หากไม่อยากให้บ้านเมืองเกิดความวุ่นวาย เป็นสังคมการเมืองแบบเต็มรูปแบบ ก็ขอเตือนคนที่อยู่ในรัฐสภา รัฐบาล และคนที่อยู่ต่างประเทศ ว่า อย่าใจร้อน อย่าเดินเกมทำให้คนในสังคมรู้สึกว่า ยอมไม่ได้ หรือหักกับอำมาตย์ กับทหาร ที่เขาก็อาจยอมไม่ได้ รัฐบาลควรทุ่มเทบริหารประเทศ แก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ และเมื่อถึงเวลาหากต้องมีการปรับแก้อะไร ก็มาพูดจากัน ตอนนั้นสังคมอาจจะรับได้ และลืมบางสิ่งบางอย่างได้
" อย่าเร่งรีบก้าวข้ามให้ทำอย่างนั้น อย่างนี้ มิเช่นนั้นเดือน ส.ค.โอกาสที่จะเกิดพายุใหญ่หลายลูก หรืออาจเกิดอะไรขึ้นทางการเมืองได้ ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันไว้ แต่มีวิธีเดียวที่จะแก้ไขได้ ก็คือ การตัดสินใจของคนๆเดียว ที่ตอนนี้แม้จะอยู่ต่างประเทศ ไม่ได้กลับบ้าน แต่ก็ยังสบายดี " นายสุรพล กล่าว
**แก้รธน.ต้องฟังเสียงรอบด้าน
ด้านนายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ กล่าวในช่วงเสวนาตอนหนึ่ง ว่า 80 ปีประชาธิปไตยในประเทศไทย ถือว่าไม่เลวนัก เพราะประชาชนระดับรากหญ้าได้เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น เพียงแต่ตนอยากเตือนรัฐบาลให้ฟังรอบด้าน อย่าเลือกที่จะฟังเฉพาะกลุ่ม อาทิ กลุ่มนิติราษฎร์ เป็นต้น และคิดว่าการยอมถอยของทั้งฝ่ายแดง และเหลือง มีความจำเป็นมาก เพราะหากต้องชนกัน ก็คงจะสูญเสียหนักมาก ซึ่งการร่างรัฐธรรมนูญ จะสามารถแข่งขันกันได้ แต่ต้องมีข้อยุติ และต้องเปิดรับให้คนใหม่ๆ เข้ามาในการเมืองบ้าง
" บรรยากาศแบบนี้ พวกเราต้องฉลาด ต้องปรองดองบนหลักการที่เป็นที่ยอมรับได้ของทุกฝ่าย และเหตุการณ์ในช่วงนี้ ก็ต้องเจรจา เพียงแต่กำลังดูวิธีไหนอยู่เท่านั้น ซึ่งการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หากถูกต้องตามระเบียบกฎหมายแล้ว เจตนารมณ์รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ก็ให้แก้ได้อยู่แล้ว หากจะแก้ทั้งระบบ ก็ไม่มีใครขัด และเมื่อเสร็จแล้วให้เอาไปถามประชาชน ว่าจะเอาฉบับเก่าหรือใหม่ก็ได้" นายเอนก กล่าว
**อ๋อย ย้ำรธน.50ต้นเหตุวิกฤติการเมือง
ในวันเดียวกันนี้ ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการจัดงานเสวนาภายใต้หัวข้อ " 80 ปี ประชาธิปไตย รัฐศาสตร์กับการเมืองไทย" ประเด็นวิกฤติความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน โดยมี นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และประธานวิปฝ่ายค้าน รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมเสวนา
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย กล่าวว่า รัฐธรรมนูญปี 2550 ทำให้เกิดวิกฤติการเมืองของประเทศมาจนทุกวันนี้ ขณะที่ปัจจุบันความขัดแย้งระหว่างตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กับรัฐสภา ฝ่ายบริหาร กำลังพัฒนาไปสู่การขยายขอบเขตอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อให้มีอำนาจสูงสุดในอำนาจอธิปไตย บทบาทของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่ชื่อว่า ตุลาการภิวัฒน์ ซึ่งทำให้รัฐธรรมนูญไม่ได้เป็นกฎหมายสูงสุดจริง และทำให้เกิดความชอบธรรมของการรัฐประหาร ที่ถูกระบุไว้ในรัฐธรรมนูญปัจจุบัน คือ ลดกลไกของรัฐสภา และทำลายพรรคการเมืองให้อ่อนแอ
การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ตีความร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ว่าอาจทำให้เกิดความผิดตาม มาตรา68 โดยไม่ผ่านอัยการ ก็สะท้อนอำนาจของตุลาการอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญดังกล่าว อาจนำไปสู่สุญญากาศทางการเมือง และนำไปสู่การใช้ มาตรา 7 รวมไปถึงการเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออก และเปลี่ยนขั้วทางการเมือง
นายจาตุรนต์ กล่าวด้วยว่า การยุติการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเหตุผลล้มล้างการปกครอง จะทำให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ทำให้ ศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจเหนือรัฐสภา และฝ่ายนิติบัญญัติ โดยปิดทางไม่ให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้อีกต่อไป ซึ่งก็จะนำไปสู่วิกฤติมากขึ้น และรุนแรงกว่าที่ผ่านมา
**เผด็จการรัฐสภานำไปสู่ปฏิวัติ
ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ และประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า ปัญหาของประชาธิปไตย ได้เผชิญกับการปฏิวัติ เผด็จการทหารมาหลายครั้ง ปัจจุบันเผด็จการได้เปลี่ยนรูปแบบใหม่คือ เผด็จการรัฐสภา โดยคนถืออำนาจรัฐ ต้องมีเสียงข้างมากซึ่งเป็นภัยใหม่ของประชาธิปไตย ต่อจากเผด็จการทหาร โดยเฉพาะช่วงก่อนการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 จะเห็นว่ามีการทุจริตเชิงนโยบาย และใช้เสียงข้างมากเอื้อประโยชน์ตัวเองและพวกพ้องอย่างกว้างขวาง และยังมีการบิดเบือนการใช้รัฐธรรมนูญ เพื่อปิดกั้นการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอีกด้วย
นายจุรินทร์ กล่าวว่า การฟื้นระบบเผด็จการรัฐสภา อาจนำไปสู่การยึดอำนาจได้อีกในอนาคต เพราะปัจจุบันคู่ขัดแย้งที่แท้จริงคือ ฝ่ายต่อต้าน กับ ระบอบเผด็จการรัฐสภา ที่มีเป้าหมายเปลี่ยน คือ ต้องการเงิน-อำนาจคืน โดยอาศัยเสียงข้างมากในสภา ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และออก พ.ร.บ.ปรองดอง เพื่อล้างผิด และนิรโทษกรรมเพื่อนำไปสู่ประโยชน์ของคนๆ เดียว ซึ่งสองเรื่องนี้ได้นำไปสู่ความขัดแย้ง วิกฤติของประเทศในปัจจุบัน
** พท.รวบทุนท้องถิ่นยึดการเมือง
ขณะที่ รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การฟื้นอำนาจปี 49 เป็นการฟื้นอำนาจบนการเปลี่ยนแปลงที่ใหม่ที่สุด ทำให้ชนบทมีพลวัตรมากขึ้น และเห็นการเปลี่ยนแปลงมากกว่า โดยเฉพาะทุนนิยมภาคท้องถิ่นที่ผูกโยงการเมือง และนโยบาย ซึ่งพรรคไทยรักไทย สามารถดึงเอาชนบทมามีส่วนร่วมทางการเมืองได้เช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในโลกอาหรับเช่นเดียวกัน
รศ.ดร.สุรชาติ กล่าวด้วยว่า การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เหมือนการเปิดกล่องแพนเดอร่า ที่ทำให้ความขัดแย้งบางอย่างในสังคมทางการเมืองไทยเด่นชัดขึ้นจริง ทั้งในเรื่องของชนชั้นนำ - ชนชั้นล่าง ทหาร กับการเมืองการเมือง รวมไปถึงความขัดแย้งในระบบทุนนิยมระหว่างทุนเก่า - ทุนใหม่ ด้วย
** 80ปีปชต.ยังไม่เข้มแข็ง
ด้าน ศ.ดร.อนุสรณ์ ลิ่มมณี อาจารย์ประจำภาควิชาการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน เป็นเรื่องธรรมดา แต่ในขณะนี้เป็นวิกฤติที่น่ากังวล ที่การพัฒนาประชาธิปไตยดำเนินไปพร้อมกับความขัดแย้งทำให้ขอบเขตความขัดแย้งสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการใช้หลักการเพียงหลักการเดียว เพื่อได้มาซึ่งอำนาจ และเสียงข้างมาก เพื่อกำหนดการปกครองที่ได้มาจากเสียงส่วนใหญ่
ดังนั้น จึงต้องมีหลักการปกป้องสิทธิเสรีภาพ ประชาชน และกลไกตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขึ้นมา เพื่อไม่ให้สถาบันของรัฐใช้เสียงข้างมากละเมิด เพราะถ้ายึดเสียงข้างมากโดยไม่คำนึงผลกระทบของคนอื่น ถือว่าเป็นการทำลายกระบวนการกลไกตรวจสอบของตัวเอง และจำนำไปสู่อำนาจนิยมสมัยใหม่ ภายใต้ผ้าคลุมประชาธิปไตยหลายๆ รูปแบบมากขึ้น
ศ.ดร.อนุสรณ์ ยังกล่าวอีกว่า ปัจจุบันเป็นยุคที่รัฐสภาเป็นเสียงข้างมาก ถ้าสามารถคุมอำนาจกันได้ตามกลไกการมีดุลยภาพทั้งสองด้านได้ทั้งผู้ปกคองเสียงข้างมาก และการตรวจสอบอำนาจรัฐ ความขัดแย้งธรรมดาที่เกิดขึ้นก็จะไม่ขยายตัวเป็นสภาวะสงคราม
ส่วนระบอบประชาธิปไตยของไทยตลอดเวลา 80 ปี ที่ผ่านมา มีการพัฒนาอย่างสม่ำเสมอ แต่ยังไม่เข้มแข็ง เพราะยังอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ดังนั้นถ้าไม่ต้องการให้ประชาธิปไตยอยู่ในภาวะหยุดชะงัก ก็ควรที่จะร่วมกันหาทางออกภายใต้กฎหมายที่มีอยู่