นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึง มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่เห็นชอบ โครงการพักหนี้เกษตรกรรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้น้อย ที่มีหนี้ค้างไม่เกิน 5 แสนบาท โดยให้เลือกพักเงินต้น และลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 % ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี หรือลดอัตราดอกเบี้ยลง 3 % ต่อปี โดยไม่ต้องพักเงินต้นเป็นเวลา 3 ปี ให้ลูกหนี้ในสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ที่มีสถานะปกติก่อนวันที่ 24 เม.ย. 55 ว่า นับเป็นอีกหนึ่งนโยบาย ที่รัฐบาลได้สานต่อจากนโยบายที่ถูกนำเสนอแก่พี่น้องประชาชน ในช่วงการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งใหญ่ที่ผ่านมา สู่การแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภา ในวันที่ 23 ส.ค.54 และนำมาดำเนินการได้จริง ในนโยบายเร่งด่วนปีแรกของรัฐบาล ภายใต้กรอบแนวคิด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า การขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ลูกหนี้ สถานะหนี้ปกตินี้ คาดว่าจะมีประชาชนที่เป็นเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ได้รับประโยชน์จากโครงการเพิ่มอีก 3,758,226 ราย ต่อบัญชี รัฐบาลคาดว่าผลจากโครงการพักหนี้ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 0.4-0.7 % ต่อปี หรือ 4.4-7.7 หมื่นล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ 11.5 ล้านล้านบาท ซึ่งจากนี้ไป รัฐบาลจะมุ่งมั่น เร่งรัดผลักดันนโยบายสำคัญๆ ภายใต้กรอบแนวคิด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ที่จะเร่งดำเนินนโยบาย ด้วยเจตนารมณ์ที่จะนำนโยบายที่มีคุณค่า มาเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย และเร่งเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชนสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น
**ออมสินเปิดลงทะเบียนพักหนี้ดี 2 พ.ค.
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารฯ มีลูกค้าที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ 846,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 64,000 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.- 20 ส.ค.55 คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 15 วัน และจะมีผลบังคับใช้ 3 ปี ตั้งแต่ 1 ก.ย.55- 31 ส.ค.58
"โครงการพักชำระหนี้ เกษตรกรรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้ ไม่ส่งกระทบต่อฐานะของธนาคารมากนัก เพราะสิ้นปีที่ผ่านมาธนาคารมีฐานเงินฝาก 1.35 ล้านล้านบาท และเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านบาท ขณะที่หนี้ที่เข้าร่วมโครงการมีเพียง 64,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อรวมแล้วถือว่ามีสัดส่วนที่ไม่มาก"
ทั้งนี้ การช่วยเหลือมี 2 รูปแบบให้เลือกคือ 1. พักชำระเงินต้นเพื่อนำเงินมาลงทุน และ 2. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 3 % ต่อปี โดยรัฐบาลรับภาระ 1.5 % และธนาคารออมสิน 1.5 % ซึ่งหากลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเลือกรูปแบบลดอัตราดอกเบี้ย 3 % ทั้งหมด ออมสินจะรับภาระปีละ 700 ล้านบาท หรือตลอดโครงการรับภาระ 2,100 ล้านบาท ในส่วนของภาระรัฐบาล 1.5 % ออมสิน จะใช้เงินที่ส่งสมทบเข้ากองทุนพัฒนาประเทศ 0.47 % ของเงินฝาก เดือนละ 600 ล้านบาท หรือปีละ 7,200 ล้านบาท มาใช้จ่ายในโครงการฯ
** "มาร์ค"จวกผลาญภาษีประชาชน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นการกำหนดนโยบาย เพื่อการหาเสียงทางการเมืองที่จะมีประชาชนได้ประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ที่จะต้องนำไปชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ย ให้กับธนาคารรัฐ
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลควรช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน เช่น ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ และมีปัญหาหนี้เสียอยู่ และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย เพราะเงื่อนไขที่กำหนดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น กำหนดว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ แต่เมื่อรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ชั้นดี ก็ไม่มีเหตุผลในการแก้ปัญหาหนี้สิน เป็นแค่การเอาใจคนกลุ่มหนึ่งมากกว่า แต่จะเป็นภาระของผู้เสียภาษีอากร ที่จะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งตนไม่เห็นเหตุผลว่า ทำไมผู้เสียภาษีอากรทั้งประเทศ จะต้องเอาเงินไปให้ลูกหนี้ดีในสถาบันการเงินของรัฐได้ ประโยชน์ จากการพักหนี้หรือการลดดอกเบี้ย แล้วเอาภาระนี้มาใส่ให้คนที่เสียภาษีแทน
ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประชาชนคนไทนที่เสียภาษีต้องแบกรับภาระนี้ อาจเป็นเพราะรัฐบาลมองว่า คนเสียภาษีไม่ค่อยตื่นตัวไม่ติดตามว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้ทำอะไร แต่คนที่ได้ประโยชน์ ก็อาจพอใจกับมาตรการนี้ เพราะอยู่ดี ๆ ก็ส้มหล่น ได้พักหนี้ ได้ดอกเบี้ยถูกลง โดยให้ผู้เสียภาษีมาแบกรักภาระแทน ถือเป็นนโยบายเพื่อประโยขน์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจรองรับ จึงอยากให้รัฐบาลคิดถึงส่วนรวม ไม่ใช่ทำนโยบายหาเสียงไปเรื่อยโดยไม่มีฐานความคิดหรือเหตุผลทางเศรษฐกิจรองรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลเร่งผลีกดันนโยบายประชานิยม ทั้งการพักหนี้ ขยายเวลาบ้าน และรถยนต์คันแรก เป็นเพราะถูกวิจารณ์ว่าอยู่ในช่วงขาลง จนต้องเร่งคลอดนโยบายเอาใจประชาชนมากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ อีกทั้งกำลังจะมีการเลือกตั้งซ่อม เขต 3 จ.เชียงใหม่ด้วย แต่ตนไม่อยากให้การบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ อยากให้ยึดเอาเหตุผลประโยน์ส่วนรวม ประโยชน์เศรษฐกิจ ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ มารองรับมากกว่าที่จะพยายามเอาใจคนเฉพาะกลุ่ม แล้วโยนภาระให้ประชาชนทั่วไป
นายอนุสรณ์ กล่าวว่า การขยายกลุ่มเป้าหมายสู่ลูกหนี้ สถานะหนี้ปกตินี้ คาดว่าจะมีประชาชนที่เป็นเกษตรกรรายย่อย และผู้มีรายได้น้อย ได้รับประโยชน์จากโครงการเพิ่มอีก 3,758,226 ราย ต่อบัญชี รัฐบาลคาดว่าผลจากโครงการพักหนี้ จะส่งผลต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจประมาณ 0.4-0.7 % ต่อปี หรือ 4.4-7.7 หมื่นล้านบาทต่อปี เมื่อเทียบกับมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ที่ 11.5 ล้านล้านบาท ซึ่งจากนี้ไป รัฐบาลจะมุ่งมั่น เร่งรัดผลักดันนโยบายสำคัญๆ ภายใต้กรอบแนวคิด ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ ขยายโอกาส ที่จะเร่งดำเนินนโยบาย ด้วยเจตนารมณ์ที่จะนำนโยบายที่มีคุณค่า มาเพื่อช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตคนไทย และเร่งเสริมสร้างศักยภาพให้ประชาชนสามารถแข่งขันได้ดียิ่งขึ้น
**ออมสินเปิดลงทะเบียนพักหนี้ดี 2 พ.ค.
นายเลอศักดิ์ จุลเทศ ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารฯ มีลูกค้าที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ 846,000 ราย คิดเป็นมูลหนี้ 64,000 ล้านบาท โดยจะเปิดให้ผู้สนใจลงทะเบียนตั้งแต่วันที่ 2 พ.ค.- 20 ส.ค.55 คาดว่าจะใช้เวลาดำเนินการ 15 วัน และจะมีผลบังคับใช้ 3 ปี ตั้งแต่ 1 ก.ย.55- 31 ส.ค.58
"โครงการพักชำระหนี้ เกษตรกรรายย่อย และประชาชนผู้มีรายได้ ไม่ส่งกระทบต่อฐานะของธนาคารมากนัก เพราะสิ้นปีที่ผ่านมาธนาคารมีฐานเงินฝาก 1.35 ล้านล้านบาท และเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาได้เพิ่มขึ้นเป็น 1.4 ล้านบาท ขณะที่หนี้ที่เข้าร่วมโครงการมีเพียง 64,000 ล้านบาท ซึ่งเมื่อเทียบกับพอร์ตสินเชื่อรวมแล้วถือว่ามีสัดส่วนที่ไม่มาก"
ทั้งนี้ การช่วยเหลือมี 2 รูปแบบให้เลือกคือ 1. พักชำระเงินต้นเพื่อนำเงินมาลงทุน และ 2. ลดดอกเบี้ยเงินกู้ลง 3 % ต่อปี โดยรัฐบาลรับภาระ 1.5 % และธนาคารออมสิน 1.5 % ซึ่งหากลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการเลือกรูปแบบลดอัตราดอกเบี้ย 3 % ทั้งหมด ออมสินจะรับภาระปีละ 700 ล้านบาท หรือตลอดโครงการรับภาระ 2,100 ล้านบาท ในส่วนของภาระรัฐบาล 1.5 % ออมสิน จะใช้เงินที่ส่งสมทบเข้ากองทุนพัฒนาประเทศ 0.47 % ของเงินฝาก เดือนละ 600 ล้านบาท หรือปีละ 7,200 ล้านบาท มาใช้จ่ายในโครงการฯ
** "มาร์ค"จวกผลาญภาษีประชาชน
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า เป็นการกำหนดนโยบาย เพื่อการหาเสียงทางการเมืองที่จะมีประชาชนได้ประโยชน์เฉพาะบางกลุ่ม ไม่คุ้มค่ากับงบประมาณ 4.5 หมื่นล้านบาท ที่จะต้องนำไปชดเชยส่วนต่างดอกเบี้ย ให้กับธนาคารรัฐ
ทั้งนี้ เห็นว่ารัฐบาลควรช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน เช่น ผู้ที่เป็นหนี้นอกระบบ และมีปัญหาหนี้เสียอยู่ และเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ยังไม่ประสบความสำเร็จ เนื่องจากมีผู้เข้าร่วมโครงการน้อย เพราะเงื่อนไขที่กำหนดไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง เช่น กำหนดว่า ผู้เข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้เสียภาษีเงินได้ แต่เมื่อรัฐบาลออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ชั้นดี ก็ไม่มีเหตุผลในการแก้ปัญหาหนี้สิน เป็นแค่การเอาใจคนกลุ่มหนึ่งมากกว่า แต่จะเป็นภาระของผู้เสียภาษีอากร ที่จะต้องแบกรับภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นกับสถาบันการเงินของรัฐ ซึ่งตนไม่เห็นเหตุผลว่า ทำไมผู้เสียภาษีอากรทั้งประเทศ จะต้องเอาเงินไปให้ลูกหนี้ดีในสถาบันการเงินของรัฐได้ ประโยชน์ จากการพักหนี้หรือการลดดอกเบี้ย แล้วเอาภาระนี้มาใส่ให้คนที่เสียภาษีแทน
ผู้นำฝ่ายค้านฯ กล่าวด้วยว่า สิ่งที่เกิดขึ้น ต้องตั้งคำถามว่า ทำไมประชาชนคนไทนที่เสียภาษีต้องแบกรับภาระนี้ อาจเป็นเพราะรัฐบาลมองว่า คนเสียภาษีไม่ค่อยตื่นตัวไม่ติดตามว่ารัฐบาลนำเงินไปใช้ทำอะไร แต่คนที่ได้ประโยชน์ ก็อาจพอใจกับมาตรการนี้ เพราะอยู่ดี ๆ ก็ส้มหล่น ได้พักหนี้ ได้ดอกเบี้ยถูกลง โดยให้ผู้เสียภาษีมาแบกรักภาระแทน ถือเป็นนโยบายเพื่อประโยขน์ทางการเมืองเพียงอย่างเดียว โดยไม่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจรองรับ จึงอยากให้รัฐบาลคิดถึงส่วนรวม ไม่ใช่ทำนโยบายหาเสียงไปเรื่อยโดยไม่มีฐานความคิดหรือเหตุผลทางเศรษฐกิจรองรับ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การที่รัฐบาลเร่งผลีกดันนโยบายประชานิยม ทั้งการพักหนี้ ขยายเวลาบ้าน และรถยนต์คันแรก เป็นเพราะถูกวิจารณ์ว่าอยู่ในช่วงขาลง จนต้องเร่งคลอดนโยบายเอาใจประชาชนมากขึ้นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ อีกทั้งกำลังจะมีการเลือกตั้งซ่อม เขต 3 จ.เชียงใหม่ด้วย แต่ตนไม่อยากให้การบริหารบ้านเมืองเป็นอย่างนี้ อยากให้ยึดเอาเหตุผลประโยน์ส่วนรวม ประโยชน์เศรษฐกิจ ประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่ มารองรับมากกว่าที่จะพยายามเอาใจคนเฉพาะกลุ่ม แล้วโยนภาระให้ประชาชนทั่วไป