ASTVผู้จัดการรายวัน-รัฐบาลจนมุมคุมอาหารแพง ขึ้นบัญชีควบคุม "อาหารปรุงสำเร็จ" 10 เมนู พร้อมเดินหน้าตั้งราคาให้พ่อค้าแม่ค้าขาย ปัดคุมชุดนักเรียน อ้างผู้ผลิตยังไม่ขึ้นราคา เจอ ปชป. สวนกลับลงตรวจตลาดบางลำพู พบราคาพาณิชย์กับราคาขายจริงแตกต่างกันจนเว่อร์ ด้านเรกูเลเตอร์สนองการเมือง ตรึงค่าเอฟทีให้ประชาชน 1 เดือน เฉพาะพ.ค.นี้
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) วานนี้ (10 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้นำสินค้าอาหารปรุงสำเร็จเข้าสู่บัญชีสินค้าควบคุม เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน และเข้มข้นขึ้น หลังมีแนวโน้มว่า ราคาอาหารปรุงสำเร็จยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในบางช่วงเวลา ราคาวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารได้ลดลง แต่ราคาอาหารปรุงสำเร็จกลับไม่ลดลงตาม อีกทั้งก่อนหน้านี้ ได้ใช้มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ แต่ก็แทบไม่ได้รับความร่วมมือ จึงต้องนำเข้าสู่บัญชีสินค้าควบคุม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาสัปดาห์หน้า และจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ ส่งผลให้รายการสินค้าและบริการควบคุมเพิ่มเป็น 43 รายการ จากเดิม 42 รายการ
ทั้งนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลอาหารปรุงสำเร็จ โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นรองประธานและเลขานุการ มีกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อกำหนดราคาควบคุมสูงสุดของอาหารแต่ละรายการ กำหนดกลุ่มร้านค้าเป้าหมายที่จะต้องขายตามราคาควบคุม และบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า อาหารปรุงสำเร็จที่จะถูกใช้มาตรการควบคุม มีประมาณ 10 รายการ ได้แก่ ข้าวไข่เจียว, ข้าวราดแกงหรือกับข้าว 1 อย่าง, ข้าวไข่พะโล้, ข้าวขาหมู, ข้าวกระเพราหมู/ไก่, ข้าวผัดหมู/ไก่, ก๋วยเตี๋ยวหมู/ไก่/ลูกชิ้นปลา, ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า, ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว และขนมจีนน้ำยา/แกงไก่ แต่หลังจากคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว อาจเพิ่มรายการอื่นๆ ที่ประชาชนนิยมบริโภคเข้าไปอีก โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ควบคุม เช่น ข้าวไข่เจียว อาจกำหนดราคาสูงสุดไม่เกินจานละ 20 บาท ส่วนรายการอื่นๆ ราคาอาจจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น ในเมืองอาจแพงกว่าชานเมือง หรือในห้าง ศูนย์อาหาร อาจแพงกว่าข้างนอก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมกกร.ครั้งนี้ ไม่มีการพิจารณาเพิ่มมาตรการสำหรับดูแลสินค้าน้ำตาลทราย ที่มีผู้ค้าบางรายขายเกินราคาควบคุมที่กำหนดไว้กิโลกรัม (กก.) ละ 23.50 บาท หรือชุดนักเรียน ที่ในช่วงนี้มีการซื้อมากขึ้น เพราะอยู่ในช่วงก่อนการเปิดเทอม เนื่องจากได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตว่า ในช่วงนี้ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแน่นอน เพราะได้มีการผลิตไว้ล่วงหน้าก่อนค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้น
**ชุดนักเรียนขึ้นฉีกหน้าพาณิชย์ยับ
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีมาตรการดูแลราคาชุดนักเรียนเพิ่มเติม โดยระบุว่า ผู้ผลิตได้ยืนยันไม่มีการปรับขึ้นราคา แต่นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นย่านบางลำพู เพื่อตรวจสอบราคาชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนก่อนถึงช่วงเปิดเทอม เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนว่ามีการขึ้นราคาเครื่องแบบนักเรียนจนถึงชุดละเกือบ 500 บาทเข้ามาจำนวนมาก โดยได้เชิญนางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมตรวจสอบด้วย
นายชนินทร์กล่าวว่า ผลการสำรวจพบว่าราคาขายจริงที่กระทรวงพาณิชย์สำรวจ ไม่ตรงกับราคาจริงที่ร้านค้าขาย แม้ผู้ค้าจะยืนยันว่าไม่มีการปรับขึ้นราคาจากปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยชุดนักเรียนชายอยู่ที่ 450 บาท แต่กระทรวงพาณิชย์ประเมินมาแค่ 100-200 บาท ซึ่งจะติดตามว่าเหตุใดราคาจึงแตกต่างกันมาก และจะนำข้อมูลไปหารือกับหน่วยงานภาครัฐว่าของแพงขึ้นจริง ประชาชนไม่ได้คิดไปเอง
**"มาร์ก"แนะแก้ที่ต้นทุนดีกว่าควบคุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนคุยกันเรื่องโครงสร้างต้นทุนมากกว่าว่ามาจากน้ำมันเท่าไร ค่าแรงเท่าไร จากนั้นค่อยไปดูว่าจะช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดต้นทุนได้อย่างไร ดีกว่าที่จะมาเพิ่มสินค้าตัวนั้นตัวนี้เป็นสินค้าควบคุม เพราะการควบคุมราคาในที่สุดก็จะเป็นการฝืนความจริง คนประกอบธุรกิจถ้าจะให้เขาขาดทุน เขาก็อยู่ไม่ได้
**ตรึงเอฟทีเดือนพ.ค.สนองรัฐ
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า ที่ประชุมเรกูเลเตอร์มีมติให้ตรึงอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ในเดือนพ.ค. เป็นระยะเวลา 1 เดือนโดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระดังกล่าวคิดเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการใช้ไฟฟ้ามาก เพราะอากาศร้อน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีภาระด้านค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
“เดิมค่าเอฟทีที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ คือ พ.ค.-ส.ค.2555 เรกูเลเตอร์ได้เห็นชอบให้ปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งสะท้อนตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เพื่อลดภาระประชาชนที่ช่วงเม.ย.-พ.ค. เป็นช่วงอากาศร้อน ประชาชนใช้ไฟมาก เมื่อค่าไฟแพง จะทำให้รายจ่ายสูง จึงให้คงค่าไฟเฉพาะเดือนพ.ค. แต่หลังจากนั้นเดือนมิ.ย.-ส.ค. ค่าเอฟทีก็จะปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อหน่วยตามมติเดิม”นายดิเรกกล่าว
***สหพัฒน์ยันตรึงสินค้าถึงไตรมาส2
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทจะตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคไว้ให้นานที่สุด แม้ว่าต้นทุนแรงงานและราคาพลังงานจะขยับสูงทำให้ค่าขนส่งขึ้นแล้ว 5% โดยจะทบทวนต้นทุนการผลิตอีกครั้งในปลายไตรมาส 2 เนื่องจากสต็อกวัตถุดิบราคาเดิมจะหมดลง หากราคาวัตถุดิบและต้นทุนพลังงาน ค่าขนส่งสูงขึ้นก็คงต้องขอประชาชนเพื่อปรับขึ้นราคาเล็กน้อย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่มีแผนจะปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน แม้ว่าค่าแรงงาน และต้นทุนอาหารสัตว์จะสูงขึ้น ทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นก็ตาม
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) วานนี้ (10 พ.ค.) ว่า ที่ประชุมมีมติให้นำสินค้าอาหารปรุงสำเร็จเข้าสู่บัญชีสินค้าควบคุม เพื่อให้สามารถกำหนดมาตรการกำกับดูแลได้อย่างชัดเจน และเข้มข้นขึ้น หลังมีแนวโน้มว่า ราคาอาหารปรุงสำเร็จยังเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้ในบางช่วงเวลา ราคาวัตถุดิบที่ใช้ประกอบอาหารได้ลดลง แต่ราคาอาหารปรุงสำเร็จกลับไม่ลดลงตาม อีกทั้งก่อนหน้านี้ ได้ใช้มาตรการขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ แต่ก็แทบไม่ได้รับความร่วมมือ จึงต้องนำเข้าสู่บัญชีสินค้าควบคุม เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน โดยจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาสัปดาห์หน้า และจะออกประกาศให้มีผลบังคับใช้ได้ภายในเดือนพ.ค.นี้ ส่งผลให้รายการสินค้าและบริการควบคุมเพิ่มเป็น 43 รายการ จากเดิม 42 รายการ
ทั้งนี้ ยังได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลอาหารปรุงสำเร็จ โดยมีปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และอธิบดีกรมการค้าภายใน เป็นรองประธานและเลขานุการ มีกรรมการจากหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เพื่อกำหนดราคาควบคุมสูงสุดของอาหารแต่ละรายการ กำหนดกลุ่มร้านค้าเป้าหมายที่จะต้องขายตามราคาควบคุม และบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า อาหารปรุงสำเร็จที่จะถูกใช้มาตรการควบคุม มีประมาณ 10 รายการ ได้แก่ ข้าวไข่เจียว, ข้าวราดแกงหรือกับข้าว 1 อย่าง, ข้าวไข่พะโล้, ข้าวขาหมู, ข้าวกระเพราหมู/ไก่, ข้าวผัดหมู/ไก่, ก๋วยเตี๋ยวหมู/ไก่/ลูกชิ้นปลา, ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า, ก๋วยเตี๋ยวผัดซีอิ๊ว และขนมจีนน้ำยา/แกงไก่ แต่หลังจากคณะอนุกรรมการฯ พิจารณาแล้ว อาจเพิ่มรายการอื่นๆ ที่ประชาชนนิยมบริโภคเข้าไปอีก โดยมาตรการที่จะนำมาใช้ควบคุม เช่น ข้าวไข่เจียว อาจกำหนดราคาสูงสุดไม่เกินจานละ 20 บาท ส่วนรายการอื่นๆ ราคาอาจจะแตกต่างกันไปตามพื้นที่ เช่น ในเมืองอาจแพงกว่าชานเมือง หรือในห้าง ศูนย์อาหาร อาจแพงกว่าข้างนอก
อย่างไรก็ตาม ในการประชุมกกร.ครั้งนี้ ไม่มีการพิจารณาเพิ่มมาตรการสำหรับดูแลสินค้าน้ำตาลทราย ที่มีผู้ค้าบางรายขายเกินราคาควบคุมที่กำหนดไว้กิโลกรัม (กก.) ละ 23.50 บาท หรือชุดนักเรียน ที่ในช่วงนี้มีการซื้อมากขึ้น เพราะอยู่ในช่วงก่อนการเปิดเทอม เนื่องจากได้รับการยืนยันจากผู้ผลิตว่า ในช่วงนี้ยังไม่มีการปรับขึ้นราคาแน่นอน เพราะได้มีการผลิตไว้ล่วงหน้าก่อนค่าแรงขั้นต่ำปรับขึ้น
**ชุดนักเรียนขึ้นฉีกหน้าพาณิชย์ยับ
ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังไม่มีมาตรการดูแลราคาชุดนักเรียนเพิ่มเติม โดยระบุว่า ผู้ผลิตได้ยืนยันไม่มีการปรับขึ้นราคา แต่นายชนินทร์ รุ่งแสง ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการการพัฒนาเศรษฐกิจ สภาผู้แทนราษฎร ได้ลงพื้นย่านบางลำพู เพื่อตรวจสอบราคาชุดนักเรียนและอุปกรณ์การเรียนก่อนถึงช่วงเปิดเทอม เนื่องจากมีประชาชนร้องเรียนว่ามีการขึ้นราคาเครื่องแบบนักเรียนจนถึงชุดละเกือบ 500 บาทเข้ามาจำนวนมาก โดยได้เชิญนางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มาร่วมตรวจสอบด้วย
นายชนินทร์กล่าวว่า ผลการสำรวจพบว่าราคาขายจริงที่กระทรวงพาณิชย์สำรวจ ไม่ตรงกับราคาจริงที่ร้านค้าขาย แม้ผู้ค้าจะยืนยันว่าไม่มีการปรับขึ้นราคาจากปีที่ผ่านมาก็ตาม โดยชุดนักเรียนชายอยู่ที่ 450 บาท แต่กระทรวงพาณิชย์ประเมินมาแค่ 100-200 บาท ซึ่งจะติดตามว่าเหตุใดราคาจึงแตกต่างกันมาก และจะนำข้อมูลไปหารือกับหน่วยงานภาครัฐว่าของแพงขึ้นจริง ประชาชนไม่ได้คิดไปเอง
**"มาร์ก"แนะแก้ที่ต้นทุนดีกว่าควบคุม
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า อยากให้กระทรวงพาณิชย์กับภาคเอกชนคุยกันเรื่องโครงสร้างต้นทุนมากกว่าว่ามาจากน้ำมันเท่าไร ค่าแรงเท่าไร จากนั้นค่อยไปดูว่าจะช่วยกันแก้ไขปัญหาเพื่อลดต้นทุนได้อย่างไร ดีกว่าที่จะมาเพิ่มสินค้าตัวนั้นตัวนี้เป็นสินค้าควบคุม เพราะการควบคุมราคาในที่สุดก็จะเป็นการฝืนความจริง คนประกอบธุรกิจถ้าจะให้เขาขาดทุน เขาก็อยู่ไม่ได้
**ตรึงเอฟทีเดือนพ.ค.สนองรัฐ
นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) กล่าวว่า ที่ประชุมเรกูเลเตอร์มีมติให้ตรึงอัตราค่าไฟฟ้าอัตโนมัติ (FT) ในเดือนพ.ค. เป็นระยะเวลา 1 เดือนโดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับภาระดังกล่าวคิดเป็นเงินประมาณ 4,000 ล้านบาท เพื่อเป็นการช่วยเหลือลดค่าครองชีพประชาชนที่ในช่วงระยะเวลาดังกล่าวมีการใช้ไฟฟ้ามาก เพราะอากาศร้อน ซึ่งจะทำให้ประชาชนมีภาระด้านค่าไฟฟ้าสูงขึ้น
“เดิมค่าเอฟทีที่จะเรียกเก็บในบิลค่าไฟประชาชนรอบใหม่ คือ พ.ค.-ส.ค.2555 เรกูเลเตอร์ได้เห็นชอบให้ปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งสะท้อนตามต้นทุนเชื้อเพลิงที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่เพื่อลดภาระประชาชนที่ช่วงเม.ย.-พ.ค. เป็นช่วงอากาศร้อน ประชาชนใช้ไฟมาก เมื่อค่าไฟแพง จะทำให้รายจ่ายสูง จึงให้คงค่าไฟเฉพาะเดือนพ.ค. แต่หลังจากนั้นเดือนมิ.ย.-ส.ค. ค่าเอฟทีก็จะปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อหน่วยตามมติเดิม”นายดิเรกกล่าว
***สหพัฒน์ยันตรึงสินค้าถึงไตรมาส2
นายบุญชัย โชควัฒนา ประธานกรรมการ บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทจะตรึงราคาสินค้าอุปโภคและบริโภคไว้ให้นานที่สุด แม้ว่าต้นทุนแรงงานและราคาพลังงานจะขยับสูงทำให้ค่าขนส่งขึ้นแล้ว 5% โดยจะทบทวนต้นทุนการผลิตอีกครั้งในปลายไตรมาส 2 เนื่องจากสต็อกวัตถุดิบราคาเดิมจะหมดลง หากราคาวัตถุดิบและต้นทุนพลังงาน ค่าขนส่งสูงขึ้นก็คงต้องขอประชาชนเพื่อปรับขึ้นราคาเล็กน้อย
นายอดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหารบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ไม่มีแผนจะปรับขึ้นราคาอาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน แม้ว่าค่าแรงงาน และต้นทุนอาหารสัตว์จะสูงขึ้น ทำให้ราคาเนื้อสัตว์ปรับขึ้นก็ตาม