ASTVผู้จัดการรายวัน - โฆษกศาลยันทำตาม รธน. เผยบทลงโทษกรณีประธานสภาไม่ฟังคำสั่งศาลไม่ฟังศาล ถึงขั้นยุบพรรค "คำนูณ" ห่วงการผลักดันแก้ รธน.วาระ 3 ผ่านสภา เป็นการกดดันองค์พระประมุข ถามจงรักภักดีแน่หรือ ปชป.จี้นายกฯ ออก พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมสภา ชี้ตำจวจโชว์ซ้อมแผนปราบม็อบออกสื่อ เป็นการยั่วยุ เร่งให้สถานการณ์ระอุ
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณานั้น เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการรับคำร้องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับคำร้องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นว่า เป็นการตีความของโฆษกพรรคเพื่อไทยเอง แต่ถ้าได้อ่านเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. จะชัดเจนว่า คณะตุลาการได้ตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้ว่า ประชาชนสามารถสามารถใช้สิทธิในเรื่องนี้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางอัยการสูงสุด และยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งจากคำให้สัมภาษณ์ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้บอกชัดเจนแล้วว่า คณะตุลาการฯ เห็นว่ามีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา
** ขืนโหวตวาระ3 ก็รับผิดชอบกันเอง
เมื่อถามว่าหลายคนเห็นว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่มีไปถึงรัฐสภา ให้มีการระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยไม่ผูกพันรัฐสภานั้น และสภาจะเดินหน้าประชุมรับร่างในวาระ 3 นั้น นายพิมล กล่าวว่า เรื่องนี้ก่อนที่คณะตุลาการ จะมีหนังสือไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ก็ได้มีการพูดคุยกัน และพิจารณาแล้วว่า การชะลอการรับร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ไม่ได้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่วนตัวเองเห็นว่า หากรัฐสภาเดินหน้าประชุมต่อ ก็ต้องรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตุลาการได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ และยังบอกไม่ได้ว่า ถ้ามีการดำเนินการอย่างนั้นจริง ศาลจะมีท่าทีอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น แต่คิดว่าตุลาการฯ คงจะต้องมีการหารือกัน
นายพิมล ยังกล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาเรื่องนี้ค่อนข้างเร็ว ว่า ส่วนตัวมองถึงสภาพแวดล้อมทางการเมือง และสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้น ว่าเรารอได้หรือไม่ และได้ชี้แจงไปก่อนแล้วว่า การใช้อำนาจของคณะตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เป็นการใช้อำนาจในเชิงป้องกัน ไม่ใช่การแก้ไข ซึ่งการรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของคณะตุลาการฯ รวมถึงต้องพิจารณาว่า เป็นไปตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกำหนดว่า เรื่องประเภทใดจะต้องพิจารณาจะรับหรือไม่รับภายในระยะเวลาเท่าใดนับแต่มีการยื่นคำร้องเข้ามา ซึ่งปกติเมื่อเรื่องเข้ามายังสำนักงานฯ แล้วก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการฯประจำคดี ว่าควรรับหรือไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย หากเห็นว่าสมควรรับ ก็ดำเนินการต่อ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับ ก็เสนอให้ที่ประชุมคณะตุลาการฯพิจารณา แต่ในกรณีคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และได้ให้ตุลาการทั้งหมดเป็นตุลาการประจำคดี คือ ทั้งองค์คณะช่วยกันพิจารณาว่า จะรับหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการพิจารณาลักษณะเช่นนี้ ก็เคยทำในกรณีการพิจารณา พระราชกำหนด ,ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ และกรณีของขอให้ตรวจสอบความถูกต้องของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
" ทุกครั้งที่จะมีการประชุม คณะตุลาการฯ ท่านก็จะมีการพูดคุยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองทุกครั้ง โดยค่อนข้างกังวล" นายพิมล กล่าว
เมื่อถามว่า การรับเรื่องไว้พิจารณาของศาลฯ ทำให้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหารเร็วขึ้น นายพิมล กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการที่เราจะดำเนินการอะไร ก็ระมัดระวังอยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่อยากให้ทหารเข้ามา
** ไม่ฟังศาลรธน.โทษถึงยุบพรรค
แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า สำหรับบทลงโทษกรณี หากประธานสภาไม่ฟังคำสั่งศาล ที่ออกคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาการลงมติในการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ไปก่อนจะกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ ถึงแม้ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ แต่เมื่อศาลมีคำสั่ง ก็ต้องผูกพันองค์กร และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม ระบุ ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ เนื่องจากเห็นว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการดังกล่าวแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ อาจสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางล้มล้างได้
ทั้งนี้แหล่งข่าวยังกล่าวอีกด้วยว่า การที่เขาจะเดินหน้าต่อ บทลงโทษก็คงไม่มี แต่เมื่อแสดงพฤติการณ์ เจตนาจงใจฝ่าฝืน ศาลรัฐธรรมนูญคงไปห้ามไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการจงใจแสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่า กำลังจะมีการพฤติการณ์ส่อไปทางนั้นหรือไม่ ทั้งที่ศาลเองก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า การที่พ้น 15 วันไปแล้วไม่ลงมติวาระที่ 3 จะส่งผลเสียหายอะไร บ้านเมืองไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าดันทุรังทำไป บ้านเมืองเสียหายหรือไม่ อย่ามาตั้งโจทย์ว่าศาลฯ จะไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ
** คำนูณชี้ผ่านวาระ3 กดดันองค์พระประมุข
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณี ประธานรัฐสภาจะนัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 8 มิ.ย.นี้ เพื่อหารือถึงการพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“ถ้าประธานรัฐสภาเดินหน้านัดประชุมลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับมาตุฆาต วาระ 3 โดยไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ถือเสียว่าศาลไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ผลักดันกันให้ชน ให้ลุย ให้เลิกปรานี โดยไม่พิจารณาบริบทอื่นประกอบ ทั้งรากฐานของปัญหา และผลใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เข้าไปร่วมประกอบกรรมให้พิธีกรรมสำเร็จ ก็เท่ากับโยนภาระในการตัดสินพระทัยทั้งปวงไปให้องค์พระประมุขในเวลาที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีส่งร่างฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย / ทุกท่านจะถูกตั้งคำถามสำคัญว่า เยี่ยงนี้ถือเป็นการกระทำที่รอบคอบ และจงรักภักดีด้วยใจจริงแล้วหรือ ? ”
นายคำนูณได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในลักษณะ"มาตุฆาต" ฉีกรัฐธรรมนูญ 50 ยึดอำนาจรัฐสภาไปให้องค์กรอื่นเขียนใหม่ทั้งฉบับอย่างไร้กรอบนั้นก็คือ Constitutional Coup d'Etat หรือการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ การมีคำสั่งรับคำร้อง และออกคำสั่งให้รัฐสภาชลอการลงมติวาระ 3 โดยอาศัยการตีความมาตรา 68 วรรคสอง อย่างกว้างของศาลรัฐธรรมนูญ ก็คือ Counter-Constitutional Coup d'Etat หรือการต่อต้านการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญเช่นกัน
“สังคมไทยมักเป็นอย่างนี้ พูดแต่"ปรากฎการณ์" ที่เป็น"ปลายเหตุ" ไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องไปถึง"ต้นเหตุ" พูดแต่ด้านใดด้านหนึ่งเพียง"ด้านเดียว"ไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องให้"รอบด้าน" พูดแต่ด้านการใช้อำนาจของอำนาจตุลาการ ไม่พยายามพูดถึง
1. การเติบใหญ่ของอำนาจบริหาร 2. การไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจบริหารได้ตามทฤษฎีของอำนาจนิติบัญญัติ เพราะเสียงข้างมากในอำนาจนิติบัญญัติเป็นพวกเดียวกันกับอำนาจบริหาร และมีข้อบังคับพรรคการเมืองกำกับอยู่ 3. การที่อำนาจนิติบัญญัติ แทรกแซงอำนาจตุลาการโดยกฎหมายปรองดอง มาตรา 5
" มาตรา 68 ที่หลายคนไม่ค่อยได้พูดถึงกันก็คือ อยู่ในส่วน "สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ซึ่งมีเพียง 2 มาตรา คือ 68 นี้ และมาตรา 69 ซึ่งเป็นสิทธิในการต่อต้านโดยสงบและสันติของประชาชน เมื่อศาลท่านตีความมาตรา 68 อย่างกว้าง เพื่อยับยั้งการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญแล้วยังมีแนวโน้มจะถูกต่อต้าน ประชาชนจะเริ่มลงมือปฏิบัติตาม มาตรา 69 หรือไม่ ??” นายคำนูณ ระบุ
** "มาร์ค"จี้ปิดสมัยประชุมสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ออกพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) ปิดสมัยประชุมสภา ในการประชุมครม.วันนี้ (5 มิ.ย. ) เพื่อยุติความขัดแย้ง จากกรณี ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ยังมีความเห็นต่างในข้อกฎหมาย โดยใช้เวลาหลังจากนี้ทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย ซึ่งจะช่วยทำให้สถานการณ์เย็นลงได้ในระดับหนึ่ง และยังลดความหวาดระแวงของมวลชน ที่มีต่อรัฐบาล เนื่องจากหากยังมีการเปิดสมัยประชุมอยู่ ก็จะไม่มีความมั่นใจว่า จะมีการลักไก่นำเอา ร่างกฎหมายที่เป็นปัญหาเข้าสู่การพิจารณาอีกหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง คือ ต้องออก พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุม เพื่อปลดล็อกเงื่อนไขความขัดแย้ง ก่อนที่สถานการณ์จะลุกลามออกไป เพราะหากยังเดินหน้าต่อไป ย่อมมีปัญหาตามมา โดยเฉพาะกรณีที่จะลงมติ วาระ 3 ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องตีความตามมา อีกทั้งยังอยากให้เคารพต่อดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นผู้ชี้ขาดในเรื่องนี้ หากยังเดินหน้าก็จะเกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างอำนาจ ที่จะทำให้สถานการณ์มีความยุ่งเหยิงมากขึ้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีควรจะรับฟังเสียงท้วงติงจากตน และหลายฝ่ายที่มีความห่วงใยต่อบ้านเมือง เนื่องจากหากเลื่อนการพิจารณากฎหมาย 2 ฉบับนี้ออกไป ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย มีเพียงแค่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนเดียวที่เดือดร้อน เพราะเอาเรื่องของตัวเองเป็นหลัก โดยใช้คนอื่นเป็นตัวประกัน คนที่ควรลดเงื่อนไขลงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ประเทศชาติไม่ควรเข้าสู่การเผชิญหน้า เพราะจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองที่รุนแรงอีกครั้ง จนยากที่ประเทศจะฟื้นฟูกลับมาได้อีก ซึ่งภาคเอกชนก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้บริหารประเทศควรตัดสินใจโดยยึดประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก และในวันนี้ (5 มิ.ย.) วิปฝ่ายค้านจะมีท่าทีที่ชัดเจนไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย พร้อมกับเตือนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีการซ้อมปราบฝูงชนว่า ไม่ควรทำให้เกิดการเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้น เพราะประเทศไม่จำเป็นต้องเข้าสู่สถานการณ์แบบนี้ หากมีความรุนแรงเกิดขึ้น ผู้ที่รับผิดชอบคือ รัฐบาล เนื่องจากเป็นต้นตอของปัญหา ที่พยายามผลักดันกฎหมายที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนกลายเป็นตัวเร่งสถานการณ์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า กรณี อดีต ส.ส.เพื่อไทย ออกมาเรียกร้องให้ประธานสภานัดประชุมลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ทันที โดยไม่ต้องฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่า ประธานรัฐสภาได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ด้วยการสั่งงดประชุมวันที่ 5 มิ.ย. จึงไม่ควรเรียกร้องให้ประธานสภากลืนน้ำลายตัวเอง
** ส.ว.เตือนลงมติวาระ 3 วุ่นแน่
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ เห็นว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ระงับการลงมติ วาระ 3 เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว เพราะหากปล่อยให้มีการลงมติในวาระ 3 จนถึงขั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯ จะสร้างความเสียหาย เพราะตนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เข้าข่ายการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และไม่มีหลักประกันว่า จะไม่แตะต้องหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ และศาล
ดังนั้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะนำเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมรัฐสภา วันที่ 8 มิ.ย. เพราะควรดำเนินการนอกรอบ ด้วยการหารือวิปสามฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อน
นายสมชาย ยังสนับสนุนแนวคิดของนายอภิสิทธิ์ ที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ออกพ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมสภา เพื่อยุติความขัดแย้ง ถือเป็นการดึงฟืนออกจากไฟ เพราะถ้ายังเดินหน้า ตนเชื่อว่าจะนำประเทศเข้าสู่กลียุคอย่างแน่นอน
นอกจากนี้หากมีการใช้เสียงข้างมากลงมติในทันที ก็จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องโครงสร้างทางอำนาจ โดยฝ่ายนิติบัญญัติ จะไปหักล้างคำสั่งศาล ซึ่งเชื่อว่าจะมีการแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับประธานสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงมติ ฐานขัดคำสั่งศาลฯ อย่างแน่นอน
**ชี้ 5 สัญญาณความรุนแรง
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้วิเคราะห์ถึง 5 สัญญาณรุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งครั้งนี้ ประกอบด้วย ท่าทีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง ที่ปลุกระดมให้คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านการรัฐประหาร และล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยใช้ช่องทางของสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดม็อบเผชิญม็อบ
สัญญาณรุนแรงที่ 2 คือ มีกระบวนการดิสเครดิตศาลรัฐธรรมนูญ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่โฟนอินโจมตีว่า ศาลรัฐธรรมนูญปล้นอำนาจประชาชน รวมถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ออกมากล่าวหาว่า ศาลฯทำการปฏิวัติ และยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมด้วย
สัญญาณที่ 3 คือ ความพยายามที่จะประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งจะทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งในสภาและนอกสภาตามมา
สัญญาณที่ 4 คือ สัญญาณจากกลุ่มการเมือง ภาคประชาชนที่พร้อมยกระดับความเคลื่อนไหว โดยถือเอาคำสั่งศาลฯ เป็นความชอบธรรมในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง
สัญญาณที่ 5 จากการที่รัฐบาลปรับวิธีการรับมือการชุมนุมทางการเมืองด้วยการโยกย้าย ผบ.ชน. และรอง ผบ.ชน. โดยเฉพาะการซ้อมปราบฝูงชนผ่านสื่อ ซึ่งถือเป็นการข่มขู่ และท้าทายประชาชนที่เห็นต่าง จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ปลดชนวนความขัดแย้งนี้ ด้วยการใช้ภาวะผู้นำ ปิดสมัยประชุมสภา อย่าทำตัวเป็นแค่พริตตี้ทางการเมืองเท่านั้น.
นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์ หัวหน้าคณะทีมโฆษกศาลรัฐธรรมนูญ กล่าวถึงกรณีที่นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย ระบุว่า การที่ศาลรัฐธรรมนูญรับเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้พิจารณานั้น เป็นการขัดรัฐธรรมนูญ เพราะการรับคำร้องดังกล่าว ศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรับคำร้องจากอัยการสูงสุดเท่านั้นว่า เป็นการตีความของโฆษกพรรคเพื่อไทยเอง แต่ถ้าได้อ่านเอกสารของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 1 มิ.ย. จะชัดเจนว่า คณะตุลาการได้ตีความรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ไว้ว่า ประชาชนสามารถสามารถใช้สิทธิในเรื่องนี้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ ผ่านทางอัยการสูงสุด และยื่นโดยตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ ซึ่งจากคำให้สัมภาษณ์ ของประธานศาลรัฐธรรมนูญ และตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ก็ได้บอกชัดเจนแล้วว่า คณะตุลาการฯ เห็นว่ามีอำนาจที่จะรับไว้พิจารณา
** ขืนโหวตวาระ3 ก็รับผิดชอบกันเอง
เมื่อถามว่าหลายคนเห็นว่าคำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญที่มีไปถึงรัฐสภา ให้มีการระงับการพิจารณาแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนจนกว่าจะมีคำวินิจฉัยไม่ผูกพันรัฐสภานั้น และสภาจะเดินหน้าประชุมรับร่างในวาระ 3 นั้น นายพิมล กล่าวว่า เรื่องนี้ก่อนที่คณะตุลาการ จะมีหนังสือไปยังสำนักเลขาธิการสภาผู้แทนฯ ก็ได้มีการพูดคุยกัน และพิจารณาแล้วว่า การชะลอการรับร่างการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อน ไม่ได้เกิดความเสียหาย ซึ่งส่วนตัวเองเห็นว่า หากรัฐสภาเดินหน้าประชุมต่อ ก็ต้องรับผิดชอบกับผลที่จะเกิดขึ้นอย่างที่ตุลาการได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ และยังบอกไม่ได้ว่า ถ้ามีการดำเนินการอย่างนั้นจริง ศาลจะมีท่าทีอย่างไร เนื่องจากเหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้น แต่คิดว่าตุลาการฯ คงจะต้องมีการหารือกัน
นายพิมล ยังกล่าวถึงการตั้งข้อสังเกตว่า ศาลรัฐธรรมนูญรับพิจารณาเรื่องนี้ค่อนข้างเร็ว ว่า ส่วนตัวมองถึงสภาพแวดล้อมทางการเมือง และสภาพปัญหาที่จะเกิดขึ้น ว่าเรารอได้หรือไม่ และได้ชี้แจงไปก่อนแล้วว่า การใช้อำนาจของคณะตุลาการ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 เป็นการใช้อำนาจในเชิงป้องกัน ไม่ใช่การแก้ไข ซึ่งการรับเรื่องไว้พิจารณาหรือไม่นั้น เป็นดุลยพินิจของคณะตุลาการฯ รวมถึงต้องพิจารณาว่า เป็นไปตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ ที่มีการกำหนดว่า เรื่องประเภทใดจะต้องพิจารณาจะรับหรือไม่รับภายในระยะเวลาเท่าใดนับแต่มีการยื่นคำร้องเข้ามา ซึ่งปกติเมื่อเรื่องเข้ามายังสำนักงานฯ แล้วก็จะมีการแต่งตั้งตุลาการฯประจำคดี ว่าควรรับหรือไม่รับไว้พิจารณาวินิจฉัย หากเห็นว่าสมควรรับ ก็ดำเนินการต่อ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับ ก็เสนอให้ที่ประชุมคณะตุลาการฯพิจารณา แต่ในกรณีคำร้องเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น นายวสันต์ สร้อยพิสุทธิ์ ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจตามข้อกำหนดวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ และได้ให้ตุลาการทั้งหมดเป็นตุลาการประจำคดี คือ ทั้งองค์คณะช่วยกันพิจารณาว่า จะรับหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ท่านเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญ ซึ่งการพิจารณาลักษณะเช่นนี้ ก็เคยทำในกรณีการพิจารณา พระราชกำหนด ,ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ และกรณีของขอให้ตรวจสอบความถูกต้องของ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ
" ทุกครั้งที่จะมีการประชุม คณะตุลาการฯ ท่านก็จะมีการพูดคุยแสดงความเป็นห่วงต่อสถานการณ์บ้านเมืองทุกครั้ง โดยค่อนข้างกังวล" นายพิมล กล่าว
เมื่อถามว่า การรับเรื่องไว้พิจารณาของศาลฯ ทำให้ถูกมองว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้ทหารเข้ามาทำรัฐประหารเร็วขึ้น นายพิมล กล่าวว่า คงไม่ใช่เช่นนั้น เพราะการที่เราจะดำเนินการอะไร ก็ระมัดระวังอยู่แล้ว ศาลมีหน้าที่พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ก็ไม่อยากให้ทหารเข้ามา
** ไม่ฟังศาลรธน.โทษถึงยุบพรรค
แหล่งข่าวจากศาลรัฐธรรมนูญ แจ้งว่า สำหรับบทลงโทษกรณี หากประธานสภาไม่ฟังคำสั่งศาล ที่ออกคำสั่งให้ชะลอการพิจารณาการลงมติในการแก้รัฐธรรมนูญในวาระที่ 3 ไปก่อนจะกว่าศาลจะวินิจฉัยแล้วเสร็จ ถึงแม้ตามรัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดบทลงโทษไว้ แต่เมื่อศาลมีคำสั่ง ก็ต้องผูกพันองค์กร และตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคสาม ระบุ ว่า ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการ เนื่องจากเห็นว่า มีบุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการดังกล่าวแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญ อาจสั่งยุบพรรคการเมือง ที่มีพฤติการณ์ส่อไปในทางล้มล้างได้
ทั้งนี้แหล่งข่าวยังกล่าวอีกด้วยว่า การที่เขาจะเดินหน้าต่อ บทลงโทษก็คงไม่มี แต่เมื่อแสดงพฤติการณ์ เจตนาจงใจฝ่าฝืน ศาลรัฐธรรมนูญคงไปห้ามไม่ได้ แต่อย่าลืมว่า การกระทำดังกล่าวเป็นการจงใจแสดงให้เห็นพฤติการณ์ว่า กำลังจะมีการพฤติการณ์ส่อไปทางนั้นหรือไม่ ทั้งที่ศาลเองก็ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่า การที่พ้น 15 วันไปแล้วไม่ลงมติวาระที่ 3 จะส่งผลเสียหายอะไร บ้านเมืองไม่ได้เสียหาย แต่ถ้าดันทุรังทำไป บ้านเมืองเสียหายหรือไม่ อย่ามาตั้งโจทย์ว่าศาลฯ จะไม่ให้แก้รัฐธรรมนูญ
** คำนูณชี้ผ่านวาระ3 กดดันองค์พระประมุข
นายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา ได้แสดงความคิดเห็นต่อกรณี ประธานรัฐสภาจะนัดประชุมร่วมรัฐสภาในวันที่ 8 มิ.ย.นี้ เพื่อหารือถึงการพิจารณา ร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ไว้ในหน้าเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
“ถ้าประธานรัฐสภาเดินหน้านัดประชุมลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับมาตุฆาต วาระ 3 โดยไม่ฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ถือเสียว่าศาลไม่มีอำนาจตามรัฐธรรมนูญอย่างที่ฝ่ายสนับสนุนทักษิณ ผลักดันกันให้ชน ให้ลุย ให้เลิกปรานี โดยไม่พิจารณาบริบทอื่นประกอบ ทั้งรากฐานของปัญหา และผลใหญ่หลวงที่จะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้ และสมาชิกรัฐสภาส่วนใหญ่เข้าไปร่วมประกอบกรรมให้พิธีกรรมสำเร็จ ก็เท่ากับโยนภาระในการตัดสินพระทัยทั้งปวงไปให้องค์พระประมุขในเวลาที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีส่งร่างฯ ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย / ทุกท่านจะถูกตั้งคำถามสำคัญว่า เยี่ยงนี้ถือเป็นการกระทำที่รอบคอบ และจงรักภักดีด้วยใจจริงแล้วหรือ ? ”
นายคำนูณได้แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กว่า การแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ในลักษณะ"มาตุฆาต" ฉีกรัฐธรรมนูญ 50 ยึดอำนาจรัฐสภาไปให้องค์กรอื่นเขียนใหม่ทั้งฉบับอย่างไร้กรอบนั้นก็คือ Constitutional Coup d'Etat หรือการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ การมีคำสั่งรับคำร้อง และออกคำสั่งให้รัฐสภาชลอการลงมติวาระ 3 โดยอาศัยการตีความมาตรา 68 วรรคสอง อย่างกว้างของศาลรัฐธรรมนูญ ก็คือ Counter-Constitutional Coup d'Etat หรือการต่อต้านการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญ โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญเช่นกัน
“สังคมไทยมักเป็นอย่างนี้ พูดแต่"ปรากฎการณ์" ที่เป็น"ปลายเหตุ" ไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องไปถึง"ต้นเหตุ" พูดแต่ด้านใดด้านหนึ่งเพียง"ด้านเดียว"ไม่พยายามสืบสาวราวเรื่องให้"รอบด้าน" พูดแต่ด้านการใช้อำนาจของอำนาจตุลาการ ไม่พยายามพูดถึง
1. การเติบใหญ่ของอำนาจบริหาร 2. การไม่สามารถถ่วงดุลอำนาจบริหารได้ตามทฤษฎีของอำนาจนิติบัญญัติ เพราะเสียงข้างมากในอำนาจนิติบัญญัติเป็นพวกเดียวกันกับอำนาจบริหาร และมีข้อบังคับพรรคการเมืองกำกับอยู่ 3. การที่อำนาจนิติบัญญัติ แทรกแซงอำนาจตุลาการโดยกฎหมายปรองดอง มาตรา 5
" มาตรา 68 ที่หลายคนไม่ค่อยได้พูดถึงกันก็คือ อยู่ในส่วน "สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญ" ซึ่งมีเพียง 2 มาตรา คือ 68 นี้ และมาตรา 69 ซึ่งเป็นสิทธิในการต่อต้านโดยสงบและสันติของประชาชน เมื่อศาลท่านตีความมาตรา 68 อย่างกว้าง เพื่อยับยั้งการรัฐประหารโดยรัฐธรรมนูญแล้วยังมีแนวโน้มจะถูกต่อต้าน ประชาชนจะเริ่มลงมือปฏิบัติตาม มาตรา 69 หรือไม่ ??” นายคำนูณ ระบุ
** "มาร์ค"จี้ปิดสมัยประชุมสภา
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร และหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ขอเรียกร้องไปยังรัฐบาลให้ออกพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) ปิดสมัยประชุมสภา ในการประชุมครม.วันนี้ (5 มิ.ย. ) เพื่อยุติความขัดแย้ง จากกรณี ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง และร่าง แก้ไขรัฐธรรมนูญ ที่ยังมีความเห็นต่างในข้อกฎหมาย โดยใช้เวลาหลังจากนี้ทำความเข้าใจกับทุกฝ่าย ซึ่งจะช่วยทำให้สถานการณ์เย็นลงได้ในระดับหนึ่ง และยังลดความหวาดระแวงของมวลชน ที่มีต่อรัฐบาล เนื่องจากหากยังมีการเปิดสมัยประชุมอยู่ ก็จะไม่มีความมั่นใจว่า จะมีการลักไก่นำเอา ร่างกฎหมายที่เป็นปัญหาเข้าสู่การพิจารณาอีกหรือไม่
ดังนั้นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง คือ ต้องออก พ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุม เพื่อปลดล็อกเงื่อนไขความขัดแย้ง ก่อนที่สถานการณ์จะลุกลามออกไป เพราะหากยังเดินหน้าต่อไป ย่อมมีปัญหาตามมา โดยเฉพาะกรณีที่จะลงมติ วาระ 3 ในร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ ทั้งที่ศาลรัฐธรรมนูญ มีคำสั่งให้ระงับไว้ก่อน ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องตีความตามมา อีกทั้งยังอยากให้เคารพต่อดุลพินิจของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะเป็นผู้ชี้ขาดในเรื่องนี้ หากยังเดินหน้าก็จะเกิดปัญหาในเชิงโครงสร้างอำนาจ ที่จะทำให้สถานการณ์มีความยุ่งเหยิงมากขึ้น
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า นายกรัฐมนตรีควรจะรับฟังเสียงท้วงติงจากตน และหลายฝ่ายที่มีความห่วงใยต่อบ้านเมือง เนื่องจากหากเลื่อนการพิจารณากฎหมาย 2 ฉบับนี้ออกไป ก็ไม่ได้ทำให้เกิดความเสียหาย มีเพียงแค่พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร คนเดียวที่เดือดร้อน เพราะเอาเรื่องของตัวเองเป็นหลัก โดยใช้คนอื่นเป็นตัวประกัน คนที่ควรลดเงื่อนไขลงคือ พ.ต.ท.ทักษิณ
ทั้งนี้ประเทศชาติไม่ควรเข้าสู่การเผชิญหน้า เพราะจะทำให้เกิดวิกฤตการเมืองที่รุนแรงอีกครั้ง จนยากที่ประเทศจะฟื้นฟูกลับมาได้อีก ซึ่งภาคเอกชนก็แสดงความเป็นห่วงในเรื่องนี้ ดังนั้นนายกรัฐมนตรี ในฐานะผู้บริหารประเทศควรตัดสินใจโดยยึดประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นหลัก และในวันนี้ (5 มิ.ย.) วิปฝ่ายค้านจะมีท่าทีที่ชัดเจนไปยังคณะรัฐมนตรีด้วย พร้อมกับเตือนเจ้าหน้าที่ตำรวจที่มีการซ้อมปราบฝูงชนว่า ไม่ควรทำให้เกิดการเผชิญหน้าที่รุนแรงมากขึ้น เพราะประเทศไม่จำเป็นต้องเข้าสู่สถานการณ์แบบนี้ หากมีความรุนแรงเกิดขึ้น ผู้ที่รับผิดชอบคือ รัฐบาล เนื่องจากเป็นต้นตอของปัญหา ที่พยายามผลักดันกฎหมายที่ก่อให้เกิดความขัดแย้ง จนกลายเป็นตัวเร่งสถานการณ์
นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานวิปฝ่ายค้าน กล่าวว่า กรณี อดีต ส.ส.เพื่อไทย ออกมาเรียกร้องให้ประธานสภานัดประชุมลงมติ แก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ทันที โดยไม่ต้องฟังคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญนั้น ตนเห็นว่า ประธานรัฐสภาได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญแล้ว ด้วยการสั่งงดประชุมวันที่ 5 มิ.ย. จึงไม่ควรเรียกร้องให้ประธานสภากลืนน้ำลายตัวเอง
** ส.ว.เตือนลงมติวาระ 3 วุ่นแน่
นายสมชาย แสวงการ ส.ว.สรรหา ซึ่งเป็นผู้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยว่า ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 จะเข้าข่ายล้มล้างการปกครองหรือไม่ เห็นว่า คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญ ที่ให้ระงับการลงมติ วาระ 3 เป็นคำสั่งที่ชอบแล้ว เพราะหากปล่อยให้มีการลงมติในวาระ 3 จนถึงขั้นนำขึ้นทูลเกล้าฯ จะสร้างความเสียหาย เพราะตนเห็นว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้ เข้าข่ายการล้มล้างรัฐธรรมนูญ และไม่มีหลักประกันว่า จะไม่แตะต้องหมวดสถาบันพระมหากษัตริย์ และศาล
ดังนั้น จึงไม่เห็นด้วยที่จะนำเรื่องนี้ไปหารือในการประชุมรัฐสภา วันที่ 8 มิ.ย. เพราะควรดำเนินการนอกรอบ ด้วยการหารือวิปสามฝ่าย เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อน
นายสมชาย ยังสนับสนุนแนวคิดของนายอภิสิทธิ์ ที่เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ออกพ.ร.ฎ.ปิดสมัยประชุมสภา เพื่อยุติความขัดแย้ง ถือเป็นการดึงฟืนออกจากไฟ เพราะถ้ายังเดินหน้า ตนเชื่อว่าจะนำประเทศเข้าสู่กลียุคอย่างแน่นอน
นอกจากนี้หากมีการใช้เสียงข้างมากลงมติในทันที ก็จะทำให้เกิดปัญหาเรื่องโครงสร้างทางอำนาจ โดยฝ่ายนิติบัญญัติ จะไปหักล้างคำสั่งศาล ซึ่งเชื่อว่าจะมีการแจ้งความดำเนินคดีเอาผิดกับประธานสภา และสมาชิกรัฐสภาที่ร่วมลงมติ ฐานขัดคำสั่งศาลฯ อย่างแน่นอน
**ชี้ 5 สัญญาณความรุนแรง
ด้านนายเทพไท เสนพงศ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ ได้วิเคราะห์ถึง 5 สัญญาณรุนแรง ที่อาจเกิดขึ้นจากความขัดแย้งครั้งนี้ ประกอบด้วย ท่าทีของนายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำเสื้อแดง ที่ปลุกระดมให้คนเสื้อแดงออกมาต่อต้านการรัฐประหาร และล่ารายชื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดยใช้ช่องทางของสถานีโทรทัศน์เอเชียอัพเดต ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดม็อบเผชิญม็อบ
สัญญาณรุนแรงที่ 2 คือ มีกระบวนการดิสเครดิตศาลรัฐธรรมนูญ โดยพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ที่โฟนอินโจมตีว่า ศาลรัฐธรรมนูญปล้นอำนาจประชาชน รวมถึงกรณีที่ นายจาตุรนต์ ฉายแสง ออกมากล่าวหาว่า ศาลฯทำการปฏิวัติ และยังมีการเคลื่อนไหวของกลุ่มนิติราษฎร์ร่วมด้วย
สัญญาณที่ 3 คือ ความพยายามที่จะประชุมรัฐสภา เพื่อลงมติแก้ไขรัฐธรรมนูญ วาระ 3 ซึ่งจะทำให้เกิดความรุนแรง ทั้งในสภาและนอกสภาตามมา
สัญญาณที่ 4 คือ สัญญาณจากกลุ่มการเมือง ภาคประชาชนที่พร้อมยกระดับความเคลื่อนไหว โดยถือเอาคำสั่งศาลฯ เป็นความชอบธรรมในการต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง
สัญญาณที่ 5 จากการที่รัฐบาลปรับวิธีการรับมือการชุมนุมทางการเมืองด้วยการโยกย้าย ผบ.ชน. และรอง ผบ.ชน. โดยเฉพาะการซ้อมปราบฝูงชนผ่านสื่อ ซึ่งถือเป็นการข่มขู่ และท้าทายประชาชนที่เห็นต่าง จึงเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรี ปลดชนวนความขัดแย้งนี้ ด้วยการใช้ภาวะผู้นำ ปิดสมัยประชุมสภา อย่าทำตัวเป็นแค่พริตตี้ทางการเมืองเท่านั้น.