ASTVผู้จัดการรายวัน-ค้อนปลอมตราดูไบ จัดให้ รวบรัดลงมติดัน พ.ร.บ.ปรองดองฉบับบังเละ ขึ้นถกในสภาฯ วาระแรก 9 โมงเช้าวันนี้จนได้ หลังก่อนหน้าใช้เสียงข้างมากของกรรมาธิการสามัญประจำสภาดันผ่าน "ไม่ใช่กฎหมายการเงิน" มาแล้ว หวังเดินหน้าช่วย "นช.แม้ว" เต็มสูบ "หมอวรงค์" ส.ส.ฝ่ายค้าน ตะบะแตก ขว้างหนังสือข้อบังคับเฉียดกระบาลท่านประธาน สุดท้ายตำรวจอุ้มหนีขลุกขลัก
วานนี้ (31 พ.ค.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เริ่มขึ้น เมื่อเวลา 16.30 น. โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ภายหลังการประชุมร่วมระหว่างประธานกรรมาธิการสามัญประจำสภา ทั้ง 35 คณะ เพื่อวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... (พ.ร.บ.ปรองดอง) ทั้ง 4 ฉบับ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 143 หรือไม่ กว่า 5 ชั่วโมง โดยมีมติมติ 22 ต่อ 1 เสียง เห็นว่า พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ฉบับ ไม่เป็นกฎหมายการเงิน จึงไม่ต้องดำเนินการตามที่ฝ่ายค้านต้องการ
ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยพรรคฝ่ายค้าน เช่น นายศุภชัย ศรีล้า ส.ส. อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ แย้งว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการยื่นถดถอนประธานสภาฯ แล้ว และเรื่องนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของประธานวุฒิสภา ดังนั้น เพื่อให้การพิจาณาเป็นไปอย่างราบรื่น ประธานควรพิจารณาว่าควรจะนั่งอยู่ต่อไปหรือไม่
แต่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่สมาชิกยื่นถอดถอนนั้น ตนเข้าใจว่าตั้งใจมานานแล้ว และประธานใช้ความอดทนต่อการถูกกล่าวหามาตลอด ซึ่งก็ดีจะได้รู้อะไรผิดถูก แต่รัฐธรรมนูญไม่มีข้อบังคับใดๆ บอกไม่ให้นั่งทำหน้าที่ต่อไป ควรร่วมกันหาทางประนีประนอม ให้การประชุมดำเนินการไป เพื่อให้สังคมเห็นว่าเราอยากหาทางให้สังคมสงบสุขจริงๆ แต่ถ้าไม่ ตนก็ยังยืนยันว่าประธานกระทำถูกทุกอย่างแล้ว
จากนั้นนายสมศักดิ์จะขอดำเนินการประชุมต่อไป แต่นายธนา ชีรวินิจ ส.ส. กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปรายว่า เมื่อคิดว่า 35 เสียงจะมีความเห็นเบ็ดเสร็จก็ว่ากันไป แต่เมื่อเรื่องกลับมายังสภาฯ สิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่ดำเนินการต่อไป แต่ประธานต้องให้สมาชิกซักถามในลายละเอียดการประชุม
อย่างไรก็ตาม ส.ส.เพื่อไทย พยายามอ้างว่า ประธานได้แจ้งมติ กมธ.ไปแล้ว ต้องเข้าสู่วาระที่จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พยายามที่จะเล่าถึงเหตุการณ์ เพื่อยืนยันว่าบรรยากาศไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น แต่นายสมศักดิ์ตัดบทไม่ให้พูด เพราะจบขบวนการแล้ว และเป็นไปตามที่ฝ่ายค้านร้องขอด้วยซ้ำ ดังนั้น ต้องดำเนินการต่อ คือ พิจารณาญัตติของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย และมีการใช้เวลาประชุมไป4ชั่วโมง 45 นาที น่าจะได้ข้อสรุป
ฝ่ายนายธนา ซึ่งยืนอภิปรายค้างอยู่ ได้ขอใช้สิทธิ์อภิปรายต่อไป และขอร้องให้นายสมศักดิ์ดำเนินการประชุมตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่มีอะไรมากระทบอารมณ์ไม่พอใจแล้วสั่งการทันทีแบบนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุมเริ่มเข้มข้นขึ้นทันที ขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรัฐสภา เริ่มทยอยกันเข้ามาล้อมนายสมศักดิ์ที่เริ่มมีสีหน้าเคร่งเครียด โดยนายสมศักดิ์ได้กล่าวว่า ตนไม่ได้อารมณ์เสีย แต่การอภิปรายเป็นเรื่องที่ประธานจะอนุญาต และเห็นว่าสมควรแล้ว แต่นายธนาแย้งว่าตนยังไม่ได้เริ่มอธิปรายเลย นายสมศักดิ์ตัดบทจะให้เข้าญัตติที่ค้างไว้ทันที ทำให้ฝ่ายค้านพากันโห่ และพากันลุกขึ้นยืนประท้วง
ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง ขอให้ประธานสั่งปลดอาวุธตำรวจสภาก่อน เพราะมีการพกอาวุธเข้ามาในที่ประชุม
จากนั้นนายสมศักดิ์ ได้ตัดบทไปถามเรื่องญัตติและจะขอมติต่อที่ประชุม ทำให้ฝ่ายค้านเริ่มส่งเสียงโห่อย่างต่อเนื่อง แต่นายสมศักดิ์ได้ขอให้แสดงตน มีผู้เข้าร่วมประชุม 272 คน จากนั้นถามมติ ขณะที่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ หลายคนเริ่มลุกฮือขึ้นมา อาทิ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก และนพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง นายอรรถพร พลบุตร ส.ส. เพชรบุรี นายจุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พากันมายืนประท้วงหน้าบัลลังก์ พร้อมโบกหนังสือข้อบังคับการประชุม แต่นายสมศักดิ์ก็ยังคงให้สมาชิกใช้สิทธิ์ลงคะแนนต่อไป โดยผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยเลื่อนญัตติด่วน 272 เสียงต่อ 2 เสียง ก่อนที่นายสมศักดิ์ จะสั่งปิดประชุมเวลาประมาณ 17.00 น.
หลังจาก นายสมศักดิ์ สั่งปิดการประชุม สร้างความโกรธแค้นให้กับส.ส. ประชาธิปัตย์อย่างยิ่ง อาทิ นพ.วรงค์ ได้เขวี้ยงหนังสือระเบียบการประชุมเฉียดหน้านายสมศักดิ์ และมีบางส่วนถูกตัวนายสมศักดิ์ด้วย ท่ามกลางเสียงต่อว่า เช่น “เผด็จการ” “ออกไป” “ประธานทำผิดข้อบังคับ” แต่นายสมศักดิ์ยังคงนิ่งเฉย พร้อมกับประกาศนัดประชุมเวลา 9.30 น. ของวันที่ 1 มิ.ย.นี้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสภาได้รีบกันตัวนายสมศักดิ์ลงจากบัลลังก์ และรีบขึ้นรถยนต์ออกจากอาคารรัฐสภาอย่างร้อนรน
ขณะที่บรรยากาศในห้องประชุมยังคงวุ่นวาย และมีส.ส.ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันหลายคู่ อาทิ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินไปต่อว่านายธานี เทือกสุบรรณ ส.ส. สุราษฏรธานี พรรคประชาธิปัตย์ ด้วยสีหน้าไม่พอใจ ส่วนนายการุณ โหสกุล ส.ส. กทม.พรรคเพื่อไทย ได้เดินปรี่เข้ามาสมทบ แต่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนได้มากันตัวออกไปก่อนที่จะเกิดการปะทะกัน
**"มาร์ค"บอกภาพลักษณ์เสียก็ต้องยอม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน พร้อมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงร่วมกันว่า ขอรัฐบาลอย่าเร่งรัดกฎหมายนิรโทษกรรม ขอให้ประชาชนได้เข้าใจเนื้อหาก่อน และนายกรัฐมนตรีก็ควรเข้าร่วมประชุมด้วย ส่วนความวุ่นวาย ยอมรับแม้จะทำให้ภาพลักษณ์พรรคเสีย แต่เป็นการทำเพื่อให้ประเทศไม่เสียหายจากกฎหมายปรองดอง
ทั้งนี้ พรรคจะออกเดินสายอธิบายความหมายของ พ.ร.บ.ปรองดอง ว่ามันเป็นภัยกับประเทศ และจะเรียกร้องให้ ประชาชนออกมา แสดงออกคัดค้าน ต่อต้าน การผ่าน พ.ร.บ.ปรองดองนี้ด้วยกัน และจะปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนต่อไปอย่างเข้มแข็ง
**22 กมธ.เพื่อไทยโหวตผ่าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมร่วมกันของประธานกรรมาธิการ 35 คณะในช่วงเช้า ฝ่ายค้านติดใจในมาตรา5ว่าจะเป็นกฎหมายที่ล้มคดีความทั้งหมดเกี่ยวกับผลพวงจากการรัฐประหารตามคำสั่งของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) โดยนายสมศักดิ์ สั่งให้นางบุษกร อำพรประภา ผู้อำนวยการสำนักการเป็นผู้ชี้แจง ว่า ร่างพ.ร.บ.ทั้ง4ฉบับไม่มีบทบัญญัติใดให้คืนเงินหรือจ่ายเงินให้ใคร โดยเฉพาะคดียึดทรัพย์ 4.6ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นเงินของแผ่นดินแล้ว ซึ่งการฟ้องร้องจะไม่ครอบคลุมการฟ้องร้องรัฐ แต่เป็นเรื่องบุคคลต่อบุคคล
ขณะที่พล.อ.สนธิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสามารถ แก้วมีชัย ผู้นำเสนอร่างยืนยันว่า ร่างดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกฎหมายการเงิน และจะเป็นยกเว้นโทษดำเนินคดีจากความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่าจะไปยกเลิกคดีความที่ตัดสินโดยศาลนั้น ตามมาตรา5ของพ.ร.บ.ปรองดอง ยืนยันว่าบางคดีความสามารถนำกลับมาสู่กระบวนการยุติธรรมได้
โดยประธานกรรมาธิการของพรรคเพื่อไทยพยายามเสนอให้มีการปิดการประชุม จึงเกิดการโต้เถียงกันในระหว่างการประชุม ในขณะที่ประธานกรรมาธิการในฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ พยายามโต้แย้งว่า ฝ่ายนิติกร ผอ.สำนักการประชุม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายที่จะมาชี้ขาดว่า พ.ร.บ.นี้เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ แต่ทั้งนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มีน้ำเสียงที่แข็งกร้าว ได้ย้ำว่า การชี้แจงของผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. และประธานกรรมาธิการเพียงพอแล้วว่าไม่เกี่ยวกับกฎหมายการเงิน
ก่อนการปิดประชุม ประธานกรรมาธิการพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ พล.อ.สนธิ ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่คืนเงินให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พล.อ.สนธิ ยืนยันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้า ประธานกรรมาธิการฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ได้วอล์กเอ้าท์จากห้องประชุมไปแล้ว เหลือเพียงแค่นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เพียงคนเดียว ทำให้มติที่ประชุมระบุว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การเงิน ด้วยคะแนน 22ต่อ 1 คะแนน จากนั้นได้ปิดประชุมเมื่อเวลา16.20 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัดส่วนคณะกรรมาธิการ 35 คน แบ่งเป็น พรรครัฐบาล 22คน พรรคฝ่ายค้าน 13 คน
**บังเละ ยังอ้างไม่ใช่นอมินี ไม่มีคืนเงิน
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.ปรองดองที่เขียนโดยพรรคมาตุภูมิ ไม่ใช่นอมินีของพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นการเขียนจากสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และส่วนตัวไม่มีปัญหาที่จะชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เพราะเป้าหมายของกฎหมายฉบับนี้ ต้องการทำให้เกิดความปรองดองอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ากฎหมายที่ตนเสนอไม่มีเรื่องการคืนเงิน 4.6 หมื่นล้านบาทให้พ.ต.ท.ทักษิณ หรือล้มล้างคำพิพากษาอย่างที่มีการกล่าวหา
**"ปู"ตีกรรเชียงอ้างยังไม่เห็นร่าง
ที่โรงแรมแชงกรี-ลา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าจะมาพูดคุยกันถึงรายละเอียดของเนื้อหา ก็จะเร็วเกินไป ขณะที่เนื้อหาของกฎหมายก็มีหลายฉบับ ต้องให้ส.ส.ในสภาฯ ถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปในการเดินหน้าประเทศ
เมื่อถามว่า ควรชะลอหรือทบทวนเรื่องดังกล่าวในช่วงนี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของสภาฯ ที่จะหารือกัน ส่วนของรัฐบาลคงทำหน้าที่ของเราในการดูแลความสงบและความมั่นคงของประเทศ รวมถึงขอความร่วมมือจากทุกส่วนในการสร้างความสงบสุข
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจำเป็นต้องมาพูดคุยถึงเนื้อหาและกระบวนการปรองดองหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทยที่จะหารือกันเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของทุกฝ่าย
“ยังไม่เห็นเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ปรองดองทุกฉบับ ไม่ว่าผลการพิจารณาของฝ่ายสภาฯ ออกมาเป็นอย่างไร ตนพร้อมปฏิบัติตามอยู่แล้ว”
ต่อข้อถามว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศ จะขับเคลื่อนประเทศอย่างไร ในเมื่อสภาฯ เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเช่นนั้น และนอกสภาก็มีการเคลื่อนไหวชุมนุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าเป็นที่ลำบากใจ ซึ่งตนขอเรียนว่าอำนาจฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติแยกกัน
เมื่อถามว่า เนื้อหาของกฎหมายถูกมองว่ามีการแทรกแซงอำนาจตุลาการ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีการแทรกแซง
**40 ส.ว. จี้รัฐถอนร่างปรองดอง
นายสมชาย แสวงการ ตัวแทนกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า เนื่องจากมีการชุมนุมของฝ่ายคัดค้านที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความขัดแย้งสูงขึ้น และทราบข่าวว่ามีการระดมมวลชนของฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ปลุกระดมมวลชนเข้ามาที่รัฐสภา ซึ่งเป็นห่วงว่าหากมวลชนทั้ง 2 ฝ่ายเกิดการเผชิญหน้า และเกิดการปะทะกัน จะมีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย เพราะมีแรงจูงใจว่าจะได้เงิน 7.75 ล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลสามารถป้องกันได้ โดยขอเรียกร้องให้ผู้เสนอร่างพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ ออกจากสภาฯ ไปก่อน
ขณะเดียวกันเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เคยออกแถลงการณ์ว่าหากมีผู้นำ ผลการศึกษาเรื่องความปรองดองของทางสถาบันไปใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะถอนรายงานทันที ซึ่งบัดนี้เกิดการฉวยโอกาสเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสู่สภา ดังนั้น ทางสถาบันพระปกเกล้า ควรรักษาคำพูด
**“ปุระชัย”ย้ำแม้วต้องมาสู้คดี
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา เนื่องจากรัฐบาลควรที่เดินหน้าบริหารประเทศให้ดีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เสียก่อน ที่จะเสนอพ.ร.บ.ฉบับนี้ และไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาหลักในร่างนี้ เพราะเป็นการทำลาย ลบล้างคำตัดสินของศาล ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนปรับอารมณ์ความรู้สึกให้ตรงกันเสียก่อน อีกทั้งพ.ร.บ.ที่เสนอเข้ามานี้ ไม่ใช่แนวทางของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่เสนอไว้ที่จะต้องมีการถามความเห็นจากสังคมเสียก่อน
“พ.ต.ท.ทักษิณ ควรที่จะยอมรับคำตัดสินของศาล กลับมาสู้คดี หากต้องติดคุก ก็ต้องยอม ไม่ต้องกลัวการติดคุก ดูตัวอย่างจากนายเนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ที่ยอมติดคุกก่อน จนถึงอายุ 70 ปี และออกมาก็ได้รับการยกย่อง” ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าว
**บี้"ปู"อย่าลอยเหนือปัญหาขัดแย้ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะอยู่เหนือปัญหาไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง และนโยบายการสร้างความปรองดอง การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล และกฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการเงิน ดังนั้นรัฐบาลต้องแสดงท่าทีให้ชัดว่าพร้อมที่จะคืนเงิน 4.6หมื่นล้านบาทให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ หรือกรณีมีการปรับทางอาญาอื่นๆ หรือไม่ และที่สำคัญกฎหมายนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล จะพยายามใช้วิธีเอาพรรคการเมืองมาเสนอแล้วไม่ต้องรับผิดชอบมันไม่ได้ และขอตำหนิพล.อ.สนธิ ที่ไม่ร่วมประชุม ทั้งที่เป็นตัวการต้นเรื่อง ไม่กล้าที่จะมาเผชิญเหตุ
วานนี้ (31 พ.ค.) การประชุมสภาผู้แทนราษฎร เริ่มขึ้น เมื่อเวลา 16.30 น. โดยมีนายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นประธาน ภายหลังการประชุมร่วมระหว่างประธานกรรมาธิการสามัญประจำสภา ทั้ง 35 คณะ เพื่อวินิจฉัยว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ พ.ศ. ... (พ.ร.บ.ปรองดอง) ทั้ง 4 ฉบับ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับการเงินตามมาตรา 143 หรือไม่ กว่า 5 ชั่วโมง โดยมีมติมติ 22 ต่อ 1 เสียง เห็นว่า พ.ร.บ.ปรองดองทั้ง 4 ฉบับ ไม่เป็นกฎหมายการเงิน จึงไม่ต้องดำเนินการตามที่ฝ่ายค้านต้องการ
ส่วนการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ใช้เวลาเพียง 15 นาที โดยพรรคฝ่ายค้าน เช่น นายศุภชัย ศรีล้า ส.ส. อุบลราชธานี พรรคประชาธิปัตย์ แย้งว่า ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ได้ทำการยื่นถดถอนประธานสภาฯ แล้ว และเรื่องนี้ก็อยู่ในขั้นตอนการดำเนินการของประธานวุฒิสภา ดังนั้น เพื่อให้การพิจาณาเป็นไปอย่างราบรื่น ประธานควรพิจารณาว่าควรจะนั่งอยู่ต่อไปหรือไม่
แต่นายสุนัย จุลพงศธร ส.ส. บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การที่สมาชิกยื่นถอดถอนนั้น ตนเข้าใจว่าตั้งใจมานานแล้ว และประธานใช้ความอดทนต่อการถูกกล่าวหามาตลอด ซึ่งก็ดีจะได้รู้อะไรผิดถูก แต่รัฐธรรมนูญไม่มีข้อบังคับใดๆ บอกไม่ให้นั่งทำหน้าที่ต่อไป ควรร่วมกันหาทางประนีประนอม ให้การประชุมดำเนินการไป เพื่อให้สังคมเห็นว่าเราอยากหาทางให้สังคมสงบสุขจริงๆ แต่ถ้าไม่ ตนก็ยังยืนยันว่าประธานกระทำถูกทุกอย่างแล้ว
จากนั้นนายสมศักดิ์จะขอดำเนินการประชุมต่อไป แต่นายธนา ชีรวินิจ ส.ส. กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ลุกขึ้นอภิปรายว่า เมื่อคิดว่า 35 เสียงจะมีความเห็นเบ็ดเสร็จก็ว่ากันไป แต่เมื่อเรื่องกลับมายังสภาฯ สิ่งที่ต้องทำ ไม่ใช่ดำเนินการต่อไป แต่ประธานต้องให้สมาชิกซักถามในลายละเอียดการประชุม
อย่างไรก็ตาม ส.ส.เพื่อไทย พยายามอ้างว่า ประธานได้แจ้งมติ กมธ.ไปแล้ว ต้องเข้าสู่วาระที่จะเลื่อนหรือไม่เลื่อนแล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายประกอบ รัตนพันธ์ ส.ส.นครศรีธรรมราช พรรคประชาธิปัตย์ พยายามที่จะเล่าถึงเหตุการณ์ เพื่อยืนยันว่าบรรยากาศไม่ได้เป็นไปอย่างราบรื่น แต่นายสมศักดิ์ตัดบทไม่ให้พูด เพราะจบขบวนการแล้ว และเป็นไปตามที่ฝ่ายค้านร้องขอด้วยซ้ำ ดังนั้น ต้องดำเนินการต่อ คือ พิจารณาญัตติของ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน พรรคเพื่อไทย และมีการใช้เวลาประชุมไป4ชั่วโมง 45 นาที น่าจะได้ข้อสรุป
ฝ่ายนายธนา ซึ่งยืนอภิปรายค้างอยู่ ได้ขอใช้สิทธิ์อภิปรายต่อไป และขอร้องให้นายสมศักดิ์ดำเนินการประชุมตามหลักเกณฑ์ ไม่ใช่มีอะไรมากระทบอารมณ์ไม่พอใจแล้วสั่งการทันทีแบบนี้
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศในที่ประชุมเริ่มเข้มข้นขึ้นทันที ขณะที่เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยรัฐสภา เริ่มทยอยกันเข้ามาล้อมนายสมศักดิ์ที่เริ่มมีสีหน้าเคร่งเครียด โดยนายสมศักดิ์ได้กล่าวว่า ตนไม่ได้อารมณ์เสีย แต่การอภิปรายเป็นเรื่องที่ประธานจะอนุญาต และเห็นว่าสมควรแล้ว แต่นายธนาแย้งว่าตนยังไม่ได้เริ่มอธิปรายเลย นายสมศักดิ์ตัดบทจะให้เข้าญัตติที่ค้างไว้ทันที ทำให้ฝ่ายค้านพากันโห่ และพากันลุกขึ้นยืนประท้วง
ขณะที่นายวัชระ เพชรทอง ขอให้ประธานสั่งปลดอาวุธตำรวจสภาก่อน เพราะมีการพกอาวุธเข้ามาในที่ประชุม
จากนั้นนายสมศักดิ์ ได้ตัดบทไปถามเรื่องญัตติและจะขอมติต่อที่ประชุม ทำให้ฝ่ายค้านเริ่มส่งเสียงโห่อย่างต่อเนื่อง แต่นายสมศักดิ์ได้ขอให้แสดงตน มีผู้เข้าร่วมประชุม 272 คน จากนั้นถามมติ ขณะที่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ หลายคนเริ่มลุกฮือขึ้นมา อาทิ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม ส.ส.พิษณุโลก และนพ.สุกิจ อัตโถปกรณ์ ส.ส.ตรัง นายอรรถพร พลบุตร ส.ส. เพชรบุรี นายจุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พากันมายืนประท้วงหน้าบัลลังก์ พร้อมโบกหนังสือข้อบังคับการประชุม แต่นายสมศักดิ์ก็ยังคงให้สมาชิกใช้สิทธิ์ลงคะแนนต่อไป โดยผลปรากฏว่า ที่ประชุมมีมติเห็นด้วยเลื่อนญัตติด่วน 272 เสียงต่อ 2 เสียง ก่อนที่นายสมศักดิ์ จะสั่งปิดประชุมเวลาประมาณ 17.00 น.
หลังจาก นายสมศักดิ์ สั่งปิดการประชุม สร้างความโกรธแค้นให้กับส.ส. ประชาธิปัตย์อย่างยิ่ง อาทิ นพ.วรงค์ ได้เขวี้ยงหนังสือระเบียบการประชุมเฉียดหน้านายสมศักดิ์ และมีบางส่วนถูกตัวนายสมศักดิ์ด้วย ท่ามกลางเสียงต่อว่า เช่น “เผด็จการ” “ออกไป” “ประธานทำผิดข้อบังคับ” แต่นายสมศักดิ์ยังคงนิ่งเฉย พร้อมกับประกาศนัดประชุมเวลา 9.30 น. ของวันที่ 1 มิ.ย.นี้ จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจสภาได้รีบกันตัวนายสมศักดิ์ลงจากบัลลังก์ และรีบขึ้นรถยนต์ออกจากอาคารรัฐสภาอย่างร้อนรน
ขณะที่บรรยากาศในห้องประชุมยังคงวุ่นวาย และมีส.ส.ทั้งสองฝ่ายเผชิญหน้ากันหลายคู่ อาทิ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส. กทม. พรรคเพื่อไทย ได้เดินไปต่อว่านายธานี เทือกสุบรรณ ส.ส. สุราษฏรธานี พรรคประชาธิปัตย์ ด้วยสีหน้าไม่พอใจ ส่วนนายการุณ โหสกุล ส.ส. กทม.พรรคเพื่อไทย ได้เดินปรี่เข้ามาสมทบ แต่ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ บางส่วนได้มากันตัวออกไปก่อนที่จะเกิดการปะทะกัน
**"มาร์ค"บอกภาพลักษณ์เสียก็ต้องยอม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ และผู้นำฝ่ายค้าน พร้อมส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ แถลงร่วมกันว่า ขอรัฐบาลอย่าเร่งรัดกฎหมายนิรโทษกรรม ขอให้ประชาชนได้เข้าใจเนื้อหาก่อน และนายกรัฐมนตรีก็ควรเข้าร่วมประชุมด้วย ส่วนความวุ่นวาย ยอมรับแม้จะทำให้ภาพลักษณ์พรรคเสีย แต่เป็นการทำเพื่อให้ประเทศไม่เสียหายจากกฎหมายปรองดอง
ทั้งนี้ พรรคจะออกเดินสายอธิบายความหมายของ พ.ร.บ.ปรองดอง ว่ามันเป็นภัยกับประเทศ และจะเรียกร้องให้ ประชาชนออกมา แสดงออกคัดค้าน ต่อต้าน การผ่าน พ.ร.บ.ปรองดองนี้ด้วยกัน และจะปกป้องผลประโยชน์ของชาติและประชาชนต่อไปอย่างเข้มแข็ง
**22 กมธ.เพื่อไทยโหวตผ่าน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมร่วมกันของประธานกรรมาธิการ 35 คณะในช่วงเช้า ฝ่ายค้านติดใจในมาตรา5ว่าจะเป็นกฎหมายที่ล้มคดีความทั้งหมดเกี่ยวกับผลพวงจากการรัฐประหารตามคำสั่งของประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) โดยนายสมศักดิ์ สั่งให้นางบุษกร อำพรประภา ผู้อำนวยการสำนักการเป็นผู้ชี้แจง ว่า ร่างพ.ร.บ.ทั้ง4ฉบับไม่มีบทบัญญัติใดให้คืนเงินหรือจ่ายเงินให้ใคร โดยเฉพาะคดียึดทรัพย์ 4.6ล้านบาทของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ถือว่าเป็นเงินของแผ่นดินแล้ว ซึ่งการฟ้องร้องจะไม่ครอบคลุมการฟ้องร้องรัฐ แต่เป็นเรื่องบุคคลต่อบุคคล
ขณะที่พล.อ.สนธิ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ และนายสามารถ แก้วมีชัย ผู้นำเสนอร่างยืนยันว่า ร่างดังกล่าวไม่เกี่ยวกับกฎหมายการเงิน และจะเป็นยกเว้นโทษดำเนินคดีจากความขัดแย้งทางการเมืองเท่านั้น ส่วนที่มีความเป็นห่วงว่าจะไปยกเลิกคดีความที่ตัดสินโดยศาลนั้น ตามมาตรา5ของพ.ร.บ.ปรองดอง ยืนยันว่าบางคดีความสามารถนำกลับมาสู่กระบวนการยุติธรรมได้
โดยประธานกรรมาธิการของพรรคเพื่อไทยพยายามเสนอให้มีการปิดการประชุม จึงเกิดการโต้เถียงกันในระหว่างการประชุม ในขณะที่ประธานกรรมาธิการในฝั่งพรรคประชาธิปัตย์ พยายามโต้แย้งว่า ฝ่ายนิติกร ผอ.สำนักการประชุม ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ฝ่ายกฎหมายที่จะมาชี้ขาดว่า พ.ร.บ.นี้เกี่ยวกับการเงินหรือไม่ แต่ทั้งนี้ ประธานสภาผู้แทนราษฎรที่มีน้ำเสียงที่แข็งกร้าว ได้ย้ำว่า การชี้แจงของผู้เสนอร่าง พ.ร.บ. และประธานกรรมาธิการเพียงพอแล้วว่าไม่เกี่ยวกับกฎหมายการเงิน
ก่อนการปิดประชุม ประธานกรรมาธิการพรรคประชาธิปัตย์เรียกร้องให้ พล.อ.สนธิ ยืนยันว่าร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวจะไม่คืนเงินให้กับ พ.ต.ท.ทักษิณ โดย พล.อ.สนธิ ยืนยันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับกฎหมายการเงิน
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้า ประธานกรรมาธิการฝ่ายพรรคประชาธิปัตย์ ได้วอล์กเอ้าท์จากห้องประชุมไปแล้ว เหลือเพียงแค่นายเชน เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี เพียงคนเดียว ทำให้มติที่ประชุมระบุว่า ร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวไม่เกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.การเงิน ด้วยคะแนน 22ต่อ 1 คะแนน จากนั้นได้ปิดประชุมเมื่อเวลา16.20 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สัดส่วนคณะกรรมาธิการ 35 คน แบ่งเป็น พรรครัฐบาล 22คน พรรคฝ่ายค้าน 13 คน
**บังเละ ยังอ้างไม่ใช่นอมินี ไม่มีคืนเงิน
พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน หัวหน้าพรรคมาตุภูมิ กล่าวยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.ปรองดองที่เขียนโดยพรรคมาตุภูมิ ไม่ใช่นอมินีของพรรคเพื่อไทย เพราะเป็นการเขียนจากสมาชิกพรรคการเมืองหลายพรรค และส่วนตัวไม่มีปัญหาที่จะชี้แจงต่อที่ประชุมสภาฯ เกี่ยวกับร่างพ.ร.บ.ปรองดองแห่งชาติ เพราะเป้าหมายของกฎหมายฉบับนี้ ต้องการทำให้เกิดความปรองดองอย่างแท้จริง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่ากฎหมายที่ตนเสนอไม่มีเรื่องการคืนเงิน 4.6 หมื่นล้านบาทให้พ.ต.ท.ทักษิณ หรือล้มล้างคำพิพากษาอย่างที่มีการกล่าวหา
**"ปู"ตีกรรเชียงอ้างยังไม่เห็นร่าง
ที่โรงแรมแชงกรี-ลา น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ถ้าจะมาพูดคุยกันถึงรายละเอียดของเนื้อหา ก็จะเร็วเกินไป ขณะที่เนื้อหาของกฎหมายก็มีหลายฉบับ ต้องให้ส.ส.ในสภาฯ ถกเถียงกันเพื่อหาข้อสรุปในการเดินหน้าประเทศ
เมื่อถามว่า ควรชะลอหรือทบทวนเรื่องดังกล่าวในช่วงนี้หรือไม่ นายกฯ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นความรับผิดชอบของสภาฯ ที่จะหารือกัน ส่วนของรัฐบาลคงทำหน้าที่ของเราในการดูแลความสงบและความมั่นคงของประเทศ รวมถึงขอความร่วมมือจากทุกส่วนในการสร้างความสงบสุข
ผู้สื่อข่าวถามว่า พรรคเพื่อไทยและพรรคร่วมรัฐบาลจำเป็นต้องมาพูดคุยถึงเนื้อหาและกระบวนการปรองดองหรือไม่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า เป็นเรื่องของพรรคเพื่อไทยที่จะหารือกันเพื่อสะท้อนความคิดเห็นของทุกฝ่าย
“ยังไม่เห็นเนื้อหาในร่างพ.ร.บ.ปรองดองทุกฉบับ ไม่ว่าผลการพิจารณาของฝ่ายสภาฯ ออกมาเป็นอย่างไร ตนพร้อมปฏิบัติตามอยู่แล้ว”
ต่อข้อถามว่า ในฐานะที่เป็นผู้นำประเทศ จะขับเคลื่อนประเทศอย่างไร ในเมื่อสภาฯ เกิดเหตุการณ์ความวุ่นวายเช่นนั้น และนอกสภาก็มีการเคลื่อนไหวชุมนุม น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ยอมรับว่าเป็นที่ลำบากใจ ซึ่งตนขอเรียนว่าอำนาจฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติแยกกัน
เมื่อถามว่า เนื้อหาของกฎหมายถูกมองว่ามีการแทรกแซงอำนาจตุลาการ นายกฯ กล่าวว่า ไม่มีการแทรกแซง
**40 ส.ว. จี้รัฐถอนร่างปรองดอง
นายสมชาย แสวงการ ตัวแทนกลุ่ม 40 ส.ว. กล่าวว่า เนื่องจากมีการชุมนุมของฝ่ายคัดค้านที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะมีความขัดแย้งสูงขึ้น และทราบข่าวว่ามีการระดมมวลชนของฝ่ายแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ที่นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. ใช้สื่อวิทยุและโทรทัศน์ปลุกระดมมวลชนเข้ามาที่รัฐสภา ซึ่งเป็นห่วงว่าหากมวลชนทั้ง 2 ฝ่ายเกิดการเผชิญหน้า และเกิดการปะทะกัน จะมีผู้บาดเจ็บ ล้มตาย เพราะมีแรงจูงใจว่าจะได้เงิน 7.75 ล้านบาท ซึ่งทางรัฐบาลสามารถป้องกันได้ โดยขอเรียกร้องให้ผู้เสนอร่างพ.ร.บ.ทั้ง 4 ฉบับ ออกจากสภาฯ ไปก่อน
ขณะเดียวกันเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า เคยออกแถลงการณ์ว่าหากมีผู้นำ ผลการศึกษาเรื่องความปรองดองของทางสถาบันไปใช้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งก็จะถอนรายงานทันที ซึ่งบัดนี้เกิดการฉวยโอกาสเสนอร่างพ.ร.บ.ปรองดอง เข้าสู่สภา ดังนั้น ทางสถาบันพระปกเกล้า ควรรักษาคำพูด
**“ปุระชัย”ย้ำแม้วต้องมาสู้คดี
ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครักษ์สันติ กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ถึงเวลา เนื่องจากรัฐบาลควรที่เดินหน้าบริหารประเทศให้ดีทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมือง เสียก่อน ที่จะเสนอพ.ร.บ.ฉบับนี้ และไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาหลักในร่างนี้ เพราะเป็นการทำลาย ลบล้างคำตัดสินของศาล ถือเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความปรองดองจะเกิดขึ้นได้ ต้องใช้เวลาในการแก้ปัญหาสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนปรับอารมณ์ความรู้สึกให้ตรงกันเสียก่อน อีกทั้งพ.ร.บ.ที่เสนอเข้ามานี้ ไม่ใช่แนวทางของคณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ (คอป.) ที่เสนอไว้ที่จะต้องมีการถามความเห็นจากสังคมเสียก่อน
“พ.ต.ท.ทักษิณ ควรที่จะยอมรับคำตัดสินของศาล กลับมาสู้คดี หากต้องติดคุก ก็ต้องยอม ไม่ต้องกลัวการติดคุก ดูตัวอย่างจากนายเนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ที่ยอมติดคุกก่อน จนถึงอายุ 70 ปี และออกมาก็ได้รับการยกย่อง” ร.ต.อ.ปุระชัย กล่าว
**บี้"ปู"อย่าลอยเหนือปัญหาขัดแย้ง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะอยู่เหนือปัญหาไม่ได้ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ของบ้านเมือง และนโยบายการสร้างความปรองดอง การรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่โดยตรงของรัฐบาล และกฎหมายฉบับนี้มีปัญหาเรื่องการเงิน ดังนั้นรัฐบาลต้องแสดงท่าทีให้ชัดว่าพร้อมที่จะคืนเงิน 4.6หมื่นล้านบาทให้กับพ.ต.ท.ทักษิณ หรือกรณีมีการปรับทางอาญาอื่นๆ หรือไม่ และที่สำคัญกฎหมายนี้เป็นความรับผิดชอบของรัฐบาล จะพยายามใช้วิธีเอาพรรคการเมืองมาเสนอแล้วไม่ต้องรับผิดชอบมันไม่ได้ และขอตำหนิพล.อ.สนธิ ที่ไม่ร่วมประชุม ทั้งที่เป็นตัวการต้นเรื่อง ไม่กล้าที่จะมาเผชิญเหตุ