จากกรณีที่มีกลุ่มบุคคลได้ยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ( พ.ศ…….)ว่า ขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550 และเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ และศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติรับคำร้องไว้พิจารณาพร้อมทั้งมีคำสั่งให้สภาชะลอการพิจารณาร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯดังกล่าวไว้ก่อน ซึ่งได้มีปฏิกริยาตอบโต้ไม่เห็นด้วยกับการที่ศาลรัฐธรรมนูญได้รับเรื่องดังกล่าวไว้พิจารณา เพราะไม่เป็นไปตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญมาตรา 68 คือต้องให้อัยการสูงสุดยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะมีอำนาจกระทำได้ การที่กลุ่มประชาชนหรือบุคคลใดยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยนั้นไม่อาจกระทำได้โดยอาศัยรัฐธรรมนูญ มาตรา 212 เพราะมาตรา 212 ศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องไว้วินิจฉัยได้เฉพาะกรณีที่ “บทบัญญัติแห่งกฎหมาย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่” เท่านั้น แต่ “ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญไม่ใช่เป็นเรื่องบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ อำนาจในการแก้รัฐธรรมนูญเป็นอำนาจของสภาซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนเท่านั้น ที่จะมีอำนาจในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ ศาลรัฐธรรมนูญจะก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติไม่ได้ ศาลรัฐธรรมนูญจึงไม่มีอำนาจที่จะก้าวล่วงพิจารณาร่างแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญของสภาได้ จึงเป็นการที่ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ ซึ่งก็ปรากฏข่าวว่าจะมีการประชุมสภาลงมติแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญในวาระ 3 ต่อไป และจะล่ารายชื่อประชาชนเพื่อถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญจำนวน 8 คน ยกเว้นไว้คนเดียวนั้น
การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ล้วนเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนทั้งสิ้น ผู้ใช้อำนาจทั้งสามองค์กรไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจของตนเอง แต่เป็นการใช้อำนาจในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน แม้อำนาจตุลาการจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ก็ไม่ได้หมายความว่า ตุลาการจะใช้อำนาจของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น หาได้ไม่
ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะใช้อำนาจของตนเอง อ้างสิทธิและเสรีภาพของตนเอง เพื่อละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นไม่ได้ จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ไม่อาจกระทำได้ ( รธน.มาตรา 28 วรรคแรก )
ดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตัวแทนหรือโดยผู้แทนเป็นผู้ใช้อำนาจของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ก็จะใช้อำนาจโดยละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือใช้อำนาจเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือใช้อำนาจโดยขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ก็ไม่อาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ( ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ ผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนก็ยิ่งจะใช้สิทธิและเสรีภาพโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ )
เมื่อปรากฏว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นทั้งฉบับโดยคณะบุคคลที่เรียกว่า ส.ส.ร. และไม่ใช่เป็นสมาชิกรัฐสภา กรณีจึงมีหลักฐานปรากฏต่อสาธารณชนโดยชัดแจ้งว่า เป็นการล้มล้างหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยใช้อำนาจในทางรัฐสภาในการตรารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้บังคับกับประชาชน อันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ขัดต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 และเข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการที่รัฐสภาไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้บัญญัติรับรองไว้ ( สิทธิและเสรีภาพในหมวด 3 มาตรา 26 ถึง มาตรา 69 ) หรือรัฐธรรมนูญได้รับรองไว้โดย ปริยาย ( ในหมวดอื่นทั้งหมด ) ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐสภาที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการตรารัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291 คือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา โดยต้องมีการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา แต่จะแก้ไขมาตรา 291 โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา 291 ไม่ได้ รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไว้ แต่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 โดยให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามมาตรา 136 ( 16 ) เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไว้ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ตามหลักรัฐธรรมนูญเมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีที่มาอย่างไร การแก้ไขมาตรา 291 ก็ต้องดำเนินการตามนั้น คือต้องผ่านประชามติเสียก่อน ตามบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ โดยต้องทำประชามติเสียก่อนว่าจะแก้ไขมาตรา 291 หรือไม่ และจะใช้หลักเกณฑ์และวิธีการอย่างไรที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับได้ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ( Rigid Constitution )
เมื่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เสนอให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเสนอเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และมีการดำเนินการทางรัฐสภาโดยผ่านการลงมติไป 2 วาระแล้ว การกระทำของรัฐสภาดังกล่าว นอกจากจะไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รับรองไว้โดยชัดแจ้งและโดยปริยาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และเป็นการกระทำของรัฐสภาเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก แล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมโดยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยังเป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ด้วยวิธีการที่กระทำโดยฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อันสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร หรือฐานเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 อีกด้วย
เมื่อปรากฏการกระทำของรัฐสภาที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว และรัฐสภามีความผูกพันโดยตรงในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ( ร.ธ.น.มาตรา 27 ) บุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองซึ่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้รับรองไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รับรองไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ทุกศาลโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ ( รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ) สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้” อันเป็นบทบัญญัติตามหลักประชาธิปไตยที่ให้อำนาจทั้งสามตรวจสอบและคานอำนาจกันได้ตามดุลยภาพ ตามวิถีทางปกครองในระบบรัฐสภา เพราะการมีเสียงข้างมากในรัฐสภานั้น ไม่อาจกระทำการใดๆอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ หรือกระทำการโดยผิดรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นได้
มาตรา 28 วรรคสาม วรรคสี่ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาล เพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”
“ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐในการใช้สิทธิตามหมวดนี้”
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องและสั่งให้ชะลอการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนนั้น ก็เป็นคำสั่งเพื่อให้รัฐสภายุติการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้บัญญัติรับรองไว้และผูกพันรัฐสภาโดยตรง โดยรัฐสภาจะตรากฎหมายต่อไปไม่ได้ หยุดการละเมิดของรัฐสภาที่กระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ เพราะศาลมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้โดยตรงและโดยปริยาย ด้วยเช่นกัน เมื่อยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการดำเนินการใช้บังคับกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 27 , 28 คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 บัญญัติรับรองไว้ หาใช่เป็นการใช้อำนาจก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติแต่อย่างใดไม่ เพราะการใช้อำนาจนิติบัญญัติของสภานั้น อยู่บนพื้นฐานของการกระทำละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาหลายบทหลายมาตรา คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นการกระทำเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังเป็นการกระทำเพื่อยับยั้งการกระทำความผิดอาญาของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งการกระทำความผิดอาญาของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพ และเป็นการกระทำอันเป็นที่เสื่อมศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนทั้งประเทศได้ เพราะประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้แทนมาทำหน้าที่แทนประชาชนตามกฎหมายและตามรัฐธรรมนูญ มิใช่เลือกตั้งให้มาทำหน้าที่แทนประชาชนโดยการทำผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างถึงการกระทำของผู้แทนราษฎรที่ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยผ่านอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเองโดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 212 เพราะผู้ร้องถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ โดยจะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ละเมิดต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้ร้องตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้หรือไม่ อันมิใช่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามนัยมาตรา 212 นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ และเป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 แล้ว สิทธิของผู้ที่ได้ยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามมาตรา 212 ย่อมไม่เสียไป เพราะศาลรัฐธรรมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ แต่เป็นพันธกรณีของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 , 28 ในการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ให้ล่วงพ้นจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยรัฐสภาในการตรากฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกใช้บังคับ อันเป็นการถ่วงดุลและคานอำนาจกันตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากลตามปกติ
5 มิ.ย.55
การใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ล้วนเป็นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนทั้งสิ้น ผู้ใช้อำนาจทั้งสามองค์กรไม่ใช่เป็นการใช้อำนาจของตนเอง แต่เป็นการใช้อำนาจในฐานะเป็นตัวแทนของประชาชน แม้อำนาจตุลาการจะไม่ได้มาจากการเลือกตั้งจากประชาชน ก็ไม่ได้หมายความว่า ตุลาการจะใช้อำนาจของตนเองในการปฏิบัติหน้าที่นั้น หาได้ไม่
ประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยจะใช้อำนาจของตนเอง อ้างสิทธิและเสรีภาพของตนเอง เพื่อละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่นไม่ได้ จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนก็ไม่อาจกระทำได้ ( รธน.มาตรา 28 วรรคแรก )
ดังนั้นการใช้อำนาจอธิปไตยของประชาชนโดยตัวแทนหรือโดยผู้แทนเป็นผู้ใช้อำนาจของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร หรืออำนาจตุลาการ ก็จะใช้อำนาจโดยละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือใช้อำนาจเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือใช้อำนาจโดยขัดต่อศีลธรรมอันดีของประชาชนนั้น ก็ไม่อาจกระทำได้โดยเด็ดขาด ( ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตย จะใช้สิทธิและเสรีภาพของตนโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ ผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นตัวแทนของประชาชนก็ยิ่งจะใช้สิทธิและเสรีภาพโดยเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญไม่ได้ )
เมื่อปรากฏว่าร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นทั้งฉบับโดยคณะบุคคลที่เรียกว่า ส.ส.ร. และไม่ใช่เป็นสมาชิกรัฐสภา กรณีจึงมีหลักฐานปรากฏต่อสาธารณชนโดยชัดแจ้งว่า เป็นการล้มล้างหรือยกเลิกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 โดยใช้อำนาจในทางรัฐสภาในการตรารัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นใช้บังคับกับประชาชน อันเป็นการกระทำที่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ขัดต่อการใช้สิทธิและเสรีภาพของประชาชนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 และเข้าข่ายเป็นการใช้สิทธิและเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 เป็นการที่รัฐสภาไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้บัญญัติรับรองไว้ ( สิทธิและเสรีภาพในหมวด 3 มาตรา 26 ถึง มาตรา 69 ) หรือรัฐธรรมนูญได้รับรองไว้โดย ปริยาย ( ในหมวดอื่นทั้งหมด ) ซึ่งต้องได้รับความคุ้มครองจากรัฐสภาที่รัฐสภาจะต้องดำเนินการตรารัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ และวิธีการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 291 คือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา โดยต้องมีการเสนอญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมเป็นรายมาตรา แต่จะแก้ไขมาตรา 291 โดยใช้หลักเกณฑ์และวิธีการตามมาตรา 291 ไม่ได้ รัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการของการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไว้ แต่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้แก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 โดยให้มีการประชุมร่วมกันของรัฐสภาตามมาตรา 136 ( 16 ) เท่านั้น เมื่อรัฐธรรมนูญไม่ได้บัญญัติหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 ไว้ ว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ตามหลักรัฐธรรมนูญเมื่อรัฐธรรมนูญ 2550 มีที่มาอย่างไร การแก้ไขมาตรา 291 ก็ต้องดำเนินการตามนั้น คือต้องผ่านประชามติเสียก่อน ตามบริบทแห่งรัฐธรรมนูญ โดยต้องทำประชามติเสียก่อนว่าจะแก้ไขมาตรา 291 หรือไม่ และจะใช้หลักเกณฑ์และวิธีการอย่างไรที่จะจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับได้ เพราะรัฐธรรมนูญ 2550 เป็นรัฐธรรมนูญที่แก้ไขยาก ( Rigid Constitution )
เมื่อรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ซึ่งเป็นผู้เสนอให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยเสนอเป็นร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และมีการดำเนินการทางรัฐสภาโดยผ่านการลงมติไป 2 วาระแล้ว การกระทำของรัฐสภาดังกล่าว นอกจากจะไม่คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รับรองไว้โดยชัดแจ้งและโดยปริยาย ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 และเป็นการกระทำของรัฐสภาเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 วรรคแรก แล้ว การแก้ไขเพิ่มเติมโดยการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ยังเป็นการกระทำที่เข้าข่ายล้มล้างหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ด้วยวิธีการที่กระทำโดยฝ่าฝืนรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 อันสุ่มเสี่ยงเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร หรือฐานเป็นกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 113 อีกด้วย
เมื่อปรากฏการกระทำของรัฐสภาที่จะแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญโดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ดังกล่าว และรัฐสภามีความผูกพันโดยตรงในการให้ความคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้บุคคลมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญพ.ศ.2550 ( ร.ธ.น.มาตรา 27 ) บุคคลซึ่งได้รับความคุ้มครองซึ่งสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 จึงเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้รับรองไว้ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยอ้างว่าเป็นผู้ถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 รับรองไว้ ผู้ร้องจึงมีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ทุกศาลโดยตรง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 วรรคสอง ซึ่งบัญญัติว่า “ บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ ( รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ) สามารถยกบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้เพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้” อันเป็นบทบัญญัติตามหลักประชาธิปไตยที่ให้อำนาจทั้งสามตรวจสอบและคานอำนาจกันได้ตามดุลยภาพ ตามวิถีทางปกครองในระบบรัฐสภา เพราะการมีเสียงข้างมากในรัฐสภานั้น ไม่อาจกระทำการใดๆอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ หรือกระทำการโดยผิดรัฐธรรมนูญ หรือกฎหมายอื่นได้
มาตรา 28 วรรคสาม วรรคสี่ บัญญัติว่า “บุคคลย่อมสามารถใช้สิทธิทางศาล เพื่อบังคับให้รัฐต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติในหมวดนี้ได้โดยตรง หากการใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องใดมีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้แล้ว ให้การใช้สิทธิและเสรีภาพในเรื่องนั้นเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ”
“ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับการส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือจากรัฐในการใช้สิทธิตามหมวดนี้”
การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งรับคำร้องและสั่งให้ชะลอการดำเนินการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ก่อนนั้น ก็เป็นคำสั่งเพื่อให้รัฐสภายุติการกระทำอันเป็นการละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ได้บัญญัติรับรองไว้และผูกพันรัฐสภาโดยตรง โดยรัฐสภาจะตรากฎหมายต่อไปไม่ได้ หยุดการละเมิดของรัฐสภาที่กระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนได้ เพราะศาลมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้โดยตรงและโดยปริยาย ด้วยเช่นกัน เมื่อยังไม่มีกฎหมายบัญญัติรายละเอียดการใช้สิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ การดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญจึงเป็นการดำเนินการใช้บังคับกฎหมายให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มาตรา 27 , 28 คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญเป็นคำสั่งตามอำนาจหน้าที่ที่ต้องคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 บัญญัติรับรองไว้ หาใช่เป็นการใช้อำนาจก้าวก่ายอำนาจนิติบัญญัติแต่อย่างใดไม่ เพราะการใช้อำนาจนิติบัญญัติของสภานั้น อยู่บนพื้นฐานของการกระทำละเมิดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 291 และเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดอาญาหลายบทหลายมาตรา คำสั่งของศาลรัฐธรรมนูญนอกจากจะเป็นการกระทำเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนแล้ว ยังเป็นการกระทำเพื่อยับยั้งการกระทำความผิดอาญาของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งการกระทำความผิดอาญาของฝ่ายนิติบัญญัติเป็นการกระทำละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพ และเป็นการกระทำอันเป็นที่เสื่อมศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ของประชาชนทั้งประเทศได้ เพราะประชาชนใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อให้ผู้แทนมาทำหน้าที่แทนประชาชนตามกฎหมายและตามรัฐธรรมนูญ มิใช่เลือกตั้งให้มาทำหน้าที่แทนประชาชนโดยการทำผิดกฎหมายและรัฐธรรมนูญแต่อย่างใดไม่
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องโดยอ้างถึงการกระทำของผู้แทนราษฎรที่ใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ เพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และ/หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ โดยผ่านอัยการสูงสุดและอัยการสูงสุดไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ
ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญเองโดยอาศัยช่องทางตามมาตรา 212 เพราะผู้ร้องถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ โดยจะให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ละเมิดต่อสิทธิ และเสรีภาพของผู้ร้องตามที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติไว้หรือไม่ อันมิใช่เป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายตามนัยมาตรา 212 นั้น เมื่อผู้ร้องเป็นผู้ที่ถูกละเมิดสิทธิ หรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติรับรองไว้ และเป็นผู้มีสิทธิที่จะใช้สิทธิทางศาลได้ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 28 แล้ว สิทธิของผู้ที่ได้ยื่นคำร้องโดยอาศัยสิทธิตามมาตรา 212 ย่อมไม่เสียไป เพราะศาลรัฐธรรมมีอำนาจตามกฎหมายที่จะปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องได้
การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญจึงมิได้เป็นการก้าวล่วงอำนาจนิติบัญญัติ แต่เป็นพันธกรณีของศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 27 , 28 ในการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญได้รับรองไว้ให้ล่วงพ้นจากการถูกละเมิดสิทธิและเสรีภาพโดยรัฐสภาในการตรากฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ออกใช้บังคับ อันเป็นการถ่วงดุลและคานอำนาจกันตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยตามหลักสากลตามปกติ
5 มิ.ย.55