ASTVผู้จัดการรายวัน - ส.ว.รุมสับนโยบายพักหนี้เอาภาษีช่วยคนบางกลุ่ม-สร้างประเพณีที่ผิด เชื่อ“แม้ว”สั่งเดินหน้า ไล่ส่ง “ปู”บริหารงานไม่ได้ หวั่นประชานิยมบ้าคลั่งนำชาติวิบัติ ด้าน “มาร์ค” ไล่รัฐบาลออกกฎหมายภาษีที่ดิน แทนรีด VAT 1 % ยันไม่ใช่เวลาเหมาะสม กระทบเสถียรภาพเศรษฐกิจเตือนอย่าล้วงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ขณะบริหารขาดดุล ทำเศรษฐกิจเสี่ยง ห่วงการเมืองแทรกแบงก์ชาติ ส่ง "โกร่ง" เป็นประธานธปท. ย้ำอันตรายไม่แตกต่างจากวิกฤติต้มยำกุ้ง 40
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ทีมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองปรานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้หารือถึงนโยบายพักหนี้ดีของรัฐบาล ว่ารู้สึกไม่สบายใจและไม่เข้าใจว่ารัฐบาลทำไมจึงเกิดความคิดนี้ ทั้งที่การพักนี้ดีก่อให้เกิดผลเสียและความคิดนี้ทำให้กระทรวงการคลังไม่สามารถตกลงได้ เพราะเป็นความคิดของนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ทำให้รัฐมนตรีช่วยคลังอีกหนึ่งท่านที่ชีวิตครอบครัวของท่านผ่านการเป็นเจ้าของธนาคารมาก่อน ซึ่งรู้ดีว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมเกิดผลกระทบต่อฐานะของธนาคารอย่างไร จึงไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรมว.คลังที่จะตัดสินใจแต่ก็ยังไม่กล้าตัดสินใจ จนกระทั่งในช่วงสงกรานต์ที่ครม.ได้ไปรดน้ำดำหัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯที่ต่างประเทศ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้สั่งการทันทีให้ดำเนินนโยบายนี้ต่อไป ตนจึงสงสัยฝากเรียนถามไปยังนายกฯยิ่งลักษณ์มีนายกรัฐมนตรีอยู่นอกประเทศใช่หรือไม่ เนื่องจากท่านไม่สามารถตัดสินใจในการบริหารงานได้ ถ้าอย่างนั้นก็ให้ลาออกไปเสียให้มีนายกฯเพียงคนเดียวก็สิ้นเรื่อง
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวเสริมว่า นโยบายพักหนี้ดีของธนาคารรัฐ 5 แห่ง ที่กำหนดที่จะให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.เป็นต้นไป หนี้ดีหมายถึงผู้ที่มีหนี้ในธนาคารรัฐต่อรายไม่เกิน 5 แสนบาท ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ และเท่าที่ทราบเงินที่จะนำมาช่วยเหลือเป็นการหารกันคนละครึ่ง ระหว่างธนาคารรัฐ 5 แห่ง กับเงินของรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน ซึ่งตนมีคำถามและอยากให้รัฐบาลทบทวนในประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1.เป็นการเอาภาษีอากรของรัฐที่มีที่มาและจำนวนจำกัดไปใช้สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมถ้าถูกกลุ่มก็พอรับได้ แต่ถ้าผิดกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีกำลังอยู่แล้วรัฐบาลจะตอบคำถามนี้อย่างไร ในขณะที่คนยากจนที่เป็นหนี้เอ็นพีแอลหรือไม่มีโอกาสที่จะเป็นหนี้ก็ยังมีอยู่ ดังนั้นจะเป็นการคอร์รัปชั่นอย่างหนึ่งหรือไม่ 2.จะเป็นการสร้างประเพณีหรือสร้างความคาดหวังให้กับสังคมในทางที่ผิด ซึ่งต่อไปแทนที่จะไปกู้จากธนาคารเอกชนก็จะหันไปกู้ธนาคารของรัฐแทน เพราะมีโอกาสในการพักหนี้ได้ นอกจากนี้การกำหนดหลักเกณฑ์รายละไม่เกิน 5 แสนบาทอาจก่อให้เกิดการช่วยเหลือผิดกลุ่ม เพราะเราจะไม่รู้ว่าลูกหนี้รายนี้จะมีจากธนาคารรัฐรายชื่อด้วย หรือธนาคารเอกชนด้วย เพราะฉะนั้นจึงเห็นด้วยกับผู้ที่กล่าวว่าเป็นนโยบายประชานิยมบ้าคลั่ง จะนำชาติไปสู่ความวิบัติในที่สุด
*** “มาร์ค” จี้รัฐเก็บภาษีคนรวย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ เตือนรัฐบาลให้พิจารณาอย่างรอบคอบหลังจากนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศไทย หรือ กยอ. เสนอให้รัฐบาลขยายฐานภาษีด้วยการเพิ่มการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ vat อีก 1 % ว่ารัฐบาลต้องพิจารณาให้ดี เพราะขณะนี้ปัญหาค่าครองชีพเป็นเรื่องใหญ่ และการที่รัฐบาลยังผลักดันนโยบายด้านพลังงาน ขึ้นราคาแก๊ส น้ำมัน ค่าไฟ จะกระทบกับเรื่องของเงินเฟ้อ และความเชื่อมั่นของประชาชนทำให้การจับจ่ายใช้สอยได้รับผลกระทบแน่นอน หากเลือกจังหวะนี้ ในการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะเป็นการซ้ำเติมประชาชน และค่าครองชีพโดยตรง และรัฐบาลควรทบทวนความจำเป็นในการใช้จ่ายของรัฐบาลใหม่ เพราะหลายโครงการ อาศัยแนวคิดที่บอกว่า ป้องกันน้ำท่วม แต่ไปไกลถึงโครงการอื่นๆ อีกมากมาย แม้กระทั่งโครงการที่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบ จึงคิดว่า ขณะนี่ยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ เงินเฟ้อ และทบทวนการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ถ้ารัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องนี้ ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาสินค้าให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนมากขึ้น รวมถึงกดดันเงินเฟ้อ จนอาจอยู่ในภาวะที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยตรง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หากรัฐบาลต้องการหารายได้เพิ่ม และคิดให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ก็ควรจะเร่งผลักดันกฎหมายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างซึ่งในสมัยที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาแล้ว แต่รัฐบาลปล่อยให้ตกไปและไม่มีนโยบายที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อ ทั้งๆ ที่จะช่วยขยายฐานภาษี และทำให้เกิดความเป็นธรรม ต่อระบบการเก็บภาษีช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แตกต่างจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จะเป็นภาระต่อประชาชนทั้งประเทศ
ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการขยายฐานภาษี ก็ควรทำเรื่องภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพราะทำได้ทันที และยังช่วยแก้ปัญหาความเป็นธรรมซึ่งเป็นเรื่องในเชิงโครงสร้างด้วย อีกทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลถังแตกหรือเปล่า จึงพยายามหาวิธีรีดภาษีจากประชาชนเพิ่ม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลคิดถึงโคงการจำนวนมาก ในขณะที่การใช้จ่ายทั้งงบกลาง 1.2 แสนล้าน เงินน้ำท่วมจากการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีปัญหามากในเรื่องการกลั่นกรองโครงการ
*** ชี้ใช้ทุนสำรองกระทบเสถียรภาพ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่า เป็นเพราะรัฐบาลมีความคิดแต่จะใช้เงิน ไม่ประเมินภาวะเศรษฐกิจ และความจำเป็นของประเทศ เพราะแม้ว่าจะมีความจำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็ไม่ใช่เงินจำนวนมากมายมหาศาลเท่าที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการ โดยขาดรายละเอียดและพยายามหาเงินโดยผลักภาระให้ประชาชน ทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งตนเห็นว่ารัฐบาลต้องระมัดระวังเรื่องแนวคิดที่จะใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน เนื่องจากรัฐบาลบริหารประเทศจนเกิดภาวะขาดดุล
สำหรับการเปลี่ยนแปลงประธานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีข่าวว่า นายวีรพงษ์ อาจจะได้ดำรงตำแหน่งนี้ และอาจจะกระทบต่อนโยบายการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาลงทุนนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้การเลือกสรรประธานธนาคารแห่งประเทศไทย มีความเป็นอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงขอให้สนับสนุนคนที่จะรักษาเจตนารมณ์ และแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความแข็งแกร่งด้านการเงินการคลังมาโดยตลอด มียุคเดียวที่มีปัญหาคือ วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งเกิดปัญหาเพราะธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากการเมืองในเรื่องสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายปัจจุบันมีการเขียนป้องกันไว้อย่างดีที่สุด แต่ก็ไม่ทราบแนวทางว่า หากรัฐบาลต้องการแทรกแซง จะทำในรูปแบบไหน และถ้ามีการแทรกแซงเลือกคนที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองไปดำรงตำแหน่ง ประธานธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะเป็นอันตราย เพราะเราต้องรักษาแนวทางที่จะให้การเงินมีวินัย ถ้ามีแรงกดดันทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงนโยบายด้านการเงิน สถาบันการเงิน หรือ คิดที่จะใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว ก็จะเป็นอันตราย เพราะประธานธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายร่วมกับกรรมการนโยบายการเงินและผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ตามกฎหมายชัดเจนว่าสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาล ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าไปแทรกแซง เพื่อให้ได้บุคคลที่จะมาสนองตอบความต้องการของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ ยังมีความเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของผู้บริหาร ธปท. เพราะที่ผ่านมามีความพยายามกดดันหลายครั้งแต่ ธปท. ก็รักษาแนวทางและทำหน้าที่ของตนเอง
ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ทีมีนายนิคม ไวยรัชพานิช รองปรานวุฒิสภาคนที่ 1 ทำหน้าที่เป็นประธาน โดยก่อนเข้าสู่วาระการประชุม น.ส.สุมล สุตะวิริยะวัฒน์ ส.ว.เพชรบุรี ได้หารือถึงนโยบายพักหนี้ดีของรัฐบาล ว่ารู้สึกไม่สบายใจและไม่เข้าใจว่ารัฐบาลทำไมจึงเกิดความคิดนี้ ทั้งที่การพักนี้ดีก่อให้เกิดผลเสียและความคิดนี้ทำให้กระทรวงการคลังไม่สามารถตกลงได้ เพราะเป็นความคิดของนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย รมช.คลัง ทำให้รัฐมนตรีช่วยคลังอีกหนึ่งท่านที่ชีวิตครอบครัวของท่านผ่านการเป็นเจ้าของธนาคารมาก่อน ซึ่งรู้ดีว่าการกระทำเช่นนั้นย่อมเกิดผลกระทบต่อฐานะของธนาคารอย่างไร จึงไม่เห็นด้วย ซึ่งก็เป็นหน้าที่ของรมว.คลังที่จะตัดสินใจแต่ก็ยังไม่กล้าตัดสินใจ จนกระทั่งในช่วงสงกรานต์ที่ครม.ได้ไปรดน้ำดำหัวพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯที่ต่างประเทศ หลังจากนั้น พ.ต.ท.ทักษิณก็ได้สั่งการทันทีให้ดำเนินนโยบายนี้ต่อไป ตนจึงสงสัยฝากเรียนถามไปยังนายกฯยิ่งลักษณ์มีนายกรัฐมนตรีอยู่นอกประเทศใช่หรือไม่ เนื่องจากท่านไม่สามารถตัดสินใจในการบริหารงานได้ ถ้าอย่างนั้นก็ให้ลาออกไปเสียให้มีนายกฯเพียงคนเดียวก็สิ้นเรื่อง
ด้านนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรหา กล่าวเสริมว่า นโยบายพักหนี้ดีของธนาคารรัฐ 5 แห่ง ที่กำหนดที่จะให้ลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.เป็นต้นไป หนี้ดีหมายถึงผู้ที่มีหนี้ในธนาคารรัฐต่อรายไม่เกิน 5 แสนบาท ไม่เคยผิดนัดชำระหนี้ และเท่าที่ทราบเงินที่จะนำมาช่วยเหลือเป็นการหารกันคนละครึ่ง ระหว่างธนาคารรัฐ 5 แห่ง กับเงินของรัฐบาลที่มาจากภาษีของประชาชน ซึ่งตนมีคำถามและอยากให้รัฐบาลทบทวนในประเด็นดังต่อไปนี้คือ 1.เป็นการเอาภาษีอากรของรัฐที่มีที่มาและจำนวนจำกัดไปใช้สร้างความเป็นธรรมให้กับสังคมถ้าถูกกลุ่มก็พอรับได้ แต่ถ้าผิดกลุ่มเป็นกลุ่มที่มีกำลังอยู่แล้วรัฐบาลจะตอบคำถามนี้อย่างไร ในขณะที่คนยากจนที่เป็นหนี้เอ็นพีแอลหรือไม่มีโอกาสที่จะเป็นหนี้ก็ยังมีอยู่ ดังนั้นจะเป็นการคอร์รัปชั่นอย่างหนึ่งหรือไม่ 2.จะเป็นการสร้างประเพณีหรือสร้างความคาดหวังให้กับสังคมในทางที่ผิด ซึ่งต่อไปแทนที่จะไปกู้จากธนาคารเอกชนก็จะหันไปกู้ธนาคารของรัฐแทน เพราะมีโอกาสในการพักหนี้ได้ นอกจากนี้การกำหนดหลักเกณฑ์รายละไม่เกิน 5 แสนบาทอาจก่อให้เกิดการช่วยเหลือผิดกลุ่ม เพราะเราจะไม่รู้ว่าลูกหนี้รายนี้จะมีจากธนาคารรัฐรายชื่อด้วย หรือธนาคารเอกชนด้วย เพราะฉะนั้นจึงเห็นด้วยกับผู้ที่กล่าวว่าเป็นนโยบายประชานิยมบ้าคลั่ง จะนำชาติไปสู่ความวิบัติในที่สุด
*** “มาร์ค” จี้รัฐเก็บภาษีคนรวย
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านฯ เตือนรัฐบาลให้พิจารณาอย่างรอบคอบหลังจากนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟู และสร้างอนาคตประเทศไทย หรือ กยอ. เสนอให้รัฐบาลขยายฐานภาษีด้วยการเพิ่มการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ vat อีก 1 % ว่ารัฐบาลต้องพิจารณาให้ดี เพราะขณะนี้ปัญหาค่าครองชีพเป็นเรื่องใหญ่ และการที่รัฐบาลยังผลักดันนโยบายด้านพลังงาน ขึ้นราคาแก๊ส น้ำมัน ค่าไฟ จะกระทบกับเรื่องของเงินเฟ้อ และความเชื่อมั่นของประชาชนทำให้การจับจ่ายใช้สอยได้รับผลกระทบแน่นอน หากเลือกจังหวะนี้ ในการเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็จะเป็นการซ้ำเติมประชาชน และค่าครองชีพโดยตรง และรัฐบาลควรทบทวนความจำเป็นในการใช้จ่ายของรัฐบาลใหม่ เพราะหลายโครงการ อาศัยแนวคิดที่บอกว่า ป้องกันน้ำท่วม แต่ไปไกลถึงโครงการอื่นๆ อีกมากมาย แม้กระทั่งโครงการที่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบ จึงคิดว่า ขณะนี่ยังไม่ใช่จังหวะเวลาที่จะขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาค่าครองชีพ เงินเฟ้อ และทบทวนการใช้จ่ายของรัฐบาล แต่ถ้ารัฐบาลจะเดินหน้าเรื่องนี้ ก็จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อราคาสินค้าให้สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซ้ำเติมความเดือดร้อนของประชาชนมากขึ้น รวมถึงกดดันเงินเฟ้อ จนอาจอยู่ในภาวะที่ควบคุมไม่ได้ ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ไปถึงเสถียรภาพเศรษฐกิจโดยตรง
นายอภิสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า หากรัฐบาลต้องการหารายได้เพิ่ม และคิดให้เกิดความเป็นธรรมกับประชาชน ก็ควรจะเร่งผลักดันกฎหมายภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างซึ่งในสมัยที่ตนเป็นนายกรัฐมนตรี ได้นำกฎหมายดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาแล้ว แต่รัฐบาลปล่อยให้ตกไปและไม่มีนโยบายที่จะผลักดันเรื่องนี้ต่อ ทั้งๆ ที่จะช่วยขยายฐานภาษี และทำให้เกิดความเป็นธรรม ต่อระบบการเก็บภาษีช่วยลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยไม่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ แตกต่างจากการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่จะเป็นภาระต่อประชาชนทั้งประเทศ
ดังนั้น หากรัฐบาลต้องการขยายฐานภาษี ก็ควรทำเรื่องภาษีที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างเพราะทำได้ทันที และยังช่วยแก้ปัญหาความเป็นธรรมซึ่งเป็นเรื่องในเชิงโครงสร้างด้วย อีกทั้งยังไม่มีผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจด้วย
ผู้สื่อข่าวถามว่า รัฐบาลถังแตกหรือเปล่า จึงพยายามหาวิธีรีดภาษีจากประชาชนเพิ่ม นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า รัฐบาลคิดถึงโคงการจำนวนมาก ในขณะที่การใช้จ่ายทั้งงบกลาง 1.2 แสนล้าน เงินน้ำท่วมจากการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท ก็ยังมีปัญหามากในเรื่องการกลั่นกรองโครงการ
*** ชี้ใช้ทุนสำรองกระทบเสถียรภาพ
นายอภิสิทธิ์ ยังกล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลมีแนวคิดที่จะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาใช้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานว่า เป็นเพราะรัฐบาลมีความคิดแต่จะใช้เงิน ไม่ประเมินภาวะเศรษฐกิจ และความจำเป็นของประเทศ เพราะแม้ว่าจะมีความจำเป็นต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ก็ไม่ใช่เงินจำนวนมากมายมหาศาลเท่าที่รัฐบาลกำลังจะดำเนินการ โดยขาดรายละเอียดและพยายามหาเงินโดยผลักภาระให้ประชาชน ทำหลายสิ่งหลายอย่าง ที่อาจจะกระทบต่อเสถียรภาพภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งตนเห็นว่ารัฐบาลต้องระมัดระวังเรื่องแนวคิดที่จะใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศไปลงทุน เนื่องจากรัฐบาลบริหารประเทศจนเกิดภาวะขาดดุล
สำหรับการเปลี่ยนแปลงประธานธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีข่าวว่า นายวีรพงษ์ อาจจะได้ดำรงตำแหน่งนี้ และอาจจะกระทบต่อนโยบายการนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศมาลงทุนนั้น นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนอยากให้การเลือกสรรประธานธนาคารแห่งประเทศไทย มีความเป็นอิสระ ปลอดจากการแทรกแซงขอให้สนับสนุนคนที่จะรักษาเจตนารมณ์ และแนวทางของธนาคารแห่งประเทศไทย เพราะประเทศไทยมีความแข็งแกร่งด้านการเงินการคลังมาโดยตลอด มียุคเดียวที่มีปัญหาคือ วิกฤตต้มยำกุ้งปี 2540 ซึ่งเกิดปัญหาเพราะธนาคารแห่งประเทศไทย ถูกแทรกแซงจากการเมืองในเรื่องสถาบันการเงิน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายปัจจุบันมีการเขียนป้องกันไว้อย่างดีที่สุด แต่ก็ไม่ทราบแนวทางว่า หากรัฐบาลต้องการแทรกแซง จะทำในรูปแบบไหน และถ้ามีการแทรกแซงเลือกคนที่จะตอบสนองความต้องการของตัวเองไปดำรงตำแหน่ง ประธานธนาคารแห่งประเทศไทย ก็จะเป็นอันตราย เพราะเราต้องรักษาแนวทางที่จะให้การเงินมีวินัย ถ้ามีแรงกดดันทางการเมืองเข้าไปแทรกแซงนโยบายด้านการเงิน สถาบันการเงิน หรือ คิดที่จะใช้เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงอย่างเดียว ก็จะเป็นอันตราย เพราะประธานธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีบทบาทสำคัญในระดับหนึ่งเกี่ยวกับการกำหนดนโยบายร่วมกับกรรมการนโยบายการเงินและผู้บริหารของธนาคารแห่งประเทศไทย
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่ตามกฎหมายชัดเจนว่าสามารถทำงานร่วมกับรัฐบาล ในการทำความเข้าใจเกี่ยวกับเป้าหมายทางเศรษฐกิจร่วมกัน ไม่มีความจำเป็นที่จะเข้าไปแทรกแซง เพื่อให้ได้บุคคลที่จะมาสนองตอบความต้องการของรัฐบาลเพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้ ยังมีความเชื่อมั่นในความเข้มแข็งของผู้บริหาร ธปท. เพราะที่ผ่านมามีความพยายามกดดันหลายครั้งแต่ ธปท. ก็รักษาแนวทางและทำหน้าที่ของตนเอง